1X
Sorry, no results.
Please try another keyword
- Q: “อุเบกขา” คือ อย่างไร ต่างจาก “ความเมินเฉย” ตรงไหน? A: “อุเบกขา” เป็นภาษาบาลี แปลว่า วางเฉย เราจะมีอุเบกขาได้นั้น จิตต้องเป็นสมาธิ จิตเป็นอารมณ์อันเดียว เพ่งเฉพาะจิตที่ตั้งมั่นไว้เป็นอย่างดี อุเบกขาจึงจะเกิดขึ้น ซึ่งในขณะที่จิตเราเป็นสมาธิ อกุศลทั้งหลายมันจะไม่โผล่ออกมา มันจะฝังอยู่ในจิต จะเป็นความสงบนิ่งเย็นอยู่ภายใน เป็นความสุข เป็นปิติ ชนิดที่เป็น นิรามิส คือ สุขที่ไม่อาศัยเครื่องล่อ ส่วน “เมินเฉย” เป็นลักษณะของ “โมหะ” เป็นอวิชชา Q: ถ้าเมตตามากจนเกินไป จะเกิดอะไรขึ้น หรือมีผลอย่างไร? A: อุเบกขา เฉยเมย และอทุกขมสุข เป็นคนละอย่างกัน “อทุกขมสุข” คือ ไม่ทุกข์ ไม่สุข สุขที่เป็น “อามิส” คือ สุขที่อาศัยอามิสเครื่องล่อภายนอก ส่วน สุขที่เป็น “นิรามิส” คือ สุขที่เกิดจากในภายใน ละเอียดลงไปอีกก็เป็น[...]
- Q : การพิจารณาเกสา (ผม) ทำอย่างไร? A : เป็นพุทธพจน์ที่ท่านให้พิจารณา ให้จิตตั้งอยู่ใน ปัญจกรรมฐานหรือกรรมฐาน 5 คือ ผม ขน เล็บ ฟัน หนัง โดยพิจารณาให้เห็นเป็นของปฏิกูล ไม่ใช่ของสวยงาม เพื่อให้เกิดความเบื่อหน่ายคลายกำหนัดในร่างกายของเรา พิจารณาแล้วน้อมเข้ามาสู่ตัวเรา ว่าตัวเราก็ไม่ควรค่าที่จะยึดถือไว้ Q : การนั่งสมาธิแล้วพิจารณาซากศพ ควรวางจิตและพิจารณาอย่างไร ? A : พิจารณาให้เห็นเป็นของปฏิกูล เพื่อให้เกิดความเบื่อหน่ายคลายกำหนัด เพื่อไม่ให้เกิดความยึดถือ เพื่อปล่อยวาง แม้แต่พระพุทธเจ้ายังปรินิพพาน น้อมเข้าสู่ตัวเราว่า ตัวเราจะต้องเป็นอย่างนี้ในสักวันหนึ่ง ไม่อาจล่วงพ้นไปได้ Q : เวลาที่พิจารณากายแล้วเกิดอาการรู้สึกว่ามีโลหิตไหลอยู่ในคอ ทำให้ไอและจาม ควรแก้ไขอย่างไร? A : ให้ตั้งสติสัมปชัญญะไว้ให้ดี อาการเช่นนี้เป็นการปรุงแต่งของกาย (กายสังขาร) ให้เราฝึกตั้งสติสัมปชัญญะ ทำไปเรื่อย ๆ การปรุงแต่งทางกายก็จะค่อย ๆ ระงับลง ๆ Q[...]
- Q : อนันตริยกรรมคือกรรมหนักฝ่ายชั่ว แล้วกรรมหนักฝ่ายดีมีหรือไม่ อย่างไร ? A : อนันตริยกรรม ฝ่ายชั่ว มีในพุทธพจน์ มี 5 อย่าง คือ 1.ฆ่าบิดา 2.ฆ่ามารดา 3.ฆ่าพระอรหันต์ 4.ทำพระพุทธเจ้าให้โลหิตเลือด 5. ทำสงฆ์ให้แตกกัน ผลของการทำอนันตริยกรรม คือ ให้ผลเดี๋ยวนี้ (กรณีพระเทวทัต) ให้ผลเลยหลังจากกายแตกตายไป ส่วน อนันตริยกรรม ฝ่ายดี มีในอรรถกถา มี 8 อย่าง คือ ฌาน 1 ถึงชั้น ฌาน 8 คือเมื่อเรานั่งสมาธิแล้วให้ผลเลย ให้ผลเดี๋ยวนี้ ให้ผลทันที ตามอำนาจที่เราได้ทำไป Q : มีคนกล่าวไว้ว่า "ถ้าสามารถท่องบทปฏิจจสมุปบาทได้ทั้งไทยและบาลี จะเป็นการปิดประตูอบายได้อย่างแน่นอน" จริงหรือไม่ ? A : การปิดประตูอบาย จะใช้กับคนที่เป็นโสดาบันขั้นผลเท่านั้น คนที่ไม่ผิดศีลและมีศรัทธาหยั่งลงมั่น[...]
- Q: รู้สึกเบื่อโลก เบื่อทุกอย่างในชีวิต ควรทำอย่างไร? A: ความเบื่อหน่าย หรือนิพพิทา ในทางพุทธศาสนา เมื่อเห็นไปตามจริงแล้วจะเบื่อหน่ายคลายกำหนัด จะปล่อยวาง ไม่ยึดถือสิ่งใดอีก เป็น “กุศล” ส่วนความเบื่อเซ็ง เป็นโมหะ จะเป็นลักษณะที่จะหมดกำลังใจ ท้อแท้ ไม่อยากทำอะไรทำให้จิตใจเราอ่อนกำลังลง พอเบื่อสิ่งนี้ ก็ไปยึดสิ่งใหม่ เป็น “อกุศล” ท่านเปรียบเทียบกับพราหมณ์ที่บูชาไฟ หากไฟลุกโชนมากก็ให้ใส่ขี้เถ้าลงไป หากไฟจะมอดดับก็ให้เติมเชื้อลงไป ท่านแบ่งโพชฌงค์ ไว้เป็น 2 ส่วน คือ ส่วนที่เติมเชื้อไฟเข้าไป คือ ธัมมวิจยะ, วิริยะและปีติ และส่วนที่เติมขี้เถ้าลงไป คือ ปัสสัทธิ, สมาธิและอุเบกขา ให้เราเลือกใช้ให้ถูก หรือหากเราเบื่อเซ็งมาก ๆ ก็ให้ออกไปหากิจกรรมอะไรทำ เช่น ออกกำลังกาย ร่างกายก็จะหลั่งสารบางอย่างออก มาทำให้เรารู้สึกสบาย แต่หากเรายังอยู่กับความเบื่อ ความหดหู่นั้น ร่างกายก็อาจหลั่งสารบางอย่างออกมา ทำให้เราซึมเศร้า กายเราก็จะป่วยไปตามใจ เพราะตัวเรานั้น มีกายกับใจ มีรูปกับนาม ใจมีผลกับกาย[...]
- Q: คนที่อยากมีลูกมากแต่ไม่สามารถมีได้ มันมีผลกรรมอันใดที่ทำให้เป็นเช่นนั้น? A: เมื่อเรามีความปรารถนา หากเราสมหวัง ก็จะมีความสุข หากเราผิดหวังก็จะเป็นทุกข์ ทุกข์เพราะไม่ได้ตามที่ตนปรารถนา ซึ่งไม่ว่าจะสมหวังหรือผิดหวัง เรื่องใด เรื่องหนึ่ง มันมีเหตุ มีปัจจัย ได้จากหลายอย่าง ไม่ใช่เรื่องกรรมอย่างเดียว หรืออาจจะเป็นเพราะกรรมที่ทำให้สรีระของเขา ไม่สามารถมีลูกได้ หรืออาจจะเป็นเรื่องของจิตใจ เรื่องของหมอหรือเทคโนโลยี ก็อาจเป็นได้ Q: อธิบายประเด็นมีคำกล่าวไว้ว่า “คนที่มีบุญจะมาเกิดในครอบครัวที่มีฐานะดี นั้นมีน้อย แต่คนที่ไม่ค่อยมีบุญ จะมาเกิดในครอบครัวที่ยากจนเข็ญใจ นั้นมีมาก” A: ท่านเคยพูดถึงเรื่อง การเกิดมืดและการเกิดสว่าง “เกิดมืด” คือ เกิดในตระกูลที่ยากจน เข็ญใจ “เกิดสว่าง” คือ เกิดในตระกูลที่ฐานะดี มีทรัพย์มาก แต่ไม่ว่าเราจะเกิดมืดหรือเกิดสว่าง สิ่งที่สำคัญ คือ เราจะไปสว่างหรือไปมืด หากเกิดสว่าง แล้ว ประมาท มีทิฐิ มานะ ถึงเกิดสว่างก็จะไปมืด แต่หากเกิดสว่างแล้ว มีการให้ทาน รักษาศีล ละทิฐิ มานะได้ เช่นนี้ ก็จะเกิดสว่างไปสว่าง[...]
- Q: สำนวนที่ว่า "ฉลาดในทาง และไม่ใช่ทาง" เป็นอย่างไร? A: ท่านได้กล่าวถึงการกำเนิด 4 และคติ 5 / กำเนิด 4 แยกตามลักษณะการกำเนิด คือ 1. กำเนิดในไข่ 2. กำเนิดในของโสโครก 3. กำเนิดในครรภ์ 4. ผุดเกิดขึ้น / คติ 5 คือ ทางที่จะให้ไปถึงกำเนิดเหล่านั้น ได้แก่ 1. สัตว์นรก 2. กำเนิดเดรัชฉาน 3. เปรตวิสัย 4. มนุษย์ 5. เทวดา ท่านจะรู้ว่าปฏิบัติแบบไหน จะไปสู่คติอย่างไร ทำแบบไหนจึงจะเดินไปสู่คตินั้น นี่คือ “ฉลาดในทางและไม่ใช่ทาง” ซึ่งแต่ละทางมีเส้นทางที่ไม่เหมือนกัน เส้นทางที่จะนำไปสู่ความเป็นเศรษฐี ท่านได้กล่าวไว้ถึง 1. การลุกขึ้นมาทำงาน ขยันขันแข็ง (อุฏฐานสัมปทา) 2. รู้จักรักษา เก็บเงิน[...]
- Q: เหตุใดอุบาสก อุบาสิกา จึงนิยมสวมใส่ชุดชาวมาปฏิบัติธรรม และอุบาสก อุบาสิกา ในสมัยพุทธกาลแต่งชุดขาวหรือไม่? A: ที่นิยมใส่ชุดขาวส่วนหนึ่งอาจมาจาก หนึ่งในมหาสุบินของพระพุทธเจ้า ตอนที่ท่านเป็น พระโพธิสัตว์ ในข้อที่ว่า “มีหนอนตัวสีขาว หัวดำ คลานเข้ามาจากทุกทิศ ทุกทาง แล้วไต่ขึ้นมาตามเท้าถึงเข่าของท่าน” ในมหาสุบินข้อนี้ บอกไว้ว่า จะมีอุบาสก อุบาสิกา ที่นับถือพระพุทธเจ้า เป็นที่พึ่งตลอดชีวิต มีมากมาย มาจากทุกวรรณะ ทุกทิศทุกทาง และส่วนหนึ่งอาจมาจาก พุทธพจน์ ที่ท่านได้เล่าให้พระอานนท์ฟัง ถึงตอนที่มารมาทูลขอให้ท่านปรินิพพาน ท่านได้กล่าวกับมารว่า “จะยังไม่ปรินิพพาน ตราบใดที่ อุบาสก อุบาสิกา ผู้นุ่งขาวห่มขาว ประพฤติพรมจรรย์ ในธรรมวินัยนี้ ยังไม่แกล้วกล้า ยังไม่สามารถแสดงธรรม ข่มขี่ ให้ราบคาบโดยธรรม แล้วแสดงธรรมโดยอัศจรรย์ได้ ถ้ายังไม่เป็นอย่างงั้น ยังไม่ปรินิพพาน” / “จะยังไม่ปรินิพพาน ตราบใดที่ อุบาสก อุบาสิกา ผู้นุ่งขาวห่มขาว ยังบริโภคกาม ยังไม่แกล้วกล้า ยังไม่ฉลาด ยังไม่สามารถแสดงธรรม ด้วยความอัศจรรย์[...]
- Q: หากศีล 5 ที่รักษาอยู่เกิดด่างพร้อยไป จะแก้ไขอย่างไร? A: การที่เราจะรักษาศีล 5 อยู่ที่เจตนาเรามากกว่า ถ้าเราจะรักษาศีล เราก็ตั้งเจตนาไว้ แล้วทำได้เลย จิตเราน้อมไปทางไหน กาย วาจา ก็จะน้อมไปอย่างนั้นได้ หากศีลด่างพร้อย เราก็ตั้งเจตนาขึ้นมาใหม่ ทำใหม่ ทางแก้ คือ อะไรที่ทำผิดไปแล้วเราแก้ไขไม่ได้ ก็ให้เราทำบุญ กุศล ให้มากขึ้น อุปมาดั่ง เกลือที่ละลายในน้ำ เกลือเปรียบดัง “อกุศล” น้ำเปรียบดัง “กุศล” ความเค็มของเกลือ คือ “ผลที่เราจะได้รับ” เมื่อเรานำเกลือ 1 ช้อน ไปละลายในแก้ว ความเค็มของเกลือจะมีมาก หากเรานำเกลือ 1 ช้อน ไปละลายในแม่น้ำ ความเค็มของเกลือก็จะลดน้อยลงไปมาก Q: การสมาทานรักษาศีลก่อนนอน จะทำให้ช่วงที่เราหลับ เราจะไม่มีทางละเมิดศีลข้อใดข้อหนึ่ง ซึ่งจะได้บุญเลย เป็นจริงหรือไม่? A: ก่อนนอน เรานึกถึงศีล นั้นเป็น[...]
- Q: ควรวางจิตอย่างไร เมื่อต้องอยู่กับบริวารที่มีแต่การใส่ร้าย? A: ให้อดทนอยู่กับมันให้ได้ ความอดทนไม่ใช่เก็บกด เพราะเมื่อเก็บกดแล้ววันหนึ่งมันจะระเบิดออกมาได้ ความอดทนจะต้องประกอบด้วยเมตตา และปัญญา อดทน คือ ยู่กับมันได้ ลักษณะของความอดทน ท่านสอนเรื่องการอดทนไว้ว่า ให้เป็นผู้อดทนต่อเหลือบ ยุง ลมแดด และสัตว์เลื้อยคลานทั้งหลาย, อดทนต่อ อากาศร้อน อากาศหนาวอดทนต่อถ้อยคำอันหยาบคาย ร้ายกาจ และอดทนต่อคำด่า คำว่า ท่านเปรียบไว้กับดัง ช้างอาชาไนย ชั้นเจนสงคราม มีงา งอนงาม ที่มีความอดทน แม้จะถูกแทงด้วยหอก ด้วยหลาว ถูกยิงด้วยลูกศร หรือมีเสียงดัง เค้าจะนิ่งอยู่ได้ เครื่องมือที่เราจะอยู่กับความอดทน คือ ให้รู้จักบรรเทาทุกขเวทนา เช่น ถ้าร้อนมาก ก็หามาอะไรมาบังหรืออยู่ในร่ม ให้เป็นผู้มีพรหมวิหาร 4 คือ ให้มี เมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา แผ่ไปให้บุคคลเหล่านั้น เราไม่ควรเอาความสุขไปฝากไว้กับคนอื่น กับคำพูดของคนอื่น อย่าเอาค่าของเราไปฝากไว้กับคนอื่น / ให้เราเป็นผู้มีคุณความดีในตัวเอง[...]
- Q: พระประพรมน้ำมนต์ผิดพระวินัยหรือไม่? A: การพ่นน้ำมนต์ (มาจากศัพท์ภาษาบาลี ว่า “อาจมนํ”) คือ การเอาน้ำใส่ในปากแล้วเป่าออกมา และ การรดน้ำมนต์ (มาจากศัพท์ภาษาบาลี ว่า “นฺหาปนํ”) คือ การลงไปแช่ อาบ ในน้ำ ซึ่งทั้ง การพ่นน้ำมนต์และรดน้ำมนต์ นี้เป็นเดรัชฉานวิชา ท่านไม่ให้ทำ แต่ถ้าเป็นการพรมน้ำมนต์ (มาจากศัพท์ภาษาบาลีว่า “อพฺภุกฺกิรฺ”) คือ มีอุปกรณ์ มีไม้สำหรับ ประพรมน้ำพระพุทธมนต์ออกไป สามารถทำได้ Q: จริงหรือไม่ที่ว่าผู้ที่นั่งสมาธิได้ผลเร็วนั้น เพราะเคยสะสมบารมีมาตั้งแต่ชาติก่อน? A: ได้ผลเร็วหรือช้า ขึ้นอยู่กับว่า สมาธิมีกำลังมากหรือน้อย หมายถึง “อินทรีย์ 5” ถ้า อินทรีย์แก่กล้าจะบรรลุธรรมได้เร็ว ถ้าอินทรีย์อ่อนจะบรรลุธรรมได้ช้า หากเราคิดว่าเป็นเพราะการสะสมบารมีจากชาติก่อน โดยส่วนเดียว เช่นนี้ เป็นมิจฉาทิฐิ เพราะการคิดเช่นนี้จะไม่เกิดการลงมือทำ พอเราเชื่อว่านี้เท่านั้นจริง จะทำให้จิตเรามีแนวโน้มที่จะไม่ทำความเพียร ไม่ลงมือทำ จึงไม่ถูก ไม่ดี Q: เพราะเหตุใด เมื่อนั่งสมาธิแล้วรู้สึกเหมือนจะหงายหลังตลอด?[...]
- Q : กามตัณหาคืออะไร หากเกิดขึ้นแล้วเราจะระงับได้อย่างไร? A : ตัณหา หมายถึง ความทะยานอยาก ท่านแจกแจงไว้ 3 อย่าง คือ 1) กามตัณหา คือ อยากได้ 2) ภวตัณหา คือ อยากมี 3) วิภวตัณหา คือ ไม่อยากมี ไม่อยากเป็น / ตัณหา หมายถึง กาม คือ ความกำหนัดยินดีพอใจ ผ่านทางวัตถุกาม ได้แก่ รูป เสียง กลิ่น รส และโผฏฐัพพะ ใน 5 ช่องทางนี้ ถ้าเรากำหนัดยินดีพอใจ นั่นคือ กามตัณหา กาม กามกิเลส การกำจัดระงับจิตใจที่มันจะไปตามกามตัณหา สำหรับ ฆราวาส คือ การรักษาศีล 5 ด้วย ศรัทธา[...]
- Q : ควรจะทำจิตอย่างไร ถ้าเราเป็นคนไข้ที่มีอาการหนัก? A : เราควรฝึกสติสัมปชัญญะไว้ตั้งแต่เรายังไม่แก่ เรายังไม่ป่วย “ท่านให้เราคิดว่า ความป่วย ความเจ็บไข้ ความแก่ จะมาเยือนเราแน่ ธรรมะอะไรที่เราต้องรู้ ต้องทำให้แจ้งในตอนนี้ เพื่อที่เมื่อเราป่วย เราแก่ เราเจ็บไข้แล้ว เราจะยังอยู่ผาสุกได้” นั่นคือเราต้องมี “สติสัมปชัญญะ” แยกจิตจากกายให้ได้ / สำหรับคนไข้ ที่อาการหนักแล้ว ให้หาจังหวะ ที่เขารู้ตัว แล้วแนะนำเขาให้ตั้งสติสัมปชัญญะขึ้น เพราะ “ทุกข์” จะเป็นตัวที่เชื่อมระหว่างปัญญาและศรัทธา เมื่อมีศรัทธา มีวิริยะ คือ ความกล้าลงมือทำจริงแน่วแน่จริง สติจะมีกำลัง เมื่อสติมีกำลังแล้ว สมาธิก็จะลึกซึ้งลงไป ทำให้เกิดปัญญา คือความรู้แจ้ง เห็นตามความเป็นจริง จะทำให้อินทรีย์แก่กล้าขึ้นมาได้ พัฒนาได้ Q : อุบายระงับความโกรธ A : ความโกรธอาจจะมีมาก็ให้อดทนไว้ ให้เรามีเมตตา กรุณา มุติตา อุเบกขา ( พรหมวิหาร[...]
- Q: เมื่อตายไปแล้วจิตวิญญาณ ดับไปด้วยหรือไม่? ถ้าจิตไม่ดับแล้วจะไปเกิดอย่างไร? A: จิตและวิญญาณเป็นนามเหมือนกัน แต่ไม่ใช่อย่างเดียวกัน วิญญาณ คือ การรับรู้ จิตวิญญาณ คือ การที่จิตเข้าไปยึดถือวิญญาณ ในความเป็นตัวตน สามารถเกิดได้ ดับได้ ท่านเปรียบไว้ดังกระแสน้ำ, กระแสไฟ ความเห็นที่ว่า “เมื่อกายตายไปแล้ว จิตเดิมเดียวกันนี้แหละ ต้องไปเกิดใหม่นั้น เป็นทิฐิที่ผิด” เพราะ จิต วิญญาณ เป็นของเกิดได้ ดับได้ เป็นของที่เกิดจากเหตุ ปัจจัย จิตมายึดถือ ขันธ์ คือ วิญญาณนี้ โดยความเป็นตัวตน จึงเรียกว่า “จิตวิญญาณ” คนที่เมื่อตายไปแล้ววิญญาณดับ จิตจึงไม่สามารถที่จะรับรู้ ขันธ์ 5 ผ่านทางวิญญาณได้ จิตจะไปเกิดใหม่หรือไม่นั้น ขึ้นอยู่กับว่า จิตมีอาสวะหรือไม่ หาก จิต สิ้นอาสวะแล้ว จะไม่มีการเกิดอีก หมายถึง “พระอรหันต์” ส่วนจิตที่ยังไม่สิ้นอาสวะ หากมี อาสวะที่สั่งสมไว้เป็นบุญ ก็มักจะไปเกิดในสวรรค์[...]
- Q : ทำไมจึงต้องมีการเอื้อเฟื้อพระวินัย ? A : เพราะพระวินัยและสิกขาบททุกอย่างพระพุทธเจ้าทรงบัญญัติขึ้นมีไว้สำหรับภิกษุสงฆ์ (หมู่ภิกษุ) เมื่อเราคล้อยตามพระวินัย มีความละเอียดรอบคอบ เอื้อเฟื้อตามพระวินัย จะทำให้เราสามารถที่จะมีพื้นฐานที่ดี ทำการภาวนาทางจิตใจให้สูงขึ้นได้ Q: ในศีลบางข้อที่เราไม่มีโอกาสที่จะรักษาแล้ว ถือว่าเรายังจะมีศีลข้อนั้นหรือไม่ ? A: คนที่รักษาศีล 5 และไม่คิดที่จะทำผิดศีล 5 ก็คือ เป็นเจตนา ท่านใช้คำว่า “สิกขาบท” คือ จุดที่เรามาศึกษาด้วยการปฏิบัติ จึงเป็นศีลที่ควบคุม กาย วาจา ใจ ของเรา ด้วยเจตนาอันเป็นเครื่องงดเว้น เจตนาจึงเป็นลักษณะที่เราศึกษาด้วยการปฏิบัติ นั่นเอง Q : ไม่ควรฝากของมีค่าไว้กับพระ A : ไม่ควรฝากของมีค่าไว้กับพระ เพราะอาจจะทำให้เกิดอันตรายกับพระได้ และถ้าหากของหายหรือมีโจรปล้น พระก็จะถูกครหา เพราะฉะนั้น เงินทอง และของมีค่า ไม่ควรแก่สมณะไม่ว่าประการใดทั้งสิ้น รวมไปถึงไม่ควรฝากของที่เป็นวัตถุอนามาสด้วย Q : การถวายของให้พระกับถวายให้สงฆ์ A :[...]
- Q: อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา เกิดขึ้นตรงไหน ใครเป็นผู้เห็น? A: อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา เรียกรวมว่า “ไตรลักษณ์” เป็นคุณสมบัติที่มีอยู่กับทุกสิ่งทุกอย่าง คือ สิ่งที่เป็นสมมุติทั้งหมด เรียกว่า “สังคตธรรม” คือทำอันเป็นเครื่องปรุงแต่ง ด้วยเหตุ เงื่อนไข ปัจจัย ลักษณะของสังคตธรรม คือ มีการเกิดปรากฏ มีความเสื่อมปรากฏ เมื่อตั้งอยู่มีภาวะอื่นๆ ปรากฏและขันธ์ 5 ก็เป็น สังคตธรรม เมื่อเรามีการรับรู้ผ่านอายตนะทั้ง 6 แล้ว เกิดความเพลิน ความพอใจ แล้วเราไปยึดถือในความเพลินความพอใจนั้น ก็จะมีความเป็นตัวตน (อัตตา) เกิดขึ้น คิดว่าจะต้องเป็นอย่างนั้นไปตลอด (นิจจัง) คิดว่าทำให้เราสุขไปตลอด (สุขขัง) จะเปลี่ยนแปลงเป็นอย่างอื่นไม่ได้ ทำให้เราเข้าใจว่า สิ่งที่สุขนั้น มัน “เที่ยง” ด้วยความเข้าใจผิดของเรา ทำให้เราไม่เห็น ทำให้เราเข้าใจว่าเป็น นิจจัง สุขขัง อัตตา ในสิ่งที่เป็น อนิจจัง[...]
