00:00
1X
Sorry, no results.
Please try another keyword
- 3 ใต้ร่มโพธิบทพระพุทธเจ้าได้ทรงแสดงธรรมะไว้อย่างดีและรัดกุมรอบคอบไม่ละหลวม ในที่นี้จะนำธรรมมะที่กล่าวถึงวิธีคิดวิธีไตร่ตรอง พิจารณาในแนวทางคำสอนของพระพุทธเจ้าเพื่อนำทางแห่งความสุขในปัจจุบัน โดยจะนำธรรมะหลายหัวข้อมากล่าวดังนี้ ประการแรก “โคตรมีสูตร” เป็นธรรมง่ายๆย่อๆที่พระพุทธเจ้าบอกแก่นางโคตรมี ที่ได้ขอข้อธรรมที่จะนำไปปฏิบัติเมื่ออยู่คนเดียว หลักเกณฑ์ที่พระพุทธเจ้าให้ไว้คือ 1.ธรรมคำสอนเป็นไปเพื่อความคลายกำหนัด 2.ธรรมคำสอนเป็นไปเพื่อคลายความยึดถือ 3.ธรรมคำสอนเป็นไปเพื่อความมักน้อย 4.ธรรมคำสอนเป็นไปเพื่อความสันโดษ 5.ธรรมคำสอนเป็นไปเพื่อความสงัด 6.ธรรมคำสอนเป็นไปเพื่อความเพียร 7.ธรรมคำสอนเป็นไปเพื่อความเลี้ยงง่าย 8.ธรรมคำสอนเป็นไปเพื่อความเลี้ยงง่าย ลักษณะคำสอนของพระพุทธเจ้าต้องมีทั้ง 8 ประการนี้เป็นเกณฑ์ แต่ต้องไม่ยึดถือในหลักเกณฑ์ พระพุทธเจ้าได้ตรัสแก่ชาวกลามโคตร ใน “เกสปุตตสูตร” ไว้ว่าอย่าได้ยึดถือโดยได้ยินได้ฟังมา, โดยอ้างตำรา, โดยคาดคะเน, โดยความตรึกตามอาการ... แต่หลักการที่ถูกต้องดูว่า กุศลเพิ่ม อกุศลลด หรือไม่ ประการที่สอง กล่าวถึงการพิจารณาถึงพิธีกรรมต่างๆที่ควร-ไม่ทำ โดยจะนำ “เตวิชชสูตร” มากล่าวโดยกล่าวถึงข้อปฏิบัติของพราหมณ์ที่จะให้ได้ไปอยู่กับพรหม ให้พิจารณาว่าพิธีกรรมที่ทำนั้นเป็นไปอย่างไร เป็นเครื่องเกาะเกี่ยวร้อยรัดหรือไม่ จองเวรหรือไม่ เบียดเบียนผู้อื่นหรือไม่ เศร้าหมองหรือไม่ ฟุ้งซ่านหรือไม่ หากพิธีกรรมต่างๆเป็นไปเพื่อสิ่งเหล่านี้ก็ต้องเว้นการปฏิบัติเสีย ประการที่สาม ข้อปฏิบัติอันใดที่เราควร-ไม่ควรกระทำ สูตรที่จะนำมากล่าวคือ “อนุมานสูตร” กล่าวถึงอุปกิเลส 16 ประการ ที่มาประกอบในการพิจารณาที่จะกระทำสิ่งใดสิ่งหนึ่งโดยแบ่งเป็น 2 ส่วนคือ พิจารณาถึงคนอื่น[...]
- 3 ใต้ร่มโพธิบทบางครั้ง..คนเรานั้น ก็มักจะสับสนในธรรมที่ดูจะเหมือนๆ กัน คล้ายๆ กัน จนแยกไม่ออกว่า “ ผลผลิตของธรรมนั้นจะให้ผลออกมาอย่างไร ” จึงขอยกธรรมที่ดูจะเหมือนๆ กันขึ้นมาเปรียบเทียบกันเพื่อให้เห็นถึงความแตกต่างในความหมาย และคุณลักษณะของธรรมนั้นๆ อย่างแยบคาย และเพื่อก่อให้เกิดความเห็นที่ถูกต้อง เป็นสัมมาทิฎฐิไปสู่พระนิพพานได้ โดยธรรมที่หยิบยกมานี้ เมื่อพิจารณาแล้วจะแบ่งได้เป็น 2 ฝ่าย คือ ฝ่ายกุศลธรรม และ ฝ่ายอกุศลลธรรม เช่น ฉันทะ / ตัณหา, ความเพียร / ความโลภ, ความเมตตา / ความรัก, ปล่อยวาง / ขี้เกียจ, อุเบกขา / ความเฉยเมย, พูดตรงจริงใจรู้กาล / พูดตรงไม่มีมารยาท, ความเห็นอกเห็นใจ / ความเศร้าเสียใจ
- 3 ใต้ร่มโพธิบทพระพุทธเจ้าได้ทรงแบ่งภัยในโลกนี้ไว้ 2 อย่างคือ ภัยที่ช่วยเหลือกันได้ และภัยที่ช่วยกันไม่ได้ 1.ภัยที่พอช่วยเหลือกันได้ ได้แก่ 1.ภัยน้ำท่วม 2.ภัยเกิดจากไฟไหม้ 3.ภัยเกิดจากโจรขโมยและสงคราม ภัยเหล่านี้เมื่อเกิดขึ้นแล้วยังพอช่วยเหลือให้ผ่อนหนักเป็นเบาได้บ้าง มากบ้างน้อยบ้าง ตามสถานการณ์ 2.ภัยที่ช่วยกันไม่ได้ ถึงแม้จะเป็น พ่อ แม่ ลูก ที่รักและห่วงใยกันแค่ไหนก็ไม่สามารถช่วยกันได้เลย ได้แก่ 1. ภัยจากความแก่(ชราภัย) 2.ภัยจากความเจ็บไข้(พยาธิภัย) 3. ภัยจากความตาย(มรณะภัย) ภัยเหล่านี้เป็นภัยที่หากเกิดขึ้นแก่ผู้แล้วไม่มีใครที่จะสามารถช่วยแบ่งเบา หรือรับเอาภัยนั้นมาแทนกันได้เลย พระพุทธองค์ทรงชี้ทางออกไว้ให้ว่าหากผู้ใดเป็นผู้ที่มีอริยมรรคมีองค์ 8 ประกอบอยู่ในจิตของตน ผู้นั้นก็จะสามารถพ้นจากภัยอันตรายที่เกิดขึ้นจาก ความแก่ ความเจ็บ และความตายในอนาคตได้อย่างแน่นอน โดยอริยมรรคมีองค์ 8 นี้ได้แก่ 1.ศีล คือสัมมาวาจา, สัมมากัมมันตะ,สัมมาอาชีวะ 2.สมาธิ คือสัมมาวายามะ,สัมมาสติ,สัมมาสมาธิ 3.ปัญญา คือ สัมมาทิฏฐิ, สัมมาสังกัปปะ ภัยต่างๆที่เกิดขึ้นล้วนก่อให้เกิดทุกข์แก่ผู้ประสบภัยนั้นอย่างเลี่ยงไม่ได้ ในที่นี้จะกล่าวถึงหมวดธรรมที่ทำให้เห็นว่าสุข-ทุกข์ที่เกิดขึ้นนั้นสิ่งใดทำให้เกิด โดยจะกล่าวหมวดธรรม 3 ข้อที่เป็นมิจฉาทิฐิ ได้แก่ 1.สุข ทุกข์ เกิดจากผู้อื่นทำให้[...]
- 3 ใต้ร่มโพธิบทธรรมะที่ช่วยประสานประโยชน์ให้เกิดความสามัคคี ให้อยู่ร่วมกันอย่างมีความสุข เป็นเครื่องช่วยขจัดความขัดแย้งที่เกิดขึ้น ทำให้คนอยู่ร่วมกันด้วยความรัก ให้เกิดความสงเคราะห์กัน เข้าใจกันลงกันได้ สามารถนำไปใช้ได้ตั้งแต่ระดับครอบครัวจนถึงระดับสังคม หมวดธรรมที่ว่านี้นั่นก็คือ “สังคหวัตถุ 4” อันประกอบไปด้วย 1. ทาน คือ การรู้จักให้ รู้จักเสียสละ การเผื่อแผ่ แบ่งปัน ให้ความช่วยเหลือสงเคราะห์ 2. ปิยวาจา คือ การพูดจาด้วยถ้อยคำที่ไพเราะ อ่อนหวาน ไม่พูดหยาบคาย และมีความจริงใจ ไม่โกหกเสแสร้ง ไม่พูดส่อเสียดยุยงให้เตกร้าว พูดแต่ในสิ่งที่เป็นประโยชน์ 3. อัตถจริยา คือ การทำประโยชน์ให้แก่ผู้อื่น 4. สมานัตตตา คือ การวางตัวเสมอต้นเสมอปลาย หนักแน่น ให้ความเสมอภาคกับทุกคนอย่างเท่าเทียมกัน ไม่เอารัดเอาเปรียบ
- พระพุทธเจ้าได้ทรงแสดง หลักคำสอนและวิธีการปฏิบัติต่าง ๆ สรุปเป็นใจความสำคัญว่าไว้ 3 ขั้น คือ ให้ละเว้นความชั่ว ให้ทำความดี และทำจิตใจให้บริสุทธิ์ นี่คือเส้นทางที่จะนำไปสู่ทางหลุดพ้นได้ ซึ่งในครั้งนี้จะกล่าวถึงหลักธรรมที่เป็นขั้นของการชี้แนวทางแห่งโลกุตระ นั่นคือเบญจศีลและเบญจธรรม เบญจศีลและเบญจธรรม เป็นธรรมคู่กัน คนที่มีเบญจธรรมจึงจะเป็นผู้มีเบญจศีล ซึ่งหากคนมีศีลและธรรมดังกล่าวแล้ว จะเว้นจากการทำความชั่ว รู้จักควบคุมตนให้ตั้งอยู่ในความดี ไม่เบียดเบียนตนและคนอื่น และประพฤติชอบทางกาย วาจา ใจ เบญจศีล คือ ศีล 5 ข้อ เป็นการรักษาเจตนาที่จะควบคุมกายและวาจาให้เป็นปกติ คือ ไม่ทำบาป โดยการละเว้น 5 ประการ คือ ละเว้นจากการฆ่าสัตว์ ละเว้นจากการลักขโมย ละเว้นจากการประพฤติผิดในกาม ละเว้นจากการพูดปด ละเว้นจากการเสพสุรา เบญจธรรม เป็นหลักธรรมที่ควรปฏิบัติ มี 5 ประการ ได้แก่ 1. เมตตากรุณา คือ บุคคลใดที่มีเมตตาย่อมไม่ฆ่า หรือเบียดเบียนสัตว์ เมตตากรุณาจึงเป็นจิตที่สามารถเพิ่มพูนพัฒนาได้จากการเว้นจากการฆ่า 2. สัมมาอาชีวะ คือ[...]
- คำพูดเป็นสิ่งสำคัญ พระพุทธเจ้าท่านจึงทรงบัญญัติไว้ถึง ‘กถาวัตถุ 10’ คือ เรื่องที่ควรพูด นอกเหนือจาก คำพูดที่เว้นขาดจากการพูดโกหก ส่อเสียด หยาบคาย และพูดเพ้อเจ้อ และ ‘อักโกสวัตถุ 10’ คือ เรื่องที่ไม่ควรพูด เพราะไม่มีประโยชน์ และทำความเจ็บช้ำน้ำใจแก่ผู้อื่น ได้แก่ ชาติกำเนิด ชื่อ โคตร อาชีพ ศิลปะ (ฝีมือ) โรค รูปพรรณสัณฐาน กิเลส อาบัติ และคำสบประมาทอื่น ๆ ส่วน ‘กถาวัตถุ 10’ เรื่องที่สมควรพูด ได้แก่ ถ้อยคำให้เกิดความมักน้อย คือ ไม่โอ้อวด ความสันโดษ เกิดความสงัด ไม่คลุกคลีด้วยหมู่ ปรารภความเพียร ให้ตั้งอยู่ในศีล สมาธิ ปัญญา วิมุตติ และวิมุตติญาณทัสสนะ ซึ่งการพูด ‘กถาวัตถุ 10’ ให้ถูกคน ถูกที่ ถูกเวลาได้นั้น นอกจากจะเป็นสัมมาวาจาแล้ว[...]
- 3 ใต้ร่มโพธิบทคัมภีร์มหาปัฏฐาน เป็น 1 ใน 7 คัมภีร์ที่ใช้สวดในงานศพ ได้แก่ 1.ธัมมสังคณี 2.วิภังคปกรณ์ 3.ธาตุกถา 4. ปุคคลบัญญัติ 5. กถาวัตถุ 6.ยมกปกรณ์ และ 7.มหาปัฏฐาน โดยบทสวดมหาปัฏฐาน เป็นบทสวดที่กล่าวถึง ปัจจัย 24 ประการที่แสดงความเป็นไปของสภาวธรรมที่เป็นเหตุเป็นผลแก่กัน หรือเป็นองค์ประกอบที่ช่วยเอื้อ เกื้อหนุน ค้ำจุน เป็นเหตุ หรือเป็นเงื่อนไขให้สิ่งอื่น หรือสภาวธรรมอย่างอื่น เกิดขึ้น คงอยู่ หรือเป็นไปอย่างใดอย่างหนึ่ง โดยปัจจัย 24 ประการได้แก่ 1.เหตุปัจจะโย (ปัจจัยโดยเหตุ) 2.อารัมมะณะปัจจะโย( ปัจจัยโดยเป็นอารมณ์) 3.อธิปะติปัจจะโย (ปัจจัยความเป็นใหญ่) 4.อนันตะระปัจจะโย (ปัจจัยโดยความต่อเนื่อง) 5.สะมะนันตะระปัจจะโย( ปัจจัยเป็นภาวะต่อเนื่องทันที ) 6.สะหะชาตะปัจจะโย( ปัจจัยที่เกิดร่วมกัน) 7.อัญญะมัญญะปัจจะโย (ปัจจัยที่อาศัยซึ่งกันและกัน) 8.นิสสะยะปัจจะโย ( ปัจจัยโดยเป็นที่อาศัย) อาศัยอะไรจีงจะดีหรือชั่วขึ้นมาได้ 9.อุปะนิสสะยะปัจจะโย (ปัจจัยโดยเเป็นเครื่องหนุนให้เกิดอุปนิสัยที่อาศัยอย่างแรงกล้า)[...]
- 3 ใต้ร่มโพธิบทการจะทำสิ่งใดสิ่งหนึ่งให้เกิดความสำเร็จขึ้นได้ ต้องอาศัยความตั้งใจมั่นอย่างแรงกล้า ในทีฆนิกาย กล่าวถึง ‘อธิษฐาน’ ซึ่งไม่ใช่การร้องขอ แต่หมายถึง ธรรม 4 ประการ ที่ควรตั้งมั่นไว้ในใจ ได้แก่ ปัญญา (ใช้พิจารณา) สัจจะ (ทำให้เกิดขึ้นจริง) จาคะ (สละความเคยชินที่ไม่ดีออก) และอุปสมะ (ความสงบ) ซึ่งสัมพันธ์กับหมวดธรรมในอังคุตรนิกาย ที่กล่าวถึง ‘พละ 4’ คือ กำลัง ได้แก่ ปัญญาพละ (ปัญญา) วิริยพละ (ความเพียร) อนวัชชพละ (กรรมที่ไม่มีโทษ) และสังคหพละ (การสงเคราะห์) กล่าวคือ ‘อธิษฐาน 4’ และ ‘พละ 4’ นั้น เริ่มจากปัญญาเหมือนกัน อาทิ เห็นสิ่งที่เป็นกุศล-อกุศล คุณ-โทษ เกิด-ดับ เป็นต้น โดยสามารถตั้ง ‘อธิษฐาน’ เป็นวิริยพละ หรือนำ ‘พละ’ ไปเกื้อหนุนอธิษฐานในการทำสิ่งนั้น ที่เป็นกุศลด้วยกาย[...]
- 3 ใต้ร่มโพธิบทปาฏิปุคคลิกทาน 14 อย่าง คือทานที่ให้จำเพาะบุคคล เรียงตามอานิสงส์ที่ได้จากน้อยไปหามากได้ดังนี้ - ให้ทานแก่สัตว์เดียรัจฉาน พึงหวังผลทักษิณาได้ ๑๐๐ เท่า - ให้ทานแก่ผู้ทุศีล พึงหวังผลทักษิณาได้ ๑,๐๐๐ เท่า - ให้ทานแก่บุคคลผู้มีศีล พึงหวังผลทักษิณาได้ ๑๐๐,๐๐๐ เท่า - ให้ทานแก่บุคคลนอกศาสนาพุทธ ที่ปราศจากความกำหนัดในกาม พึงหวังผลทักษิณาได้ ๑๐๐,๐๐๐โกฏิ เท่า - ให้ทานแก่บุคคลที่จะทำโสดาบันให้แจ้ง พึงหวังผลทักษิณาได้ นับประมาณไม่ได้ - ให้ทานแก่บุคลลที่เป็นโสดาบัน พึงหวังผลทักษิณาได้ นับประมาณไม่ได้ - ให้ทานแก่บุคลลที่จะทำสกทาคามีให้แจ้ง พึงหวังผลทักษิณาได้ นับประมาณไม่ได้ - ให้ทานแก่บุคลลที่เป็นสกทาคามี พึงหวังผลทักษิณาได้ นับประมาณไม่ได้ - ให้ทานแก่บุคลลที่จะทำอนาคามีให้แจ้ง พึงหวังผลทักษิณาได้ นับประมาณไม่ได้ - ให้ทานแก่บุคลลที่เป็นอนาคามี พึงหวังผลทักษิณาได้ นับประมาณไม่ได้ - ให้ทานแก่บุคลลที่จะทำอรหันต์ให้แจ้ง พึงหวังผลทักษิณาได้ นับประมาณไม่ได้ -[...]
- 3 ใต้ร่มโพธิบทบทสวดที่นิยมสวดในงานทำบุญบำเพ็ญกุศลให้แก่ผู้ล่วงลับนั้น มักจะมีเนื้อหาที่กล่าวให้เห็นถึงความไม่เที่ยง ให้เกิดการปล่อยวาง ให้เห็นถึงความสังเวช ปลงได้ ให้เห็นถึงความละเอียดลงไป ให้เห็นถึงอริยทรัพย์จะมีบทหลักๆที่สวดอยู่ประมาณ 3-4 บท ในที่นี้จะกล่าวถึงบทหลักๆ 4 บท โดยบทสวดทั้ง 4 นี้มีทั้งที่เป็นคาถาและพระสูตร คือ ปัพพโตปมคาถา เป็นคาถาที่กล่าวถึงภูเขาหินใหญ่ คาถาบทนี้อุปมาถึงภูเขาหินใหญ่ที่กลิ้งบดขยี้ทุกสิ่งอย่างมาทั้ง 4 ทิศ เราจะทำอย่างไรก็ไม่ได้ เปรียบกับความแก่ความตายที่ครอบงำเราอยู่ไม่เว้นผู้ใดเลย ผู้เป็นบัณฑิตเท่านั้นที่จะรู้ว่าต้องมีพระพุทธ พระธรรมและพระสงฆ์เป็นที่พึ่งจึงจะผาสุกอยู่ได้แม้ภัยนี้มาถึง อริยธนาคาถา อริยทรัพย์อันประเสริฐเป็นบทสวดที่กล่าวถึงทรัพย์ 5 ประการ ได้แก่ ศรัทธา ศีล สุตะ จาคะ และปัญญา ถ้าเราตายจากไปจะเอาทรัพย์อะไรติดตัวไปไม่ได้เลย ยกเว้นอริยทรัพย์ทั้ง 5 นี้ ธัมมนิยามสุตตุง บทแสดงธรรมนิยามเป็นบทที่นำเอาพระสูตรที่มีชื่อว่าธัมมะนิยามะสุตตัง บทสวดที่แสดงถึงความเป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ของสิ่งต่างๆ ของธรรมะต่างๆ ไม่ว่าพระพุทธเจ้าจะมาอุบัติขึ้นหรือไม่ จะมีคำสอนของพระพุทธเจ้าหรือไม่ก็ตาม ความไม่เที่ยง เป็นทุกข์ อนัตตาก็มีอยู่ ภัทเทกรัตตคาถา ผู้มีราตรีหนึ่งเจริญ เป็นบทสวดที่กล่าวถึงความที่เราไม่ควรคิดถึงอดีต อนาคต[...]
- 3 ใต้ร่มโพธิบทเนกขัมมะ ธรรมข้อสุดท้ายในอนุปุพพิกถาที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงไว้ตามลำดับเพื่อเป็นแนวทางให้ไปถึงโลกุตระได้ ‘เนกขัมมะ’ หมายถึง การหลีกออกจากกาม ได้แก่ ฌานสมาธิในขั้นต่างๆ การจะทำให้จิตน้อมไปในทางหลีกออกจากกามได้นั้น ต้องฝึกจิตให้พิจารณาเห็นบ่อยๆ ถึงคุณและโทษของกามว่า มีคุณน้อยแต่โทษมากขนาดไหนเมื่อเทียบกับเนกขัมมะที่มีคุณมากแต่โทษน้อยนิดเดียว อย่างไรก็ตาม สมาธิแม้ว่าจะได้บ้างไม่ได้บ้าง การตั้งจิตดำริ ‘คิดที่จะหลีกออกจากกาม’ เป็นสิ่งจำเป็นที่ต้องตั้งไว้เสมอ “เนกขัมมะ” ทางสายกลาง เป็นหนึ่งในบารมี 10 ทัศ เป็นทางออกทางเดียว เพื่อการดับโทษของกาม เพื่อความสงบสุขจากในภายใน เพื่อความรู้ยิ่งรู้พร้อม ถึงสัมโพธิญาณได้ Timestamp [00:01] พุทธประวัติจากพระโอษฐ์ ทรงดำริออกจากกาม [08:58] เนกขัมมะ การหลีกออกจากกาม [10:44] เนกขัมมะ ทางสายกลาง [22:44] ความสุขจากกาม กับ เนกขัมมะ [25:27] ฌาน ๑ [27:22] ทุกข์ของสมาธิ [30:19] อานิสงค์ของเนขขัมมะ [35:05] โยนิโสมนัสสิการ [48:14] ฌานที่ ๒-๓ [50:34] ฌาน ๔[...]
- 3 ใต้ร่มโพธิบท
- 3 ใต้ร่มโพธิบทสุขอันชอบธรรมที่ผู้ครองเรือนควรมีหรือความสุขของคฤหัสถ์ 4 ประการ คือ กามโภคีสุข 4 ได้แก่ 1.อัตถิสุข : ความสุขเกิดจากความมีทรัพย์ คือ ความภูมิใจ เอิบอิ่มใจ ว่าตนโภคทรัพย์ที่ได้มาด้วยน้ำพักน้ำแรงความขยันหมั่นเพียรของตน และโดยชอบธรรม 2.โภคสุข : ความสุขเกิดจากการใช้จ่ายทรัพย์ คือ ความภูมิใจ เอิบอิ่มใจ ว่าตนได้ใช้ทรัพย์ที่ได้มาโดยชอบนั้น เลี้ยงชีพ เลี้ยงผู้ควรเลี้ยง และบำเพ็ญประโยชน์ 3.อนณสุข : ความสุขเกิดจากความไม่เป็นหนี้ คือ ความภูมิใจ เอิบอิ่มใจ ว่าตนเป็นไท ไม่มีหนี้สินติดค้างใคร 4.อนวัชชสุข : ความสุขเกิดจากความประพฤติไม่มีโทษ คือ ความภูมิใจ เอิบอิ่มใจ ว่าตนมีความประพฤติสุจริต ไม่บกพร่องเสียหาย ใครๆ ติเตียนไม่ได้ ทั้งทางกาย ทางวาจา และทางใจ บรรดาความสุข 4 อย่างนี้ อนวัชชสุข มีค่ามากที่สุด การจะเกิดความสุขประการที่4 คืออนวัชชสุข นั้นมีธรรมอื่นเข้ามาเกี่ยวข้อง เช่น[...]
- 3 ใต้ร่มโพธิบทการที่จะนำธรรมะมาปฏิบัติจนเกิดเป็นผลขึ้นทางปัญญาได้นั้น มีขั้นตอน และกระบวนการในการปฏิบัติ โดยได้ยกหัวข้อธรรม “วิมุตติสูตร” มาอธิบายประกอบการปฏิบัติ เพื่อให้เห็นขั้นตอน และกระบวนการในการหยั่งลงสู่อมตธรรม ในวิมุตติสูตรนั้นจะประกอบไปด้วยธรรม 5 ข้อ ที่แตกต่างกัน แต่มีลำดับขั้นตอนการปฏิบัติที่จะให้เกิดผลเป็นวิมุตติสู่นิพพานได้เหมือนกัน ธรรม 5 ข้อนั้นได้แก่ 1. การได้ฟังธรรม 2. การอธิบายบอกสอน 3. การสัชฌายะ 4. การใคร่ครวญธรรม 5. การทำสมาธิ กระบวนการสู่การหลุดพ้น มีอยู่ 6 ขั้นตอน เริ่มจาก เข้าใจอรรถ เข้าใจธรรม แทงตลอดด้วยดี -> เกิดปราโมทย์ -> เกิดปีติ -> กายสงบระงับ -> เสวยสุข -> จิตย่อมตั้งมั่น (ฌาน) และเมื่อมาถึง 6 ขั้นตอนนี้แล้วก็เข้าสู่วิมุตติ คือ ความพ้นจากผัสสะ พ้นจากกิเลส เกิดความรู้เป็นวิชชา และวิมุตติ มีปัญญาปล่อยวาง สู่นิพพาน
- 3 ใต้ร่มโพธิบทหมวดธรรม 4 ประการ 2 อย่าง ที่มีส่วนสนับสนุนให้เกิดความเจริญก้าวหน้าในชีวิต ได้แก่ สัมปรายิกัตถสังวัตตนิกธรรม 4 คือ ธรรมที่เป็นไปเพื่อประโยชน์เบื้องหน้า 1.สัทธาสัมปทา : ความถึงพร้อมด้วยศรัทธา คือความมั่นใจในพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ 2.สีลสัมปทา : ความถึงพร้อมด้วยศีล คือศีล 5 ที่ตั้งขึ้นด้วยเจตนางดเว้น 3.จาคสัมปทา : ความถึงพร้อมด้วยการเสียสละ คือสละสิ่งของ สละกิเลส 4.ปัญญาสัมปทา : ความถึงพร้อมด้วยปัญญา คือปัญญาที่เข้าใจในความไม่เที่ยงของสิ่งต่างๆ บางครั้งการจะพัฒนาจิตใจให้ก้าวหน้านั้นอาจต้องพบเจออุปสรรค มีธรรมอีกหมวดหนึ่งที่เรานำมาใช้ร่วมกันแล้วจะสนับสนุนให้ชีวิตเราเจริญ คือ อปัสเสนธรรม 4 คือธรรมดุจเป็นพนักพิง ธรรมเป็นที่พึ่งพิงอาศัย ได้แก่ 1.พิจารณาแล้วเสพ ได้แก่ สิ่งของปัจจัย 4 2.พิจารณาแล้วอดทน อดกลั้น ได้แก่ อนิฏฐารมณ์ต่างๆ มีหนาว ร้อน และทุกขเวทนาเป็นต้น 3. พิจารณาแล้วเว้นเสีย ได้แก่ สิ่งที่เป็นโทษก่ออันตรายแก่ร่างกาย[...]
- 3 ใต้ร่มโพธิบทความจริงโดยทั่วๆ ไปที่เป็นข้อเท็จจริง ตามสมมุติของโลกนั้น สามารถเปลี่ยนแปลงไปตามเงื่อนไขปัจจัยตามบริบทของสังคมหรือเวลา เช่น ข่าว งานวิจัย สิ่งของ เสื้อผ้า ที่สมมุติเรียกตามบริบทของเวลานั้น แต่อริยสัจ 4 คือ ความจริงอันประเสริฐ 4 อย่างนี้ คือ ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค แสดงถึง สัจธรรมความจริง ที่ไม่เกี่ยวเนื่องด้วยเวลา กิจในอริยสัจ 4 (กิจญาณ) คือ หน้าที่ที่ต้องทำต่ออริยสัจ 4 แต่ละข้อ 1. ทุกข์ คือ ขันธ์ 5 (รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ) หน้าที่คือ “ปริญญา” ควรรอบรู้ เข้าใจ ยอมรับมัน 2. สมุทัย คือ ตัณหา หน้าที่คือ “ปหานะ” ควรละ กำจัด ขว้างทิ้ง[...]
- 3 ใต้ร่มโพธิบทภาวนา คือ การพัฒนาตนเองให้ดีขึ้นทุกด้าน คนเราต้องมีการพัฒนาตนเองให้ก้าวหน้า ให้เจริญงอกงาม หมวดธรรมะที่จะสนับสนุนให้เกิดการพัฒนาตนเองที่จะนำมากล่าวในที่นี้ได้แก่ วุฑฒิธรรม 4 : ธรรมเป็นเครื่องเจริญงอกงามแห่งปัญญา 4 ประการ 1.สัปปุริสังเสวะ: การคบหาสัตบุรุษ 2.สัทธัมมัสสวนะ: ฟังสัทธรรม,เอาใจใส่เล่าเรียน 3.โยนิโสมนสิการ: การทำในใจโดยแยบคาย 4.ธัมมานุธัมมปฏิบัติ: ปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม วัฒนมุข 6 ธรรมอันเป็นประตูแห่งประโยชน์ที่จะเปิดออกไปให้ก้าวหน้าสู่ความเจริญงอกงามของชีวิต ที่พระพุทธเจ้าได้เคยกล่าวไว้ในครั้งที่เป็นโพธิสัตว์ ได้แก่ 1.อาโรคยะ : ความไม่มีโรค 2.ศีล : ความมีระเบียบวินัย 3.พุทธานุมัต : ศึกษาแนวทางแบบอย่างจากผู้เป็นบัณฑิต 4.สุตะ : การใฝ่ฟังศึกษาหาความรู้ 5.ธรรมานุวัติ : การดำเนินชีวิตในทางชอบธรรม 6.อลีนตา : ความเพียรพยายามไม่ย่อหย่อน อธิษฐานธรรม 4 คือ ธรรมเป็นฐานที่มั่นคงของบุคคล เป็นธรรมที่จะทำให้บรรลุผลสำเร็จสูงสุดที่หมายไว้ได้ ได้แก่ 1.ปัญญา : หยั่งรู้ชัดในเหตุผล 2.สัจจะ : พูดอย่างไรทำอย่างนั้น[...]
- 3 ใต้ร่มโพธิบทอปริหานิยธรรม คือธรรมะอันไม่เป็นที่ตั้งแห่งความเสื่อม เป็นธรรมที่อาศัยการรักษาเหตุปัจจัยแห่งความไม่เสื่อมและเหตุปัจจัยแห่งความเจริญ โดยแบ่งเป็นหลายนัยยะได้แก่ นัยยะแรก 1. หมั่นประชุมกันเนืองนิตย์ 2. พร้อมเพรียงกันประชุม 3. ศึกษาและไม่ล้มล้างสิ่งที่พระพุทธเจ้าทรงบัญญัติไว้ 4. เคารพภิกษุผู้เป็นสังฆบิดร เป็นสังฆปริณายก 5. ไม่ลุอำนาจตัณหาคือความอยากที่เกิดขึ้น 6. ยินดีในเสนาสนะป่า 7. ตั้งสติระลึกไว้ในใจว่า เพื่อนพรหมจารีทั้งหลายผู้มีศีลงาม ซึ่งยังไม่มา ขอให้มา ที่มาแล้ว ขอให้อยู่ผาสุก นัยยะที่ 2 คือคุณธรรมในตนเองจะเจริญขึ้นหรือถอยลงด้วย 7 ประการนี้ คือ ไม่ยินดีการงาน ไม่ยินดีการคุย ไม่ยินดีความหลับ ไม่ยินดีการคลุกคลีด้วยหมู่คณะ ไม่เป็นผู้มีความปรารถนาลามก ไม่คบมิตรชั่ว ไม่ถึงความท้อถอยในระหว่างที่บรรลุคุณวิเศษเพียงเล็กน้อย นัยยะที่ 3 อริยะทรัพย์ 7 ประการได้แก่ เป็นผู้มีศรัทธาในคำสอนของพระพุทธเจ้า เป็นผู้มีหิริ เป็นผู้มีโอตตัปปะ เป็นพหุสูต ปรารภความเพียร เป็นผู้มีสติ เป็นผู้มีปัญญา นัยยะที่ 4 เจริญโพชฌงค์ 7ได้แก่ สติสัมโพชฌงค์[...]
- 3 ใต้ร่มโพธิบทบทสวด สาราณียะธัมมะสูตตัง เป็นบทที่กล่าวถึงสาราณียธรรม6 ซึ่งเป็นธรรมอันเป็นไปเพื่อความระลึกถึงกันและกัน คือธรรมแห่งการสร้างความสามัคคี เป็นบทสวดที่มาจากพระสูตรที่พระภิกษุจะมักสวดกันในวันเข้าพรรษา บทสวดนี้พระพุทธเจ้าได้ตรัสกับภิกษุไว้ที่เมืองสาวัตถี ณ วัดเชตวัน โดยกล่าวถึงธรรม 6 ประการ ที่เมื่อนำไปปฏิบัติแล้วจะเป็นธรรมเครื่องก่อให้เกิดอานิสงส์ 7 ประการ คือ 1.สาราณียา(ระลึกถึงกัน) 2.ปิยะกะระณา(เป็นเครื่องกระทำให้เป็นที่รักกัน) 3.คะรุกะระณา(เป็นที่เคารพซึ่งกันและกัน) 4.สังคะหายะ(เป็นไปเพื่อ ความสงเคราะห์ เอื้อเฟื้อ เกื้อกูล) 5.อะวิวาทายะ(ไม่วิวาทกัน) 6.สามัคคิยา(เกิดความพร้อมเพรียงกัน) 7.เอกีภาวายะ(ความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน) โดยองค์ประกอบของสาราณียธรรม 6 ประการที่พระพุทธเจ้าทรงตรัสถึงคือ 1.เมตตาทางกายทั้งต่อหน้าและลับหลัง 2.เมตตาทางวาจาทั้งต่อหน้าและลับหลัง 3.เมตตาทางใจทั้งต่อหน้าและลับหลัง 4.การแบ่งปันลาภที่ได้มาโดยธรรม 5.มีศีลเสมอกัน ศีลไม่ทะลุไม่ด่างพร้อย 6.มีทิฏฐิอันประเสริฐ คือรู้เจาะจงในอริยสัจ 4
- 3 ใต้ร่มโพธิบทการทำอะไรซ้ำๆ ย้ำๆ อยู่บ่อยๆ จะทำให้เราเกิดความชำนาญในสิ่งนั้น เช่นเดียวกับการพิจารณาใคร่ครวญธรรม ถ้าเราใคร่ครวญทำย้ำๆซ้ำๆ อยู่บ่อยๆ อยู่เรื่อยๆ จะทำให้เกิดปัญญา(ญาณ)รู้ชัดขึ้นมา เป็นผู้ฉลาดรู้แจ้งในธรรมนั้น วิธีการพิจารณาใคร่ครวญโดยความเป็นธาตุ คือ ธาตุ 6 โดยพิจารณาเจาะแยกลงไป แยกออกๆจนเหลือหน่วยเล็กที่สุดและพิจารณาประกอบกันเข้ามาแล้วจึงมีหน่วยใหญ่ขึ้น วิธีการพิจารณาใคร่ครวญโดยความเป็นอายตนะ คืออายตนะภายใน และภายนอกเชื่อมต่อกันทำให้เกิดความรู้สึกขึ้น โดยพิจารณาจากการที่อาศัยเหตุปัจจัยอื่นปรุงแต่งแล้วจึงเกิดขึ้น มีความไม่เที่ยงเป็นทุกข์ เมื่อพิจารณาใคร่ครวญอยู่บ่อยๆจะเกิด “กุสลตา”คือ ความฉลาดรู้แจ้งชัดซึ่งธาตุ และอายตนะ จะเป็นผลทำให้คลายกำหนัด และปล่อยวาง
- 3 ใต้ร่มโพธิบทปัญญาการรอบรู้ในทุกข์ของผู้ถึงซึ่งพระนิพพานหรือกล่าวอีกนัยยะหนึ่งได้ว่าเป็นปัญญาของพระอรหันต์นั่นเองโดยได้ยก “สัตตัฎฐานสูตร” ว่าด้วย ผู้มีปัญญาฉลาดรอบรู้ขันธ์ 5 ในฐานะ 7 ประการได้แก่ 1. รู้ชัดซึ่ง (รู้ลักษณะ) รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ 2. รู้ถึงเหตุเกิดขึ้น ของ รูป...ฯ คืออาศัยเหตุเกิด 3. รู้ถึงความดับ ของ รูป...ฯ คือ เมื่อเหตุดับ-ผลย่อมดับ 4. วิธีข้อปฏิบัติให้ถึงความดับ ของ รูป..ฯ คือ มรรค 8 5. รู้ชัดซึ่งอัสสาทะ (รสอร่อย/ข้อดี) ของ รูป...ฯ คือ สุขที่เกิดขึ้น 6. รู้ชัดซึ่งอาทีนวะ (โทษ/ข้อเสีย) ของ รูป...ฯ คือ ไม่เที่ยง 7. รู้ชัดซึ่งนิสสรณะ (อุบายเครื่องสลัดออก) จาก รูป...ฯ คือ ปัญญาเห็นความไม่เที่ยง
- 3 ใต้ร่มโพธิบท
- ตัณหา ได้ชื่อว่าเป็นเหตุแห่งทุกข์ และเป็นที่มาของปัญหาต่างๆในชีวิตของคนเรา การมาเจริญภาวนาในสัญญา 7 ประการนี้ คือเมื่อมีการพิจารณาให้มากในสัญญาเหล่านี้ จิตจะไม่หวนกลับกำเริบและมีนิพพานเป็นที่สุด ปัญหาของตัณหาและกิเลสแก้โดยสัญญา 7 ประการ ดังนี้ ยินดีในเพศตรงข้าม(เมถุนธรรม) แก้โดย พิจารณา อสุภสัญญา รักตัวกลัวตาย (รักชีวิต) แก้โดยพิจารณา มรณสัญญา ติดในรสอาหาร แก้โดย พิจารณา อาหาเรปฏิกูลสัญญา ความวิจิตรแห่งโลก แก้โดย พิจารณา สัพพโลเกอนภิรตสัญญา ลาภสักการะ และความสรรเสริญ แก้โดย พิจารณา อนิจจสัญญา ความเฉื่อยชา เกียจค้าน ท้อถอย ประมาท ไม่ประกอบความเพียร แก้โดย พิจารณา อนิจเจทุกขสัญญา (ความเห็นทุกข์เป็นสิ่งไม่เที่ยงทั้งหลาย) ทิฐิ และมานะ แก้โดย พิจารณา ทุกเขอนัตตสัญญา (เห็นความเป็นอนัตตาในความทุกข์นั้น)
- 3 ใต้ร่มโพธิบทธรรม 4 ประการที่เป็นเหตุให้พระสัทธรรมเลอะเลือนจนเสื่อมสูญไป หรือ สัทธรรมปฏิรูป คือ 1.บทพยัญชนะ อรรถแห่งบทพยัญชนะที่สืบทอดกันมาไม่ดี 2. ภิกษุเป็นคนว่ายาก 3.ผู้เป็นพหูสูต ไม่ถ่ายทอดสูตรแก่ทายาท 4.พระเถระเป็นผู้เดินในทางทราม หากมีการสืบทอดบทพยัญชนะ กันมาอย่างดีคือจำเนื้อหาได้ถูกต้อง ออกเสียงอักขระชัดเจน รู้ความหมายอย่างถูกต้องก็จะทำให้พระสัทธรรมแท้ยังคงอยู่และเจริญขึ้นได้ โดยการกล่าวสวดบทพยัญชนะนี้จะต้องแม่นยำทั้งบท(ตัวหนังสือ) และพยัญชนะ(การออกเสียง) การสวดมนต์นี้จึงเป็นรูปแบบของการรักษาศาสนาอย่างหนึ่ง บทสวดธชัคคสูตร(ธะชัคคะสุตตัง) เป็นบทสวดที่กล่าวถึงวิธีระงับความกลัว โดย พระพุทธเจ้ากล่าวถึงเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในอดีตนานมาแล้วที่เทวดารบกับอสูรโดยท้าวสักกะได้บอกกับเหล่าเทวดาว่า หากเกิดความกลัวหวาดสะดุ้ง ขนพองสยองเกล้าขึ้น ให้มองไปที่ยอดธงของหัวหน้าเทวดาทั้ง 4 จะทำให้ความกลัวหายไป แต่พระพุทธเจ้ากล่าวว่าความกลัวของเหล่าเทวดาก็ยังมีอยู่ เหตุเพราะหัวหน้าเทวดาทั้ง 4 ยังมีราคะ โทสะ โมหะอยู่ พระพุทธเจ้าจึงกล่าวต่อภิกษุว่าหากภิกษุไปอยู่ป่า อยู่โคนไม้ อยู่เรือนว่าง หากระลึกถึง พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ ภัยความกลัว ความสะดุ้ง ความขนพองสยองเกล้าจะไม่มี เหตุเพราะผู้มีกิเลสสิ้นไปแล้ว ก็จะไม่สะดุ้งหวาดกลัวภัยอันตรายใดๆเลย
- 3 ใต้ร่มโพธิบท“โลกบาล” เป็นหลักคุ้มครองรักษาโลก ที่ช่วยให้มนุษย์อยู่ด้วยกันอย่างมีความสุข อันประกอบด้วยหลักธรรม 2 ประการที่จะมาคู่กันเสมอในจิตใจ ที่จะทำให้บุคคลทำแต่ความดี คือหิริและโอตตัปปะ “หิริ” แปลว่าความละอายต่อบาป และ “โอตตัปปะ” แปลว่าความกลัวต่อบาป บุคคลผู้มีหิริและโอตตัปปะ มีสติสัมปชัญญะ มีการสำรวมอินทรีย์ ศีลสมบูรณ์ เป็นเครื่องที่ทำให้เกิดปัญญาเห็นตามความเป็นจริงถึงพระนิพพานได้ในที่สุด
- ขณะ หรือเวลา หรือโอกาส ใน 4 อย่างนี้ ได้แก่ การที่มีพระพุทธเจ้าอุบัติขึ้น การที่ได้เกิดในพื้นที่หรือประเทศที่มีคำสอนของพระพุทธเจ้า การที่มีสัมมาทิฎฐิ (ความเห็นที่ถูกต้อง) และการที่มีอายตนะ 6 อย่างครบสมบรูณ์ (ไม่พิการ)…โอกาสดีทั้ง 4 ประการ ที่ได้ยากขนาดนี้เกิดขึ้นแล้ว อย่าไปรีรอ อย่าให้ล่วงเลยไปเสีย โอกาสนี้ไม่ได้มีอยู่เรื่อย ๆ ตอนนี้อยู่ในช่วงโปรโมชั่น ครั้งนึงครั้งเดียวคือตอนนี้แหละ ตรงนี้แหละ ช่องที่เราอยู่ในกัปนี้ ที่ยังมีคำสอนพระพุทธเจ้าโคตมอยู่ในตอนนี้ เพราะมันไม่แน่ว่าชาติหน้าที่เราเกิดมาอาจจะไปเบียดเสียดยัดเยียดอยู่ในนรก เกิดเป็นสัตว์ที่เกิดในของโสโครก เป็นสัตว์เดรัจฉาน ไปเกิดเป็นสัตว์ในอรูปพรหม หรือแม้แต่ไปเกิดในประเทศที่ไม่มีคำสอนของพระพุทธเจ้าอยู่… มันไม่แน่ไม่นอนว่าโอกาสหน้าที่จะมาต่อไป มันจะมีหรือไม่ แต่ถ้ามีอยู่ตอนนี้ รีบเลย คือให้เป็นโสดาปัตติผลให้ได้
- 3 ใต้ร่มโพธิบทบุคคลผู้ประพฤติปฏิบัติตามธรรมที่พระพุทธองค์ทรงตรัสสอนไว้ ผลที่จะพึงหวังได้ คือความผาสุก ซึ่งจะปรากฏเป็นความเบาบางของกิเลส นำไปสู่การสิ้นสุดของการเวียนว่ายตัดภพชาติให้น้อยลงไปตามลำดับ การเดินตามทางนั้นเป็นมรรค เมื่อมาถึงจุดหมายปลายทางแล้วเรียกว่าผลและมีนิพพานเป็นที่สุดแห่งการประพฤติปฏิบัติ พึงเห็นโทษของการเวียนว่ายตายเกิดว่า เป็นสิ่งที่ไม่น่ายินดี พึงเห็นคุณของพระธรรมคำสอน ว่าเป็นสิ่งที่ประเสริฐ และน้อมนำมาประพฤติปฏิบัติเพื่อที่สุดแห่งพรหมจรรย์
- "กิเลส" เป็นเหตุแห่งทุกข์ต้องละเสีย จึงอ้างอิงในส่วนของอังคุตตรนิการ ที่พระพุทธเจ้าได้ทรงแสดงไว้ในหมวด 6 ว่าด้วยวิธีการละกิเลส อาศัยธรรมหมวด 5 เป็นเหตุทำให้จิตหลุดพ้นจากกิเลสได้ กล่าวคือ การฟังธรรม การเทศน์สอน การทบทวน การคิดใคร่ครวญในธรรม หรือการทำสมาธิ ธรรม 5 อย่างนี้ เมื่อปฏิบัติให้บ่อยแม้ข้อใดข้อหนึ่งก็จะเกิดความรู้ในอรรถธรรมมากขึ้น ส่งผลให้เกิดความปราโมทย์ ปีติ ทำให้กายระงับ และจิตเป็นสุข มีสติและสมาธิตั้งมั่นเป็นอารมณ์อันเดียว ซึ่งจิตที่มีสติตั้งมั่นนี้เองเป็นเหตุปัจจัยหมวด 6 ว่าด้วยการละกิเลส คือการสำรวม การพิจารณาก่อนเสพสิ่งต่าง ๆ การงดเว้นสิ่งควรงด การอดทน การละเรื่องกาม พยาบาท เบียดเบียน รวมถึงการภาวนาเพื่อให้เกิดโพชฌงค์ด้วย จะเห็นว่าธรรม 2 หมวดนี้ สอดคล้องรับกัน เป็นวิธีปฏิบัติเพื่อให้ถึงความดับทุกข์หรือมรรค 8 นั่นเอง
- 3 ใต้ร่มโพธิบทอินทรีย์ 5 และพละ 5 นั้น ต่างมีองค์ประกอบ 5 ประการ คือศรัทธา วิริยะ สติ สมาธิ และปัญญา หากจะเปรียบเทียบ สติ ย่อมเทียบได้กับหัวธนู วิริยะ คู่กับ สมาธิ ช่วยพยุงธนูไว้ ศรัทธา คู่กับ ปัญญา พยุงด้านปลายของธนู หากอินทรีย์หรือพละตัวใดมากไป ธนูนั้นย่อมขาดความสมดุล ไม่สามารถแล่นตรงสู่เป้าหมายได้ กล่าวได้ว่าอินทรีย์ 5 และพละ5 นั้น เหมือนกันโดยองค์ธรรมเพียงแต่ใช้อธิบายคนละนัยยะ คือความเป็นใหญ่ และความไม่หวั่นไหวเปรียบเสมือนแม่น้ำใหญ่ที่มีเกาะอยู่กึ่งกลาง แบ่งแม่น้ำออกเป็นสองสาย แม่น้ำทั้งสองที่ถูกแบ่งนั้น ย่อมเป็นสายน้ำเดียวกัน และไหลบรรจบกันในที่สุด
- 3 ใต้ร่มโพธิบท“สัตบุรุษหรือสัปปบุรุษ” หมายถึง คนดี เป็นผู้ประกอบด้วยสัทธรรม ตามจูฬปุณณมสูตร คือผู้มี “ศรัทธา หิริ โอตัปปะ พหูสุต ความเพียร สติมั่นคง และปัญญา” โดยทั่วไปเราจะพิจารณาว่าใครเป็นคนดี ก็โดยเทียบกับคุณธรรมที่กล่าวนี้ จากมิตรสหายที่บุคคลนั้นคบหา จากความคิด การให้คำปรึกษา วาจา4 การกระทำ ทิฐิความเห็น และทานที่ให้ นอกจากนี้ ยังมีเรื่องของ “อุบาสกธรรม7” คือคุณสมบัติของชาวพุทธที่ดี และ”กัลยาณมิตรธรรม7” คือคุณสมบัติของมิตรแท้ และ “สัปปุริสธรรม7” ในธัมมัญญสูตร อันเป็นคุณสมบัติของสัตบุรุษ ที่เปรียบดั่งคุณธรรมของพระเจ้าจักรพรรดิ คุณธรรมเหล่านี้ ศึกษาเพื่อเป็นบรรทัดฐาน พัฒนาจุดที่ยังมีน้อยอยู่ หรือหากมีคุณสมบัติเหล่านี้แล้ว ก็รักษาคงไว้เพื่อความดีงาม และความเจริญต่อไป
- 3 ใต้ร่มโพธิบทมงคลชีวิต 4 ข้อสุดท้ายนี้เป็นภูมิจิตของผู้ที่ไกลจากกิเลส กล่าวคือ จิตไม่หวั่นไหวในโลกธรรม คือ เมื่อถูกโลกธรรมฝ่ายอิฏฐารมณ์มากระทบก็ไม่หวั่นไหวไปตามอารมณ์ที่น่าพอใจน่าปรารถนานั้น และเมื่อถูกฝ่ายอนิฏฐารมณ์มากระทบก็ไม่หวั่นไหวไปตามอารมณ์ที่ไม่น่าปรารถนานั้น จิตจะเข้าถึงความคงที่อย่างนี้ได้ ต้องประกอบด้วยปัญญาที่เห็นการทำงานของขันธ์ที่เป็นไปตามกฎไตรลักษณ์ จิตไม่โศก คือจิตที่หลุดจากบ่วงสิเน่หา เพราะความโศกเกิดจากความรัก จะไม่ให้โศกก็อย่าให้มีความรัก ความรักเปรียบเหมือนยางเหนียวทำให้จิตติดอารมณ์นั้น พอความรักหายไปก็เศร้าโศก จิตพระอรหันต์ท่านไม่มีรักเพราะฉะนั้นจึงไม่โศก จิตปราศจากธุลี ธุลี คือความเศร้าหมองของจิตที่เกิดจากเทือกของกิเลส (ราคะ โทสะ โมหะ) จะกำจัดกิเลสได้ด้วย อริยมรรคมีองค์8 จิตหมดธุลี คือจิตที่พ้นแล้วจากกิเลส จิตเกษม เป็นจิตที่ถึงแดนเกษมคือแดนที่ปลอดภัยจากกิเลสเครื่องกวนใจ ตัดเครื่องผูกรัด คือกามโยคะ ภวโยคะ ทิฏฐิโยคะ อวิชชาโยคะ พ้นแล้วจาก ความเกิด-แก่-เจ็บ-ตาย
- ในทางปฏิบัติเราจำเป็นต้องรู้เรื่องอริยสัจไว้บ้าง เพราะเวลาที่เราไปรับรู้เห็นนิมิตอะไรมา เราอาจจะหลงหรือเข้าใจผิดสำคัญว่าตนมีคุณวิเศษหรือได้บรรลุธรรมแล้ว พระพุทธเจ้าได้สละความสุขส่วนพระองค์เพื่อที่จะออกค้นหาศาสตร์ความจริงที่จะช่วยให้คนพ้นจากทุกข์ ความแก่ ความตาย ซึ่งศาสตร์ที่พระองค์ค้นพบนี้เรียก “อริยสัจ 4” การเห็นอริยสัจ (ญาณในอริยสัจ 4) ที่แท้จริงนั้นต้องมีปริวัฏฏ์ 3 มีอาการ 12 จึงจะเป็นความพ้นทุกข์ที่แท้จริง คือเป็นจิตที่พ้นจากกิเลสโดยสิ้นเชิง เป็นความแจ้งในนิพพาน นิพพานธาตุ แบ่งเป็น 2 ประเภทคือ สอุปาทิเสสนิพพาน คือ ยังมีชีวิตอยู่ อินทรีย์ห้ายังอยู่ เสวยเวทนาอยู่ และอนุปาทิเสสนิพพาน คือการดับภพและเวทนาได้สิ้นเชิง
- 3 ใต้ร่มโพธิบท
- 3 ใต้ร่มโพธิบท
- 3 ใต้ร่มโพธิบทมงคลชีวิตข้อ19 “อารตี วิรตี ปาปา” การงดเว้นจากบาป คำว่า “บาป”ตรงกันข้ามกับ “บุญ” บุญท่านเคยบอกว่าเป็นชื่อของความสุขแสดงว่าบาปนั้นก็จะเป็นชื่อของความทุกข์ แต่ต้องดูให้ลึกซึ้งคือให้ดูถึงภายในจิต บุญหรือบาปนั้นสะสมไว้ภายในจิต ไม่ได้สะสมไว้ในอาการของจิต ดังนั้นบาปคืออกุศลต่างๆที่ทำให้จิตเสีย ทำให้จิตตกต่ำ ทำให้จิตเกิดทุกข์นั่นเอง การจะงดเว้นจากบาปได้นั้นต้องอาศัยหลักธรรมคือ “หิริ” ความละอาย รังเกียจบาป และ“โอตตัปปะ”ความกลัวต่อบาป หากมีหิริและโอตตัปปะแล้วก็จะยังผลให้เรางดเว้นจากการทำบาปได้นั่นเอง
- 3 ใต้ร่มโพธิบท“งาน” คือ อะไรก็ได้ที่เป็นระบบ เป็นขั้นตอน มีวิธีการปฏิบัติ และจะเกิดความเป็นมงคลได้นั้น คุณธรรมในการทำงานให้สำเร็จ คือ อิทธิบาท 4 การเจริญอิทธิบาท 4 ต้องเข้าใจให้ถูก ต้องมีองค์ประกอบอีก 2 อย่าง คือ “ธรรมเครื่องปรุงแต่ง” หรือเป้าหมาย และประกอบด้วย “สมาธิ” ที่จะมาเชื่อมกับกิจแต่ละอย่างๆ คือ “ฉันทะ” ความพอใจความเต็มใจ ที่ทำให้เริ่มลงมือทำ “วิริยะ” ความเพียร ความกล้า ความกระตือรือร้น ความมีระเบียบวินัย ทำให้งานสำเร็จได้ “จิตตะ” ความใส่ใจ ถูกต้อง ตรวจสอบ ทำให้งานมีความต่อเนื่อง “วิมังสา” การพินิจพิเคราะห์ แยกแยะพิจารณา เปลี่ยนแปลงให้งานนั้นๆ ดีขึ้น ด้วยองค์ประกอบ 3 ประการ ตั้งไว้แล้ว จะทำให้การทำการงานนั้น ไม่ย่อหย่อน ไม่เกียจคร้าน ไม่ฟุ้งซ่าน ไม่สยบในภายใน แต่สำเร็จ “การงานไม่อากูล” ลุล่วงไปได้นั่นเอง
- 3 ใต้ร่มโพธิบทอตฺตสมฺมาปณิธิ จ หมายถึง ตั้งตนไว้ชอบ ในที่นี้คือ การตั้งจิตเพื่อรักษากายและจิตใจให้อยู่ในทางที่เป็นกุศลธรรมในปัจจุบันซึ่งพระพุทธเจ้าได้ทรงชี้ทางที่ปลอดภัยไว้ให้แล้ว คือ อริยมรรคมีองค์8 ได้แก่ ศีล สมาธิ ปัญญา การตั้งจิตไว้ถูกไม่ว่าจะเจอผัสสะที่น่าพอใจหรือไม่ นั่นจึงเป็นมงคล ท่านยังทรงตรัสให้เรานึกถึงศีล นึกถึงโสตาปัตติยังคะ4 ให้มีปีติสุข อันเกิดจากศรัทธาที่หยั่งลงมั่นไม่หวั่นไหว ซึ่งจะช่วยให้ชนะอุปสรรคได้เช่นกัน ทั้งนี้หากตั้งจิตไว้ชอบแล้วก็จะสามารถไปถึงเป้าหมายทั้งชั้นต้น ชั้นกลาง ชั้นสูงสุดได้อย่างแน่นอน
- 3 ใต้ร่มโพธิบทธรรมของสัตบุรุษมี สัทธรรม 3 อย่างคือ ปริยัติ ปฏิบัติ ปฏิเวธ ปริยัติ คือการศึกษาเล่าเรียนในระบบคำสอนที่เรารวบรวมมาโดยรอบแล้วนั่นคือคำสอนของพระศาสดามีองค์ 9 (นวังคสัตถุศาสน์)ได้แก่ สุตตะ เคยยะ เวยยากรณะ คาถา อุทาน อิติวุตตกะ ชาตกะ อัพภูติธรรม เวทัลละ ปริยัติแบ่งตามรูปแบบการศึกษาได้ 3 อย่างดังนี้ 1.อลคัททูปริยัติ การศึกษาแบบเป็นงูพิษคือศึกษาธรรมเพื่อลาภสักการะ เพื่อข่มผู้อื่น 2.นิสสรณัตถปริยัติ การศึกษาเพื่อเป็นประโยชน์ต่อการออกไปจากทุกข์ คือศึกษาเจาะจงลงไปในเรื่องที่จะออกจากทุกข์ได้ 3.ภัณฑาคาริกปริยัติ การศึกษาแบบขุนคลังคือการศึกษาเพื่อที่จะเก็บรักษาองค์ความรู้เหล่านั้นไม่ให้เสื่อมสูญไป ปฏิบัติ คือ นำความรู้มาลงมือทำอย่างเป็นขั้นเป็นตอนเพื่อให้ได้ประโยชน์อย่างที่ต้องการ การลงมือทำนั้นต้องไม่ยกตนข่มผู้อื่น การปฏิบัตินั้นมีได้หลายรูปแบบ การปฏิบัติต้องถูกต้องกับสิ่งนั้นๆ ปฏิเวธ คือการรู้ธรรมเป็นขั้นๆไป รู้ว่าธรรมนี้เป็นอย่างนี้ รู้แทงตลอดในธรรมเป็นขั้นเป็นขั้นขึ้นไป ในส่วนของปฏิเวธนี้ก็จะหมายถึงการบรรลุธรรมขั้นใดขั้นหนึ่งด้วย ปริยัติ ปฏิบัติ ปฏิเวธนี้ต้องมาด้วยกันจะมีผลแทงตลอดได้จะต้องลงมือปฏิบัติจะปฏิบัติได้ต้องรู้วิธีการว่าต้องทำอย่างไรไม่ให้เกิดความข้องความกังวลผลที่จะเกิดขึ้นก็จะเป็นขั้นๆไป หมุนวนไปแบบนี้
- 3 ใต้ร่มโพธิบทตัณหา เป็นเครื่องทำให้มีการเกิดอีก มีความเป็นสภาวะขึ้นมา ประกอบด้วยความกำหนัด ด้วยอำนาจแห่งความเพลิน อันเป็นเครื่องให้เพลินอย่างยิ่งในอารมณ์นั้นๆ เพราะฉะนั้นต้องประกอบด้วยการเกิดอีกให้เป็นสภาวะขึ้นมา เป็นตัวเป็นตนขึ้นมา มีความกำหนัด มีความเพลิน โดยนัยยะนี้ได้แบ่งตัณหาเป็น 3 อย่างดังนี้ 1.กามตัณหา คือความกำหนัดยินดีพอใจและความเพลินในรูปผ่านทางตา เสียงผ่านทางหู กลิ่นผ่านทางจมูก รสผ่านทางลิ้น และโผฏฐัพพะผ่านทางกาย และความอยากได้กามคุณคือสิ่งสนองความต้องการทางประสาททั้งห้า 2.ภวตัณหา คือ ความอยากในภาวะของตัวตนที่จะได้จะเป็นอย่างใดอย่างหนึ่ง ความอยากมี อยากเป็น อยากคงอยู่ตลอดไป 3.วิภวตัณหา คือ ความอยากในความพรากพ้นไปแห่งตัวตนจากความเป็นอย่างใดอย่างหนึ่งอันไม่ปรารถนา ความไม่อยากเป็น อยากดับสูญ ส่วนตัณหา 108 นั้นมาจากคำว่าตัณหาวิจริตคือความนึกที่แผ่ซ่านด้วยอำนาจของตัณหาคือความเพลินซ่านไปแผ่ไป โดยแผ่ซ่านกระจายไปในขันธ์อันเป็นภายใน 18 อย่าง ขันธ์อันเป็นภายนอกอีก18อย่าง ทั้ง 2 นี้ รวม 36 อย่าง X 3 กาลคือ ปัจจุบัน อดีต และอนาคต จึงเป็นตัณหา 108 นั่นเอง
- 3 ใต้ร่มโพธิบทจรณะคือข้อปฏิบัติให้ถึงปัญญาข้อปฏิบัติที่ทำวิชชาให้เกิดขึ้นได้ ข้อปฏิบัตินี้มี 15 อย่าง จรณะมีความหมายเดียวกันกับเสขะปฏิปทาคือข้อปฏิบัติของผู้ที่ยังต้องฝึกต้องปฏิบัติต่อ ข้อปฏิบัติของผู้ที่ยังไม่บรรลุธรรมขั้นสูง บุคคลที่ต้องการบรรลุธรรมจึงต้องปฏิบัติตามเสขะปฏิปทา ดังนั้นจรณะ15 ก็คือเสขะปฏิปทาที่มีเนื้อหาแจงออกเป็น 15 ประการ ตามนัยยะของเสขะปฏิปทาสูตร ประกอบด้วย 4 หมวดคือ ศีล1, อปัณณกปฏิปทา3,สัปปุริสัทธรรม 7 และฌาน4 ซึ่งแจกแจงได้ดังนี้ 1.ศีล ได้แก่ ศีล5 ศีล8 ศีล10 และศีล227 2.อปัณณกปฏิปทา3 คือข้อปฏิบัติให้ถึงความเจริญงอกงามในธรรม ได้แก่ 1.อินทรีสังวร(สำรวมอินทรีย์) 2.โภชเนมัตตันญุตา(รู้จักประมาณในการบริโภค) 3.ชาคริยานุโยค(การประกอบความเพียรอยู่ในธรรมอันเป็นเครื่องตื่น) 3.สัปปุริสัทธรรม7 ได้แก่ 1.มีศรัทธา 2.มีหิริ 3.มีโอตตัปปะ 4.เป็นพหูสูต 5.มีความเพียรอันปรารภแล้ว 6.มีสติ7. มีปัญญา 4.ฌาน4 คือการเพ่ง,สมาธิ ได้แก่ 1.ปฐมฌาน(วิตก วิจารณ์ ปีติ สุข เอกัคคตา) 2.ทุติยฌาน(ปีติ สุข เอกัคคตา) 3.ตติยฌาน(สุข เอกัคคตา) 4.จตุตถฌาน(อุเบกขา[...]
