ขยายความในข้อที่ 14 ให้เห็นถึงลักษณะของโสดาบันในสไตล์การบรรลุที่ต่างกัน ไล่มาตั้งแต่โสดาปัตติมรรคคือธัมมานุสารีและสัทธานุสารีนี้เป็นมรรคให้เกิดผลในกายสักขี ทิฏฐิปัตตะ สัทธาวิมุตติ ส่วนในสองข้อแรกคืออรหันต์

ต่อมาในข้อที่ 15 เปรียบด้วยบุคคลผู้ตกน้ำ เป็นอุปมาอุปไมยการท่วมทับจากกามจนจมน้ำ จนถึงกายแห้งขึ้นบกคืออรหันต์ โดยมีอินทรีย์ 5 เป็นตัววัดในการพัฒนาของบุคคลทั้ง 7 ประเภทนี้ คือ 1) จมแล้ว จมเลย=ดำมืด ไม่มีกุศลธรรม 2) โผล่แล้ว จมลงอีก=มีอยู่แต่ไม่คงที่ 3) โผล่แล้ว หยุดอยู่=คงที่ 4) โผล่แล้ว เหลียวมองดู=โสดาบัน 5) โผล่แล้ว ข้ามไป=สกทาคามี 6) โผล่แล้ว ได้ที่พึ่ง=อนาคามี และ 7) โผล่แล้ว เข้าถึงฝั่ง=อรหันต์

ข้อที่ 16, 17 และ18 มีความต่างกันตรงเหตุที่ทำให้บรรลุคือการพิจารณาความไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา โดยมีพื้นฐานเหมือนข้อที่ 14 โดยในสองข้อแรกหมายถึงอรหันต์ ส่วนข้อที่เหลือหมายถึงอนาคามี 5 ประเภท ที่มีเวลาการบรรลุที่แตกต่างกันตามภพที่ไปเกิด คือ อัตราปรินิพพายี มีอายุไม่ถึงกึ่งก็ปรินิพพาน, อุปหัจจปรินิพพายี อายุเลยกึ่งจึงนิพพาน, อสังขารปรินิพพายี บรรลุโดยไม่ใช้ความเพียรมาก, สสังขารปรินิพพายี ใช้ความเพียรมาก และประเภทสุดท้ายคือ อุทธังโสตอกนิฏฐคามี เลื่อนขั้นไปอกนิฏฐภพจึงปรินิพพาน ใช้เวลานานสุด เหตุปัจจัยที่ทำให้บรรลุธรรมคือหมั่นเห็นความไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา ทำอย่างสม่ำเสมอไม่ขาดระยะ

อ่าน “ปุคคลสูตร ว่าด้วยบุคคลผู้ควรแก่ของที่เขานำมาถวาย” พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๓ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๕ [ฉบับมหาจุฬาฯ] อังคุตตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต

ฟัง “อนุสัย – กิเลสความเคยชินของจิต”


Timeline

[04:58] ข้อที่ 14 ปุคคลสูตร ว่าด้วยบุคคลผู้ควรแก่ของที่เขานำมาถวาย
[14:46] ข้อที่ 15 อุทกูปมาสูตร ว่าด้วยบุคคลผู้เปรียบด้วยคนตกน้ำ
[27:12] ข้อที่ 16, 17 และ 18 บุคคลผู้พิจารณาเห็นความไม่เที่ยง เป็นทุกข์เป็น อนัตตา
[31:57] อนาคามี 5 ประเภท
[39:43] เหตุปัจจัยที่ทำให้เป็นอนาคามี
[49:51] ความสัมพันธ์ของอริยบุคคลกับไตรลักษณ์