- Q : คำกล่าวที่ว่า "ทำสมาธิไปเรื่อย ๆ แต่ไม่ทำกรรมฐาน จะไม่สามารถบรรลุธรรมได้" ถูกต้องหรือไม่อย่างไร? A : เมื่อเราฟังคำของใคร คนใดคนหนึ่งเกี่ยวกับคำสอนของพระพุทธเจ้า ให้เราจดจำและกำหนดบทพยัญชนะให้ดี แล้วนำไปเทียบเคียงในพระสูตร ตรวจสอบในพระธรรมวินัย หากลงรับกัน เราสามารถนำมาทำ นำมาปฏิบัติได้ ให้ทรงจำไว้ ในที่นี้ สมาธิ ท่านผู้ถาม น่าจะหมายถึง “สมถะ” อย่างเดียว ส่วน กรรมฐาน ท่านผู้ถามน่าจะหมายถึง “วิปัสสนา” ในทางคำสอนของพระพุทธเจ้า ทั้งสมถะและวิปัสสนา ต้องเคียงคู่กันไป จึงจะเบื่อหน่ายคลายกำหนัดและสามารถปล่อยวางได้ จะมีอย่างใดอย่างหนึ่งเพียงอย่างเดียวไม่ได้ Q : บางครูบาอาจารย์บอกว่า ขันธ์เป็นกิเลส กิเลสอาศัยขันธ์ หรือแม้แต่ ขันธ์เป็นกลาง ๆ เป็นเพียงธรรมชาติ ขันธ์นี้เป็นอย่างไรกันแน่ ? A : ขันธ์ หมายถึง กอง / ท่านบัญญัติขึ้นเพื่ออธิบายความจริงอันประเสริฐเรื่องทุกข์ ว่า “ขันธ์ 5” ได้แก่[...]
- Q : พุทธศาสนาในปัจจุบันนี้เจริญขึ้นหรือเสื่อมลง? และ ทำไมพระพุทธศาสนาเหมือนกันจึงปฏิบัติไม่เหมือนกัน ? A : คำสอน หากไม่มีคนนำมาใช้ ไม่มีคนนำมาปฎิบัติ ย่อมเสื่อมลง แต่หาก มีคนนำมาใช้ นำมาปฏิบัติและทำอย่างถูกต้อง กิเลสลดลง ๆ ก็จะเจริญขึ้น ๆ เพราะฉะนั้น ขึ้นอยู่กับการนำมาใช้งาน ไม่ได้ขึ้นอยู่กับคำสอน ท่านกล่าวไว้ว่า “ธรรมะที่จะทำให้เจริญได้ คือ ความไม่ประมาท” เป็นประโยชน์ทั้งในปัจจุบันและต่อไป ทั้งในโลกนี้และโลกหน้า ธรรมะที่จะทำให้เสื่อม คือ ความประมาท / ความแตกต่าง มีมาตั้งแต่สมัยพุทธกาลแล้ว เพราะท่านสอนไว้หลายอย่าง วิธีปฏิบัติก็หลายอย่าง ครูบาอาจารย์ ท่านชำนาญอย่างไหน ท่านก็สอนอย่างที่ท่านชำนาญ เลยทำให้ดูเหมือนว่าการปฏิบัติไม่เหมือนกัน Q : หลักการในการพิจารณาว่าอะไรเป็นธรรมวินัยตามคำสอนของพระพุทธเจ้า A ถ้าหากเราได้ยินได้ฟัง จากใครคนใดคนหนึ่ง บอกว่า นี่คือคำสอนของพระพุทธเจ้า เราอย่าพึ่งคัดค้านหรือปฏิเสธ แต่ให้ฟังไว้ก่อน กำหนดบทพยัญชนะและอรรถ ให้ถูกต้อง แล้วนำไปเทียบเคียง ในพระสูตรและพระธรรมวินัย ว่าเข้ากันได้ ลงกันได้หรือไม่[...]
- Q: พระวินัยที่ญาติโยมควรทราบ | อาชีวะของพระภิกษุ A: การดำเนินชีวิต คือ เรื่องเกี่ยวกับอาชีวะ ในทางพระสงฆ์ มีพระวินัยบัญญัติไว้ว่า ห้ามซื้อขาย แลกเปลี่ยนของ ด้วยรูปิยะ หมายถึง เงิน ธนบัตร ที่ท่านถือมาซื้อด้วยตัวเอง เราไม่ควรขายของให้กับพระภิกษุ หรือสามเณร เพื่อรักษาท่าน ไม่ให้ท่านทำผิดพระวินัย Q: วัตถุอนามาส A: สิ่งของที่พระไม่ควรจะแตะต้องหรือจับ เพราะจะทำให้ผิดศีลได้ง่าย มี 6 ประเภท ได้แก่ 1. ศาสตราวุธ 2. เครื่องดักสัตว์ 3. วัตถุของมีค่าหรือโลหะที่มีค่า 4. เครื่องดนตรี เครืองประโคม 5. สัตว์เดรัจฉานตัวเมีย (รวมไปถึงคนที่เป็นผู้หญิง ผู้ชายที่มีใจเป็นหญิง ตุ๊กตาตัวเมีย เครื่องแต่งกายของผู้หญิง) 6. ข้าวเปลือกหรือผลไม้ที่ออกรวง ออกผลแล้วอยู่ที่ต้น คือ ไม่ควรจับเอา Q: พระสามารถขับรถยนต์ได้หรือไม่? A: ในประเทศไทยพระห้ามขับรถ และทำใบขับขี่ Q: พระดูแลพ่อแม่ผู้ชราในลักษณะใกล้ชิด[...]
- Q: เหตุใดจึงทำให้คนเปลี่ยนไป จากหน้ามือเป็นหลังมือ (เปลี่ยนไปในทางอกุศล)? A: ท่านเคยเปรียบไว้ดังสะใภ้ใหม่ ที่เมื่อเข้ามาอยู่บ้านสามี แล้วละอาย เกรงกลัว พ่อ และแม่สามี คือ มี “หิริโอตตัปปะ” คือ มีความกลัว ความละอายต่อบาป แต่พออยู่นานเข้า หิริโอตตัปปะ ลดลง ไม่ฝึกสติ ฝึกใจ ทำให้ทำเรื่องไม่ดี หรือสิ่งที่เป็นอกุศลได้ ปัจจัยที่ทำให้เปลี่ยนจากเดิม เกิดได้ทั้งจาก 1. ปัจจัยภายใน คือ “หิริโอตตัปปะ” หากเรามีหิริโอตตัปปะ ฝึกสติ รู้จักหักห้ามใจ พอถึงจุดที่มีโอกาสจะทำชั่ว เราจะไม่ทำ หากเราไม่มีหิริโอตตัปปะ ไม่เคยฝึกสติ ไม่ฝึกหักห้ามใจ ก็จะทำสิ่งที่ชั่ว สิ่งที่เป็นอกุศลได้ 2. ปัจจัยภายนอก คือ ผัสสะที่เข้ามากระทบ เช่น เห็นช่องที่จะทำไม่ดีได้ ที่จะโกงได้ ทำชั่วได้ ตอบแทนความไว้วางใจด้วยความไม่ดี ให้เรามี “หิริโอตตัปปะ” หมั่นทบทวน และตรวจสอบตนเองอย่างสม่ำเสมอ ว่าเราเดินผิดทางหรือไม่ เปลี่ยนไปหรือไม่อย่างไร เพื่อไม่ให้เราเดินหลงทาง ด้วยการใช้เกณฑ์ของกุศล และอกุศลมาวัด[...]
- Q: สัปปุริสธรรม A: คือ ธรรมะของคนดี แยกตามนัยยะ คือ นัยยะที่กล่าวถึงการพูดดี คิดดี ทำดี ทั้งทางกาย วาจา ใจ นัยยะเรื่องวาจาที่พูดถึงคนอื่น คนดี จะพูดถึงความดีของคนอื่นโดยไม่ต้องถาม ยอมรับความไม่ดีของตนได้ ส่วนคนไม่ดี คือ เรื่องไม่ดีของตนไม่ยอมรับ จะชอบพูดเรื่องไม่ดีของคนอื่นแม้จะไม่มีใครถามก็พูด นัยยะของ สัปปุริสธรรม ตาม “ธัมมัญญูสูตร” นัยยะของสัปปุริสธรรม 7 และนัยยะของสัปปุริสธรรม 8 Q: ธัมมัญญุตา A: คือ เป็นผู้รู้เหตุแห่งหลักธรรม รู้ว่าสร้างเหตุนี้จะต้องได้ผลนี้ ในการเลือกตั้ง เราต้องเลือกคนดี ไม่ใช่เลือกเพราะอคติ/ลำเอียง เพราะรัก เพราะเกลียด/โกรธ เพราะกลัวภัย หรือเพราะหลง Q: อัตถัญญุตา A: คือ เป็นผู้รู้จักผล รู้ความหมาย รู้เนื้อความแห่งคำสอนนั้นว่าหมายความว่าอย่างไร Q: อัตตัญญุตา A:[...]
- Q: ความแตกต่าง ระหว่างความร่าเริงอาจหาญในธรรมกับทิฐิมานะขั้นละเอียด? A: การที่จะมีความร่าเริงอาจหาญในธรรมนั้น ต้องมีเหตุ มีปัจจัย จะมีความกล้า ที่มาจากคำว่า วิริยะ จะไม่สะดุ้งไปตามการเปลี่ยนแปลงของสิ่งต่างๆ จะเป็นคนที่มีปัญญา มีการใคร่ครวญ โยนิโสมนสิการ เห็นถึงความไม่เที่ยงเป็นทุกข์ ตามอริยสัจสี่ แล้วปล่อยวางได้ หากอยู่ๆ ก็กล้าขึ้นมาเลย นั่นจะเป็นลักษณะของกล้าบ้าบิ่น เป็น “ทิฐิมานะ” คืออาศัยอวิชชา เป็นความบ้าบิ่น ไม่รู้ ไม่เข้าใจสถานการณ์ Q: ทำไมอุรุสกชฎิลที่เชื่อในเรื่องอิทธิฤทธิ์จึงไม่ปลงใจเชื่อ แม้พระพุทธเจ้าจะแสดงปาฏิหาริย์มากมายก็ตาม แต่กลับสลดใจเมื่อพระพุทธองค์ทรงตรัสกลับว่า "ท่านไม่ได้เป็นอรหันต์ แม้ทางที่จะไปถึงอรหันต์ท่านก็ไม่มี"? A: เพราะคิดว่าอิทธิปาฏิหาริย์ไม่มีจริง เป็นเพียงกลลวงเท่านั้น และเพราะทิฐิมานะ ที่คิดว่าตนเองเป็นอรหันต์จริงๆ จึงทำให้เมื่อได้ยินท่านกล่าวเช่นนั้น จึงเกิดความสลดใจ ทิฐิมานะก็ต้องแก้ด้วยทิฐิมานะว่าทิฐิมานะที่มีนั้นไม่ถูก จึงจะเจริญขึ้นได้ Q: อธิบายขยายความใน “อาทิตตปริยายสูตร” ถึงการเปรียบเทียบ สุขเวทนาว่าเป็น “โลภะ” ทุกขเวทนาว่าเป็น “โกธะ” และอทุกขมสุขเวทนาเป็น “ความหลง”? A: ราคะ โทสะ โมหะ เกิดจากผัสสะ ท่านเปรียบไว้ดังของร้อน[...]
- Q: พระวินัยที่ญาติโยมควรทราบ | เหตุใดพระภิกษุต้องใช้ผ้าย้อมน้ำฝาด? A: การนุ่งห่มด้วยผ้าย้อมน้ำฝาด เป็นรูปแบบการปฏิบัติตั้งแต่สมัยพุทธกาล ท่านใช้ผ้าย้อมน้ำฝาด ด้วยเพราะหากเป็นสีขาวจะเปื้อนง่าย สีที่นำมาย้อมก็หาได้จากธรรมชาติ เช่น น้ำฝาดจากต้นไม้ เปลือกไม้ หรือดิน เหล่านี้ เรียกรวมกันหมดว่า “ย้อมน้ำฝาด” ที่ท่านให้นุ่งห่มเช่นนี้ เพราะเป็นทางสายกลาง ไม่ใช่สุดโต่ง 2 ข้าง คือ ไม่ได้ไม่นุ่งอะไรเลยหรือนุ่งห่มเหมือนพระราชาและเพื่อให้รู้ว่าเป็นนักบวช Q: แก้ไขจิตผูกโกรธ A: ความโกรธเกิดขึ้นที่จิต เหมือนสนิมที่เกิดขึ้นที่เหล็ก เราจะให้อภัยเขาได้ จะวางได้ 1. เราต้องเห็นด้วยปัญญาว่าความโกรธเกิดขึ้นที่ตัวเรา จะดับได้ ก็ดับที่ตัวเรา 2. เราจะดับความโกรธได้ด้วยเมตตา เราจะให้อภัยได้ด้วยความกรุณา (คือ ปรารถนาให้เขาพ้นจากความทุกข์) ต่อเขา 3. รักษาเขาและเราด้วยธรรมะ เช่นนี้ เป็นการที่เรารักษาตนเองก็เท่ากับรักษาเขาและการที่เรารักษาเขาก็เท่ากับรักษาตนเอง / การที่เราเห็นตัวมัน เรามีสติ ทำความเข้าใจกับมัน เราจะไม่กลัว ไม่ใช่ว่าโรคไม่ร้ายแรง แต่ความกลัวมันจะหายไป ตามหลักของอริยสัจสี่ ต้องมีโยนิโสมนัสิการ Q: ความกลัว[...]
- Q: ทำอย่างไร คิดอย่างไร จิตใจจึงจะไม่เบื่อเซ็ง? A: เราสามารถใส่ความเพียร ความขยัน ความกระตือรือร้น ลงไปในงาน ด้วย ”อิทธิบาท 4” ความเบื่อเซ็ง คือ “ถีนมิทธะ” เป็นหนึ่งในนิวรณ์ 5 ที่เป็นเครื่องกางกั้นไม่ให้จิตเราเป็นสมาธิ ให้เราตั้งสติ ฝึกทำบ่อยๆ เมื่อสติเรามีกำลัง จิตเป็นสมาธิแล้ว เราจะสามารถนำธรรมเครื่องปรุงแต่ง ที่ปรุงแต่งออกมาด้วยอิทธิบาท 4 เข้าไปเจริญด้วยสมาธิ จะทำให้เกิดการพัฒนา เกิดความก้าวหน้าได้ หรือหากเราอยู่ในสถานการณ์ที่กลืนไม่เข้า คายไม่ออก ให้เปลี่ยนสิ่งแวดล้อมใหม่ อย่าจมอยู่อย่างนี้ ภาษาอังกฤษเรียกว่า “Region-beta paradox” (เรื่องยิ่งร้าย ยิ่งกลายเป็นดี) หรือปรึกษาหาความรู้กับผู้รู้ จะช่วยได้
- Q: เพราะเหตุเมื่อทำบุญมานานๆ จึงไม่รู้สึกอิ่มใจอีกแล้ว? A: การเราที่ทำบุญทั้ง ทาน ศีล ภาวนา ก็เพื่อลดละกิเลส ไม่ได้หวังเอาอะไร ไม่ได้หวังเอาทั้งสุขและทุกข์ คือ เหนือสุขเหนือทุกข์ การที่เรารู้สึกเช่นนี้ คือ เราวางความสุขนั้นได้ เป็นอุเบกขา ต้องแยกให้ออกจากการมีโมหะที่เกิดจากความตระหนี่ Q: ข้อคิดจากเรื่องพระราธเถระ A: ท่านเป็นเลิศในเรื่องของปฏิภาณ ปฏิสัมภิทา เป็นพระที่บวชตอนแก่ / ข้อคิดมี 4 ข้อ คือ 1. ถูกลูกทอดทิ้งจนมาอยุ่ที่วัด 2. ความกตัญญูของพระสารีบุตรที่ท่านกตเวทีตอบแทน ด้วยการบวชให้ 3. เมื่อบวชแล้วเป็นผู้บอกง่ายสอนง่าย อดทนฟังรับฟังคำตักเตือนด้วยความเคารพหนักแน่น 4. เป็นผู้มีปฏิภาณ Q: พระพุทธเจ้าทรงจัดการกับภาวะโรคระบาดอย่างไร? A: ท่านใช้ธรรมะรักษาทั้งโรคทางใจ (ราคะ โทสะ โมหะ รักษาด้วย “มรรค 8”) และโรคทางกาย เมื่อใจสบายก็ย่อมส่งผลต่อกายด้วย จะหาย จะดีขึ้นได้หรือไม่นั้น ก็ตามควรแก่ฐานะที่จะมีจะเป็นได้ Q: พุทธศาสนาสามารถช่วยคนที่เป็นโรคซึมเศร้าได้หรือไม่?[...]
- Q: เวลาป่วยไข้มี “ทุกขเวทนา” ควรวางจิตอย่างไร? A: ให้เห็นทุกข์ในทุกข์ เราทุกข์ตรงไหน ทางแก้ก็อยู่ตรงนั้น นำ “ทุกขาปฏิปทา” มาใช้ คือ พอเรามีทุกข์ถาโถมเข้ามาท่วมทับแล้ว ให้ตั้งสติ ยอมรับมัน ดูแลไปเท่าที่ดูแลได้ รักษาจิตให้ดี ทำจิตให้ดี เดินตามทางสายกลาง Q: บุญจากการบวชแก้บนเป็นการผูกมัดสิ่งศักดิ์สิทธิ์หรือไม่? A: ผลของกรรมนั้นมีหลายอย่างมาเกี่ยวข้องกัน เป็นเรื่องของวิบาก เป็น “อจินไตย” จะให้บอกว่าได้หรือไม่ได้ หรือได้เมื่อไหร่ก็ไม่สามารถบอกได้ ในที่นี้ให้เราเดินตามทาง “มรรค 8” การบวช คนที่บวชก็ยังมีกิเลสอยู่ หรือไม่ได้บวชเพราะศรัทธา แต่เมื่อบวชมาแล้ว รู้ “อริยสัจสี่” ได้ ปฏิบัติดี มีปัญญาเพิ่มขึ้น มีความเข้าใจที่ถูกต้องว่าเงื่อนไขปัจจัยมีหลายอย่าง จะไปดีต่อไปได้ Q: คำว่า “บุญ” “กุศล” และ “บารมี” แตกต่างกันอย่างไร? A: ท่านได้กล่าวไว้ว่า "บุญ" เป็นชื่อแห่งความสุข "กุศล" ท่านพูดไว้ในกุศลกรรมบท 10[...]
- Q: ถ้าคนเราต้องตายแล้วเราจะเกิดมาทำไม? A: เราเกิดมาเพื่อที่จะแสวงหาความไม่เกิด คือ ความไม่ตาย นั่นคือ อมตะ ต้องปฏิบัติตาม ศีล สมาธิ ปัญญา มาตามทางมรรค 8 ก็จะถึง “นิพพาน” คือความไม่เกิด ไม่ตาย Q: คุณไสย คืออะไร? A: หากอธิบายเปรียบเทียบ ศาสตร์ ที่หมายถึง องค์ความรู้ ในที่นี้ มีพุทธศาสตร์ และไสยศาสตร์ โดยเอามาเปรียบเทียบกัน พุทธศาสตร์นั้นเมื่อประกอบด้วยสิ่งที่เป็นกุศล ทำแล้วเป็นกุศล อกุศลลด ส่วนไสยศาสตร์นั้นมักจะเจือปนด้วยอกุศล ทำแล้วอกุศลเพิ่ม เราควรเลือกเอาสิ่งดี สิ่งไหนที่ทำแล้วเป็นกุศล ทำแล้วอกุศลลดลง ให้เรารู้จักสังเกต ฝึกสติ มีจิตจดจ่อเป็นสมาธิ เราก็จะรู้จักแยกแยะได้ ละสิ่งที่เป็นอกุศลได้ ด้วยการเดินมาตามทางมรรค 8 Q: คุณพ่อดื่มเหล้า สูบบุหรี่จะทำอย่างไร? A: คนจะละสิ่งใดสิ่งหนึ่งได้ต้องเห็นโทษ เมื่อเรารู้โทษจริง ๆ แล้ว เราจะเลิกได้ แต่ต้องอาศัยศรัทธาที่ประกอบด้วยการทำจริงแน่วแน่จริงและในทางปฏิบัติ ควรมีกัลยาณมิตร[...]
- Q: เมื่อสุขแล้ว สำเร็จแล้ว อย่าประมาท A: ทุกข์ สุข กุศล อกุศล ผัสสะที่เข้ามากระทบ จะทำให้เกิดกุศลหรืออกุศลนั้น ขึ้นอยู่กับการวางจิตของเรา ว่าเมื่อมีผัสสะเข้ามากระทบแล้วเราจะทำอย่างไร หากผัสสะที่เป็นทุกขเวทนาเข้ามากระทบ แล้วเราขยะแขยง เกลียดชัง ก็จะกลายเป็น อกุศล แต่ใจขณะเดียวกัน หากผัสสะที่เป็นทุกขเวทนา เข้ามากระทบแล้ว เราอดทน เรามีเมตตาได้ นั่น จะเกิดเป็นกุศล คนมักจะเชื่อมทุกขเวทนาว่าเป็นทุกข์, สุขเวทนาว่าเป็นสุข แต่แท้จริงแล้ว ทั้งทุกข์และสุขนั้น ก็สามารถก่อให้เกิดได้ทั้งกุศลและอกุศลได้เช่นกัน ขึ้นอยู่กับการวางจิตของเรา ว่าหากเรามีสุขเวทนาแล้ว เราจะกำหนัด ยินดี พอใจ เพลินไปกับสุขเวทนานั้นหรือไม่ เพราะหากเราเพลิน กำหนัด ยินดี พอใจ นั้นคือ “อุปาทาน” เป็น อกุศล เพราะฉะนั้น ถ้าเราได้ดีในชีวิตอยู่แล้ว ให้รักษาให้ดี ไม่ใช่หวงกั้น ถ้ารักษาไม่ดี กลายเป็นความหวงกั้น นั่นก็จะกลายเป็น “อกุศล” ซึ่งจะทำให้สิ่งดีๆ ที่เรามี กลายเป็นไม่ดีไป[...]
- Q: เมื่อมีจิตฟุ้งซ่านไปในเรื่องอกุศล และไปผูกติดในสิ่งนั้นๆ ด้วย จะมีวิธีแก้ไขจิตอย่างไร? A: ให้เราเรียกสติของเรากลับมา ด้วยการ ใช้คำว่า พุทโธ คือ “พุทธานุสติ”, พิจารณาในความเป็นปฏิกูล คือ “กายคตาสติ”, สอบถามผู้รู้, พิจารณาเห็นโทษของสิ่งที่เป็นอกุศล สวดมนต์ หรือข่มจิตด้วยจิต บีบบังคับจิตด้วยจิต แล้วอย่าตามภาพหรือเสียงนั้นไป เพราะอาจจะวิปลาสภาพ วิปลาสเสียงได้ อย่างไรก็ดี เมื่อเราเห็นว่าจิตของเราเป็นอย่างไร เราจะแก้ไขได้แน่นอน Q: ที่ทำงานยุงชุกชุมมากควรจัดการอย่างไรดีจึงจะเป็นการไม่บาป? A: ทำจิตให้มีความเมตตา กรุณา ไม่เบียดเบียนกัน หากเราไม่พอใจ จะเป็นบาป ให้หาวิธีป้องกันก่อนที่จะไปทำงาน เช่น ทายากันยุง จะช่วยได้ Q: ช่วยขยายความประโยคที่ว่า "เป็นผู้ถึงฝั่งแห่งภพ มีใจพ้นวิเศษ ฯ"? A: ท่านแสดงธรรมให้ นักกายกรรม ชื่อ “อุคคเสน” เห็นโทษของการยึดถือ ในขันธ์ 5 ในที่นี้ ขันธ์ 5 คือ[...]
- Q: ความหมายของ “อนัตตา” A: อนัตตา หมายถึง สิ่งใดที่อาศัยเงื่อนไขปัจจัยในการเกิด ไม่ได้เป็นตัวของตัวเอง อาศัยกันและกันจึงเกิดขึ้น ซึ่งถ้าเงื่อนไขที่มันมีอยู่ ดับไปหายไป สิ่งนั้นก็ต้องดับไปหายไป เพราะฉะนั้น หากเราเข้าใจว่า สิ่งที่เป็นอนัตตา ว่าเป็นตัวเรา เป็นของเรา เราจะเป็นทุกข์ / คำกล่าวที่ว่า อนิจจัง ทุกข์ขัง อนัตตา นั้น ท่านได้สอนไว้เป็นพระสูตร แยกกัน จะสลับหน้าหรือหลังก็ได้ เพราะคืออันเดียวกัน Q: เมื่อเกิดการกระทบกระทั่งกันระหว่างพี่น้อง ควรวางจิตอย่างไร? A: ให้ละการอาฆาต ด้วยการเมตตาต่อกัน ไม่พูดทิ่มแทงกัน แสดงความปรารถนาดีต่อกัน ทำดีต่อกัน ตั้งแต่ยังมีชีวิตอยู่ Q: ความหมายของคำว่า จิต, ใจ, มโน, วิญญาณและธรรมารมณ์? A: ใจกับมโน คือ สิ่งเดียวกัน, ทั้ง จิต ใจ มโน วิญญาณและธรรมารมณ์นั้นเป็นนาม เหมือนกัน จิต[...]