- ขึ้นชื่อคำว่า “พร” เป็นสิ่งที่ใครๆก็ปรารถนาเพื่อต้องการให้เกิดความสุขความสมหวังในชีวิตทั้งนั้น ในที่นี้ได้รวบรวมพรดีๆ ตามคำสอนของพระพุทธเจ้าจากสูตรต่างๆอันได้แก่ จักกวัตติสูตร อิฏฐสูตร และจูฬกัมมวิภังคะสูตร ได้ 9 ประการดังนี้ 1) มีอายุยืน 2) วรรณะงาม 3) มีความสุข 4) มีโภคะเงินทอง 5) มีสุขภาพแข็งแรงมีโรคน้อย 6) มียศถาบันดาศักดิ์มีอำนาจใหญ่โต 7) การเกิดในตระกูลสูง 8) มีปัญญามีความฉลาดหลักแหลม 9) ตายแล้วได้เกิดในสวรรค์ ถ้าใครได้รับพร 9 ข้อนี้ แม้เพียงข้อใดข้อหนึ่งต้องดีต่อจิตใจแน่ แต่หากเราทำความเข้าใจในความหมายที่ลึกซึ้งลงไปตามนัยยะคำสอนของพระพุทธเจ้าจากพระสูตร พรทั้ง 9 ประการนี้ก็จะดีต่อเรายิ่งขึ้นไปอีก
- 3 ใต้ร่มโพธิบทกัลยาณมิตร หมายถึงบุคคลที่ปรารถนาดีและนำสิ่งดีงามและเป็นกุศลมาสู่เรา กัลยาณมิตรมีหลายแบบได้แก่ 1.กัลยาณมิตรที่เป็นองค์ความรู้อันได้แก่ อริยมรรคมีองค์8 2.เพื่อนที่ดีคือฆราวาสผู้พร้อมด้วยศรัทธา ศีล สุตะ จาคะ ปัญญา 3.พระสงฆ์ครูบาอาจารย์ 4.พระพุทธเจ้า ในครั้งนี้จะกล่าวรายละเอียดถึงกัลยาณมิตรแบบที่3 คือพระสงฆ์ครูอาจารย์ เราจะเลือกเอาพระสงฆ์ครูอาจารย์แบบใดมาเป็นกัลยาณมิตรที่ควรคบหาควรเข้าใกล้ถึงแม้ว่าจะถูกไล่หนีก็ตาม พระพุทธเจ้าได้กล่าวถึงคุณสมบัติของพระสงฆ์ที่ควรเข้าใกล้ไว้ 7 ประการดังนี้ 1.เป็นผู้มีความน่ารักใคร่พอใจ (ปิโย) คือเป็นลักษณะมีความเมตตา แผ่มาให้เกิดความรักใคร่พอใจ 2.เป็นที่เคารพ (คุรุ) คือเป็นผู้ที่มีความหนักแน่น มีหลักเกณฑ์หลักการ คุ้มครองให้ในทิศทั้งปวง 3.เป็นผู้ควรสรรเสริญ (ภาวนีโย) คือ เป็นผู้มีความรู้จริง มีการพัฒนาตนเองอยู่เสมอควรเอาเป็นแบบอย่าง 4.เป็นผู้ฉลาดพูด (วตฺตา) คือรู้จังหวะรู้เวลาที่จะพูดที่จะสอนได้ และเป็นผู้ให้คำปรึกษาที่ดีได้ 5.เป็นผู้อดทนต่อถ้อยคำ (วจนกฺขโม) คืออดทนที่จะพูดซ้ำๆในเรื่องเดิมๆได้โดยไม่เบื่อหน่าย 6.เป็นผู้พูดถ้อยคำลึกซึ้งได้ (คมฺภีรญฺจ กถํ กตฺตา) คือสามารถแจกแจงคำสอนได้อย่างละเอียดลึกซึ้ง 7.เป็นผู้ไม่ชักนำไปในอฐานะ (จฎฺฐาเน นิโยชเย) คือไม่ชักนำไปในทางที่ไม่ดีทางที่เสื่อมเสีย
- 3 ใต้ร่มโพธิบท
- 3 ใต้ร่มโพธิบทสตินี่แหละจะเป็นตัวช่วยจัดระเบียบจิตใจของเรา สติที่ท่านพระสารีบุตรอธิบายเจาะจงลงไป คือเครื่องมือที่ชื่อว่ากายคตาสติ โดยท่านอุปมาลักษณะของจิตไว้ 9 อย่าง คือ 1 จิตเสมอด้วยดิน จิตที่มีสติตั้งไว้ก็จะเหมือนกับดินไม่ว่าใครจะทิ้งของสะอาดหรือไม่สะอาด ดินก็ยังเป็นดินเสมอ 2 จิตเสมอด้วยน้ำ จิตที่มีสติตั้งไว้ก็จะเหมือนกับน้ำไม่ว่าใครจะทิ้งของสะอาดหรือไม่สะอาด น้ำก็ยังเป็นน้ำเสมอ 3 จิตเสมอด้วยไฟ จิตที่มีสติตั้งไว้จะเหมือนกับไฟจะไม่อึดอัดเปลี่ยนแปลงตามสิ่งที่น่าพอใจหรือไม่น่าพอใจ จะกว้างขวางเสมอกัน 4 จิตเสมอด้วยลม จิตที่มีสติตั้งไว้ก็จะเหมือนกับลมเมื่อมีสิ่งใดมากระทบกับอารมณ์ไม่ว่าดีหรือไม่ดีก็ตาม ย่อมเสมอกันหมด 5 จิตเปรียบด้วยผ้าเช็ดธุลี จิตที่มีสติตั้งไว้จะเป็นจิตกว้างขวางรับทั้งสิ่งดีและไม่ดีโดยไม่รังเกียจเหมือนผ้าขี้ริ้วที่เช็ดได้ทุกอย่าง 6 มีจิตเหมือนเด็กจัณฑาล ถ้ามีสติตั้งไว้แล้วก็จะมีจิตเหมือนจิตเด็กจัณฑาลที่นอบน้อม อดทน 7 มีจิตเหมือนโคเขาขาด จิตที่มีสติตั้งไว้จะเหมือนโคที่เขาขาดจะเจียมตัวและระมัดระวังเสมอ 8 มีจิตเหมือนคนรักสวยรักงามที่มีซากศพ ซากงู มาแขวนคล้องคอไว้ จิตที่มีสติตั้งไว้จะไม่ยึดถือกายว่าเป็นของเรา 9 มีจิตเหมือนภาชนะที่ก้นทะลุใส่น้ำมันไว้ต้องคอยประคับประคองไม่ให้น้ำมันล้นออก จิตที่มีสติตั้งไว้จะบริหารกายอย่างระมัดระวัง
- 3 ใต้ร่มโพธิบทปัญญาจัดเป็นอันดับสูงสุด จะลับปัญญาให้แหลมคมได้ต้องมีคุณธรรมต่างๆ มาประกอบเข้าด้วยกันอย่างเป็นขั้นเป็นตอน ซึ่งคุณธรรมที่ท่านกล่าวถึง คือ เวสารัชชกรณธรรม 5 (คุณธรรมที่จะทำให้เกิดความแกล้วกล้า ความกล้าหาญ ) ได้แก่ 1.ศรัทธา ความเชื่อใจ ความมั่นใจ ความลงใจ ในการตรัสรู้ของพระพุทธ ในคำสอนของพระพุทธเจ้า และในหมู่สงฆ์สาวกของพระพุทธเจ้า 2.ศีล ความประพฤติถูกต้องดีงาม ไม่ผิดระเบียบวินัย ศีลถือเป็นพื้นฐานสำหรับทุกอย่าง ศีลเป็นความปกติ ที่ต้องปฏิบัติให้เป็นนิสัย 3.พาหุสัจจะ ความเป็นผู้ได้ศึกษาเล่าเรียนมาก มีทั้งเป็นรูปแบบและไม่เป็นรูปแบบ 4.วิริยารัมภะ ปรารภความเพียร คือ การที่ได้เริ่มลงมือทำความเพียรพยายามในกิจการนั้นๆ อยู่แล้วอย่างมั่นคงจริงจัง จนเป็นเหตุให้เกิดความชำนาญ 5.ปัญญา ความรอบรู้ เข้าใจซึ้งในเหตุผล ดี ชั่ว ประโยชน์ มิใช่ประโยชน์ อันเกิดจากการลงมือปฏิบัติจริง และปัญญาที่เกิดขึ้นจะก่อให้เกิดผลสะท้อนกลับ ( feedback loop) พิจารณาว่าสิ่งที่เราทำมามันใช่ไหม ถูกไหม เป็นผลสะท้อนกลับให้เราไปปรับ ศรัทธา ศีล ปรับองค์ความรู้ ปรับการลงมือทำ ปรับเป็นวงกลมหมุนไปวนไป เพื่อให้ปัญญาของเราแหลมคมยิ่งขึ้น เห็นตามความเป็นจริง[...]
- ธรรมเครื่องอยู่อย่างผาสุกในที่นี้จะกล่าวไว้ ๒ กรณีคือ กรณีที่ ๑ คือผู้ที่อยู่คนเดียวจะอยู่อย่างไรให้ผาสุกอยู่ได้ พระพุทธเจ้าได้ตรัสไว้เป็น ๒ นัยยะได้แก่นัยยะที่ตรัสไว้กับภิกษุทั้งหลายว่าธรรมเครื่องอยู่อย่างผาสุกคือ ฌาน ๑/ ฌาน ๒/ ฌาน๓/ ฌาน๔ / การทำให้แจ้งซึ่งเจโตวิมุติปัญญาวิมุติ ส่วนนัยยะที่ ๒ ได้ปรารภในคหบดีเจาะจงสำหรับผู้ครองเรือนไว้ คือโสตาปัตติยังคะ๔ เป็นธรรมมะที่จะทำให้ผู้ปฏิบัติตามแล้วหยั่งลงสู่อมตะธรรมได้ ได้แก่ มีศรัทธาอันหยั่งลงมั่นด้วยปัญญาในพระพุทธเจ้า / มีศรัทธาอันหยั่งลงมั่นด้วยปัญญาในพระธรรม / มีศรัทธาอันหยั่งลงมั่นด้วยปัญญาในพระสงฆ์ / มีศีลสมบูรณ์ โดยทั้ง ๒ นัยยะนี้ พระพุทธเจ้าหมายถึงตัวเราเองเท่านั้น กรณีที่ ๒ คือธรรมเครื่องอยู่อย่างผาสุกของผู้อยู่ร่วมกันเป็นหมู่คณะ คือ ธรรมเครื่องอยู่เป็นสุข ๕ ประการ ได้แก่ เข้าไปตั้งกายกรรมอันประกอบด้วยเมตตาในเพื่อนผู้ประพฤติพรหมจรรย์ทั้งต่อหน้าและลับหลัง / เข้าไปตั้งวจีกรรมอันประกอบด้วยเมตตาในเพื่อนผู้ประพฤติพรหมจรรย์ทั้งต่อหน้าและลับหลัง/ เข้าไปตั้งมโนกรรมอันประกอบด้วยเมตตาในเพื่อนผู้ประพฤติพรหมจรรย์ทั้งต่อหน้าและลับหลัง/เป็นผู้มีศีลที่สมบูรณ์ไม่ทะลุด่างพร้อยเป็นศีลที่เสมอกันทั้งต่อหน้าและลับหลัง/เป็นผู้มีมีทิฐิอันเป็นอริยะหมายถึงความเห็นที่ประเสริฐให้เสมอกันทั้งต่อหน้าและลับหลัง
- พระพุทธเจ้าทรงตรัสกับสหัมบดีพรหมไว้ที่ใต้ต้นไทรว่า ประตูสู่นิพพานอันเป็นอมตะเราเปิดไว้แล้ว ทางที่ท่านบอกไว้ คือ อริยมรรคมีองค์ 8 ‘‘สัตว์เหล่าใดที่จะมาตามทางนี้จงปลงศรัทธาลงไปเถิด’’ ทางสายกลางอันประเสริฐ 8 อย่าง (อริยอัฏฐังคิกมรรค) คือ ไม่สุดโต่งไปข้างใดข้างหนึ่ง ขวาสุด คือ ชุ่มด้วยกามยึดถือยินดีในกามคุณ ซ้ายสุด คือ ไม่เอาอะไรสักอย่างปฏิเสธหมดทุกอย่าง อย่างไรจึงจะเรียกว่ากลางพอดี นั่นคือ มัชฌิมาปฏิปทา ช่องทางนี้แหละ คือ เส้นทางที่จะออกไปได้ รอดไปได้ โดยต้องอาศัยศรัทธาที่มากพอทุ่มลงไป พระพุทธเจ้าทรงเรียกทางสายกลางอีกหลายชื่อ ได้แก่ สามัญญะ ใครที่ปฏิบัติแล้วได้ผลเหมือนกัน/พรหมมัญญะ/พรหมะจริยะ การประพฤติพรหมจรรย์/สัมมัตตะ มี สัมมัตตะ 8, สัมมัตตะ 10/กุศลธรรมะ/สัมมาปฏิปทา/สัมมาปฏิปัตติ/สมถะวิปัสสนา/มัชฌิมาปฏิปทา มรรค 8 มี 2 ลักษณะ คือ ผู้ที่ยังไม่ถึง ยังไม่บรรลุธรรมต้องปฏิบัติตามมรรค 8 อย่างต่อเนื่อง เพื่อให้ข้ามฝั่งให้ได้/ผู้ถึงแล้วจะต้องปฏิบัติตามมรรค 8 ต่อไปแต่ทำไปในลักษณะที่ไม่ต้องถึงอะไรแล้ว เพราะว่ากิจที่จะต้องทำด้วยความไม่ประมาทนี้มันหมดแล้ว มันจบแล้ว เพราะฉะนั้นหนทางที่ประกอบไปด้วยองค์ประกอบ 8 อย่าง[...]
- กรรม คือ เจตนาที่มีการปรุงแต่ง (สังขาร) ออกไปทางกาย วาจา ใจ เมื่อมีการปรุงแต่งกระทำออกไปแล้ว ย่อมมีผลหรือมีวิบากของกรรมนั้นอย่างแน่นอน เรื่องของกรรมเป็น “อจินไตย” คือ เป็นสิ่งที่ไม่ควรคิด เพราะถ้าคิดแล้วอาจจะทำให้เป็นบ้าได้ ในที่นี้หมายถึง เป็นสิ่งที่ไม่อาจเข้าใจได้ด้วยตรรกะสามัญของปุถุชน (ตามนัยยะ อจินติตสูตร) ตราบใดที่เมื่อยังมีการปรุงแต่งกรรมอยู่ การให้ผล (วิบาก) ของกรรมนั้น ก็ย่อมเปลี่ยนแปลงไปตามเหตุปัจจัยของกรรมนั้นเสมอ ผลของกรรมจึงมีการเปลี่ยนแปลงได้เสมอ ความคิดที่ว่า “ผลของกรรม เกิดจากรรมเก่าอย่างเดียวเท่านั้น” ความคิดอย่างนี้ยังไม่ถูกต้อง เพราะผลของกรรมไม่ได้เกิดจากกรรมเก่าอย่างเดียว แต่อาจเกิดขึ้นจากการปรุงแต่งของสังขารนาม-รูปในปัจจุบัน (ตามนัยยะ 8 อย่างใน สีวกสูตร) ประเภทผลของกรรม แบ่งออกเป็น 4 หมวด แต่ละหมวดแยกเป็น 4 ประเภท (รวม 16 ประเภท) 1. แบ่งโดยหน้าที่ คือ กรรมที่ให้ไปเกิด (ยังวิบากให้เกิดขึ้น-มีสภาวะการเกิด) / อุปถัมภ์สนับสนุนให้กรรมนั้นมีพลังมากยิ่งขึ้น / เบียดเบียนกรรมนั้นให้อ่อนกำลังลง / ตัดรอนกรรมนั้นไม่ให้ส่งผล[...]
- กรรม (กัมมะ) คือ เจตนาของจิตที่เมื่อมีผัสสะมากระทบแล้วเกิดการปรุงแต่งออกไป ทางกาย (กายกรรม) วาจา (วจีกรรม) และใจ (มโนกรรม) เป็นอกุศลกรรมบ้าง หรือกุศลกรรมบ้าง หรือเป็นไปเพื่อความสิ้นกรรม (อริยมรรคมีองค์ 8) กรรมเป็นสิ่งที่บุคคลควรทราบ - ทำความเข้าใจกรรมผ่าน “นิพเพธิกสูตร” · เรากล่าวซึ่ง “เจตนา ว่าเป็นกรรม” เพราะว่าบุคคลเจตนาแล้ว ย่อมกระทำซึ่งกรรมด้วยกาย ด้วยวาจา ด้วยใจ หมายถึง เจตนาที่อยู่ในจิตที่ประกอบไปด้วย ราคะ โทสะ และโมหะ (กิเลส) จากมากไปจนถึงเบาบาง (อกุศล-กุศล) หรือจนไม่เหลือ จึงพ้นจากกรรม คือ “สิ้นกิเลส สิ้นกรรม” ด้วย อริยมรรคมีองค์ 8 · เหตุเกิดแห่งกรรม คือ ผัสสะ (อาศัยผัสสะเป็นแดนเกิด) · ความมีประมาณต่าง ๆ แห่งกรรม คือ กรรมที่ทำให้ไปเกิดในอบาย, มนุษยโลก,[...]
- “กรรม” คือ การกระทำที่เกิดจากเจตนาของจิตที่ถูกกระตุ้นผ่านทางตา หู จมูก ลิ้น กาย และใจ แล้วปรุงแต่งออกไป ทาง 3 ช่องทาง คือ 1. ทางกาย เป็น กายกรรม 2. ทางวาจา เป็น วจีกรรม 3. ทางใจ เป็น มโนกรรม ทำความเข้าใจเรื่องของ “กรรม” ผ่านพุทธพจน์ที่ว่า.. “เรามีกรรมเป็นของๆตน เราจักเป็นผู้รับผลของกรรมนั้น” หมายถึง เมื่อมีเหตุแล้ว ย่อมมีผล “เรามีกรรมเป็นแดนเกิด เรามีกรรมเป็นเผ่าพันธ์” คำว่า “เผ่าพันธ์” หมายถึง ผลของการกระทำนั้น “เรามีกรรมเป็นที่พึ่งอาศัย เราทำกรรมอันใดไว้” คำว่า “ที่พึ่งอาศัย” หมายถึง ลักษณะที่สะสมอยู่ในจิต หรือ “อาสวะ” “เป็นกรรมดีก็ตาม เป็นกรรมชั่วก็ตาม” คือ กุศลกรรม หรือ อกุศลกรรม “เราจักต้องเป็นผู้รับผลแห่งกรรมนั้น” คือ[...]
- การมาศึกษาปฏิบัติธรรม เปรียบเสมือน ”การจับงูพิษ” ถ้าจับไม่ถูกต้อง ไม่ระมัดระวัง ก็อาจจะเกิดอันตรายกับตนเองและผู้อื่นได้ แทนที่จะละวางความยึดถือลงแต่กลับยึดถือขึ้นมาแทน “ธรรม” ที่ดูเหมือนจะเป็น “เรื่องธรรมดา ที่ไม่ธรรมดานี้” หมายถึง เรื่องพื้นฐานแต่มีความสำคัญ จึงต้องหยิบมาทำการศึกษาเพื่อให้เกิดความเข้าใจอย่างละเอียด โดยได้ยกพุทธพจน์ คำอุทาน พระสูตร มาประกอบ พอจะสรุปได้ดังนี้ 1. สิ่งใดสิ่งหนึ่งมีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดาสิ่งนั้นทั้งหมดย่อมมีความดับไปเป็นธรรมดา 2. สังขารทั้งหลายมีความเสื่อมสิ้นไปเป็นธรรมดา พวกเธอทั้งหลายจงถึงพร้อมด้วยความไม่ประมาทเถิด 3. ฐานะ 5 ประการ ที่ใครๆ ก็ไม่พึงได้ คือ ขอสิ่งที่มีความแก่- เจ็บ- ตาย- ความสิ้นไป-ฉิบหายไป ว่า อย่าแก่เลย…ฯ 4. เราจะมาได้ตามความปรารถนาใน “สิ่งที่มีความแตกดับเป็นธรรมดา” ว่า อย่าเสื่อม อย่าสิ้นไป มันจะไม่ได้ 5. มาพิจารณาอยู่เนืองๆว่าเรามีความแก่ / ความเจ็บ / ความตาย / ความพลัดพราก / กรรมของตน การมาพิจารณาอยู่เนือง[...]
- ปฏิปทาอันยิ่งยวดอย่างหนึ่งใน “ทศบารมี” นั้นก็คือ “ขันติ” คือ ความอดทนอดกลั้น เป็นตบะแผดเผากิเลสอย่างยิ่ง เพราะไม่ว่าจะถูกกระทบกระทั่งด้วยสิ่งอันเป็นที่พึงปรารถนา หรือไม่พึงปรารถนาก็ตาม จะสามารถรักษาความเป็นปกติเอาไว้ได้ ผู้ที่ผ่านการฝึกฝนปฏิบัติตามอริยมรรคมีองค์ 8 ย่อมทำคุณธรรม “ขันติ” ให้ปรากฏขึ้นเป็นของแจ่มแจ้งแก่ตนเองได้ด้วย “ปัญญา” และถ้าพิจารณากันให้ดี ๆ จะเห็นว่า คุณธรรมที่ทำให้มีความอดทนนั้น มีอยู่มากมาย จึงอาจกล่าวได้ว่า “ขันติ” ความอดทนคือทุกสิ่ง ความอดทนแบ่งตามเหตุที่มากระทบ ได้แก่อดทนต่อความลำบากตรากตรำ อดทนต่อทุกขเวทนาทางกาย และทางใจ อดทนต่อกิเลส เปรียบความอดทนไว้กับทางไปสู่นิพพาน ถ้าคุณเจอสิ่งกระทบในระหว่างทาง คุณยังจะอดทนรักษามรรคไว้ได้อยู่ไหม? หรือจะเลือกเดินออกนอกมรรคไปไม่ถึงนิพพาน ขันติแบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ อธิวาสนขันติ คือ ยังมีอารมณ์โกรธอยู่ แต่อดกลั้นไว้ได้ ไม่แสดงสิ่งที่เป็นอกุศลทางกาย วาจา ใจ ออกไป ตีติกขาขันติ คือ ปฏิบัติได้เป็นปกติใน ศีล สมาธิ และปัญญา เพราะผ่านการฝึกฝน ทำซ้ำ ๆ ย้ำ[...]
- ทุกขเวทนาที่เกิดขึ้นจากภัยในอนาคต 5 ประการ คือ ความแก่ชรา ความเจ็บไข้ ทุพภิกขภัย-อาหารหายาก ภัยจากโจร-สงคราม และสมัยที่สงฆ์แตกกัน เรายังจะผาสุกอยู่ได้ไหม และสิ่งใดที่เราต้องรีบทำก่อนที่ภัยนั้นจะมาถึง ท่านพระพุทธเจ้าทรงเตือนไว้ เราควรร้อนใจในการเร่งทำความเพียรตอนนี้ ด้วยการเจริญมรรค 8 เพื่อให้เกิด “ปัญญา” เป็นอันดับสูงสุด ซึ่งจิตจะมีปัญญาได้ ต้องมี ‘สติรักษาจิตให้เป็นสมาธิ’ ไม่ให้ไปเสวยอารมณ์ต่าง ๆ ทั้งสุขหรือทุกข์ และไม่สุขไม่ทุกข์ พิจารณาเห็นเวทนาเป็นของไม่เที่ยง ไม่ควรยึดถือ ตัดความยึดถือ คือ อุปาทาน นั้นด้วยปัญญา “แยกกายแยกจิตออกจากกัน” อนาคตเมื่อร่างกายเกิดทุกข์ เพราะความชรา เจ็บป่วยบ้าง ยากต่อการอยู่อย่างสงบ เพราะอาหารขาดแคลน หรือสงครามบ้าง หรือเพราะสงฆ์ และคำสอนที่ผิดเพี้ยนไปบ้าง เราก็จะยังอยู่ผาสุกได้ด้วย “จิตที่มีปัญญา” นี้
- การนำเอาหัวข้อหลักธรรมะต่างๆ มาอุปมาเชิงเปรียบเทียบกับการสร้าง “นคร” ซึ่งองค์ประกอบของ ธัมมะนคร หรือ นครแห่งธรรม ได้กล่าวบรรยายไว้ 2 นัยยะ คือ นัยยะของท่านพระอุบาลี และ นัยยะของพระพุทธเจ้า ธัมมะนครตามนัยยะคาถาของ “ท่านพระอุบาลี” เป็นคาถาเปล่งอุทานหลังจากที่ท่านพระอุบาลีได้บรรลุอรหันต์ โดยใจความของพระคาถาได้กล่าวถึงการได้เข้ามาอยู่ใต้ร่มโพธิ์ของพระผู้มีพระภาคเจ้า เปรียบได้กับความเจริญใจเมื่อได้เข้ามาสู่นครแห่งธรรม โดยเปรียบธัมมะนครของพระผู้มีพระภาคเจ้าไว้ดังนี้ว่า :- 1. พระองค์ มี “ศีล” เป็น กำแพง 2. พระญาณ (ปัญญา) = ซุ้มประตู 3. ศรัทธา = เสาระเนียด 4. สังวร (สำรวมระวัง) = นายประตู 5. สติปัฏฐาน = ป้อม 6. ปัญญา = ทางสี่แพร่ง 7. อิทธิบาท = ทางสามแพร่ง 8. ธรรมวิถี[...]
- วาโยธาตุ หรือที่เราเรียกว่า “ธาตุลม” เป็น 1 ใน มหาภูตรูป 4 ธาตุลมประกอบไปด้วย :- ลมภายนอก คือ ธรรมชาติที่พัดไปมาอยู่นอกกาย เช่น ลมร้อน ลมหนาว ลมมีฝุ่น หรือ ลมไม่มีฝุ่น ลมตะวันออก..ฯลฯ ลมภายใน คือ ลมอันแล่นไปตามอวัยวะน้อยใหญ่ในร่างกาย เช่น ลมในกระเพาะ ลมในลำไส้ ลมหายใจเข้า-ออก ลมภายในแบ่งได้เป็น :- ลมปราณ คือ ลมหายใจเข้า-ออก 1. ลมหายใจต่อกาย-ทิ้งกาย หมายถึง ลมทำหน้าที่ในการหล่อเลี้ยงร่างกาย และทำลายร่างกายไปในกระบวนการเดียวกัน (มีการเผาผลาญในกาย) 2. ลมหายใจต่อจิต (การมีสติสัมปชัญญะรู้ลมหายใจ) / ทิ้งจิต (ปล่อยสติเผลอเพลิน) ลมปาก คือ ลมที่ผ่านหลอดเสียง ที่ออกจากกายไปสู่ภายนอก เป็นลักษณะของสัญญาเปลี่ยนแปลงไปตามการปรุงแต่ง (สังขาร) และสื่อออกมาทางลมปาก ได้แก่ 1. ลมเหม็น (คูถภาณี) คือ[...]
- ความจริงโดยทั่วๆ ไปที่เป็นข้อเท็จจริง (fact) ตามสมมุติของโลกนั้น สามารถเปลี่ยนแปลงไปตามเงื่อนไขปัจจัยตามบริบทของสังคมหรือเวลา เช่น ข่าว งานวิจัย สิ่งของ เสื้อผ้า ที่สมมุติเรียกตามบริบทของเวลานั้น แต่อริยสัจ 4 คือ ความจริงอันประเสริฐ 4 อย่างนี้ คือ ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค แสดงถึง สัจธรรมความจริง (truth) ที่ไม่เกี่ยวเนื่องด้วยเวลา กิจในอริยสัจ 4 (กิจญาณ) คือ หน้าที่ที่ต้องทำต่ออริยสัจ 4 แต่ละข้อ 1. ทุกข์ คือ ขันธ์ 5 (รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ) หน้าที่คือ “ปริญญา” ควรรอบรู้ เข้าใจ ยอมรับมัน 2. สมุทัย คือ ตัณหา หน้าที่คือ “ปหานะ” ควรละ กำจัด กว้างทิ้ง[...]
- ศรัทธาที่มีอาการประกอบไปด้วยเหตุผล จะทำให้เกิดการทำจริงแน่วแน่จริงในกุศลธรรมทั้งหลาย คิดใคร่ครวญเห็นตามความเป็นจริงด้วยปัญญา เป็นศรัทธาที่ประด้วยอาการของปัญญา “อาการวตีสัทธา” ลักษณะของศรัทธาที่ประกอบไปด้วยอาการ “อาการวตีสัทธา” 1. มี 2 มิติ คือ (1.1) ระดับสมมุติของโลก - ความจริง/ข้อเท็จจริง (fact / fake) สมมุติว่าจริง สมมุติว่าเท็จ (1.2) ระดับเหนือสมมุติของโลก - สัจจะความจริงอันประเสริฐ (อริยสัจ 4) *ทั้ง 2 มิตินี้ ต้องปรับให้ตรงกัน อย่าให้มีกิเลส อย่าให้เป็นมิจฉา ให้มีสัมมาทิฐิ / สัมมาสังกัปปะ / สัมมาวาจา 2. ศรัทธานั้นต้องให้เกิดการลงมือปฏิบัติ ทำจริงแน่วแน่จริง 3. ศรัทธาที่มีอาการต้องประกอบไปด้วยปัญญาจากการคิดใคร่ครวญโดยแยบคาย (โยนิโสมนสิการ) ในกาลมสูตร 10 และตามหลักของ “อปัณณกธรรม” ข้อปฏิบัติที่ไม่ผิดจากความเป็นอริยะ คือ ให้ ละ วิบัติ 3 ประการ[...]
- สำนวน “ตาบอดคลำช้าง” เป็นคำสอนเชิงเปรียบเทียบไว้กับผู้ที่มีความเข้าใจในบางสิ่งบางอย่างที่อาจยังไม่ถูกต้อง คลาดเคลื่อน ผิดเพี้ยนไปจากความเป็นจริง แล้วอาจทำให้เกิดการพูด วิจารณ์ ทุ่มเถียงกันไปตามความคิดเห็น ความเข้าใจผิดของตน ส่วนผู้ที่เข้าใจในปฏิจจสมุปบาทนั้น จะไม่มายึดถือในทิฐิของตน จะเข้าใจถึง ความเป็นเหตุ-เป็นผล ความที่อาศัยเหตุปัจจัย แล้วจึงเกิดขึ้น ว่า “บุคคลสามารถที่จะเรียนรู้ แก้ไข เปลี่ยนแปลง ไปตามเหตุและผล ผู้ที่มีดวงตาที่มืดบอดมา ก็สามารถพัฒนา ปรับปรุง แก้ไข ทำให้ละเอียด เกิดมีดวงตาที่สว่างเห็นธรรมขึ้นมาได้” อาการแต่ละคู่ในปฏิจจสมุปบาทนั้น สามารถเกิดขึ้นและดับลงได้ในแต่ละคู่ และเมื่อจะแสดงอาการให้ครบทั้ง 12 อาการ และ 11 คู่นั้น ก็จะแสดงให้เห็นถึงความที่มันเกี่ยวเนื่องสัมพันธ์เชื่อมโยงกันจนเป็นทั้งสายเกิดและสายดับปฏิจจสมุปบาท เรื่องราวต่างๆที่เกิดขึ้นบนโลกและวุ่นวายอยู่ในขณะนี้ ล้วนเป็นเรื่องราวที่เกิดจากการหวงกั้น ซึ่งมีเหตุเกิดมาจาก <- ความตระหนี่ <- ความจับอกจับใจ <- ความสยบมัวเมา <- ความกำหนัดด้วยอำนาจความพอใจ <- ปลงใจรัก <- มีการได้มา <- มีการแสวงหา <- มีตัณหา <-[...]
- พระผู้มีพระภาคทรงได้เคยตรัสกับท่านพระอานนท์ไว้ว่า “ปฏิจจสมุปบาท เป็นธรรมอันลึกซึ้ง” ที่มิอาจจะพึงรู้ได้ด้วยการท่องจำ แต่ต้องอาศัยการพิจารณาโดยแยบคาย (โยนิโสมนสิการ) ให้เห็นด้วยปัญญาเท่านั้น... และนี่เป็นเหตุผลหนึ่งที่ทำพระองค์เกิดความท้อใจในการที่จะแสดงธรรม อย่างไรก็ตาม..เราสามารถปฏิบัติให้มีปัญญาที่ละเอียดลึกซึ้งยิ่ง ๆ ขึ้นมาได้ด้วยการปฏิบัติตาม “อริยมรรคมีองค์ 8” จะมีนิพพานเป็นที่สุดจบได้ นาฬิกาแห่งปฏิจจสมุปบาท จิตเปรียบเสมือนเข็มนาฬิกาตรงกลางที่ไปทำหน้าที่เข้าไปรับรู้อาการต่าง ๆ ถ้าเราสามารถกำหนดเห็นภาพนี้ปรากฎขึ้นในใจเราได้ เราก็จะเข้าใจกระบวนการทำงานของจิตกับอาการต่าง ๆ ในปฏิจจสมุปบาทได้อย่างลึกซึ้งยิ่งขึ้น การเข้าถึงปฏิจจสมุปบาทเพื่อเข้าถึงการดับอาสวะ หรือการทำอาสวะให้สิ้นไปนี้ จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องเข้าใจธรรมชาติของการเกิดทุกข์ และการดับทุกข์เสียก่อน นั่นก็คือ “อริยสัจ 4” เมื่อจิตที่ประกอบด้วยปัญญา (ปฏิบัติตามมรรค 8 เกิดเป็นมรรคสามัคคีขึ้น) เห็นอริยสัจ 4 ด้วยอาการ 12 แล้ว จะยอมรับ และเข้าใจ เกิดความหน่าย คลายกำหนัด ปล่อยวางอุปาทานในขันธ์ 5 ได้ จะทำอาสวะให้สิ้นไปได้ด้วยกระบวนการนี้ ด้วยการทำย้ำ ๆ ทำซ้ำ ๆ (ทำให้เกิดวิมุตติขึ้นมาบ่อยๆ) ตัวอย่างการเกิดอาสวะ-ดับอาสวะ เช่น:- กลิ่นเหม็นและหอม, ดูซีรี่ย์หนังละคร, การเมือง ล้วนเกิดจากมีผัสสะเป็นเหตุเป็นปัจจัย[...]
- ทุกชีวิตล้วน “รักสุข เกลียดทุกข์” เวทนาจึงเป็นตัวผลักดันให้เกิดการกระทำที่อยาก และไม่อยาก ล้วนมีเหตุเกิดมาจากเวทนาต่าง ๆ “เพราะอาศัยเวทนาเป็นปัจจัย จึงเกิดตัณหา และเพราะเวทนาดับ ตัณหาจึงดับ” ซึ่งในแต่ละคู่ของปฏิจจสมุปบาทนั้น จะดับที่คู่ไหนก่อนก็ได้คู่ปัจจัยอย่างอื่นที่ต่อเนื่องกันเป็นสายก็จะดับตามกัน “เพราะเวทนาดับ ตัณหาจึงดับ” ในพระอริยบุคคลที่ยังดำรงธาตุขันธ์อยู่นั้น ยังคงมีเวทนาอยู่เหมือนกัน เพียงแต่มีสติไม่เพลินไปตามเวทนาที่เสวยอยู่นั้น (เพราะเห็นแจ้งด้วยปัญญาในอริยสัจ 4) เมื่อไม่เพลินไปตัณหาจึงไม่เกิดขึ้น สัญญา สังขาร และวิญญาณก็ดับไปตาม ญาณวัตถุ 44 คือ การเอาอริยสัจ 4 ไปใส่ไว้ในปฏิจจสมุปบาทในแต่ละอาการทั้ง 11 อาการ รวมได้ 44 อย่าง เกิดญาณในธรรม (ธัมมญาณ) และ ญาณในการรู้ตาม (อันวยญาณ) คือ การนำธัมมญาณไปสู่นัยยะอันเป็นอดีต อนาคต ปัจจุบัน และกับทุกคน ญาณวัตถุ 77 คือ การนำเอาเหตุเกิดและเหตุดับ 2 ทั้งในอดีต 2 และอนาคต 2 และ ธัมมัฏฐิติญาณ 1 (ความเสื่อม จางคลาย[...]
- วิญญาณในปฏิจจสมุทบาท และในขันธ์ 5 ความหมายจะเหมือนกัน แปลว่า การรับรู้ การที่จิตไปทำหน้าที่ในการรับรู้ วิญญาณในขันธ์ 5 อยู่ในช่องทางใจ ซึ่งไปทำหน้าที่รับรู้ รูป (อายตนะ) เวทนา สัญญา สังขาร เป็นกองทุกข์ อยู่ในทุกขอริยสัจ วิญญาณในปฏิจจสมุปบาท จะเป็นอาการที่แสดงถึงความเป็นเหตุปัจจัยเอื้อต่อกันเป็นคู่ต่อเนื่องกันไปเป็นสายใน 12 อาการ จัดเป็น “อริยสัจที่สมบูรณ์” (คือ ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค) เป็นได้ทั้งสายเกิดทุกข์ และสายดับทุกข์ จิตในปฏิจจสมุปบาท เปรียบปฏิจจสมุทบาทได้กับหน้าปัดของนาฬิกามี 12 อาการอยู่ในตัวเลขนั้น และ “จิต” ก็เปรียบได้กับเข็มนาฬิกาที่อยู่ตรงกลางวิ่งไปรับรู้ตามอาการต่าง ๆ ปลดล็อก 2 ทาง - เหตุของวิชชา 1. โพชฌงค์ 7 ธรรมที่เป็นองค์แห่งการตรัสรู้ (สติ, ธัมมวิจยะ, วิริยะ, ปิติ, ปัสสัทธิ, สมาธิ, อุเบกขา)[...]
- พระผู้มีพระภาคเจ้าหลังจากตรัสรู้ได้ใหม่ ๆ ทรงคิดใคร่ครวญในปฏิจจสมุปบาท โดยเริ่มจากทุกข์ว่า “เพราะอะไรหนอมี..ทุกข์จึงมี” ไล่หาเหตุไปเรื่อยๆ จนเจอ “อวิชชา คือ ความไม่รู้” และเมื่อจะบอกสอนต่อก็ได้เรียบเรียงบทพยัญชนะเพื่อให้เกิดความรัดกุมรอบคอบ โดยเริ่มจากสิ่งสำคัญที่สุดคือ “อวิชชา” ไล่ไปเรื่อย ๆ ใน 12 อาการ จะมีลักษณะคล้ายหน้าปัดนาฬิกาที่วนไปเรื่อยๆ อยู่อย่างนั้น (วัฏฏะ) เหตุเกิดของวิชชา และวิมุตติ เมื่อใคร่ครวญมาว่า “เพราะอะไรมี อวิชชาจึงดับ” นั่นก็คือ วิชชา “เพราะมีวิชชา อวิชชาจึงดับ” และอะไรเป็นเหตุเกิดวิชชา คำตอบก็คือ วิมุตติ และอะไรเป็นเหตุเกิดวิชชา และวิมุตติ นั่นก็คือ “โพชฌงค์ 7” องค์ธรรมแห่งการตรัสรู้ธรรม สติปัฏฐาน 4 ทำให้เกิดโพชฌงค์ กระบวนการเกิดโพชฌงค์แต่ละข้อเริ่มมาจาก “สติ” เป็นเงื่อนไขปัจจัยต่อกัน เพราะอาศัยสติจึงเกิด -> ธัมมวิจยะ (เฟ้นธรรม) -> วิริยะ -> ปิติ (อิ่มใจ) ->[...]
- “ปฏิจจสมุปบาท” หรือ “ปัจจยาการ” คือ อาการที่สิ่งทั้งหลายเป็นปัจจัยแก่กันหรือความเป็นเหตุเป็นปัจจัยของทุกข์ และการดับทุกข์ ปฏิจจสมุปบาทนี้ มีองค์ประกอบอยู่ 12 หัวข้อที่เป็นปัจจัยเนื่องอาศัยสืบต่อกันไปเหมือน “หน้าปัดนาฬิกา” นับตั้งแต่อวิชชาถึงชรามรณะ (คือ อวิชชา -> สังขาร -> วิญญาณ -> นามรูป -> สฬายตนะ -> ผัสสะ -> เวทนา -> ตัณหา -> อุปาทาน -> ภพ ชาติ -> ชรามรณะ) การแสดงอาจจะเริ่มต้นที่องค์ประกอบข้อหนึ่งข้อใดในระหว่างก่อนก็ได้ และไม่จำเป็นต้องครบ 12 หัวข้อ ระบบของปฎิจสมุปบาท โดยยกองค์ประกอบหัวข้อ นามรูป -> วิญญาณ / วิญญาณ -> นามรูป มาทำความเข้าใจในรูปแบบของทฤษฎี Quantum mind เพื่อให้เข้าใจชัดเจนยิ่งขึ้นอยู่ที่ว่าเราหยิบมุมไหนขึ้นมามอง ยกตัวอย่างเช่น :- เหรียญมี[...]
- “ปฏิจจสมุปบาท” ธรรมอันเป็นธรรมชาติที่อาศัยกันแล้วเกิดขึ้น คือ เป็น ตถตา คือ ความเป็นอย่างนั้น, เป็น อวิตถตา คือ ความไม่ผิดไปจากความเป็นอย่างนั้น, เป็น อนัญญถตา คือ ความไม่เป็นไปโดยประการอื่น, เป็น อิทัปปัจจยตา คือ ความที่เมื่อมีสิ่งนี้สิ่งนี้เป็นปัจจัย สิ่งนี้สิ่งนี้จึงเกิดขึ้น อาการของปฏิจจสมุปบาทแต่ละอาการ :- “เพราะมีวิญญาณเป็นปัจจัย จึงมีนามรูป และเพราะวิญญาณดับ นามรูปจึงดับ” วิญญาณ คือ การเข้าไปรับรู้การกระทบกันของสฬายตนะ เปรียบกับไม้อ้อสองกำเอามาพิงกันเอาไว้ เมื่อหยิบกำหนึ่งออกย่อมตั้งอยู่ไม่ได้, เปรียบกับการตกกระทบของแสงกับวัถตุ ที่เมื่อแสงตกกระทบกับวัตถุย่อมเห็นว่ามีแสงและวัตถุ, เปรียบกับกฏของ Quantum mind คือ สิ่ง ๆ เดียวเป็นได้หลายสภาวะอยู่ที่เราจะสังเกตุมองมุมไหน วิญญาณ คือ ผู้สังเกตุ “เพราะมีสังขารเป็นปัจจัย จึงมีวิญญาณ และเพราะสังขารดับ วิญาณจึงดับ” สังขาร คือ การปรุงแต่งทางกาย วาจา ใจ “เพราะมีอวิชชาเป็นปัจจัย จึงมีสังขาร และเพราะอวิชชาดับ สังขารจึงดับ” อวิชชา คือ ความไม่รู้
- “สรรพสัตว์ล้วนรักสุขเกลียดทุกข์ด้วยกันทั้งนั้น” จึงแสวงหาแต่ความสุขและไม่อยากได้ทุกข์ แท้ที่จริงแล้วสุขนั้นก็ไม่มี เป็นเพียงแต่ทุกข์ที่เกิดขึ้น และดับลงแค่นั้นเอง เวทนาทั้งหลายจึงรวมลงที่ทุกข์ คือ ความเป็นไตรลักษณ์ การมาพิจารณาคิดใคร่ครวญอาการของปฏิจจสมุปบาทในแต่ละอาการ แต่ละคู่จนต่อเนื่องสัมพันธ์กันเป็นสาย จะทำให้เรามีความเข้าใจและเห็นถึงความเป็นเหตุ–เป็นผลของธรรมชาติที่อาศัยกันแล้วจึงเกิดขึ้น จะทำให้เราเกิดปัญญาเป็นวิชชา (ญาณ-ความรู้) ดับอวิชชาได้ (ความไม่รู้ในอริยสัจ 4) ปฏิจจสมุปบาทแต่ละอาการ:- ได้กล่าวถึง 6 อาการแต่ละคู่ไปกันแล้ว คือ ชรามรณะ-ชาติ-ภพ-อุปาทาน-ตัณหา-เวทนา และจะขอกล่าวถึงอาการที่เหลือ ได้แก่ “เพราะมีผัสสะเป็นปัจจัย จึงมีเวทนา และเพราะผัสสะดับ เวทนาจึงดับ” ผัสสะ คือ การกระทบกันของอายตนะภายนอกกับอายตนะภายใน เวทนา คือ ความรู้สึกสุข ทุกข์ ไม่ใช่สุข-ไม่ใช่ทุกข์ ทางกายและใจ “เพราะมีสฬายตนะเป็นปัจจัย จึงมีผัสสะ และเพราะสฬายตนะดับ ผัสสะจึงดับ” สฬายตนะ คือ อายตนะภายนอก และอายตนะภายใน “เพราะมีนามรูปเป็นปัจจัย จึงมีสฬายตนะ และเพราะนามรูปดับ สฬายตนะจึงดับ” นามรูป คือ กายและใจ “เพราะมีวิญญาณเป็นปัจจัย จึงมีนามรูป และเพราะวิญญาณดับ[...]
- พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงเน้นสอนเรื่องเกี่ยวกับ “ความทุกข์และความดับทุกข์” ดั่งพุทธภาษิตที่ว่า “ภิกษุ ท. ก่อนแต่นี้ก็ดีบัดนี้ก็ดี ตถาคตบัญญัติ (เพื่อการสอน) เฉพาะเรื่องความทุกข์กับความดับแห่งทุกข์เท่านั้น” ปฏิจจสมุปบาท จึงจัดว่าเป็นหัวใจชองศาสนาและเป็นอริยสัจโดยสมบูรณ์เพราะแสดงให้เห็น ”ทุกข์” ด้วยลักษณะเป็นธรรมชาติที่ต่างอาศัยกันและกันแล้วเกิดขึ้นหรือดับลง กล่าวคือ ต่างอาศัยเหตุเกิด และเหตุดับ ความหมายของปฏิจจสมุปบาทแต่ละอาการ :- “เพราะมีชาติเป็นปัจจัย จึงมีชรามรณะ และเพราะชาติดับ ชรามรณะจึงดับ” ชรา คือ ความแก่ ความมีผมหงอก หนังเหี่ยว ความสิ้นไป ๆ แห่งอายุความแก่รอบแห่งอินทรีย์ในสัตวนิกายทั้งหลาย มรณะ คือ การตาย การแตกแห่งขันธ์ทั้งหลาย ชาติ คือ การเกิด การบังเกิด “เพราะภพเป็นปัจจัย จึงมีชาติ และเพราะภพดับ ชาติจึงดับ” ภพ คือ ความเป็นสภาวะ (time & space) ในกามภพ รูปภพ และอรูปภพ “เพราะอุปาทานเป็นปัจจัย จึงมีภพ และเพราะอุปาทาดับ ภพจึงดับ” อุปาทาน[...]
- ถ้าเรามีความเข้าใจในทุกข์ ว่า ทุกข์นั้นต่างอาศัยเหตุปัจจัยทำให้เกิดมีขึ้น เราก็จะเข้าใจถึงกระบวนการขั้นตอนในการดับทุกข์ได้เช่นกัน ฉะนั้น เราจึงควรรู้แจ้งว่าความทุกข์นั้นเกิดมาแต่เหตุปัจจัยใดบ้าง การมาพิจารณาใคร่ครวญธรรมในหัวข้อ “ปฏิจจสมุปบาท” หรือ “อิทัปปัจจยตา” เป็นธรรมที่อาศัยกันแล้วจึงเกิดมีขึ้น คือ “เมื่อมีสิ่งนี้..สิ่งนี้จึงมี และ เมื่อสิ่งนี้ไม่มี..สิ่งนี้จึงไม่มี” เป็นธรรมที่แสดงกฏของธรรมชาติถึงความเป็นเหตุเป็นผล และความเนื่องสัมพันธ์กัน เป็นเหตุเป็นผลต่อกันและกันเป็นวงจร เป็นผลให้เกิดความทุกข์ (อนุโลมปฏิจจสมุปบาท) และเหตุที่ทําให้ทุกข์ดับลงไปได้ (ปฏิโลมปฏิจจสมุปบาท)
- การทำอะไรซ้ำๆ ย้ำๆ อยู่บ่อย จะทำให้เราเกิดความชำนาญในสิ่งนั้น เช่นเดียวกับการพิจารณาใคร่ครวญธรรม ถ้าเราใคร่ครวญทำย้ำๆ ซ้ำๆ อยู่บ่อยๆ อยู่เรื่อยๆ จะทำให้เกิดปัญญา (ญาณ) รู้ชัดขึ้นมา เป็นผู้ฉลาดรู้แจ้งในธรรมนั้น วิธีการพิจารณใคร่ครวญโดยความเป็นธาตุ คือ ธาตุ 6 โดยพิจารณาเจาะแยกลงไป แยกออกๆ จนเหลือหน่วยเล็กที่สุด และพิจารณาประกอบกันเข้ามาแล้วจึงมีหน่วยใหญ่ขึ้น วิธีการพิจารณใคร่ครวญโดยความเป็นอายตนะ คือ อายตนะภายใน และภายนอกเชื่อมต่อกันทำให้เกิดความรู้สึกขึ้น โดยพิจารณาจากการที่อาศัยเหตุปัจจัยอื่นปรุงแต่งแล้วจึงเกิดขึ้น มีความไม่เที่ยงเป็นทุกข์ เมื่อพิจารณาใคร่ครวญอยู่บ่อยๆ จะเกิด “กุสลตา” คือ ความฉลาดรู้แจ้งชัดซึ่งธาตุ และอายตนะ จะเป็นผลทำให้คลายกำหนัด และปล่อยวาง
- ปัญญาการรอบรู้ในทุกข์ของผู้ถึงซึ่งพระนิพพานหรือกล่าวอีกนัยยะหนึ่งได้ว่าเป็นปัญญาของพระอรหันต์นั่นเอง โดยได้ยก “สัตตัฏฐานสูตร” ว่าด้วย ผู้มีปัญญาฉลาดรอบรู้ขันธ์ 5 ในฐานะ 7 ประการ ได้แก่ 1. รู้ชัดซึ่ง (รู้ลักษณะ) รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ 2. รู้ถึงเหตุเกิดขึ้น ของ รูป...ฯ คือ อาศัยเหตุเกิด 3. รู้ถึงความดับ ของ รูป...ฯ คือ เมื่อเหตุดับ - ผลย่อมดับ 4. วิธี ข้อปฏิบัติให้ถึงความดับ ของ รูป...ฯ คือ มรรค 8 5. รู้ชัดซึ่งอัสสาทะ (รสอร่อย/ข้อดี) ของ รูป...ฯ คือ สุขที่เกิดขึ้น 6. รู้ชัดซึ่งอาทีนวะ (โทษ/ข้อเสีย) ของ รูป...ฯ คือ ไม่เที่ยง 7.[...]
- เมื่อต้องพบเจอสิ่งที่น่าพอใจและไม่น่าพอใจ คนพาลย่อมไม่รู้ชัดซึ่งประโยชน์ แต่บัณฑิตจะสามารถแยกแยะได้ว่าสิ่งนี้เป็นประโยชน์หรือมีโทษ แล้วกระทำในสิ่งที่ย่อมเป็นไปเพื่อประโยชน์นั้น ได้กล่าวถึงฐานสูตรต่างๆ กล่าวคือ ฐานะแห่งความเสื่อมและความเจริญ 4 ประการ คือ ทำสิ่งที่ไม่น่าพอใจและน่าพอใจเมื่อทำย่อมเป็นไปเพื่อโทษหรือประโยชน์ บุคคลมีศรัทธาเลื่อมใส โดยฐานะ 3 ประการ คือ เป็นผู้ใคร่จะเห็นท่านผู้มีศีล ปรารถนาจะฟังพระสัทธรรม ปราศจากความตระหนี่ ฐานะที่ใครๆ ไม่พึงได้ 5 ประการ คือ ขอสิ่งที่มีความแก่, ความเจ็บ, ความตาย, ความสิ้นไป, ความฉิบหายเป็นธรรมดา ว่าอย่าแก่...ฯ เป็นฐานะที่ใครๆ ไม่พึงได้ ฐานะที่ควรพิจารณาเนืองๆ 5 ประการ คือ พิจารณาเนื่องๆว่า เรามีความแก่ ความเจ็บ ความตาย ความพลัดพรากจากของรัก เป็นธรรมดา ไม่ล่วงพ้นไปได้ เรามีกรรมเป็นของตน เราทำกรรมใดไว้ ย่อมเป็นผู้รับผลของกรรมนั้น
- การที่เราจะรู้จักใครสักคนอย่างดีพอนั้น... ไม่ใช่จากคำบอกเล่าของบุคคลอื่น หรือ จากสิ่งที่เราได้ยินได้เห็นเพียงแค่ในช่วงเวลาสั้นๆ นั้น แต่ต้องอาศัยเวลาในการอยู่ร่วมกันนานพอสมควร รวมถึงการทำไว้ในใจโดยแยบคาย และปัญญา ฐานสูตร ว่าด้วยฐานะที่พึงรู้ด้วยฐานะ เราจะรู้ได้ว่าบุคคลนั้นมีศีล สมาธิ และปัญญาจะพิจารณาได้จาก “ศีล” พึงรู้ได้ด้วยการอยู่ร่วมกัน กล่าวคือ เมื่ออยู่ร่วมกันแล้วจะรู้ถึงความมีศีลเป็นปกติหรือมีศีลด่างพร้อยของบุคคลนั้น “ความบริสุทธิ์” พึงรู้ได้ด้วยถ้อยคำ กล่าวคือ เมื่อมีการสนทนาพูดคุยตัวต่อตัว สอง-สามคนบ้าง..ฯ ทั้งต่อหน้าและลับหลัง ถ้อยคำพูดคราวหลังก็ไม่ต่างจากพูดคราวก่อน “กำลัง” พึงรู้ได้ในคราวมีอันตราย กล่าวคือ เมื่อประสบกับโลกธรรม 8 แล้ว มีปัญญาเห็นสภาวะทุกข์นั้นตามความเป็นจริง “ปัญญา” พึงรู้ได้ด้วยการสนทนา กล่าวคือ เมื่อสนทนากันแล้วรู้ว่า ท่านผู้นี้มีการตระเตรียมปัญหาที่ตนปรารถนาจะรู้ และสามารถที่จะบอก แสดง เปิดเผย จำแนก ทำให้ง่ายซึ่งเนื้อความแห่งธรรมนั้นทั้งโดยย่อหรือโดยพิสดาร
- ตัณหาได้ชื่อว่าเป็นเหตุแห่งทุกข์ และเป็นที่มาของปัญหาต่างๆ ในชีวิตของคนเรา การมาเจริญภาวนาในสัญญา 7 ประการนี้ คือ เมื่อมีการพิจารณาให้มากในสัญญาเหล่านี้ จิตจะไม่หวนกลับกำเริบและมีนิพพานเป็นที่สุด ปัญหาของตัณหา และกิเลสแก้โดยสัญญา 7 ประการ ยินดีในเพศตรงข้าม (เมถุนธรรม) แก้โดย พิจารณา “อสุภสัญญา” รักตัว กลัวตาย (รักชีวิต) แก้โดย พิจารณา “มรณสัญญา” ติดใจในรสอาหาร แก้โดย พิจารณา “อาหาเรปฏิกูลสัญญา” ความวิจิตรแห่งโลก แก้โดย พิจารณา “สัพพโลเกอนภิรตสัญญา” ลาภสักการะ และความสรรเสริญ แก้โดย พิจารณา “ อนิจจสัญญา” ความเฉื่อยชา เกียจคร้าน ท้อถอย ประมาท ไม่ประกอบความเพียร แก้โดย พิจารณา “อนิจเจทุกขสัญญา” (เห็นความเป็นทุกข์ ในสิ่งที่ไม่เที่ยงทั้งหลาย) ทิฐิ และมานะ แก้โดย พิจารณา “ทุกเขอนัตตสัญญา” (เห็นความเป็นอนัตตาในความเป็นทุกข์นั้น)
- ได้นำเอา ขัตติยสูตร ที่ว่าด้วยความประสงค์ 5 อย่างของบุคคล 6 ประเภท มาอธิบายขยายความ เพื่อให้ทราบถึงความต้องการที่เหมือนกัน หรือแตกต่างกันของบุคคลแต่ละประเภท เพื่อให้เกิดประโยชน์ในการพัฒนาความเข้าใจ และสานสัมพันธภาพที่ดีในระหว่างบุคคล เริ่มจากความประสงค์เพื่อให้สมตามสิ่งที่ปรารถนา ในบุคคลแต่ละประเภทนั้น ย่อมมีความประสงค์ต้องการเพื่อให้สมความปรารถนาสูงสุด อย่างเช่น กษัตริย์ พราหมณ์ คหบดี มีความประสงค์โภคทรัพย์ และนิยมปัญญาเหมือนกัน แต่สิ่งที่เสริมกำลังความมั่นใจเพื่อให้เป็นไปตามความต้องการ และให้ถึงความเป็นที่สุดแตกต่างกัน สตรี นิยมประดับตกแต่งเพื่อประสงค์บุรุษ มีบุตรเป็นกำลัง และไม่ต้องการหญิงอื่นร่วมสามี มีความเป็นใหญ่ในบ้านเป็นที่สุด โจร นิยมที่เร้นลับเพื่อประสงค์ลักทรัพย์ มีอาวุธเป็นกำลัง และต้องการที่มืด ไม่ปรารถนาให้ผู้อื่นล่วงรู้ สมณะ นิยมปัญญา มีความประสงค์ขันติ และโสรัจจะ มีศีลเป็นกำลัง และต้องการความไม่มีกิเลสเครื่องกังวล มีนิพพานเป็นที่สุด ข้อสังเกตุ ความต้องการที่เป็นไปเพื่อดับความต้องการ มีความเป็นอิสระพ้นจากอำนาจกิเลสเครื่องร้อยรัดมีในบุคคลผู้ที่มีปัญญาเห็นตามความเป็นจริง
- ขันธ์ แปลว่า หมู่หรือกองของรูปกับนามที่แยกออกได้เป็น 5 กอง ซึ่งเรียกว่า ขันธ์ 5 คือ รูป, เวทนา, สัญญา, สังขาร, วิญญาณ จัดอยู่ใน “ทุกขอริยสัจ” ความจริงอันประเสริฐคือทุกข์ และกิจที่ต้องทำคือ กำหนดรู้ทุกข์ การทำงานของขันธ์ 5 แต่ละขันธ์ เป็นการอาศัยกันและกันเกิดขึ้นของนามรูป และวิญญาณเป็นปัจจัยจึงมีผัสสะ -> ให้เกิดการปรุงแต่ง คือ สังขาร -> สัญญา -> เวทนา -> วิญญาณ และจิตก็เข้าไปยึดถือวิญญาณโดยความเป็นตัวตนและก้าวลงตามต่อไปในขันธ์ต่างๆ เพราะด้วยอำนาจความเพลินแห่งนันทิราคะ
- “ทุกขอริยสัจ” ความจริงอันประเสริฐ คือ “ทุกข์” อุปาทาน (ความยึดถือ) ในขันธ์ 5 เป็นทุกข์ ไม่ว่าสิ่งนั้นจะเป็นสุข หรือ ทุกข์ ต่างอาศัยเหตุเกิด ย่อมเป็นทุกข์ เพราะมีความไม่เที่ยง เป็นอนัตตา ขันธ์ 5 คือ กองทุกข์ แบ่งออกได้เป็น 5 กอง ได้แก่ “รูป” คือ สิ่งที่แตกสลายได้ เปรียบเหมือนก้อนฟองน้ำ ย่อมปรากฏเป็นของว่างเปล่า หาแก่นสารมิได้ “เวทนา” คือ ความรู้สึกที่เกิดจากผัสสะ เปรียบเหมือนต่อมนํ้าเกิดขึ้นและแตกกระจายอยู่บนผิวน้ำ ย่อมปรากฏเป็นของว่างเปล่า หาแก่นสารมิได้ “สัญญา” คือ ความจำได้หมายรู้ เปรียบเหมือนพยับแดดย่อมไหวยิบยับ ย่อมปรากฏเป็นของว่างเปล่า หาแก่นสารมิได้ “สังขาร” คือ การปรุงแต่งให้สำเร็จรูป เปรียบเหมือนการหาแก่นไม้ในต้นกล้วย ไม่พบแม้แต่กระพี้ จะพบแก่นได้อย่างไร “วิญญาณ” คือ การรับรู้ เปรียบเหมือนนักแสดงกล กลนั้น ย่อมปรากฏเป็นของว่างเปล่า และปรากฏเป็นของหาแก่นสารมิได้
- การที่จะนำธรรมะมาปฏิบัติจนเกิดเป็นผลขึ้นทางปัญญาได้นั้น มีขั้นตอน และกระบวนการในการปฏิบัติ โดยได้ยกหัวข้อธรรม “วิมุตติสูตร” มาอธิบายประกอบการปฏิบัติ เพื่อให้เห็นขั้นตอน และกระบวนการในการหยั่งลงสู่อมตธรรม ในวิมุตติสูตรนั้นจะประกอบไปด้วยธรรม 5 ข้อ ที่แตกต่างกัน แต่มีลำดับขั้นตอนการปฏิบัติที่จะให้เกิดผลเป็นวิมุตติสู่นิพพานได้เหมือนกัน ธรรม 5 ข้อนั้นได้แก่ 1. การได้ฟังธรรม 2. การอธิบายบอกสอน 3. การสัชฌายะ 4. การใคร่ครวญธรรม 5. การทำสมาธิ กระบวนการสู่การหลุดพ้น มีอยู่ 6 ขั้นตอน เริ่มจาก เข้าใจอรรถ เข้าใจธรรม แทงตลอดด้วยดี -> เกิดปราโมทย์ -> เกิดปีติ -> กายสงบระงับ -> เสวยสุข -> จิตย่อมตั้งมั่น (ฌาน) และเมื่อมาถึง 6 ขั้นตอนนี้แล้วก็เข้าสู่วิมุตติ คือ ความพ้นจากผัสสะ พ้นจากกิเลส เกิดความรู้เป็นวิชชา และวิมุตติ มีปัญญาปล่อยวาง สู่นิพพาน
- บางครั้ง..คนเรานั้น ก็มักจะสับสนในธรรมที่ดูจะเหมือนๆ กัน คล้ายๆ กัน จนแยกไม่ออกว่า “ ผลผลิตของธรรมนั้นจะให้ผลออกมาอย่างไร ” จึงขอยกธรรมที่ดูจะเหมือนๆ กันขึ้นมาเปรียบเทียบกันเพื่อให้เห็นถึงความแตกต่างในความหมาย และคุณลักษณะของธรรมนั้นๆ อย่างแยบคาย และเพื่อก่อให้เกิดความเห็นที่ถูกต้อง เป็นสัมมาทิฎฐิไปสู่พระนิพพานได้ โดยธรรมที่หยิบยกมานี้ เมื่อพิจารณาแล้วจะแบ่งได้เป็น 2 ฝ่าย คือ ฝ่ายกุศลธรรม และ ฝ่ายอกุศลลธรรม เช่น ฉันทะ / ตัณหา, ความเพียร / ความโลภ, ความเมตตา / ความรัก, ปล่อยวาง / ขี้เกียจ, อุเบกขา / ความเฉยเมย, พูดตรงจริงใจรู้กาล / พูดตรงไม่มีมารยาท, ความเห็นอกเห็นใจ / ความเศร้าเสียใจ
- ธรรมะที่ช่วยประสานประโยชน์ให้เกิดความสามัคคี ให้อยู่ร่วมกันอย่างมีความสุข เป็นเครื่องช่วยขจัดความขัดแย้งที่เกิดขึ้น ทำให้คนอยู่ร่วมกันด้วยความรัก ให้เกิดความสงเคราะห์กัน เข้าใจกันลงกันได้ สามารถนำไปใช้ได้ตั้งแต่ระดับครอบครัวจนถึงระดับสังคม หมวดธรรมที่ว่านี้นั่นก็คือ “สังคหวัตถุ 4” อันประกอบไปด้วย 1. ทาน คือ การรู้จักให้ รู้จักเสียสละ การเผื่อแผ่ แบ่งปัน ให้ความช่วยเหลือสงเคราะห์ 2. ปิยวาจา คือ การพูดจาด้วยถ้อยคำที่ไพเราะ อ่อนหวาน ไม่พูดหยาบคาย และมีความจริงใจ ไม่โกหกเสแสร้ง ไม่พูดส่อเสียดยุยงให้เแตกร้าว พูดแต่ในสิ่งที่เป็นประโยชน์ 3. อัตถจริยา คือ การทำประโยชน์ให้แก่ผู้อื่น 4. สมานัตตตา คือ การวางตัวเสมอต้นเสมอปลาย หนักแน่น ให้ความเสมอภาคกับทุกคนอย่างเท่าเทียมกัน ไม่เอารัดเอาเปรียบ
- “นิวรณ์ 5” ได้แก่ กามฉันทะ พยาบาท ถีนมิทธะ อุทธัจจกุกกุจจะ และวิจิกิจฉา เป็นกิเลสประเภทหนึ่ง ที่เกิดขึ้นในช่องทางใจระหว่างการปฏิบัติสมาธิภาวนา เป็นเครื่องขวางกั้น ทำให้จิตขุ่นมัว ไม่เป็นสมาธิ การจะระงับนิวรณ์ได้ สิ่งสำคัญที่สุด คือ “การมีสติ” ระลึกรู้ถึงนิวรณ์ที่เกิดขึ้น และการใช้ “กำลังของสติ” ไม่ให้จิตน้อมไปตามความคิดเหล่านั้น นั่นจะทำให้นิวรณ์อ่อนกำลังและดับไป นอกจากนี้ การไม่ตั้งความพอใจในสิ่งใดสิ่งหนึ่ง การเจริญพรหมวิหาร 4 รวมถึงการเจริญโพชฌงค์ 7 ก็ทำให้นิวรณ์ระงับได้ เช่นเดียวกัน ทั้งนี้ ในการเจริญสมาธิภาวนา เราอาจใช้นิวรณ์เป็นกรอบนิมิตได้ว่า สมาธิช่วงไหนควรเป็นไปเพื่อให้จิตสงบ หรือช่วงไหนควรเป็นไปเพื่อการพิจารณาให้เกิดปัญญา ได้อีกด้วย
- เมื่อเรายังคงมีชีวิต และยังคงอาศัยอยู่บนโลก เราคงหลีกเลี่ยงเรื่องของโลกไม่ได้ กล่าวคือต้องเจอเรื่องราวผัสสะต่างๆ ทั้งสุข และทุกข์เป็นธรรมดา แต่เมื่อเจอผัสสะที่น่าพอใจ และไม่น่าพอใจแล้ว เรามีสติแยกแยะเห็นความไม่เที่ยงในผัสสะต่างๆเหล่านั้นได้หรือไม่ เรายังคงรักษาจิตให้อยู่ในมรรคได้หรือไม่? ผัสสะจึงเป็นเครื่องทดสอบของนักปฏิบัติที่จะมาเดินตามมรรค ตราบใดที่ยังคงมีสฬายตนะย่อมมีผัสสะเป็นธรรมดา และเมื่อมีผัสสะแล้วก็ย่อมมีเวทนาทั้งสุขและทุกข์ เมื่อมีเวทนาเกิดขึ้นคุณจะหลงเพลินไปกลับเวทนานั้นไหม จะมีอกุศลเกิดขึ้นไหม จะเดินตามมรรคได้หรือไม่ และแน่นอนผัสสะย่อมอาศัยอยู่คู่กับอายตนะนี้ไปตลอดชีวิต และเราก็ย่อมเจอผัสสะไปตลอดชีวิตนี้ด้วยเช่นกัน แต่เราจะอยู่เหนือผัสสะได้ ด้วยการเจริญอริยมรรคมีองค์ 8 ใช้สติ สมาธิ และปัญญาใคร่ครวญเห็นตามความเป็นจริงในผัสสะต่างๆ ทั้งหลายที่อาศัยกายนี้เป็นแดนเกิด จะเห็นสิ่งต่างๆ ตามความเป็นจริงได้ด้วยปัญญา
- ธรรมชาติของมรรค 8 เมื่อเราปฏิบัติตามมรรค จะทำให้คลายความยึดถือไปในตัวอยู่แล้ว ความยึดถือ คือ อุปาทานที่มีเหตุมาจากตัณหาที่ถูกอวิชชาปิดบังเอาไว้ อวิชชา คือ ความไม่รู้ในอริยสัจ 4 เราจะดับอวิชชาได้ ก็ต้องทำวิชชาให้เกิดมี คือ ความรู้แจ้งในอริยสัจ 4 และเส้นทางสู่ความรู้แจ้ง หรือระบบสู่ความดับทุกข์ ซึ่งพระพุทธเจ้าได้ประกาศชี้ทางไว้ให้แล้ว นั่นคือ “อริยมรรคมีองค์ 8” คือ เส้นทางให้เราหลุดออกจากอ่างวังวนของวัฏฏะนี้ คือ เส้นทางสู่พระนิพพาน
- พระอานนท์แสดงธรรมโปรดทสมคหฤบดี ชาวเมืองอัฏฐกะ โดยมีเนื้อความดังนี้ว่า “บุคคลเมื่อเป็นผู้ไม่ประมาท มีความเพียร มีตนส่งไปอยู่ มีจิตที่ยังไม่หลุดพ้น ย่อมหลุดพ้น อาสวะทั้งหลายที่ยังไม่สิ้น ย่อมถึงความสิ้นไป และย่อมบรรลุถึงธรรมที่ปลอดโปร่งจากกิเลสเป็นเครื่องประกอบไว้อันไม่มีธรรมอื่นยิ่งกว่าที่ยังไม่บรรลุ อันพระผู้มีพระภาคเจ้า ผู้รู้ ผู้เห็น เป็นพระอรหันต์ ตรัสรู้เองโดยชอบ พระองค์นั้น ตรัสไว้“ ธรรมอันเป็นประตูแห่งอมตะธรรมที่เมื่อเข้าถึงแล้ว อันได้แก่ รูปฌาน 4 อัปปมัญญา 4 และอรูปฌาน 3 (แม้อย่างใดอย่างหนึ่ง) ที่เมื่อพิจารณาอยู่อย่างนี้แล้ว ย่อมรู้ชัดว่า ก็สิ่งใดสิ่งหนึ่งอันเหตุปัจจัยปรุงแต่งขึ้น สิ่งนั้นไม่เที่ยง มีความดับไปเป็นธรรมดา เมื่อตั้งอยู่ในธรรม คือ สมถะและวิปัสสนานั้น ย่อมถึงความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย
- มนุษย์เรา ล้วนแต่ต้องการสิ่งที่ดีงาม เป็นมงคลแก่ชีวิตของตนทั้งสิ้น แต่จะมีสักกี่คนที่รู้ว่ามงคลคืออะไร และอะไรที่เป็นมงคล มงคล 38 ประการนี้ เป็นข้อปฏิบัติเบื้องต้นจนถึงเบื้องปลายสูงสุด เมื่อเราน้อมเอามาปฏิบัติย่อมเป็นมงคลเกิดขึ้นแก่ชีวิตของตน นำมาซึ่งความสุขความเจริญแก่ชีวิต
- เป็นมงคลชีวิตเบื้องสูงที่เดินทางมาถึง 4 ข้อสุดท้าย เป็นภูมิจิตของผู้ที่ไกลจากกิเลส กล่าวคือ จิตที่ไม่หวั่นไหวไปตามโลกธรรม คือ เมื่อถูกโลกธรรมฝ่ายอิฏฐารมณ์กระทบก็ไม่ไหวไปตามอารมณ์ที่น่าพึงพอใจน่าปรารถนานั้น และเมื่อถูกฝ่ายอนิฏฐารมณ์กระทบก็ไม่หวั่นไปตามอารมณ์ที่ไม่น่าปรารถนานั้น จิตจะเข้าถึงความคงที่อย่างนี้ได้ ต้องประกอบไปด้วยปัญญาที่เห็นการทำงานของขันธ์ที่เป็นไปตามกฏของไตรลักษณ์ จิตไม่โศก (จิตที่บรรลุนิพพานแล้ว) “ความโศกเกิดจากความรัก เพราะมีรักจึงมีโศก” ความรักเปรียบเหมือนยางเหนียวทำให้จิตติดอารมณ์นั้น พอความรักหายไปก็เศร้าโศก จิตของพระอรหันต์ท่านไม่มีรัก เพราะฉะนั้นจิตจึงไม่โศก จิตหมดธุลี ธุลี คือ ความเศร้าหมองของจิตที่เกิดจากเทือกของกิเลส (ราคะ โทสะ โมหะ) จะกำจัดกิเลสได้ก็ด้วย อริยมรรค 8 จิตหมดธุลี คือ จิตที่พ้นแล้วจากกิเลส จิตเกษม เป็นจิตที่ถึงแดนเกษมคือแดนปลอดภัยจากกิเลสเครื่องกวนใจ ตัดเครื่องผูกรัด คือ กามโยคะ ภวโยคะ ทิฎฐิโยคะ อวิชชาโยคะ พ้นแล้วจาก ความเกิด-แก่-เจ็บ-ตาย
- ในทางปฏิบัติเราจำเป็นจะต้องรู้เรื่องอริยสัจไว้บ้าง เพราะเวลาที่เราไปรับรู้หรือเห็นนิมิตอะไรมา เราอาจจะหลงหรือเข้าใจผิดสำคัญว่าตนมีคุณวิเศษหรือได้บรรลุธรรมแล้ว พระพุทธเจ้าได้สละความสุขส่วนพระองค์เพื่อที่จะออกค้นหาศาสตร์ความจริงที่จะช่วยให้คนพ้นจากความทุกข์ ความแก่ และความตาย ซึ่งศาสตร์ที่พระองค์ทรงค้นพบนี้เรียกว่า “ อริยสัจ 4 ” การเห็นอริยสัจ (ญาณในอริยสัจ 4) ที่แท้จริงนั้นต้องเห็นโดยมีปริวัฏฏ์ 3 มีอาการ 12 จึงจะเป็นความพ้นทุกข์ที่แท้จริงคือเป็นจิตที่พ้นจากกิเลสโดยสิ้นเชิง เป็นความแจ้งในนิพพาน นิพพานธาตุ แบ่งเป็น 2 ประเภท คือ สอุปาทิเลสนิพพาน คือ ยังมีชีวิตอยู่ อินทรีย์ห้ายังคงอยู่ เสวยเวทนาอยู่ และ อนุปาทิเลสนิพพาน คือ การดับภพและเวทนาได้สิ้นเชิง
- มงคลข้อนี้ เป็นการเดินทางจากโลกียะไปสู่โลกุตระ เป็นการเปลี่ยนแปลงทางร่างกายและจิตใจครั้งยิ่งใหญ่ เปรียบเหมือนท่าอากาศยานต่อแดนระหว่างภาคพื้นดินกับภาคพื้นเวหา จิตของคนเราแบ่งภูมิชั้นของจิตได้เป็น 2 ระดับ 4 ภูมิ คือ ระดับโลกิยภูมิ (วนเวียนอยู่ในโลก) ได้แก่ กามาวจรภูมิ รูปาวจรภูมิ อรูปาวจรภูมิ และ ระดับโลกุตรภูมิ คือ ภูมิจิตของพระอรหันต์ ความสุขจากภูมิ 2 ระดับนี้ก็แตกต่างกัน คือ ความสุขในภูมิโลกีย์เป็นสุขระคนด้วยทุกข์เหมือนจะมีสุขแต่ไม่มี เป็น “จิตวิ่งวุ่น” เปรียบได้กับพยับแดด ส่วนความสุขโลกุตรภูมิเป็นสุขคงที่ ผู้ที่เข้าถึงก็มี “จิตคงที่” เพราะเจอสุขที่เข้าถึงได้ การประพฤติพรหมจรรย์ คือ พยายามกำจัดความรู้สึกทางเพศเป็นการประพฤติตัวอย่างพรหม ในศาสนาอื่นเพื่อเข้าถึงพรหมโลก ส่วนในทางพุทธไปได้สูงกว่านั้น คือบรรลุถึงโลกุตระ ข้อวัตรพรหมจรรย์มี 10 อย่าง 4 ชั้น คือ ชั้นต่ำ กลาง สูง และชั้นพรหมจรรย์ (สำเร็จอธิสิกขา 3 ) แต่ละขั้นจะมีการรักษาศีลและการปฏิบัติควบกันไปเป็นระยะๆ และเข้มข้นขึ้นตามชั้น
- ในพุทธศาสนา การบำเพ็ญตบะ คือ การเพียรเผากิเลส จะมุ่งเน้นมาในจิตใจ ซึ่งศาสนาอื่นนั้น มุ่งเน้นมาในทางกาย ชนิดของกิเลสนั้น มีทั้งที่เป็นฝ่ายกุศล คือ กิเลสอย่างละเอียด ทำให้เกิดโมหะ เช่น บุญ ทำให้เกิดการยึดถือเมาบุญได้ และฝ่ายอกุศล ราคะ โทสะ โมหะ กิเลสทั้งสองชนิดนี้ ทำให้เราเวียนไปสูง-ไปต่ำ วนอยู่ในวัฏฏะ การบำเพ็ญตบะ จึงจำเป็นต้องอาศัยความอดทนอย่างยิ่งในการเผากิเลสที่อยู่กับเรามานานให้หลุดลอกออก ถ้าเราอดทนไม่ได้ก็คือ “ตบะแตก” การอดทนนั้นจึงต้องประกอบไปด้วยปัญญา วิธีทำตบะ คือ ข้อปฏิบัติทั้งหมดที่ฝืนความต้องการของกิเลส ได้แก่ สัลเลขธรรม-การขัดเกลากิเลส และธุดงควัตร 13-การกำจัดกิเลส ตบะในชีวิตประจำวัน ทำได้ด้วยการ “มีสติ” สำรวมอินทรีย์ มีหิริโอตตัปปะจะเป็นเหตุให้เกิดอินทรียสังวร มีศีล สมาธิ และปัญญา
- ธรรมสากัจฉา หรือแปลกันว่า สนทนาพูดคุยธรรมะ จะต้องมีสองฝ่ายผลัดกันฟัง-ผลัดกันพูดให้เหมาะสมกับกาละ “ผู้พูด”จะต้องมีสัมมาวาจา เป็นวาจาสุภาษิต “ผู้ฟัง” ต้องควบคุมใจให้ฟังเอาธรรมะเข้าสู่ใจ “การสนทนาธรรมะ” จึงต้องรู้จังหวะที่จะพูดที่จะฟัง ต้องระมัดระวัง และต้องคอยควบคุมใจไม่ให้กิเลสออกมาตีกัน วิธีสนทนานั้น ใช้หลักอยู่ 3 อย่าง คือ สนทนาในธรรม - เรื่องที่สนทนาให้อยู่ในวงธรรมะ ไม่ออกนอกวง สนทนาด้วยธรรม – ไม่แสดงกิริยาวาจาให้ผิดธรรมะ มีธรรมะอยู่ในใจ สนทนาเพื่อธรรม – เพื่อให้เกิดประโยชน์ทั้งผู้ฟัง และผู้พูด ได้ความรู้ในธรรมยิ่งๆ ขึ้นไป การที่เราจะเข้าถึงธรรมะได้สะดวกนั้น ต้องไม่ติดสมมุติของโลก คือ ใช้หลัก “ธรรมวิจยะ” การเลือกเฟ้นธรรมในการแยกธรรมดี และไม่ดีออกจากกัน เลือกธรรมที่เหมาะสมมาปฏิบัติ และรู้ว่าอะไรเป็นโลกบัญญัติ และอะไรเป็นสัจธรรม จะได้ปล่อยวางบัญญัติโลกได้
- สมณะ คือ ยอดคนดีทางธรรม เป็นผู้ที่สงบจากการทำบาป (กิเลส) การเห็นสมณะจะมีได้ก็ต่อเมื่อเรารู้จักสมณะ ถ้าไม่รู้ ถึงจะเห็นก็เหมือนไม่เห็น อย่างในเรื่องกามนิตที่เที่ยวตามหาพระพุทธเจ้า เมื่อได้พบแต่กลับไม่รู้จักท่าน การเห็นจึงไม่เกิดผล สมณะจะมีความ “สงบตัว” คือ ไม่แสดงกิริยาร้าย เช่น ทุบตี ทำร้าย ฆ่าฟัน ชิงดีชิงเด่น ไม่ก่อความวุ่นวายไม่ว่าจะเพื่ออะไร, “สงบปาก” คือ ไม่เป็นคนปากร้าย ไม่นินทาว่าร้าย ไม่ตีกันด้วยปาก, “สงบใจ” คือ ใจสงบจากบาป จิตใจเต็มไปด้วยเมตตาไม่เป็นภัยต่อผู้ใด สมณะนั้น ย่อมไม่ทําอันตรายใคร, ไม่เห็นแก่ลาภ, ฝึกตน กิจวัตรของพระ, บําเพ็ญตบะ ละกิเลส การเห็นสมณธรรมในสมณบุคคล (เห็นด้วยปัญญา) เป็นทัสสนานุตริยะ (การเห็นอันยอดเยี่ยม) คือ ทำให้เกิดศรัทธา เป็นทางไปสู่พระนิพพาน การเห็นสมณะอย่างถูกต้องแบบนี้จึงจะเป็นมงคล
- “โสวจสฺสตา” ความเป็นผู้ว่าง่าย สอนง่าย บอกง่าย ฟังเหตุผลกัน เหล่านี้เป็นประตูด่านแรกที่มีความสำคัญ ที่จะให้คำสอนอื่นๆ ธรรมะดีๆ เบื้องต้นเข้ามาได้หรือได้ หรือถ้านำมาใช้งานในระดับธรรมะขั้นที่สูงขึ้นไป เช่น ในลักษณะของมงคลที่อยู่ในลำดับท้ายๆ จะเป็นการปรับสภาพเตรียมใจให้พร้อมนำเอาธรรมะเบื้องสูงเข้าสู่จิตใจของเรา ซึ่งถ้าหัวดื้อแล้วอะไรที่มันจะสอนสั่งอธิบาย มันทำได้ยากไปหมดเลย แต่ก็ไม่ใช่จะทำไม่ได้ เพราะมันจะมีสักเวลาใดเวลาหนึ่งที่เขาจะบอกได้สอนได้ มันเปลี่ยนแปลงกันได้ คือจะมีบางครั้งที่บอกได้ง่าย ถ้าบอกง่ายแล้ว สิ่งดีๆ ความฉลาด มันก็จะเข้าไปภายในได้ ให้เป็นผู้ที่อดทนทำ รับฟังคำตักเตือนด้วยความเคารพหนักแน่น มงคลความเป็นผู้ว่าง่ายนี้จึงต่อจากคุณธรรมที่ชื่อว่า “ขันติ” คือ ความอดทนทำตามคำสอน โดยเฉพาะอย่างยิ่งคำสอนที่บางทีมันก็ทำได้ยาก ลักษณะของคนที่มีคุณสมบัติของความเป็นผู้ว่าง่าย ดูจากภายนอกที่พอจะเห็นได้ คือ 1) รับคําสอนด้วยดี 2) รับทําตามด้วยดี 3) รู้คุณของผู้ให้โอวาท) ซึ่งบอกง่ายหรือสอนง่ายมันก็ต้องมีการพูดคุย เพราะไม่ใช่เรื่องง่าย ต้องมีการใช้เหตุผลในสิ่งที่บอกหรือสอนนั้น และในการที่จะให้เขามาติเตียน บอกกล่าวบอกสอน ก็ต้องมีเงื่อนไข ซึ่งในธรรมวินัยนี้เราเรียกว่า “การปวารณา” คือ ออกตัวให้บอกสอนได้ ส่วนวิธีการทําให้เป็นคนว่าง่ายนั้นก็คือ การเห็นโทษของความว่ายากและเหตุที่ทําให้ว่ายาก 16 อย่าง และการกระทำในมงคลข้อต่างๆ ก่อนหน้านี้ที่ผ่านมาทั้ง[...]
- ขันติ คือ ความอดทนนั้น คือ การรักษาภาวะปกติไว้ได้ ไม่ว่าจะถูกกระทบอย่างไรก็ตาม เช่น เมื่อถูกกระทบให้ลุ่มหลงก็ไม่ลุ่มหลงไปตาม หรือถูกกระทบให้ไม่พอใจขยะแขยง ก็อดทนอยู่ในสภาวะแบบเดิมไว้ได้ ความอดทนนั้นจะมีลักษณะของความอดกลั้นไว้ไม่คิดที่จะก่อทุกข์ให้ผู้อื่น และตนเองก็มีความเบิกบานแจ่มใสอยู่เป็นนิตย์ด้วย ซึ่งความอดทนไม่เหมือนกับดื้อด้าน หรือเก็บกด เพราะความอดทนนั้นจะต้องประกอบด้วยปัญญา มีความเพียรชำระตัดสิ่งที่เป็นอกุศลธรรมออกไปจากจิตใจของเรา ประเภทของความอดทนแบ่งได้เป็น 4 ระดับ คือ 1. จากภายนอกกระทบ เช่น อากาศร้อน หนาว 2. จากทุกขเวทนาในกาย เช่น เจ็บป่วย 3. อดทนต่อความเจ็บใจ เช่น คำพูดล่วงเกิน 4. อดทนต่ออำนาจของกิเลส *ซึ่งหมายเอา 2 ข้อหลังนี้ อุบายในการฝึกความอดทน ให้ดูคุณธรรมจาก เตมิยชาดก ปุณโณวาทสูตร เวปจิตติสูตร เรื่องของความอดทน คือ ขันตินั้น จะทำให้จิตใจของเรามีความก้าวหน้าขึ้นไป เป็นเหมือนการบ่มให้คุณธรรมดีๆ เติบโตได้มากยิ่งขึ้น เป็นคุณธรรมของนักปราชญ์บัณฑิตที่เมื่อรักษาแล้วจะเป็นมงคลในชีวิตของเรานั่นเอง
- การฟังอะไรที่ฟังแล้ว ทำให้จิตใจสูงขึ้น ดีขึ้น หมายถึง มีความสงบขึ้น ฟังแล้วทำให้เกิดกุศลธรรมได้เพิ่มขึ้น ดีขึ้น นั่นเป็น การฟังธรรม ซึ่งดูจากประโยชน์ที่จะเกิดขึ้น ประโยชน์ที่จะเกิดขึ้นกับตัวเราเอง กับผู้อื่น และประโยชน์ที่จะเกิดขึ้นกับทั้งสองฝ่าย เป็นประโยชน์ทั้งในปัจจุบันนี้ และในเวลาต่อๆ ไป ฟังธรรมแล้วเข้าใจอรรถะ เข้าใจในธรรมะแล้ว จะบรรลุธรรมเป็นวิมุตติหรือไม่ ก็จะต้องมีปราโมทย์ มีปีติ จิตสงบ มีกายสงบแล้ว มีความสุขในภายใน จิตตั้งมั่น บุคคลที่มีจิตตั้งมั่นมาตามกระบวนการนี้ ไม่ประมาท มีความเพียร มีใจเด็ดเดี่ยว จิตที่ไม่หลุดพ้นย่อมหลุดพ้น อาสวะที่ยังไม่สิ้นยังละไม่ได้ ย่อมสิ้นไป ย่อมถึงการละได้ ย่อมได้บรรลุธรรมอันเป็นเครื่องเกษมจากโยคะ หมายถึง นิพพาน
- กตัญญู หมายถึง การรู้คุณ ซึ่งต้องเห็นด้วยปัญญา ส่วนกตเวที หมายถึง การแสดงออก กระทำตอบ แต่ความกตัญญูในที่นี้ เป็นเรื่องของในภายใน คือ รู้คุณค่า เห็นคุณค่า ของธรรมะในหัวข้อต่างๆ ที่ลึกซื้งลงไป
- "สันโดษ" มาจากคำว่า "สนฺตุฏฺฐิ" มาจากคำว่า “สนฺโตส” คือ ยินดีในตน หมายความว่า ยินดีตามมี ยินดีตามได้ และยินดีตามควร ส่วนมักน้อย มาจากคำว่า "อปปิจฺ" เป็นคนละส่วนกัน มักน้อยไม่ใช่สันโดษ มักน้อยพูดถึงสิ่งของที่ได้ แต่สันโดษเป็นเรื่องของจิตใจ
- การอ่อนน้อมถ่อมตน เป็นการพิจารณาน้อมเข้ามาในตัวเองว่า เรามีความบกพร่องตรงไหน มีข้อไม่ดีตรงไหน เราจึงอ่อนน้อมถ่อมตน เพื่อที่จะสามารถข่มทิฎฐิมานะของตนเองให้ได้ ชาติตระกูล ทรัพย์สมบัติ รูปร่างหน้าตา ความรู้ความสามารถ ยศตำแหน่ง และบริวาร ถ้าเราเห็นความดี หรือหลงใน 6 อย่างนี้ จะทำให้เรามีความยกตนข่มท่าน ไม่อ่อนน้อมถ่อมตนได้ การอ่อนน้อมถ่อมตน ไม่ใช่การลดศักดิ์ศรีของตนเอง แต่เป็นการลดทิฏฐิมานะ
- "คารวะ 6" คือ การมองเห็นคุณค่า และความสำคัญ แล้วปฏิบัติต่อบุคคลนั้น หรือสิ่งนั้นโดยถูกต้อง มี 6 ประการ ได้แก่ ความเคารพในพระศาสดา ความเคารพในพระธรรม ความเคารพในหมู่สงฆ์ ความเคารพในสิกขา ความเคารพในความไม่ประมาท และความเคารพในปฏิสันถาร ธรรม 6 อย่างนี้ ย่อมเป็นไปเพื่อความไม่เสื่อมแห่งภิกษุ ความไม่เสื่อม ก็คือ ไม่เคลื่อนไปสู่ทางเสื่อม ไปทางที่จะตรงข้ามกับนิพพาน ถ้าคุณเห็นคุณค่าในธรรมะทั้ง 6 ประการนี้ จะมีความเจริญก้าวหน้าในจิตใจ ผ่านพ้นภัยต่างๆ มีนิพพานเป็นที่สุดจบ ไม่เสื่อมจากพระสัทธรรมได้
- เมื่อไม่ประมาทในเรื่องเวลา วัย ชีวิต ความไม่มีโรค งาน การศึกษา และการปฏิบัติธรรม เราก็สามารถที่จะเลิก ละ กายทุจริต วจีทุจริต มโนทุจริต และละมิจฉาทิฏฐิได้ สิ่งที่เหลืออยู่นั้น ก็จะทำให้เกิดการปฏิบัติในกายสุจริต วจีสุจริต มโนสุจริต และสัมมาทิฏฐิ นั่นคือ การไม่ประมาทในธรรมะทั้งหลาย
- อย่าไปแสวงหาทุกข์จากความสุข โดยการดื่มน้ำเมา ถึงแม้บางทีเราต้องเจอความทุกข์ เพื่อให้ได้สุขในภายภาคหน้า เช่น เราทำความเพียร ต้องรักษาศีล 8 ต้องอดข้าวเย็น บางทีมันก็หิว...อดทนเอา แต่ว่าสุขคืออะไร คุณมีศีล จิตคุณจะสงบได้ต่อไป
- หิริ ความละอาย รังเกียจต่อบาป และโอตตัปปะ ความกลัวต่อบาป คือ หลักธรรมในการเว้นจากบาป และงดจากบาปที่เราจะลงมือกระทำได้
- การงานไม่มีโทษ หมายถึง ไม่ถูกติเตียน เป็นสิ่งที่จะทำให้เรานั้นเป็นมงคลในชีวิต เพราะว่าการงานที่ถูกติเตียนได้ มันดีไม่เต็มที่ ได้ผลไม่เต็ม การงานบางอย่างทำไปทางกาย วาจา ใจ ไม่ว่างานราษฎร์ งานหลวง งานตนเอง หรืองานส่วนรวม ถ้าทำแล้วมันผิด ผิดในหลักศีล หลักกฎหมาย หลักธรรม และหลักประเพณี มันจะมีโทษแฝงอยู่ มันจะได้ผลไม่เต็มที่
- “ความคุ้นเคยเป็นญาติอย่างยิ่ง” ให้มองทุกคนเหมือนเป็นญาติของเรา “มองกันด้วยสายตาแห่งคนที่มีความรักใคร่กัน” เพราะทุกคนเป็นญาติกันแน่ ไม่ทางใดก็ทางหนึ่ง ไม่ทางโลกก็ทางธรรม ไม่สายโลหิตก็ตามความคุ้นเคย ดังนั้น ‘สังคหวัตถุ 4’ คือ สิ่งที่สามารถสงเคราะห์กัน ช่วยเหลือดูแลกัน จะมีอยู่ 4 ประการ คือ (1) สมานัตตตา การวางตัวให้เหมาะสม (2) ทาน การให้การแบ่งปัน (3) ปิยวาจา การไม่กล่าวคำให้แตกแยก การรักษาวาจา กล่าวคำที่จะให้เขาสบายใจ และ (4) อัตถจริยา การประพฤติตนให้เป็นประโยชน์ ช่วยเหลือกันในความเป็นญาติ รวมทั้งช่วยบริหารจัดการครอบครัวญาติมิตรให้มั่งคั่ง เจริญพรั่งพร้อมกันขึ้นมา ซึ่งเมื่อเราทำกับเพื่อนกับญาติอย่างนี้ ความเป็นมงคลจะเกิดขึ้นแน่นอน
- “ธรรมจริยา” เป็นมงคลชีวิตที่เป็นส่วนของสังคมภายนอก ที่ว่าเราจะประพฤติธรรมอย่างไร โดยจำแนกด้วยหมวดธรรมะต่างๆ ประการแรก ธรรมะคืออะไร ประการที่สอง ธรรมะคือกุศลกรรมบท 10 อย่าง คือ การประพฤติธรรมในเรื่องของช่องทางที่กระทำทางกาย วาจา ใจ ประการที่สาม คือ การประพฤติธรรมให้มีหลักความเที่ยงธรรม ความยุติธรรม ต้องไม่ลำเอียงเพราะ “รัก โกรธ หลง กลัว” ประการที่สี่ เรื่องว่าจะเอาอะไรเป็นใหญ่ ธรรมะเป็นใหญ่ “ธัมมาธิปไตย” หรือ “โลกาธิปไตย” หรือตนเองเป็นใหญ่ “อัตตาธิปไตย” คือ การพึ่งตนพึ่งธรรม และประการสุดท้าย คือ จำแนกตามสังฆคุณ 9 ประการ เมื่อมีธรรมจริยาแล้ว จะทำให้เป็นมงคลได้ มีความก้าวหน้ามีการพัฒนามีความเจริญ เพราะมีการลงมือปฏิบัติ เกิดการเดินไปตามทางให้ถึงจุดหมาย นั่นจึงเป็นมงคลในชีวิต
- ‘ทาน’ มาจากคำว่า “ทานญฺจ หรือ ทานัญจะ” ซึ่งมีทั้งการให้เพื่ออนุเคราะห์หรือสงเคราะห์ และการให้เพื่อบูชาคือทำบุญ “สิ่งที่จะทำจิตของเราไม่ก้าวหน้า แต่เศร้าหมอง หนึ่งในหลายๆ อย่างนั้น คือ ความตระหนี่” “ทานที่ให้แล้วมีผล ยัญที่บูชาแล้ว ก็มีผล” ดังนั้น ‘ทาน’ จะมีผลอย่างไร ขึ้นอยู่ที่ของที่ให้ อยู่ที่เจตนาและศรัทธาของผู้ให้ และผู้รับ เปรียบผู้ให้ไว้กับเมล็ดพันธุ์ และผู้รับกับแปลงนา ดั่งคำว่า เนื้อนาบุญ และเพราะการกำจัด การให้ การละออกไป เป็นความสามารถของจิตแบบเดียวกันกับการที่เราจะกำจัดกิเลสได้ แบบเดียวกันเพื่อที่จะให้เกิดสมาธิด้วย เกิดปัญญาด้วย ดังนั้น การให้ทานจึงเป็นพื้นฐานของศีล ของสมาธิ และของปัญญาด้วย ไล่เรียงกัน “ทาน ศีล สมาธิ ปัญญา” มีผลเกี่ยวเนื่องกันเป็นตัวสนับสนุนในมงคลข้อต่อๆ ไป จนถึงนิพพานได้เลย
- ‘งาน’ คือ อะไรก็ได้ที่เป็นระบบ เป็นขั้นตอน มีวิธีการปฏิบัติ และจะเกิดความเป็นมงคลได้นั้น คุณธรรมในการทำงานให้สำเร็จ คือ อิทธิบาท 4 การเจริญอิทธิบาท 4 ต้องเข้าใจให้ถูก ต้องมีองค์ประกอบอีก 2 อย่าง คือ “ธรรมเครื่องปรุงแต่ง” หรือเป้าหมาย และประกอบด้วย “สมาธิ” ที่จะมาเชื่อมกับกิจแต่ละอย่างๆ คือ “ฉันทะ” ความพอใจความเต็มใจ ที่ทำให้เริ่มลงมือทำ “วิริยะ” ความเพียร ความกล้า ความกระตือรือร้น ความมีระเบียบวินัย ทำให้งานสำเร็จได้ “จิตตะ” ความใส่ใจ ถูกต้อง ตรวจสอบ ทำให้งานมีความต่อเนื่อง “วิมังสา” การพินิจพิเคราะห์ แยกแยะพิจารณา เปลี่ยนแปลงให้งานนั้นๆ ดีขึ้น ด้วยองค์ประกอบ 3 ประการ ตั้งไว้แล้ว จะทำให้การทำการงานนั้น ไม่ย่อหย่อน ไม่เกียจคร้าน ไม่ฟุ้งซ่าน ไม่สยบในภายใน แต่สำเร็จ “การงานไม่อากูล” ลุล่วงไปได้นั่นเอง
- “ทารสงฺคห” คือ สงเคราะห์ภรรยา ซึ่งธรรมะลักษณะนี้เป็นธรรมที่มาคู่กัน อาศัยกันจึงเกิดขึ้น ‘ภรรยา’ คือ ผู้ควรถูกเลี้ยง ‘สามี’ คือ ผู้มีธรรมเป็นใหญ่ ผู้ที่อุปการะเลี้ยงดู ในที่นี้ได้จำแนกลักษณะของคู่ครองไว้ไล่มาตั้งแต่คู่ครองที่ดีได้กุศล 4 ประเภท คือ เปรียบด้วยมารดา น้องสาว สหายและทาสี และอีก 3 ประเภทที่ไม่ได้สงเคราะห์กัน คือ เปรียบด้วยเพชฌฆาต โจร และนาย ดังนั้นถ้าจะอยู่ร่วมกันแล้วเป็น ‘มงคล’ คือ โชคดี ทั้งสองฝ่ายต้องมีคุณธรรมต่างๆ สงเคราะห์กัน ทำหน้าที่ของตนให้ถูกต้อง เพื่อที่จะ ‘สังคหะ’ คือ “ผูก-ยึด” คน 2 คนไว้กันได้ อันนี้จะเป็นมงคลในเรือน ที่ดีย่ิงกว่าวัตถุมงคลหรือเครื่องรางของขลังใดๆ
- “ปุตฺตสงฺหค” คือ สงเคราะห์บุตร ‘สงเคราะห์’ มาจากภาษาบาลีคำว่า ‘สงฺคห’ หมายถึง การดูแล ส่วน ‘บุตร’ มาจากภาษาบาลีคำว่า ‘ปุตฺต’ หมายถึง บุตรและธิดา ผู้ทำสกุลให้บริสุทธิ์ หรือผู้ยังดวงใจของพ่อแม่ให้เต็มอิ่มขึ้นมา ลูกแบ่งตามสภาวธรรม คือ การให้กำเนิดได้ 3 แบบ คือ ลูกที่ให้กำเนิด ลูกที่นำมาเลี้ยงดู และลูกศิษย์ และแบ่งได้ตามภูมิ คือ อภิชาตบุตร อนุชาตบุตร และอวชาตบุตร ซึ่งการสงเคราะห์บุตรเจาะจงมาในเรื่องการเลี้ยงดูอย่างไรให้ดี พ่อแม่ทำความดีแล้ว ก็ต้องเลี้ยงลูกให้ดี ด้วยองค์ประกอบ 2 ส่วน อาหารกาย และอาหารใจ ที่สำคัญคือ คุณธรรมของพ่อแม่ “ความดีความชั่วต้องรู้จักให้รู้จักป้องกัน” การเลี้ยงดู “อย่าตามใจเกินไปอย่าบังคับเกินไป” “อย่าใช้อารมณ์ อย่าใช้กิเลส แต่ใช้ความดี กันจากความชั่ว ใช้ความดีปลูกฝังความดี” สงเคราะห์ให้เขาตั้งอยู่ในธรรมได้นั่นเอง
- “มาตาปิตุอุปัฏฐานัง” การบำรุงเลี้ยงดูมารดาบิดา เป็นมงคลที่เป็นลักษณะของการแสดงออกถึงความดีของเรากับคนใกล้ตัวก่อน นั่นคือ มารดาบิดา การที่จะเรียกว่า "อุปัฎฐานัง" คือ การอุปัฏฐากอุปถัมภ์ บำรุงเลี้ยงดูมารดาบิดา และกระทำตอบที่เหมาะสมกัน ควรจะทำอย่างไร? หลักๆ จะแบ่งเป็น 2 ส่วน คือ กตัญญู (รู้คุณ) และกตเวที (การกระทำตอบความดีนั้น) หรือในพุทธพจน์ท่านก็จะตรัสไว้ในเรื่องของหน้าที่ในทิศทั้ง 6 ซึ่งเวลาที่เราจะรู้คุณก็ต้องรู้ด้วยปัญญา ต้องเข้าใจให้ถึงในจิตใจของเราว่า คนๆ นี้เขามีคุณอย่างไร คือถ้าเราเข้าใจแยกแยะระหว่างคำว่า พ่อกับบิดาได้ เข้าใจแยกแยะระหว่างคำว่าแม่กับมารดาได้ ว่าหมายถึงผู้บำรุงเลี้ยงดู ซึ่งการเลี้ยงดูเป็นลักษณะคุณธรรมที่สำคัญของความเป็นมารดาบิดา เข้าใจในคุณธรรมของความเป็นมารดาบิดาในความเป็นพรหม คือ มีเมตตา กรุณา มุทิตา และอุเบกขาในบุตรธิดา ชนิดที่ไม่มีประมาณ ไม่มีหมด และไม่มีเงื่อนไข เข้าใจในคุณธรรมของความเป็นมารดาบิดาในความเป็นความเป็นบูรพาจารย์ คืออาจารย์คนแรกที่แสดงโลกนี้แก่บุตรทั้งหลายว่าต้องกินอย่างนี้ๆ พูดอย่างนี้ๆ อ่านเขียนอย่างนี้ๆ เข้าใจในคุณธรรมของความเป็นมารดาบิดาในเป็นความเป็นผู้บำรุงเลี้ยง คือ ให้เลือดหมายถึงน้ำนมให้ดื่มกิน ให้อาหารเลี้ยงดูจนเติบโตขึ้นมาได้ รักษาจากเหลือบยุงลมแดด และสัตว์เลื้อยคลานทั้งหลาย และเพราะมีคุณธรรมมีคุณสมบัติของความเป็นมารดาบิดา ท่านจึงเป็นอาหุเนยยะบุคคล หมายถึง ผู้ที่ควรได้รับของที่เขานำมาให้เจาะจง[...]