- Q: การเผยแผ่ธรรมะ ผ่านสื่อสังคมออนไลน์ ควรวางตัวอย่างไร? A: การแนะนำ ชักชวน หรือแชร์โพสต์ธรรมะ ก็เป็นรูปแบบหนึ่งที่ควรจะชักชวนกัน ดีกว่าชวนกันไปกิน ไปดื่ม ไปเล่น ปรารภเรื่องของกาม ในโลกที่ชุ่มอยู่ด้วยกาม พอมีคนพูดเรื่องให้หลีกออกจากกาม การที่จะมีคนว่าแปลกนั้นเป็นเรื่องธรรมดา Q: มีบางคนพูดว่า “ไม่ต้องให้เงินพระหรอก” การพูดแบบนี้ เรียกว่ามี “มิจฉาทิฏฐิ”หรือไม่ หากมีผลของกรรมเป็นอย่างไร? A: เมื่อได้ยิน ได้ฟังเรื่องใด ให้นำมาพิจารณา ใคร่ครวญ ว่าผู้กล่าวเป็นผู้ที่ ไม่มีราคะ ไม่มีโทสะ ไม่มีโมหะ หรือไม่? พระพุทธเจ้า ท่านเป็นผู้ที่ ไม่มีราคะ ไม่มีโทสะ ไม่มีโมหะ เราควรฟังคำสอนของท่าน ท่านได้สอนเรื่อง “การแบ่งจ่ายทรัพย์” ซึ่งในหน้าที่ ข้อที่ 4 คือ อุทิศให้แก่ สมณพราหมณ์ คือ ผู้ที่หลีกออกจากเรือน เป็นผู้ปฏิบัติดี ปฏิบัติชอบ เป็นเนื้อนาบุญ สมณพราหมณ์ท่านไม่ได้ยินดีใน เงินและทอง แต่ยินดีในปัจจัยสี่ที่เขานำมาถวายได้ ดังนั้น[...]
- Q : จะมีวิธีแก้ไขอย่างไร ที่จะเปลี่ยนนักการเมืองที่มีมิจฉาอาชีวะมาเป็นสัมมาอาชีวะ ? A : การที่จะมีสัมมาอาชีวะได้ จะต้องมีสัมมาทิฎฐิ เป็นองค์นำหน้า เพราะหากเราไม่มีสัมมาทิฏฐิแล้ว เราจะไม่รู้ได้เลยว่าการดำเนินชีพอย่างไรจึงจะเป็นสัมมาอาชีวะ การดำเนินชีพอย่างไรเป็นมิจฉาอาชีวะ ซึ่งการดำเนินชีพที่เป็นมิจฉาอาชีวะนั้น จะไม่ใช่ไปในทางหลุดพ้นหรือ”สลัดแอก” ได้ คำว่า “สัมมา” แปลว่า การสลัดแอก ในที่นี้คือ สลัด ละตัณหา กิเลส อวิชชา ให้เบาบางลงลดลง สัมมาทิฏฐิ คือ ทิฏฐิที่เป็นไปด้วยการสลัดแอก ลดกิเลส ส่วน “มิจฉา” คือ การที่เป็นไปเพื่อให้กิเลสเพิ่มพูนมากขึ้น เช่นนี้คือ “มิจฉาทิฏฐิ” Q : ความหมายของ “อาชีวะ” A : คือ ศิลปะ ในการหาทรัพย์, ดำเนินชีวิต อาชีพ Q : ธรรมะกับนักการเมือง A : คนที่จะมีกำลังที่จะผลักดันจิตใจให้ทำงานเพื่อคนอื่นได้ ต้องมีความดีอยู่ในใจอยู่แล้ว ให้เอามรรค 8[...]
- Q: ห่วงความรู้สึกของคนอื่น จนไม่เป็นตัวของตัวเอง ควรจะทำอย่างไร? A: ความรู้สึกเช่นนี้ คือ ต้องการให้สิ่งภายนอก คือคนในสังคมยอมรับเรา แต่จริงๆ แล้วต้องการหลุดพ้นจากสภาพเช่นนี้ กิเลส มันสุดโต่ง 2 ด้าน ทั้ง ด้านที่เป็นลักษณะของ “ภวตัณหา” คือ อยากมีอย่างนั้นอย่างนี้ อยากเป็นนั่นเป็นนี่ และ “วิภวตัณหา” คือ ความอยากที่จะไม่มีไม่เป็น ทางแก้ คือ ให้เรารักษาตนเองและรักษาผู้อื่น โดย รักษาตนเองด้วยการประพฤติปฏิบัติธรรมให้มากและรักษาผู้อื่นด้วยการ อดทน ไม่เบียดเบียน เมตตา และรักใคร่เอ็นดู ให้เราตั้งสติขึ้น เจริญสติปัฏฐาน 4 ระลึกถึงลมหายใจ เมื่อจิตเป็นสมาธิแล้ว เราก็จะเห็นไปตามจริง ว่าสิ่งไหนเที่ยง สิ่งไหนไม่เที่ยง เราก็จะละ จะกำจัดอาสวะได้ ซึ่งการที่เราจะละสิ่งใดสิ่งหนึ่งได้นั้น เราต้องเห็นโทษ เห็นความไม่เที่ยงของมัน เห็นว่า ความคิดทั้งดี และไม่ดีนั้น ไม่ใช่ของเรา แต่หากความคิดไหนเป็นประโยชน์ให้เอาไว้ ความคิดอันไหนไม่เป็นประโยชน์ให้เราละ ให้เอาทางที่เป็นมรรค 8 ไว้[...]
- Q: ทำไมต้องทำบุญ บอกบุญ? A: “บุญ” ไม่ได้หมายถึง การให้ทานอย่างเดียวเท่านั้น แต่ยังรวมไปถึง การรักษาศีล และการภาวนาด้วย ซึ่งเมื่อเราทำบุญแล้ว เราจะไปยังที่ ที่ดี ไม่ตกต่ำ / การบอกบุญ ก็ไม่ได้หมายถึงการให้ทานอย่างเดียว ยังรวมถึงการเมตตาต่อผู้อื่น หรือคอยเตือนเพื่อนให้ตั้งอยู่ในความไม่ประมาท ให้รักษาศีล ก็เป็นบุญ Q: ทำไมต้องอนุโมทนา? A: การอนุโมทนา เป็น “มุทิตา” คือ ยินดีในความดีของคนอื่น เป็นบุญต่อๆ กัน ทวีคูณกันขึ้นไป ไม่ริษยาในการกระทำของเขา เราจะลดความริษยาได้ Q: ทำไมต้องกรวดน้ำ? A: การกรวดน้ำเป็นการกระทำทางกาย ที่แสดงถึงการอนุโมทนา ไม่ได้เป็นคำสอนของท่านโดยตรง ซึ่งในทางคำสอนนั้น ท่านสอนเรื่องของจิตใจ สำคัญที่ตั้งจิต จะมีน้ำหรือไม่มีก็ได้ Q: การอธิษฐานเป็นการทำบุญหวังผล? A: หากเราตั้งจิตอธิษฐาน ที่ไม่เกี่ยวข้องด้วยกาม ตั้งอยู่ในมรรค 8 จะทำให้กิเลสลดลง ความยึดถือลดลง จึงจะเป็นการตั้งจิตอธิษฐาน ด้วยความถูกต้อง[...]
- การกระทำเพื่อให้เกิดปัญญา "สติ 5 ขั้นตอน" การที่จะเกิดปัญญาได้ ต้องมีอินทรีย์ที่แก่กล้า การที่จะมีอินทรีย์แก่กล้าได้ ต้องมีสติ / ลักษณะของสติ 5 ประการ คือ 1. สังเกต 2. แยกแยะ 3. แยกตัว 4. ทางเลือก 5. ระลึกถึง พอแยกแยะแล้วจะทำให้เห็นภาพที่จะปฏิบัติชัดเจนขึ้นและเมื่อสติมีกำลังเพิ่มมากขึ้น จากการฝึกทำ จะทำให้สมาธิเกิดขึ้นได้ และเมื่อจิตระงับลงๆ ไม่เผลอ ไม่เพลิน อินทรีย์ คือ ศรัทธา วิริยะ สติ สมาธิ เต็มขึ้น แก่กล้าขึ้น ปัญญา จะมีกำลังขึ้นมา ภาวนามยปัญญา (ปัญญาที่เกิดจากการเห็นจริงตามนั้น / เกิดได้จากความเพียร และศรัทธา) ก็จะเกิดขึ้น แก่กล้าขึ้น และเมื่ออินทรีย์เต็มขึ้น ทั้ง 5 อย่าง จะทำให้สามารถบรรลุธรรมได้เร็ว Q: ควรจะทำอย่างไรถ้ามีความเชื่อ ความศรัทธาที่ขัดแย้งกับหลักคำสอน? A:[...]
- Q: ความหมายของคำว่า "เกิดมาใช้กรรม" และ "ใบไม้กำมือเดียว"? A: เกิดมาใช้กรรม ไม่มีในพุทธพจน์แต่ที่ท่านได้กล่าวไว้ คือ เกิดมาสิ้นกรรม กรรมเป็นเรื่องของเหตุผล ท่านจึงสอนเรื่องการอยู่เหนือเหตุเหนือผล คือ มรรค 8 เมื่อเราไปตามทางนี้แล้ว เราจะหลุดพ้น สามารถดับเหตุได้ เมื่อเหตุดับผลก็ดับ "ใบไม้กำมือเดียว" หมายถึง สิ่งที่สอนเท่ากับใบไม้ในกำมือ สิ่งที่ท่านรู้เท่ากับใบไม้ทั้งหมด ท่านไม่ได้สอนทั้งหมดเพราะไม่ได้เป็นทางหลุดพ้น ไม่ได้เป็นทางตรัสรู้ธรรม Q: การนำธรรมะไปใช้สอนลูกหลาน? A: สอนให้เขามีหิริโอตตัปปะ ให้เข้าใจเหตุผล ให้เกรงกลัวละอายต่อบาป โดยอย่าขู่ให้เขากลัว Q : ฝันถึงคุณพ่อคุณแม่ที่เสียชีวิตไปแล้วบ่อยๆ ว่าท่านยังมีชีวิตอยู่ เช่นนี้ เป็นเพราะท่านยังไม่ไปเกิด หรือเพราะคิดถึง และวิตกกังวลมากเกินไป? A : คนเราพอจุติแล้วจะไปเกิดทันที ตามกรรมที่ได้ทำไว้ การที่เราฝัน อาจมาจาก เรากังวลใจ ทุกข์ใจ เราต้องตั้งสติเห็นไปตามจริง ซึ่งการที่จะเห็นไปตามจริงนั้นจิตต้องมีความรู้ เกิดการเบื่อหน่ายคลายกำหนัด จึงจะสามารถปล่อยวางได้ Q: สอนเด็กอย่างไรให้เขาเชื่อฟัง? A:[...]
- Q: ข้อคิดในวันตรุษจีน ว่าด้วยเรื่องของ “การบูชา” A: การบูชาบรรพบุรุษ เป็นการบูชาผู้ที่ควรบูชา เป็นมงคล ลักษณะการนำสิ่งของ หรืออาหารไปวางไว้หน้าหลุมศพ หรือป้ายบรรพบุรุษนั้น เป็นการบูชายัญ คือ การให้โดยไม่มีผู้รับ แต่หากในเรือนของเรา มีบรรพบุรุษที่ท่านยังมีชีวิตอยู่ แล้วเราบูชาท่าน เช่นนี้ไม่ถือว่าเป็นการบูชายัญ แต่เป็นการให้ทาน เราก็จะได้บุญขึ้นไปอีก เพราะเรามีบุคคลที่ควรบูชา คือ อาหุไนยบุคคล ทักขิเณยยบุคคล การจัดเครื่องเซ่นไหว้ เป็นลักษณะของการบูชาเทวดา สามารถทำได้ โดยบูชาความดีของท่านเหล่านั้น ส่วนการบูชาด้วยของหอม การทำความสะอาดบ้านเรือนเป็นการดูแลเสนาสนะ ก็เป็นประเพณีที่ดี การจัดหิ้งพระ เหล่าเทวดาทั้งหมดจะบูชาพระพุทธเจ้าและเหล่าอรหันต์สาวกทั้งหลาย ดังนั้นจึงเริ่มจาก พระพุทธเจ้าอยู่สูงสุด รองลงมา คือ พระโพธิสัตว์ พรหม เทวดา ตามลำดับ เมื่อเรากระทำทางกาย วาจา ใจ ที่ดี แล้วเข้าใจความเป็นเหตุ เป็นผล ปัญญาจะเกิดขึ้น ไม่ได้ทำด้วยความงมงาย หรือด้วยการอ้อนวอนขอร้อง (สีลัพพัตตปรามาส) ก็จะเป็นประเพณีที่ดี และเมื่อเราทำแล้ว ตั้งจิตให้ดี ความเป็นมงคลก็จะเกิดขึ้นกับเรา Q:[...]
- Q: มีความรู้สึกเหมือนไม่ได้มีตัวตนอยู่จริง มีแค่ความรู้สึกที่รับรู้เรื่องราวต่างๆ อยู่ เหมือนกำลังดูละครโรงใหญ่อยู่ สภาวะแบบนี้คืออะไร? A: ลักษณะเช่นนี้ คือ “สติ” ที่เริ่มมีการแยกตัวออกจากสิ่งนั้นๆ โดยเมื่อเห็นเช่นนี้แล้วเราสามารถเลือกได้ว่า จะไปตามทุกข์หรือสุข ในสภาวะนั้น หรือ ดูเฉยๆ หรือเลือกสิ่งที่เป็นประโยชน์ คือ ไม่ยึดถือในสภาวะแบบนั้น นั่นคือ เรามี “สติสัมปชัญญะ” แล้ว Q: เมื่อตายแล้ว อะไรที่ผู้ปฏิบัติดี ปฏิบัติชอบจะเอาไปด้วยได้? A: ถ้ายังไม่ปรินิพพาน เมื่อตายแล้วสิ่งที่จะติดตามไปด้วยได้ คือ กุศลและอกุศล เพราะการ กระทำทางกาย วาจา ใจ จะสั่งสมมาที่จิต มันจะให้ผลที่สืบเนื่องไป หากเรามีกุศลจิต กุศลจิตที่ไปเกิดใหม่นั้น คือ จะไปยังที่ ที่มีความสุขได้ หากปรินิพพาน ท่านไม่ได้เอา ศีล สมาธิ ปัญญา ไปด้วย เพราะสภาวะแห่งการสั่งสมนั้นดับไป คือจิตดับไป มันจึงให้ผลไม่ได้ เพราะฉะนั้น ก่อนจะไปถึงนิพพาน[...]
- Q: ถ้าเรามีคุณธรรมความเป็นคนถ่อย ควรแก้ไขอย่างไร? A: ความเป็นคนถ่อย “วสลสูตร” กล่าวถึงคุณธรรมของคนถ่อย 20 ประเภทไว้ / บุคคลไม่ได้เป็นคนถ่อยด้วยเพราะชาติกำเนิด ไม่ได้เป็นพราหมณ์ด้วยเพราะชาติกำเนิด แต่การที่จะเป็นคนถ่อยหรือเป็นพราหมณ์ ก็เพราะกรรม คือ การกระทำ ถ้าเราทำกรรมไม่ดีก็เป็นคนถ่อย ทำกรรมดีก็เป็นพราหมณ์ (พราหมณ์ ในที่นี้ คือ ผู้ที่ลอยบาปแล้ว) Q: เมื่อจิตไม่สงบ ขี้โมโห ควรแก้ไขอย่างไร? A: ทั้งความสงบและความโกรธ ล้วนเป็นอนัตตา เมื่อเป็นอนัตตา ก็อยู่ที่ เหตุ เงื่อนไข และปัจจัย ถ้าเราสร้างเหตุเงื่อนไขแห่งความโกรธ ความโกรธก็มีมา ให้เราสร้างเหตุ เงื่อนไข ปัจจัย คือ รักษาศีล ฟังธรรมเป็นประจำ ปฏิบัติธรรม ฝึกสมาธิทำจิตให้สงบ เพื่อเป็นการให้อาหารใจ คบกัลยาณมิตร ให้มีปัญญารู้จักสังเกต เห็นความเกิดขึ้น เห็นความดับไป เห็นว่าสิ่งต่างๆ มีความไม่เที่ยงเป็นธรรมดา มีทั้งสติ และสัมปชัญญะอยู่ตรงนี้ จะสามารถปล่อยวางได้
- Q: การ "พึ่งตนพึ่งธรรม" หมายถึงอะไร ต้องปฏิบัติอย่างไร? A: หมายถึง ให้เรามี “สติปัฏฐาน 4” ในจิตใจของเรา คือ ให้จิตของเรามีที่ตั้ง ที่ระลึกถึง แล้วไม่เผลอ ไม่เพลิน จึงจะเรียกว่า “พึ่งตนพึ่งธรรม” ถ้าไม่มีสติ คือ เผลอ เพลิน ลุ่มหลง กำหนัดยินดีพอใจหรือไม่ยินดีพอใจ เช่นนี้คือ ไม่มีที่พึ่ง คือ ไม่พึ่งตนพึ่งธรรม Q: ตนเป็นที่พึ่งแห่งตน? A: ธรรมะของพระพุทธเจ้าเป็นเครื่องบอกทาง เป็นแผนที่ ที่เราถือไป เราต้องเดินไปเอง คือ พึ่งตนพึ่งธรรม หรือเมื่อมีความทุกข์ในจิตใจ เราก็ต้องเป็นผู้ถอนลูกศรเอง จึงจะถอนความเจ็บปวดได้ ก็ต้องพึ่งตนพึ่งธรรมนั่นเอง Q: ให้เป็นผู้ที่อยู่ผาสุกได้ด้วยการพึ่งตนพึ่งธรรม มีตนเป็นที่พึ่งของตน A: สติ เมื่อฝึกให้มาก เจริญให้มาก จะทำให้ เราเข้าใจ “โลกธรรม 8” รู้ชัดด้วยสติ เกิดปัญญาแล้วปล่อยวางได้ เราก็จะอยู่กับทุกข์โดยไม่ทุกข์ ให้เรามีความก้าวหน้า[...]
- Q: มองอย่างไรให้เห็นโมหะ? A: โมหะ ที่ออกมาในช่องทางใจ คือ มืด เห็นไม่ชัดเจน มองไม่เห็นไม่เข้าใจ จึงมีความวิปลาส (ความเข้าใจผิด) เข้าใจว่าสิ่งที่ไม่เที่ยงว่าเที่ยง เข้าใจว่าสุขเวทนาเป็นสุข เป็นเหมือนภาพลวงตา ไม่เข้าใจว่าเมื่อสิ่งนี้มี สิ่งนี้จึงมี ไม่เข้าใจปฏิจจสมุปบาท / ตัวอย่างอื่นๆ เช่น ความแก่ ความเจ็บ ความตาย เห็นความตายซ่อนอยู่ไหม ถ้าไม่เห็น ก็มีโมหะมาก จะกำจัดโมหะ ได้ด้วย “ปัญญา” เป็นดั่งแสงสว่าง เหมือนไฟฉาย ที่จะสว่างมากหรือน้อย อยู่ที่กำลังปัญญา เมื่อเห็นความไม่เที่ยงของสิ่งต่างๆ ได้แล้ว จะสามารถกำจัดโมหะได้ จะเป็นปฏิปทาอันเป็นที่สบาย ให้ไปถึงนิพพาน ข้างหน้าได้ Q: การเกิดเป็นมนุษย์หรือเทวดา อย่างไหนจะดีกว่ากัน? A: เทวดาจะบรรลุธรรมได้ง่าย หากอ้างอิงจากพระสูตรที่เกี่ยวข้องกับเทวดา จะเป็นพระสูตรสั้นๆ ที่เมื่อฟังแล้วจะบรรลุธรรมได้เร็ว ซึ่งการที่เทวดาบรรลุธรรมได้เร็ว ส่วนหนึ่งอาจเพราะเค้ามีปัญญา มีทาน ศีล ภาวนา สั่งสมบุญมามาก จึงเกิดเป็นเทวดา และพอได้ฟังธรรม ก็ทำให้บรรลุธรรมเร็ว Q:[...]
- Q: ทำไมการเสี่ยงทาย หรือการบนบาน จึงเป็นการให้กําลังใจได้? A: กำลังใจเกิดได้ เพราะศรัทธา การที่เราเสี่ยงทาย หรือบนบาน เพราะต้องการกำลังใจ เมื่อผลที่ได้เป็นดังหวัง ก็ทำให้เกิดมีกำลังใจ การเสี่ยงทายของพระโพธิสัตว์ แตกต่างจากการบนบาน เพราะท่านมีความตั้งใจมั่น มีศรัทธา มีความเชื่อ ว่าจะบรรลุ จึงทำให้เกิดการทำจริง แน่วแน่จริง ไม่ย่อท้อ ไม่ได้ประกอบด้วยการอ้อนวอนของร้อง หรืออามิส ส่วนการบนบานนั้น เป็นการวิงวอน ขอร้อง อ้อนวอน โดยไม่ลงมือทำ ในทางพุทธศาสนา ศรัทธาต้องประกอบด้วยปัญญาเสมอ เพื่อให้เกิดความสมดุล เพราะหากศรัทธามากเกินปัญญาจะกลายเป็นงมงาย แต่ศรัทธาที่ประกอบด้วยปัญญา จะเกิดการลงมือทำจริง แน่วแน่จริง ทำตามมรรค 8 อริยสัจสี่ ปัญญานั้นอยู่ในความเชื่อนั้น การลงมือทำนั้น จึงเป็น “กุศล ธรรม” Q: การตามหาความจริงตามหลักกาลามสูตร A: ความเชื่อ การที่เราจะเชื่อว่าเรื่องนี้จริงหรือไม่จริงนั้น ในการตามหาความจริง เราต้องตั้งจิตไว้ก่อนว่าเรื่องนี้อาจจะไม่จริงก็ได้ หากเราจะตามรักษาซึ่งความจริง อย่าพึ่งปักใจเชื่อว่าสิ่งนี้เท่านั้น สิ่งอื่นเปล่า ทางสายกลาง ไม่ใช่ว่าสุดโต่งไปด้านใด ด้านหนึ่ง เราต้องตามดูเหตุ[...]
- Q: การเห็นเกิดดับ A: ท่านหมายถึง การเห็นความไม่เที่ยง เห็นความที่อาศัยเหตุเกิด เห็นเหตุการณ์เกิด เห็นผลของมัน ว่าผลที่เกิดขึ้น มีเหตุแห่งการเกิด Q: การเห็นอสุภะกรรมฐาน A: คือ การพิจารณาเห็นว่า ผม ขน เล็บ ฟัน หนัง เป็นของไม่งาม เป็นของปฏิกูล Q: การตั้งอธิษฐานจิต A : หมายถึง การตั้งใจมั่นอย่างแรงกล้าที่จะทำสิ่งใด สิ่งหนึ่ง Q: การมักมากกับการเปิดเผย A: การทำความดี หากทำแล้วยังประกอบไปด้วยตัณหา คือ เป็นไปด้วยกับการมีภพ-สภาวะใหม่ มีความกำหนัดด้วยอำนาจของความเพลินและต้องการลาภปัจจัยสี่ ที่เกี่ยวเนื่องด้วยกาม นั่นคือ ไม่ได้เจตนาดี หากเราทำความดี แล้วไม่ได้เกี่ยวข้องด้วยตัณหา อดทนต่อคำด่า คำชมได้ ทำเช่นนี้ได้ คือดี ยิ่งเปิดเผยยิ่งเจริญ Q: ฌาน 2 กับวิปัสสนา A: เมื่อเข้าสมาธิจิตสงบแล้ว สมถะและวิปัสสนา จะเข้ากันได้ พอดีกัน เสมอกัน[...]
- Q : ที่มาของ “ข้าวก้นบาตรพระ” A : คือ อาหารที่เหลือจากการพิจารณาของพระสงฆ์ เป็นอาหารที่พระได้มาจากสัมมาอาชีวะ จากการบิณฑบาตด้วยปลีแข้งของตน เป็นอาหารที่เกิดจากบุญ จากศรัทธาของผู้นำมาถวาย จากผู้รับคือพระสงฆ์ ที่มี ราคะ โทสะ โมหะ น้อย พิจารณาแล้วจึงบริโภค อาหารนี้จึงเป็นอาหารทิพย์ Q : รักษาจิตด้วย อัปปมัญญา, พรหมวิหารและทิศทั้ง 6 A : อัปปมัญญา คือ การพ้นที่อาศัยพรหมวิหาร คือมี เมตตา กรุณา มุทิตาและอุเบกขา “เมตตาเจโตวิมุต” คือ ความหลุดพ้นแห่งจิตที่อาศัยเมตตา จะกำจัดความพยาบาทได้ จะมีผลคือ “สุภวิโมกข์” (ความสุขที่หลุดพ้น สุขที่อยู่ภายใน) “กรุณาเจโตวิมุต” คือ ความหลุดพ้นแห่งจิตที่อาศัยกรุณา จะกำจัดความเบียดเบียน คิดให้เค้าได้ไม่ดี ในจิตใจของเรา “มุทิตาเจโตวิมุต” คือ ความหลุดพ้นแห่งจิตที่อาศัยมุทิตา จะกำจัดความไม่ยินดีในความสำเร็จของเขาอย่างใดอย่างหนึ่ง ที่มีในจิตใจของเรา ให้ออกไป[...]