- 3 ใต้ร่มโพธิบท‘วาจา’ มีทั้งที่เป็นสุภาษิต และทุพภาษิต อย่างไรก็ตาม การฝึกให้มี ‘วาจาสุภาษิต’ วาจาที่ไม่มีโทษ จะก่อให้เกิดอานิสงส์ และมงคลแก่ชีวิตของเราได้ โดยในอังคุตตรนิกาย ‘วาจาสูตร’ นั้นมีองค์ 5 ประการ ได้แก่ พูดถูกกาล พูดคำจริง พูดคำอ่อนหวาน พูดคำประกอบด้วยประโยชน์ และพูดด้วยเมตตาจิต ‘พูดถูกกาล’ นั้น ต้องพิจารณาถึง เวลา สถานการณ์ และสถานที่ที่จะพูด ‘พูดคำจริง พูดคำอ่อนหวาน และพูดคำประกอบด้วยประโยชน์’ นั้น เป็นส่วนของคำพูด ซึ่งต้องพิจารณาใคร่ครวญ ทั้งก่อน ระหว่าง และหลังจากที่พูดไปแล้วด้วย ทั้งนี้ เพื่อประโยชน์ต่อตนเอง และผู้อื่น และ ‘พูดด้วยเมตตาจิต’ นั้น เป็นเจตนาให้ผู้ฟังได้ดี ได้ประโยชน์โดยไม่ได้หวังสิ่งใดตอบแทน คือ มีเมตตาจิตเป็นพื้นฐาน ซึ่งยังรวมถึง เจตนาที่จะไม่พูดโกหก ไม่พูดคำหยาบ ไม่พูดยุยงให้แตกกัน และไม่พูดเพ้อเจ้อ อีกด้วย
- 3 ใต้ร่มโพธิบทการมีวินัยดี ทางโลก ได้แก่ การปฏิบัติตาม กฎกติกา กฎหมาย เป็นต้น ส่วนทางธรรมนั้น ได้แก่ การตั้งอยู่ในศีลนั่นเอง การมีวินัยดี คือ ตั้งอยู่ในศีล นอกจากจะเป็นประโยชน์แก่ตน และส่วนรวมให้เกิดความเลื่อมใส ความผาสุก ยังเป็นอริยทรัพย์ และช่วยให้พระสัทธรรมตั้งมั่นอยู่ได้นานอีกด้วย ‘วินัย คือ ศีล นำไปดี นำไปแจ้ง นำไปต่าง’ เพราะคนธรรมดา เป็นคนที่ดีได้ หากตั้งอยู่ในศีล พระปลอมหรือพระจริง ก็แจ้งชัดได้ด้วยศีล นักเลงหรือตำรวจ ก็แยกต่างกันได้ด้วยศีล นั่นเอง # มงคลคาถากลุ่ม 3 ฝึกให้เป็นคนมีประโยชน์ทางกาย คือ ข้อ 7 ศึกษาให้มาก เป็นพหูสูต ข้อ 8 แล้วฝึกฝนจนชำนาญเป็นศิลปอาชีพ และข้อ 9 ทำอาชีพของตนนี้ ให้อยู่ภายใต้วินัยที่ดี คือ ศีล นั่นจะทำให้ชีวิตเราเป็นมงคลได้
- ‘สิปฺปญฺจ หรือ ศิลปะ’ หมายถึง การมีความชำนาญ หรือทักษะในงานของตน หรือ ‘หัตถโกศล’ คือ ฉลาดลงมือทำด้วยตนเอง ความเป็นมงคลในชีวิต คือ การเล่าเรียนวิชาต่าง ๆ (พหูสูต) แล้วนำไปประกอบเลี้ยงชีพ (ศิลปะ) ให้ประสบความสำเร็จในชีวิต(ผล) ที่ดีได้ ในทางธรรมก็เช่นกัน เราต้องมีทั้งปริยัติ (ศึกษา) ปฎิบัติภาวนา (ฝึกทักษะ) เพื่อให้เกิด ปฎิเวธ (ปัญญา) ได้นั่นเองนอกจากนี้ ศิลปะยังต่างจากสัมมาอาชีวะในอริยมรรค 8 ที่หมายถึงการดำเนินชีวิตชอบด้วย ทั้งนี้ เราต้องอาศัยศรัทธา ความเพียร ความมีอาพาธน้อย การไม่โอ้อวดไม่มีมายา และปัญญา รวมทั้งบัณฑิต เพื่อชี้ให้เห็นช่องทาง เพื่อพัฒนาศิลปะของเราให้สูงยิ่งๆ ขึ้นไป
- 3 ใต้ร่มโพธิบท‘พาหุสัจจะ’ หรือ ‘พหูสูต' ได้แก่ ผู้ที่ได้สดับฟังมาก ซึ่งผู้ที่อาศัยการฟังบ่อยๆ แล้วนำข้อมูลนั้น มาพิจารณาใคร่ครวญโดยแยบคาย จะสามารถก่อให้เกิดปัญญาได้ ดังนั้น ‘พหูสูต' จึงมีปรากฎอยู่ในธรรมหลายหมวดมาก การเรียนรู้ที่ดี ต้องเรียนรู้ทั้งทางโลกและทางธรรม คือ นอกจากเพื่อการหาเลี้ยงทางกายแล้ว จิตใจก็ควรตั้งอยู่ในศีล สมาธิ และปัญญา ด้วย ทั้งนี้ ท่านพระอานนท์ ผู้เป็นเลิศในด้านพหูสูต ได้กล่าวถึง คุณสมบัติของผู้ที่จะเป็นพหูสูตคือ ต้องเป็นผู้ฉลาดในอรรถ ในธรรม ในพยัญชนะ ในนิรุตติ และฉลาดในเบื้องต้นและเบื้องปลาย นั่นเอง #มงคลคาถากลุ่มที่ 3 ข้อ 7 พาหุสัจจะ
- ‘อตฺตสมฺมาปณิธิ จ’ หมายถึง ตั้งตนไว้ชอบ ในที่นี้คือ การตั้งจิต เพื่อรักษากาย และจิตใจ ให้อยู่ในทางที่เป็นกุศลธรรมในปัจจุบัน ซึ่งท่านพระพุทธเจ้าได้ทรงชี้ทางที่ปลอดภัยไว้ให้แล้ว คือ อริยมรรคมีองค์ 8 ได้แก่ ศีล สมาธิ ปัญญา นั่นเอง การ ‘ตั้งจิตไว้ถูก’ ไม่ว่าจะเจอผัสสะที่น่าพอใจหรือไม่ นั่นจึงเป็นมงคล ท่านยังทรงตรัสให้เรานึกถึงศีล นึกถึงโสตาปัตติยังคะ 4 ให้มีปีติ สุข อันเกิดจากศรัทธาที่หยั่งลงมั่นไม่หวั่นไหว ซึ่งจะช่วยให้ชนะอุปสรรคได้ เช่นกัน ทั้งนี้ ผู้ที่ ‘ตั้งตนไว้ชอบแล้ว’ จะยังผลให้เกิดแก่ตนเองทั้ง ชั้นต้น ชั้นกลาง และชั้นสูงสุด ได้แน่นอน อนึ่ง การมีวาสนามาก่อนนั้น ทำให้เราได้เกิดเป็นมนุษย์ การอยู่ในปฏิรูปเทศ คือ มีสิ่งแวดล้อมที่ดี มีธรรมให้ฟัง และการตั้งตนชอบ เช่น การฟังธรรม แทนฟังเพลง นี่คือ เรามีมงคลข้อ 4-6 แล้วนั่นเอง
- 3 ใต้ร่มโพธิบทท่านพระพุทธเจ้าทรงตรัสสอน “ปุพฺเพ จ กตปุญฺญตา” ทำความดีไว้ก่อน เพราะ ‘บุญ’ เป็นชื่อของความสุข บาปที่สะสมไว้ เรียกว่า ‘อาสวะ’ ตรงข้ามกับ บุญที่สะสมไว้ๆ เรียกว่า ‘วาสนา’ ผู้ไม่ประมาทจึงต้องสะสมบุญความดีไว้ให้มาก จนเป็นวาสนา เพื่อผลในปัจจุบัน และต่อๆ ไป เหมือนดอกเบี้ยทบต้น ทั้งนี้ ‘การทำดี’ (บุญกิริยาวัตถุ 10) ทำได้หลายทาง โดยกล่าวไว้ 2 นัยยะ นัยยะแรก คือ ทางกาย 3 วาจา 4 และใจ 3 และอีกนัยยะ คือ ทาน ศีล ภาวนา ความอ่อนน้อม การช่วยเหลือผู้อื่นด้วยแรง และปัญญา การแผ่อุทิศส่วนบุญ การอนุโมทนาบุญ การฟังธรรม การสอนธรรม และการทำความเห็นให้ตรง นอกจากนี้ ในกัมมวิภังคสูตร ยังอธิบายถึงลักษณะของ อายุ หน้าตา[...]
- 3 ใต้ร่มโพธิบท‘อยู่ในปฎิรูปเทส’ หมายถึง อยู่ในถิ่นที่มีสิ่งแวดล้อมดี เหมาะสม โดยเราสามารถเลือกถิ่นที่อยู่ที่เหมาะสม หรือทำถิ่นที่อยู่นั้นให้เหมาะสมขึ้นมา ให้ร่างกาย และจิตใจของเราเกิดความสบาย จุดประสงค์เพื่อให้สามารถตั้งอยู่ในธรรม และบรรลุธรรมได้นั่นเอง ในที่นี้ ท่านจึงให้พิจารณาเรื่อง ‘สัปปายะ 4’ ได้แก่ ที่อยู่ อาหาร บุคคล และธรรมะ รวมทั้ง ‘สัปปายะ 7’ ซึ่งเพิ่มในส่วน ที่โคจร การพูดคุย ดินฟ้าอากาศ และอิริยาบถ รวมถึงเรื่อง ‘อนุตริยะ 6’ ได้แก่ การเห็น การฟัง การได้มีศรัทธา การศึกษา การบำรุง และการตามระลึกในพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ด้วย นั่นจึงจะเป็นถิ่นที่อยู่ที่เลิศทีเดียว (มงคลฯ กลุ่มที่ 2 ข้อ 4-6 คือ อยู่ในปฏิรูปเทส ทำความดีให้พร้อมไว้ก่อน และตั้งตนไว้ชอบ)
- 3 ใต้ร่มโพธิบท‘ปูชา จ ปูชนียานํ’ การบูชาสิ่งที่ควรบูชา ในทางพุทธศาสนา ได้แก่ การบูชาในพระพุทธ พระธรรม และพระสงฆ์ผู้ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ การบูชาจำแนกได้ 4 รูปแบบ เริ่มจาก การชื่นชอบในการคบหาบัณฑิตนั้น นับเป็นการบูชาอย่างหนึ่ง คือ ‘ปัคคัณหะ’ เมื่อชื่นชอบจึงมีการนำธูปเทียน ของหอม และสิ่งของไป ‘สักการะ’ เป็นอามิสบูชา และเมื่อมี ‘สัมมานะ’ คือ ศรัทธาตั้งมั่น จึงมีการ ‘ปฏิบัติบูชา’ ในที่สุด ‘การบูชา’ ไม่ใช่ ‘ความงมงาย’ การเตรียมเครื่องบูชานั้น เป็นเหมือนอุปกรณ์ เป็นเหมือนเครื่องนำ ทำให้จิตใจของเรามีความนิ่มนวล เกิดความดีงามขึ้นนั่นเอง นอกจากนี้ ‘ความกตัญญู’ ก็ต่างจาก ‘การบูชา’ การกระทำตอบจึงควรยึดหลักศีลธรรมเป็นพื้นฐาน ทั้งนี้ การบูชายังเกิดอานิสงส์ คือ เป็นการไล่เสนียด ป้องกันการหลงผิด อบรมจิตให้ดีขึ้น และผลในทางปาฎิหาริย์อีกด้วย
- 3 ใต้ร่มโพธิบทการ ‘คบบัณฑิต’ เป็นมงคลชีวิตข้อที่สอง โดย ‘บัณฑิต’ ใน พาลบัณฑิตสูตร มีลักษณะ 3 อย่าง คือ มักคิดความคิดที่ดี มักพูดคำพูดที่ดี มักทำการทำที่ดี หรือ กุศลกรรมบท 10 นั่นเอง การ ‘คบบัณฑิต’ นั้น ก็คือ การรับแนวความคิด แนวการปฏิบัติ รวมถึงการให้การสนับสนุน และทำไปในแนวทางเดียวกัน โดยผู้ที่สามารถแยกแยะ ‘รู้สิ่งที่ผิด–รู้สิ่งที่ถูก’ ได้นั้น ถือว่าเป็นผู้ที่มีคุณสมบัติของบัณฑิต สามารถฝึกพัฒนาตนให้ยิ่งขึ้นได้ ทั้งนี้ ผู้ที่ฝึกฝนตนให้ คิด พูด ทำดี ได้เป็นปกตินั้น จึงเป็นบัณฑิต ผู้รู้ประโยชน์ ทั้งในปัจจุบัน ในเวลาต่อมา และที่สุดอีกด้วย อนึ่ง มงคลชีวิต 38 ประการ ได้แบ่งออกเป็น 10 คาถา (บทร้อยกรอง) ดังนี้ 1. ดูวงนอก ผู้อื่น (มงคลฯ[...]
- 3 ใต้ร่มโพธิบท‘ไม่คบคนพาล’ เป็นมงคลข้อแรก ที่ท่านพระพุทธเจ้าทรงบัญญัติไว้ เพื่อให้เกิดความเจริญก้าวหน้า เกิดความดีขึ้นในชีวิต เพราะความพาลนั้น คล้ายดั่งเชื้อโรค ติดต่อกันได้ การคบคนพาล จึงจะทำให้ความคิด การพูด หรือการกระทำของเราเป็นไปในทางอกุศลได้ ‘คนพาล’ จะมีลักษณะ 5 ประการคือ จะชักนำไปในทางที่ผิด เห็นผิดเป็นชอบ ทำในสิ่งที่ธุระไม่ใช่ พูดดีๆ ด้วยก็โกรธ และไม่รับรู้ระเบียบวินัย ทั้งนี้ แยกแยะได้ โดยเราพิจารณาจาก กุศลธรรม เป็นที่ตั้ง แน่นอนว่า บางครั้งเราหลีกเลี่ยงไม่ได้ที่ต้องเจอกับคนพาล และจำเป็นต้องอยู่ใกล้กัน แต่เราก็ไม่จำเป็นต้องคบหาเสวนาด้วย ทั้งนี้ การ ‘เลือกคบบัณฑิต’ จึงเป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่ดี ซึ่งจะขอกล่าวในตอนต่อไป
- 3 ใต้ร่มโพธิบท‘มงคล’ หมายถึง ธรรมที่จะนำมาซึ่งความเจริญในชีวิต ซึ่งพระพุทธเจ้าท่านทรงประกาศไว้ 38 ประการ เป็นสิ่งที่ต้องลงมือทำเอง ทั้งกาย วาจา และใจ ไปตามลำดับ โดยจะจัดทำเป็น‘ซีรีส์มงคลชีวิต’ ไว้ สำหรับพรรษากาลปีนี้ มงคลข้อแรก คือ ‘การไม่คบคนพาล’ ได้แก่ ผู้ที่มีกำลังความดีน้อย ไม่เกี่ยวกับกำลังกาย หรือกำลังความรู้ โดยใน ‘พาลบัณฑิตสูตร’ กล่าวถึง เครื่องหมายที่เห็นได้ชัด 3 ประการ คือ ความคิด คำพูด และการกระทำที่มักจะเป็นสิ่งที่ไม่ดี หรืออกุศลกรรมบท 10 นั่นเอง ซึ่งก็จะตรงข้ามกับบัณฑิต นอกจากนี้ ใน ‘อกิตติชาดก’ ยังอธิบายคนพาลไว้ว่า มีลักษณะ 5 ประการ คือ คนพาลมักจะชักนำไปในทางที่ผิด, มักทำในสิ่งที่ไม่ใช่ธุระ, มักจะเห็นผิดเป็นชอบ, ถึงพูดดีให้ก็โกรธ และไม่รับรู้ระเบียบวินัย ซึ่งจะอธิบายในตอนหน้าต่อไป
- 3 ใต้ร่มโพธิบท‘สวากขาตธรรม’ เป็นพระธรรมคำสอนที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงไว้ มีลักษณะ 3 ประการคือ 1. เป็นไปเพื่อความรู้ยิ่ง 2. ประกอบด้วยเหตุผลพร้อม และ 3. ทำให้เกิดความน่าอัศจรรย์ โดยแบ่งเป็น พระธรรมและพระวินัย เป็นการแสดง เทศนาและสัจจะ ที่มีทั้ง สมมติและปรมัตถ์ ควบคู่กัน โดยอาจยกบุคคลหรือสภาวะธรรมขึ้นอธิบาย พร้อมอัตถะ คือ ความหมายตรงหรือที่ซ่อนอยู่ ทั้งนี้ คำสอนมีทั้งปริยัติและปฎิบัติ สอดคล้องตามกิจในพระศาสนา คือ คันถธุระและวิปัสสนาธุระ นั่นเอง โดยคำสอนทั้งหมดรวมเรียกว่า นวังคสัตถุสาสน์ มี 9 ประเภทด้วยกัน ซึ่งสามารถกล่าวโดยสรุปแก่เหล่าพุทธบริษัท เป็นพุทธโอวาท 3 คือ “ไม่ทำความชั่วทั้งปวง ทำแต่ความดี และทำใจของตนให้สะอาดบริสุทธิ์” นอกจากนี้ ท่านพระพุทธเจ้ายังทรงบัญญัติ ลักษณะตัดสินธรรมวินัย 7 และ 8 ประการไว้ด้วย ที่เหมือนกัน คือ เป็นไปเพื่อความคลายกำหนัด เป็นต้น ทั้งนี้ ก็เพื่อป้องกันอาสวะ โทษภัย[...]
- การจะทำสิ่งใดสิ่งหนึ่งให้เกิดความสำเร็จขึ้นได้ ต้องอาศัยความตั้งใจมั่นอย่างแรงกล้า ในทีฆนิกาย กล่าวถึง ‘อธิษฐาน’ ซึ่งไม่ใช่การร้องขอ แต่หมายถึง ธรรม 4 ประการ ที่ควรตั้งมั่นไว้ในใจ ได้แก่ ปัญญา (ใช้พิจารณา) สัจจะ (ทำให้เกิดขึ้นจริง) จาคะ (สละความเคยชินที่ไม่ดีออก) และอุปสมะ (ความสงบ) ซึ่งสัมพันธ์กับหมวดธรรมในอังคุตรนิกาย ที่กล่าวถึง ‘พละ 4’ คือ กำลัง ได้แก่ ปัญญาพละ (ปัญญา) วิริยพละ (ความเพียร) อนวัชชพละ (กรรมที่ไม่มีโทษ) และสังคหพละ (การสงเคราะห์) กล่าวคือ ‘อธิษฐาน 4’ และ ‘พละ 4’ นั้น เริ่มจากปัญญาเหมือนกัน อาทิ เห็นสิ่งที่เป็นกุศล-อกุศล คุณ-โทษ เกิด-ดับ เป็นต้น โดยสามารถตั้ง ‘อธิษฐาน’ เป็นวิริยพละ หรือนำ ‘พละ’ ไปเกื้อหนุนอธิษฐานในการทำสิ่งนั้น ที่เป็นกุศลด้วยกาย[...]
- 3 ใต้ร่มโพธิบทตัณหาเป็นเหตุให้เกิดทุกข์ ในสังยุตตนิกายได้อธิบายถึงตัณหา 2 ได้แก่ ตัณหาให้เกิดการแสวงหา และตัณหาให้เกิดอุปาทาน ที่อาศัยเหตุเป็นไป จนเกิดเป็นบาปอกุศลได้ กล่าวคือ เพราะมีตัณหาจึงทำให้เกิดการแสวงหา และเมื่อหามาได้ จะมีการปลงใจรัก ความกำหนัดพอใจ สยบมัวเมา จับอกจับใจ และจึงเกิดความตระหนี่ หวงกั้นขึ้นโดยเริ่มจากใจ ขยายไปทางกาย วาจา ให้เกิดอกุศลธรรมได้ รวมถึงเกิดอุปาทาน 4 คือ กามุปาทาน ทิฏฐุปาทาน สีลัพพัตตุปาทาน และอัตตวาทุปาทาน อันก่อให้เกิดภพ เกิดชาติ ฯลฯ เพราะความยึดถือต่อไปด้วย อย่างไรก็ตาม ตัณหาทุกอย่างนั้นเกิดจากเวทนา และเวทนานั้นเกิดจากผัสสะ ดังนั้น จึงต้องใช้ ‘สติ’ มีสติรู้แต่ไม่ตามผัสสะ เวทนาก็จะไม่เกิด เมื่อเวทนาไม่เกิด ตัณหาก็เกิดขึ้นไม่ได้
- 3 ใต้ร่มโพธิบทการฝึก ‘การทำให้มีกำลังในสมาธิ’ และ ‘การทำจิตให้อยู่ในอำนาจ’ ในอังคุตตรนิกายหมวด 6 และ 7 นั้น มีความสอดคล้องในการปฏิบัติ จึงนำมารวมกันได้ 8 ประการ คือ (1) ฉลาดในสมาธิ หมายถึง ความชำนาญ แตกฉานในองค์ประกอบต่างๆ ของสมาธิที่รวมกันเป็นหนึ่งนั้น (2-4) ฉลาดในการเข้า-ดำรงอยู่-ออกจากสมาธิในแต่ละขั้นๆ ในทุกอิริยาบถ ทั้งนี้ การเข้าสมาธิได้ง่าย ต้องอาศัยความอดทน มีสติไม่ไปตามผัสสะต่างๆ ที่มากระทบ (5) ฉลาดในความเหมาะสมแห่งสมาธิ คือ เจริญสมถะ วิปัสสนา อุเบกขา หรือโพชฌงค์ 7 ตามสถานการณ์ (6) ฉลาดในธรรมเป็นที่โคจร ที่เอื้อต่อสมาธิ เช่น ศีล และศีลที่เป็นไปเพื่อสมาธิ (7) ฉลาดในการทำสมาธิโดยติดต่อ คือ เพียรรักษาสมาธิไว้ตลอดเวลา และ (8) ฉลาดในอภินิหารแห่งสมาธิ คือ ปัญญา นั้นเอง เหมือนฝึกกีฬาให้มีความชำนาญขึ้นๆ เราก็จะเป็นผู้ถึงความมีกำลังในสมาธิ[...]
- 3 ใต้ร่มโพธิบทภัยในอนาคต 5 ประการ ได้แก่ ความแก่ชรา ความป่วย การเกิดทุพภิกขภัย สงคราม และสมัยที่สงฆ์แตกกัน ท่านพระพุทธเจ้าทรงเตือนไว้ เราควรร้อนใจในการเร่งทำความเพียรตอนนี้ ด้วยการเจริญมรรค 8 เพื่อให้เกิด ‘ปัญญา’ เป็นอันดับสูงสุด ซึ่งจิตจะมีปัญญาได้ ต้องมี ‘สติรักษาจิตให้เป็นสมาธิ’ ไม่ให้ไปเสวยอารมณ์ต่างๆ ทั้งสุขหรือทุกข์ และไม่สุขไม่ทุกข์ พิจารณาเห็นเวทนาเป็นของไม่เที่ยง ไม่ควรยึดถือ ตัดความยึดถือ คือ อุปาทาน นั้นด้วยปัญญา ‘แยกกายแยกจิตออกจากกัน’ อนาคตเมื่อร่างกายเกิดทุกข์ เพราะความชรา เจ็บป่วยบ้าง ยากต่อการอยู่อย่างสงบ เพราะอาหารขาดแคลน หรือสงครามบ้าง หรือเพราะสงฆ์ และคำสอนที่ผิดเพี้ยนไปบ้าง เราก็จะยังอยู่ผาสุกได้ด้วย ‘จิตที่มีปัญญา’ นี้
- 3 ใต้ร่มโพธิบทคารวะ หมายถึง การทำความเคารพ เพราะตระหนักเห็นถึงคุณค่า และความสำคัญในสิ่งนั้น โดยในอังคุตตรนิกายกล่าวถึง ‘คารวตา’ มี 6 ประการ ได้แก่ สัตถุคารวตา ธัมมคารวตา สังฆคารวตา คือ ความเคารพในพระพุทธเจ้า และการตรัสรู้ของพระองค์ ในพระธรรมที่พระองค์ทรงประกาศไว้ด้วยปัญญาอันยิ่ง และในหมู่สงฆ์ผู้ปฏิบัติชอบ นอกจากนี้ ยังมี สิกขาคารวตา อัปปมาทคารวตา และปฏิสันถารคารวตา คือ ความเคารพในการศึกษา ทั้งทฤษฎีและปฏิบัติ ให้อยู่ในกรอบของศีล สมาธิ ปัญญา ในความไม่ประมาทด้วยการมีสติ และในปฏิสันถารต่อผู้อื่นด้วยการพูดที่ดี ‘คารวตา 6’ นี้ เป็นสิ่งที่เราควรใส่ใจ เพราะการตระหนักรู้ถึงคุณค่า และการปฎิบัติต่อด้วยความเคารพหนักแน่นนั้น เป็นบุญ เป็นปัญญา เป็นการเพิ่มคุณค่า คือ คุณธรรมให้กับตนเอง เป็นการเคารพต่อตนเองด้วย นั่นเอง
- 3 ใต้ร่มโพธิบท‘นาถกรณธรรม’ เป็นธรรมหมวด 10 ในอังคุตรนิกาย กล่าวถึง ธรรมที่เป็นที่พึ่ง 10 ประการด้วยกัน การที่เราน้อมระลึกถึงพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ เป็นที่พึ่งนั้น ไม่ใช่ด้วยการสวดมนต์ อ้อนวอนเท่านั้น แต่รวมถึงการที่เราต้องประกอบตนให้มีคุณธรรม คือ ‘นาถกรณธรรม’ นี้ เพื่อให้เกิดปัญญาในการชำแรกกิเลสด้วย ทั้งนี้ ปัญญาจะเกิดขึ้นได้ ต้องมีคุณธรรมต่างๆ มาประกอบเช่นกัน เริ่มจากต้องมี ศีล ซึ่งเป็นพื้นฐานสำคัญที่สุด การฟังธรรมให้มาก มีกัลยาณมิตร เป็นผู้ว่าง่าย ใส่ใจการงาน ใคร่ในธรรมเพื่อต่อยอดความรู้ ปรารภความเพียร สันโดษ มีสติ และเกิดปัญญา ในการเห็นการเกิด-ดับ เพื่อละวางความยึดถือ ให้ถึงความสิ้นทุกข์ได้ นี้จึงเป็นที่พึ่งอย่างแท้จริง
- คำพูดเป็นสิ่งสำคัญ ท่านพระพุทธเจ้าจึงทรงบัญญัติไว้ถึง ‘กถาวัตถุ 10’ คือ เรื่องที่ควรพูด นอกเหนือจาก คำพูดที่เว้นขาดจากการพูดโกหก ส่อเสียด หยาบคาย และพูดเพ้อเจ้อ และ ‘อักโกสวัตถุ 10’ คือ เรื่องที่ไม่ควรพูด เพราะไม่มีประโยชน์ และทำความเจ็บช้ำน้ำใจแก่ผู้อื่น ได้แก่ ชาติกำเนิด ชื่อ โคตร อาชีพ ศิลปะ (ฝีมือ) โรค รูปพรรณสัณฐาน กิเลส อาบัติ และคำสบประมาทอื่น ๆ ส่วน ‘กถาวัตถุ 10’ เรื่องที่สมควรพูด ได้แก่ ถ้อยคำให้เกิดความมักน้อย คือ ไม่โอ้อวด ความสันโดษ เกิดความสงัด ไม่คลุกคลีด้วยหมู่ ปรารภความเพียร ให้ตั้งอยู่ในศีล สมาธิ ปัญญา วิมุตติ และวิมุตติญาณทัสสนะ ซึ่งการพูด ‘กถาวัตถุ 10’ ให้ถูกคน ถูกที่ ถูกเวลาได้นั้น นอกจากจะเป็นสัมมาวาจาแล้ว[...]
- ปัญญาจัดเป็นอันดับสูงสุด จะเกิดขึ้นได้ก็จากคุณธรรมต่างๆ มาประกอบเข้าด้วยกัน อย่างเป็นขั้นตอน ซึ่งคุณธรรมที่จะทำความแกล้วกล้า เพื่อให้เกิดปัญญา ท่านกล่าวถึง เวสารัชชกรณธรรม 5 ได้แก่ 1. ศรัทธา ความมั่นใจในการตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า ในหลักคำสอน และในหมู่สงฆ์ผู้ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ 2. ศีล ความเป็นปกติ ในที่นี้รวมถึง การมีวินัยด้วย เช่น การตื่นเช้า การประมาณในการบริโภค เป็นต้น 3. พาหุสัจจะ การเป็นผู้ศึกษาให้มากทั้งใน และนอกระบบ 4. วิริยารัมภะ การลงมือทำจริง ด้วยความมีสติแยกแยะ และจิตที่ตั้งมั่นเป็นสมาธิ 5. ปัญญา ความรอบรู้ อันเกิดจากการเรียนรู้ด้วยการปฏิบัติจริง และจากปัญญาที่เกิดนี้ ก็จะก่อให้เกิดผลสะท้อนกลับ (feedback loop) นั่นคือ ศรัทธาที่เพิ่มมากขึ้น วนไปอีก สังเกตุ ปรับ พัฒนา ก็จะทำให้ปัญญาของเราแหลมคมยิ่งขึ้น เห็นตามความเป็นจริงได้ จนถึงที่สุด
- ‘สัตบุรุษ หรือสัปปบุรุษ’ หมายถึง คนดี เป็นผู้ประกอบด้วยสัทธรรม ตามจูฬปุณณมสูตร คือ ผู้มี ‘ศรัทธา หิริ โอตัปปะ พหูสูต ความเพียร สติมั่นคง และปัญญา’ โดยทั่วไป เราจะพิจารณาว่าใครเป็นคนดี ก็โดยเทียบจากคุณธรรมที่กล่าวนี้ จากมิตรสหายที่บุคคลนั้นคบหา จากความคิด การให้คำปรึกษา วาจา 4 การกระทำ ทิฐิความเห็น และทานที่ให้ นอกจากนี้ ยังมีเรื่องของ ‘อุบาสกธรรม 7’ คือ คุณสมบัติของชาวพุทธที่ดี และ ‘กัลยาณมิตรธรรม 7’ คือ คุณสมบัติของมิตรแท้ และ ‘สัปปุริสธรรม 7’ ในธัมมัญญูสูตร อันเป็นคุณสมบัติของสัตบุรุษ ที่เปรียบดั่งคุณธรรมของพระเจ้าจักรพรรดิ คุณธรรมเหล่านี้ ศึกษาเพื่อเป็นบรรทัดฐาน พัฒนาจุดที่ยังมีน้อยอยู่ หรือหากมีคุณสมบัติเหล่านี้แล้ว ก็รักษาคงไว้เพื่อความดีงาม และความเจริญต่อไป
- 3 ใต้ร่มโพธิบทในธรรมวินัยนี้ อริยบุคคล แปลว่า คนประเสริฐ หมายถึง ผู้ที่ประกอบด้วยโสตาปัตติยังคะ 4 ดำเนินไปตามมรรค 8 อย่างไรก็ตาม ในนันทิยสูตร ท่านพระพุทธเจ้าทรงตรัสว่า อริยบุคคลผู้ซึ่งพอใจเพียงโสตาปัตติยังคะ 4 เท่านั้น นับว่ายังประมาทอยู่ และกล่าวถึงอริยบุคคลผู้ไม่ประมาทว่า คือ ผู้ที่พยายามทำให้ยิ่งขึ้นไป ด้วยการปวิเวกในเวลากลางวัน หลีกเร้นในเวลากลางคืน จิตสงบเป็นสมาธิ มีสติปัฎฐาน 4 โพชฌงค์ 7 เป็นต้น เพื่อการตรัสรู้ธรรมที่ยิ่งขึ้นไป จนถึงที่สุดแห่งธรรม ทั้งนี้ อริยบุคคลแบ่งออกเป็น 7 ประเภท ได้แก่ ธัมมานุสารี สัทธานุสารี คือ โสดาปัตติมรรค ด้วยความไม่ประมาทแล้วพัฒนาขึ้นเป็น กายสักขี ทิฏฐิปปัตตะ สัทธาวิมุต ก็คือ พระโสดาบัน พระสกทาคามี และพระอนาคามี ในขั้นผล และที่สุดได้แก่ อุภโตภาควิมุต ปัญญาวิมุต ซึ่งก็คือ พระอรหันต์ ตามลำดับ
- 3 ใต้ร่มโพธิบทเป็นเรื่องราวในส่วนของเถรคาถา กล่าวถึงยุคของพุทธศาสนาตามนัยในพระไตรปิฏก โดยอธิบายแบ่งไว้เป็น 5 ยุค ได้แก่ วิมุตติยุค สมาธิยุค ศีลยุค สุตยุค และทานยุค เริ่มตั้งแต่วิมุตติยุค คือ สมัยที่พระพุทธเจ้าตรัสรู้ ที่ผู้คนสมัยนั้นบรรลุธรรมได้โดยง่าย ต่อมาการเริ่มมีวัดในชุมชน ต่อมาเป็นการปฎิบัติที่เน้นไปในเรื่องของศีล การเกิดสัทธรรมปฎิรูป จนถึงทานยุคที่เน้นการให้ทาน อย่างไรก็ตาม ไม่ว่าเราจะอยู่ในยุคสมัยใดก็ตาม ด้วยทิฐิที่ถูกต้อง และด้วยการปฏิบัติ เริ่มจากการให้ทาน การฟังธรรม การรักษาศีล การเจริญสมาธิ และพัฒนาจนเกิดเป็นปัญญา ให้ถึงวิมุตติอันเป็นแก่นของพุทธศาสนา นั่นก็เท่ากับเราได้สร้างยุคต่างๆ เหล่านี้ให้เจริญขึ้นแล้วในใจของเรานั่นเอง
- 3 ใต้ร่มโพธิบทท่านพระพุทธเจ้าได้ทรงประทานโอกาส หรือแนวทางไว้ เพื่อให้เราสามารถพัฒนาธรรมในจิตใจของเราให้เกิดปัญญาสูงสุดได้ ทั้งนี้ เราต้องเข้าใจในหลักการ 3 ข้อคือ 1.ทุกอย่างมีเหตุมีผลเสมอ 2. ทุกอย่างเปลี่ยนแปลงได้ 3. พัฒนาสิ่งที่เป็นประโยชน์ ‘ธรรมเป็นสิ่งต้องมีที่ตั้งอาศัย’ กล่าวคือ ศีลมีอินทรีย์สังวร และหิริโอตัปปะเป็นที่ตั้ง และศีลเองก็เป็นที่ตั้งอาศัยของธรรมที่ทำให้สามารถรู้เห็นตามความเป็นจริงได้ นอกจากนี้ ยังกล่าวถึง ‘การปลูกศรัทธา’ เพื่อให้เราตั้งตนอยู่ในธรรม และอุปนิสสูตรกล่าวถึง การทำนิพพานให้แจ้งตามหลักปฏิจจสมุปบาท ไปจนถึง ศรัทธานี้มีทุกข์เป็นที่ตั้งอาศัย และศรัทธาก็เป็นที่ตั้งของธรรมที่จะทำให้ถึงความดับทุกข์ได้เช่นกัน เราจะมีศรัทธาในทุกข์ได้นั้น ต้องอาศัย ‘ปัญญา’ นั่นเป็น สัมมาทิฐิ กับสัมมาสังกัปปะ ดังนั้น ยถาภูตญาณทัสสนะ และนิพพิทาญาณ จึงเป็นส่วนของ ‘สมาธิ’ และความปราโมทย์ ปีติ ปัสสัทธิ สุข จึงเป็นส่วนที่เกิดจาก ‘ศีล’ ซึ่งทั้งหมดนี้ก็คือ มรรค 8 นั่นเอง
- “นิวรณ์ 5” ได้แก่ กามฉันทะ พยาบาท ถีนมิทธะ อุทธัจจกุกกุจจะ และวิจิกิจฉา เป็นกิเลสประเภทหนึ่ง ที่เกิดขึ้นในช่องทางใจระหว่างการปฏิบัติสมาธิภาวนา เป็นเครื่องขวางกั้น ทำให้จิตขุ่นมัว ไม่เป็นสมาธิ การจะระงับนิวรณ์ได้ สิ่งสำคัญที่สุดคือ “การมีสติ” ระลึกรู้ถึงนิวรณ์ที่เกิดขึ้น และการใช้ “กำลังของสติ” ไม่ให้จิตน้อมไปตามความคิดเหล่านั้น นั่นจะทำให้นิวรณ์อ่อนกำลังและดับไป นอกจากนี้ การไม่ตั้งความพอใจในสิ่งใดสิ่งหนึ่ง การเจริญพรหมวิหาร 4 รวมถึงการเจริญโพชฌงค์ 7 ก็ทำให้นิวรณ์ระงับได้ เช่นเดียวกัน ทั้งนี้ ในการเจริญสมาธิภาวนา เราอาจใช้นิวรณ์เป็นกรอบนิมิตได้ว่า สมาธิช่วงไหนควรเป็นไปเพื่อให้จิตสงบ หรือช่วงไหนควรเป็นไปเพื่อการพิจารณาให้เกิดปัญญา ได้อีกด้วย
- “กิเลส” เป็นเหตุแห่งทุกข์ ต้องละเสีย จึงอ้างอิงในส่วนของอังคุตตรนิกาย ที่พระพุทธเจ้าได้ทรงแสดงไว้ ในหมวด 6 ว่าด้วย วิธีการละกิเลส อาศัยธรรมหมวด 5 เป็นเหตุทำให้จิตหลุดพ้นจากกิเลสได้ กล่าวคือ การฟังธรรม การเทศน์สอน การทบทวน การคิดใคร่ครวญในธรรม หรือการทำสมาธิ ธรรม 5 อย่างนี้ เมื่อปฏิบัติให้บ่อยแม้ข้อใดข้อหนึ่งก็จะเกิดความรู้ในอรรถธรรมมากขึ้น ส่งผลให้เกิดความปราโมทย์ ปีติ ทำให้กายระงับ และจิตเป็นสุข มีสติ และสมาธิตั้งมั่นเป็นอารมณ์อันเดียว ซึ่งจิตที่มีสติตั้งมั่นนี้เองเป็นเหตุปัจจัยแก่ธรรมหมวด 6 ว่าด้วยการละกิเลส คือ การสำรวม การพิจารณาก่อนเสพสิ่งต่างๆ การงดเว้นสิ่งควรงด การอดทน การละเรื่องกามพยาบาทเบียดเบียน รวมถึงการภาวนาเพื่อให้เกิดโพชฌงค์ด้วย จะเห็นว่า ธรรม 2 หมวดนี้ สอดคล้องรับกัน เป็นวิธีปฏิบัติเพื่อให้ถึงความดับทุกข์ หรือมรรค 8 นั่นเอง
- 3 ใต้ร่มโพธิบทกิเลสเป็นเหตุให้เกิดทุกข์ กิเลสเกิดขึ้นที่จิตเพื่อทำลายจิต ทำให้จิตเศร้าหมอง เป็นสิ่งที่ควรละเสีย โดยทั่วไปเราแบ่งกิเลสออกเป็น 3 กอง คือ ราคะ โทสะ โมหะ อย่างไรก็ดี กิเลสสามารถจำแนกย่อย ตามที่ท่านพระพุทธเจ้าได้ทรงแจกแจงไว้ในพระสูตรต่างๆ อาทิ กิเลส 4 และ 10 อย่าง อุปกิเลส 11 และ 16 อย่าง รวมทั้งที่มาของกิเลส 1500 ตัณหา 108 ในอนุฎีกา นอกจากนี้ ยังมี วิปัสสนูปกิเลส อาสวะ อคติ นิวรณ์ มัจฉริยะ มานะ มละ อนุสัยหรือสังโยชน์ ทิฐิ รวมไปถึง ปปัญจธรรม ซึ่งที่กล่าวมานี้ หัวข้อรายละเอียดอาจมีซ้ำกันบ้าง หรือต่างกันบ้าง แต่ทั้งหมดลงรับกัน และเป็นเครื่องเศร้าหมองเหมือนกันทั้งสิ้น ซึ่งการที่เราได้รู้จักกับกิเลสเหล่านี้ จะทำให้เรากว้างขวางขึ้น สามารถแยกแยะกิเลสได้มากขึ้นในการปฏิบัตินั่นเอง
- 3 ใต้ร่มโพธิบทอัปปมัญญา 4 หรือพรหมวิหาร 4 คือ การแผ่จิตอันเต็มไปด้วยกับ เมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา แก่สรรพสัตว์ทั้งหลายทุกทิศทางโดยไม่เจาะจง ไม่มีประมาณ ที่น่าสนใจ คือ พระพุทธเจ้าท่านทรงแสดง “เมตตาสูตร” โดยการนำพรหมวิหาร 4 มาประกอบเข้ากันกับการเจริญโพชฌงค์ 7 ในการพิจารณาธรรมต่างๆ โดยความเป็นปฏิกูล และไม่เป็นปฏิกูล อาศัยความวิเวก ความคลายกำหนัด ความดับ และน้อมไปเพื่อการสลัดคืน จนทำให้เกิดผล คือ เจโตวิมุตติตามลำดับขั้น สูงสุดถึงอรูปสัญญาสมาบัติในขั้นอากิญจัญญายตนะได้ อนึ่ง อรูปฌาณปกติมีพื้นฐานมาจากรูปฌาณ แต่พระสูตรนี้สามารถกำหนดจิตด้วยการเจริญพรหมวิหาร 4 ในที่นี้ คือ “กรุณา” ขึ้นไปร่วมกับ “โพชฌงค์ 7” เพื่อผล คือ เจโตวิมุตติในขั้นอรูปสัญญาสมาบัติได้เช่นกัน
- 3 ใต้ร่มโพธิบทโพชฌงค์ 7 องค์ธรรมแห่งการตรัสรู้ หนึ่งในโพธิปักขิยธรรม 37 ประการ มรดกชิ้นสำคัญที่พระพุทธเจ้าทรงมอบไว้ให้เรา ที่เมื่อฟังแล้ว นอกจากจะมีอานิสงส์ให้หายจากโรคโดยควรแก่ฐานะแล้ว ยังเป็นองค์ประกอบสำคัญที่จิตของเราต้องมีเพื่อให้เกิดความรู้ความเข้าใจในอริยสัจ 4 ด้วย โดยเริ่มจาก สติสัมโพชฌงค์ ร้อยเรียงต่อเนื่องไปจนถึงอุเบกขาสัมโพชฌงค์ ทั้งนี้สามารถแยกโพชฌงค์ 7 ออกเป็น 14 ข้อโดยแบ่งตามการพิจารณาได้ ในการเจริญโพชฌงค์นี้ “สติ” ถือเป็นกำลังสำคัญยิ่ง ซึ่งต้องอาศัยศีลเป็นบาท ดังนั้นนอกจากศีล 5 หรือศีล 8 แล้ว ศีลที่เป็นไปเพื่อสมาธิจะสามารถช่วยหนุนให้สติมีกำลังมากขึ้นได้ ยิ่งกว่านั้นการมี “สติ” รู้สภาวะจิตของตัวเอง จะทำให้สามารถปรับการเจริญโพชฌงค์ให้เป็นไปอย่างเหมาะสมแยบคายได้
- 3 ใต้ร่มโพธิบทเชื้อไวรัสสามารถแทรกซึมผ่านเซลล์เข้ามาในร่างกายของเราทำให้ป่วยได้ กิเลสก็เหมือนไวรัสสามารถแทรกซึมเข้าจิตของเราผ่านผัสสะทางตาหูจมูกลิ้นกายใจทำให้จิตเราป่วยเศร้าหมองได้ ระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายเราก็เปรียบเหมือนความดี ซึ่งมีอยู่ในทุกคนอยู่แล้วเพียงแต่มีมากน้อยไม่เท่ากัน ดังนั้นจึงต้องมีการคิดค้นวัคซีนเพื่อช่วยเสริมภูมิคุ้มกันให้ร่างกายแข็งแรงดีขึ้น เช่นเดียวกันจิตใจจะแข็งแรงผ่องใสจากกิเลสเครื่องเศร้าหมองได้ พระพุทธเจ้าก็ได้ทรงคิดค้นวัคซีนที่ผ่านการทดลองด้วยพระองค์เองแล้วขึ้นมา วัคซีนนี้มีชื่อว่า “มรรค 8” มารับวัคซีนชนิดนี้กันเพื่อที่เราจะได้มีภูมิคุ้มกัน รักษาจิตของเราไว้ให้ดีได้
- เนกขัมมะ ธรรมข้อสุดท้ายในอนุปุพพิกถาที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงไว้ตามลำดับเพื่อเป็นแนวทางให้ไปถึงโลกุตระได้ ‘เนกขัมมะ’ หมายถึง การหลีกออกจากกาม ได้แก่ ฌานสมาธิในขั้นต่างๆ การจะทำให้จิตน้อมไปในทางหลีกออกจากกามได้นั้น ต้องฝึกจิตให้พิจารณาเห็นบ่อยๆ ถึงคุณและโทษของกามว่า มีคุณน้อยแต่โทษมากขนาดไหนเมื่อเทียบกับเนกขัมมะที่มีคุณมากแต่โทษน้อยนิดเดียว อย่างไรก็ตาม สมาธิแม้ว่าจะได้บ้างไม่ได้บ้าง การตั้งจิตดำริ ‘คิดที่จะหลีกออกจากกาม’ เป็นสิ่งจำเป็นที่ต้องตั้งไว้เสมอ “เนกขัมมะ” ทางสายกลาง เป็นหนึ่งในบารมี 10 ทัศ เป็นทางออกทางเดียว เพื่อการดับโทษของกาม เพื่อความสงบสุขจากในภายใน เพื่อความรู้ยิ่งรู้พร้อม ถึงสัมโพธิญาณได้
- 3 ใต้ร่มโพธิบท“กาม” คือ ความกำหนัดยินดีพอใจที่เกิดขึ้นอยู่ในจิตใจของเรา วัตถุภายนอกที่วิจิตรพิสดารเลิศหรูดูดี นั่นไม่ใช่กาม นั่นเรียกว่ากามวัตถุ แต่ความเพลินความพอใจความยินดีในกามวัตถุนั้นเรียกว่ากาม เราจะเห็นคุณของสิ่งใดสิ่งหนึ่ง ต้องเห็นโทษของมันด้วย เห็นทั้งข้อดีข้อเสีย แบบนี้จึงจะมีความรอบคอบมีความรัดกุม มีไหวพริบ มีปฏิภาณ มีปัญญา มีโยนิโสมนสิการ อะไรที่จะดีโดยส่วนเดียวไม่มี จะรู้ว่า “โทษของกาม” หนึ่งในอนุปุพพิกถา คือ สิ่งที่พระพุทธเจ้าแสดงไปตามลำดับเป็นอย่างไร มีโทษอย่างไร กามที่มันยึดโยงเราทุกทางเป็นอย่างไร “..กามเปรียบกับเขียงสับเนื้อ เปรียบกับท่อนกระดูก เปรียบชิ้นเนื้อที่นกคาบไป เปรียบกับคบเพลิงหญ้า เปรียบกับหลุมถ่านเพลิง เปรียบด้วยของในความฝัน เปรียบเหมือนของยืมเขามา เปรียบกับผลไม้บนต้น เปรียบกับรูรั่วของเรือ เปรียบด้วยคลื่น..”
- 3 ใต้ร่มโพธิบทสัคคกถา ธรรมข้อที่สามในห้าข้อของอนุปุพพิกถา เป็นเรื่องของสวรรค์ ที่หากมนุษย์ตายแล้วได้ขึ้นไปอยู่บนสวรรค์ จะมีความสุขมากเพียงไร ด้วยการเปรียบเทียบความสุขของมนุษย์ที่แม้เป็นถึงพระเจ้าจักรพรรดิ กับความสุขของเทวดาบนสวรรค์ก็เหมือนแค่หินก้อนเท่าฝ่ามือกับภูเขาหิมาลัย การเป็นเทวดาทำได้ไม่ยาก ด้วยการสร้างเหตุปัจจัยไว้ตั้งแต่อยู่บนมนุษย์โลกนี้ ทั้งทางกายโดยการให้ทาน การรักษาศีล มีความเอื้อเฟื้อเกื้อกูลกัน และทางจิตใจโดยการเจริญเทวตานุสสติ คือ การระลึกถึงคุณธรรมของเทวดาอันประกอบไปด้วย ศรัทธา ศีล สุตตะ จาคะ ปัญญา เช่น การมีศรัทธาเลื่อมใสในพระพุทธเจ้าของมัฏฐกุณฑลีบุตรก่อนตาย การมีศีล การได้ฟังธรรม การให้ทาน และการมีปัญญาเห็นการเกิดขึ้นการดับไป คุณธรรม 5 ข้อนี้จะเป็นเหตุให้ได้เป็นเทวดาได้
- 3 ใต้ร่มโพธิบทสีลกถา เป็นข้อสองในห้าข้อของอนุปุพพิกถาที่ท่านพระพุทธเจ้าทรงแสดงไว้ตามลำดับเป็นแนวทางให้ไปถึงโลกุตระ ‘ศีล’ เป็นพื้นฐานของคุณธรรมทุกอย่าง ‘ศีล’ หมายถึง ความเป็นปกติของมนุษย์ในการดำเนินชีวิต และเป็นหนึ่งในอนุสติ 10 เรียกว่า ‘สีลานุสติ’ คือ การตามระลึกถึงศีล ทำให้มีความไม่ร้อนใจ เมื่อไม่ร้อนใจ จิตจะมีความสบาย เกิดความสงบระงับ เป็นสมาธิ และเกิดปัญญาเห็นตามความเป็นจริงได้ ซึ่งอานิสงส์ในการรักษาศีล 5 นั้น ให้ผลตั้งแต่ปัจจุบัน แม้ตายแล้วก็มีผลไปสุคติโลกสวรรค์
- 3 ใต้ร่มโพธิบททานกถา เป็นหนึ่งในห้าข้อของอนุปุพพิกถาที่ท่านพระพุทธเจ้าได้ทรงแสดงไว้ตามลำดับเป็นแนวทางให้ไปถึงโลกุตระ ทาน หมายถึง การให้หรือการสละออก ซึ่งตรงกันข้ามกับการตระหนี่หรือการหวงกั้น ทาน ยิ่งให้ยิ่งได้ เพราะการให้ทาน ทำให้ได้ละความตระหนี่ ทำให้ได้บุญ ทำให้ได้ความเบาสบายขึ้นในจิตใจ เป็นบ่อเกิดแห่งปัญญา ทาน และอานิสงส์ของทานมีความแตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับเงื่อนไขปัจจัยปรุงแต่งต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็น ผู้รับ ผู้ให้ ของที่ให้ หรือแม้แต่เรื่องของเวลาในการให้ นอกจากนี้ยังมีทานที่ยิ่งไปกว่านั้นอีก นั่นคือ การสละราคะ โทสะ โมหะ ออกเป็นทาน โดยที่ไม่ต้องมีผู้รับ เป็นทานที่เมื่อสละออกแล้ว มีผลไปถึงโลกุตระได้
- ขณะ หรือเวลา หรือโอกาสใน 4 อย่างนี้ ได้แก่ การที่มีพระพุทธเจ้าอุบัติขึ้น การที่ได้เกิดในพื้นที่หรือประเทศที่มีคำสอนของพระพุทธเจ้า การที่มีสัมมาทิฎฐิ (ความเห็นที่ถูกต้อง) และการที่มีอายตนะ 6 อย่างครบสมบรูณ์ (ไม่พิการ)...โอกาสดี 4 ประการ ที่ได้ยากขนาดนี้ เกิดขึ้นแล้ว อย่าไปรีรอ อย่าให้ล่วงเลยไปเสีย โอกาสนี้ไม่ได้มีอยู่เรื่อย ๆ ตอนนี้อยู่ในช่วงโปรโมชั่น ครั้งนึงครั้งเดียว คือ ตอนนี้แหละ ตรงนี้แหละ ช่องที่เราอยู่ในกัปนี้ ที่ยังมีคำสอนพระพุทธเจ้าโคตมอยู่ในตอนนี้ เพราะมันไม่แน่ว่าชาติหน้าที่เราเกิดมาอาจจะไปเบียดเสียดยัดเยียดอยู่ในนรก เกิดเป็นสัตว์ที่เกิดในของโสโครก เป็นสัตว์เดรัจฉาน ไปเกิดเป็นสัตว์ในอรูปพรหม หรือแม้แต่ไปเกิดในประเทศที่ไม่มีคำสอนของพระพุทธเจ้าอยู่... มันไม่แน่ไม่นอนว่าโอกาสหน้าที่จะมาต่อไป มันจะมีหรือไม่ แต่ถ้ามีอยู่ตอนนี้ รีบเลย คือ ให้เป็นโสดาปัตติผลให้ได้
- 3 ใต้ร่มโพธิบท"เรานั้นแห้ง (ร้อน) แล้วผู้เดียว เปียกแล้วผู้เดียว อยู่ในป่าน่าพึงกลัวแต่ผู้เดียว เป็นผู้มีกายอันเปลือยเปล่า ไม่ผิงไฟ เป็นมุนีขวนขวายแสวงหาความบริสุทธิ์" ดังนี้ พระพุทธเจ้าตรัสเล่าแก่พระสารีบุตร ใน มหาสีหนาทสูตร สีหนาทวรรค มู.ม. ๑๒/๑๕๕/๑๗๗, ที่วนสัณฑ์ ใกล้เมืองเวสาลี พระพุทธเจ้าตอนเป็นโพธิสัตว์ ท่านก็ต่อสู้ ฝ่าฟัน อดทน ตั้งเป้าหมายไว้ถูกแล้ว คือ แสวงหานิพพาน ต่อสู้เอาอนุตรสัมมาสัมโพธิญาณ นี้คือสูงสุดแล้ว เพราะไม่ได้แสวงหาความทุกข์มาทับถมตัวเอง แต่ว่าถ้าไปผิดทาง เป็นไปเพื่อมิจฉามรรคแล้ว ก็จะเป็นไปดังที่พระองค์ทรงตรัสแก่พระสารีบุตรข้างต้น เพราะว่าการทำทุกรกิริยา นี้เป็นมิจฉามรรค ตั้งเป้าหมายไว้ถูกอยู่ก็จริง แต่เพราะไปผิดทาง มันก็จึงตันตึ๊ก ไปต่อไม่ได้ เป็นความทุกข์ความโศก ความเร้าร้อน จึงได้แก้ไขตนเอง เปลี่ยนแปลงจากเรื่องของมิจฉามรรคมาปฏิบัติตามทางสายกลาง คือ อริยมรรคมีองค์ 8 ปฏิบัติตามถูกทางแล้ว นี่แหละ สร้างทางใหม่ขึ้นมา ซึ่งก็คือทางเดิมที่พระพุทธเจ้าทั้งหลายท่านได้ดำเนินเอาไว้แล้ว ปรับปรุงแก้ไขให้มันดีขึ้นมา เป็นทางที่เกษม ที่ปลอดภัย ที่โล่งได้ บอกประกาศมาจนถึงทุกวันนี้
- 3 ใต้ร่มโพธิบทปัญญา 3 (ความรอบรู้ รู้ทั่ว เข้าใจ รู้ซึ้ง) 1. จินตามยปัญญา (ปัญญาเกิดแต่การคิดการพิจารณาหาเหตุผล) 2. สุตมยปัญญา (ปัญญาเกิดแต่การสดับการเล่าเรียน) 3. ภาวนามยปัญญา (ปัญญาเกิดแต่การฝึกอบรมลงมือปฏิบัติ) - พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต) "ภาวนามยปัญญา" ปัญญาที่เกิดจากการภาวนา "ภาวนา" หมายถึง การพัฒนา "ภาวนามยปัญญา เป็นปัญญาที่จะทำให้เกิดการพัฒนาต่อ ๆ ไป ต่อ ๆ ไป จะมีความลึกซึ้งลงไป ลึกซึ้งลงไปเรื่อย ๆ เรื่อย ๆ... "เอามาทำดู คิดอยู่ใช่เปล่า? แล้วเอามาทำดู ไม่ใช่คิด ๆ แล้ว คิด ๆ แล้ว แต่ลงมือทำจริง ๆ" "ปัญญาชำแรกกิเลส ในทางคำสอนของพระพุทธเจ้า ให้เข้าถึงจิตใจว่า จะเข้าสู่จิตใจได้ ให้เกิดภาวนามยปัญญา คือ ต้องทำการภาวนา ทำการพัฒนาจิต[...]
- 3 ใต้ร่มโพธิบทอปัณณกปฏิปทา ธรรม 3 อย่างที่ใช้เวลาไหนก็ได้ทั้งนั้น ธรรมที่ผู้ปฏิบัติแล้วจะไม่ผิด ปรารภทำอยู่เรื่อย ๆ แล้ว จะเป็นไปเพื่อความสิ้นอาสวะทั้งหลาย
- 3 ใต้ร่มโพธิบทพระพุทธเจ้าทรงตรัสสอนไว้ “พวกเธอทั้งหลายจงเป็นผู้มีสติอยู่อย่างมีสัมปชัญญะเถิด” ทั้ง ‘สติ’ และ ‘สัมปชัญญะ’ เป็นธรรมะ 2 อย่าง อันเป็นอุปการะแก่โลกมาก แต่มีความหมายที่แตกต่างกัน รวมถึง ‘ปัญญา’ ด้วย เพราะมักจะนำมาพูดด้วยกันอยู่เสมอ แล้วทั้งหมดนี้มีความแตกต่าง และเกี่ยวข้องกันอย่างไร และเราควรน้อมนำมาฝึกปฏิบัติอย่างไร เพื่อให้มีความก้าวหน้าในธรรมวินัยนี้ โปรดมาศึกษาได้จาก episode นี้
- 3 ใต้ร่มโพธิบท❝ อุเบกขา 10 ❞ หมายถึง ความวางเฉยแบบวางใจเป็นกลาง ๆ โดยไม่เอนเอียงเข้าข้างเพราะชอบ เพราะชัง เพราะหลง และเพราะกลัว เช่น ไม่เสียใจเมื่อคนที่ตนรักถึงความวิบัติ หรือไม่ดีใจเมื่อศัตรูถึงความวิบัติ มิใช่วางเฉยแบบไม่แยแส หรือไม่รู้ไม่ชี้ ทั้งๆ ที่สามารถช่วยเหลือได้ เป็นต้น ลักษณะของผู้มีอุเบกขา คือ เป็นคนหนักแน่นมีสติอยู่เสมอ ไม่ดีใจ ไม่เสียใจจนเกินเหตุ เป็นคนยุติธรรม ยึดหลักความเป็นผู้ใหญ่ รักษาความเป็นกลางไว้ได้มั่นคง ไม่เอนเอียงเข้าข้าง ปฏิบัติหน้าที่ด้วยเหตุผล ถูกต้องคลองธรรม และเป็นผู้วางเฉยได้ เมื่อไม่อาจประพฤติเมตตา กรุณา หรือมุทิตาได้ อุเบกขา 10 ประเภท ได้แก่... 1) อุเบกขาในพรหมวิหาร 4 เป็นผู้วางเฉยได้เมื่อไม่อาจประพฤติเมตตา กรุณา หรือมุทิตาได้ พิจารณาปลงใจลงไปในกรรมว่า "สัตว์ทั้งหลายมีกรรมเป็นของของตน ทำดี จักได้ดี ทำชั่ว จักได้ชั่ว แต่ละสัตว์บุคคล ทั้งตนเอง แต่ละคน ย่อมต้องเป็นไปตามกรรมของตน ตามที่ตนได้กระทำไว้"[...]
- 3 ใต้ร่มโพธิบท‘ทุกข์’ เป็นธรรมที่เข้าไปตั้งอาศัยของ ‘ศรัทธา’ โดย ‘ศรัทธา’ นี้ หมายถึง ความเชื่อ ความมั่นใจ ความลงใจ ความเลื่อมใส อันประกอบไปด้วยปัญญาและความเพียร ถ้าไม่มีปัญญามาหนุน ก็จะกลายเป็นความงมงาย ศรัทธาแล้วลงมือทำจริง แน่วแน่จริง มันก็จะมีจุดเชื่อม ตรงจุดเชื่อมนั้นคือ ‘กำลังใจ’ เราสามารถตั้ง ‘ศรัทธา’ ไว้ในทุกอย่างที่เราทำ ถ้าเราเชื่อว่า ‘เราทำได้’ กำลังจิตของเราก็จะไปทางนั้น ‘ศรัทธา’ จะต้องประกอบกัน 3 อย่าง คือ มั่นใจในผู้ที่ทำสำเร็จมาแล้ว (พุทโธ), มั่นใจในกระบวนการวิธี (ธัมโม), และมั่นใจว่าตัวเราต้องทำสำเร็จได้ (สังโฆ) ‘ศรัทธา’ มีโทษด้วย ถ้าเราวางไว้ผิด เปรียบเหมือนติดกระดุมเม็ดแรก ถ้าติดผิดมันก็จะผิดตามไปหมด เราจึงควรตั้งไว้ในคุณธรรม จะสามารถเป็นตัวจุดประกายให้ผู้อื่นได้ด้วย
- 3 ใต้ร่มโพธิบทพระพุทธเจ้าทรงค้นพบช่องทางรอด อันเป็นทางสายกลาง คือ อริยมรรคมีองค์ 8 ผู้ที่จะรอดช่องนี้ได้จะต้องอาศัย 'ศรัทธา' ซึ่งพระพุทธเจ้าได้ทรงตรัสไว้กับท่านสหัมบดีพรหม ณ ใต้ต้นไทรอันเป็นที่พักร้อนของเด็กเลี้ยงแพะ… “ประตูสู่นิพพานอันเป็นอมตะ เราเปิดไว้แล้ว สัตว์เหล่าใดที่จะมาตามทางนี้ สัตว์เหล่านั้นจงปลงศรัทธาลงไปเถิด” หนทางอันประเสริฐนี้ยังมีอยู่ เป็นช่องทางที่ไม่ติดตัน ไม่วนไปในสังสารวัฏ ที่เมื่อผู้ไม่ประมาทปฏิบัติตามแล้ว ก็จะได้รับผลเหมือนกันหมด ทำให้คลายความยึดถือทั้งหมดได้ กรรมดับไปได้ ไปสู่ทางอันเกษม ถึงความดับเย็น คือ พระนิพพานได้แน่นอน
- ‘โลกบาล’ เป็นหลักธรรมคุ้มครองรักษาโลก ที่ช่วยให้มนุษย์อยู่ด้วยกันอย่างมีความสุข อันประกอบด้วยหลักธรรม 2 ประการที่จะมาคู่กันเสมอในจิตใจ ที่จะทำให้บุคคลทำแต่ความดี คือ หิริและโอตตัปปะ ‘หิริ’ แปลว่าความละอายต่อบาป และ ‘โอตตัปปะ’ แปลว่าความกลัวต่อบาป บุคคลผู้มีหิริและโอตตัปปะ มีสติสัมปชัญญะ มีการสำรวมอินทรีย์ ศีลจึงสมบูรณ์ เป็นเครื่องที่ทำให้เกิดปัญญาเห็นตามความเป็นจริง ถึงพระนิพพานได้ในที่สุด
- 3 ใต้ร่มโพธิบทผู้ปฏิบัติธรรมทุกคนที่มีจิตน้อมมา เดินมาตามแนวทางของมรรคแล้ว ตัดสินใจแล้วว่า ‘ชีวิตนี้ฉันจะอยู่ในมรรคแปดนี้ให้ได้’ มันจะต้องมีเครื่องมาทดสอบ มาตรวจสอบจิตใจของเรา ในการเดินทางของเรานั้น มันยังอยู่ในกรอบขอบของมรรคแปดได้หรือไม่ เครื่องทดสอบนี้จะมาในรูปของ ‘ผัสสะ’ ที่มีมากระทบอยู่ตลอดเวลา เพราะธรรมชาติของจิตมันจะไปตามผัสสะทั้งที่น่าพอใจและไม่น่าพอใจ ซึ่งผู้ปฏิบัติต้องหมั่นคอยตรวจสอบ คอยปรับให้ตรงทาง
- 3 ใต้ร่มโพธิบทในวาระที่พระโพธิสัตว์ทรงบำเพ็ญสัจจบารมี ท่านได้ทรงแสดงธรรมไว้ เพื่อเป็นวิธีการรักษาตนที่จะไม่ประมาท เป็นหมวดธรรมที่มีความสำคัญมาก สามารถนำมาปรับใช้ให้เกิดประโยชน์แก่ตนเอง ในการรับราชการ หรือในการทำงานที่มีหัวหน้าที่สามารถให้ทั้งคุณและโทษแก่เราได้ ท่านได้ทรงสอนไว้ใน ‘ราชวสดีธรรม’ ซึ่งขยายความจากพระพุทธพจน์ที่แยกออกเป็นคาถาได้ 49 ข้อ รายละเอียดโปรดติดตามได้ใน episode นี้
- 3 ใต้ร่มโพธิบทพระพุทธเจ้าทรงแบ่งสิ่งที่เหมือนกันคล้ายกัน มาจับกองรวมเข้าด้วยกัน เพื่อทำความเข้าใจให้ถูก ปัญญาจึงจะเกิด ท่านแบ่งไว้เป็น 5 กอง กอง คือ ขันธ์ เรียกว่า ‘ขันธ์ 5’ คือ รูปขันธ์ เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ วิญญาณขันธ์ และสังขารขันธ์ ซึ่งขันธ์ทั้ง 5 นี้เป็นที่ตั้งแห่งความยึดถือได้ คือ อุปาทาน การทำงานของขันธ์ทั้ง 5 เมื่อมีการกระทบกันทางช่องทางอายตนะภายในและภายนอก มีวิญญาณรับรู้ 3 อย่างนี้เรียกว่า ‘ผัสสะ’ ซึ่งเกิดขึ้นอยู่ตลอดเวลาในช่องทางใจ ใจจึงต้องมีสติรักษาไว้ เพราะจิตอยู่ในช่องทางใจ จิตจึงไม่ปรุงแต่งไปในทางอกุศล
- 3 ใต้ร่มโพธิบทการจะปรับเปลี่ยนคนไม่ดีให้เป็นคนดีได้ ต้องใช้ความดีเท่านั้น พระโพธิสัตว์ได้กล่าวคาถาที่เป็นธรรมะของคนดี 4 ข้อ จงเดินไปตามทางที่ท่านเดินไปแล้ว จงอย่าเผาฝ่ามืออันชุ่ม อย่าประทุษร้ายในหมู่มิตร ไม่ว่าในกาลไหน ๆ และอย่าตกอยู่ในอำนาจของอิสตรีที่ดูหมิ่นชาย
- คาถาอันเป็นทางไปสู่ความประเสริฐ คือ ลาภทั้งหลายมีความไม่มีโรคเป็นอย่างยิ่ง ทรัพย์มีความสันโดษเป็นอย่างยิ่ง ญาติมีความคุ้นเคยเป็นอย่างยิ่ง พระนิพพานเป็นสุขอย่างยิ่ง บรรดาทางทั้งหลายให้ถึงอมตธรรม ทางมีองค์ 8 เป็นทางอันเกษม ทุกเส้นทางที่เราเดินไป ถ้ามีองค์ประกอบอันประเสริฐ 8 อย่าง อยู่ในจิตใจของเราแล้ว การเดินทางนั้นปลอดภัยแน่นอน
- ในการฟังธรรม เราสามารถน้อมนำมาประพฤติปฏิบัติตามได้จริง ๆ หรือเปล่า นั่นคือ แสดงถึงปัญญาที่พระพุทธเจ้าทรงตรัสไว้ว่า ปัญญาของบุคคลมี 3 ระดับ ซึ่งสามารถพัฒนาได้ จากปัญญาที่มีลักษณะเหมือนหม้อคว่ำ คือ จำอะไรไม่ได้เลย มาเป็นลักษณะเหมือนตัก คือ จำได้เฉพาะเวลาที่นั่งฟังอยู่ พัฒนาจนมีปัญญากว้างขวาง มีลักษณะเหมือนหม้อหงาย คือ นำไปปฏิบัติได้ในชีวิตประจำวัน อย่าให้ธรรมะอยู่แค่เฉพาะในวัด ที่พระ ในตำราคัมภีร์ หรือในซีดีเท่านั้น ที่สำคัญคือ เราได้พัฒนาปัญญาจนกระทั่งน้อมนำธรรมะที่มีองค์ประกอบอันประเสริฐ 8 อย่าง มาทำได้ในชีวิตของเราทุก ๆ ขณะ มีสติระลึกได้ ไม่ตามกระแสที่พัดไปของกิเลส และตัณหา จึงจะได้รับประโยชน์อย่างแท้จริง ในธรรมะคำสอนของพระพุทธเจ้า
- กสิณทั้ง 10 อย่างเป็นมรรค เป็นการฝึกสมาธิแบบหนึ่ง โดยการเห็นสิ่งนั้นแล้วจ้องดู เพ่งดู จะลืมตาหรือหลับตาก็ตาม แล้วทำให้รวมเข้ากันเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันหมด ซึ่งพระพุทธเจ้าทรงประกาศสอนไว้ เพื่อใช้เป็นทางไปสู่พระนิพพาน โดยการฝึกนี้ควรต้องอยู่ในชีวิตประจำวันของเราด้วย ข้อควรระวัง ในการฝึกกสิณนั้น อย่าให้มีความอยากได้ฤทธิ์ เพราะจะไปติดกับดักหลุมพรางของกิเลส และอาจทำให้เกิดความวิปลาสได้ เราเพียงใช้เป็นทางผ่านเท่านั้น อย่าไปยึดถือผิดจุด เพราะแม้ยึดถือในสิ่งที่ดี ก็ยังเป็นโทษ แต่ให้ใช้เป็นสรณะ
- ธรรมอันเป็นเครื่องอยู่ตามลำดับ คือ อนุปุพพวิหาร 9 ประการ การเข้าออกสมาธิอันมีความสืบเนื่องต่อกันขึ้นไปโดยลำดับ ดังนี้ 1) ปฐมฌาน 2) ทุติยฌาน 3) ตติยฌาน 4) จตุตถฌาน 5) อากาสานัญจายตนะ 6) วิญญาณัญจายตนะ 7) อากิญจัญญายตนะ 8) เนวสัญญานาสัญญายตนะ และ 9) สัญญาเวทยิตนิโรธ นี้คือ วิหารธรรม อันเป็นเครื่องอยู่ของจิต 9 ระดับ บุคคลผู้เฉลียวฉลาดรอบรู้ในสมาธิ มีความเฉียบแหลมในการสงัดจากอกุศลธรรม ทำให้เจริญ ทำให้มาก รอบรู้ซึ่งนิมิตแห่งสมาธิ เปรียบได้กับแม่โคผู้ชาญฉลาดที่เที่ยวไปตามภูเขา ย่อมรู้จักเขต ย่อมฉลาดที่จะเที่ยวไปบนภูเขาที่ขรุขระ และรอบรู้ในการเดิน การยันเท้าบนภูเขานั้น
- อินทรีย์ 5 และพละ 5 นั้น ต่างมีองค์ประกอบ 5 ประการ คือ ศรัทธา วิริยะ สติ สมาธิ และปัญญา หากจะเปรียบเทียบ สติ ย่อมเทียบได้กับ หัวธนู วิริยะ คู่กับ สมาธิ ช่วยพยุงธนูไว้ ศรัทธา คู่กับ ปัญญา พยุงด้านปลายของธนู หากอินทรีย์หรือพละตัวใดมากไป ธนูนั้นย่อมขาดความสมดุล ไม่สามารถแล่นตรงสู่เป้าหมายได้ กล่าวได้ว่า อินทรีย์ 5 และพละ 5 นั้น เหมือนกันโดยองค์ธรรมเพียงแต่ใช้อธิบายคนละนัยยะ คือ ความเป็นใหญ่ และความไม่หวั่นไหว เปรียบเสมือนแม่น้ำใหญ่ที่มีเกาะอยู่กึ่งกลาง แบ่งแม่น้ำออกเป็นสองสาย แม่น้ำทั้งสองที่ถูกแบ่งนั้น ย่อมเป็นสายน้ำเดียวกัน และไหลบรรจบกันในที่สุด
- บุคคลผู้ประพฤติปฏิบัติตามธรรมที่พระพุทธองค์ทรงตรัสสอนไว้ ผลที่จะพึงหวังได้ คือ ความผาสุก ซึ่งจะปรากฏเป็นความเบาบางของกิเลส นำไปสู่การสิ้นสุดของการเวียนว่ายตัดภพชาติให้น้อยลงไปตามลำดับ การเดินตามทางนั้นเป็น มรรค เมื่อมาถึงจุดหมายปลายทางแล้ว เรียกว่า ผล และมีพระนิพพานเป็นที่สุดแห่งการประพฤติปฏิบัติ พึงเห็นโทษของการเวียนว่ายตายเกิดว่า เป็นสิ่งที่ไม่น่ายินดี พึงเห็นคุณของพระธรรมคำสอน ว่าเป็นสิ่งที่ประเสริฐ และน้อมนำมาประพฤติปฏิบัติเพื่อที่สุดแห่งพรหมจรรย์
- คุณสมบัติที่จะทำให้เป็นผู้ไพบูลย์ในความดีทั้งปวง 6 ประการ เป็นผู้มากด้วยปัญญา มีความเพียรประกอบการงาน มีปีติปราโมทย์อยู่เสมอ เป็นผู้มากด้วยความไม่สันโดษในกุศลธรรมทั้งหลาย และมีความเพียรพยายามทำกิจให้ลุล่วง ก้าวสู่คุณความดีที่สูงยิ่งขึ้นไป คุณสมบัติทั้ง 6 ประการ ครอบคลุมหลักในการดำเนินชีวิต ให้เป็นผู้เจริญทั้งทางโลก และทางธรรม สมควรที่บุคคลพึงปฏิบัติตาม เพื่อความเจริญ และเป็นสุข
- อสัตบุรุษยกตนข่มท่าน เพราะสกุล เพราะยศ เพื่อแลกกับลาภเล็กน้อย แม้ถูกใครถามถึงความไม่ดีของตนก็ปกปิดไม่เปิดเผยให้ปรากฏ เมื่อถูกใครถามถึงความไม่ดีของตน ก็นำเอาปัญหาไปทำให้ไขว้เขวแล้วกล่าวความไม่ดีของตนอย่างไม่เต็มที่ นี่คือ หนึ่งในวิสัยแห่ง “อสัตบุรุษ”
- ธรรมอันวิสุทธิ 7 ประการ เป็นปัจจัยส่งต่อ ๆ กัน ยิ่ง ๆ ขึ้นไปเพื่อบรรลุนิพพาน เปรียบประดุจรถ 7 ผลัดส่งต่อกันเพื่อให้บุคคลถึงที่หมายโดยสวัสดี เกิดเป็นความสะอาดหมดจด บริสุทธิ์ และปราศจากกิเลส อันเป็นไปในทางกาย จิต และปัญญา
- 3 ใต้ร่มโพธิบทมรรควิธีที่เปรียบเสมือนเรือเพื่อข้ามจากฝั่งแห่งทุกข์สู่ความดับสนิทไม่เหลือแห่งกองทุกข์ คือ ความเพียรชอบ ที่พึงตั้งขึ้นไว้เบื้องหน้า อันได้แก่ เพียรระวังบาปอกุศลมิให้เกิดขึ้น เพียรละบาปอกุศลที่เกิดขึ้นแล้ว เพียรทำกุศลที่ยังไม่เกิดให้เกิดขึ้น และเพียรรักษากุศลที่เกิดขึ้นแล้วให้เจริญบริบูรณ์ จงเพียรรักษาความดีให้ถึงพร้อมบริบูรณ์เพื่อความดับไม่เหลือแห่งกองทุกข์นี้
- 3 ใต้ร่มโพธิบทความโสมนัส โทมนัส และอุเบกขา อันเนื่องด้วยเหย้าเรือน เป็นเหตุให้บุคคลยังคงเวียนว่ายอยู่ในวัฏสงสาร เมื่อบุคคลรู้แจ้งถึงความเป็นของไม่เที่ยง ความแปรปรวน ความจางคลาย และความดับไม่เหลือ เห็นอยู่ด้วยปัญญาอันชอบตรงตามที่เป็นจริงอย่างนี้ ย่อมหลุดพ้นจากบ่วงแห่งทุกข์นี้ได้
- 3 ใต้ร่มโพธิบทบุคคลผู้ไม่ประมาท มีความเพียร มีจิตที่ยังไม่หลุดพ้น ย่อมหลุดพ้น อาสวะทั้งหลายที่ยังไม่สิ้น ย่อมถึงความสิ้นไป และย่อมบรรลุถึงธรรมที่ปลอดโปร่งจากกิเลสเป็นเครื่องประกอบไว้ อันไม่มีธรรมอื่นยิ่งกว่า ธรรมอันเป็นประตูแห่งอมตะธรรมนั้น คือ เมื่อสิ่งใดสิ่งหนึ่งอันเหตุปัจจัยปรุงแต่งขึ้น สิ่งนั้นไม่เที่ยง มีความดับไปเป็นธรรมดา
- 3 ใต้ร่มโพธิบทจิตที่สะสมอารมณ์โกรธ อาฆาต พยาบาท ขุ่นแค้น จนเกิดเป็นสนิมเกาะใจ หาความสุขไม่ได้ด้วยแรงของพยาบาท อาฆาต ด้วยภัยของความอาฆาตนี้ พระสารีบุตรได้กล่าวถึงวิธีการระงับความอาฆาต ป้องกันไม่ให้เกิดขึ้นในจิต ดังนี้ แม้ความอาฆาตพึงเกิดขึ้นในบุคคลใด พึงเจริญกรุณาในบุคคลนั้น เปรียบดังเหมือนสงสารคนป่วยไม่สบาย พึงเข้าไปตั้งความกรุณา ความเอ็นดู ความอนุเคราะห์ ในบุคคลนั้นเสีย
- 3 ใต้ร่มโพธิบทการกำหนดรู้ที่เกิดจากอำนาจแห่งสมาธิ ย่อมทำให้เกิดการรู้แจ้งกระจ่างชัดเจน มีจิตตั้งมั่นเป็นกลาง เช่น เมื่อบุคคลเห็นรูปด้วยตา ฟังเสียงด้วยหู ดมกลิ่นด้วยจมูก ลิ้มรสด้วยลิ้น ถูกต้องโผฏฐัพพะด้วยกาย รู้แจ้งธรรมารมณ์ด้วยใจแล้ว ย่อมเป็นผู้ไม่ดีใจไม่เสียใจแต่เป็นผู้วางเฉย มีสติสัมปชัญญะอยู่ นั่นคือ ธรรมที่ควรทำให้บังเกิด
- 3 ใต้ร่มโพธิบทความระลึกรู้ ความตระหนักรู้ นั้นคือ สติ อันเป็นประธานในการกำหนดพิจารณาสิ่งทั้งหลายให้รู้เห็นตามความเป็นจริง การเจริญสติให้มั่นคงเป็นหนทางสายเอกอันเป็นไปเพื่อการดับทุกข์ เพื่อความบริสุทธิ์ เพื่อบรรลุธรรมที่ถูกต้อง เพื่อทำบุคคลผู้เจริญให้แจ้งซึ่งพระนิพพาน หนทางนี้ คือ “สติปัฏฐาน 4”
- 3 ใต้ร่มโพธิบทจิตที่เป็นสมาธิบริสุทธิ์ปราศจากกิเลส ตั้งมั่น ไม่หวั่นไหว ย่อมโน้มน้อมจิตไปเพื่ออิทธิวิธี คือ “ฤทธิ์” ฤทธิ์ทั้งปวง จักมีขึ้นได้ด้วยความเพียรพยายาม ขวนขวายทั้งสิ้น ฤทธิ์ทั้งปวงล้วนเกิดจาก ศีล สมาธิ ปัญญา อันบริบูรณ์ เปรียบเหมือนช่างหม้อผู้ฉลาด เมื่อนวดดินดีแล้ว ต้องการภาชนะชนิดใด ๆ พึงทำภาชนะชนิดนั้น ๆ ให้สำเร็จได้
- 3 ใต้ร่มโพธิบทบุคคลใดถูกกิเลสครอบงำแล้วให้กระทำกรรม เมื่อกระทำกรรมแล้วย่อมได้รับผลของกรรม เมื่อได้รับผลของกรรมแล้ว กิเลสเกิดขึ้นอีก แล้วกระทำกรรมอีก ย่อมเสวยผลของกรรมนั้น หมุนวนเวียนสืบเนื่องด้วยอำนาจของกิเลส กรรม และวิบาก "บุคคลนั้นย่อมได้ชื่อว่า เป็นผู้หมุนวนเวียนเกิดเวียนตายอยู่ใน วัฏฏะ 3"
- 3 ใต้ร่มโพธิบทธัมม์ทั้ง 5 ประการ คือ โจทก์โดยกาลควร ด้วยเรื่องจริง ด้วยคำอ่อนหวาน ด้วยเรื่องที่ประกอบด้วยประโยชน์ และด้วยเมตตาจิต บุคคลผู้โจทก์พึงตั้งตนอยู่ในธัมม์นั้น แม้บุคคลผู้ถูกโจทก์พึงตั้งตนอยู่ในธัมม์ 2 ประการ คือ ความจริง และความไม่โกรธ การสำรวมวาจาเป็นสิ่งสำคัญยิ่ง บุคคลพึงกล่าววาจาที่ไม่เป็นเหตุยังตนให้เดือดร้อน และไม่เป็นเหตุเบียดเบียนผู้อื่น วาจานั้นแล เป็นสุภาษิต
- 3 ใต้ร่มโพธิบทกิเลสกามที่ผูกมัดใจบุคคลไว้กับทุกข์ อันเป็นเครื่องร้อยรัดจองจำจิตใจให้จมอยู่ในวัฏฏะ นั้นคือ สังโยชน์ เครื่องรึงรัดจิตเปรียบประดุจดั่งเกลียวเชือกผูกรัดจองจำลูกวัวไว้กับหลัก บุคคลผู้เห็นภัยแห่งเครื่องร้อยรัดนี้ ย่อมอบรมตนให้เจริญในสติปัฏฐาน และดำรงตนในอริยมรรคมีองค์แปด พึงเห็นว่าความพึงพอใจเกิดจากเหตุปัจจัยมาปรุงแต่ง สิ่งใดปรุงแต่ง สิ่งนั้นไม่เที่ยง สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นทนอยู่ไม่ได้ สิ่งใดทนอยู่ไม่ได้ สิ่งนั้นไม่มีแก่นถาวรให้ยึดถือพึงพอใจ
- 3 ใต้ร่มโพธิบทองค์ธรรมอันเกื้อกูลบุคคลให้ดำรงตนอย่างถูกต้องดีงาม ทั้งในด้านกายกรรม วจีกรรม และมโนกรรม มีกายสุจริต วจีสุจริต มโนสุจริต เป็นธรรมอันมีคุณสมบัติพร้อมแห่งการเอื้อเฟื้อประโยชน์สุขแก่บุคคล เปรียบดั่งบิดามารดาผู้อนุเคราะห์บุตร ให้ตั้งตนอยู่ในความดีงาม ธรรมทั้ง 55 ข้อนี้ เป็นองค์ธรรมที่มีอุปการะมาก เกื้อกูลการกระทำความดีให้มั่นคง
- 3 ใต้ร่มโพธิบทการที่บุคคลจะก้าวไปสู่ความสำเร็จในการงานได้นั้น จำเป็นต้องอาศัยหลักธรรมเพื่อเป็นรากฐานนำพาชีวิตไปสู่ความสำเร็จ หลักธรรมนั่นคือ อิทธิบาท 4 อันเป็นไปเพื่อการเสริมสร้างความมุ่งมั่น โดยอาศัยสิ่งเร้าจากภายในจิตใจของตนเอง คือ การพอใจในสิ่งที่ทำ มีความขยันหมั่นเพียร มีจิตใจจดจ่อ และมีการไตร่ตรองในงานที่ทำ เป็นองค์ธรรมสำคัญที่ควรปลูกฝังให้เกิดขึ้นภายในจิตใจ เพื่อก้าวไปสู่ความสำเร็จได้ในที่สุด
- 3 ใต้ร่มโพธิบทข้อปฏิบัติของการอาศัยอยู่ร่วมกันด้วยความสงบ สุภาพและเคารพนอบน้อม คือ ศีลและวัตร 14 เป็นต้น อันเป็นไปเพื่อธํารงความสงบเรียบร้อยในการอยู่ร่วมกัน ผู้ที่ดำรงตนใน ศีล และข้อปฏิบัติทั้ง 22 ข้อนี้ ย่อมเป็นที่ตั้งแห่งความเลื่อมใสศรัทธา บุคคลผู้ตั้งอยู่ในธรรม ย่อมไม่คลาดจากธรรมอันเกษม
- 3 ใต้ร่มโพธิบทบุคคลผู้ดำเนินตามทางแห่งมรรค 8 จนสามารถมองเห็นฝั่งแห่งนิพพานอยู่เบื้องหน้า มีจุดหมายแห่งการบรรลุอย่างแน่แท้ เรียกว่า อริยบุคคล ผู้บรรลุธรรมวิเศษ แบ่งตามประเภทบุคคลมี 4 ประเภท คือ พระโสดาบัน พระสกิทาคามี พระอนาคามี และพระอรหันต์ อริยบุคคลผู้ไกลจากข้าศึก ย่อมเห็นว่าสังขารเป็นทุกข์อย่างยิ่ง เมื่อทราบเนื้อความนี้ตามความเป็นจริงแล้ว ย่อมทำให้แจ้งซึ่งนิพพาน เพราะนิพพานเป็นสุขอย่างยิ่ง
- 3 ใต้ร่มโพธิบทความหลากหลายและแตกต่างของสัตว์โลกที่มีภพภูมิต่างกัน ทั้งกายต่างกัน เหมือนกัน หรือสัญญาต่างกัน เหมือนกัน ไม่ว่าจะเกิดในภพใดก็ตาม ก็ยังไม่สามารถพ้นไปจากทุกข์ได้ ตราบใดที่ยังมีกิเลส ย่อมมีที่ตั้งของปฏิสนธิ ที่เป็น วิญญาณฐิติ การอบรมเจริญปัญญา สะสมความเข้าใจถูก เห็นถูกไปตามลำดับ ความไม่ประมาทในการเจริญกุศล คือ การดับแห่งเหตุของกิเลสทั้งปวง เรามักจะคุ้นเคยหรือได้ยินได้ฟังบ่อยครั้งกับคำว่า "จิตวิญญาณ" จึงควรทำความเข้าใจเพื่อให้จิตไปเกิดในภูมิที่ต้องการ สืบเนื่องจากการเป็นกระแสต่อ ๆ กันไปในความยึดถือสิ่งต่าง ๆ ด้วยความเป็นตัวตน วิญญาณก้าวลงไปยึดถือ เพราะมีตัณหาเป็นเหตุ "วิญญาณฐิติ" หรือฐานที่ตั้งแห่งวิญญาณ ถูกเข้าไปยึดถือโดยวิญญาณจนกลายเป็นจิตขึ้นมา ให้เห็นด้วยปัญญาว่าตัวตนไม่ใช่ตัวตน ไม่มีสาระแก่นสาร ไม่มีค่าที่จะยึดถือเอาไว้ เกิดความเบื่อหน่าย คลายกำหนัด และปล่อยวางได้
- 3 ใต้ร่มโพธิบทมิตรในชีวิตของทุกคน หากพูดถึงในรูปแบบของบุคคลก็อาจจะเป็นได้ทั้งบรรพชิต และฆราวาส ย่อมมีหลากหลายประเภท แต่เราควรให้ความสำคัญกับมิตรแท้ หรือ "กัลยาณมิตร" ที่ถึงพร้อมด้วยศีล สมาธิ ปัญญา และคุณธรรมความดี เป็นผู้ห่างไกลจากสิ่งอันเป็นข้าศึกในการพัฒนาศักยภาพชีวิต และตั้งตนอยู่อย่างเหมาะสมแห่งการเคารพ รวมถึงการแนะประโยชน์ให้แก่บุคคลรอบข้าง จนเป็นแรงผลักดันให้เกิดการพัฒนาไปสู่ประโยชน์และความสุขในระดับที่สูงยิ่ง ๆ ขึ้นไป
- 3 ใต้ร่มโพธิบทพระผู้มีพระภาคทรงจำแนกกามโภคีบุคคลออกเป็น 10 ประเภท คือ หาทรัพย์มาได้โดยชอบบ้าง โดยทางมิชอบบ้าง แจกจ่ายบ้าง ไม่แจกจ่ายบ้าง ทำบุญบ้าง ไม่ทำบุญบ้าง มัวเมาในทรัพย์นั้นบ้าง ไม่มัวเมาบ้าง ฯลฯ ทรงแสดงหลักเกณฑ์เพื่อพิจารณาตัดสินคุณสมบัติของกามโภคีบุคคล ว่า กามโภคีบุคคลเช่นไรควรติเตียน กามโภคีบุคคลเช่นไรควรสรรเสริญ ดังผู้มีปัญญาบริโภคโภคะเหล่านั้น โดยรู้เท่าทันเห็นโทษ ทำตนให้เป็นอิสระหลุดพ้น เป็นนายเหนือโภคทรัพย์
- 3 ใต้ร่มโพธิบทหากทุกคนสามารถตั้งความปรารถนาในเรื่องของญาติพี่น้อง โภคทรัพย์ โรคภัยไข้เจ็บ การรักษาศีล และการมีทิฏฐิ ความเข้าใจที่ถูกต้องได้ ย่อมต้องการเลือกให้เป็นไปในทางความถึงพร้อม หรือ "สมบัติ" (สัมปทา) และย่อมไม่ต้องการความเสื่อม ความไม่ดี หรือ "วิบัติ" ทั้งสมบัติ 5 หรือ วิบัติ 5 นั้นไม่ได้เกิดจากการอ้อนวอนขอร้อง แต่เป็นทางแยกที่เราต้องสร้างเหตุสร้างปัจจัยเพื่อเดินไปตามปากทางแห่งความเจริญหรือความเสื่อมก็ได้ เพราะทั้ง 2 ทางย่อมมีโทษหรืออานิสงส์เกิดขึ้นแน่นอน ทั้งนี้หากเราดำเนินตามทางของอริยมรรคมีองค์แปด ย่อมไปถึงเป้าหมาย นั่นคือ เข้าถึงซึ่งพระนิพพานได้
- 3 ใต้ร่มโพธิบทจักรวรรดิวัตร 12 คือ ธรรมอันเป็นพระราชจริยานุวัตร สำหรับพระมหาจักรพรรดิ และพระราชาเอกในโลก ที่ใช้สำหรับดำเนินกุศโลบาย และนโยบายทางการเมือง การปกครอง โดยทรงถือ และอาศัยธรรมข้อนี้ร่วมกันกับทศพิธราชธรรม และสังคหวัตถุ 4 เป็นธงชัย มีธรรมเป็นยอดธง มีธรรมเป็นใหญ่ จัดการรักษาป้องกัน และคุ้มครองอันเป็นธรรม
- ธรรมะของพระพุทธเจ้าเป็นของที่เชิญคนเข้ามาพิสูจน์ สามารถรู้เห็นได้เฉพาะตน เป็นสิ่งที่ควรน้อมเข้ามาใส่ตน เมื่อทำแล้วปฏิบัติแล้ว ทำให้เกิดความดีขึ้น รู้สึกได้ถึงความพอ รู้สึกได้ถึงความอิ่ม และรู้สึกได้ถึงความเต็ม จึงถือว่าคำสอนของพระพุทธเจ้าเป็นแบบฉบับได้เป็นอย่างดี ซึ่งประกอบไปด้วยความรู้ยิ่งที่ยอดเยี่ยม สูงสุด ไม่มีอีก ไม่มีเหลือ และไม่มีอะไรเกินไปจากนี้
- ขึ้นชื่อคำว่า "พร" เป็นสิ่งที่ใคร ๆ ก็ปรารถนา เพื่อต้องการให้เกิดความสุข ความสมหวังด้วยประการทั้งปวงในชีวิต ดังนั้น เราจึงควรทำความเข้าใจในความหมายที่ลึกซึ้งของพรทั้งหมด 9 ประการ ซึ่งได้รวบรวมมาตามคำสอนของพระพุทธเจ้าจากพระสูตรต่าง ๆ อันได้แก่ จักกวัตติสูตร จูฬกัมมวิภังคะสูตร และอิฏฐสูตร
- 3 ใต้ร่มโพธิบทความดีที่บำเพ็ญไว้ หรือข้อปฏิบัติที่สามารถตรวจสอบดูด้วยจิตใจตนเอง ซึ่งเมื่อทำให้เต็มแล้วจะทำให้บรรลุถึงพระนิพพานได้ เรียกว่า "บารมี" มีทั้งหมด 10 ประการด้วยกัน และยังแบ่งเป็นขั้นต้น ขั้นกลาง และขั้นสูงสุดด้วย โดยในแต่ละข้อจะเกี่ยวเนื่อง สอดรับกัน ในแง่มุมของศีล สมาธิ ปัญญา ซึ่งจะมีมรรคแปดเป็นองค์ประกอบสำคัญที่ทำให้บารมีเต็มได้ และมากเพียงพอที่จะทำให้บรรลุธรรมเป็นอริยบุคคลในขั้นต่าง ๆ ด้วย
- โรคซึมเศร้า และโรคเครียด เป็นอาการทางจิตซึ่งสามารถเกิดขึ้นได้กับทุกคน ทุกเวลา และทุกสถานที่ โดยที่มีสาเหตุหลักมาจากนิวรณ์ห้าเป็นเงื่อนไขนั่นเอง อย่างไรก็ตาม เราสามารถเอาชนะโรคเหล่านี้ได้ด้วยการเจริญพละ 5 และอิทธิบาทสี่
- 3 ใต้ร่มโพธิบท"ทุกข์เท่านั้นที่เกิด และทุกข์เท่านั้นที่ดับ นอกจากทุกข์แล้วไม่มีอะไรเกิด ไม่มีอะไรดับ" ปฏิจจสมุปบาทสายดับ "นิรุชฌติ" คือ ธรรมในการอธิบายความเสื่อม และความสลาย เหตุเพราะความเสื่อมและความสลายนั้น ตนกระทำเองก็ไม่ใช่ ผู้อื่นกระทำให้เสื่อมสลายก็หาไม่ ทั้งตนกระทำเองทั้งผู้อื่นกระทำให้ก็ไม่ใช่ เกิดขึ้นเพราะอาศัยตนไม่ได้กระทำเอง ผู้อื่นไม่ได้กระทำให้ก็ไม่ใช่
- 3 ใต้ร่มโพธิบทความทุกข์ที่รุนแรงที่สุดในชีวิตคนหนึ่ง ๆ ก็คือ ความตาย นั่นเอง ดังนั้นเราจะสามารถรับมือกับความตายได้ก็ด้วยการทำให้การเกิดสิ้นไป รายละเอียด และวิธีการสามารถศึกษาได้จากธรรมะของพระพุทธเจ้า ที่องค์สัมมาสัมพุทธเจ้าต้องอาศัยการใคร่ครวญโดยแยบคายเป็นอย่างดี จึงจะกลั่นกรองออกมาเป็นธรรมะได้ ถือเป็นสัจจะความจริงสำหรับทุกกรณี ทุกคน ทุกเวลา และทุกสถานที่ เป็นอกาลิโก และทนต่อการเพ่งพิสูจน์ได้
- 3 ใต้ร่มโพธิบทพละ มรรคาแห่งธรรม ธรรมอันเป็นกำลังในการปฏิบัติเพื่อประหารอกุศล พลังอันเป็นหลักมั่นคงในจิตแห่งการเจริญปัญญา เพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อความรู้พร้อม เพื่อนิพพาน
- 3 ใต้ร่มโพธิบทการเพิ่มกำลังของปัญญาเพื่อต่อสู้กับกิเลสได้นั้น ก็ด้วยการปลูกศรัทธาให้เจริญงอกงาม ซึ่งประกอบด้วยศรัทธา 4 ประเภท ในขณะเดียวกันก็จะมีศัตรูที่จะมาขวางทางของศรัทธาเพื่อไม่ให้เกิดความมั่นใจได้อย่างเต็มที่ ซึ่งก็คือ วิจิกิจฉา 8 อย่างนั่นเอง ทั้งนี้จะสามารถกำจัดวิจิกิจฉาทั้งหมดออกไปจากจิตได้ก็ต้องอาศัยธรรมสำหรับการละวิจิกิจฉาทั้ง 6 ประการ
- 3 ใต้ร่มโพธิบทบุคคลจะหลุดพ้นจากสังสารวัฏ เพราะความอยากนั้นเป็นไปไม่ได้เลย แต่ในทางตรงกันข้าม เหตุที่ต้องเวียนวนอยู่ในสังสารวัฏมาแสนนานก็เพราะความอยาก ยุทธวิธีชนะเสนามารทั้ง 10 ประการ จึงต้องอาศัยความกล้าหาญ ความเพียร ถึงจะหลุดพ้นจากสังสารวัฏ และพบความสุขอันเกษม นั้นคือ “นิพพาน” "นี้เสนามารของท่าน (เป็นมารไม่ปล่อยท่านให้พ้นอำนาจไป) เป็นผู้ประหาร ท่านผู้มีธรรมดัม (มืด) คนไม่กล้า ย่อมไม่ชนะเสนานั้นได้ คนกล้าย่อมชนะได้ ครั้นชนะแล้วย่อมได้ความสุข ดังนี้" - ขุททก. จูฬ. ๓๐ / ๒๘๙ / ๑๑๑.