- Q: เมื่อจะถวายทานแก่สงฆ์ ควรเจาะจงพระอรหันต์ และพระที่ปฏิบัติดีเท่านั้นหรือไม่? A: ผู้ให้ ควรตั้งจิตว่า ขอถวายทานให้แก่สงฆ์ คือ หมู่ที่ปฏิบัติดี ปฏิบัติชอบ โดยมีภิกษุที่มานี้เป็นตัวแทน การถวายนั้นจะได้บุญมาก เพราะบุญนั้นจะได้ถึงพระอรหันต์ ที่ท่านไม่ได้มาด้วย ให้เราตั้งศรัทธาไว้กับ พุทโธ ธัมโม สังโฆ ไม่ใช่ภิกษุรูปใดรูปหนึ่ง หรือบุคคลใด บุคคลหนึ่ง เราต้องตั้งศรัทธาให้ถูกที่ การให้ทานแบบนี้ดี เรียกว่าเป็น “ปาริจริยานุตตริยะ” คือ การได้บำรุงอันยอดเยี่ยม บำรุงใน พุทโธ ธัมโม สังโฆ โดยมีพระพุทธเจ้า หรือสงฆ์กลุ่มใดกลุ่มหนึ่งเป็นตัวแทน Q: เมื่อใส่บาตรควรตั้งจิตไว้อย่างไร? A: ควรตั้งจิตไว้ว่า “เราจะถวายให้แก่หมู่ภิกษุที่ปฏิบัติดี ปฏิบัติชอบ โดยมีภิกษุรูปนี้เป็นตัวแทน ถ้าเราตั้งจิตถูก ก็จะเลื่อมใส ไม่เศร้าหมอง Q: การใส่/รับ บาตรของพระ และข้อวัตรในการบิณฑบาต A: ท่านรับได้วันละ 3-4 บาตร (ใส่เต็มแล้วเทออก) เท่านั้น กรณีของงานบุญ[...]
- Q: อุทิศบุญที่เกิดจากการฟังธรรมให้บิดามารดาผู้ล่วงลับ ท่านจะได้รับหรือไม่? A: บุญเกิดจากได้จากหลายอย่าง ทั้งเกิดจาก ทาน ศีล ภาวนา การประพฤติอ่อนน้อม การช่วยคนอื่นด้วยแรงกาย การอนุโมทนาบุญ การแบ่งส่วนความดีให้คนอื่น การฟังธรรม การสอนธรรมะให้คนอื่น และการทำความเห็นให้ตรง / ในส่วนของบุญที่เกิดจากการฟัง ผู้ฟังจะเป็นผู้ได้บุญ ส่วนผู้ที่ล่วงลับไปแล้ว จะไม่ได้บุญในส่วนนี้ แต่หากผู้ให้ทำบุญแล้วแผ่เมตตาให้กับบิดา มารดาผู้ล่วงลับ ท่านก็จะได้รับบุญในส่วนนี้ Q: การแผ่เมตตาให้กับคนที่ไม่ชอบเรา จะทำให้ความรู้สึกที่ไม่ดี กลับมาดีได้หรือไม่? A: เมื่อเราแผ่เมตตาให้เขา เขาจะรับกระแสแห่งความเมตตานี้ได้แน่นอน ให้เราตั้งจิต มีสติสัมปชัญญะ มีอุเบกขา รักษาจิตเราให้ดี Q: อย่าเมาบุญ แต่ให้เหนือบุญ เหนือบาป? A: คืออย่าสับสนว่าบุญจะรักษาเราได้ตลอด อย่าเข้าใจผิด เพราะถ้าเราเมาบุญ คิดว่าบุญนี้ของเรา เราจะวางไม่ได้ หากเราเข้าใจถูก มี “ทิฏฐุชุกัมม์” เห็นให้ตรง เข้าใจความจริงที่ว่า บุญก็ไม่เที่ยง สภาวะที่เราคิดว่าเที่ยงแท้ก็ไม่เที่ยง เราจะวางได้ อยู่เหนือบุญ เหนือบาปได้[...]
- Q: พระพุทธเจ้าองค์ก่อนๆ ท่านมีการปลงอายุสังขาร หรือมีการทูลขอให้อยู่ไปจนอายุ 1 กัป มีหรือไม่? A: พระพุทธเจ้าของเรา อายุน้อยที่สุดแล้ว ส่วนองค์อื่นๆ ท่านจะเกิดในสมัยที่มีอายุยืนกว่า 100 ปี และในพระสูตรก็ไม่มีปรากฏ Q: อายุของมนุษย์? A: มนุษย์ต้นกัปอายุประมาณ 80,000 ปี แต่เพราะมีอกุศลกรรมต่อกันทำให้อายุลดลงเรื่อยๆ ด้วยเหตุนี้จึงมีพระพุทธเจ้ามาตรัสรู้ เพื่อทวนกระแส ให้อกุศลกรรมเบาบางลง และจะมีสมัยหนึ่งที่มนุษย์จะมีอายุเพียง 10 ปี มีการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ จนมีคนที่รักษาศีล เหลือรอด อายุขัยก็จะค่อยๆ เพิ่มขึ้น ตามกุศลที่เพิ่มขึ้น จนถึงสมัยที่ มนุษย์อายุ 80,000 ปี จึงจะมีพระพุทธเจ้ามาตรัสรู้อีกพระองค์ Q: เจริญอิทธิบาท 4 อย่างไร? A: อิทธิบาท 4 จะทำให้พัฒนาได้ เกิดขึ้นได้ ต้องประกอบด้วย 1. อิทธิบาท 4 (ฉันทะ วิริยะ จิตตะ[...]
- Q : ควรตั้งจิตไว้อย่างไร เมื่อคิดไปในด้านอกุศล ? A : เมื่อมีความคิดเข้ามา ที่สำคัญ คือ เราต้องตั้งสติ คอยสังเกต แยกแยะให้ดี จิตเมื่อตริตรึกไปในสิ่งไหน สิ่งนั้นจะมีพลัง ก็จะดึงไป ทำให้เราลืม เผลอ เพลินไป/ จิต ความคิด ใจ เป็นคนละอย่างกัน เราต้องเลือกให้จิตของเราคิดหรือไม่คิดได้ โดยให้เราเจริญสติให้มาก ถ้าสติเรามีกำลังมากขึ้น ๆ มันจะทำให้ความคิดที่ผ่านเข้า-ออก ถูกป้องกัน ถูกกำจัด ให้อยู่ในกุศลธรรมได้ดีมากขึ้นนั่นเอง Q : โลกียฌาณ และ โลกุตตรฌาณ เหมือนหรือต่างกันอย่างไร ? A : ส่วนที่เหมือนกันคือ ฌาน คือ การเพ่ง/เอาจิตจดจ่อ การรวมลงเป็นอารมณ์อันเดียว เรียกว่า สมาธิ / “โลกียฌาณ” คือ สมาธิที่ยังเกี่ยวเนื่องกับโลก ของหนัก มีทั้ง “สัมมาสมาธิ” และ[...]
- Q: การปวารณา มี 2 แบบ A: แบบที่ 1) พระสงฆ์ปวารณากันเอง คือ เปิดโอกาสให้พระตักเตือนกันได้ โดยถือเอาวันออกพรรรษาเป็นวันปวารณา แบบที่ 2) คฤหัสถ์ปวารณากับพระภิกษุ คือ ออกตัวให้พระภิกษุขอปัจจัยสี่ ที่เหมาะสม (กับปิยะ) ควรแก่สมณะจะบริโภค และสามารถกำหนดถึงสิ่งที่ท่านจะขอ รวมถึงควรกำหนดมูลค่าไว้ด้วย Q: การถวาย มี 2 แบบ A: พระสงฆ์เป็นทั้งอาหุเนยยะบุคคล และทักขิเณยยบุคคล / “ทักขิเณยยบุคคล” คือ บุคคลผู้ควรรับทักษิณาทาน เช่น ญาติโยมจะทำบุญอุทิศให้กับพ่อแม่ที่ล่วงลับไป ก็จะทำอาหารสิ่งที่พ่อแม่ชอบทาน นำไปถวายพระ ไม่ว่าชอบทานหรือไม่ท่านก็รับ / “อาหุเนยยะบุคคล” พ่อแม่และพระสงฆ์ เป็นอาหุเนยยะบุคคล คือ หากพ่อแม่ยังอยู่ท่านชอบทานอะไร เราก็ทำให้ท่านทานได้เลยหรือหากถวายพระสงฆ์ เราก็จัดหาให้เหมาะสมกับที่ท่านจะกินจะใช้ Q: ความหมายของคำว่า “กัปปิยโวหาร”? A: กัปปิยโวหาร แปลว่า คำพูดที่จะทำให้เหมาะสม ใช้ระหว่างพระและญาติโยม[...]
- Q: ความหมาย และความเป็นมาของ “กฐิน” A: กฐินแยกตามศัพท์ มีความหมาย คือ ไม้สะดึง ผ้าที่ทำเสร็จแล้วสำหรับใช้ในพิธีกรานกฐิน งานบุญ สำหรับพระสงฆ์ หมายถึง พิธีกรรมหรือพิธีกฐิน ความหมายของกฐิน หมายถึง ผ้าที่ทำโดยเฉพาะหมู่ภิกษุ ที่สามัคคีกัน อยู่ในอาวาสใดอาวาสหนึ่งมาตลอดเข้าพรรษาเท่านั้น จึงพิเศษ ด้วยเวลา คือ เฉพาะ 1 เดือนหลังออกพรรษา ผู้ทำผ้า คือ หมู่พระที่อยู่ในนั้นทำด้วยกัน, ผู้รับ คือ พระที่อยู่ในหมู่นั้นเท่านั้นเป็นผู้รับ และด้วยสิ่งของสิ่งนั้นเรียกชื่อพิเศษว่า “กฐิน” ความเป็นมาของกฐิน สืบเนื่องมาจากพระภิกษุ ตั้งใจจะมาหาพระพุทธเจ้า ออกเดินทางมาต้นฤดูฝน จนใกล้ถึงวัด แต่ด้วยติดในช่วงเข้าพรรษาจึงต้องรอจนกว่าจะออกพรรษาแล้วค่อยออกเดินทาง ด้วยการเดินทางในหน้าฝน พระภิกษุเหล่านั้นจึงมาด้วยความไม่เรียบร้อย จีวรเปียก เปื้อน ขาด พอท่านทราบและเห็นถึงความสามัคคีพร้อมใจ ตั้งใจ ท่านจึงอนุญาต ให้พระสงฆ์สามารถรับผ้ากฐินได้ Q: ความสัมพันธ์ของขันธ์ 5 และโลกธรรม 8 และการนำมาใช้ในชีวิตประจำวัน? A:[...]
- Q: ตำนานของวิเศษในพระพุทธศาสนา A: เมื่อเราได้ยินสิ่งใดมา อย่าพึ่งเชื่อ ให้จำ และฟังไว้ แล้วนำไปเทียบเคียงกับพระสูตร หากตรงกัน ให้จดจำคำนั้นไว้ หากไม่ตรงกันให้ละทิ้งเสีย/ของวิเศษที่กล่าวถึง คือ 1. ดวงตาพญายม มาจากที่ท่านจะไต่สวน เรื่องเทวทูต แล้วมีการขยายเติมเข้าไป ว่าสามารถเห็นว่าใครทำกรรมดี กรรมชั่วอะไรมา ซึ่ง การที่สัตว์จะไปสวรรค์ หรือตกนรกนั้น นั่นเป็นกรรมของเขาอยู่แล้ว ไม่ใช่ว่าจะผ่านพญายมทั้งหมด 2. กระบองท้าวเวสสุวรรณ มีในพระสูตรทีฆนิกาย อธิบายลักษณะของกระบอง 3. ผ้าโพกหัวของอาฬวกยักษ์ จะพูดถึงในบทสวดชัยมงคลคาถา (พาหุง) ช่วงของการได้ชัยชนะของพระพุทธเจ้าจากอาฬวกยักษ์ ผ้าโพกหัวนี้ เมื่อขว้างไปตรงไหน ตรงนั้นจะไหม้ไปทั้งหมด ไม่สามารถเพาะปลูกได้ 4. วชิราวุธของพระอินทร์ มีในพระสูตรสัจจกนิครนถ์ อยู่ในชัยมงคลถาคา จะปรากฏออกมาตอนที่จะไปช่วยพระพุทธเจ้าในการแสดงธรรมในบางครั้งบางคราว 5. กงจักรพระนารายณ์ ในที่นี้หมายถึง “จักรแก้ว” ผู้ที่จะครอบครองได้ต้องเป็นพระเจ้าจักรพรรดิ และจะมีรัตนะ 7 อย่าง ฤทธิ์ 4 อย่าง จะได้มาด้วยบุญญาธิการ ได้โดยตำแหน่ง[...]
- Q: เกร็ดความรู้วันออกพรรษา A: ประเพณีที่สำคัญ คือ ประเพณีตักบาตรเทโว/พระสงฆ์มีการปวารณา คือ ออกตัวให้ติเตียน ตักเตือนได้หรือออกตัวให้ขอได้/สำหรับผู้ปฏิบัติ จะเป็นวันประมวลผลว่าในช่วงเข้าพรรษาที่ผ่านมา ได้ทำในสิ่งตั้งใจไว้สำเร็จหรือไม่ Q: นั่งสมาธิแล้วจิตฟุ้งซ่าน ควรแก้ไขอย่างไร? A: นั่งสมาธิก็สามารถคิดได้ เราต้องแยกแยะ ความคิดที่เข้ามาในช่องทางใจ หากคิดดี คิดกุศล คิดได้ เราอย่าบังคับจิต อย่าอยาก เพราะสมาธิจะไม่ได้มีได้ด้วยการข่มขี่บังคับ สติจะมีกำลังได้ด้วยการสังเกตดูเฉยๆ ไม่ตาม ไม่เพลิน ไปในความฟุ้งซ่าน จะทำให้สติมีกำลัง ความฟุ้งซ่านก็จะค่อยๆ หายไป เกิดความสงบระงับ เป็นสมาธิ Q: เมื่อนั่งสมาธิ แล้วเกิดเวทนา สามารถเปลี่ยนอริยาบท ได้หรือไม่ หรือควรอดทนแล้วพิจารณาเวทนา? A: สามารถทำได้ทั้ง 2 อย่าง คือ ถ้าไม่เปลี่ยนท่า สามารถใช้วิธี 1. สุขาปฏิปทา 2. ทุกขาปฏิปทา ถ้าเปลี่ยนท่า มี 2 ขั้นตอนคือ 1. ตั้งสติไว้ อย่าให้มีความไม่พอใจในเวทนานั้น[...]
- Q: เกษียณให้ได้ประโยชน์ A: เป็นโอกาสที่จะสร้างคุณค่าแก่ชีวิตของเรา ด้วยการประพฤติปฏิบัติธรรม บำเพ็ญบุญ สร้างกุศล ให้จิตใจอยู่เหนือสุข เหนือทุกข์ให้ได้ จะทำให้การเกษียณได้ประโยชน์อย่างเต็มที่ Q: การวางจิตของอุบาสิกาที่เป็นพยาบาลเมื่อต้องดูแลรักษาพระภิกษุผู้อาพาธ? A: พระวินัยเป็นข้อบังคับของพระสงฆ์ อุบาสิกาผู้เป็นพยาบาลให้ตั้งจิตให้ถูก ข้อบังคับนี้ ไม่ได้รวมถึงอุบาสิกา หากแต่ ก่อนเข้าทำการหัตถาการ ต้องขออนุญาต และบอกกล่าวท่านให้ทราบก่อน เพื่อที่ ท่านจะได้วางจิตได้ถูกต้อง และควรมีชายที่รู้เดียงสา หรือพระสงฆ์รูปอื่นอยู่ร่วมด้วย Q: เมื่อพระภิกษุต้องไปพยาบาลดูแลรักษามารดาสูงอายุที่เจ็บป่วยไข้ A: ด้านการถูกเนื้อต้องตัว ถ้าไม่มีจิตกำหนัด ไม่ผิด/ด้านการอุปถัมภ์ดูแล ท่านกล่าวว่า พระดูแลได้มากที่สุด คือ เรื่องของปัจจัยสี่ ซึ่งหากเป็นการลงมือทำเองนั้นเป็นเรื่องของฆราวาส อาจจะต้องจัดหาคนมาดูแลแทน เช่น สถานพยาบาล บ้านพักคนชรา Q: อนุพยัญชนะคืออะไร? A: อยู่ในหมวดของการสำรวมอินทรีย์ แบ่งเป็น 2 อย่างคือ 1. โดยนิมิต (ดูโดยรวม) 2. โดยอนุพยัญชนะ (ดูแยกเป็นส่วน แต่ละส่วนๆ) 2[...]
- Q: เรื่องของสัมผัสทางกาย A: ระหว่างพระ และสตรี ไม่ควรถูกเนื้อต้องตัวกัน ทั้งกาย และของที่เนื่องด้วยกาย เช่น เส้นผม เสื้อผ้า/ท่านทรงบัญญัติวินัย ไว้ว่า การลูบคลำ เคล้าคลึง อวัยวะ ถ้ามีจิตกำหนัด แปรปรวน รักใคร่ ชอบพอ ถือว่าเป็น “อาบัติสังฆาทิเสส” Q: การนั่งอยู่ในที่เดียวกัน A: พระ และสตรี ไม่ควรนั่งหรือนอน ในที่เดียวกัน ไม่ว่าที่แห่งนั้นจะมีสตรีอยู่หลายคนก็ตาม หากมีพระอยู่รูปเดียว โดยไม่มีชายที่รู้เดียงสา หรือมีพระอื่นอยู่ด้วย ถือว่าอาบัติปาจิตตีย์ แต่ถ้าหากพระ หรือสตรียืนอยู่ ไม่ถือเป็นอาบัติข้อนี้ Q: การเดินทางด้วยกัน A: พระกับสตรี ห้ามเดินทางด้วยกันลำพัง ต้องมีผู้ชาย หรือพระรูปอื่นไปด้วย ยกเว้นเฉพาะเรื่องเรือข้ามฟาก Q: การถ่ายรูปคู่กัน A: ควรให้มีคนอื่นหรือมีกลุ่มคนอยู่ด้วย ซึ่งการถ่ายรูปไม่ผิดธรรมวินัย Q: การอยู่สถานที่เดียวกัน A: ที่สาธารณะ/ที่ลับหู คือ มองเห็นแต่ไม่รู้ว่าพูดคุยอะไรกัน[...]
- Q: ธรรมะ 5 ข้อ ที่เมื่อผู้ฟังอยู่สามารถที่จะหยั่งลงสู่ความเห็นที่ถูกต้องได้ จำเป็นต้องมีครบทั้ง 5 ข้อหรือไม่? A: ธรรมะ 5 ข้อ (1. ไม่วิพากษ์วิจารณ์คำพูด 2. ไม่วิพากษ์วิจารณ์ผู้พูด 3. ไม่วิพากษ์วิจารณ์ตน 4. เป็นผู้มีจิตไม่ฟุ้งซ่าน คือมีจิตแน่วแน่ 5. ฟังธรรม มนสิการโดยแยบคาย) ถ้าสามารถปฏิบัติได้ทั้ง 5 ข้อ จะดีที่สุด Q: ความหมายของคำว่า อีโก้สูง เจ้ายศเจ้าอย่าง อัตตาตัวตนสูง และอุปทานขันธ์ 5 คำเหล่านี้มีความหมาย เหมือนหรือต่างกันอย่างไร A: คำว่า อีโก้สูง เจ้ายศเจ้าอย่าง อัตตาตัวตนสูงในทางคำสอน หมายถึง ความมี “มานะ” คือ ความรู้สึกเป็นตัวตน “อุปาทาน” หมายถึง ความยึดถือ (ยึดถือในขันธ์ 5) “ขันธ์ 5” หมายถึง[...]
- Q: เมื่อมีความคิดหยาบ เกิดขึ้นมาโดยอัตโนมัติ ควรแก้ไขอย่างไร/บาปหรือไม่? A: เราต้องระวังจิตของเราให้มาก ให้ตั้งสติขึ้น รักษาสติให้ดี ให้เราฝึกคิด ฝึกนึก ฝึกพูด คำพูดดีๆ เมื่อสั่งสมสิ่งดี จิตก็จะสะอาดขึ้น/รักษาศีลเพื่อความไม่ร้อนใจ/บาปแรงหรือเบานั้น ขึ้นอยู่กับเจตนา และขึ้นอยู่กับว่าเราทำกับใคร หากทำกับผู้มีบุญมาก ก็จะบาปมาก Q: การกล่าวคำขอขมาพระรัตนตรัย และพระเถระ จะช่วยแก้ไขบาปนี้ได้หรือไม่? A: เมื่อเห็นโทษ โดยความเป็นโทษ การขอขมา โดยการกระทำคืนตามธรรม ช่วยได้ ให้เอาเรื่องศีล โสตาปัตติยังคะ 4 มาเป็นกำลังใจ ตั้งใจ ตั้งสติให้ดี ไม่ให้ความคิดนี้มาอีก ถ้ายังมาอีก ก็ขัดออกอีก ทำไปเรื่อยๆ จนในที่สุดจะเหลือแต่สิ่งดีๆ Q: ผัสสะ อารมณ์ สัญญา เวทนา เกี่ยวข้องกันอย่างไร? A: เพราะมีเสียง มีหู กระทบกัน จึงมีการรับรู้เสียงในใจ (โสตวิญญาณ)/วิญญาณ เป็นตัวเชื่อมระหว่างนามรูป เป็นตัวเชื่อมระหว่างกายใจ จึงเกิด “อารมณ์”[...]
- 7 ตามใจท่าน (ธรรมะสากัจฉา)Q: อาฏานาฏิยรักษ์ คาถาป้องกันภัย (ยักษ์) ของท้าวเวสสุวรรณ A: เป็นคาถาที่ยกย่องพระพุทธเจ้า เป็นคาถาที่ไม่ให้ยักษ์เบียดเบียน เพื่อรักษา เพื่อป้องกัน ภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา ทั้งหลาย Q: การมีปิติเป็นภักษาหารเหมือนอาภัสสรเทพนั้น เป็นอย่างไร? A: อาภัสสรพรหม อยู่ในภพที่เป็น รูปภพ จะมีอาหารเป็นรูปละเอียด คือ ปิติ Q: การนอนอย่างตถาคต คือการนอนแบบใด? A: ก่อนนอนกำหนดสติสัมปชัญญะ น้อมไปเพื่อการนอน ว่า บาปอกุศลกรรมทั้งหลาย อย่าได้ติดตามเราไป ผู้ซึ่งนอนอยู่ กำหนดจิตไว้ว่ารู้สึกตัวเมื่อไหร่จะลุกขึ้นทันที Q: อนุตตริยะ 3 ประการ มีอะไรบ้าง? A: อนุตตริยะ แปลว่า สิ่งที่ยอดเยี่ยม ประการที่ 1. ทัศนานุตตริยะ คือ การเห็นอันยอดเยี่ยม 2. ปฏิปทานุตตริยะ คือ การปฏิบัติอันยอดเยี่ยม 3.[...]
- 7 ตามใจท่าน (ธรรมะสากัจฉา)Q: ผักที่เป็นพืชคาม ต้อง “กัปปิยะ”? A: กัปปิยะ คือ ของที่ควรให้เหมาะสม หากพืชที่จะโตงอกต่อได้หรือมีเมล็ด ต้องทำกัปปิยะ โดยวิธีทำกัปปิยะ คือ การนำเมล็ดออก บิออก เอาไฟลน เอาส้อมจิ้ม Q: เนื้อประเภทใดที่พระฉันไม่ได้ A: 1. เนื้อสัตว์ 10 ประเภทนี้ คือ เนื้อมนุษย์, เนื้อเสือเหลือง, เนื้อช้าง, เนื้อม้า, เนื้อสุนัข, เนื้องู, เนื้อสิงโต, เนื้อเสือโคร่ง, เนื้อหมี, เนื้อเสือดาว 2. เนื้อดิบ 3. เนื้อที่สงสัย ที่ได้ยิน รู้หรือเห็น ว่าฆ่าเจาะจงเพื่อท่าน Q: ถวายยาเสพติด เช่น บุหรี่ กัญชา แก่พระได้รึไม่? A: ไม่ควรถวาย Q: น้ำประเภทใดที่ไม่ควรนำมาถวายพระ? A: น้ำที่มีตัวสัตว์อยู่ในนั้น ไม่ว่าจะเป็นน้ำดื่มหรือน้ำใช้ ไม่ควรนำมาถวาย[...]