- 3 ใต้ร่มโพธิบทเหตุอันบุคคลยังวนเวียนอยู่ในสังสารวัฏ เพราะถูกหุ้มห่อไว้ด้วยอวิชชา เป็นสภาพธรรมที่ไม่รู้ตามความจริง คือ ความไม่รู้ในอริยสัจ 4 เมื่อไม่รู้ตามความจริง จิตก็มืดมน หนทางดับอวิชชา นั้นมีอยู่ ติดตามรับฟังได้ในใต้ร่มโพธิบท ตอน “วิธีดับอวิชชา”
- อริยมรรค มีองค์ 8 ย่อลงมา คือ ศีล สมาธิ ปัญญา อันเป็นมรดกธรรมที่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงมอบไว้ให้ บุคคลใดดำเนินตามทางแห่ง “ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจ” ปฏิบัติให้มาก ทำให้เจริญ ย่อมดับกองทุกข์ได้สนิท เข้าใจหนทางแห่งการดำเนิน และการปฏิบัติ เพื่อกระทำที่สุดแห่งทุกข์ให้แจ้ง ได้ในใต้ร่มโพธิบทตอนนี้ ซึ่งเป็นตอนสุดท้าย ของเรื่อง อริยสัจ ทั้ง 4 ตอน
- 3 ใต้ร่มโพธิบทสิ่งใดมีเงื่อนไขปัจจัย เกิดขึ้น มีอยู่ ดำรงอยู่ ความดับของเงื่อนไขปัจจัยนั้น ย่อมต้องมี ทุกข์จะดับได้เพราะเหตุแห่งทุกข์นั้นดับลง ความจางคลาย ความหลุดออกไปแห่งตัณหา คือ ความดับไม่เหลือแห่งกองทุกข์ นั้นคือ ทุกขนิโรธอริยสัจ เข้าใจความดับไม่เหลือของทุกข์อย่างแจ่มแจ้งได้ในใต้ร่มโพธิบทตอนนี้ ซึ่งเป็นตอนที่ 3/4 ของเรื่อง “อริยสัจ”
- 3 ใต้ร่มโพธิบทใต้ร่มโพธิบทในวันนี้ยังคงอยู่ในหัวข้อเรื่อง "อริยสัจ" และในวันนี้เป็นเรื่องของ "ทุกขสมุทัยอริยสัจ" เหตุอันเป็นแดนเกิดแห่งทุกข์ เหตุเกิดของความทุกข์ คือ ตัณหา ลักษณะของตัณหา คือ 1. ทำให้มีการเกิดอีก 2. ประกอบด้วยความกำหนัด 3. เพลินในอารมณ์ พระพุทธองค์ท่านทรงแจกแจงไว้ ดังนี้ ตัณหาในกาม ตัณหาในความมีความเป็น ตัณหาในความไม่มีไม่เป็น ประกอบไปด้วย 3 อย่างนี้ คือ “ ทุกขสมุทัย”
- 3 ใต้ร่มโพธิบทใต้ร่มโพธิบทในวันนี้เป็นตอนแรกของ "อริยสัจ องค์ความรู้แห่งปัญญา" เริ่มด้วย ทุกข์ ต้องกำหนดรู้ ทุกข์ ต้องรอบรู้ และทุกข์ ต้องเข้าใจ นั้นคือ "ทุกขอริยสัจ ที่ต้องปริญญายะ"
- 3 ใต้ร่มโพธิบท“บันทึกแห่งชีวิต” ทบทวนชีวิตตลอดปีเก่าที่ผ่านไป เริ่มต้นปีใหม่ด้วยการพัฒนา บนรากฐานแห่งธรรม “สัมมัปปธาน 4" พิจารณา ทบทวน และพัฒนาชีวิตบนรากฐานแห่งธรรมเป็นอย่างไร ติดตามฟังได้จากใต้ร่มโพธิบท ตอน เริ่มต้นปีใหม่ด้วยการพัฒนา
- …เมื่อไม่ชอบสิ่งใด อย่าทำสิ่งนั้นกับผู้อื่น… ความเป็นปกติ 7 อย่าง คืออะไร ?วาจาสำคัญอย่างไรในยุคปัจจุบัน ?อะไรคือเหตุแห่งความสามัคคีหรือแตกแยก ?หาคำตอบได้ที่ใต้ร่มโพธิบท ตอน รื่นเริงทางโลก เบิกบานทางธรรม ด้วยศีล 7 บริษัท 3
- 3 ใต้ร่มโพธิบท“เวลาที่เรามีผัสสะอันไม่น่าพอใจมากระทบแล้ว เราจะทำความสงบเสงี่ยม อ่อนน้อม เยือกเย็น อยู่ได้ไหม?” ในเวลาที่ชีวิตต้องพบเจอกับเหตุการณ์ที่ทำให้เราไม่พอใจจากปัจจัยภายนอก จากบุคคลอื่น ทั้งถูกนินทา ด่าทอ ว่าร้าย จนเกิดความทุกข์ในใจ เราจะทำอย่างไร? หัวข้อในวันนี้จึงเป็นเรื่องของวาจา 5 อย่าง และอุปมาอีก 6 อย่าง ที่เมื่อเราทำความเข้าใจแล้ว เราจะสามารถแก้ปัญหานี้ได้ คือ เมื่อเจออุปสรรคที่ไม่น่าพอใจแล้ว เรายังสามารถที่จะทำจิตใจให้มั่นคงเข้มแข็งและสบายใจอยู่ได้
- 3 ใต้ร่มโพธิบทSense of Urgency หรือความสลดสังเวช ความสะดุ้ง ความกลัว เป็นเหตุปัจจัยให้บุคคลอาชาไนยหรืออริยบุคคลได้ปฏิบัติธรรมด้วยความพากความเพียรตามหลักอริยมรรคมีองค์แปด จนกระทั่งสำเร็จเกิดเป็นอรหัตผลขึ้นได้ เปรียบได้กับม้าอาชาไนยที่ถูกฝึกดีแล้ว ยังสามารถฝึกให้ได้เร็วหรือช้าเพื่อตอบสนองต่อคำสั่งของผู้ฝึกได้อย่างรวดเร็ว ถูกต้องและแม่นยำ หากยังไม่สามารถบรรลุธรรมขั้นอรหัตผล ก็ยังคงเป็นผู้ที่ผาสุกอยู่ได้ ด้วยการตั้งความเพียรโดยแยบคาย สมดุล และมีตนส่งไปในแนวธรรมะกล่าวคือ ไม่มากเกินไปจนขึงเครียด ฟุ้งซ่าน หรือไม่น้อยเกินไปจนกลายเป็นความเกียจคร้าน
- 3 ใต้ร่มโพธิบทเนกขัมมะ หนึ่งในอนุปุพพิกถา คือ ทางสายกลาง คือ ฌานสมาธิในขั้นต่าง ๆ ประเด็นคือ การดำริคิดนึกจะหลีกออกจากกามหรือเนกขัมมะสังกัปปะ กับการหลีกออกจากกามหรือเนกขัมมะ ไม่เหมือนกันทีเดียว แค่ตั้งจิตไว้ว่าจะต้องทำสมาธิบ้าง ได้มากบ้างน้อยบ้างฟุ้งซ่านบ้าง ยังไม่ได้สมาธิเต็มที่ แค่อยากจะทำนี่ดีมากแล้ว ..รู้อยู่ว่าเนกขัมมะเป็นทางไปสู่ความสำเร็จ รู้อยู่ว่ามรรคแปดทำให้ไปสู่นิพพานพ้นจากความทุกข์ได้ แต่จิตทำไมไม่แล่นไป ฝึกสิ ทำให้มาก คือ ใคร่ครวญโดยแยบคาย ให้เห็นโทษของกามมีมาก แต่โทษของเนกขัมมะมีน้อย ประโยชน์ของมันมากจริง ๆ ทั้งเป็นความสงบระงับเย็น ความที่จะดับโทษของกามได้ และยังเป็นไปเพื่อสัมโพธิ ..มาตามทางให้ถูกใช้ปัญญาเป็นยาใส่ไปในจิตใจของเรา ร่างกายมีแต่จะเสื่อม คิดจะพึ่งหมอพึ่งยา ร่างกายมันมีวันหมดอายุ แล้วคุณจะพึ่งอะไร การหลีกออกจากกาม หรือเนกขัมมะเท่านั้นจะเป็นทางออกเป็นที่พึ่งเดียวของเรา..
- 3 ใต้ร่มโพธิบท“กาม” คือ ความกำหนัดยินดีพอใจที่เกิดขึ้นอยู่ในจิตใจของเรา วัตถุภายนอกที่วิจิตรพิสดารเลิศหรูดูดี นั่นไม่ใช่กาม นั่นเรียกว่ากามวัตถุ แต่ความเพลิดความพอใจความยินดีในกามวัตถุนั้นเรียกว่ากาม เราจะเห็นคุณของสิ่งใดสิ่งหนึ่ง ต้องเห็นโทษของมันด้วย เห็นทั้งข้อดีข้อเสีย แบบนี้จึงจะมีความรอบคอบมีความรัดกุม มีไหวพริบ มีปฏิภาณ มีปัญญา มีโยนิโสมนสิการ อะไรที่จะดีโดยส่วนเดียวไม่มี จะรู้ว่า “โทษของกาม” หนึ่งในอนุปุพพิกถา คือ สิ่งที่พระพุทธเจ้าแสดงไปตามลำดับเป็นอย่างไร มีโทษอย่างไร กามที่มันยึดโยงเราทุกทางเป็นอย่างไร ติดตามฟังได้ในเอพิโสดนี้ “..กามเปรียบกับเขียงสับเนื้อ เปรียบกับท่อนกระดูก เปรียบชิ้นเนื้อที่นกคาบไป เปรียบกับคบเพลิงหญ้า เปรียบกับหลุมถ่านเพลิง เปรียบด้วยของในความฝัน เปรียบเหมือนของยืมเขามา เปรียบกับผลไม้บนต้น เปรียบกับรูรั่วของเรือ เปรียบด้วยคลื่น..”
- 3 ใต้ร่มโพธิบทเรื่องสวรรค์ หนึ่งในอนุปุพพิกถา ธรรมที่แสดงไปตามลำดับ ที่ที่มีความสุขมากกว่าโลกมนุษย์มาก ๆ ที่เมื่อได้ฟังเอพิโสดนี้แล้ว จะมีความเข้าใจว่า สวรรค์เป็นแบบนี้ เหตุปัจจัยที่จะทำให้ไปเป็นเทวดาเป็นแบบนี้ ไม่ได้ยาก! ให้ทาน รักษาศีล เจริญเทวตานุสสติ ทำจิตให้เลื่อมใส และการทำบุญในเนื้อนาบุญ ทำน้อยได้มากยิ่งทำมากยิ่งได้มากขึ้นไปอีก ที่สำคัญความเป็นเทวดา สามารถเป็นได้ตั้งแต่เป็นมนุษย์โลกนี้ ด้วยคุณธรรม มีศีล มีจาคะ มีความเอื้อเฟื้อเกื้อกูลกัน ก็เป็นเทวดาเดินดิน อยู่บนพื้นดิน มีความสุขเกิดขึ้น ณ ปัจจุบัน ต่อให้เทวดาและภพหน้าไม่มีจริง หรือถ้าเทวดาและภพหน้ามีจริง ความสุขของเทวดาบนสวรรค์นั้น ก็เทียบไม่ได้เพียงส่วนเสี้ยวของภูเขาหิมาลัยกับหินก้อนเท่าฝ่ามือที่เป็นความสุขของพระเจ้าจักรพรรดิ ฟังแล้วให้มีความมั่นใจว่า ในทางคำสอนของพระพุทธเจ้า มีสวรรค์เป็นที่ไปและที่สูงกว่านั้นยังมีอีก
- 3 ใต้ร่มโพธิบท‘ทาน’ คือ การให้ หนึ่งในอนุปุพพิกถา คือธรรมะที่แสดงไปตามลำดับ เพื่อชี้แนวแห่งโลกุตระ ‘ทาน’ ที่เมื่อสละออก ซึ่งสิ่งของภายนอก ความตระหนี่อยู่ตรงไหน ละที่ตรงนั้น ความตระหนี่ความหวงกั้นหายไปเกิดบุญทันที ‘ทาน’ ยิ่งให้ยิ่งได้ การได้ คือ ลาภะ ให้ ‘ทาน’ คือ ละความตระหนี่ จิตจึงเบา ความเบา คือ ผล ผล คือ การได้ลาภะคือบุญ ผล คือ ความสุข บุญคือชื่อของความสุข ‘ทาน’ ให้โดยไม่กระทบตนไม่กระทบคนอื่น มีจิตอนุเคราะห์ให้ทาน ให้ทานอันควร ให้โดยเคารพ ให้โดยศรัทธา นี่จึงเป็นลักษณะของสัตบุรุษที่ให้ทาน ‘ทาน’ คือ การให้เพื่อหวังบุญ ให้อย่างไรจึงมีอานิสงส์มาก ไม่เศร้าหมอง และการให้ทานอย่างไรที่เหนือกว่าสิ่งของทั้งปวง เป็นการให้ทานขั้นสูงสุด
- 3 ใต้ร่มโพธิบทในวันนี้จะได้นำเอาเรื่อง จรณะ 15 วิชชา 8 และทางเสื่อม 4 อย่าง ที่เราคุ้นเคยจากบางส่วนของบทสวดมนต์ที่ว่า "วิชชา จรณะ สัมปันโน…" คือ เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยวิชชาและจรณะ ประโยคนี้มีความสำคัญต่อกันเพื่อนำไปสู่ความเจริญได้อย่างไร แล้วทางเสื่อมทั้ง 4 อย่างของวิชชาและจรณะเป็นอย่างไร ติดตามรับฟังได้ในใต้ร่มโพธิ์ตอนนี้
- 3 ใต้ร่มโพธิบท"ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราย่อมไม่เล็งเห็นธรรมอื่นแม้อย่างหนึ่งที่เป็นเหตุให้กุศลธรรมที่ยังไม่เกิดเกิดขึ้น หรืออกุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้วเสื่อมไปเหมือนความเป็นผู้สันโดษ" - อํ. เอก-ทุ-ติ ๒๐/๑๒/๖๖. หัวข้อแม่บทในวันนี้เป็นเรื่องของ "ความสันโดษ" ซึ่งเป็นธรรมะที่อยู่ในหัวข้อปฏิบัติ ที่เป็นทางกาย ทางวาจา ไม่ใช่ศีลแต่ว่าเหนือกว่าศีลขึ้นมานิดนึง เราจะมาเจาะจงลึกลงไปในหัวข้อและความหมายโดยละเอียด เพื่อให้เกิดความเข้าใจ จนสามารถนำไปใช้ในการปฏิบัติในชีวิตประจำวันให้ได้มากขึ้น
- 3 ใต้ร่มโพธิบท"ภิกษุทั้งหลาย ! ภิกษุ พึงเป็นผู้มีสติอยู่ อย่างมีสัมปชัญญะ" ข้อความคำสอนนี้มีความหมายว่าอย่างไร? ในวันนี้เราจะมาทำความเข้าใจในความหมายของคำว่า "สัมปชัญญะ" ทั้งจะยังได้ทำความเข้าใจความเกี่ยวข้องกันของ สติ สัมปชัญญะ ปัญญา และฐานที่ตั้งแห่งความมีสัมปชัญญะ 19 ฐาน
- 3 ใต้ร่มโพธิบท"ที่นี่คนมาเยอะ ต้องศักดิ์สิทธ์แน่ ๆ" "ฉันไปทำบุญ (ไหว้พระ) ที่นี่มา เลยกลับมา ถูกหวย ขายของดี เป็นเทนำ้ เทท่าเลย" "คนนี้จำพระสูตรได้มาก ต้องบรรลุธรรมแน่ ๆ เลย" "พระองค์นี้เป็นพระเถระแล้ว ต้องบรรุลุธรรมขั้นสูงแน่ ๆ เลย" "พระองค์นี้ยังหนุ่มอยู่เลย คงยังไม่บรรลุธรรมอะไร" การให้เหตุผลต่าง ๆ เหล่านี้เป็นข้อสรุปที่ถูกต้องหรือบกพร่องกันแน่ แล้วที่ว่าถูกต้องจริง ๆ จะเป็นไปในลักษณะไหน เรามาค้นหากันในใต้ร่มโพธิ์ตอนนี้
- 3 ใต้ร่มโพธิบทหัวข้อที่ยกขึ้นในวันนี้ก็คือ ปากทางแห่งความเสื่อม และปากทางแห่งความเจริญ คือ ทางที่มันจะไปดีหรือไม่ดี สู่ความเจริญหรือความเสื่อม ทางนั้นก็ต้องผ่านประตู ทางเป็นมรรค ส่วนประตูก็ คือ มุขนั่นเอง เราจะเลือกไปทางไหน ช่องทางแห่งความเสื่อมเราเรียกว่า อบายมุข ที่ถ้าเราไปไม่ดีไม่ว่าจะเป็นอบายมุข 4 หรืออบายมุข 6 มันก็คือ มิจฉามรรค มีที่หมายคือ อบาย 4 แต่ถ้ามาตามทางไม่ว่าจะเป็นวัฒนมุข วุฒิธรรม 4 เหล่านี้อยู่ในมรรค 8 เป็นสัมมามรรค ที่ให้เกิดความเจริญความดีขึ้น ไปสู่ภูมิมนุษย์ เทวดา พรหม หรือว่าจบที่นิพพานได้
- 3 ใต้ร่มโพธิบทในเอพิโสดนี้ เราจะได้มาทำความเข้าใจในองค์ประกอบต่าง ๆ ของสมาธิ แจกแจงพิจารณาทั้งเหตุปัจจัย เงื่อนไข และลักษณะของสมาธิในแต่ละรูปแบบ เจาะลึกลงไปให้เห็นรายละเอียดข้างในแต่ละส่วน ๆ ของสมาธิทั้งหมด 9 ขั้น คือ อนุปุพพวิหาร 9 อันว่าด้วยการเข้าออกสมาธิทั้ง 9 ขั้นที่ประณีตไล่ต่อกันขึ้นไปโดยลำดับ ได้แก่ 1) ปฐมฌาน 2) ทุติยฌาน 3) ตติยฌาน 4) จตุตถฌาน 5) อากาสานัญจายตนะ 6) วิญญาณัญจายตนะ 7) อากิญจัญญายตนะ 8) เนวสัญญานาสัญญายตนะ และ 9) สัญญาเวทยิตนิโรธ เหล่านี้คือ วิหารธรรม เป็นเครื่องอยู่ของจิต 9 ลำดับ
- 3 ใต้ร่มโพธิบทใต้ร่มโพธิ์บทในวันนี้ เป็นหัวข้อธรรมะที่เกี่ยวกับเรื่องเหตุของการถามปัญหาทั้ง ๕ ข้อ และลักษณะการตอบปัญหา ๔ อย่าง รวมไปถึงธรรมะในหมวดอื่น ๆ ซึ่งจะทำให้เราได้ศึกษาให้เข้าใจในการถามปัญหาและวิธีการตอบคำถามต่าง ๆ ตามแนวทางที่พระพุทธเจ้าและพระอริยสาวกท่านได้นำมาใช้งานในวาระที่เหมาะสมต่าง ๆ กันไป
- 3 ใต้ร่มโพธิบทใต้ร่มโพธิ์บทในวันนี้ เราจะได้มาทำความเข้าใจเกี่ยวกับเรื่อง "แง่ต่างแห่งกิเลสเครื่องเนิ่นช้า" คือ ปปัญจสัญญาสังขา ซึ่งเนื้อหาหลักมาจากคำถามของท่านท้าวสักกะเทวราชในเรื่อง สักกะปัญหะสูตร (ปฏิจจสมุปบาทแห่งการดับปปัญจสัญญาสังขา) เพื่อที่จะได้ทำให้แจ้งซึงวิธีดับปปัญจสัญญาสังขานี้
- 3 ใต้ร่มโพธิบทใต้ร่มโพธิบทในตอนนี้เป็นเรื่องของโลกธรรมทั้ง 8 ประการ ที่เมื่อเกิดขึ้นกับเราแล้ว จะมีวิธีการอย่างไรที่จะไม่ประมาทเมื่อมีลาภ ได้ยศ สรรเสริญ สุข ทำอย่างไรที่จิตใจจะไม่ถูกครอบงำเมื่อเกิดความเสื่อมจากลาภ ยศ สรรเสริญ ถูกนินทาและมีทุกข์ ทำอย่างไรจึงจะ "ไม่หมุนไปตามกระแสของโลก…อยู่ในโลกก็ไม่ติดในโลก" ได้
- 3 ใต้ร่มโพธิบทธรรมะในวันนี้เป็นเรื่องเกี่ยวกับพ่อค้าแม่ค้าและคนทำธุรกิจต่าง ๆ ถึงวิธีการที่ว่าทำอย่างไรจึงจะทำการค้าให้มีกำไร? ทำอย่างไรถึงจะไม่ขาดทุน? คุณสมบัติของคนที่จะทำการค้าให้ได้กำไรต้องทำอย่างไร? สิ่งใดควรค้าขาย สิ่งใดไม่ควรค้าขาย? เราจะมาทำความเข้าใจทั้งหมดได้ในตอนนี้
- 3 ใต้ร่มโพธิบทในตอนนี้จะได้นำเสนอเรื่องราวซึ่งเป็นอุปมาอุปมัยเปรียบเทียบด้วยรถ 7 ผลัด ที่ท่านพระปุณณมันตานีบุตรได้กล่าวเป็นคำถามและคำตอบไว้กับท่านพระสารีบุตร โดยในความเป็นไปอันแท้จริงแล้ว ข้อความถามทั้งหมดเป็นหัวข้อที่ท่านพระสารีบุตรได้กำหนดขึ้นเพื่อให้ท่านพระปุณณมันตานีบุตรได้ตอบ โดยไล่เรียงไปตามความบริสุทธิ์ 7 ขั้น ขอเชิญรับฟัง "ความบริสุทธิ์หมดจด 7 อย่าง หรือ วิสุทธิ 7" ได้ในตอนนี้
- 3 ใต้ร่มโพธิบทในเรื่องปัญญาของบุคคล 3 ระดับนี้ เป็นเรื่องของการฟังธรรมคือ ฟังธรรมแล้ว จำได้ไหม? แนวทางที่มีองค์ประกอบอันประเสริฐ 8 อย่าง เป็นยังไง? จำได้แล้ว เอาไปทำได้ไหม? นี่คือสิ่งที่สำคัญ สิ่งสำคัญที่จะพัฒนาปัญญา จากลักษณะเป็นหม้อคว่ำ คือ จำอะไรไม่ได้เลย มาเป็นหม้อหงายได้ นั่นคือให้มีการนำไปใช้ในชีวิตประจำวัน เอาไปให้ได้ อย่าให้อยู่เฉพาะกับพระ อยู่กับตำรา หรือ ว่าอยู่กับรายการวิทยุนี้ เอาไปให้ได้ เอาไปพัฒนาใช้ให้ได้
- 3 ใต้ร่มโพธิบทในวันนี้จะยกหัวข้อที่เรียกว่า "เหตุปัจจัยที่ถ้าละได้แล้ว ก็จะทำให้เป็นคนว่าง่าย" คนเราจะเป็นคนบอกยาก หรือบอกง่าย สามารถดูได้จากคุณธรรม 16 อย่างต่อไปนี้ ที่เมื่อรับฟังแล้ว เราควรที่จะนำมาใคร่ครวญ มาอบรมในจิตใจอยู่เสมอว่าเรามีไหม ถ้าหากว่ามี แล้วเราจะละออกได้อย่างไร
- …ให้เรามี "ศรัทธา" ในระดับที่ไม่ต้องเชื่อตามคำสอนนั้นแล้ว… จิตใจเมื่อมีศรัทธาก็จะเกิดความเพียร คือ ความกล้าที่จะทำจริงแน่วแน่จริง ศีลก็จะค่อยๆ สมบูรณ์บริบูรณ์ขึ้นมาได้ สิ่งที่จะตามมา คือ ความไม่ร้อนใจความสบายใจ สมาธิจะเกิดขึ้นพอประมาณ คลายความเคลือบแคลงเห็นแย้งลงได้ ถ้าเรายังต้องอาศัยผู้อื่นให้เกิดความเชื่อ คือศรัทธาในมรรคแปด คือ เรายังมีวิจิกิจฉาอยู่ แต่ถ้าด้วยศีลเต็ม มีสมาธิพอประมาณ มีปัญญาพอประมาณ เราจะงัดเจ้าวิจิกิจฉา คือความเคลือบแคลงสงสัยออกไปได้ เราจะเกิดความมั่นใจในลักษณะที่ไม่ต้องเชื่อตามผู้อื่นได้ ศรัทธาที่ไม่งมงาย ไม่ต้องอาศัยอ้างกันตามปิฎก ไม่ต้องอาศัยคำเล่าลือทำตามๆ กันมา หรือฟังดูน่าเชื่อถือ แต่เป็นศรัทธาที่มีตนเป็นเครื่องยืนยันเป็น "สันทิฏฐิโก" โดยไม่ต้องอาศัยผู้อื่นหรือสิ่งใด แต่อาศัยการปฏิบัติ อาศัยตัวเราเอง
- 3 ใต้ร่มโพธิบทหมวดธรรมที่เป็นเหมือนบันไดอันจะนำให้ขึ้นไปสู่โลกุตตระ คือ เรื่องที่กล่าวถึงตามลำดับเพื่อให้เกิดความลึกซื้ง ลุ่มลึกยิ่ง ๆ ขึ้นไป เป็นส่วนที่ชี้แนวทางที่จะไปสู่ปรมัตถ์ ส่วนที่เป็นระดับเหนือโลก โดยมักจะแสดงไว้กับบุคคลที่เป็นคฤหัสถ์หรือว่าผู้ครองเรือน ผู้ที่ยังเกี่ยวเนื่องด้วยเหย้าเรือน ธรรมะส่วนนี้เราเรียกว่า "อนุปุพพิกถา" โดยไว้เป็น 5 หัวข้อด้วยกัน "ดูก่อนยสะ ที่นี่ไม่วุ่นวาย ที่นี่ไม่ขัดข้อง เธอจงมาที่นี่ แล้วนั่งลง เราจะแสดงธรรมให้ฟัง"
- 3 ใต้ร่มโพธิบทการศึกษาเล่าเรียนเหมือนการไปจับงูพิษ ถ้าจับไม่ถูก ไม่ดี มันฉก กัด ได้ ถ้าเราไม่ทำสมาธิให้ดีก่อน การเรียนไป เข้าใจไป รู้ไป บางทีอวิชชามันเพิ่มขึ้น เรียนรู้มากขึ้น แต่โง่ลง เพราะมีกิเลสมากขึ้น วิธีป้องกันไม่ให้กิเลสมากขึ้น ในการศึกษาเล่าเรียนไม่ให้เผลอเพลินไป คือ การที่เราต้องรู้จักตรวจสอบตัวของเราเอง ทั้งที่เป็นคฤหัสถ์และนักบวชด้วย ซึ่งสามารถใช้วิธี และขบวนการต่าง ๆ เหล่านี้ ในการพิจารณาตนเองเป็นต้นเป็นปฐม แล้วจึงค่อยขยายต่อไป ในการที่จะไปใช้ในชีวิตประจำวัน ซึ่งไม่ใช่รูปแบบของการนั่งสมาธิภาวนา แต่เป็นการพัฒนาตนเองอยู่ในทุกรูปแบบเพื่อให้มี ศีล สมาธิ ปัญญาเพิ่มขึ้น จึงต้องคอยตรวจสอบ ใคร่ครวญ ตัวเองอยู่เสมอไตร่ตรองทุกวัน เช้าเย็น จะสามารถทำให้เรา พัฒนาตัวเองเป็นวิมังสา เป็นผู้มีความก้าวหน้าในธรรมวินัยนี้ ด้วยวิธีการต่าง ๆ เหล่านี้ ดีมากแน่นอน
- 3 ใต้ร่มโพธิบทในเอพิโสดนี้ ปรารภในเรื่องของโคปกเทพบุตร ที่ได้ตักเตือนพวกคนธรรพ์ 3 ตน ให้กลับมีสติ ระลึกถึงคุณของเนขัมมะได้ จึงจากไม่ดี กลับเป็นดี จากเทวดาชั้นต่ำสุด พลันไปเกิดในพรหมชั้นสูง ประเด็นในที่นี้ ก็คือ อะไรที่จะทำให้ตกไปในทางต่ำได้ พระพุทธเจ้าตรัสไว้ใน "จาตุมสูตร" กล่าวถึง ภัย 4 อย่าง ของภิกษุผู้บวชใหม่ในธรรมวินัยนี้ อันเป็นเหตุให้ประพฤติพรหมจรรย์อยู่ได้ไม่ยั่งยืน ต้องลาสิกขาไป เปรียบเทียบกับสิ่งที่คนลงไปในน้ำพึงประสบ คือ อูมิภัย (ภัยจากคลื่น) กุมภีลภัย (ภัยจากจระเข้) อาวัฏฏภัย (ภัยจากน้ำวน) และสุสุกาภัย (ภัยจากปลาร้าย) เพราะมี "สติ" ไม่เผลอเพลิน เมื่อเจออุปสรรคคือภัยเหล่านี้ขัดอยู่ขวางอยู่ ก็ให้เราตั้งต้นใหม่ ทำใหม่ เดินตามมรรคใหม่อีก ถ้ามีผัสสะอยู่จุดไหน นั่นเป็นจุดที่เราเริ่มใหม่ได้ เป็นจุดที่จะให้เราเดินตามมรรคได้ทั้งสิ้น ไม่ว่าจะอยู่ในเพศบรรพชิต หรือในความเป็นคฤหัสถ์ จะเป็นผู้ชายหรือผู้หญิง ก็สามารถทำความดีความงามให้เจริญขึ้นได้ ทำความสิ้นทุกข์ให้เกิดขึ้นได้แน่นอน แนะนำรับฟังเพิ่มเติมได้ที่ Playlists: คลังพระสูตร S09E38 , #ภัยจากคลื่นและจระเข้
- 3 ใต้ร่มโพธิบทพระพุทธเจ้าทรงตรัสไว้ที่ใต้ต้นไทรอันเป็นที่พักร้อนของเด็กเลี้ยงแพะ บอกกับสหัมบดีพรหมว่า "ประตูสู่นิพพานอันเป็นอมตะ เราเปิดไว้แล้ว คือ อริยมรรคมีองค์ 8 เป็นมัชฌิมาปฏิปทา เป็นทางสายกลาง สัตว์เหล่าใดที่จะมาตามทางนี้ สัตว์เหล่านั้นจงปลงศรัทธาลงไปเถิด" ทางนี้ เป็นช่องทางที่จะให้รอดไม่ติดตัน ที่ใครก็ตามเมื่อปฏิบัติแล้ว ถ้าทำถูก จะได้ผลเหมือนกันแน่นอน เป็นทางที่จะพาไปสู่ความประเสริฐชนิดที่เมื่อไปถึงแล้ว ไม่มีอะไรยิ่งไปกว่า เป็นข้อปฏิบัติที่เมื่อทำให้มาก เจริญให้มากแล้ว เราจะไม่ได้ยึดถือในสิ่งนั้น ทำให้คลายความยึดถือทั้งหมดได้ นี้เป็น ลักษณะของความดับความเย็น คือ นิพพาน แนะนำรับฟังเพิ่มเติมได้ที่ Playlists: เข้าใจทำ (ธรรม) S08E23 , ใต้ร่มโพธิบท S08E20
- 3 ใต้ร่มโพธิบทจุดประสงค์ในการประกาศศาสนาของพระพุทธเจ้า ก็เพื่อให้เราพ้นจากความทุกข์ เพราะกิเลสมันทำให้เราทุกข์ สัมมา คือ การปลดแอกจิตใจของเราจากกิเลส เพราะถ้าจิตใจยังถูกล็อคอยู่ จิตใจจะไม่มีใจเป็นของตนเอง แต่ตกเป็นทาสของกิเลส อริยมรรคมีองค์ 8 จึงเป็นทางให้ถึงความดับไม่เหลือของกิเลส ในเอพิโสดนี้ เป็นสัมมาข้อสุดท้ายในซีรีส์ของ "อริยมรรคมีองค์ 8" ซึ่งเป็นส่วนของปัญญา "สัมมาสังกัปปะ" ความดำริชอบ เป็นเรื่องของปัญญาในทางหลีกออกจากกาม ไม่พยาบาท และ ไม่เบียดเบียน ที่ต้องมีสัมมาทิฏฐิเป็นองค์นำหน้า และสามารถเชื่อมโยงไปกับขันธ์ 5 คือ สัญญา เพราะสัญญาเป็นสมุฏฐานของสังกัปปะ เป็นสิ่งที่เป็นองค์ประกอบกันมา เพราะความคิดนึก วิตก วิจารเป็น สัญญา เป็นกองทุกข์ เป็นกองของสิ่งที่ทำให้เกิดความยึดถือ แต่สัญญาใดที่เป็นไปเพื่อคลายความยึดถือได้ จึงแยกส่วนนี้ออกตั้งชื่อใหม่ว่า สัมมาสังกัปปะ ดังนั้น สัญญาแบบเดียวกัน แต่การปรุงแต่งในจิตใจของแต่ละคนไม่เหมือนกัน ไม่เท่ากัน อาจออกมาเป็น สัมมา หรือ เป็นมิจฉาก็ได้ ซึ่งสามารถดูรู้จากพฤติกรรมภายนอกได้ ดังนั้น สัญญาในส่วนที่เป็นทุกข์ จึงต้องทำความเข้าใจ และสัญญาในส่วนที่เป็นมรรคต้องทำให้มาก เจริญให้มาก เราสามารถที่จะเจริญธรรม ทำความรอบคอบ[...]
- 3 ใต้ร่มโพธิบทเปรียบ สัมมาทิฏฐิ เป็นเหมือนรุ่งอรุณของกุศลธรรมทั้งหลาย ที่เมื่อมีสัมมาทิฏฐิแล้ว สัมมาองค์อื่น ๆ ก็จะตามมา และยังเป็นรุ่งอรุณของอริยสัจ 4 คือ ปัญญาความรู้ชัดตามความเป็นจริงที่ต้องมี 3 รอบ ในสัจจะ 4 ประการ "สัมมาทิฏฐิ" แปลว่า ความเห็นชอบ หรือ ความเห็นถูก ในที่นี้ ไม่ได้หมายความว่า ฝ่ายหนึ่งถูก แล้วอีกฝ่ายผิด แต่เป็นทิฏฐิที่จะทำให้กิเลสลดลงไปได้ แจกแจงแยกไว้ 2 อย่าง คือ ส่วนที่มีอาสวะ ยังเป็นส่วนแห่งบุญ มีอุปธิเป็นวิบาก ซึ่งจะทำให้ยังพ้นจากการเวียนว่ายตายเกิดไม่ได้ และ ส่วนที่ไม่มีอาสวะเป็นชั้นโลกุตตระ ขึ้นสู่ระดับเหนือโลก เป็นอริยะ ต้องอาศัยปัญญา อาศัยญาณของคน ๆ นั้น ซึ่งเป็นการปฏิบัติทางจิต ที่ต้องอาศัยสัญญาคือความจำ เพราะสัญญาเกิดก่อน ญาณเกิดทีหลัง ปัญญาสัมมาทิฏฐิ จะสร้างขึ้น พัฒนาขึ้น นำเข้าสู่จิตใจของเราได้ ต้องอาศัยเหตุปัจจัยคือ การมีเพื่อนดี มีการฟังพระสัทธรรม มีการทำในใจโดยแยบคาย มีการปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม หรือในบางครั้งความกลัวก็ทำให้เกิดสัมมาทิฏฐิขึ้นได้[...]
- 3 ใต้ร่มโพธิบทหมวดธรรมที่มี 4 ข้อต่อไปนี้ พระพุทธเจ้าได้ทรงตรัสไว้ใน มหาปรินิพพานสูตร และได้มีเก็บรวบรวมไว้ใน อังคุตตรนิกาย หมวดจตุกกนิบาต (ว่าด้วยหมวดธรรม 4 ข้อ) ในเอพิโสดนี้ จึงได้นำมาอธิบายขยายความให้ได้เข้าใจกันยิ่งขึ้น มหาปเทส 4 เป็นวิธีการอ้างอิงในคำสอนของพระพุทธเจ้า ก่อนที่จะรับรอง ชื่นชม หรือ คัดค้าน เมื่อมีบุคคลหรือกลุ่มคนใดกล่าวว่า "นี้เป็นธรรม นี้เป็นวินัย นี้เป็นคำสอนของพระศาสดา" สังเวชนียสถาน 4 พระพุทธองค์ตรัสไว้ขณะประทับสีหไสยาสน์ระหว่างต้นสาละคู่ ทรงกำหนดตั้งจิตไว้ว่า จะไม่ลุกขึ้นอีก และตรัสถึงสถานที่ที่ถ้าเมื่อใครก็ตาม มีศรัทธา ควรมาดูมาเห็น ให้เกิดความสังเวช แล้วทำให้เกิดจิตเลื่อมใส มีความปลื้มใจ เกิดความร้อนใจที่จะกระทำความดีมาตามทางมรรค 8 ให้ได้ และเมื่อตายไปก็จะเกิดในสุคติโลกสวรรค์ ถูปารหบุคคล 4 คือ บุคคลที่ควรสร้างสถูปถวาย ซึ่งถ้ามีจิตเลื่อมใสสักการะในบุคคลเหล่านั้นแล้ว จะสามารถทำจิตให้ตั้งอยู่ในกุศลธรรมได้ เมื่อตายไปจะไปเกิดในสุคติโลกสวรรค์ โดยมีการอธิบายเพิ่มเติมว่า ถ้าจะให้เกิดผลแบบนี้ ควรจะบูชาบุคคลประเภทไหนได้อีก และอย่างไรจึงจะหลุดพ้นได้ ดังนั้น การศึกษาในธรรมวินัยนี้ จึงมีรายละเอียดหลายอย่างที่พระพุทธเจ้า ซึ่งเป็นผู้มีความรอบคอบ ทั้งในบทพยัญชนะ ทั้งโดยอรรถะ ที่เมื่อเรามาศึกษาทำความเข้าใจจะต้องพิจารณาใคร่ครวญให้ละเอียด[...]
- 3 ใต้ร่มโพธิบทจากข้อความบางตอนที่มาใน มหาสุญญตสูตร ได้กล่าวถึง "อุปัทวะ" ซึ่งหมายถึง ภัยอันตราย เครื่องข้องที่จะมาขัดขวางให้ความดีของเราลดน้อยลงไปหรือเสื่อมไป มีด้วยกัน 3 ประการ แต่ข้อที่เป็นอันตราย เป็นทุกข์ เผ็ดร้อนอย่างยิ่งกว่า นั่นก็คือ อุปัทวะของผู้ประพฤติพรหมจรรย์ ซึ่งถ้าเมื่อมันเสื่อมหรือกลับกำเริบแล้ว เปรียบเทียบไว้กับคนที่ขึ้นหลังช้างหรือเรือนยอดแล้วหากตกลงมา จะเป็นอันตรายมาก ดังนั้น ภัยอันตรายที่เมื่อขึ้นไปสู่ที่สูงแล้ว เราอย่าพลาด ถึงแม้ว่าเรื่องปัญญา เรื่องสมาธิ อาจจะยังได้ไม่เต็มที่ แต่ในเรื่องศีลนั้นทำให้มันได้เต็มที่ แม้ตกลงมาก็ยังไม่ถึงพื้น ศีล สมาธิ ปัญญา จึงต้องทำให้ละเอียดยิ่ง ๆ ขึ้นไป การปฏิบัติมาตามทางของเราจะก้าวหน้าขึ้นไปจนถึงปัญญาชั้นโลกุตตระ ที่เมื่อกำจัดอาสวะกิเลสได้แล้ว มันจะไม่กลับกำเริบอีก เป็นนิพพาน คือ ความเย็น ความสงบ นี้จึงกล่าวว่า “ นิพพานัง ปรมัง สุขัง นิพพานัง ปรมัง สุญญัง” คือ สูญจากกิเลส และ สุขจากความไม่มีกิเลส ไม่กลับกำเริบให้เป็นอุปัทวะอันตรายขึ้นมาได้อีก แนะนำรับฟังเพิ่มเติมได้ที่ Playlists: คลังพระสูตร[...]
- 3 ใต้ร่มโพธิบท"ตังขะณิกะปัจจะเวกขะณะวิธี" หรือ "ปะฏิสังขาโย" ว่าด้วย การพิจารณาปัจจัย 4 เป็นบทสวดที่ พระภิกษุสงฆ์รวมถึงนักปฏิบัติ จะต้องใคร่ครวญอยู่เป็นประจำ ด้วยการพิจารณาโดยแยบคายในเรื่องของปัจจัย 4 ซึ่งแบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือ ก่อนบริโภค อยู่ในส่วนทำวัตรเช้า หลังบริโภค อยู่ในส่วนทำวัตรเย็น ทั้งก่อนและหลังจะมีเนื้อหาเหมือนกัน ในที่นี้แนะนำให้เพิ่มการพิจารณาในระหว่างบริโภคนั้นด้วย จะเป็นการดีมากยิ่งขึ้น ช่วยให้เราบริโภคปัจจัย 4 ด้วยความระมัดระวัง ไม่สุดโต่งไปข้างใดข้างหนึ่ง แต่จะพิจารณาโดยแยบคายอยู่บนทางสายกลางไปตามความเหมาะสม ตามกาละเทศะ ไม่ได้เป็นไปเพื่อการยึดถือ แต่เป็นไปเพื่อการอนุเคราะห์แก่การประพฤติพรหมจรรย์ จึงต้องมีการพิจารณาทั้งก่อน ระหว่าง และหลังบริโภค จะช่วยฝึกจิตของเราให้มีภูมิต้านทาน มีสติสัมปชัญญะ ไม่เพลิดเพลินลุ่มหลงไปในสิ่งเหล่านี้ ให้เราอยู่เหนือการควบคุมของสิ่งเหล่านี้ได้ แนะนำรับฟังเพิ่มเติมได้ที่ Playlists: ใต้ร่มโพธิบท S07E51
- 3 ใต้ร่มโพธิบทหัวข้อแม่บทที่ยกมาทำความเข้าใจกันต่อในเอพิโสดนี้ คือเรื่อง “สัมมาสมาธิ” เป็นหัวข้อสุดท้ายในส่วนของสมาธิ ซึ่งเป็นหนึ่งในซีรีส์ของ "อริยมรรคมีองค์ 8" องค์ประกอบอันประเสริฐ 8 อย่าง ที่เมื่อรวมกันแล้ว จะเป็นทางที่ไปสู่ความรู้ยิ่ง ความรู้พร้อม และนิพพานได้ “สัมมาสมาธิ” หรือ ความตั้งใจมั่นชอบ ตามนัยของพุทธพจน์หมายถึง สมาธิในฌาณที่ 1 - 4 หรือในบางบริบทก็หมายรวมทั้งสมถะและวิปัสสนา และองค์ประกอบต้องเป็น สัมมา ที่เป็นไปเพื่อการละกิเลสได้ "สมาธิ"คือ สภาวะจิตที่มีการรวมลงเข้าเป็นอารมณ์อันเดียว ที่สามารถทำได้ในทุกอิริยาบถ แต่มักจะมีการเข้าใจผิดเกี่ยวกับการทำสมาธิ โดยยึดติดในเรื่องของรูปแบบ ที่ต้องนั่งนิ่ง ๆ ต้องสงบ เป็นเหมือนทะเลไม่มีคลื่น ไม่มีความคิดนึก จึงต้องมาศึกษาทำความเข้าใจกันให้ถูกก่อน ให้ไปในทิศทางเดียวกัน เพราะถ้าเข้าใจไม่ถูก จะมีความกังวล หรือมีอุปสรรคอย่างอื่น ๆ มาขวางกั้นไม่ให้จิตของเรารวมลงเป็นสมาธิได้ เพราะสมาธิทำให้จิตสงบระงับจากกาม จากอกุศลธรรม จึงจะไม่ได้ด้วยการข่มขี่ บังคับ การห้าม การปรุงแต่ง แต่ขึ้นอยู่ที่การสร้างเหตุปัจจัยด้วยศีล สติ และความเพียร สัมมาสมาธิ จึงเป็นเรื่องสำคัญมาก ๆ[...]
- 3 ใต้ร่มโพธิบทในเอพิโสดนี้ มาทำความเข้าใจกันต่อในหัวข้อของ “สัมมาสติ” ที่เป็นสิ่งสำคัญในการทำความเพียรทางจิต เป็นส่วนเริ่มแรกของสมาธิ เพราะสัมมาสติจะทำให้เกิดสัมมาสมาธิได้ ใน “มหาสติปัฏฐานสูตร” พระพุทธเจ้าได้ตรัสกับชาวกุรุถึงการพิจารณาเห็นกายในกาย เห็นเวทนาในเวทนา เห็นจิตในจิต และเห็นธรรมในธรรม ซึ่งเป็นฐานธรรมชาติที่เป็นเหตุให้เกิดสติ โดยมีข้อความในส่วนที่สำคัญ ที่พระพุทธองค์ได้ทรงเน้นย้ำ กล่าวซ้ำ ๆ กันอยู่ในแต่ละข้อ ๆ คือ “…มีความเพียรเครื่องเผากิเลส มีสัมปชัญญะ มีสติ ถอนความพอใจและความไม่พอใจในโลกออกเสียได้” ดังนั้น “สัมมาสติ” ตามนัยของพระพุทธเจ้า จึงหมายถึง ความระลึกได้ ที่เมื่อเราระลึกให้มันถูก จะมีลักษณะที่ทำให้กิเลสมันลดลง เป็นไปเพื่อปัญญาในการถอนความพอใจและความไม่พอใจในอารมณ์ต่าง ๆ ออกได้ ซึ่งจะตรงข้ามกับความเพลิน ที่จะทำให้จิตคล้อยตามไปในอารมณ์ที่มากับผัสสะทั้งหลาย เกิดเป็นความพอใจหรือไม่พอใจขึ้น ความเพลินนั้น คือ อุปาทาน พระพุทธเจ้าตรัสเปรียบเทียบไว้ว่า “…จิตของเรา เป็นเชือก สติของเราเป็นผาลและปฏัก” ซึ่ง ผาล เป็นเครื่องมือที่สำคัญในการทำนา เพราะเป็นส่วนที่จะเปิดหน้าดินออก เป็นจุดที่เหล็กสัมผัสกับดิน เพื่อคุ้ยดินให้แยกออกจากกัน “สติ” จึงเป็นตัวที่แยกแยะความดีความไม่ดี แยกสิ่งที่มันเหนียวติดกันอยู่ให้เคลื่อนออกจากกัน จุดที่แยกออกแล้วนั้น มันจึงเป็นความพ้นจากกัน “สติจึงมีความพ้นคือวิมุตติเป็นที่แล่นไปสู่” เราจึงต้องฝึกสติให้มีกำลังมาก[...]
- 3 ใต้ร่มโพธิบทในเอพิโสดนี้ เป็นซีรีส์หัวข้อแม่บทที่จะอธิบายในเรื่องของ “อริยมรรคมีองค์ 8” ที่ต่อมาจากส่วนของศีล ซึ่งในส่วนนี้เป็นการกระทำความเพียรทางจิต โดยมี สัมมาวายามะ สัมมาสติ สัมมาสมาธิ สังเคราะห์รวมกันเป็นส่วนของสมาธิ จึงเริ่มกันที่มาทำความเข้าใจในหัวข้อของ “สัมมาวายามะ” “…ย่อมทำความพอใจให้เกิดขึ้น ย่อมพยายามปรารภความเพียร ประคองจิต ตั้งจิตไว้เพื่อจะยังอกุศลธรรมอันเป็นบาปที่ยังไม่เกิดไม่ให้เกิดขึ้น” จากพุทธพจน์นี้ มีส่วนที่เหมือนกับในความหมายของ “สัมมาวายามะ” ที่มีสาระสำคัญอยู่ที่การทำให้กุศลธรรมที่มีอยู่แล้วให้เพิ่มมากยิ่งขึ้น กุศลธรรมที่ยังไม่มีก็ทำให้มีให้เกิดขึ้นใหม่ การทำให้อกุศลธรรมที่มีอยู่แล้วลดลงไป อกุศลธรรมที่ยังไม่เกิด ก็ไม่ทำให้เกิดขึ้น โดยมีลักษณะการริเริ่มที่มี “ฉันทะ” คือ ความพอใจ เป็นเหตุที่จะพัฒนาปรับปรุงด้วยความเพียรพยายามในทางที่จะทำให้กุศลธรรมเพิ่มขึ้น อกุศลธรรมลดลง แต่ทั้งนี้ต้องประคับประคองไม่ให้ความเพียรนั้นมีมากหรือน้อยเกินไป โดยอาศัยสติ สมาธิ และศรัทธา ที่ต้องคอยปรับให้เสมอ ๆ กัน และสิ่งที่ต้องมีให้มาก ๆ คือ กำลังใจ การทำจริงแน่วแน่จริง การมีความมั่นใจ กล้าที่จะตัดสินใจทำ การทำความเพียร จึงเป็นการทำให้กิเลสลดลง พอกิเลสมันจะตาย บางทีมันก็ไม่ยอม มันดีดกลับขึ้นมา เราต้องรู้จักที่จะผ่อนจะตึง ปรับให้มันได้ จึงมีคำว่า “ประคองจิต ตั้งจิตไว้”[...]
- 3 ใต้ร่มโพธิบทเมื่อฟังธรรมแล้ว เรารู้ว่า "เราไม่รู้อะไร" ยังดีกว่าที่ว่า เราไม่รู้ว่า "เราไม่รู้อะไร" ตรงจุดนี้จึงจะมาทำความเข้าใจกันไปในทีละประเด็น เพื่อให้ความไม่รู้เริ่มหายไป และเริ่มมีความรู้ในสิ่งที่ไม่รู้นั้น ในเอพิโสดนี้ จึงได้ยกหัวข้อที่มาใน "สัลลัตถสูตร"ว่าด้วยเวทนาเปรียบด้วยลูกศร ขึ้นมาอธิบาย พระพุทธเจ้าทรงอุปมาเปรียบเทียบไว้กับคนที่ถูกยิงด้วยลูกศร แล้วมีเวทนาเกิดขึ้น เปรียบเทียบระหว่าง อริยบุคคลผู้มีการสดับ ที่เมื่อมีเวทนาเกิดขึ้นแล้ว ก็แค่ทางกายเท่านั้น จะไม่เกิดเวทนาทางจิต เหมือนถูกยิงด้วยลูกศรเพียงดอกเดียว แต่สำหรับ ปุถุชนผู้ไม่ได้สดับ นั้น เมื่อมีเวทนาเกิดขึ้นทางกายแล้ว ก็จะมีเวทนาเกิดขึ้นทางจิตด้วย เหมือนถูกยิงด้วยลูกศร 2 ดอก ประเด็นที่ต้องทำความเข้าใจในที่นี้ก็คือ เวทนาทางกายเข้ามาทางใจได้อย่างไรมีธรรมะใดที่จะช่วยป้องกันไม่ให้เวทนาซึมซาบเข้าสู่จิตได้ และกรณีเมื่อมีอนุสัยตามนอนเนื่องอยู่ในจิตแล้ว จะมีอุบายนำออกใด ที่จะทำให้อนุสัยซึ่งเป็นกิเลสอย่างละเอียดหลุดลอกออกไปจากจิตใจของเราได้ แนะนำรับฟังเพิ่มเติมได้ที่ Playlists: เข้าใจทำ (ธรรม) S08E22 ,ใต้ร่มโพธิบท S07E62
- 3 ใต้ร่มโพธิบทใน "สันธสูตร" พระพุทธเจ้าตรัสสอนแก่ภิกษุชื่อ สันธะ กล่าวถึงเรื่องการเพ่งที่แตกต่างระหว่างม้าอาชาไนย กับม้ากระจอก ที่แม้อยู่ที่เดียวกัน แต่ก็มีการเพ่งที่ต่างกัน โดยม้าอาชาไนยจะเล็งเห็นถึงผลของการเป็นม้าชั้นยอด เพ่งมาที่สามัญญผล ส่วนม้ากระจอก จะมุ่งไปแต่ในทางกาม มุ่งไปในเรื่องปากท้อง เรื่องความเป็นอยู่ ซึ่งถ้าเมื่อจิตใจนั้นปรารถนาที่ผลไปคนละแบบ ก็ทำให้เพ่งไปคนละที่ คนละจุด การกระทำและผล ที่แสดงออกมาจึงแตกต่างกัน เปรียบเทียบไว้กับคนที่มีสถานการณ์ใด ๆ ก็ตาม อย่างสถานการณ์โรคระบาดในปัจจุบัน จะเป็นจุดที่มาทดสอบว่า เรานั้นได้เอาจิตไปจดจ่อ เพ่ง ไว้ที่ไหน ซึ่งถ้าเราเพ่งมาถูกจุด ไม่ได้ไปในทางกามที่จะเป็นเหตุให้ผิดศีลได้ แต่เห็นความสำคัญในสามัญผล คือ ศีล สมาธิ ปัญญา ที่ทำให้เราเป็นบุคคลอาชาไนยได้ ทำความเพียร เห็นตามที่เป็นจริง นี้คือ ปรมัตถ์สัจจะ และ ทำจิตให้หลุดพ้นได้ แนะนำรับฟังเพิ่มเติมได้ที่ Playlists: เข้าใจทำ (ธรรม) S07E48 , #ฝึกปฏิบัติด้วยลักษณะม้าอาชาไนย 10 ประการ
- 3 ใต้ร่มโพธิบทภัยในอนาคต 5 ประการ เป็นสิ่งที่พระพุทธเจ้าได้ตรัสเตือนไว้แล้ว เป็นเรื่องที่เราต้องระวัง ต้องมีการเตรียมการว่า เราจะทำอย่างไร เราจะสะสมอะไร เพื่อจะเป็นผู้ที่ผาสุกอยู่ได้แม้เมื่อภัยนั้นมาถึง ไม่ใช่แค่การมองที่ผิวเผินในเรื่องของเงินทอง ปัจจัย 4 หรือสุขภาพร่างกาย แต่ให้เป็นเรื่องของสติสัมปชัญญะ ปัญญา และ สภาวะจิตใจ ที่ถ้ามีการฝึกหัดสิ่งเหล่านี้มาอย่างดี มีความมั่นคงในจิตใจมากแล้ว มีศีล สมาธิ ปัญญาดีแล้ว หากมีสถานการณ์อย่างใดอย่างหนึ่งเกิดขึ้น เราจะมีเครื่องอยู่และเป็นผู้ที่ยังผาสุกอยู่ได้แน่นอน แนะนำรับฟังเพิ่มเติมได้ที่ Playlists: สมการชีวิต S02E25 , เข้าใจทำ (ธรรม) S08E27 , #เข้าใจและยอมรับทุกข์ เพื่อเป็นผู้ที่ผาสุกอยู่ได้ , #ผาสุกได้เมื่อ 5 ภัยมา
- 3 ใต้ร่มโพธิบท“วัคซีน” ที่จะมาเป็นยาป้องกันหรือยารักษาก็ตาม ที่ใส่เป็นยารักษาเมื่อคุณติดเชื้อแล้วหรือฉีดวัคซีนก่อนเพื่อช่วยสร้างระบบภูมิคุ้มกัน (Immune System) ให้ร่างกาย ยาพวกนี้จึงมีลักษณะพฤติกรรมการทำงานเหมือน มรรค 8 เป็นทางที่ประกอบด้วยองค์ประกอบอันประเสริฐ 8 อย่าง “มรรค 8” เป็นยาที่ช่วยสร้างภูมิคุ้มกันให้จิต ป้องกันจิตไม่ให้เศร้าหมองจากกิเลส ตัณหา อวิชชา สร้างภูมิคุ้มกันที่ดีด้วยสติ สมาธิ ด้วยความดีที่ได้กระทำสักอย่างใดอย่างหนึ่งที่มีอยู่ในตัวของเรา ซึ่งจิตใจของทุกคนนั้นมีความดีอยู่แล้ว ไม่ว่าจะเป็นสัตว์นรกมาจนถึงพรหม จิตก็มีธรรมชาติเป็นความประภัสสรอยู่แล้ว แต่มันเศร้าหมองเพราะกิเลสที่เป็นอาคันตุกะจรมา ทำให้มันเศร้าหมองไป จะทำอย่างไรให้เกิดความผ่องใสดีงามขึ้นมาได้ ก็ต้องรู้จักเอามรรค 8 ที่ผ่านการศึกษาทดลองและวิจัยโดยพระพุทธเจ้า ให้มาเป็นวัคซีน มาเป็นยารักษา ที่จะต้องใช้ให้ถูกจึงจะได้ผล ดังนั้นธรรมะที่เราอ่านเราทำ ไม่ใช่แค่จำได้เท่านั้น แต่ต้องรู้จักทำให้ธรรมคำสอนนั้นเข้าสู่จิตใจ เราจึงต้องตั้ง “สติ” เอาไว้ให้ดีอยู่ทุกเมื่อ จะรักษาคุ้มกันจิตใจของเราได้ แนะนำรับฟังเพิ่มเติมได้ที่ Playlists: สมการชีวิต S02E22 , ใต้ร่มโพธิบท S08E25 , #มรรคแปด ยาดีที่อยู่ในใจ , #มรรค 8 ทำให้จิตเข้าถึงธรรมะ โดยพระครูสิทธิปภากร
- 3 ใต้ร่มโพธิบทในช่วงวิกฤตการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโคโรน่าสายพันธุ์ใหม่ 2019 นี้ ที่เมื่อเรามาศึกษาเรียนรู้ดูลักษณะพฤติกรรมและระบบการทำงานของไวรัสนี้แล้ว จะพบว่ามันเหมือนกันกับกิเลส เราสามารถเรียนรู้จากเรื่องนี้ได้หลายอย่าง เปรียบเทียบกับจิตใจของเราที่ถูกกิเลส มันห่อหุ้ม ครอบงำ ตกเป็นทาสของมันมาช้านานแล้ว ทำให้เราไม่เป็นตัวของเราเอง แต่เป็นกิเลสที่เข้าครอบงำกลุ้มรุมจิตของเราอยู่ จะกำจัดกิเลสออกได้ ก็ด้วยการปฏิบัติตามอริยมรรคมีองค์ 8 ที่เปรียบเหมือนยารักษาหรือวัคซีน ที่จะสามารถทำจิตใจและกายของเราให้ดีได้ งามได้ และทำความรู้คือวิชชาของเรานั้น ให้เจริญงอกงามเพิ่มขึ้นได้ แนะนำรับฟังเพิ่มเติมได้ที่ Playlists: สมการชีวิต S02E25 , S02E22 , เข้าใจทำ (ธรรม) S08E25 , ใต้ร่มโพธิบท S07E02
- 3 ใต้ร่มโพธิบท“สักกายทิฏฐิ” เป็นเครื่องร้อยรัด เป็นความเห็นที่ว่า นี้เป็นตัวเราของเราในขันธ์ทั้ง 5 เป็นทิฏฐิความเห็นที่ไม่ถูกต้อง เทคนิคในการทำความเข้าใจเรื่องสักกายทิฏฐิ พระพุทธเจ้าตรัสเปรียบเทียบส่วนเหมือนส่วนต่าง โดยยกอุปมาอุปไมย และธรรมะในข้ออื่น ๆ มาเชื่อมโยงต่อกันให้เห็นภาพ ถึงสิ่งตรงข้ามกับสักกายทิฏฐิ ก็คือ "สัมมาทิฏฐิ" ที่เชื่อมโยงเกี่ยวข้องกับอริยสัจสี่ ซึ่งลักษณะของสักกายทิฏฐินั้น จะทำให้เกิดสุดโต่ง 2 ข้าง แต่สัมมาทิฏฐิคือทางสายกลาง เป็นโสตาปัตติยังคะ 4 ในเรื่องของสัมมาทิฏฐิ เราต้องเข้าใจว่า ขันธ์ทั้ง 5 เป็นกองทุกข์ เราจะกำจัดสักกายทิฏฐินี้ได้ ต้องเข้าใจขันธ์ทั้ง 5 ว่าเป็นตัวทุกข์ เราจะกำจัดสักกายทิฏฐินี้ได้ ต้องเข้าใจว่า รูป เวทนา สัญญา สังขาร และวิญญาณ นั้นเป็นทุกข์ ทุกข์อย่างไร? ทุกข์ก็คือการที่มันทนอยู่ได้ยาก ความที่มันทนอยู่ในสภาพเดิมไม่ได้ตลอดกาลช้านาน ความที่มันจะเป็นเหมือนอยู่อย่างเดิมอย่างนี้ไม่ได้ โดยที่ถ้าความเป็นเหตุปัจจัยมันเปลี่ยนแปลงไป นั่นแหละคือความทุกข์ หากเข้าใจในข้อนี้ได้ คุณจะละสักกายทิฏฐิได้ แนะนำรับฟังเพิ่มเติมได้ที่ Playlists: .ใต้ร่มโพธิบท S08E20 , ตามใจท่าน S09E24[...]
- 3 ใต้ร่มโพธิบท“สัมมาอาชีวะ” คือ การดำเนินชีวิตของเราให้เป็นไปในทางที่ถูกต้อง ซึ่งเป็นอีกหัวข้อหนึ่งที่มาในซีรีส์ "อริยมรรคมีองค์ 8" ในส่วนของศีล โดยแบ่งออกได้เป็น 2 ส่วน คือ ส่วนที่ยังเกี่ยวเนื่องด้วยโลก เป็นของหนัก ยังเนื่องด้วยบุญหรือบาป และ ส่วนที่เหนือโลก ซึ่งเป็นลักษณะที่เหนือบุญ เหนือบาป ทั้งสองส่วนนี้ต่างกันอย่างไร? ขึ้นกับการตั้งเป้าหมายว่าต้องการอย่างไร ซึ่งถ้าเมื่อยังอยู่ในโลก แล้วเรามีสัมมาอาชีวะ ก็จะทำให้การดำเนินชีวิตเรานั้นมีความสุขอยู่ได้ แต่ถ้าเป้าหมายของเราคือการมุ่งสู่นิพพาน สัมมาอาชีวะนี้จะต้องปฏิบัติไปพร้อมกับสัมมามรรคในข้ออื่น ๆ การพลิกนิดเดียวจะทำให้สัมมาอาชีวะของเราไปสู่ระดับเหนือโลกได้ แนะนำรับฟังเพิ่มเติมได้ที่ Playlists: คลังพระสูตร S08E43 , #สัมมาอาชีวะ , #คำพุทธ-สิงคาลกสูตร , #การดำเนินชีวิตให้ไม่มีช่องโหว่ , #ธรรมบท-ชัมพุกาชีวก , #การแบ่งจ่ายทรัพย์ , ใต้ร่มโพธิบท S08E22 , S08E21 , S08E20
- 3 ใต้ร่มโพธิบทในเอพิโสดนี้ ยังอยู่ในซีรีส์หัวข้อแม่บทที่อธิบายในเรื่องของ "อริยมรรคมีองค์ 8" ที่ได้สงเคราะห์แจกแจงจัดตามหมวดหมู่ 3 อย่าง คือ ศีล สมาธิ ปัญญา ในที่นี้จึงนำหัวข้อของ "สัมมากัมมันตะ" อันเป็นเรื่องของศีล ขึ้นที่ต่อมาจากสัมมาวาจา "กัมมันตะ" แปลว่า การกระทำทางกาย ซึ่งเป็นการกระทำแบบไหนที่จะทำให้เกิดการสลัดแอก สลัดเครื่องร้อยรัด กำจัดความยึดถือจากจิตใจของเราลงไปได้ แนวทางคือการตั้งเจตนา 3 อย่าง คือ เจตนาไม่ฆ่า เจตนาไม่ถือเอาทรัพย์อันเจ้าของไม่ได้ให้ และเจตนาเว้นจากการประพฤติผิดในกามและการผิดจารีต โดยได้เปรียบเทียบส่วนเหมือนส่วนต่างของ สัมมากัมมันตะ และ มิจฉากัมมันตะ อธิบายในรายละเอียดของความหมายในแต่ละอย่าง ๆ พร้อมทั้งอานิสงส์/ผลที่ได้รับ และกรณีตัวอย่าง "ลองใคร่ครวญพิจารณาดูให้ดี สมมุติว่าเราไม่ได้มีเจตนาที่จะทำ เช่น ขับรถชนสุนัขตาย แล้วมันจะผิดศีล ผิดสัมมากัมมันตะหรือไม่? ก็ขึ้นอยู่ที่ว่าคุณตั้งใจที่จะเว้นไว้ตั้งแต่แรก หรือไม่? เพราะการที่มีเจตนาที่จะเว้นอยู่ตลอด ๆ จนเป็นปกตินั้น มันก็ไม่ผิดศีล 5 อยู่แล้ว ตรงนี้สำคัญ คุณต้องระลึกถึงเจตนาตรงนี้ให้ได้ และใน สัมมากัมมันตะ จะต้องมี[...]
- 3 ใต้ร่มโพธิบทในเอพิโสดนี้ เป็นซีรีส์หัวข้อแม่บทที่จะอธิบายในเรื่องของ "อริยมรรคมีองค์ 8" ที่เป็นส่วนหนึ่งของอริยสัจ 4 โดยในที่นี้ได้สงเคราะห์แจกแจงจัดตามหมวดหมู่ 3 อย่าง คือ ศีล สมาธิ ปัญญา เบื้องต้นจึงนำเอาหัวข้อของ "สัมมาวาจา" ซึ่งเป็นเรื่องของศีลขึ้นมาก่อน เน้นเจาะลงไปในเรื่องของการนำไปใช้งาน และกรณีตัวอย่าง (Case study) ว่าในแต่ละกรณี ๆ นั้น เราจะมีวิธีการปฏิบัติในเรื่องของสัมมาวาจาอย่างไร จึงจะรู้ว่า ผิด หลุด ออกจากมรรคไปแล้ว หรือ ถ้าผิดไปแล้ว จะแก้มาให้ตรงทางได้อย่างไร หลักสำคัญ คือเจตนาในการที่จะให้เกิดความดีขึ้น เจตนาในการที่จะให้กิเลสในใจของเราลดลง เมื่อถ้าพูดไปแล้วเกิดพลิกผันเป็นอย่างอื่น เกิดมีการกระทบกระทั่งกันบ้าง ก็ให้อดทนเอา เพราะบางทีคนฟังด้วยกิเลส ก็รักษาจิตใจตัวเองไม่ได้ ให้เอาหลักเกณฑ์ในข้อสัมมาวาจานี้ เป็นหลักในแนวทางปฏิบัติของเรา ลักษณะของสัมมาวาจา -สี.ที. ๙/๘๓/๑๐๓. (อมุสาวาท) คือเธอนั้น ละมุสาวาท เว้นขาดจากมุสาวาท พูดแต่ความจริง รักษาความสัตย์ มั่งคงในคำพูด มีคำพูดควรเชื่อถือได้ ไม่แกล้งกล่าววาจาให้ผิดต่อโลก. (อปิสุณวาท) คือเธอนั้น[...]
- 3 ใต้ร่มโพธิบทในการปฏิบัตินั้น จะทำให้จิตใจของเรามีความนุ่มนวลอ่อนเหมาะ สามารถที่จะนำธรรมเข้าสู่ใจได้ ธรรมทั้งหมดที่มารวมเข้าสู่จิตใจ พระพุทธเจ้าได้เปรียบเทียบไว้กับ เรือนรับรองแขกที่มีประตูอยู่ทั้ง 4 ทิศ โดยแขกที่มาจากทั้ง 4 ทิศ จะมารวมอยู่ในนี้ทั้งหมด ตรงกลางของห้องรับแขกนั้นเปรียบได้กับนิพพาน ซึ่งประตูทั้ง 4 นั้น มีการทำหน้าที่แตกต่างกัน และทางที่จะเดินมาที่ประตู ต้องประกอบด้วยองค์ 8 ประการ จึงจะเข้ามาถึงส่วนตรงกลางของห้องรับแขกได้ แต่ที่สำคัญ ต้องทำหน้าที่ให้ถูกต้องตามแต่ละข้อในแต่ละส่วน ของอริยสัจ 4 คือ ตัณหาต้องละ, ขันธ์ 5 ต้องรับมันได้ เข้าใจมันได้, นิโรธ วิชชา วิมุตติ ต้องทำให้แจ้ง และ สมถวิปัสสนา ต้องพัฒนาทำให้มากเจริญทำให้มาก
- 3 ใต้ร่มโพธิบทวิบัติ เป็นคำทั่ว ๆ ไป ประกอบกับสิ่งไหน หมายความว่า สิ่งนั้นเสื่อมเสียไป ไม่ถูกต้อง ผิดเพี้ยน ผิดพลาด ไม่ดี ในเอพิโสดนี้ได้กล่าวถึงด้วยกัน 15 อย่าง ซึ่งความเกี่ยวข้องกันของความวิบัติทั้งหมด มันคืบคลานเกี่ยวเนื่องกันไปได้ และในทางตรงข้าม เมื่อกล่าวถึงวิบัติ ก็ต้องมีสมบัติ มีสัมปทา คือ ความเพียบพร้อม ความสมบูรณ์ องค์ประกอบที่ดีงามต่างๆ มาเปรียบเทียบให้เห็นส่วนต่างด้วย อย่างไรก็ดี ทั้งสมบัติและวิบัติก็ไม่เที่ยง เพราะคนที่ไม่ดีใช่ว่าเขาจะชั่วช้าไปตลอดกาล หรือเพราะเมื่อก่อนเราไม่ดี ตอนนี้เราดีขึ้นมาได้ เปลี่ยนแปลงได้ จุดตรงนี้ที่มันขึ้น ๆ ลง ๆ ดีบ้าง ไม่ดีบ้าง เพราะเหตุปัจจัยดีมันก็ดี เหตุปัจจัยไม่ดีมันก็ไม่ดี เราจะพ้นได้ ทำจิตของเราให้เหนือจากวิบัติ เหนือจากสมบัติ สิ่งที่จะนำมาเป็นเครื่องตรวจเช็ค และความเปลี่ยนแปลงแก้ไขความวิบัติเหล่านี้ได้ คือ มรรค 8 อันเป็นสมบัติ เป็นสัมปทา คือ ความเพียบพร้อม ความสมบูรณ์ เป็นองค์ประกอบที่ดีงามต่าง ๆ เป็นจุดพลิกผลัน[...]
- 3 ใต้ร่มโพธิบทพระพุทธเจ้าทรงยกอุปมาอุปไมยเปรียบเทียบระหว่างการเลี้ยงโค กับ ลักษณะของพุทธบริษัทในธรรมวินัยนี้ ที่คนเลี้ยงโคจะสามารถเลี้ยงโคให้มีกำไรงอกงาม มีความเจริญในอาชีพการงานของเขา จะต้องมีคุณสมบัติ 11 อย่าง ไม่ต่างจากพุทธบริษัทที่จะต้องมีคุณสมบัติ 11 อย่าง โดยเหมาะสมเช่นกัน จึงจะมีความเจริญงอกงามไพบูลย์ในธรรมวินัยนี้ได้ ซึ่งรายละเอียดในแต่ละข้อจะเป็นอย่างไรนั้น รับฟังได้ในเอพิโสดนี้
- 3 ใต้ร่มโพธิบทพระพุทธเจ้าได้ตรัสไว้กับโปฏฐปาทะปริพาชกว่า “สัญญาเกิดก่อน ญาณเกิดทีหลังฯ” ถ้าเข้าใจใน 2 ส่วนนี้ ก็จะเป็นประโยชน์ในการงาน ในอาชีพของเราได้ แต่ไม่ว่าจะเป็น ฌาน (สัญญา) หรือ ญาณ (ปัญญา) มันเสื่อมได้ เปลี่ยนแปลงได้ มีความไม่เที่ยง ญาณที่เป็นโลกียะไม่เที่ยง ญาณที่เป็นโลกุตระก็ไม่เที่ยงเหมือนกัน ในเมื่อมันไม่เที่ยง เปลี่ยนแปลงได้ ข้อดีที่มันแตกต่างกัน ก็คือ ญาณปัญญาที่เป็นโลกียะ ยังต้องทำให้เราวนไปเวียนมาอยู่ ยังเนื่องด้วยกับอาสวะ เป็นของโลก เป็นของหนัก แต่ถ้าเป็น ญาณปัญญาทางด้านโลกุตระ สามารถเปิดช่องให้เราพ้นได้ ไม่ต้องกลับมาเกิดอีก เกิดการหลุดพ้นชนิดที่ไม่กลับกำเริบได้อีก การทำความเข้าใจในอริยสัจสี่ให้ถูกต้อง จะทำให้ สัญญาเปลี่ยนเป็นญาณใน 3 อย่าง หรือเป็นความรู้ที่ถูกต้องอย่างนี้ว่า ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค เป็นอย่างนี้ ๆ กิจที่ควรทำในแต่ละอย่าง เป็นอย่างนี้ ๆ และมีความรู้ว่า เราได้ทำให้เกิดขึ้นแล้ว ทำให้แจ่มแจ้งแล้ว หลุดพ้นแล้ว ซึ่งปัญญาญาณอันรู้เห็นตามเป็นจริงของเราในอริยสัจ 4 โดยมีรอบ[...]
- 3 ใต้ร่มโพธิบทหัวข้อธรรมที่ยกมานี้ว่าด้วย การใช้วาจา การใช้คำพูด ในลักษณะที่จะทำให้ความดีเกิดขึ้นได้ มีอยู่ 4 ลักษณะ โดยแบ่งตามลักษณะและลีลาการพูดออกเป็น 2 ส่วน คือ ส่วนคนดีและคนไม่ดี และได้ยกตัวอย่างเปรียบเทียบไว้กับ วาจาสะใภ้ใหม่ ที่จะมีความเกรงใจในคนที่มาอยู่ก่อน จะพูดอะไรก็ระมัดระวังคำพูด เป็นลักษณะคำพูดที่เขาจะเกรงใจกัน ด้วยการมีหิริโอตัปปะ ที่จะเป็นหนทางไปสู่นิพพานได้ และในตอนท้ายได้เพิ่มเติมในเรื่องของ การติ/ชม พระพุทธเจ้าตรัสบอกไว้ในเรื่องของ การติ/ชม ที่ควรจะเป็น คือ ต้องควรติเตียนและสรรเสิรญตามความเป็นจริง ตามกาลอันควร รู้กาละที่เหมาะสมด้วย แนะนำรับฟังเพิ่มเติมได้ที่ Playlists: สมการชีวิต S01E03 , ตามใจท่าน S10E02
- 3 ใต้ร่มโพธิบทนี้เป็นเรื่องราวที่มาใน ตาลปุตตสูตร ว่าด้วยปัญหาของนักเต้นรำชื่อว่าตาลบุตร ได้ไปเข้าเฝ้าฯ พระพุทธเจ้าและทูลถามปัญหาเกี่ยวกับทิฏฐิที่เชื่อกันว่า บุคคลผู้ที่สร้างความสนุกสนานให้แก่ผู้อื่น ไม่ว่าจะเป็นนักเต้นรำ นักแสดง เป็นต้น เมื่อตายไปจะเข้าถึงการได้เป็นสหายแห่งเทวดาผู้ร่าเริง เป็นจริงหรือไม่ ประเด็นสำคัญในที่นี้ คือ เมื่อนายตาลบุตร ได้เห็นแล้วว่าตนมีความเห็นผิดมาตลอด เป็นดั่งเช่น บุรุษตามืดบอด ผู้ถูกลวงด้วยผ้าเนื้อเลวเปื้อนเขม่า ก็ขอออกบวช และในระหว่างที่บวชนั้น พระตาลปุตตะ ได้มากระทำในใจโดยแยบคาย (โยนิโสมนสิการ) จากจิตใจที่ร้องเล่นเต้นรำมาตลอด มีเรื่องเล่าเรื่องราวต่าง ๆ (fiction) ในหัวอยู่ตลอด จะให้มานั่งสมาธิ ก็ทำได้ยาก มันไม่สงบ มันวุ่นวายฟุ้งซ่าน คิดถึงแต่ละครตัวนั้นตัวนี้ เรื่องราวนั้นเรื่องราวนี้ หรือแม้ใครก็ตามที่เป็นอย่างนี้ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องงาน เรื่องธุรกิจใด ๆ ที่ต้องมีการคิดอ่านอยู่ตลอดเวลา เป็นเหมือนเราคุยอยู่กับตัวเอง มีเพื่อนสองตลอดเวลา เมื่อพระตาลปุตตะใคร่ครวญพิจารณาจนมาถึงจุดที่ว่า คุยกบจิตของตัวเองรู้เรื่อง ซึ่งได้กล่าวไว้ใน "ตาลปุฏเถรคาถา" ถึง วิธีการทำในใจของท่านจากจิตที่มันไม่สงบ คิดมาก ฟุ้งซ่านวุ่นวาย ได้มีการไตร่ตรองใคร่ครวญอย่างไรจึงสามารถบรรลุธรรม มาทำความเข้าใจกันได้ในเอพิโสดนี้ ตาลปุตตสูตร [๕๙๑] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรนายคามณี เราห้ามท่านไม่ได้แล้วว่า[...]
- 3 ใต้ร่มโพธิบทเมื่อใดที่กล่าวถึงคำว่า "พหูสูต" จะต้องมีกลุ่มคำเหล่านี้ต่อพ่วง เกี่ยวพันมาด้วยกัน (Associate) ซึ่งที่เราได้ยินเป็นประจำ ก็คือ เป็นผู้สดับฟังมามาก, ทรงจำไว้ได้, ท่องได้คล่องปาก, ขึ้นใจ และแทงตลอดด้วยดีด้วยความเห็น (ทิฏฐิ) ซึ่งธรรมอันงดงามในเบื้องต้น ท่ามกลาง และที่สุด เป็นการประกาศพรหมจรรย์บริสุทธิ์บริบูรณ์สิ้นเชิง พร้อมทั้งอรรถ พร้อมทั้งพยัญชนะ ด้วยคุณสมบัติ 5 อย่างนี้ ที่เมื่อมาประกอบกันแล้ว จะทำให้ความเป็นพหูสูตเกิดขึ้น ซึ่งทุกคนสามารถทำได้ จะมากหรือน้อยไม่เท่ากัน อันนี้เป็นธรรมดา แต่อย่างน้อยที่สุดต้องมี "การปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม" คือ การที่เรานำเอามาปฏิบัติ แล้วทำให้ถึงที่สุด ทำให้เกิดขึ้นในใจ จิตใจที่มีสัมมาทิฏฐิ มีกิเลสลดลง ถือว่าเราเป็นพหูสูตแล้ว เป็นในระดับที่จะทำให้ความดีนั้นสืบต่อไปได้ ให้ความดีนั้นไม่มาสุดจบลงที่ตัวเรา จึงเรียกได้ว่าเป็น พหูสูตผู้ทรงธรรม [231] พหูสูตมีองค์ 5 (คุณสมบัติที่ทำให้ควรได้รับชื่อว่าเป็นพหูสูต คือ ผู้ได้เรียนรู้มาก หรือคงแก่เรียน) พหุสสุตา ฟังมาก คือ ได้เล่าเรียนสดับฟังไว้มาก ธตา จำได้ คือ จับหลักหรือสาระได้[...]
- 3 ใต้ร่มโพธิบทคุณธรรมอะไรที่ทำให้บุคคลเป็นเถระ พระพุทธเจ้าตรัสไว้ใน "เถรสูตร" กล่าวถึงเรื่องของ เถรธรรม 10 ประการ ที่ทำให้เป็นเถระ คือ เป็นผู้ใหญ่ เป็นผู้แก่ เป็นผู้รู้เรื่องราวต่าง ๆ มีประสบการณ์ ขอเน้นมาตรงจุดที่ว่า เป็นผู้ใหญ่แล้วก็มีประสบการณ์ ประสบการณ์ในที่นี้ ก็คือ ความรู้ นั่นเอง ความรู้ในที่นี้ ก็คือ ปัญญามี 10 อย่าง ซึ่งในคุณธรรมทั้งหมดนี้ ไม่ใช่ใช้เฉพาะของพระภิกษุเท่านั้น ยังสามารถนำไปปรับใช้ในชีวิตประจำวันของเราได้ ข้อไหนที่เราพัฒนาได้ทำได้ อันนี้จะทำให้ชีวิตของเรานั้นมีความสุข อยู่สำราญ ในทุกสถาน ในทุกที่ [๙๘] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้เถระประกอบด้วยธรรม ๑๐ ประการ จะอยู่ในทิศใด ๆ ย่อมอยู่สำราญโดยแท้ ๑๐ ประการเป็นไฉน คือ ภิกษุเป็นเถระรัตตัญญู บวชมานาน ๑ เป็นผู้มีศีลสมาทานศึกษาอยู่ในสิกขาบททั้งหลาย ๑ เป็นพหูสูต ทรงสุตะ สั่งสมสุตะ เป็นผู้ได้สดับมามาก ทรงไว้ คล่องปาก ขึ้นใจ[...]
- 3 ใต้ร่มโพธิบทสืบเนื่องในช่วงคลังพระสูตรจาก 2 เอพิโสดที่ผ่านมา ได้นำเสนอ "กูฏทันตสูตร" ปรารภเรื่องที่กูฏทันตพราหมณ์ได้ทูลถามพระพุทธเจ้าถึงการบูชายัญที่เหนือกว่า สูงกว่าด้วยผลด้วยอานิสงส์ และน้อยกว่าในเรื่องของการตระเตรียมการริเริ่ม ในเอพิโสดนี้จึงยก "อุชชยสูตร" ว่าด้วยปัญหาของอุชชยพราหมณ์ขึ้นมาประกอบเพื่อให้ได้เห็นภาพรวมทั้งหมดของยัญที่ละเอียดลงไป โดยใน "อุชชยสูตร" ได้กล่าวถึงการบูชามหายัญ 5 ตามหลักของพวกพราหมณ์ ซึ่งในทางคำสอนของพระพุทธเจ้า เปรียบเทียบกับใน "กูฏทันตสูตร" ที่ได้กล่าวถึงการบูชายัญของพระเจ้ามหาวิชิตราช โดยมีพราหมณ์ปุโรหิตเป็นผู้ถวายคำแนะนั้น เป็นการบูชาที่ไม่เนื่องด้วยศาสตราและอาชญา ไม่มีการเบียดเบียนชีวิต ซึ่งเมื่อเปรียบเทียบแล้วจะเห็นได้ในข้อที่ว่า อัสสเมธะ การฆ่าม้าบูชายัญ เปรียบเทียบได้กับ ความฉลาดในการบำรุงเรื่องพืชพันธุ์ธัญญาหาร ส่งเสริมการเกษตรและกสิกรรม ปุริสเมธะ การฆ่าคนบูชายัญ เปรียบเทียบได้กับ ความฉลาดในการบำรุงคน ส่งเสริมคนดีที่มีความรู้ความสามารถให้รู้จักทำงานทำหน้าที่ของตน ๆ สัมมาปาสะ เป็นชื่อของยัญทั้งหมดที่เขาทำแท่นบูชาโยนบ่วงให้หล่นลงไปฯ เปรียบเทียบได้กับ ความฉลาดในการดูแลสุขทุกข์ของประชาชนโดยการส่งเสริมอาชีพให้มีอยู่มีกิน วาชเปยยะ เป็นชื่อของยัญที่เป็นการดื่มเครื่องดื่มพิเศษ อาจจะเป็นเลือดหรือสุรา เพื่อพลัง เพื่อชัยชนะ เปรียบเทียบได้กับ การพูดจาด้วยถ้อยคำไพเราะอ่อนหวาน สุภาพนุ่มนวล รู้จักพูดรู้จักชี้แจงแนะนำด้วยถ้อยคำที่เหมาะสม เชื่อถือได้ มีประโยน์ในทางที่จะก่อให้เกิดความสามัคคี นิรัคคฬะ เป็นชื่อของยัญชนิดที่ไม่มีขีดคั่น ฆ่าได้ทุกอย่าง เปรียบเทียบได้กับ การบริหารบ้านเมืองไม่ให้มีเสี้ยนหนามหลักตอ ไม่ให้มีโจรขโมยที่จะมาปล้นบ้านปล้นเรือน[...]
- 3 ใต้ร่มโพธิบทพระพุทธเจ้าตรัสไว้ใน "อนุตตริยสูตร" เปรียบเทียบส่วนเหมือนส่วนต่างให้เห็นถึงว่า สิ่งทั่วไป ๆ ที่ชาวโลกชาวบ้านเขามักจะเข้าใจว่า เป็นการได้ เป็นการเห็น เป็นการฟัง เป็นการบำรุง และเป็นการระลึกถึง เป็นการศึกษา ที่จะคิดว่ามันจะดี ก็ยังไม่เป็นไปเพื่อสัมโพธิ ความรู้ยิ่ง หรือนิพพาน ยังไม่กล่าวว่า ยอดเยี่ยมจริง ๆ แต่การได้ยิน ได้เห็นอะไร การศึกษาเรื่องอะไร ระลึกถึงสิ่งไหน แล้วมันไม่เป็นด้วยสาธารณะกับของคนอื่น เป็นของเฉพาะตน เป็นไปเพื่อปัญญา เป็นไปเพื่อนิพพาน อันนั้นสุดยอดกว่า ถ้าเราไม่เห็นไม่เข้าใจแสดงว่า ความรัก ความศรัทธาตั้งมั่น ยังไม่เต็มที่ ให้ฝึกให้มีความรัก ความศรัทธาตั้งมั่น ในพระพุทธเจ้าและในคำสอน เราจะเห็น จะเข้าใจในข้อนี้ได้ อนุตตริยสูตร ว่าด้วยสิ่งยอดเยี่ยม 6 อย่าง ทัสสนานุตริยะ - การเห็นอันเยี่ยม ได้แก่ การเห็นพระตถาคต และตถาคตสาวกรวมถึงสิ่งทั้งหลายที่จะให้เกิดความเจริญงอกงามแห่งจิตใจ สวนานุตตริยะ - การฟังอันเยี่ยม ได้แก่ การสดับธรรมของพระตถาคต และ ตถาคตสาวก ลาภานุตตริยะ[...]
- 3 ใต้ร่มโพธิบท7 คำถามที่ควรตั้งเป็นคำถาม เพื่อให้ได้คำตอบที่ตรงจุดตรงประเด็น มาในพระสูตรว่าด้วย "การปฏิบัติเพื่อความสมดุลแห่งสมถะและวิปัสสนา" ทั้งนี้ในทางคำสอนของพระพุทธเจ้านั้น ให้เราขยายผลออกไป ไตร่ตรองใคร่ครวญดูตัวเราว่า ในชีวิตประจำวันของเรานั้น การตั้งคำถามให้กับตัวเราเองนี้ มันถูกหรือไม่? เช่นว่า เราเจอเรื่องไม่ดีอย่างใดอย่างหนึ่ง ยกตัวอ่างง่าย ๆ เราไปซื้อก๋วยเตี๋ยวแล้วเจอแมลงสาบอยู่ในนั้น หรือมีคนมาขับรถปาดหน้า เกือบชนกัน ทั้ง ๆ ที่ก็ขับมาดี ๆ ถ้าเราตั้งคำถามว่า ร้านนี้ทำไมมันทำห่วยขนาดนี้ ซึ่งเป็นคำถามที่ผิดตั้งแต่แรก คำตอบที่ออกมาก็จะผิดพลาด คลาดเคลื่อนไปหมด เพราะฉะนั้นการที่เราจะเพ่งจิตของเราไปให้มันถูกที่ถูกทางนั้น เราต้องจดจ่อไปในคำถามให้ถูก เวลามีสถานการณ์ใด ๆ เกิดขึ้น คำถามที่ควรตั้งขึ้นก็คือ ฉันจะรักษาจิตของฉันในกรณีนี้ได้อย่างไร? ก็จะเริ่มมีคำตอบว่า คุณต้องตั้งสติขึ้น ใจเย็น ให้มีเมตตา มีการให้อภัย พอมีคนขับรถปาดหน้า โอ้ว! นี่เป็นโอกาสที่ฉันจะได้ให้แล้ว มีการให้ทานด้วยการให้ทาง แล้วถามว่าเราจะมีคำตอบแบบนี้เกิดขึ้นได้อย่างไร ก็อยู่ที่ว่าการตั้งคำถามกับเหตุการณ์แบบนี้ สถานการณ์แบบนี้ เราจะสร้างกุศลธรรมขึ้นได้อย่างไร? คำถามจึงเป็นสื่งที่สำคัญมาก เราควรฝึกตั้งคำถามที่ถูกกับตัวเองใหม่ เหมือนเช่นตัวอย่างในพระสูตรเรื่องราวสมถะและวิปัสสนา การปฏิบัติเพื่อความสมดุลย์แห่งสมถะและวิปัสสนา ภิกษุ ท. ! ในบรรดาสี่จำพวกนั้น [...]
- 3 ใต้ร่มโพธิบท3 ยอดธง | ความมหัศจรรย์ของแก้ว 3 ประการ (พระรัตนตรัย) คือ พุทโธ ธัมโม สังโฆ นั้นมีมากมาย ด้วยความที่เป็นเหตุเป็นผล และได้ผลตามเหตุที่ทำอย่างถึงที่สุดนั้นจริง ๆ ในเรื่องศีล สมาธิ ปัญญา ที่สามารถสร้างปาฏิหาริย์ให้เกิดขึ้นในจิตใจของเรา ทำให้กิเลสมันลดลง ๆ กำจัดความกลัว ความสะดุ้งหวาดเสียว และความขนพองสยองเกล้าได้ นี่แหละคือ ความมหัศจรรย์ อันเป็นความน่าทึ่งในธรรมวินัยนี้ พระพุทธเจ้าทรงตรัสไว้ใน "ธชัคคสูตร" (คำว่า ธชัคคะ แปลว่า ยอดธง ) ปรารภสงครามระหว่างเทวดากับอสูร โดยเมื่อเหล่าเทวดาทั้งหลายเกิดความกลัว ความสะดุ้งหวาดเสียว ความขนพองสยองเกล้าเกิดขึ้นในการรบ ให้พึงแลดูยอดธงของท้าวสักกะจอมเทวดา หรือของเทวราชที่รองลงมา ความกลัวความสะดุ้งหวาดเสียวนั้นก็จะหายไปได้ ส่วนพระพุทธเจ้าได้ตรัสสอนภิกษุทั้งหลายว่า เมื่อเข้าไปอยู่ในป่าแล้วเกิดความกลัวขึ้น ก็ให้ระลึกถึงพระองค์ หรือระลึกถึงพระธรรม หรือระลึกถึงพระสงฆ์ ให้เจริญพุทธานุสสติ ธรรมานุสสติ สังฆานุสสติ ก็จะทำให้ความกลัวต่าง ๆ ความสะดุ้งหวาดเสียว หายไปได้ ดูกรภิกษุทั้งหลาย[...]
- 3 ใต้ร่มโพธิบทหัวข้อในเอพิโสดนี้ คือ เหตุใดบางคนจึงสามารถมีความอดทนหนักแน่นเข้มแข็ง ปรารภความเพียรได้อย่างไม่ย่อหย่อน ส่วนอีกคนหนึ่งก็ขี้เกียจไม่เอาอะไร พระพุทธเจ้าตรัสไว้ถึง ที่ตั้งแห่งความเกียจคร้าน (กุสีตวัตถุสูตร) และ ที่ตั้งแห่งการปรารภความเพียร (อารัพภวัตถุสูตร) เปรียบเทียบในวาระเดียวกัน มี 8 ข้อ แต่ให้เกิดผลคนละอย่าง แตกต่างกันคนละขั้ว และ การปรารภความเพียรจะต้องมีจิตตั้งไว้จดจ่อกับมรรค 8 เหตุของการตั้งความเพียรได้ เพราะมีการเพ่งจิตไว้ถูกต้องยกตัวอย่างเปรียบเทียบไว้กับ นกมูลไถ ช้างฉัททันต์ และ ม้าอาชาไนย คนเราเปลี่ยนแปลงได้ไม่จำเป็นต้องเหมือนเดิม "เปลี่ยนแปลงได้" หมายความว่า มันเป็นเรื่องราวมาอยู่แล้ว มันเป็นการตั้งจิตมาอยู่แล้ว เราก็เปลี่ยนแปลงตั้งจิตใหม่ จากการที่จะเพ่งไว้อยู่กับความสบายอยู่กับความลำบาก อยู่กับเรื่องราวสิ่งต่าง ๆ ไม่เอาเรามาเพ่งจิตตั้งไว้อยู่กับมรรค 8 จิตของเราตั้งอยู่กับมรรค 8 คือ มีสามัญญผลตั้งอยู่กับผลที่เป็นสามัญญลักษณะที่มันจะเกิดขึ้นตามกระบวนการของมรรค จิตเราจะมีกำลังขึ้นมาทันที แนะนำรับฟังเพิ่มเติมได้ที่ Playlists: เข้าใจทำ (ธรรม) E07S58 , E07S64 , E07S63 , คลังพระสูตร E09S07 ,[...]
- 3 ใต้ร่มโพธิบท“ตราชู” ที่พระพุทธเจ้าทรงตรัสเปรียบเทียบไว้เป็นมาตรฐานสำหรับการปฏิบัติในธรรมวินัยนี้ ได้กล่าวเปรียบเทียบ การที่เราจะมีแบบอย่างที่เป็นเกณฑ์มาตรฐาน (Benchmark) มีการประมาณที่คาดคะเนได้ว่า การปฏิบัติของเราที่จะทำให้มันดี ทำให้มันชอบ ทำให้มันเลิศ ทำให้มันสูง ทำให้มันตรงเยี่ยมนั้น จะเอาที่ตรงระดับไหน จึงยกพระสูตรว่าด้วยความปรารถนา ที่มาใน จตุกนิบาติ ข้อที่ 176 โดยกล่าวถึงการตั้งความปรารถนาโดยยกในเรื่องของสงฆ์คือหมู่ผู้ฟังคำสอน ทั้ง 4 จำพวก อย่างละคู่ รวม 8 บุคคล ได้แก่ พระสารีบุตร-พระมหาโมคคัลลานะ, เขมาภิกษุณี-อุบลวรรณาภิกษุณี, จิตตคหบดี-หัตถกอุบาสก,นางอุตตรา นางขุชชุตรา มาให้ได้ศึกษากันโดยอธิบายแต่ละคนไล่ขึ้นแบบปฏิโลม ซึ่งเมื่อเราได้ตั้งความปรารถนา มีการอ้อนวอนให้ได้ตามความปรารถนานั้น ก็จะต้องมีแบบอย่างเอามาเป็นเกณฑ์มาตรฐาน เอามาไว้เป็นตราชู เอามาใช้เป็นคู่เปรียบในการปฏิบัติของเราให้มันดี เป็น “สุปฏิปันโน” ปฏิบัติให้มันชอบ เป็น “อุชุปฏิปันโน” ปฏิบัติให้มันถูกทาง เป็น “ญายปฏิปันโน” และปฏิบัติให้มันสมควร เป็น “สามีจิปฏิปันโน” และขอฝากไว้ในเรื่องของ "มาตรฐานของการอ้อนวอน" ที่เราจะพัฒนาปรับปรุงตัวเราให้เป็นแบบไหน เวลาที่อธิษฐานขอพร ก็ขอให้เรามีสติปัญญา มีศีล มีสมาธิ มีวิมุตติ[...]
- 3 ใต้ร่มโพธิบทพระธรรมอันพระพุทธเจ้าทรงที่บอกสอนไว้ดีแล้ว ด้วยความรู้ยิ่ง มีเหตุผล และน่าอัศจรรรย์ ทิ้งไว้เป็นมรดกให้เรารักษาปฏิบัติทำให้ดี ซึ่งนั่นจะเป็นความรุ่งเรือง เป็นความดีงาม เป็นประโยชน์เกื้อกูล ไม่ใช่แค่แก่มนุษย์เท่านั้น แต่ยังแก่เทวดาทั้งหลายด้วย ไม่ใช่แก่กลุ่มเดียวนี้เท่านั้น แต่ยังกับกลุ่มอื่น ๆ ทั้งหลายด้วย ดังนั้นเราในฐานะพุทธบริษัทผู้เป็นธรรมทายาท จึงมีหน้าที่ช่วยกันดูแลรักษาธรรมวินัยให้ถูกต้องสืบต่อไป โดยในเอพิโสดนี้ จึงได้ยกหัวข้อในเรื่อง "การข่มขี่ปรัปวาทโดยธรรม" จาก ทิฏฐิสูตร [๙๓] ขึ้นมาเป็นตัวอย่าง ปรารภท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐีกล่าวข่มขี่ถ้อยคำอันเป็นข้าศึกให้ราบคาบไปโดยธรรม พร้อมแสดงธรรมที่มีความน่าอัศจรรย์แก่เหล่าอัญญเดียรถีย์ปริพาชกในเรื่องของทิฐิได้ และอย่างไรที่เรียกว่า วิธีข่มขี่ถ้อยคำอันเป็นข้าศึกให้ราบคาบไปโดยธรรม "ภิกษุใดแลเป็นผู้มีธรรมอันไม่หวั่นไหวในธรรมวินัยตลอดกาลนาน ภิกษุ แม้นั้นพึงข่มขี่อัญญเดียรถีย์ปริพาชกเหล่านั้น ให้เป็นการข่มขี่ด้วยดีโดยชอบธรรมอย่างนี้ เหมือนท่านอนาถบิณฑิกคฤหบดีข่มขี่แล้ว ฉะนั้น"…ทิฏฐิสูตร [๙๓] แนะนำรับฟังเพิ่มเติมได้ที่ Playlists: เข้าใจทำ (ธรรม) S07E21 , คลังพระสูตร S08E32 , #อาการที่แสดงธรรม 3 อย่าง
- 3 ใต้ร่มโพธิบทในเอพิโสดนี้ได้ยกวิธีการพิจารณาอสุภะ ด้วยอาการ 11 อย่างขึ้นมาอธิบาย โดยพิจารณาเจาะจงลงมาที่หัวข้อ "ซากศพในสภาพต่าง ๆ" นั่นคือ อสุภะ 10 ซึ่งแต่ละอย่างนั้นมีรายละเอียดที่จะให้เกิดความเหมาะสม เพื่อให้เกิดความคลายกำหนัดในผู้มีราคจริตในแบบต่าง ๆ ที่แตกต่างกันไป ดังนั้นจึงให้พิจารณามาในหัวข้อเหล่านี้ว่า มันคืออะไร และเหมาะกับผู้มีความกำหนัดยินดีในประเภทไหน วิธีพิจารณานั้น เราสามารถนึกเป็นภาพขึ้นในใจก็ได้ โดยค้นหาดูภาพประกอบได้จากหนังสือ ยูทูป หรือจากในอินเตอร์เน็ต ที่เมื่อเราเห็นดูได้ นี้จึงเป็นองค์แห่งกรรมฐานในการที่จะตั้งไว้ พิจารณาให้มันถูกจุดถูกที่ ให้มันเป็นสัปปายะ จะทำให้มีการปล่อยวางได้เร็ว ทำให้จิตของเราสามารถเห็นด้วยปัญญาที่จะคลายความกำหนัดยินดีในกาย ปล่อยวางกายนี้ได้ "ก็อสุภะนี้แม้ทั้ง ๑๐ อย่าง โดยลักษณะก็มีอย่างเดียวเท่านั้น ด้วยว่า อสุภะแม้ ๑๐ อย่างนี้มีความเป็นของปฏิกูลโดยเป็นของไม่สะอาดมีกลิ่นเหม็น น่ารังเกียจเท่านั้นเป็นลักษณะ โดยลักษณะนี้ อสุภะนี้นั้นจึงไม่ปรากฏในสรีระที่ตายแล้วอย่างเดียว ย่อมปรากฏแม้ในร่างกายที่ยังมีชีวิตอยู่ เหมือนพระมหาติสสเถระผู้อยู่ในวิหารเจติยบรรพตเกาะสีหลผู้เห็นกระดูกฟัน และเหมือนปรากฏแก่สามเณรอุปัฏฐาก พระสังฆรักขิตเถระซึ่งแลดูพระราชาผู้ประทับเหนือคอช้าง ฉะนั้น เพราะว่าร่างกายที่ตายแล้วเป็นอสุภะฉันใด แม้สรีระที่กำลังเป็นอยู่ก็เป็นอสุภะฉันนั้นนั่นแหละ แต่ว่าในร่างกายที่ยังเป็นอยู่นี้ ลักษณะแห่งอสุภะย่อมไม่ปรากฏ เพราะเครื่องประดับจรมาปิดบังไว้ ฉะนี้แล."…อสุภกถา อรรถกถา ธรรมสังคณีปกรณ์ จิตตุปปาทกัณฑ์[...]
- 3 ใต้ร่มโพธิบทเป็นเนื้อหาที่ต่อจากเอพิโสดที่แล้วในเรื่องของขันธ์ 5 ซึ่งประเด็นที่เชื่อมต่อกันมาก็คือ ขันธ์ 5 ที่เราเข้าใจแล้วว่า ต้องทำความกำหนดรู้ ทำความเข้าใจ ยกตัวอย่างการเรียนภาษา เราก็ไม่รู้ในภาษานั้น ๆ เราก็ฝึกเรียน ตอนแรกมันไม่รู้ สัญญามันจึงต้องเรียนรู้เอา การเรียนรู้ก็คือ สัญญาแบบหนึ่งปรุงแต่งเปลี่ยนแปลงให้สำเร็จรูปไปเป็นสัญญาอีกแบบหนึ่งขึ้นมา การปรุงแต่งนั้นคือ สังขาร ดังนั้นสังขารก็คือการเรียนรู้ นั่นแหละ การฝึกทักษะความรู้ การท่องจำศัพท์ต่าง ๆ เกิดเป็นสัญญาใหม่ ซึ่งเมื่อทำให้มีสังขารมีสัญญา ๆ ขึ้นมา ทำให้เกิดขึ้นบ่อยๆ โดยเอาสมาธิเชื่อมเข้าไป สัญญาสังขารนั้นมันจะเป็นจะเกิดเป็นญาณ เป็นความรู้เกิดขึ้นมา เราจะสามารถโต้ตอบภาษานั้น ๆ ได้โดยอัตโนมัติ ญาณจึงเกิดขึ้นได้ในทุกระดับ รวมถึงทักษะศิลปวิชาชีพต่าง ๆ จะสามารถแทงตลอดในเรื่องนั้น ๆ ได้ฉับพลันทันที เปรียบไว้เหมือนกับนักเลงรถ ชี้ไปตรงไหนมีเหตุเกิดขึ้นอย่างไรเขาจะรู้ส่วนประกอบต่าง ๆ ของรถทั้งหมด โดยไม่ต้องเตรียมการไว้ก่อน เพราะนั่นคือญาณของเขา ที่เกิดจากฝึกทำ พูด คิด อยู่เป็นประจำ สัญญาจึงเกิดก่อน ญาณจึงเกิดตามมา ในที่นี้เราศึกษาเรื่องของขันธ์ 5 ก็เพื่อจะให้เกิดญาณในขันธ์[...]
- 3 ใต้ร่มโพธิบทในช่องทางใจของเรา เวลามีอะไรมากระทบ ถ้ามีสติรักษาไว้ ไม่ให้เกิดความระคายเคืองขึ้นที่จิต มันก็จะไม่ปรุงแต่งอะไรไปในทางอกุศล หรือถ้าเป็นไปในทางความชอบ กระเป๋าใบนี้ รองเท้าคู่นี้ ชอบมากเลย อันนี้เป็นสัญญา เป็นความรู้สึกที่เกิดขึ้น ซึ่งถ้าชอบแล้วไม่มีสติ จิตมันก็จะเผลอเพลิน ลุ่มหลง ปรุงแต่งไป ควักเงินซื้อเลย กระเป๋าใบละสามสี่แสน ใครว่าแพง คนอื่นเขาหิ้วใบละล้าน ไม่แพงหรอก คิดนึกปรุงแต่งไป การคิดนึกปรุงแต่งเป็นมโนสังขาร การหยิบเงินยื่นออกไปเป็นกายสังขาร จิตนี้ก็ไม่ได้รับการรักษา (จิตนี้อยู่ในช่องทางคือใจ, ขันธ์ 5 ไม่ใช่จิต) จิตไปยึดถือขันธ์ 5 โดยความเป็นตัวตน เข้าไปยึดถือเวทนา ดีมาก ชอบมาก เป็นของฉัน มีในฉัน ฉันเป็นสิ่งนี้ สิ่งนี้มีในฉัน ฉันมีในสิ่งนี้ เป็นไปแบบนี้ รูปด้วย ข้าวของสิ่งต่าง ๆ ด้วย ปรุงแต่งไปแบบนี้ นี้คือเบื้องต้นในการทำงานของขันธ์ 5 ที่มีลักษณะอย่างนี้อยู่ตลอดเวลา ไม่ว่าคุณจะอยู่ที่ไหนหรือทำอะไร แม้แต่นอนหลับอยู่หรือนอนไม่หลับ ขันธ์ 5 ก็ยังมีอยู่ ทำงานแบบนี้อยู่ตลอด เราจะเข้าใจมันไหม?[...]