- 7 ตามใจท่าน (ธรรมะสากัจฉา)Q: ได้ฟังสวดอภิธรรม เมื่อตายแล้วจะได้ขึ้นสวรรค์หรือไม่? A: ขึ้นอยู่กับการรักษาจิต ว่าเราระลึกถึงความดีของเราได้หรือไม่ Q: เมื่อข้อปฏิบัติละเอียดขึ้น กิเลสละเอียด ที่ซ่อนอยู่ในจิตใจก็จะแสดงออกมา เข้าใจที่ถูกต้องหรือไม่? A: เมื่อข้อปฏิบัติของเราละเอียดลงๆ กิเลสก็ละเอียดลงๆ จะค่อยๆ แสดงออกมา ตามการปฏิบัติที่ละเอียดลงๆ Q: กฎไตรลักษณ์เรื่องของการเกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป ใช้กับสิ่งที่เป็นธรรมชาติเท่านั้น หรือรวมถึงสิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้นด้วย? A: สิ่งที่ใช้กฎไตรลักษณ์ เป็นการแบ่งคือ 1. สังขตธรรม คือ สิ่งที่ปรุงแต่งได้ ทั้งที่มีวิญญาณครองและไม่มีวิญญาณครอง 2. อสังขตธรรม คือ ไม่มีการปรุงแต่งเปลี่ยนแปลง (นิพพาน) Q: การภาวนาที่เป็นแบบฉบับตนไม่เหมือนคนอื่น จัดเป็นอนุสติเฉพาะตนตามแนวธรรมะของพระพุทธองค์หรือไม่? A: ให้เรากลับมาเทียบเคียงคำสอนของพระพุทธเจ้า เพราะครูบาอาจารย์ที่ท่านสอน ท่านชำนาญวิธีไหน ท่านก็บอกสอนตามวิธีทีท่านรู้ เราก็นำมาเทียบเคียงกับคำสอนพระพุทธเจ้าดู ว่าใกล้เคียงกัน ลงกันได้ตรงไหน สิ่งที่ท่านตรัสรู้ คือ ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค ไม่ว่าใครจะสอนเรื่องอะไร ก็จะจัดเข้าอยู่ใน[...]
- 7 ตามใจท่าน (ธรรมะสากัจฉา)Q: โจทก์ภิกษุด้วยอาบัติปาราชิกในการอวดอุตริมนุสธรรม A: อุตริมนุสธรรม คือ ธรรมะที่เหนือกว่าของมนุษย์ ภิกษุใดอวดอุตริมนุสธรรมที่ไม่มีในตน อันนี้เป็นปาราชิก เว้นไว้แต่เข้าใจผิด (เข้าใจว่าได้บรรลุ) ไม่ถือว่าเป็นอาบัติปาราชิก Q: เมื่อถูกหลอกเอาทรัพย์ เราควรวางจิตอย่างไร? A: เราไม่ควรเคียดแค้น ผูกเวร เพราะจิตใจเราจะไม่ดี จะอยู่ไม่เป็นสุข จะเศร้าหมอง จิตใจเราให้มีเมตตา กรุณา อุเบกขา ส่วนทรัพย์จะตาม หรือจะปล่อยทิ้งต้องพิจารณาเป็นกรณีไป Q: นั่งสมาธิแล้วจิตกระเพื่อม ส่ายไปมาขวาซ้ายๆ ควรแก้อย่างไร? A: พิจารณาทางกาย หากกายไม่สบายให้ไปพบแพทย์เพื่อรักษา หากไม่ใช่ ก็เป็นเรื่องของจิต คือ การปรุงแต่งของจิตยังไม่ระงับ ให้ตั้งสติไว้กับลม อย่าตามการปรุงแต่งของจิตนั้นไป พอจิตจดจ่ออยู่กับลม ก็จะไม่จดจ่อไปกับการปรุงแต่งของจิต พอจิตไม่ได้ตริตรึกไปเรื่องใด มันก็ไม่น้อมไปเรื่องนั้น มันก็จะอ่อนกำลัง การปรุงแต่งของจิตก็จะระงับ Q: ข้อปฏิบัติอะไรที่จะทำให้สติของเรามีกำลังเพิ่มขึ้น? A: ท่านอธิบายเรื่องศีลที่เป็นไปเพื่อสมาธิ ข้อปฏิบัติทางกาย วาจา เพิ่มเติม จากศีล 5 ข้อ เรียกว่า[...]
- 7 ตามใจท่าน (ธรรมะสากัจฉา)Q: ควรแก้ไขอย่างไรเมื่อติดสุขในสมาธิ? A: อาการติดสุขในสมาธิ แบบแรก คือ เมื่อนั่งสมาธิแล้วสามารถทำได้ เมื่อไม่นั่งจะหงุดหงิด อารมณ์เสีย แบบที่สอง คือ สงบ นิ่ง ได้ แต่ไม่น้อมไปเพื่อให้เกิดปัญญาในการเห็นตามจริง ไม่เห็นความไม่เที่ยง ไม่เบื่อหน่ายคลายกำหนัด (นิพพิทา) พอสมาธิค้างตรงนี้ จึงไม่เกิดการปล่อยวาง ให้เราน้อมจิตไปอีกทางหนึ่ง คิด ใคร่ครวญให้แยบคาย (โยนิโสมนสิการ) ว่าสมาธิเที่ยงหรือไม่เที่ยง นี่คือการ “วิปัสสนา” เห็นตามความเป็นจริง “วิปัสสนา เมื่อทำให้มาก เจริญให้มากแล้ว ปัญญาจะเจริญ ปัญญา เมื่อทำให้มาก เจริญให้มากแล้ว จะละอวิชชาได้ “ ต้องฝึกเข้า ออกอยู่เรื่อยๆ Q: ความง่วงขณะนั่งสมาธิ ถูกกระตุ้นโดยทางกายหรือใจ? / การนอนหลับ จิตจะได้พักหรือไม่ หรือไปรับรู้สิ่งใด? A: ความง่วง สามารถเกิดขึ้นได้ทั้งกายและใจ ทางกาย หากเหนื่อย เมื่อยล้า ก็ง่วงได้ ทางใจ หากมีสมาธิมากแล้วเพลินในสมาธิ[...]
- 7 ตามใจท่าน (ธรรมะสากัจฉา)Q: เหตุที่ต้องมีพระวินัย A: หากมีการแสดงธรรมโดยพิสดาร มีคำสอนมาก รายละเอียดมาก สิกขาวินัยมาก คำสอนจะตั้งอยู่ได้นาน ศาสนาจะไม่เสื่อมเร็ว เปรียบดังดอกไม้ที่จัดเรียงไว้สวยงามแต่ไม่ได้ร้อยไว้ พอลมพัดมาก็กระจัดกระจาย แต่หากร้อยไว้ด้วยเชือก แล้วมีลมพัดมา ดอกไม้ก็สวยงามดังเดิมได้ การอยู่กันด้วยวินัยร้อยเรียงเอาไว้จะอยู่ด้วยกันเรียบร้อยได้ ตรงนี้จึงเป็นเรื่องราวที่ท่านบัญญัติไว้ เป็นความหมายว่าทำไม “ระเบียบวินัยเป็นแนวทางแห่งความสำเร็จ” Q: การรับประเคน 5 A: 1. ของเขาให้ด้วยกาย รับประเคนด้วยกาย 2. ของเขาให้ด้วยกาย รับประเคนด้วยของเนื่องด้วยกาย 3. ของเขาให้ด้วยของเนื่องด้วยกาย รับประเคนด้วยกาย 4. ของเขาให้ด้วยของเนื่องด้วยกาย รับประเคนด้วยของเนื่องด้วยกาย 5. ของเขาให้ด้วยโยนให้ รับประเคนด้วยกาย หรือด้วยของเนื่องด้วยกาย Q: การประเคน 5 ประการ A: 1. อาหารที่นำมาให้ต้องไม่ใหญ่เกินไป พอยกได้ 2. ต้องเข้ามาใน “หัตถบาส” (เท่ากับช่วง 2 ศอก 1 คืบ) 3.[...]
- 7 ตามใจท่าน (ธรรมะสากัจฉา)Q: จิต กับ ธาตุรู้ คืออะไร อยู่ที่ไหน เหมือนและต่างกันอย่างไร? A: เหมือนกัน คือ อยู่ในช่องทางใจและเป็นนามเหมือนกัน ต่างกัน คือ ธาตุรู้ มาจากคำว่า วิญญาณธาตุ ทำหน้าที่รับรู้เฉย ส่วน ”จิต” เป็นลักษณะภาวะของการสะสม เข้าไปเกลือกกลั้วและเสวยอารมณ์ Q: วิธีแก้โรควิตกจริต A: เปรียบเหมือนตัดต้นไม้ ที่ตัดที่โคนต้น พอฝนผ่านมา ต้นไม้นั้นก็งอกขึ้นมาใหม่ เราต้องขุดรากถอนโคนต้นไม้นั้น นำมาตัด มาผ่า เผา จนเป็นถ่านเป็นขี้เถ้า บดให้ละเอียด แล้วโปรยในที่ลมพัดแรงหรือในกระแสน้ำที่เชี่ยวกราด ในการขุดรากถอนโคนนั้น ต้องใช้ปัญญาในการพิจารณาเห็นความไม่เที่ยง พิจารณามรณสติ ทำซ้ำ ทำย้ำ อยู่เรื่อยๆ จะระงับความคิดนี้ได้ Q: กาม และ อกุศลธรรม มีซอฟต์พาวเวอร์ หรือไม่? A: กาม (ราคะ โทสะ โมหะ) มีสภาวะบังคับ บีบคั้น[...]
- 7 ตามใจท่าน (ธรรมะสากัจฉา)Q : กิเลส มักเกิดขึ้นในใจ ในรูปแบบของความคิด ก่อนที่จะออกมาเป็นคำพูดหรือการกระทำ ใช่หรือไม่? A : กิเลสเกิดจากจิตที่มีอวิชชาแฝงอยู่ แล้วไม่มีสติรักษา เมื่อมีผัสสะมากระทบ ก็จะปรุงแต่งไปตามสิ่งที่พอใจหรือไม่พอใจ ออกมาในรูปแบบ ความคิด คำพูด การกระทำ และเมื่อปรุงแต่งออกไปแล้ว ก็จะมีอาสวะกลับเข้ามาในจิต Q : มีสติเห็นความคิดที่ผ่านเข้ามาแล้วไม่ตามมันไป จะช่วยขูดเกลากิเลสได้หรือไม่? A : การที่เราแยกแยะได้ รู้ว่าสิ่งนี้ดี สิ่งนี้ไม่ดี ความรู้นั้น เป็น “สัมมาทิฏฐิ” เมื่อเรามีปัญญา มีความเพียร มีสติ สมาธิ กิเลสก็จะอยู่ไม่ได้ จะค่อย ๆ หลุดลอกออก Q : แนวทางจากคำถามข้างต้น คือ มรรค8 คือ สัมมาสังกัปปะ ใช่หรือไม่? A : ล้วนเป็นแนวทางของมรรค 8 ตามกันมา เราทำอันใดอันหนึ่งก็จะตามกันมาหมด ซึ่ง มรรค8[...]
- 7 ตามใจท่าน (ธรรมะสากัจฉา)Q: ขณะดำเนินชีวิตประจำวัน ควรเจริญสติอย่างไร? A: เจริญสติได้ในทุกอิริยาบถ ไม่ว่าจะทำกิจการงานใด โดยให้ระลึกด้วย “สัมมาสติ” คือ คิดดี มีเมตตา คิดแล้วกิเลสลด ไม่คิดไปในทางที่ไม่ดีหรือมิจฉาสติ (คิดแล้วกิเลสเพิ่ม) Q: พระเครื่องไม่มีในพระพุทธศาสนาใช่ไหม? A: พระเครื่องมีภายหลังจากที่พระพุทธเจ้าปรินิพพาน สร้างขึ้นเพื่อเป็นที่ระลึกถึงคุณพระพุทธเจ้า สิ่งที่สำคัญที่สุดที่เราควรทำ คือ เดินตามทางมรรค 8 ไม่ใช่ห้อยพระเพื่อ อยากให้บันดาลสิ่งนั้นสิ่งนี้ หรืองมงาย เป็นความหลง เป็น “วัตตโกตูหลมงคล” Q: สิ่งที่ไม่ใช่ตัวตนที่คิดได้รู้สึกได้ว่าเป็นตัวตน และสิ่งที่ถูกหลอกว่าเป็นตัวตนนั้นคือสิ่งใด? A: สิ่งที่ไม่ใช่ตัวตน คือ “ขันธ์ 5” สิ่งที่ถูกหลอกว่าเป็นตัวตน คือ “จิต”/เมื่อตัณหาไปยึดถือในขันธ์ 5 จึงมีความรู้สึกว่าเป็น จิต ขึ้นมา รู้สึกว่ามีตัวตน เพราะไปยึดในขันธ์ 5 คือ รูป, เวทนา, สัญญา, สังขาร และวิญญาณ รู้สึกว่ามันมี นั่นคือ[...]
- 7 ตามใจท่าน (ธรรมะสากัจฉา)Q: เพื่อนที่ทำงานซื้อของมาให้ พอเรารับไว้เราก็ไม่สบายใจ ไม่รับก็กลัวจะน้อยใจ เราควรตั้งจิตอย่างไร? A: เราสามารถรับไว้ แล้วซื้อของกลับให้เพื่อผูกมิตร ทั้งนี้ ควรตรวจสอบสภาวะจิตเราด้วยว่า ซื้อของให้เค้าแล้ว เราไม่อยากซื้อให้กลับหรือเปล่า/แนะนำเรื่องการแบ่งจ่ายทรัพย์/หากเค้ามีศรัทธากับเรา เราก็ดูว่าเราจะทำตัวเป็นเนื้อนาบุญได้ไหม/แนะนำเปลี่ยนจากการซื้อของให้เป็นการหยอดกระปุก เพื่อร่วมทำบุญด้วยกัน หรือนำไปใช้เป็นสวัสดิการในที่ทำงานร่วมกัน Q: คุณสมบัติของเนื้อนาบุญเปรียบกับช้างทรงของพระราชา A: อดทน ต่อรูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ต้องเป็นช้างที่ รู้ประหาร (กำจัดสิ่งที่เป็นอกุศล) รู้รักษา (สำรวมอินทรีย์) รู้ไป (ไปทางนิพพาน) รู้ฟัง (ฟังธรรมะ) รู้อดทน (อดทนต่อเวทนา คำด่า คำว่า) Q: ความรู้สึกไม่สุขไม่ทุกข์ อุเบกขา วิมุต ต่างกันอย่างไร? A: ความรู้สึกไม่สุขไม่ทุกข์ มาจากศัพท์คำว่า “อทุกขมสุข” คือ ถ้ามีผัสสะอันเป็นที่ตั้งแห่งความรู้สึกที่จะบอกไม่ได้ว่าสุขหรือทุกข์ มากระทบ ก็จะมีความรู้สึกที่จะบอกไม่ได้ว่าสุขหรือทุกข์ (อทุกขมสุข) เกิดขึ้น อุเบกขา คือ ความวางเฉย[...]
- 7 ตามใจท่าน (ธรรมะสากัจฉา)เราศึกษาวินัยเพื่อให้ญาติโยมปฏิบัติได้ถูกต้อง เป็นผู้ร่วมรักษาคำสอนของพระพุทธเจ้า เป็นการช่วยพระสงฆ์รักษาพระวินัย “ระเบียบวินัยเป็นแนวทางแห่งความสำเร็จ” ระเบียบวินัย เป็นขอบเขตของมรรค เพื่อให้อยู่ในเดินไปสู่นิพพาน อาหารที่ไม่ควรถวายพระสงฆ์ คือ 1) เนื้อสัตว์ 10 ประเภท ได้แก่ เนื้อมนุษย์ เนื้อช้าง เนื้อม้า เนื้อสุนัข เนื้องู เนื้อสิงโต เนื้อเสือเหลือง เนื้อเสือโคร่ง เนื้อหมี เนื้อเสือดาว 2)เนื้อดิบ เช่น ปูดอง แหนมหมู 3) พืชผักผลไม้ที่จะเติบโตต่อไปได้ ก่อนที่จะถวาย เราควรทำให้สมควรแก่สมณะ (กัปปิยะ) ก่อน เพราะหากพระท่านฉันเมล็ดพืชที่สามารถเติบโตต่อไปได้แล้วทำให้เมล็ดมันแตกหรือหัก จะทำให้อาบัติหรือผิดศีล
- 7 ตามใจท่าน (ธรรมะสากัจฉา)Q: ผลกรรมของการฆ่าบิดามารดาโดยเจตนากับบันดาลโทสะหรือประมาท เหมือนหรือต่างกันอย่างไร? A: บาปมากหรือน้อยดูที่เจตนา ท่านอุปมา ดังรอยกรีดบนพื้นน้ำ บนพื้นทรายและบนพื้นหิน ซึ่งกรรมก็จะให้ผลต่างกัน การฆ่าบิดามารดาหรือพระอรหันต์นั้นเป็น “อนันตริยกรรม” คือ กรรมที่หนักที่สุด ผลคือไปตก อเวจีมหานรก จนกว่าจะหมดกรรม แต่ก็ยังมีเศษกรรมที่ยังส่งผลต่อๆ มาอีก รองลงมาคือการฆ่าสัตว์ใหญ่ เช่น คน โค สัตว์เดรัจฉาน ตัวใหญ่หรือตัวเล็ก บาปก็จะลดลงมา ไล่ลงมา Q: ผู้ที่ทรมานด้วยโรคร้ายมานาน พอถึงแก่กรรม บ้างก็ว่าหมดกรรม บ้างก็ว่าสิ้นบุญ อย่างไหนถูกต้อง? A: ที่สำคัญ คือ ตายแล้วไปไหน ถ้าตายแล้วไปนรก นั่นไม่ดี ตายแล้วไปสวรรค์ หลุดพ้นหรือเป็นอริยบุคคล เรียกว่า ไปดี การตายนั้นดี ขึ้นอยู่กับว่าตอนยังไม่ตายเราประกอบกรรมอะไร Q: ขอทาน นำเงินที่ได้มาทำบุญ จะได้ผลบุญเท่ากับอาชีพทั่วไปหรือไม่? A: ขึ้นอยู่กับว่าผู้ให้ มีศรัทธา มีศีล มีสัมมาอาชีวะหรือไม่ ทำบุญในเนื้อนาบุญหรือไม่ ผู้รับเป็นเนื้อนาบุญหรือไม่[...]
- 7 ตามใจท่าน (ธรรมะสากัจฉา)Q: ผู้ป่วยติดเตียงดึงเครื่องช่วยหายใจออกเองแล้วตาย เป็นการฆ่าตัวตายหรือไม่? A: ดูที่เจตนาเป็นเกณฑ์ ว่าต้องการให้ชีวิตสิ้นสุดลงหรือไม่ Q: คนเรามักจะมีของที่ชอบเป็นพิเศษ นี้คือกาม คือมีอุปาทาน มีกิเลส ใช่หรือไม่? A: พิจารณาว่าเป็นเวทนาแบบไหน แบ่งตามนัยยะ คือ ถ้าเป็น อาหาร สถานที่ การงาน บุคคล ให้พิจารณาแล้วจึงเสพ (กุศลกรรมบถ 10 จิตตั้งมั่น/อาสวะ ปัจจัยสี่)/เพลง กลิ่น พิจารณาแล้วจึงอดกลั้น/สถานที่ พิจารณาแล้วจึงงดเว้น/ความคิดในทางอกุศลทุกอย่าง พิจารณาแล้วจึงบรรเทา Q: สิ่งที่เฉยๆ ไม่ได้โปรดปราน ไม่ใช่กามใช่ไหม? A: ความรู้สึกที่ไม่ได้บอกว่าเป็นทุกข์ เหรือ สุข เรียกว่า “อทุกขมสุขเวทนา” ซึ่งอาจทำให้เกิดกามได้ ถ้าจิตปรุงแต่งไป ดังนั้น เราควรฝึกสติเพื่อรักษาจิต ถ้ามีสติก็จะไม่มีกาม ถ้าไม่มีก็อาจเกิดเป็นกามได้ Q: ความกลัว เป็นโมหะหรือไม่?/ความกลัวกับโรคซึมเศร้า เป็นปัญหาทางใจใช่หรือไม่? A: ความกลัวมี 2 แบบ คือ[...]
- 7 ตามใจท่าน (ธรรมะสากัจฉา)Q: การกระทำที่เกิดขึ้นในอดีตชาติ มีแนวโน้มที่จะเกิดขึ้นได้อีก และคนเรามักจะทำแบบเดิม ใช่หรือไม่? A: ทุกอย่างอยู่ที่เหตุ เงื่อนไข ปัจจัย ไม่ได้เป็นแบบนั้นทั้งหมด Q: เทวดามีกายทิพย์ จะปวดเมื่อยได้ไหม? A: ไม่ปวดเมื่อยเหมือนมนุษย์ Q: เทวดาสิ้นอายุได้ใน 4 ลักษณะ A: 1. ลืมทานอาหาร 2. บุญเพิ่มขึ้น 3. มีความโกรธ 4. หมดอายุบุญ Q: เทวดาที่ไม่มีรูป (อรูป) รู้สึกได้ด้วยอะไร? A: ท่านมีจิต นิ่งๆ อยู่อย่างเดียว ไม่สามารถติดต่อสื่อสารใด ๆ ได้ Q: การทดลองของพระเจ้าปายาสิ | ปายาสิราชัญญสูตร A: จะหาจิตโดยใช้เครื่องมือที่เห็นได้ด้วยตา หูฟังได้ด้วยเสียง ไม่ได้ เพราะจิตเป็นนาม วิธีมีอยู่ คือ ใช้การตรวจสอบด้วยตาทิพย์ โดยเราจะต้องมีปัญญา หากเราไม่มีก็ให้อาศัยความเชื่อ อาศัยคนที่มีปัญญา ดั่ง[...]
- 7 ตามใจท่าน (ธรรมะสากัจฉา)Q: บุญคืออะไร ผลบุญ มีจริงหรือไม่? A: บุญเป็นชื่อของ “ความสุข”/บุญทุกอย่างล้วนให้อานิสงส์ (ผล) ทำแล้วได้ความสุขจึงเรียกได้ว่าเป็น “บุญ” Q: ความแตกต่างระหว่างกุศลกรรมบถ 10 และ บุญกิริยาวัตถุ 10? A: บุญกิริยาวัตถุ 10 หรือกุศลกรรมบถ 10 เป็นการกระทำที่จะทำให้เกิดความสุข/กุศลกรรมบถ 10 เป็นพุทธพจน์ แบ่งเป็น ทางกาย 3 วาจา 4 และทางใจ 3 อย่าง/บุญกิริยาวัตถุ 10 เป็นการกำหนดจิตในการให้ทาน โดยอรรถกถาจารย์ ท่านได้กล่าวอธิบายเพิ่มเติมขึ้นมา ประกอบด้วย 1. ทานมัย 2. สีลมัย 3. ภาวนามัย 4. อปจายนมัย 5. ปัตติทานมัย 6. ปัตตานุโมทนามัย 7. เวยยาวัจจมัย 8. ธัมมัสสวนมัย 9. ธัมมเทสนามัย[...]
- 7 ตามใจท่าน (ธรรมะสากัจฉา)Q: นกสร้างรังรบกวน ควรแก้ไขอย่างไรจึงไม่บาป? A: แผ่เมตตา ใช้วิธีธรรมชาติหรือเทคโนโลยีป้องกัน หมั่นดูแลบ้านเรือน Q: แผ่เมตตาแล้วหายเจ็บเกิดจากอะไร? A: แผ่เมตตาก็เป็นสมาธิ สมาธิเป็นบุญ เมื่อเราระลึกถึงบุญก็จะเกิดปิติสุข ทุกขเวทนาก็จะระงับลง โดยควรแก่ฐานะได้ Q: กังวลใจว่ายังไม่ได้ชำระหนี้สงฆ์ บาปหรือไม่? A: ท่านช่วยเหลือสงเคราะห์เรา ไม่ได้ถือว่าเป็นบาป การที่เรารู้คุณท่าน คือ ความกตัญญู กตเวทีของเรา เป็นสิ่งที่ดีที่ควรทำ เป็นบุญ Q: เมื่อได้ความรู้/ปัญญาจากการปฏิบัติแล้วควรทำอย่างไรต่อไป? A: ขึ้นอยู่กับว่าเราต้องการใช้ไปในทางไหน ในทางธรรม หากเราต้องการความละเอียดลงไปอีก ก็ให้เห็นว่าความรู้ที่เกิดขึ้นนั้นมันไม่เที่ยง ในทางโลก หากนำปัญญามาใช้ก็จะพัฒนาตนเองได้ Q: จะแยกว่าอะไรเป็นอภิธรรม อะไรไม่ใช่อภิธรรม ได้อย่างไร? A: ธรรมะทั้งหมดคืออภิธรรม ส่วนที่มีตัวละคร สถานที่ บทพูดคือพระสูตร Q: อภิวินัย มีหรือไม่? A: มี อภิธรรม อภิวินัย เป็นของคู่กัน Q: ฆราวาสควรสนใจพูดกล่าวถึงอภิธรรม[...]
- 7 ตามใจท่าน (ธรรมะสากัจฉา)วันวิสาขบูชา เป็นวันที่พระพุทธเจ้า ประสูติ ตรัสรู้ และปรินิพพาน วันเดียวกัน สิ่งสำคัญที่เราควรระลึกถึง คือ มรดกที่ท่านมอบไว้ให้ คือ คำสอน ระลึกถึงการเกิดขึ้นของพุทโธ ระลึกว่าสิ่งใดที่ควรเกิดขึ้นในใจเรา ที่เป็นกุศล เป็นความดี สิ่งใดที่ควรตายไปจากเรา คือ อกุศล ความไม่ดี Q: เกร็ดความรู้ งานตัดหวาย+ผูกพัทธสีมา A: โบสถ์ จัดอยู่ในรูปแบบของเสนาสนะ ในด้านสถาปัตยกรรม จะหยาบหรือละเอียดได้ทั้งหมด/เสนาสนะทางพระวินัยบัญญัติไว้ว่า ถ้าทำเพื่อตัวเอง ไม่เกิน 50 ตร.ว. ไม่ต้องแสดงเขตที่ แต่หากมีกิจอื่นที่ต้องทำมากขึ้นต้องมีการแสดงเขตที่ ต้องมีการสวดถอน เพราะหากก่อนหน้านี้เคยมีเสนาสนะ แล้วเราไม่สวนถอน การใช้พื้นที่นี้จะถือว่าเป็น “โมฆะ” จึงต้องมีการสวดถอนเพื่อประกาศเพื่อเป็นเขตสีมา จำเป็นต้องผูกสีมา ซึ่งในรัชสมัยนี้จะมีการทำ “วิสุงคามสีมา” นิยมใช้เครื่องหมายที่กำหนดเขต คือ “ลูกนิมิต” แล้วมีใบเสมาปักไว้ด้านบนเพื่อแสดงว่าด้านล่างมีลูกนิมิต Q: สิ่งที่ไม่ใช่ตัวตนที่คิดได้รู้สึกได้ว่าเป็นตัวตนคือสิ่งใด?/สิ่งที่ถูกหลอกว่าเป็นตัวตน คือสิ่งใด? A: จิต/ขันธ์ 5/การที่เรารู้สึกว่ามันเป็นตัวตนของเรานั่นคือจิต จิตไปยึดถือขันธ์ 5 ในความเป็นตัวตน[...]
- 7 ตามใจท่าน (ธรรมะสากัจฉา)Q: การศึกษาพุทธศาสนามีด้านเดียวหรือสองด้าน? A: พิจารณาได้ทั้ง 2 อย่าง นัยยะของ 2 ด้าน อาจหมายถึง พิจารณาด้านประโยชน์และโทษ ว่าด้านไหนมาก ด้านไหนน้อย นัยยะของด้านเดียว อาจหมายถึง ทางสายกลาง (มรรค 8) Q: สมาธิเสื่อมได้หรือไม่ เกิดจากเหตุปัจจัยใด? A: สิ่งใดที่เจริญได้ ก็เสื่อมได้ บางทีอาจเสื่อมจากสมาธิเพราะกายเมื่อยล้า คลุกคลีมาก ทำให้เจริญได้ คือ ไม่ยินดีในการเอนกาย รู้จักหลีกเร้น การปฏิบัติตามมรรค 8 จะช่วยปรับให้ไปตามทางได้ รู้จักเอาประโยชน์ หลีกออกจากโทษ Q: ขณะนั่งสมาธิ รู้สึกเคลิ้มจนลืมคำภาวนา ลืมลมหายใจ เรียกว่าขาดสติหรือไม่? A: ขาดสติ คือ เพลินในสมาธิ ยึดถือในสมาธิ มีสมาธิแต่เผลอสติ การระงับลง ไม่ถือว่าเป็นการขาดสติ เพราะยังมีสติสัมปชัญญะ รู้ว่าระงับลง ให้เราฝึกตั้งสติสัมปชัญญะขึ้น เห็นความเกิดขึ้น เห็นความดับไป ฝึกให้ชำนาญในการเข้า การดำรงอยู่[...]
- 7 ตามใจท่าน (ธรรมะสากัจฉา)วันแรงงานให้ระลึกถึงความเพียร ความอดทน ยิ่งใช้ ยิ่งเกิด ยิ่งใช้ ยิ่งมี ปรับให้สม่ำเสมอ ความดี ความงามจะพัฒนาขึ้น Q: การค้าขายที่ไม่ควรพึงกระทำ? A: ค้าอาวุธ ค้าเนื้อสัตว์ ค้าน้ำเมา ค้ายาเสพติด และยาพิษ Q: ความหมายของสัมมาอาชีวะและมิจฉาอาชีวะ? A: มิจฉาอาชีวะ คือ การพูดหลอกลวง พูดให้ผู้อื่นเจ็บใจจนยอมตกลง พูดบีบบังคับ พูดป้อยอ พูดล่อลาภด้วยลาภ สัมมาอาชีวะ คือ การกระทำที่ไม่เป็นมิจฉาอาชีวะ Q: อุปสรรคของผู้ปฏิบัติที่หวังจะเข้าสู่กระแสนิพพาน? A: อุปกิเลส 11 อย่าง เป็นเครื่องมือที่จะตรวจสอบว่าเราอยู่ในมรรคหรือไม่/ทางที่จะไปสู่นิพพานต้องเดินตามทาง มรรค 8 เท่านั้น เอามรรค 8 เป็นเกณฑ์ ถ้าเจออุปสรรคแล้วผ่านมาได้ มีการพัฒนา กิเลสลดลงๆ จะเป็นทางที่ไปสู่นิพพานได้ ไม่เนิ่นช้า Q: จะบอกบุญ และสร้างศรัทธาให้แก่ผู้อื่นได้อย่างไร? A: บอกบุญให้ถูกช่องทาง/ตั้งจิตไว้ว่า ห้ามเขาเสียจากบาป อนุเคราะห์ด้วยใจอันงาม[...]
- 7 ตามใจท่าน (ธรรมะสากัจฉา)Q: การด่าออกไปกับด่าในใจ ผิดศีลหรือไม่? A: อยู่ที่ว่าเรานับสัมมาวาจา อีก 3 ข้อ (ไม่พูดคำหยาบ ไม่พูดส่อเสียด ไม่พูดเพ้อเจ้อ) เข้ามาเป็นศีลด้วยหรือไม่ ให้เราฝึกยิ่งๆ ขึ้นไป จะเกิดการพัฒนา รักษา กาย วาจา ใจ เรา ปฏิบัติให้ละเอียดขึ้นไปได้ยิ่งดี Q: จากนิทานพรรณา "ผู้รู้เสียงสัตว์" ถ้าไม่มีญาณวิเศษนี้ เราจะดำรงตนในธรรมได้อย่างไร? A: วิธีที่จะพ้นทุกข์ได้จริงและปลอดภัยจากภัยใน ”วัฏฏะ” ได้ ต้อง “อาสวักขยญาณ” เท่านั้น คือ ญาณในการรู้อริยสัจสี่ Q: การละวาง การปล่อยวางและการวางเฉย มีความหมายเหมือนหรือต่างกันอย่างไร? A: ละวาง ในที่นี้ หมายถึง ละ(ปหานะ) คือกำจัดทิ้งเสีย ใช้กับตัณหา สิ่งที่เป็นอกุศลเท่านั้น ปล่อยวาง คือ การวิราคะ วิมุตติ พ้น ซึ่งจะเป็นส่วนของมรรค 8[...]
- 7 ตามใจท่าน (ธรรมะสากัจฉา)Q : ศรัทธาที่ตั้งไว้ถูกกับผลของการอ้อนวอนขอร้อง ? A : ศรัทธามี 3 ระดับ 1. ไม่มีศรัทธาในอะไรเลย 2. มีศรัทธา ด้วยการอ้อนวอนขอร้อง ไม่ได้ผลเป็นไปเพื่อการสิ้นทุกข์ คืออยากจะสิ้นทุกข์ แต่ไม่โดยชอบ 3. มีศรัทธาตั้งไว้ดี ประกอบด้วยปัญญา มีการกระทำโดยชอบด้วยเหตุผล นั่นคือ “วิริยะ” ที่เหมาะสม ออกมาในรูปของศีลที่เป็นไปเพื่อความไม่ร้อนใจ เป็นหนึ่งใน มรรค 8 มีที่สุดจบคือ นิพพาน เรียกว่าเป็นศรัทธาถูกที่และดีที่สุด / ผลจากการอ้อนวอนขอร้องแล้วได้ บางครั้งเกิดจากเทพบันดาล บางครั้ง เกิดจากผลกรรมที่ทำมา Q : ศรัทธาในพระธรรมวินัยแตกต่างอย่างไรกับศรัทธาที่เกิดจากการปฏิบัติ ? A : ศรัทธาในธรรมวินัยเพื่อเป็นแนวทางในการปฏิบัติ ศรัทธาที่เกิดจากการปฎิบัติจนเป็นผลแล้วจึงไม่เชื่อตามบุคคลอื่น รู้ได้ด้วยตนเอง Q : รู้อะไรเห็นอะไรจึงเรียกว่า “สันทิฏฐิโก” ? A : เห็นประจักษ์ในสิ่งที่เราได้รับผล รู้ชัด เห็นชัด[...]
- 7 ตามใจท่าน (ธรรมะสากัจฉา)Q : ปฏิบัติธรรมไปเพื่ออะไร ไม่ปฏิบัติธรรมได้ไหม ? A : ธรรมะเมื่อนำไปทำ นำไปปฏิบัติแล้วจะนำความผาสุกมาให้ / อย่าเข้าใจผิดว่า ผาสุกคือ สุขเวทนา ไม่ดีคือทุกขเวทนา เพราะทั้งสุขเวทนาและทุกขเวทนา ล้วนเป็นทุกข์ ให้เห็นธรรมะ เป็นสาระสำคัญ เราจะอยู่ผาสุกได้ / การปฏิบัติธรรมสามารถปฏิบัติได้ทุกรูปแบบ การมีเมตตาต่อกัน รู้จักใช้จ่ายทรัพย์ ก็ถือเป็นการนำธรรมะมาปฏิบัติ ควรปฏิบัติในทุกรูปแบบเพื่อความผาสุก Q : การฝึกสมาธิในขณะที่ลืมตากับหลับตา สภาวธรรมจะต่างกันหรือไม่ ควรฝึกอย่างไรจึงเหมาะสม A : สมาธิสามารถฝึกได้ในทุกอิริยาบถ ให้มีสติรู้ตัวทั่วพร้อม ตรงไหนเราทำได้ เอาตรงนั้นเป็นที่ตั้ง ตั้งจิตไว้ตรงนั้น ทำให้ชำนาญ แล้วค่อยพัฒนาไปอย่างอื่น/ อานิสงส์ของสมาธิในการเดิน จะทำให้อาหารย่อยง่าย สมาธิตั้งอยู่ได้นาน Q : ประโยชน์และโทษของการฝึกสมาธิแบบอรูปฌาน A : ฌาน หมายถึง การเพ่ง เอาใจจดจ่อในสิ่งใดสิ่งหนึ่ง / การเพ่งนั้นขึ้นอยู่กับผู้ใช้ ว่าจะใช้เครื่องมืออะไร แบ่งออกเป็น[...]
- 7 ตามใจท่าน (ธรรมะสากัจฉา)Q: ขณะนั่งสมาธิรู้สึกเคลิ้ม ลืมภาวนา ลืมลมหายใจ รู้สึกสบาย ถือว่าขาดสติหรือไม่? A: ในการภาวนา หากเราเห็นอาการเกิดขึ้น ตั้งอยู่และดับไป คือ มีสติ หากเราไม่เห็นหรือเห็นเกิดแต่ไม่เห็นดับ นั่นคือ เผลอสติ Q: ขณะกำหนดจิตบริกรรม พุธโธ และฟังเทศน์ไปด้วย ควรกำหนดสติไว้กับอะไร? A: สติตั้งไว้ตรงช่องทางที่เสียงจะเข้ามา (หู)/เอาจิตไว้ที่ “โสตวิญญาณ” Q: ถ้าปฏิบัติจนถึงที่สุดแห่งทุกข์แล้วไม่จำเป็นต้องปฏิบัติอีก ถูกหรือไม่? A: ไม่ต้องปฏิบัติเพื่อหวังเอาผล เพราะพ้นได้แล้ว แต่ยังต้องปฏิบัติ รักษาศีล เพื่อดำรงอยู่ เพื่อรักษาสภาวะนี้ ดำรงอยู่ในมรรค เพื่อประกอบให้อยู่เป็นสุขในปัจจุบัน Q: เข้า ฌาน 1 แล้วพิจารณากายนี้ ถือว่าเป็นวิตกวิจารหรือเป็นวิปัสสนาแล้ว? A: หากพิจารณากายตนเองแล้วเห็นความไม่เที่ยง ในกายตน ถือว่าเป็นวิปัสสนา แต่หากพิจารณากายบุคคลอื่น เป็นลักษณะรูปภาพ ถือว่าเป็นวิตกวิจารณ์ Q: จะแก้ไขเรื่องตื่นนอนแล้วไม่ยอมลุก ได้อย่างไร? A: ก่อนนอน ขณะอยู่ในอิริยาบถ นอน ให้ตั้งสติไว้ว่า “รู้สึกตัวเมื่อไหร่[...]
- 7 ตามใจท่าน (ธรรมะสากัจฉา)Q: ทำจิตอย่างไรจึงจะเลิกกลัวงู ที่ได้เคยทำร้ายในสมัยก่อน? A: ให้ทำความดีเพิ่ม ทำบ่อยๆ ทำมากๆ เมื่อเราระลึกถึงบุญ ระลึกถึงความดี ภาวนามากขึ้น ความร้อนใจ ก็จะเบาบางลง Q: ใช้การภาวนาคาถา แทนการดูลมหายใจได้หรือไม่? A: การภาวนา ก็ถือว่าเป็น ธัมมานุสติ เป็นหนึ่งใน อนุสติสิบ สามารถใช้วิธีไหนก็ได้ Q: เทคนิคแก้ฝันร้าย A: ก่อนนอน ให้กำหนดสติสัมปชัญญะ กำหนดรู้อิริยาบถในการนอนแล้วเจริญเมตตา มุทิตา กรุณา อุเบกขา น้อมจิตไปเพื่อการนอน กำหนดจิตว่า รู้สึกตัวเมื่อไหร่ จะลุกขึ้นทันที ตั้งสติสัมปชัญญะไว้ว่า “ขอให้บาปอกุศลอย่าได้ตามเราผู้ที่นอนอยู่” แล้วบาปอกุศลจะไม่ตามเราไป เพราะเราตั้งสติไว้แล้ว Q: ทิศทางสู่นิพพานในขณะที่ยังเป็นฆราวาสผู้ครองเรือนอยู่ A: หนทางไปสู่นิพพานมีทางเดียว คือ มรรค 8/ฆราวาสผู้เดินตามทาง มรรค 8 ก็ไปสู่นิพพานได้ Q: การเจริญมรรคของฆราวาส เจริญแบบไหนจึงได้ชื่อว่าทางสายกลาง? A: ให้เอาศีลเป็นหลัก มีกัลยาณมิตรดี[...]
- 7 ตามใจท่าน (ธรรมะสากัจฉา)Q: ความสันโดษกับเรื่องกาม? A: กาม แบ่งเป็น 1. กิเลสกาม (ความยินดีพอใจ) 2. วัตถุกาม (เสื้อ ผ้า อาหาร คือ วัตถุกาม ที่มีทั้งปราณีต และไม่ปราณีต)/ความสันโดษ (มี 3 นัยยะ คือ 1. ยินดีตามที่มี 2. ยินดีตามกำลัง 3. ยินดีตามความเหมาะสม)/ให้ทำความเข้าใจความสันโดษให้ถูกต้อง ก็จะเลือกปฏิบัติได้ Q: ไม่อิ่มไม่พอ พร่องอยู่เสมอ (กาม) กับอิ่มแล้วพอ (มรรค 8)? A: ไม่อิ่มไม่พอ นั่นคือ ”กาม” จะไม่มีที่สุดจบ วนไปเรื่อยๆ เติมอย่างไรก็ยังพร่องอยู่เสมอ/อิ่มแล้วพอ (ไม่หิว) เมื่อเดินตามทางสายกลาง (มรรค 8) จะมีนิพพานเป็นที่สุดจบ Q: การบรรลุไม่ได้ขึ้นอยู่กับทุกข์มากหรือทุกข์น้อย แต่ขึ้นอยู่กับทำความเข้าใจทุกข์นั้นด้วยปัญญา A: เราต้องเข้าใจทุกข์ให้ถูก ว่าเป็นของเกิดดับได้ คือ 1.[...]
- 7 ตามใจท่าน (ธรรมะสากัจฉา)Q: ทานในอนุปุพพิกถาเป็นทานประเภทไหน? A: อามิสทาน/เป็นลักษณะการสละออก ทานโดยใช้สิ่งของภายนอก ทั้งนี้ เราทำอะไรทางกาย ก็มีผลทางใจด้วย เพราะกาย วาจา ใจ มันเกี่ยวเนื่องกัน เราสละสิ่งที่เป็นอามิส กิเลส ราคะ โทสะ โมหะ ก็จะลดลงด้วย Q: อภัยทานกับอโหสิกรรม เหมือนหรือต่างกันอย่างไร? A: ในความหมายของภาษาไทยนั้นนำมาใช้แทนกันได้ โดย อโหสิกรรม จะมีอุเบกขา นำ เน้นมาในทางไม่ผูกเวรต่อ อภัยทานมีเมตตากรุณานำ โดยทั้ง 2 อย่างนั้น สำคัญที่ใจต้องไม่ผูกโกรธ Q: บุญที่เกิดจากอภัยทานกับธรรมทาน เหมือนหรือต่างจากบุญที่เกิดจากอามิสทานอย่างไร? A: การให้ทานล้วนเป็นบุญทั้งสิ้น จะเหมือนหรือแตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับว่าจะใช้สิ่งไหน อยู่ที่ผู้ทำและผู้รับด้วย Q: อดทนต่อคำด่า ไม่โต้ตอบแล้วทำให้คนที่ด่า โกรธมากขึ้น จะเป็นการเพิ่มอกุศลกรรมให้กับคนที่ด่าหรือไม่/ควรทำอย่างไร? A: สิ่งที่ควรทำ คือ อดทน ไม่โต้ตอบ ทำด้วยเจตนาที่ดี/คนไม่ดี พอเห็นความดีแล้วไม่พอใจ ก็เป็นธรรมดา ด้วยอำนาจโมหะเขาจึงโกรธมากขึ้น[...]
- 7 ตามใจท่าน (ธรรมะสากัจฉา)Q: คำแปลและความหมายของศีลในข้อ 7 และ 8 A: ศีลข้อ 7 นัจจคีตวาทิตวิสูกทัสสนมาลาคันธวิเลปนธารณมัณฑนวิภูสนัฏฐานา เวรมณี คือ เว้นจากการฟ้อนรำ ขับร้อง บรรเลงดนตรี ดูการละเล่นอันเป็นข้าศึกต่อพรหมจรรย์ การทัดทรงดอกไม้ ของหอม และเครื่องลูบไล้ ซึ่งใช้เป็นเครื่องประดับตกแต่ง / ศีลข้อ 8 อุจจาสยนมหาสยนาเวรมณี คือ เว้นจากที่นอนอันสูงใหญ่ Q: ผลกรรมที่ทำผิดศีล 5 A: ไม่ว่าจะเป็นสังคม ในอดีต ปัจจุบัน หรืออนาคต เรื่องศีลย่อมได้รับผลเหมือนกัน เพราะธรรมะ ไม่เนื่องด้วยกาล เป็นอกาลิโก Q: ผู้ที่นับถือศาสนาอื่นจะนรก หรือสวรรค์เดียวกันกับผู้ที่นับถือพุทธหรือไม่? A: คนเราเกิดมามี อายตนะ เหมือนกันจะนับถือศาสนาไหน ก็ยังมือายตนะเหมือนกัน นรก สวรรค์ ก็เป็นอย่างเดียวกัน Q: สัดส่วนของความสุขความทุกข์ในนรก และสวรรค์ A: นรกมีสุขน้อย มีทุกข์มาก/สวรรค์ มีสุขมาก[...]
- 7 ตามใจท่าน (ธรรมะสากัจฉา)Q: จิตฟุ้งซ่านขณะเดินจงกรม ควรทำอย่างไร? A: หากมีความคิดเข้ามา ให้ตั้งสติกำหนดจิตเดิน และทำต่อไปโดยไม่หยุดเดิน การปฎิบัติด้วยการเดินผัสสะจะมากกว่าการนั่ง หากเราฝืนทำต่อไปได้ สมาธิที่ได้จะอยู่ได้นาน Q: ขณะนั่งสมาธิ เกิดมีอาการคัน ควรแก้ไขอย่างไร? A: วิธีแก้มี 2 วิธี คือ 1. เอาจิตไปจดจ่อดูความเป็นตัวตน คือ เห็นทุกข์ในสิ่งนั้น เห็นความไม่เที่ยงในสิ่งนั้น (ทุกขาปฎิปทา) 2. ไม่เอาใจใปใส่ในมัน เข้าสมาธิให้ลึกลงไป (สุขาปฏิปทา) ทั้งนี้การจะวางได้เร็วหรือช้า อยู่ที่อินทรีย์ 5 หากอินทรีย์อ่อน จะวางได้ช้า หากอินทรีย์แก่กล้า จะวางได้เร็ว Q: เมื่อเกิดมีปีติมากล้น จะปล่อยวางได้อย่างไร? A: ใช้วิธีสุขาปฏิปทา หรือทุกขาปฏิปทา ให้เห็นถึงความไม่เที่ยง เพื่อการปล่อยวางความปิติ ฝึกทำบ่อยๆ ปิติจะดับไป Q: จำเป็นหรือไม่ ที่ต้องสวดมนต์เฉพาะหน้าพระพุทธรูป? A: สามารถสวดมนต์ที่ไหนก็ได้ Q: เหตุใดฝึกทำสมาธิแล้วไม่ได้สมาธิ ได้แต่ความเพียร? A:[...]
- 7 ตามใจท่าน (ธรรมะสากัจฉา)Q: ทำสมาธิอย่างไรให้ตั้งอยู่ได้นาน? A: เราไม่ควรออกจากสมาธิ ควรฝึกสติให้มีกำลังสติสัมปชัญญะในทุกอิริยาบถ หรือการอยู่ในที่หลีกเร้น เสนาสนะอันสงัด รู้ประมาณในการบริโภค และที่สำคัญ คือ การฟังทำธรรมะ เมื่อสติมีกำลัง สมาธิก็จะตั้งอยู่ได้นาน Q: ระดับและอานิสงส์ของสมาธิ A: สมาธิมี 9 ขั้น/อานิสงส์ของสมาธิ คือ ทำให้เกิดปัญญาจะได้ผลเป็นอริยบุคคล 4 ขั้น (โสดาปัตติผล/สกทาคามิผล/อนาคามิผล/อรหัตตผล) Q: ทำสมาธิเพื่ออะไร/สิ่งที่ควรเสพในสมาธิ A: ทำสมาธิเพื่อให้เกิดเป็นปัญญา มีผล คือ อริยบุคคล 4 ขั้น และไปสู่ความสงบสุขที่สุด คือ “นิพพาน”/สุขจากสมาธิ ซึ่งสุขจากสมาธิก็เป็นเวทนาอย่างหนึ่ง ให้เห็นถึงความไม่เที่ยง สุขเวทนาnสมาธิเป็นของไม่เที่ยง เสพแล้วทำให้มาก เจริญให้มาก Q: กรรมของคนบ้า? A: กรรมจากดื่มสุราเมรัย/เสพยาเสพติด คนถ้าเป็นอยู่ตอนนี้จะแก้อย่างไร คนบ้า ไม่ใช่คนประสาท คนดีก็บ้าได้ บ้า คือ วิปลาส (เห็นสิ่งไม่เที่ยงว่าเที่ยง/เห็นสิ่งที่ไม่ใช่ตัวตน ว่าเป็นตัวตน/เห็นสิ่งที่เป็นทุกข์ ว่าเป็นสุข)[...]
- 7 ตามใจท่าน (ธรรมะสากัจฉา)Q : จิตกับใจใช่สิ่งเดียวกันหรือไม่? A : เป็นนามเหมือนกัน ต่างกันคือทำหน้าที่คนละอย่าง ใจ (เป็นช่องทาง) /จิต (สภาวะแห่งการสั่งสม,ยึดถือ) Q : อยากให้มีการจัดรายการธรรมะรับอรุณต่อไป..ความอยากนี้ เป็นกิเลสหรือไม่? A : เป็น / ความอยากมีทั้งความอยากที่เป็น “สมุทัย” และความอยากที่ประกอบด้วยความเพียร (สัมมาวายามะ) หากเราทำแล้วกุศลกรรมเพิ่ม อกุศลกรรมลด แสดงว่าเราทำมาถูกทางแล้ว คือ “สัมมา” นั่นเอง Q : เราไปวัดกันทำไม? A : คนโบราณ มีกุศโลบายคือไปวัดเพื่อพบเห็นสมณะ ได้กราบไหว้ ได้รับศีล ได้ฟังธรรม ได้ถวายทาน ครบในข้อของ “อุบาสกรัตนะ” Q : สมาทานศีลที่บ้านเองได้หรือไม่ ? A : ได้ / อยู่ที่เราตั้งจิต ทำด้วยความปกติจะเป็นการดี Q : สวรรค์ชั้น[...]
- 7 ตามใจท่าน (ธรรมะสากัจฉา)พอจ. มีศรัทธา กำลังใจ พลังใจจากพระพุทธเจ้า จากผู้ฟัง ผู้ฟัง ฟังแล้วมีศรัทธา มีกำลังใจสูง ได้ประโยชน์มาก มีศรัทธาเพิ่มขึ้น ทำให้ พอจ. มีกำลังใจเพิ่มมากขึ้น และจะทำรายการต่อไป Q : เบญจศีล เบญจธรรม คืออะไร? A : เบญจศีล คือ ศีล 5 เบญจธรรม คือ ธรรมะ 5 / คู่ของธรรมะ 5 อย่าง กามสังวร คือ สำรวมในกาม การรู้จักยับยั้งควบคุมตน ไม่ให้หลงใหลใน รูป รส กลิ่น เสียง และสัมผัส (การสำรวมระวังในกาม) คือ ความเพลิน พอใจยินดีในกามคุณ Q : โทษที่จะเกิดขึ้นจากการที่พูดยุยงให้แตกกัน ? A: โทษน้อยที่สุด คือ พูดแล้วคนอื่นไม่เชื่อ[...]