- 3 ใต้ร่มโพธิบทสืบเนื่องจากคลังพระสูตรที่ได้ยก "ทักขิณาวิภังคสูตร" ขึ้นมา กล่าวถึงทักษิณาปาฏิปุคคลิก 14 ไว้ และในงานบุญกฐินที่ผ่านมา จึงยกหัวข้อธรรมในเรื่องของ "จุดสูงสุดของความพรั่งพร้อมแห่งสงฆ์" ขึ้นมาทำความเข้าใจในรายละเอียดกัน "กฐิน" เป็นเรื่องที่เกี่ยวกับผ้า เกี่ยวกับสงฆ์คือหมู่ที่มีความบริสุทธิ์บริบูรณ์ทั้งสองฝ่าย ไม่ได้ขึ้นอยู่ที่ว่ายอดเงินคุณจะได้เท่าไหร่ ไม่ได้อยู่ที่ว่าคนมาร่วมงานจะมีมากไหม มีอาหารการกินอุดมสมบูรณ์หรือไม่ แต่ขึ้นอยู่กับเงื่อนไขคือ ความบริสุทธิ์ของทั้งของฝ่ายนักบวชและฝ่ายคฤหัสถ์รวบรวมกันมาแล้ว โดยฝ่ายผู้ให้มีศรัทธาไม่มีความตระหนี่ มีมากก็ให้มาก ให้ด้วยความพอใจไม่หวงแหนทรัพย์ที่มีอยู่ บางคนทุ่มสุดตัวเลยด้วยซ้ำ มีหลัก ๆ นั่นคือผ้า สิ่งอื่น ๆ นั้นก็เป็นองค์ประกอบ ตามมาเป็นความงดงามในการงานแบบนี้ ถ้ามีโอกาสเจอหมู่ที่มีความพรั่งพร้อมแบบนี้ทั้งเหล่านักบวชและฝ่ายคฤหัสถ์ เราจะบูชาด้วยอะไร? "หมู่" นี้ก็หมายถึงตัวเราด้วย ถ้าเราบูชาด้วยความตระหนี่ หมู่นั้นก็มีความบริสุทธิ์น้อยลง แต่ถ้าเราบูชาด้วยศรัทธา อันนี้ก็ดีขึ้นมา มีศรัทธาแล้วมีศีลหรือไม่ มีศีลแล้วก็ดีขึ้นไปอีก มีศีลแล้วคุณรู้จักข้อธรรมในการที่จะแบ่งจ่ายทรัพย์หรือไม่ ถ้ารู้จักการแบ่งจ่ายทรัพย์ที่ดีให้ของที่มีอยู่ไม่ซ่อนของของตน ไม่มีความตระหนี่รู้จักการแบ่งจ่ายทรัพย์ อันนี้ก็ดีขึ้นไปอีก ดีกว่านั้นก็ยังมีอีกอยู่ที่ว่าเราจะบูชาด้วยคุณธรรม ด้วยข้าวของสิ่งของอย่างใด ๆ ก็เพิ่มเติมเข้าไป ให้เราตั้งศรัทธาไว้ถ้าเผื่อว่าเรามีความตระหนี่คิดว่าฉันไม่มีฉันทำแค่นี้ อันนี้คุณจะพลาดโอกาสแต่ถ้าเราตั้งศรัทธาไว้อย่างดี ไล่ไปตามลำดับมีการสละความตระหนี่ บูชาความพรั่งพร้อมสูงสุดแห่งสงฆ์ด้วยสิ่งที่เป็นสูงสุดของเราอันนี้มันจะเป็นความดีงามมาก "พระพุทธเจ้าทั้งหลายได้ตรัสทานใดว่าอย่างยิ่ง ยอดเยี่ยม พระผู้มีพระภาคได้ทรงสรรเสริญการแจกจ่ายทานใดว่าอย่างยิ่ง ยอดเยี่ยม[...]
- 3 ใต้ร่มโพธิบทพระพุทธเจ้าทรงตรัสไว้ใน "อาทิยสูตร" ว่าด้วยหลักการใช้โภคทรัพย์ให้เป็นประโยชน์ 5 ข้อ ดังนี้ "ดูกรคฤหบดี ประโยชน์ที่จะพึงถือเอาแต่โภคทรัพย์ ๕ ประการนี้แล ถ้า เมื่ออริยสาวกนั้นถือเอาประโยชน์แต่โภคทรัพย์ ๕ ประการนี้ โภคทรัพย์หมดสิ้นไป อริยสาวกนั้นย่อมมีความคิดอย่างนี้ว่า เราได้ถือเอาประโยชน์แต่โภคทรัพย์นั้นแล้ว และโภคทรัพย์ของเราก็หมดสิ้นไป ด้วยเหตุนี้ อริยสาวกนั้น ย่อมไม่มีความ เดือดร้อน ถ้าเมื่ออริยสาวกนั้นถือเอาประโยชน์แต่โภคทรัพย์ ๕ ประการนี้ โภคทรัพย์เจริญขึ้น อริยสาวกนั้นย่อมมีความคิดอย่างนี้ว่า เราถือเอาประโยชน์ แต่โภคทรัพย์นี้แล้ว และโภคทรัพย์ของเราก็เจริญขึ้น อริยสาวกนั้นย่อมไม่มี ความเดือดร้อน อริยสาวกย่อมไม่มีความเดือดร้อนด้วยเหตุทั้ง ๒ ประการ ฉะนี้แล ฯ นรชนเมื่อคำนึงถึงเหตุนี้ว่า เราได้ใช้จ่ายโภคทรัพย์เลี้ยงตน แล้ว ได้ใช้จ่ายโภคทรัพย์เลี้ยงคนที่ควรเลี้ยงแล้ว ได้ผ่านพ้น ภัยที่เกิดขึ้นแล้ว ได้ให้ทักษิณาอันมีผลสูงเลิศแล้ว ได้ทำ พลี ๕ ประการแล้ว และได้บำรุงท่านผู้มีศีล สำรวมอินทรีย์ ประพฤติพรหมจรรย์แล้วบัณฑิตผู้อยู่ครองเรือน พึงปรารถนาโภคทรัพย์เพื่อประโยชน์ใด ประโยชน์นั้นเราก็ได้บรรลุแล้ว เราได้ทำสิ่งที่ไม่ต้องเดือดร้อนแล้ว ดังนี้ชื่อว่าเป็นผู้ดำรงอยู่ในธรรมของพระอริยะ[...]
- 3 ใต้ร่มโพธิบทพระพุทธเจ้าได้ทรงแบ่งบุคคลออกเป็น 10 ประเภท ตรัสไว้ใน "กามโภคีสูตร" ว่าด้วยผู้ที่ยังบริโภคกามอยู่ ปรารภอนาถบิณฑิกเศรษฐีที่มาวัดทุกวัน แต่ไม่ถามอะไร ด้วยอัธยาศรัยของพระพุทธองค์จึงทรงเมตตาตรัสแสดงธรรมแก่เศรษฐีให้ได้ฟัง โดยแจกแจงตามเกณฑ์ 4 อย่าง คือในการหา, การใช้, การสละ และความกำหนัด สำหรับผู้ที่ยังยินดีในการบริโภคกาม นั้นหมายถึง ยังมีความยินดีพอใจในวัตถุกามอยู่ ความพอใจนั้นคือ "กิเลสกาม" เป็นกิเลสกามชนิดที่ยังต้องไปแสวงหาวัตถุกามอยู่ ถ้ากิเลสกามที่อยู่ในใจมันมากจะเป็นไปโดยการแสวงหาที่ไม่ชอบธรรม แต่ในทางกลับกันถ้ากิเลสกามมีน้อยมาก ก็จะเป็นไปเพื่อการหลีกออกจากาม ประเด็นในที่นี้คือ เราจะประคองตนอย่างไรให้มีความเลิศ ให้มีความดี ให้เป็นอยู่ตามธรรมตามวินัย เป็นบุคคลประเภที่ 10 ที่หาทรัพย์มาโดยความชอบธรรม มีการใช้จ่ายทำตนให้มีความสุขอิ่มหนำ มีการแบ่งโภคทรัพย์บำเพ็ญบุญ และไม่กำหนัด ไม่ลุ่มหลงมั่วเมา มีปัญญาเห็นโทษ มีกำลังจิตกำลังใจในการที่จะสละออกในโทษของกามทั้งหลาย เรียกว่าเป็น "ผู้บริโภคกามชั้นเลิศ" ได้ "ดูกรคฤหบดี กามโภคีบุคคล ๑๐ จำพวกนี้แล มีปรากฏอยู่ในโลก บรรดากามโภคีบุคคล ๑๐ จำพวกนี้ กามโภคีบุคคลผู้แสวงหาโภคทรัพย์โดยชอบธรรม โดยไม่ทารุณ ครั้นแสวงหาได้แล้ว ย่อมเลี้ยงตนให้เป็นสุข ให้อิ่มหนำ แจกจ่าย กระทำบุญ และเป็นผู้ไม่กำหนัด[...]
- 3 ใต้ร่มโพธิบท"ปัญญาสัมปทา" หมายถึง การเห็นความเกิดขึ้นความดับไป อันเป็นปัญญาเครื่องชำแลกกิเลส ทำจิตให้ปราศจากนิวรณ์ เห็นตามความเป็นจริง จิตใจที่เป็นแบบนี้มีความสงบแน่นอน จึงกล่าวถึงบุคคลประเภทนี้ว่าแม้อยู่แค่เพียงวันเดียว คืนเดียว ยังมีค่ามากกว่าผู้ที่อยู่ตั้งร้อยปี แต่เป็นผู้ที่เผลอเพลินไปในอดีตบ้าง อนาคตบ้าง อย่างนี้สู้คนที่ไม่เผลอเพลินไปในอดีต อนาคต ปัจจุบัน มีการเตรียมการ มีความไม่ประมาท ความเป็นอยู่วันเดียวคืนเดียวของเขา ด้วยสติปัญญา ด้วยความเพียร แบบนี้ดีกว่ามาก พระพุทธเจ้าทรงตรัสไว้ใน "ภัทเทกรัตตสูตร" ถึงความเป็นผู้ที่มีปกติประกอบอยู่ด้วยความเพียร ด้วยสติสัมปชัญญะ เป็นผู้ที่เสนาแห่งมัจจุมารทำอะไรไม่ได้ ทรงเรียกผู้ที่เป็นแบบนี้ว่า "ผู้มีราตรีหนึ่งเจริญ" เวลาที่เรามาทำการใคร่ครวญพิจารณาเรื่องธรรมนี้ ต้องทำด้วยจิตที่เป็นสมาธิ เจาะลงไปทีละคำ ทีละตัวอักษรไล่เรียงไป ความรู้ของเราจะมีความกว้างขวางมีความเจริญขึ้นมา ในเรื่องราวตรงนี้ เป็นหัวข้อให้เราใคร่ครวญคิดนึกแล้วทำความเข้าใจ กิเลสเราจะลด สติปัญญาเราจะเพิ่ม ความเป็นอยู่แบบนี้แม้วันเดียวคืนเดียวไม่เสียเปล่า แนะนำรับฟังเพิ่มเติมได้ที่ Playlists: เข้าใจทำ (ธรรม) Ep.65
- 3 ใต้ร่มโพธิบทพระพุทธเจ้าทรงตรัสพระคาถา 16 บทว่าด้วยเรื่องของทรัพย์สมบัติ (นิธิ) แก่กุฎุมพีคนหนึ่งในกรุงสาวัตถี ซึ่งเป็นผู้มีทรัพย์มากและมีศรัทธามากด้วย เพื่อแสดงถึงขุมทรัพย์ที่แท้จริง และเพื่ออนุโมทนาวิธีการฝังขุมทรัพย์ของกุฎุมพีผู้นั้น การฝังทรัพย์สมบัติ การออมทรัพย์ การออมบุญ คืออย่างเดียวกัน เราจึงต้องรู้จักแยกแยะทรัพย์ออกเป็นทั้งหมด 4 อย่าง แบ่งเป็น 2 ส่วน คือ ถาวรนิธิ ขุมทรัพย์อันถาวร เคลื่อนที่ด้วยตนเองไม่ได้ เช่น ที่ดิน เรือกสวนไร่นา เงินทอง ชังคมนิธิ ขุมทรัพย์ที่เคลื่อนที่ได้ด้วยตนเอง เช่น ทาสหญิง ทาสชาย ช้าง โค ม้าลา แพะ แกะ ไก่ สุกร เป็นต้น อังคสมนิธิ ขุมทรัพย์ที่ติดตัว คือ วิชาความรู้ อันเป็นบ่อเกิดแห่งศิลปะประการต่าง ๆ อนุคามิกนิธิ ขุมทรัพย์ที่ติดตามตนไปได้ ในที่นี้กล่าวคือ บุญที่สำเร็จได้ด้วยทาน ศีล สัญญมะ (ความสำรวม) และ ทมะ (การรู้จักข่มจิตข่มใจตนเอง[...]
- 3 ใต้ร่มโพธิบทพระพุทธเจ้าทรงตรัสไว้ใน "ขตสูตร" เปรียบเทียบในสองนัยยะ ถึงคุณสมบัติและการประกอบด้วยธรรมของบุคคล 2 กลุ่มไว้ในเรื่องของการสรรเสริญ การติเตียน และความเลื่อมใส และว่าด้วยเรื่องการประพฤติปฏิบัติต่อบุคคล 4 ซึ่งเป็นผู้มีอุปการะต่อเรา โดยกลุ่มหนึ่งเป็นคนพาล ไม่ฉลาดเฉียบแหลม ไม่รู้จักคุ้มครองรักษาตน หาโทษใส่ตัว มีบาปกรรม ถูกเขาติเติยนได้ จึงเป็นบุคคลผู้หาโทษ และประสบสิ่งที่มิใช่บุญเป็นอันมาก ส่วนอีกกลุ่มหนึ่งเป็นบัณฑิต ฉลาดเฉียบแหลม รู้จักคุ้มครองรักษาตน สร้างบุญ ทำประโยชน์ ทำสิ่งที่ไม่เกิดโทษแก่ตน จึงเป็นบุคคลผู้หาโทษมิได้ และประสบสิ่งที่เป็นบุญเป็นอันมาก ให้รู้จักสรรเสริญ รู้จักเสื่อมใส รู้จักที่จะเข้าไปปรนนิบัติดูแลถ้าเป็นมารดาบิดา รู้จักฟังคำสอน ปฏิบัติตามคำสอน ถวายอามิสทาน อุปัฏฐากอุปถัมภ์ในเหล่าสาวกของพระพุทธเจ้า หรือในพระพุทธเจ้าก็ตาม แค่ว่าเรายกประคองอัญชลี (ยกมือขึ้นไหว้) ก็ชื่อว่าในเรือนนั้นมี อัญชลีกรณียบุคคล ให้ทานด้วยก็ชื่อว่า ทักขิเณยบุคคล ขตสูตรที่ 1 กล่าวถึง บุคคลผู้ประกอบด้วยธรรม 4 ประการ เป็นคนพาล ไม่เฉียบแหลม ไม่ใช่สัตบุรุษ ย่อมคุ้มครองตนที่ปราศจากคุณสมบัติ ย่อมเป็นผู้ประกอบไปด้วยโทษ นักปราชญ์ติเตียน และย่อมประสบกรรมมิใช่บุญเป็นอันมาก คือ ไม่ใคร่ครวญสืบสวนให้รอบคอบแล้ว กล่าวสรรเสริญคุณของผู้ไม่ควรสรรเสริญ ไม่ใคร่ครวญสืบสวนให้รอบคอบแล้ว กล่าวติเตียนผู้ที่ควรสรรเสริญไม่ใคร่ครวญสืบสวนให้รอบคอบแล้ว ยังความเลื่อมใสให้เกิดในฐานะที่ไม่ควรเลื่อมใส ไม่ใคร่ครวญสืบสวน ให้รอบคอบแล้ว ยังความไม่เลื่อมใสให้เกิดในฐานะที่ควรเลื่อมใส ในทางกลับกัน เมื่อบุคคลใคร่ครวญสืบสวนรอบคอบแล้วประกอบด้วยธรรม 4[...]
- 3 ใต้ร่มโพธิบทสืบเนื่องจากช่วงขุดเพชรในพระไตรปิฏกได้กล่าวถึงการสนทนาธรรมระหว่างวิสาขอุบาสกและพระธรรมทินนาเถรี ใน จูฬเวทัลลสูตร ซึ่งเป็นเรื่องราวที่น่าสนใจมาก ๆ โดยเฉพาะในเรื่องของการเข้าและการออกจากสมาธิของเหล่านักปฏิบัติทั้งหลายที่ควรจะต้องมาทำความเข้าใจในจุดนี้ เจาะลงไปในเรื่องของ สมาธิและสังขาร พระพุทธเจ้าได้เปรียบเทียบไว้ในที่อื่น ๆ เปรียบไว้เหมือนกับน้ำที่ไหลมาจากภูเขาที่มีร่องขอบกั้นเป็นแนวตามธรรมชาติ ทำให้น้ำที่ไหลลงมานั้นแรงและเร็ว แต่ถ้าว่าไม่มีขอบคันกั้นเอาไว้ มันก็จะไหลแตกกระจายไป ไม่แรงไม่เร็วไหลรั่วไปในทุกทิศทุกทาง เหมือนเวลาที่เราเสียบสายยางจับต่อกับก็อกน้ำ เพื่อที่จะล้างรถบ้าง รดน้ำต้นไม้บ้าง ถ้ามีรูรั่วอยู่ที่ปลายสายยางน้ำนั้น น้ำก็จะไม่แรง แต่ถ้าเราอุดรูรั่วทั้งหมดมันจะดี เช่นเดียวกันจิตของเรามันรั่วไหลไปตามตา หู จมูก ลิ้น กาย และใจได้ จิตรั่วออกไปทางช่องทางใจได้ รั่วออกไปทางธรรมารมณ์ ไหลไปตามความคิดนึกเป็นวจีสังขารบ้าง เป็นจิตสังขารบ้าง เราจึงต้องมีการปิดกั้น ซึ่งลักษณะการปิดกั้นได้นั่นเป็นเพราะ "สติ" สติจึงเป็นเหตุเกิด เป็นนิมิตร เป็นสิ่งที่จะต้องเกิดขึ้นก่อน พระพุทธเจ้าเคยตรัสไว้ว่า "บุคคลที่มีสัมมาสติแล้วจะสามารถทำสัมมาสมาธิให้เกิดขึ้นนั้น เป็นฐานะที่มีได้ เป็นได้" แนะนำรับฟังเพิ่มเติมได้ที่ Playlists: ขุดเพชรในพระไตรปิฎก Ep.36 , คลังพระสูตร Ep.61 นิทานพรรณนา Ep.40
- 3 ใต้ร่มโพธิบท"…คนเรานี้มีธรรมที่ควรตั้งไว้ในใจ ๔ นั้น เราอาศัยอะไรกล่าวแล้ว คือ มีปัญญาเป็นธรรมควรตั้งไว้ในใจ มีสัจจะเป็นธรรมควรตั้งไว้ในใจ มีจาคะเป็นธรรมควรตั้งไว้ในใจ มีอุปสมะ (ความเข้าไปสงบราคะ โทสะ โมหะ เป็นความสงบอันประเสริฐอย่างยิ่ง) เป็นธรรมควรตั้งไว้ในใจ ข้อที่เรากล่าวดังนี้ว่า คนเรานี้มีธรรมที่ควรตั้งไว้ในใจ ๔ นั้น เราอาศัยธรรมที่ควรตั้งไว้ในใจ ดังนี้ กล่าวแล้ว ฯ ก็ข้อที่เรากล่าวดังนี้ว่า ไม่พึงประมาทปัญญา พึงตามรักษาสัจจะ พึงเพิ่มพูนจาคะ พึงศึกษาสันติเท่านั้น นั่นเราอาศัยอะไรกล่าวแล้ว . . .ธาตุวิภังคสูตร" พระพุทธเจ้าแสดงธรรมไว้กับพระเจ้าปุกกสาติในหัวข้อ "ธรรมะที่ควรตั้งไว้ในใจ 4 ข้อ" ได้แก่ ปัญญา อธิบายถึงความไม่ประมาทปัญญาในธาตุทั้ง 6 อย่าง รู้ชัดใน ธาตุทั้ง 6 อย่างนี้ว่า "นั่นไม่ใช่ของเรา นั่นไม่ใช่เป็นเรา นั่นไม่ใช่ตัวตนของเรา" สัจจะ คือความจริงอันประเสริฐ คือเรื่องของนิพพาน จึงเป็นสิ่งที่ต้องตามรักษา ทำให้แจ้งทำให้ถึงขึ้นมา รักษาได้โดยไม่ประมาทปัญญา จาคะ ทิ้งความยึดถือคือสละกิเลสออกแล้ว[...]
- 3 ใต้ร่มโพธิบทเมื่อมีเรื่องราวหรือผัสสะอะไรต่าง ๆ ที่เข้ามาในชีวิต มันก็เป็นเรื่องธรรมดาของโลก มีผัสสะที่น่าพอใจบ้าง ไม่น่าพอใจบ้าง ที่เป็นความสุขบ้าง ความทุกข์บ้างแล้ว เราเจอะเจอแล้วทรงจิตของเราให้อยู่ในมรรคให้ดี อันนี้เป็นธรรมดา เป็นข้อสอบที่ผู้ปฏิบัติธรรมทุกคนที่ได้ตัดสินใจแล้วว่า ชีวิตนี้ ฉันจะอยู่ในทาง ฉันจะอยู่ในมรรคนี้ต้องเจอแน่นอน…เพราะบททดสอบมีอยู่ต่อเนื่อง ผัสสะมีมากระทบอยู่ตลอดเวลา เราจึงต้องฝึกแล้ว ฝึกอีก พระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 6 ได้ทรงพระราชนิพนธ์เอาไว้ว่า "ทางไปสู่เกียรติศักดิ์ จะประดับดอกไม้ หอมหวาน ยวนจิตไซร้ ไป่มี" ซึ่งสอดคล้องกับคำสอนของพระพุทธเจ้าที่ว่า "ขึ้นชื่อว่าความสุข ความสำเร็จแล้ว ใคร ๆ จะบรรลุได้โดยง่าย ๆ คือ ได้มาโดยสบาย ๆ เป็นไม่มี ความสุขความสำเร็จ เป็นสิ่งที่ใคร ๆ บรรลุได้ด้วยความพยายาม ได้ด้วยความลำบาก ด้วยความยาก" และถ้าเมื่อเราเจอเรื่องราวที่เป็นความสุขบ้าง ความทุกข์บ้างแล้ว สิ่งที่จะรักษาให้เราอยู่ตามทางได้ นั่นคือ มรรค 8 เราจะมีกำลังใจปฏิบัติตามมรรค 8 ได้ เราต้องมีความมั่นใจ มีศรัทธาใน พุทโธ ธัมโม[...]
- 3 ใต้ร่มโพธิบท"เธอพึงปฏิบัติสติปัฏฐานด้วยคิดว่า เราจักรักษาตน พึงปฏิบัติสติปัฏฐานด้วยคิดว่า เราจักรักษาผู้อื่น บุคคลผู้รักษาตน ย่อมชื่อว่ารักษาผู้อื่น บุคคลผู้รักษาผู้อื่น ย่อมชื่อว่ารักษาตน"…เสทกสูตรที่ ๑ บุคคลผู้รักษาตน ย่อมชื่อว่ารักษาผู้อื่น เป็นอย่างไร? รักษาผู้อื่นด้วยการซ่องเสพ ด้วยการเจริญ ด้วยการกระทำให้มาก บุคคลผู้รักษาผู้อื่น ย่อมชื่อว่ารักษาตน เป็นอย่างไร? รักษาตนด้วยความอดทน ด้วยความไม่เบียดเบียน ด้วยความมีจิตประกอบด้วยเมตตา ด้วยความเอ็นดู คนที่ปฏิบัติธรรมนั้นไม่ใช่ว่า ชีวิตจะราบรื่นไม่มีอุปสรรคอะไรเลย ผัสสะที่ไม่น่าพอใจ มันก็มีเป็นธรรมดา แต่พอมีแล้วเราจะรักษาสติของเราได้หรือไม่ ถ้าเรารักษาสติไม่ได้ มันจะเหมือนถูกยิงด้วยลูกศร 2 ดอก ถูกกายด้วย ถูกใจด้วย แต่ถ้ารักษาสติอยู่ได้ ก็เหมือนถูกยิงด้วยลูกศรดอกเดียว คือทางกาย ไม่ถูกยิงในทางใจ การที่เรารักษาตนเอง จะมีผลเป็นการรักษาผู้อื่น หรือ จะเอาผู้อื่นเป็นหลัก ก็จะมีผลเป็นการรักษาตนเองด้วย ไม่ใช่ของฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งเท่านั้น แต่ยังทั้ง 2 ฝ่ายให้เกิดประโยชน์ทั้ง 2 ด้าน เปรียบเหมือนนักแสดงกายกรรม ถ้ามีอะไรเกิดขึ้นในชีวิตของเราแล้ว จะสามารถรักษาทั้ง 2 ฝ่ายได้ จะต้องเจริญสติปัฏฐานทั้ง 4 [...]
- 3 ใต้ร่มโพธิบท"…ทองคำปลอมยังไม่เกิดขึ้นในโลกตราบใด ตราบนั้นทองคำแท้ก็ยังไม่หายไป และเมื่อใดทองคำปลอมเกิดขึ้นในโลก เมื่อนั้นทองคำแท้จึงหายไปฉันใด สัทธรรมปฏิรูปยังไม่เกิดขึ้นในโลกตราบใด ตราบนั้นสัทธรรมก็ยังไม่เสื่อมสูญไป แต่เมื่อใดสัทธรรมปฏิรูปเกิดขึ้นในโลก เมื่อนั้นสัทธรรมย่อมเสื่อมสูญไป ฉันนั้นเหมือนกัน. ปฐวีธาตุ (ธาตุดิน) ทำสัทธรรมให้เสื่อมสูญไปไม่ได้ อาโปธาตุ (ธาตุน้ำ) เตโชธาตุ (ธาตุไฟ) วาโยธาตุ(ธาตุลม) ก็ทำสัทธรรมให้เสื่อมสูญไปไม่ได้ ที่แท้โมฆบุรุษในโลกนี้ ต่างหากเกิดขึ้นมาย่อมทำให้สัทธรรมเสื่อมสูญไป เปรียบเหมือนเรือจะอับปางก็เพราะ ต้นหนเท่านั้น สัทธรรมย่อมไม่เสื่อมสูญไป ด้วยประการฉะนี้."…สัทธัมมัปปฏิรูปกสูตร ว่าด้วยสัทธรรมปฏิรูป เราจึงต้องทำการศึกษา เล่าเรียน ทำความเข้าใจอย่างดีในบทพยัญชนะที่มันปฏิรูปไปแล้วเปลี่ยนแปลงไปแล้ว ที่มันปรุงแต่งไปแล้ว…แม้ในสิ่งที่ปฏิรูปมาแล้วนั้น ถ้าเราใส่ใจทำความศึกษาให้ดีลึกลงไปในรายละเอียดทั้งส่วนที่เป็นหัวข้อและตัวแม่บท เราจะสามารถแยกแยะของปลอม แยกแยะของจริงได้ โดยไล่มาตั้งแต่เรื่องของคำสอน ไปจนถึงเรื่องของการปฏิบัติ ไปจนถึงเรื่องของผลที่เกิดขึ้น มันมีปลอมมาในทุกระดับ ของปลอมอยู่ตรงไหน ปฏิรูปอยู่ตรงไหน ของจริงคือความถูกต้องก็อยู่ตรงนั้นได้เหมือนกัน เราจะรู้ถึงของจริงโดยการผ่านทางของปลอมนี้ได้เหมือนกัน ถ้าเราปฏิบัติให้มันชอบตามสิกขาบทที่พระพุทธองค์ได้ทรงกำหนดไว้ มีความเคารพยำเกรงในพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ ในสิกขาบท ในสมาธิ สิ่งนี้จะทำให้พระสัทธรรมตั้งอยู่ได้ ให้เรามาช่วยกันรักษาศาสนานี้ที่พระพุทธเจ้าได้ทิ้งเป็นมรดกไว้ให้ จากการแลกมาด้วยเลือดด้วยเนื้อของพระองค์เอง "เราจะพบของจริงได้ก็อยู่ในของปลอมนี่แหละ กายของเราที่มันว่าสวยว่างาม ดูจริง ๆ มันสวยงามหรือไม่ ของจริงเราเห็นได้อยู่ในของปลอมนี้[...]
- 3 ใต้ร่มโพธิบทอ้างอิงมาใน อัมพัฏฐสูตร และ ปราภวสูตร จะเห็นถึง พุทธลีลาในการสอนของพระพุทธเจ้าในแต่ละครั้ง ที่มีลักษณะเทศนาวิธี 4 คือ 1) สันทัสสนา ชี้แจงให้เห็นชัด 2) สมาทปนา ชวนใจให้อยากรับเอาไปปฏิบัติ 3) สมุตเตชนา เร้าใจให้อาจหาญแกล้วกล้า และ 4) สัมปหังสนา ปลอบชโลมใจให้สดชื่นร่าเริง รูปแบบการสอน 4 คือ 1) แบบสนทนา 2) แบบบรรยาย 3) แบบตอบปัญหา และ 4) แบบวางเป็นข้อบังคับ และในรูปแบบการตอบปัญหานั้น ท่านได้แบ่งวิธีการตอบไว้ 4อย่างด้วยกัน คือ ตอบตรงไปตรงมา ตายตัว, มีการย้อนถามแล้วจึงตอบ, มีการเพิ่มเติมในคำตอบ และนิ่งไม่ตอบเลย นอกจากนี้ยังมีกลวิธีและอุบายประกอบการสั่งสอนอื่น ๆ อีก ที่จะเห็นได้จากเนื้อหาในพระไตรปิฏก สิ่งสำคัญอย่างหนึ่งที่พระพุทธเจ้าได้ตรัสไว้กับพระอานนท์ว่า "การแสดงธรรมให้คนอื่นฟัง มิใช่สิ่งที่กระทำโดยง่าย" ผู้แสดงธรรม หรือที่เรียกว่า"ธรรมกถึก" พึงตั้งธรรม 5 ประการ[...]
- 3 ใต้ร่มโพธิบทพระพุทธเจ้าได้ทรงบัญญัติคำว่า "อาหาร" ไว้ 4 อย่าง คือ ส่วนที่เป็นรูปอาศัย กพฬีการาหาร (คำข้าว), ส่วนที่เป็นนามอาศัย ผัสสะ มโนสัญเจตนา และวิญญาณ ซึ่งเป็นตัวอนุเคราะห์ให้ภูตสัตว์ทั้งหลายดำรงอยู่ตั้งได้อยู่ในภพนั้น ๆ ได้อธิบายถึง "อาหาร 4" ในแต่ละหัวข้อโดยรายละเอียดไว้ ซึ่งการดำรงอยู่มีอยู่ของชีวิตอย่างใดอย่างหนึ่ง สามารถมีอยู่ตั้งอยู่ได้ มีการต่อเนื่อง ๆ ไหลสืบทอดกันมา ก็เพราะว่ามีอาหารต่าง ๆ เหล่านี้ "เปรียบเหมือนช่างย้อม หรือช่างเขียน, เมื่อมีน้ำย้อมคือครั่ง ขมิ้น คราม หรือสีแดงอ่อน ก็จะพึงเขียนรูปสตรี หรือรูปบุรุษ ลงที่แผ่นกระดาษ หรือฝาผนัง หรือผืนผ้า ซึ่งเกลี้ยงเกลา ได้ครบทุกส่วน, อุปมานี้ฉันใด อุปไมยก็ฉันนั้น คือ ถ้ามีราคะ มีนันทิ มีตัณหา ในกพฬการาหารไซร้, วิญญาณ ก็เป็นสิ่งที่ตั้งอยู่ได้ เจริญ งอกงามอยู่ได้ ในกพฬีการาหารนั้น.วิญญาณที่ตั้งอยู่ได้ เจริญงอกงามอยู่ได้ มีอยู่ ในที่ใด,[...]
- 3 ใต้ร่มโพธิบท"อินทรีย์คือชีวิต เป็นสิ่งที่มีการรับรู้ได้ และมีใจเป็นที่แล่นไปสู่" ท่านพระสารีบุตรได้กล่าวกับพระมหาโกฏฐิตะไว้ใน มหาเวทัลลสูตร…"เปรียบเหมือนประทีปน้ำมันกำลังติดไฟอยู่ แสงสว่างอาศัยเปลว ปรากฏอยู่ เปลวก็อาศัยแสงสว่างปรากฏอยู่ฉันใด อายุอาศัยไออุ่นตั้งอยู่ ไออุ่นก็อาศัยอายุตั้งอยู่ ฉันนั้นเหมือนกัน" กล่าวคือ เปลวไฟจะเกิดขึ้นอยู่ได้ ต้องมีเหตุปัจจัย คือ ความร้อน ออกซิเจน และเชื้อเพลิง ซึ่งต้องมีในปริมาณพอเหมาะพอสมจึงเกิดขึ้นได้ เป็นปฏิกิริยาห่วงโซ่ (Exothermic Chain Reaction) ถ้าความร้อนที่ผลิตจากเปลวไฟไม่มากพอ เปลวไฟนั้นจะอ่อนลงและดับไป ใน ปายาสิราชัญญสูตร พระกุมารกัสสปะได้ปรับแก้ทิฏฐิของพระเจ้าปายาสิในเรื่อง "แม้เพราะเหตุนี้ โลกอื่นไม่มี โอปปาติกสัตว์ไม่มี ผลวิบากแห่งกรรมที่ทำดีและทำชั่วไม่มี" โดยยก อุปมาด้วยก้อนเหล็กร้อน ขึ้นมาอธิบาย…"เมื่อร่างกายนี้ยังมีอายุ มีไออุ่นและมีวิญญาณจะมีน้ำหนักเบากว่า อ่อนนุ่มกว่า และปรับตัวได้ง่ายกว่า แต่เมื่อร่างกายนี้ไม่มีอายุไม่มีไออุ่นและไม่มีวิญญาณ จะมีน้ำหนักมากกว่า แข็งกระด้างกว่า และปรับตัวได้ยากกว่า" กล่าวคือ ของที่ร้อนจะมีน้ำหนักเบากว่าของที่เย็น และยก อุปมาด้วยการเป่าสังข์ ขึ้นมาอธิบายด้วย…"…เมื่อสังข์นี้มีคน มีความพยายาม และมีลมจึงส่งเสียงได้ แต่เมื่อสังข์นี้ไม่มีคน ไม่มีความพยายาม และไม่มีลม ก็ส่งเสียงไม่ได้"[...]
- 3 ใต้ร่มโพธิบทเจาะลึกลงมาจากเรื่องของขันธ์ 5 สามารถอธิบายแจกแจงเห็นได้ชัดเจนลงมาอีกในเรื่องของ "สฬายตนะ" คือ อายตนะภายในและภายนอกทั้ง 6 โดยแยกรูป แยกสังขาร (การปรุงแต่ง) อธิบายในลักษณะที่เป็นช่องทางของการรับรู้ โดยได้อธิบายแต่ละอายตนะโดยรายละเอียด เวลาที่เราอธิบายอายตนะอันใดอันหนึ่ง ก็ต้องมีทั้งภายนอกและภายใน พอมีช่องทางที่มันกระทบถูกต้องแล้วก็จะเกิดการรับรู้เกิดขึ้นในช่องทางใจ (มโน) การรับรู้นั่นเรียกว่า “วิญญาณ”…อินทรีย์จึงมีใจเป็นที่แล่นไปสู่ “ใจ” ตรงนี้จึงเป็นที่รวบลงของสิ่งต่าง ๆ เริ่มเป็นนามธรรมเกิดขึ้น มีผัสสะเกิดขึ้นต่อกันและต่อกันไป มีการรับรู้ทางใจ (มโนวิญญาณ) เกิดเป็น “เวทนา” (ความรู้สึกเป็นทุกข์, เป็นสุข, อทุกขมสุข) แยกแยะช่องทางการรับรู้ได้ 18 อย่าง ซึ่งในแต่ละอย่าง ๆ ท่านพระสารีบุตรกล่าวไว้กับท่านพระมหาโกฏฐิตะ ใน โกฏฐิกสูตร ว่า เหล่านี้เป็นของที่เกาะเกี่ยวเนื่องกันอยู่ แต่ไม่ใช่ของอย่างเดียวกัน…ความคิดที่เป็นวิตกวิจารในเรื่องต่าง ๆ ความรู้สึกสุข ความรู้สึกทุกข์ คิดนึกปรุงแต่งนั่นนี่ กับ ใจ มันเป็นคนละอย่างกัน และยังเป็นคนละอย่างกันกับการรับรู้ด้วย สิ่งที่จะทำให้เราพ้นทุกข์ไม่ได้ก็คือ การที่เราเห็นว่ามันเป็นเครื่องเกาะเกี่ยวของกันและกันอยู่ ก็เพราะความรักใคร่พอใจที่อาศัยอะไรเกิดขึ้น มันก็เกาะเกี่ยวกันเลยตรงนั้น ถ้าเรายังเห็นว่ามันแยกจากกันไม่ได้ ความคิดนี้ ไม่ถูกต้อง เป็นมิจฉาทิฏฐิ…แต่ถ้าตัดความรักใคร่พอใจออกไปได้ มันจะไม่ไปต่อ มันแยกจากกัน มันสืบเนื่องต่อกันไปไม่ได้ ความสิ้นทุกข์โดยชอบจึงปรากฎขึ้นได้ เพราะอาศัยเหตุปัจจัยคือการประพฤติการปฏิบัติที่สมควรแก่ธรรม “…เหมือนโคดำและโคขาวที่ถูกผูกอยู่ด้วยเชือกเส้นเดียวกัน แต่เป็นคนละตัวกัน[...]
- 3 ใต้ร่มโพธิบทสีลวันตสูตร/สีลสูตรว่าด้วยธรรมที่ควรใส่ใจโดยแยบคาย เป็นเรื่องราวของท่านพระสารีบุตรและท่านพระมหาโกฏฐิตะ สนทนาปรารภเรื่องภิกษุผู้มีศีลควรกระทำธรรมเหล่าไหนไว้ในใจโดยแยบคาย? คนที่มีศีลเป็นพื้นฐาน หมั่นฟังธรรมอยู่เป็นประจำแล้ว ควรจะมนสิการโดยแยบคายในอุปาทานขันธ์ 5 โดยความเป็นของไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นดังโรค เป็นดังฝี เป็นดังลูกศร เป็นความคับแค้น เป็นอาพาธ เป็นของแปรปรวน เป็นของทรุดโทรม เป็นของสูญ เป็นของไม่ใช่ตัวตน พิจารณาลงไปจนเห็นชัดว่า ไม่มีอะไรเป็นสาระควรค่าแก่การยึดถือ การแยกแยะแจกแจงถึงความเป็นอริยบุคคล 4 ประเภทนี้…ทำให้ละเอียดแยบคายลึกซึ้งลงไปเป็นขั้นตอน ๆ เหมือนนายขมังธนูที่คอยฝึกซ้อม ซ้อมแล้วซ้อมอีก ยิงท่าเดิม ลูกศรแบบเดิม แต่ความชำนาญมันมีมากขึ้น โดยดูจากความทุกข์ที่ลดลงไปทุกขั้นตอนของการปฏิบัตินั่นเอง ดูจากจิตของเราที่มีความนุ่มลงสงบลงนั่นเอง ดูตรงนี้ จะสามารถทำให้มีความก้าวหน้าในทางปฏิบัติได้…มรรคแปดต้องทำให้มาก หมั่นเจริญให้มาก มีการพิจารณาอยู่อย่างนี้ เราปฏิบัติตามมรรค 8 จะเข้าใจขันธ์ 5 ได้ แนะนำรับฟังเพิ่มเติมได้ที่ Playlists: เข้าใจทำ (ธรรม) Ep.37
- 3 ใต้ร่มโพธิบท"ทาน" เป็นหัวข้อธรรมะแรกที่มาในอนุปุพพิกถาที่แสดงไปตามลำดับ เรื่องของทานจึงมีความสำคัญ จึงยกตัวอย่างเรื่องราวที่มาใน ปฐมาปุตตกสูตรที่ ๙ และ ทุติยาปุตตกสูตรที่ ๑๐ ปรารภเรื่องกรรมและผลแห่งกรรมของเศรษฐี 2 คนที่ไม่มีบุตร เพื่อทำความเข้าใจบุญกุศลในเรื่องของทาน (จาคานุสสติ) ให้มีความกว้างขวางในการปฏิบัติที่จะเป็นส่วนประกอบของทางที่จะให้ไปสู่นิพพานได้เต็มขึ้นมา "ข้าวเปลือก ทรัพย์ เงินทอง หรือข้าวของ ที่หวงแหนอย่าง ใดอย่างหนึ่งมีอยู่ ทาส กรรมกร คนใช้ และผู้อาศัยของ เขา พึงพาเอาไปไม่ได้ทั้งหมด จะต้องถึงซึ่งการละทิ้งไว้ ทั้งหมด ฯ ก็บุคคลทำกรรมใด ด้วยกาย ด้วยวาจา หรือด้วยใจ กรรม นั้นแหละ เป็นของ ๆ เขา และเขาย่อมพาเอากรรมนั้นไป อนึ่งกรรมนั้นย่อมติดตามเขาไป เหมือนเงาติดตามตน ฉะนั้น เพราะฉะนั้น บุคคลควรทำกรรมดี สั่งสมไว้สำหรับภพหน้า บุญทั้งหลายย่อมเป็นที่พึ่งของสัตว์ทั้งหลายในโลกหน้า ฯ"…ทุติยาปุตตกสูตรที่ ๑๐ แนะนำรับฟังเพิ่มเติมได้ที่ Playlists: ใต้ร่มโพธิบท Ep.53 , นิทานพรรณนา[...]
- 3 ใต้ร่มโพธิบทอัปปมัญญา 4 (พรหมวิหาร 4: คุณธรรมที่จะทำให้ไปอยู่กับพรหม) คือ การตั้งจิตไว้ด้วยกับเมตตา กรุณา มุทิตา และอุเบกขา แผ่ออกไปอย่างกว้างขวางใหญ่หลวง ไม่มีประมาณ ไม่มีเวร ไม่มีพยาบาท แผ่ให้กับสรรพสัตว์ทั้งหลายทั่วทุกทิศทุกทางโดยไม่ระบุเจาะจง ไม่มียกเว้น สิ่งที่น่าสนใจในที่นี้ก็คือ พระพุทธเจ้าได้ตรัสไว้ใน เมตตาสูตร ว่าด้วยเรื่องของ อัปปมัญญา 4 ในขั้นที่สูงขึ้นไปจนถึงเจโตวิมุติ (การหลุดพ้นแห่งจิต) โดยการนำเอาเรื่องพรหมวิหาร 4 มารวมกันไว้กับโพชฌงค์ทั้ง 7 นี้คือความสวยงามในคำสอนของพระพุทธเจ้าที่สามารถนำเอาธรรมะมาเชื่อมโยงต่อเนื่องกันไปในหมวดธรรมะอื่น ๆ ได้อย่างยิ่ง ๆ ขึ้นไป อธิบายพระสูตรในรายละเอียด: วิธีเจริญพรหมวิหาร 4 ประกอบพร้อมโพชฌงค์ 7, ทำความชำนาญในการเห็นเป็นสิ่งที่ปฏิกูลและไม่ปฏิกูลในสิ่งต่าง ๆ, ที่สุดจบในแต่ละขั้น ๆ เมื่อนำธรรมะ 2 หมวดข้างต้น มาประกอบพร้อมการเห็นสิ่งที่ปฏิกูลและไม่ปฏิกูลในสิ่งต่าง ๆ โดยอาศัยกายวิเวก จิตตวิเวก อาศัยวิราคะ (ความคลายกำหนัด) อาศัยนิโรธ สังเกตเห็นความดับไปต่าง ๆ[...]
- 3 ใต้ร่มโพธิบท"บุคคลเหล่าใดมีใจผ่องใส ย่อมให้ข้าวด้วยศรัทธา บุคคลเหล่านั้นย่อมได้ข้าวนั้นเอง ทั้งโลกนี้และโลกหน้า เพราะเหตุนั้นพึงเปลื้องความตระหนี่เสีย แล้วให้ทาน บุญเท่านั้น เป็นที่พึ่งของสัตว์ในโลกหน้า"…จากเสรีสูตร พระพุทธเจ้าได้ทรงจำแนกแจกแจง ในเรื่องของ "ทาน" ไว้อย่างละเอียดในแง่มุมต่าง ๆ โดยยกหัวข้อในเรื่องของลักษณะรูปแบบของการให้ว่า ทานคือการให้ จาคะคือการสละออก เป็นสิ่งที่ควรทำ, การแบ่งจ่ายทรัพย์ในหน้าที่ให้ถูกต้อง, การตั้งเจตนาใน 3 กาล คือ ก่อน ระหว่าง และหลังการให้, วัตถุทานที่เหมาะสม, ลักษณะการให้ทานใน 2 นัยยะของสัตบุรุษและอสัตบุรุษ ให้อย่างไรถึงมีผลมีอานิสงส์มาก, ลำดับของอานิสงส์ในการให้ทาน (มีผลมาก-น้อย) ตามผู้ที่ควรรับ, ความบริสุทธิ์แห่งทานของทั้งผู้ให้และผู้รับ, อานิสงส์ของการให้ทาน โดยรายละเอียด และเพื่อให้เกิดประโยชน์ ทั้งในโลกนี้ โลกหน้า และประโยชน์อย่างยิ่งคือ เรื่องของมรรคผลนิพพาน นั่นเอง "ผู้ขอบ่อย ๆ ย่อมเป็นที่รังเกียจของผู้อื่นฉันใด ผู้ให้ก็ย่อมเป็นที่รักของผู้อื่นฉันนั้น ด้วยเหตุนี้ การให้จึงเป็นสิ่งที่ควรทำ ทำแล้วให้เกิดความดีขึ้นมาได้ ให้เกิดจิตใจที่ตั้งไว้ในกุศลธรรมขึ้นมาได้…เป็นธรรมเครื่องปรุงแต่งจิต สามารถบรรลุธรรมด้วยอำนาจของบุญที่เกิดจากการให้ทาน" แนะนำรับฟังเพิ่มเติมได้ที่ Playlists: คลังพระสูตร Ep.49
- 3 ใต้ร่มโพธิบทยกหัวข้อว่าด้วยเรื่องของ บุคคล 4 จำพวก ขึ้นมา โดยสืบค้นกลับไปที่ตัวแม่บท หัวข้อนี้มีมาใน อุคฆฏิตัญญูสูตร พระพุทธเจ้าทรงตรัสแบ่งบุคคลออกเป็น 4 จำพวก คือ 1) อุคฆฏิตัญญู ผู้ที่รู้เข้าใจได้ฉับพลัน เพียงแค่ยกหัวข้อขึ้นเท่านั้น 2) วิปจิตัญญู ผู้ที่รู้เข้าใจก็ต่อเมื่อขยายความโดยในรายละเอียด 3) เนยยะ ผู้ที่พอแนะนำต่อไปตามลำดับได้ และ 4) ปทปรมะ ผู้ที่รู้ได้เพียงแต่ตัวบท (พยัญชนะ) คือ ถ้อยคำเท่านั้นเอง ไม่อาจจะเข้าใจความหมายในรายละเอียดได้ โดยนัยยะเกี่ยวกับ บัว 4 เหล่า มีปรากฏในพระวินัยปิฎกตอนต้น ในส่วนของพุทธประวัติย่อ ๆ โดยนำเอาบุคคล 4 จำพวกข้างต้นมาเปรียบเทียบกับดอกบัว 4 เหล่าไว้ตรงนี้โดยลำดับว่าเป็นดอกบัวพ้นน้ำแล้ว, เป็นดอกบัวที่โคนดอกเสมอด้วยพื้นน้ำ, เป็นดอกบัวที่ยังอยู่ใต้น้ำ แต่ใกล้ที่จะโผล่พ้นน้ำแล้ว และสุดท้ายเป็นดอกบัวยังจมน้ำลึกอยู่ เป็นอาหารของเต่าปลาได้ และมีในพระบาลีที่เป็นพุทธประวัติเช่นกัน ซึ่งที่ครบถ้วนจะอยู่ใน โพธิราชกุมารสูตร ในคราวที่ตรัสรู้ใหม่ ๆ พระพุทธเจ้าทรงมีจิตน้อมไปในทางขวนขวายน้อยไม่น้อมไปเพื่อการแสดงธรรม เดือนร้อนถึงท้าวสหัมบหดีพรหมได้มาทูลอาราธนาขอไว้ จึงได้เห็นแก่สัตว์ทั้งหลายผู้มีกิเลสดุจธุลีในดวงตาน้อยบ้าง[...]
- 3 ใต้ร่มโพธิบทถ้าเมื่อวันหนึ่งที่เรามีลาภ มียศ มีตำแหน่ง มีเงินทอง มีประสบการณ์ เก่งขึ้น มีลูกน้อง มีคนนับหน้าถือตา แล้วเราจะยังคงความดีอยู่ได้หรือไม่…เพราะจิตใจสามารถเปลี่ยนแปลงได้รวดเร็ว ตอนแรกรักษาได้ แต่พอเวลาผ่านไป คนเราสามารถเปลี่ยนแปลงได้ตามเหตุปัจจัย เปลี่ยนเป็นดีขึ้นได้ เปลี่ยนเป็นเลวลงได้ ธรรม 6 อย่างต่อไปนี้ จะเป็นเครื่องป้องกันรักษาไม่ให้เราเปลี่ยนไปเป็นคนไม่ดีเมื่อมีอาสวัฏฐานิยธรรมเกิดขึ้น โดยต้องพึงละกิเลสเครื่องเศร้าหมองจิตด้วยการสำรวมสังวรในอินทรีย์ทั้ง 6, การพิจารณาแล้วจึงบริโภค (เสพ), การอดทน อดกลั้น, การงดเว้น, การบรรเทา (ละ) และการภาวนา บุคคลที่ตามประกอบในธรรม 6 ข้อนี้ จะเป็นผู้ที่น่านับถือบูชาอย่างยิ่ง เป็นบุคคลที่ควรยกย่อง เป็นบุคคลตัวอย่าง เป็นปูชนียบุคคล เพราะกิเลสไม่เกิดขึ้นในใจของเขา ทั้งยังสามารถรักษาความดี รักษาอุดมการณ์ รักษาความบริสุทธิ์ในจิตใจอยู่ได้ แนะนำรับฟังเพิ่มเติมได้ที่ Playlists: ใต้ร่มโพธิบท - อาสวัฏฐานิยธรรม ธรรมอันเป็นที่ตั้งแห่งอาสวะ
- 3 ใต้ร่มโพธิบทพอมีคำสอนมากขึ้น คนศึกษากันมากขึ้น ๆ แล้ว ก็มีอาสวะมากขึ้น พอมีอาสวะมากขึ้นแล้ว ก็ต้องมีการบัญญัติพระวินัยขึ้นมาแก้ พอมีสิกขาวินัยมากขึ้น คนก็ศึกษามากขึ้น พอศึกษามากขึ้น อาสวัฏฐานิยธรรม คือ ธรรมที่จะทำให้อาสวะเกิดขึ้นได้ ทำให้มีข้อที่ไม่ดีอะไรบางอย่างเกิดขึ้น เมื่อมันเกิดมีมากขึ้น ก็เลยต้องยิ่งบัญญัติมากขึ้น จึงทำให้มันก็มีแต่เสื่อมลง ๆ อาสวัฏฐานิยธรรมทั้ง 5 ข้อนี้ ถ้าเราดูผิวเผิน มีหมู่ใหญ่ มีลาภสักการะ มียศ เป็นพหูสูต รู้ราตรีนาน ก็จะไม่ได้เป็นปัญหาอะไร แต่เพราะสิ่งเหล่านี้ มันเนื่องอยู่ในขันธ์ 5 อันเป็นที่ตั้งแห่งความยึดถือ เขาจึงเรียกอุปาทานขันธ์ มันสามาถทำให้เกิดความยึดถือได้ เศร้าหมองได้ ทำให้เกิดความเสื่อมได้ วิธีป้องกัน 6 อย่างที่ไม่ให้ไปตามอำนาจกิเลส โดยหัวข้อ คือ ด้วยการเสพ, การอดทน, การสำรวมอินทรีย์, การภาวนา, การงดเว้นในสิ่งที่เป็นอโคจร, การละมิจฉาสังกัปปะ และจะอธิบายโดยรายละเอียดต่อไปในตอนหน้า