- 7 ตามใจท่าน (ธรรมะสากัจฉา)Q : ผู้ไม่มีโรคทางใจ มีแต่พระอรหันต์เท่านั้น ? A : แน่นอนว่าเป็นแต่พระอรหันต์เท่านั้นที่ท่านไม่มีโรคทางใจ/ โรคทางใจ พระพุทธเจ้าท่านได้กล่าวไว้ถึงอาการที่เกี่ยวกับโรคทางใจ 3 อาการคือ ราคะ โทสะ โมหะ Q : วิธีการใดที่คนธรรมดาจะไม่เป็นโรคทางใจ ? A : ใช้ยาที่แก้โรคทางใจคือ มรรค 8 ต้องทำให้มากเจริญให้มาก เปรียบดังเราเป็นโรคอย่างใดอย่างหนึ่ง แล้วทานยา รักษาจนหายแล้ว เราก็ยังรักษาตัวเองต่อเนื่อง คือ ทานอาหารที่ดีต่อสุขภาพ ไม่รับประทานของแสลง ทำอยู่อย่างนี้จนหมดชีวิตเรา Q : มโนกรรม วจีกรรม กายกรรม กรรมใดมาก่อน ? A : มโนกรรม ใจเป็นใหญ่ เป็นประธาน / ผัสสะต่างๆ มีใจ เป็นที่แล่นไปสู่ Q : เจตนาของ มโนกรรม วจีกรรม กายกรรม[...]
- 7 ตามใจท่าน (ธรรมะสากัจฉา)Q : เพื่อนแกล้งควรทำอย่างไร ? A : หากเราโต้ตอบด้วยกำลังก็จะเบียดเบียนตนเองและผู้อื่น พระพุทธเจ้าท่านจึงสอนให้โต้กลับ ด้วย 1)ความอดทน 2)ไม่เบียดเบียน 3) เมตตา 4) รักใคร่เอ็นดู Q : เหตุแห่งการมีบริวาร A : เวลาทำบุญ ให้ทำบุญด้วยตัวเองและชักชวนผู้อื่นทำบุญด้วย / สงเคราะห์ด้วยปิยวาจา อัตถจริยา สังคหวัตถุสี่ และการแบ่งปัน Q : คว่ำหน้ากิน แหงนหน้ากิน หมายถึงอะไร ? A : เป็นคำถามของปริพาชก ปริพาชกมีข้อปฏิบัติหลายอย่าง /พระสารีบุตร ท่านเคยเกิดเป็นปริพาชก ท่านได้ตอบคำถามนี้ว่า ท่านไม่ได้คว่ำหน้ากิน แหงนหน้ากิน Q : การสมาทานศีล A : สามารถสมาทานศีลได้ด้วยตัวเองหรือต่อหน้าผู้ที่เรามีหิริโอตตัปปะ หากมีศีลเป็นปกติ (พระโสดาบัน) ก็ไม่ต้องสมาทานศีล Q: จะใช้ธรรมมะอยู่ในโลกที่เบียดเบียนได้อย่างไร ? A:[...]
- 7 ตามใจท่าน (ธรรมะสากัจฉา)พระพุทธเจ้าท่านให้ทำการรักษา นอบน้อมทิศเบื้องขวา คือ ทิศของครูบาอาจารย์ ผู้เป็นศิษย์ควรให้ความเคารพ เชื่อฟังด้วยความนอบน้อม ผู้ที่เป็นครู ก็สอนด้วยความเมตตา ให้โดยไม่เหลือไว้ในกำมือ Q: การเห็นไตรลักษณ์ในอริยสัจสี่เป็นสัมมาทิฏฐิหรือไม่ ?A : การจะละสิ่งใดสิ่งหนึ่งได้ ต้องเห็นในความเป็น อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา เห็นในทุกข์ เพื่อจะได้รู้รอบในทุกข์ คือ รู้เหตุเกิดของมัน ตัวมัน รสอร่อย โทษ และวิธีที่จะออกจากมัน และกิจที่ควรทำในแต่ละอย่างไม่เหมือนกัน ทั้งที่ไม่เที่ยงเหมือนกันเราต้องเห็น อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ในอริยสัจสี่ Q : การเจริญสมาธิระหว่างที่นั่งกับตอนทำงาน อย่างไรดีกว่ากัน?A: ได้สติทั้ง 2 อย่าง ไม่ติดกับรูปแบบ อยู่ที่การฝึกและความชำนาญ รู้จักแบ่งเวลาให้เหมาะสม สะดวกเวลาไหนทำเวลานั้น Q: ทำอย่างไรน้องที่ภาวนามาด้วยนิสัยจะดีขึ้นได้ ?A: ถ้ามีเหตุแห่งการพัฒนา การก้าวหน้า หลุดพ้น ย่อมมีได้ ให้พึ่งตนเอง ลงมือทำเอง พึ่งตนพึ่งธรรม Q: ได้ยินเสียงต่าง[...]
- 7 ตามใจท่าน (ธรรมะสากัจฉา)Q : ขณะใส่บาตรควรยืนหรือนั่งจึงจะเหมาะสม?A : ขึ้นอยู่กับจิตศรัทธาของผู้ให้ ที่ให้ด้วยความเคารพ โดยไม่ยึดติดพิธีกรรมว่าแบบนี้เท่านั้นแบบอื่นไม่ได้ Q : การอุทิศส่วนกุศลให้กับผู้วายชนม์ ควรทำระหว่างหรือหลังใส่บาตร?A : บุญ เกิดตั้งแต่ ก่อนให้ ระหว่างให้และหลังให้ แค่คิดว่าเราจะทำก็เป็นบุญแล้ว เพราะจิตเรามีความสุข ที่สำคัญต้องมี “มโนกรรม” คือ ต้องตั้งจิตเอาไว้ว่าจะให้ คิดด้วยจิตที่เป็นสมาธิ ยิ่งมีสมาธิมาก ยิ่งส่งได้ไกลและทำโดยไม่สงสัยว่าบุญที่ทำจะถึงหรือไม่ Q : การที่นำปัจจัยใส่ซองทำบุญแล้วเขียนชื่อญาติที่ล่วงลับ ให้พระช่วยแผ่บุญ แผ่ส่วนกุศลให้ แบบนี้ทำได้หรือไม่ ?่A : การที่เราระลึกถึงบรรพบุรุษ แล้วเราทำบุญอุทิศให้ท่าน เป็นหน้าที่ของลูกหลาน ที่ต้องทำอยู่แล้ว การทำบุญในนามของท่าน ก็คือ อุทิศให้ท่าน Q : ทำบุญแล้วต้องกรวดน้ำที่โคนต้นไม้ใหญ่ บุญจึงจะถึง แบบนี้ใช่หรือไม่?A : การทำบุญ ต้องมี “มโนกรรม” มาก่อน ส่วนพิธีกรรม สามารถทำได้ภายหลัง / การกรวดน้ำ (กายกรรม)[...]
- 7 ตามใจท่าน (ธรรมะสากัจฉา)Q: เพราะเหตุใดปฏิบัติธรรมแล้วมีอาการแน่นหน้าอก ปวดหัว นอนไม่หลับ ? A: ถ้าเราปฏิบัติแล้วทำด้วยตัวเองได้ อะไรที่ไม่ดี ละได้ เมื่อทำได้แล้วจึงอยากได้เพิ่มขึ้น เพราะอยากจึงบังคับ เพราะบังคับจึงปวดหัว แน่นหน้าอก เครียด นอนไม่หลับ จิตไม่สงบ / สติ สมาธิ ความสงบ จะไม่ได้ด้วยการข่มขี่ บังคับ การห้ามหรือการปรุงแต่ง แต่จะได้ด้วยการ ประคบประหงม ประคับประคอง / สมาธิเป็นของประณีต เป็นของระงับ “ยิ่งอยากได้ ยิ่งไม่ได้” การนอนไม่หลับ มีอยู่ 2 อย่าง1. การนอนไม่หลับแบบดี คือจิตเป็นสมาธิแล้วนอน ตื่นมาไม่รู้สึกเพลีย เพราะร่างกายพักผ่อนอยู่ในสมาธิ ด้วยสติที่มีกำลังจึงรู้สึกตัวอยู่ตลอดเหมือนไม่หลับเลย2. การนอนไม่หลับแบบอินซอมเนีย (โรคนอนไม่หลับ) เกิดเพราะความเครียด เครียดแล้วเก็บมาคิด ยิ่งคิดยิ่งนอนไม่หลับ ข่มตาให้หลับ ก็ไม่หลับ หรือหลับไปไม่นานก็ตื่น กลับมาคิดเรื่องเดิม ตื่นแล้วเพลียวิธีการแก้ไข คือ อย่าให้มีความอยาก พระพุทธเจ้าท่านเคยเปรียบไว้กับแม่โคปีนภูเขา ที่มันจะพยามกินหญ้าตามภูเขาไปเรื่อย ๆ[...]
- 7 ตามใจท่าน (ธรรมะสากัจฉา)Q: “ตมฺมโย" หมายถึงอะไร ?A: “ตมฺมโย” แปลว่า ยังเกี่ยวเนื่องด้วยอยู่ / เกาะอยู่ / ไม่เป็นอิสระจากสิ่งนั้น“อตมฺมโย” แปลว่า ภาวะที่ไม่ได้เนื่องด้วยสิ่งนั้น / ไม่ได้เกาะเกี่ยวสิ่งนั้น (ณ ที่นี้ หมายถึงนิพพาน)เปรียบดังอุปมาอุปไมย ดอกบัวอาศัยโคลนตมเกิดแต่พอโผล่พ้นน้ำแล้วไม่ได้โดนโคลนตมนั้นอีก คือแยกจากกัน ผ่องแผ้วจากกัน / เราปฏิบัติไปตามทางมรรคจนถึงนิพพานแล้วแต่เราไม่ได้ยึดถือนิพพานนั้นไม่เกี่ยวเนื่องนิพพานนั้น เพราะนิพพานนั้นเป็นสิ่งที่เรารู้รอบแล้ว Q: เมื่อหมดศรัทธากับครูบาอาจารย์ควรทำอย่างไร?A: นี่เป็นโทษของศรัทธา (อ้างอิง โทษของศรัทธา “ปุคคลปสาทสูตร”) หากบุคคลที่เราศรัทธา มีเหตุเปลี่ยนไปจากเดิม แล้วเราไม่ศรัทธาในภิกษุเหล่าอื่น ไม่เลื่อมใส ไม่คบหา ในภิกษุเหล่าอื่น ก็จะไม่ได้ฟังธรรม เมื่อไม่ได้ฟังธรรมก็จะเสื่อมจากสัทธรรม / เราควรตั้งศรัทธาไว้ในภิกษุเหล่าอื่น ฟังความคิดเห็นของท่าน เราจะตั้งอยู่ในสัทธรรมนั้นได้ Q: ศรัทธามาจากไหน / จะรักษาศรัทธาไว้ได้อย่างไร?A: ทุกข์เป็นที่ตั้งของศรัทธา / ถ้าคนที่มีทุกข์แล้วเห็นไม่ถูก ศรัทธาไม่เกิดทุกข์ มี 2 อย่าง คือ1. ร้องไห้คร่ำครวญ[...]
- 7 ตามใจท่าน (ธรรมะสากัจฉา)Q: พุทธศาสนามีกี่นิกาย A: ศาสนาพุทธ หมายถึง คำสอนของพระพุทธเจ้า มีเพียงหนึ่งเดียว ความเห็นต่างเกิดจากผู้ที่ยังไม่บรรลุ ความเห็นต่าง การตีความไม่เหมือนกันมีได้ แต่ต้องไม่แตกกัน นิกายใช้ขึ้นมาเพื่อบ่งบอกว่ากลุ่มนี้เหมือนหรือต่างกัน เริ่มมีหลังพระพุทธเจ้าปรินิพพานขณะทำสังคยานาครั้งที่ 1 ในปัจจุบันนับได้ 3 นิกาย คือ มหายาน เถรวาท วัชรยาน ให้กลับมาที่คำสอนในมหาประเทส 4 คำสอนใดที่จำมาแล้วรู้มาแล้ว อย่าเพิ่งปลงใจเชื่อ หรือคัดค้าน ให้นำมาตรวจสอบในพระวินัย ถ้าลงกันได้ก็ให้ทรงจำไว้ จะสายไหนอย่าเอามาเป็นสาระสำคัญ ให้ดูว่าสามารถปฏิบัติตามศีล สมาธิ ปัญญาได้หรือไม่ ดับทุกข์ได้หรือไม่ คำสอนนั้นต้องดับทุกข์ได้ Q: ความแตกต่างมหานิกายกับธรรมยุต A: เหมือนกันตรงที่ใช้คัมภีร์เล่มเดียวกัน ปฏิบัติตามคำสอนของพระพุทธเจ้าเป็นข้อดี อยู่ที่แต่ละกลุ่มจะปฏิรูปเปลี่ยนแปลงไปในแนวทางไหน Q: ความเคร่งพระป่าพระบ้าน A: ให้ดูที่ข้อปฏิบัติของภิกษุนั้น ๆ อย่าดูเพียงเปลือกนอก Q: ทำบุญนอกนิกายจะได้บุญหรือไม่ A: ทานควรให้ บุญมากน้อยขึ้นอยู่กับสามผู้ให้ และสามผู้รับ Q: บวชนอกนิกายบาปหรือไม่ A:[...]
- 7 ตามใจท่าน (ธรรมะสากัจฉา)Q: ศีลห้าไม่ครบ จะทำฌาน เข้าถึงธรรมได้หรือไม่A: ‘สมาธิ คือ พละกำลังของจิต’ เมื่อศีลไม่ครบ จะมีความร้อนใจ ดังนั้นสมาธิ/ฌานอาจจะทำได้บ้าง แต่ไม่เต็ม และไม่สามารถละกิเลสได้ Q: ทำอย่างไรให้ลูกพูดความจริงA: ให้ลูกตั้งอยู่ในความดี ห้ามเสียจากบาป พ่อแม่จิตใจต้องนุ่มนวล ประกอบด้วยพรหมวิหาร 4 มีเวลาใช้เวลาร่วมกัน อย่าให้เงื่อนไขการดำเนินชีวิต คือ กาม บีบคั้น Q: กรรมที่ทำชาตินี้และให้ผลในชาตินี้A: วิบาก (การให้ผล) ของกรรมมี 3 ระดับ ในปัจจุบัน ในเวลาถัดมาและในเวลาถัดมาๆ อีก เป็นธรรมดา เป็นไปตามวาระ เป็นอจินไตย ‘อย่าไปคิดว่าทำไมกรรมไม่ให้ผล กรรมทุกอย่างให้ผลแน่นอน’ มีเหตุปัจจัย และให้ตั้งมั่นอยู่ในกรรมดี Q: สติ 5 กับการเป็นผู้รู้A: สติที่มีลักษณะ 5 อย่างที่ไล่เรียงไปตามลำดับ 1) แค่สังเกตเฉย ๆ ไม่ตามไป 2) แยกแยะได้ 3)[...]
- 7 ตามใจท่าน (ธรรมะสากัจฉา)Q: มีธรรมะใดหรือไม่ที่เป็นอนัตตาโดยไม่ผ่านคุณสมบัติไม่เที่ยงและเป็นทุกข์ A: อนัตตาเป็นคุณสมบัติที่มีมาก่อน คุณสมบัติของสิ่งที่ต้องขึ้นกับสิ่งอื่น ไม่เป็นอัตตา เพราะความเป็นอนัตตาจึงไม่เที่ยงเป็นทุกข์ เหมือนที่พระพุทธเจ้าตรัสสอนไว้ในอนัตตลักขณสูตรถึงความเป็นอนัตตาของขันธ์ทั้ง 5 สิ่งใดไม่เที่ยงเป็นทุกข์ เราไม่ควรจะเห็นว่ามันเป็นเรา เป็นของเรา เป็นตัวตนของเรา แต่ควรจะเห็นว่า เนตํ มม เนโสหมสฺมิ น เมโส อตฺตาติ นั่นไม่ใช่เรา นั่นไม่ใช่ของเรา นั่นไม่ใช่ตัวตนของเรา อุบายในการออกจากความยึดถือนี้คือมรรค 8 Q: คนที่ยังไม่ผ่านการขัดเกลา แต่คิดว่าตนดีพอแล้ว ควรจะทำอย่างไร A: เป็นเรื่องของความยึดถือในสิ่งที่ตัวเองคิดว่าดี เมื่อเรายึดถือในสิ่งที่ดี ความยึดถือนั้นไม่ดี เพราะบาปอกุศลธรรมอันเอนกจะตามมา ให้พิจารณาตามกระบวนการของอริยสัจ 4 Q: ความสัมพันธ์ของคำว่า สังขาร วิสังขาร และสังขตธรรม อสังขตธรรม A: สังขาร คือ กิริยาที่ปรุงแต่งให้สำเร็จรูปมีอยู่ในสิ่งใดสิ่งนั้นเป็นสังขาร วิสังขารก็เป็นลักษณะตรงข้ามกัน สังขตธรรมเป็นธรรมที่มีการปรุงแต่ง มีการเกิดปรากฏ มีการเสื่อมปรากฏ และเมื่อตั้งอยู่มีสภาวะอื่นปรากฏ อสังขตธรรม ก็คือ ธรรมที่ไม่มีการปรุงแต่ง
- 7 ตามใจท่าน (ธรรมะสากัจฉา)Q: อุปกิเลส16 มีปฏิสัมพันธ์อย่างไรกับทาน ศีล ภาวนา A: ปกติจะแบ่งเป็นส่วนดี และส่วนไม่ดี ส่วนดี คือ นิโรธกับมรรค ส่วนไม่ดี คือ ทุกข์กับสมุทัย อุปกิเลสอยู่ในส่วนไม่ดี แปรผกผันกับส่วนดี คือ ทานศีลภาวนา อุปกิเลสมีความหยาบละเอียดในแต่ละข้อไม่เท่ากัน แบ่งตามระบบของมรรค มรรคขั้นหยาบใช้ปรับอุปกิเลสหยาบ มรรคละเอียดปรับอุปกิเลสขั้นละเอียด เหมือนกระบวนการการได้มาซึ่งทอง ต้องใช้เครื่องมือให้เหมาะสม ปฏิบัติไปตามลำดับขั้น ทานศีลภาวนา หรือศีลสมาธิปัญญา หรืออริยมรรคมีองค์8 ที่ต้องทำไปตามลำดับผสมให้เป็นเนื้อเดียวกัน ทำได้แล้วรักษาให้ดี ถ้าประมาทจะตกต่ำได้ เพราะธรรมชาติของจิตย่อมน้อมไปตามสภาวะแวดล้อมได้ รักษา 2 ทาง 4 ด้านให้ดีให้น้อมไปทางดี ฝึกจากหยาบไปละเอียดจะทำได้ง่ายขึ้น Q: ประพฤติแต่อุปกิเลสจะบรรลุธรรมได้หรือไม่ A: เหตุเงื่อนไขปัจจัยมีอยู่ จะสร้างบ้านได้ก็ต้องเริ่มที่ฐาน จะเห็นธรรมได้ก็ต้องมีทานศีลภาวนา จะบรรลุนิพพานได้ก็ต้องกำจัดอุปกิเลส16 Q: ท้อแท้เพราะปฏิบัติไม่ก้าวหน้าควรทำอย่างไร A: ความก้าวหน้าหรือไม่ อยู่ที่เงื่อนไขปัจจัย พละ5 มีหรือไม่ ความเพียรทำตรงไหนก็สำเร็จอยู่ตรงนั้น ส่วนสมาธิอาจจะยังไม่ออกผลตามที่คุณอยาก ความอยากทำให้ท้อแท้[...]
- 7 ตามใจท่าน (ธรรมะสากัจฉา)Q: พราหมณ์ให้ผ้าผืนเดียวแล้วไม่เปลือยหรือ A: เป็นเรื่องของเอกสาฏกพราหมณ์ที่สละผ้าคลุมที่มีผืนเดียว ไม่ใช่ผ้านุ่งจึงไม่เปลือย เขาข้ามความตระหนี่หรือความอายไปได้ แสดงว่าต้องเห็นอะไรที่ยิ่งไปกว่า ประเด็นคือ ต่อให้ผ้าผืนนั้นเป็นผืนสุดท้าย แล้วคุณจะให้ได้มั้ย สามารถให้สิ่งที่รักเพื่อสิ่งที่เรารักเหมือนโพธิสัตว์ได้หรือไม่ Q: การมีเพื่อนสองมีนัยยะอย่างไร การมีความคิดนึกไปเองใช่เป็นเพื่อนสอง? A: ถ้าดูเฉพาะคำศัพท์ก็เป็นไปในทางดี เช่น กัลยาณมิตร แต่ถ้าดูจากบริบทที่พระพุทธเจ้าสอนภิกษุ เพื่อนสอง คือ ตัณหา ส่วนการคิดนึกไม่ใช่ตัณหา ความคิดเป็นวิตกวิจารณ์ แต่อุปาทานในความคิดนั้นต่างหาก คือ ตัณหา Q: ศรัทธากับสัมมาทิฏฐิ อะไรมาก่อนกัน A: อยู่ที่เป็นประเภทไหน ถ้าเป็นสัทธาวิมุต สัทธานุสารี อันนี้ศรัทธามาก่อน ถ้าเป็นกายสักขี ทิฏฐิปัตตะ หรือธัมมานุสารี อันนี้สัมมาทิฏฐิมาก่อน ทั้งนี้ต้องมีทั้งสองอย่างประกอบกันจึงจะไม่หลุดจากทาง เพราะถ้าศรัทธามากกว่าปัญญาจะกลายเป็นงมงายยึดติด ถ้าปัญญามากกว่าสติมากกว่าศรัทธาก็จะกลายเป็นยกตนข่มท่านตีตัวเสมอท่าน ให้ปรับให้ดีจะทำให้อินทรีย์แก่กล้าบรรลุธรรมได้ ในอริยมรรคพระพุทธเจ้าจะให้สัมมาทิฏฐินำ แต่ในไตรสิกขาจะให้ศีลที่มาจากศรัทธานำ เป็นการยากที่จะพยากรณ์ว่าบุคคลประเภทไหนดีกว่ากัน Q: เจริญฉันทะอย่างไรไม่ให้ burn out A: คนที่ burn out มีทั้งเพียรย่อหย่อน[...]
- 7 ตามใจท่าน (ธรรมะสากัจฉา)Q: เมื่อป่วยหนักควรวางจิตอย่างไรกับทุกขเวทนาA: เป็นภัยที่ต้องเจอแน่นอน เมื่อเจอแล้วจะทำอย่างไรให้ยังเป็นผู้ที่ผาสุกอยู่ได้ หลักการก็คือ กายกับจิตเป็นคนละอย่างกัน จิตมายึดกายโดยความเป็นตัวตน แต่จิตก็ไม่ใช่ว่าท่องเที่ยวไป จิตนี้มีเกิดมีดับตลอดเวลา มันจึงเข้าไปยึดถือได้หมด มองเห็นความจริงนี้ว่า จิตเองก็ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา เป็นไปตามเหตุตามปัจจัย จะแยกกายออกจากจิตได้ จะเห็นตรงนี้ต้องมีกระบวนการไล่ลงไป คือ จิตต้องเป็นสมาธิ มีสติ มีความเพียร มีศีล มีศรัทธา เมื่อแยกได้แล้วจะเหมือนโดนลูกศรเพียงดอกเดียว จิตจะไม่ก้าวลงในอารมณ์ เจ็บกายไม่เจ็บใจ จะผ่านไปได้ แต่ถ้าไม่เคยฝึกมาก่อน อย่าตกใจ แล้วให้ระลึกถึงศรัทธาที่หยั่งลงมั่นในพระพุทธเจ้า พระธรรม พระสงฆ์พร้อมกับศีลที่ไม่ขาดไม่พร้อย นั่นคือ โสตาปัตติยังคะ 4 ที่จะใช้เป็นเครื่องมือให้เกิดสติ เมื่อมีสติสมาธิจะมาเป็นช่วง ๆ ถ้าช่วงที่มีทุกขเวทนามาก อาจจะยังทำไม่ได้ แต่ให้ระลึกไว้ว่าช่องทางย่อมมีเสมอ บางครั้งที่สบายสมาธิจะเกิดได้ ให้เห็นว่ากายนี้ไม่เที่ยง ไม่เที่ยงแม้ในสุขเวทนาหรือทุกขเวทนานั้น ๆ ตั้งสติไว้ไม่เพลินไปในเวทนา น้อมมาอย่างนี้จะเกิดปัญญา สุขทุกข์ก็ไม่เอา เป็นอิสระจากตัณหาได้ คนที่เคยฝึกมาอย่างดีเขาจะสามารถแยกจิตออกจากกายแม้ในขณะมีทุกขเวทนานั้นได้เลยทีเดียว เป็นเรื่องของทักษะไม่ว่าจะเป็นแบบสุขา/ทุกขาปฏิปทา ในเรื่องการวางจิตสุดท้าย ควรรักษาไว้ตลอดเวลาแม้ยังไม่ได้ป่วย เพื่อที่ว่าเมื่อเวลานั้นมาถึงไม่เดือดร้อนใจในภายหลัง ใช้สถานกราณ์เป็นเครื่องบ่มให้จิตเกิดผลเป็นอริยะ[...]
- 7 ตามใจท่าน (ธรรมะสากัจฉา)"ถ้าคุณได้ดีในชีวิต รักษาให้ดี แต่ไม่ใช่หวงกั้น" ได้ดีแล้วอย่าประมาท เพราะถ้ามีสิ่งดี ๆ เข้ามาในชีวิตแล้วคุณเพลินไป มันจะกลายเป็นอกุศลทันที มีอุปาทานเกิดขึ้น ทำให้มีเรื่องราวจากตัณหา เกิดการแสวงหาการตระหนี่ และความหวงกั้นเกิดขึ้นได้ นี้คือความประมาทจากเหตุแห่งความดีที่เรามี ทำไปเรื่อย ๆ จนคิดว่าอกุศลธรรมจะไม่ให้ผล ให้ผลแน่นอน แต่ขึ้นอยู่กับบุญรักษาเดิมที่มี ถ้าประมาททำไปเรื่อย ๆ จะกลับตัวยาก ถึงจุดที่เรียกว่า point of no return เช่นท่านพระเทวฑัต และเวลาที่ผลกรรมย้อนกลับมานั้นยิ่งแรงกว่าเดิม เหมือนการกลับมาของบูมเมอแรงค์ อย่าไปเล่นกับมาร คนเรามีทางเลือกว่าจะตกอยู่ในปัญหาตัณหานั้น หรือแสวงหาผู้ที่หาทางออก เหมือนท่านยสกุลบุตรที่ได้กัลยาณมิตร คือ พระพุทธเจ้าชี้ทางออกให้ เราจะดูได้อย่างไรว่าประมาทไปแล้วหรือยัง โดยดูที่เมื่อมีสุขแล้วเพลิดเพลิน นี้คือ ประมาท แต่ถ้าเห็นความสุขที่ได้มาโดยธรรมว่าเป็นของไม่เที่ยง นี้เป็นกุศลธรรม คือ ความไม่ประมาท คนเราเลือกได้ว่าจะเติมสิ่งที่ขาดด้วยตัณหา หรือด้วยมรรค การเดินมาตามมรรคจะทำให้เข้าใจในโลกธรรม 8 เราจะไม่ยินดียินร้าย เห็นเป็นธรรมดา มรรคทางที่เรียบง่าย แต่เมื่อทำได้ถึงที่สุด คือ ความยิ่งใหญ่ จะมีสุขเวทนาหรือทุกขเวทนา เราต้องมีสติอยู่ตลอดแล้วเราจะไปได้[...]
- 7 ตามใจท่าน (ธรรมะสากัจฉา)Q: ผลของบุญบาปมีจริงหรือไม่A: ยกกรณีของพระพุทธเจ้า ทำความดีมามากจนได้เป็นพระพุทธเจ้า ส่วนกรรมไม่ดีก็มี ซึ่งความไม่ดีทำให้รับผลไปนรก ส่วนเศษกรรมก็มาส่งผลในชาติสุดท้าย ให้เห็นว่าทุกข์ในนรกนั้นมากกว่าทุกข์ในโลกมนุษย์ ให้ยอมรับมันแล้วรีบทำกรรมดี ดีกว่าจะคุ้มกว่ากันมาก บุญหรือบาปสามารถทำได้โดยไม่เกี่ยวกับสุขหรือทุกข์ กรรมเป็นเรื่องที่ควรพิจารณาอยู่เนือง ๆ Q: ธรรมทั้งหลายไม่ควรยึดมั่นถือมั่นเป็นอย่างไรA: ถ้ามีความเข้าใจที่ถูกต้องแล้ว จะไม่มีความยึดมั่นถือมั่นจะปล่อยวางได้ ความยึดมั่นถือมั่นมีตั้งแต่เป็นตัวเราของเรา ยังมีความเข้าใจไม่ถูกว่าสิ่งต่าง ๆ ไม่ควรยึดมั่นถือมั่น ความที่เราเข้าใจไม่ถูกว่าสิ่งต่าง ๆ ไม่ควรยึดมั่นถือมั่น นั่นแหละจึงเป็นความยึดมั่นถือมั่นในความเป็นตัวตนเป็นอัตตาขึ้นมา เพราะฉะนั้นความไม่ยึดมั่นถือมั่น คือ ความเข้าใจที่ถูกว่าสิ่งต่าง ๆ เป็นอนัตตา นี้เป็นปัญญาจะตัดความยึดมั่นถือมั่นได้ อยู่แบบไม่ทุกข์ Q: ถ้าศึกษาจากพระไตรปิฏกเองจะก่อเกิดความยึดมั่นถือมั่นหรือไม่Q: เป็นไปได้ เหมือนการจับงูที่ไม่ถูกจะแว้งกัดได้ การศึกษาจะเป็นงูพิษถ้ามีความยึดถือในธรรมนั้น เพราะความเมาในความเป็นพหูสูตร ต้องระวัง Q: ความประมาทเป็นชื่อของอะไรA: ความประมาทเป็นชื่อของความตาย ดั่งการตายที่มีที่ไปแตกต่างกันระหว่างนางมาคัณฑิยา และนางสามาวดี คนทึ่ไม่ประมาทต่อให้ตายไป ก็ชื่อว่าไม่ตาย แต่คนที่ประมาทต่อให้มีชีวิตอยู่ ก็ชื่อว่าตายแล้ว Q: รับประทานอาหารก่อนใส่บาตรได้หรือไม่A: ได้ จัดเป็นสัดส่วนแยกออกมาให้ชัดเจน Q: เปรตเป็นอย่างไรA: เปรตเป็นลักษณะของความตระหนี่[...]
- 7 ตามใจท่าน (ธรรมะสากัจฉา)Q: รู้สึกว่ามีตัวเราแล้วจะทุกข์ ควรทำอย่างไรA: เป็นสิ่งที่ดี เพราะแสดงว่ามีสติ ดีกว่าคนที่เห็นทุกข์เป็นสุข ขณะนี้ คือ เห็นแล้วแต่ยังละไม่ได้ จะละได้มีขั้นตอนต่อไปนี้ เข้าใจให้ถูก มีสัมมาทิฏฐิ มีสติระลึกได้อยู่เรื่อย ๆ ว่านี้คือ อนัตตา แยกแยะลงไป แล้วให้มีปัญญาชำแรกลงไป ทำเหมือนเดิมตามทางเดิม คือ เริ่มจากตรงใจ เพราะใจมีสติเป็นที่แล่นไปสู่ สติมีวิมุตติเป็นที่แล่นไปสู่ วิมุตติมีนิพพานเป็นที่แล่นไปสู่ พิจารณาบ่อย ๆ ทำให้ละเอียด เข้าถึงวิมุตติให้ได้อยู่เรื่อย ๆ นิพพานจะปรากฏ Q: พลังจิตเกิดได้อย่างไร และมีประโยชน์อย่างไรA: พลังจิตมีกำลังมากกว่าทางกาย ในวิชชา 8 อาสวักขยญาณมีประโยชน์สูงสุด เพราะทำให้สิ้นกรรมไปนิพพาน Q: สร้างกำลังจิตยามชีวิตเจอวิกฤติได้อย่างไรA: พระพุทธเจ้าเปรียบการฝึกจิตเหมือนการฝึกช้าง ฝึกม้า ผูกจิตไว้ที่สติ พลังจิตอยู่ในส่วนของสติ และปัญญา แต่ก็ต้องเริ่มด้วยสติมาตลอดกระบวนการ ฝึกสติทั้งใน และนอกรูปแบบ เมื่อมีศรัทธาจะทำจริงแน่วแน่จริง อย่ามีข้ออ้างในการเลิกทำความเพียร ให้นำมาปลุกเร้าในการทำความเพียรแทน พละ 5 เป็นเรื่องสำคัญที่จะทำให้อยู่ในมรรคได้ ทำให้ตลอดไม่ขาดสาย[...]
- อวิชชา คือ ความไม่รู้ในอริยสัจ 4 คนเรามีระดับความไม่รู้ที่แตกต่างกัน การไม่รู้ว่าตัวเองไม่รู้อะไรนั้น แย่กว่าการที่รู้ว่าตัวเองไม่รู้ ความรู้ตรงนี้ คือ เริ่มมีวิชชา เมื่อเริ่มรู้แล้วว่าไม่รู้อะไร และต้องรู้อะไร ต่อไปควรรู้ว่าควรทำอะไรต่อความรู้นั้น และรู้ว่าได้ทำแล้ว นั่นก็คือ กิจที่ควรทำในอริยสัจ 4 ที่ประกอบด้วยรอบ 3 อาการ 12 นั่นเอง เมื่อวิชชามี 8 อวิชชาก็มี 8 เช่นกัน โดยเพิ่มจากอริยสัจ 4 ดังนี้ ความไม่รู้ในอดีต ในอนาคต ทั้งในอดีต อนาคต และในปฏิจจสมุปบาท พระพุทธเจ้าเป็นผู้ที่ตั้งคำถามที่ฉลาด จึงสามารถใคร่ครวญจนได้คำตอบโดยไล่มาตามสายเกิด และสายดับแห่งปฏิจจสมุปบาท "เพราะอวิชชานั่นแหละมีอยู่ อวิชชาจึงมี" และ "เพราะอวิชชาดับไปนั่นแหละ อวิชชาจึงดับไป" การจะทำอวิชชาให้ดับได้ก็ต้องมีมรรค 8 ที่สมบรูณ์จนก่อให้เกิดสัมมาญาณะ และสัมมาวิมุต แล้ววิมุตจะเกิดขึ้น อวิชชาดับไป เหนือกันได้ สิ่งที่จะทำให้วิชชาเกิดอวิชชาดับไปไม่มีทางอื่นนอกจากมรรคแปด ความรู้ที่ควรรู้นี้ควรเป็นไปเพื่อนิพพาน ไม่เช่นนั้นแม้แสวงหาความรู้ที่ไม่เป็นสัมโพธิมากเท่าไหร่ ก็จะทำให้มีภาวะยิ่งเรียนยิ่งไม่รู้ จะมีความรู้เพื่อสัมโพธิได้ก็ต้องสร้างปัญญา[...]
- Q: ค้นหาสวดมนต์แปลเพื่อความเข้าใจได้ที่ไหนA: หาได้ง่าย ๆ ค้นจากอินเทอร์เน็ต เป็นข้อดีที่จะทราบความหมาย จะทำให้ซาบซึ้งยิ่งขึ้น Q: สมาทานศีลก่อนนอนได้หรือไม่A: ทำเวลาไหนก็ดีทั้งนั้น ดียิ่งขึ้นเมื่อสมาทานแล้วทำได้จริง ทำให้เจริญเป็นอริยศีล อริยสมาธิ อริยปัญญา Q: น้อมจิตไปเพื่อการนอนเพื่อว่าจะไปดี ดีหรือไม่A: พระพุทธเจ้าทรงสอนว่า ก่อนนอนให้ตั้งจิตว่า บาปอกุศลธรรมอย่าตามเราผู้ซึ่งนอนอยู่ไป และให้แผ่เมตตาเพื่อหลับเป็นสุข การนอนด้วยสติสัมปชัญญะ จะได้ชื่อว่าเป็นผู้ที่ตื่นอยู่ด้วยพุทธะ Q: กาลที่เหมาะสมต่อการทำวัตรA: เวลาไหนก็ได้ที่สะดวก ที่สำคัญ คือ ทำเป็นวัตร ทำเป็นประจำ Q: สั่งให้เขากำจัดปลวกโดยไม่ตั้งใจศีลจะขาดหรือไม่ แก้ไขอย่างไรA: ดูที่เจตนา มี 3 ระดับ แก้ไขไปตามสถานการณ์ โดยการแผ่เมตตาทำบุญให้จิตจะสบายขึ้นแล้วจะเข้าสมาธิได้ Q: ทำสมาธิมาหลายวิธี สงสัยว่าควรวางจิตไว้ที่ไหนกันแน่A: ใช้เครื่องมือวิธีไหนก็ได้ที่ทำให้เกิดสมาธิ สมาธิเป็นสิ่งที่เกิดที่จิต จิตควรอยู่กับสติ ถ้าสติเกิดจะรู้ความเป็นไปไปในทางกาย ให้ทำการปรุงแต่งทางกายทางจิตให้ระงับ แต่ไม่ใช่ด้วยการบังคับ แต่ด้วยความสงบระงับ สมาธิจะดีขึ้น ๆ แล้วให้มีปัญญาเห็นความไม่เที่ยงตลอดกระบวนการนี้ แม้สติสมาธิก็ไม่เที่ยง แต่ยังคงสติและสมาธิไว้ แล้วจะเหลือจิตล้วน[...]
- 7 ตามใจท่าน (ธรรมะสากัจฉา)"วิบากไม่เหมือนกับการกระทำ สามารถเปลี่ยนแปลงได้จากการกระทำนั้น เป็นอจินไตย" Q: กรรมดำกรรมขาวกับชีวิตประจำวันA: กรรม และผลของกรรม มี 4 ประเภท คือ กรรมดำให้วิบากดำ กรรมขาวให้วิบากขาว กรรมทั้งดำทั้งขาวให้วิบากทั้งดำและขาว กรรมไม่ดำไม่ขาวให้วิบากไม่ดำไม่ขาวเป็นไปเพื่อความสิ้นกรรม สีขาวหรือสีดำในชีวิตประจำวัน ก็คือ เราทำความดีหรือความชั่ว ทำผิดหรือทำถูกตามหลักธรรมหรือไม่ ทำแล้วกิเลสลดหรือเพิ่ม เป็นไปตามมรรค 8 หรือไม่ หลักการ คือ พูดดีคิดดีทำดี ประเด็น คือ ควรทำความเข้าใจให้ถูกต้องว่า ทำกรรมย่อมได้รับผลของกรรม ไม่ใช่ทำกรรมอะไรไว้ จะได้รับอย่างนั้น วิบากไม่เหมือนการกระทำ เปลี่ยนแปลงได้ตามการกระทำนั้น เหมือนความสัมพันธ์ของเกลือกับความเค็ม ที่ขึ้นกับปริมาณของน้ำที่มี วิบากมากน้อยก็ขึ้นกับปริมาณบุญที่มีดุจเดียวกัน วิบากเป็นอจินไตยยากจะพยากรณ์ แต่ให้มั่นใจได้ว่า กรรมให้ผลแน่นอน ที่น่าสนใจอีกประการ ก็คือ ทำไมทำแต่กรรมขาวจึงไม่สิ้นกรรม เพราะทำความดีก็ยังวนเวียนในกรรมดีนั้น มีสัมมาทิฏฐิ มีปัญญาเห็นความดีความชั่ว แต่ยังขาดสัมมาทิฏฐิในขั้นโลกุตระ คือ ปัญญาเห็นการเกิดการดับ เห็นความไม่เที่ยง จึงจะสิ้นกรรมเหนือโลกได้ ซึ่งกรรมไม่ดำไม่ขาวจะให้วิบากนี้ได้ เหนือโลกได้ Q: พระพุทธเจ้าทั้งหลายตรัสรู้ธรรมเดียวกันหรือไม่A:[...]
- 7 ตามใจท่าน (ธรรมะสากัจฉา)"ตัวเลขอาจจะมีผลหรือไม่มีผล ขึ้นกับว่าศรัทธาของคุณอยู่ที่ตรงไหน" Q: ปฏิบัติธรรมที่บ้านสมควรหรือไม่ A: อยู่ที่ไหนสงบให้เอาที่นั้น ไม่จำเป็นต้องเป็นวัด ปฏิบัติมาให้อยู่ในกายนี้ให้อยู่ในใจนี้ ให้กายใจเป็นสัปปายะสถานต่อการภาวนาเป็นการฝึกที่ดี ไม่ต้องง้อสถานที่ เป็นดังนี้แล้วเมื่อสถานการณ์ใดผ่านมาใจเราจะยังผาสุกอยู่ได้ Q: ฟังธรรมแล้วอยากจะขอบคุณทีมงาน A: เป็นเพราะธรรมะเก็บไว้ไม่ได้ ต้องเปิดออก ต้องเผยพลังออกมา ดั่งเช่นการแสดงธรรมของพระพุทธเจ้าที่ปรารภคนที่ต่อเมื่อได้ยินจึงจะเดินมาตามทางนี้ได้ Q: ทำบุญพันนึงได้บุญมากกว่าทำร้อย? A: การทำบุญที่ให้อานิสงส์มากขึ้นอยู่กับ 3 ผู้ให้ และ 3 ผู้รับ ผู้ให้ให้ด้วยศรัทธา ก่อนให้จิตน้อมไป ระหว่างให้จิตเลื่อมใส หลังให้จิตปลื้มใจ ผู้รับไม่มีราคะ โทสะ โมหะ หรือมีแต่เบาบาง หรือกำลังปฏิบัติเพื่อลดราคะ โทสะ โมหะ ตัวเลขอาจมีหรือไม่มีผล ขึ้นกับว่าศรัทธาของคุณอยู่ที่ตรงไหน ใช้ตัวเลขเป็นตัวกำหนดศรัทธาหรือเปล่า Q: "อตฺตานํ อุปมํ กเร" หมายความว่าอย่างไร A: เป็นพุทธพจน์ที่ปรารภเด็กที่กำลังตีงู พระพุทธเจ้าทรงสอนว่า เรารักสุขเกลียดทุกข์ฉันใด ผู้อื่นก็รักสุขเกลียดทุกข์ฉันนั้น โดยยกอุปมา ถ้าเราไม่ชอบที่คนอื่นทำกับเรา ก็อย่าทำกับบุคคลอื่น หรือเราชอบที่เขาทำแบบนี้กับเรา[...]
- 7 ตามใจท่าน (ธรรมะสากัจฉา)"ปัจจัยที่สำคัญที่สุดแห่งการบรรลุธรรม ก็ถ้าตัวฉันทำ แล้วทำไมฉันจะทำไม่ได้" Q: ปัจจัยที่สำคัญที่สุดในการบรรลุธรรม A: ตัวเราสำคัญที่สุด เพราะการบรรลุอยู่ที่จิต องค์ประกอบอื่นเป็นตัวช่วยทั้งกัลยาณมิตร และสถานที่ที่มีผลทำให้กิเลสเพิ่มขึ้นหรือลดลง ควรมีศรัทธาตั้งมั่นในธรรมะ ในพุทธะ และในสังฆะ มั่นในสังฆะ คือ เชื่อว่าแม้ตัวเราเองก็สามารถทำได้ ศรัทธาจะทำให้เกิดการทำจริงแน่วแน่จริง สติ ศีล อินทรีย์ เกิดสมาธิ ก่อปัญญา Q: มีความคิดปรุงแต่งมาก จะเรียกว่าฟุ้งซ่านไม่มีสมาธิ? A: อยู่ที่ว่าคิดปรุงแต่งแล้วกิเลสเพิ่มหรือลด ทั้งมิจฉามรรคหรือสัมมามรรคล้วนเป็นสังขตธรรม แต่ที่ไปคนละทาง สมาธิไม่ใช่ไม่คิดอะไรเลย มีลำดับขั้นของมัน Q: ศีลไม่ครบ ศรัทธาไม่มั่นคง จะเริ่มปฏิบัติได้อย่างไร A: ศรัทธาจะเกิดเมื่อเห็นทุกข์ เห็นทุกข์ที่ควบคู่กับปัญญาจึงจะเห็นธรรม ควรมีกัลยาณมิตรแนะทางให้ Q: ใครเป็นอรหันต์ A: เป็นเรื่องยากที่ฆราวาสผู้ชุ่มอยู่ด้วยกามจะพึงรู้ ส่วนผู้มีปัญญาย่อมรู้ได้ว่า ปลานั้นใหญ่หรือเล็กเพียงแค่ดูคลื่น ต้องใช้ระยะเวลานานควบกับปัญญาในการดู จะดูแต่เพียงภายนอกไม่ได้ ศีลพึงรู้ได้ด้วยการอยู่ร่วมกัน ความสะอาดพึงรู้ได้ด้วยวาจา กำลังจิตพึงรู้ได้เมื่อมีภัย ปัญญาพึงรู้ได้ด้วยการตอบ ประเด็นที่น่าสนใจกว่า คือ ตอบตัวเองได้หรือไม่ว่าเป็นอรหันต์หรือยัง Q:[...]
- 7 ตามใจท่าน (ธรรมะสากัจฉา)"ให้ดีกว่าไม่ให้ แต่ดูที่การกระทำทางกายอย่างเดียวไม่ได้ ต้องดูที่ใจด้วย ดูที่ธรรมะด้วย" เราอาจจะเคยพบเห็นการทำบุญแบบนี้ มีแต่ไม่อยากทำ จนแต่ทำตลอด พระอาจารย์ให้แง่คิดว่า ควรคิดแยกเป็น 3 ระดับ ระดับการแบ่งจ่ายทรัพย์ ระดับจิตใจ และระดับทางกาย ให้ดีกว่าไม่ให้ แต่ดูที่การกระทำทางกายอย่างเดียวไม่ได้ ต้องดูใจด้วย ดูธรรมะด้วย ให้จากข้อ 4 ในหลักการแบ่งจ่ายทรัพย์ จะเป็นการดีทั้งไม่เป็นการเบียดเบียนตนเอง ดูความพร้อม 3 ประการทั้งผู้รับ และผู้ให้ ควรตั้งจิตไว้ในสิ่งดี ๆ ที่เขามีอยู่ คำถามว่า ทำงานที่ชอบอย่างไรจึงจะไม่มีอคติ 4 และไม่เบียดเบียนตน ควรพิจารณาจากอิทธิบาท 4 แล้วจะไม่หนีออกจากมรรค 8 บุคคลที่ยังไม่ถึงที่สุดแห่งทุกข์ ย่อมมีอคติ 4 บ้างเป็นธรรมดา ก็ให้ปรับมาตามมรรค การเบียดเบียนก็จะน้อยลง ทำบุญด้วยอะไรแล้วต้องได้รับผลอย่างนั้นหรือไม่ ท่านตอบว่า กรรมกับวิบากไม่ใช่สิ่งเดียวกัน เป็นอจินไตย ควรคิดว่าทำดีได้ดีทำชั่วได้ชั่ว ตั้งจิตให้เป็นกุศล แง่คิดในบทสวดธัมมจักกัปปวัตตนสูตรกับจิตที่ตั้งมั่นของพระผู้มีพระภาคเจ้า แม่พระธรณีเป็นใคร และสำนวนที่ว่ามือชุ่มด้วยเหงื่อเป็นมาอย่างไร
- 7 ตามใจท่าน (ธรรมะสากัจฉา)"ลูกบอล ถ้าปาเข้าผนังก็เด้งกลับอยู่ดี ให้ทำตัวเป็นผนัง" พบกับคำถามที่น่าสนใจ คำถามที่ว่าอนิจจังทุกขังอนัตตาต้องเรียงอย่างไร เรียงอย่างไรไม่สำคัญเท่ากับเห็นถึงการเกิดขึ้นหรือการดับไป เป็นไปตามเงื่อนไขการปรุงแต่ง คำถามถัดมาเมื่อมีอาฆาตกระทบกระทั่งกันในหมู่พี่น้องควรวางจิตอย่างไร ควรจะให้มรดกหรือไม่ การให้หรือไม่ให้กลับไม่ได้บอกถึงความอาฆาตที่มีในใจ เจตนาควรละอาฆาตไม่ผูกเวรจะให้มากน้อยไม่สำคัญ จะเอาชนะจิตที่มีอาฆาตได้ต้องเมตตา วาจาทิ่มแทงมาไม่ทิ่มแทงตอบ ให้เมตตาต่อกันตั้งแต่ยังมีชีวิตอยู่ ต่อมาทำความเข้าใจความเหมือนหรือต่างของคำว่า จิต มโน วิญญาณ และธรรมารมณ์ ธรรมารมณ์เป็นความคิดเกิดขึ้นที่ใจที่เป็นช่องทางแล้วรับรู้ได้ด้วยวิญญาณ ส่วนความรักอมตะในทางธรรมนั้นก็คือ มาตามมรรค 8 จะไม่วนเหมือนทางโลก และนานาคำถามเรื่องมโหสถ ความสงัด และเวทนา
- 7 ตามใจท่าน (ธรรมะสากัจฉา)"สติไม่ใช่สมาธิ” Q: นั่งสมาธิแล้วยังคิดเรื่องกามบ้างไม่กามบ้าง อย่างนี้คือหลุดจากสมาธิ? A: สมาธิยังไม่เกิด ในขั้นที่ 1 นั้นยังมีความคิดอยู่แต่ไม่ใช่เรื่องกาม ขั้นที่ 2 จิตจึงจะรวมเป็นเอก มีปิติ สุขจากความสงบระงับ ถ้ายังแยกแยะไม่ออกว่าความคิดไหนดีหรือไม่ดี แสดงว่าสติยังมีกำลังไม่พอ สมาธิจึงมีเพียงเล็กน้อย ให้ฝึกทำไปเรื่อย ๆ ไม่บังคับ แต่ต้องควบคุม ฝืนฝึกจิต ในขั้นต้นเป็นเพียงผู้สังเกตุการณ์เฉย ๆ รับรู้แต่ไม่ตามไป และไม่ลืมลม สติจะมีกำลังขึ้นมา พอถึงจุดนึงสมาธิจะเกิดขึ้น Q: ความสุขในสมาธิเป็นอย่างไร A: เป็นสิ่งที่อธิบายได้ยาก ต้องรู้ได้ด้วยตนเอง สติจะเป็นตัวแยกแยะ รักษาระเบียบได้สมาธิจะก็ได้มาเป็นขั้นเป็นตอนก้าวหน้าตามลำดับ แต่สุขเวทนาเป็นแค่ทางผ่าน สิ่งที่ต้องการนั้นคือปัญญา Q: การเพลินในภายในกับภวังค์ต่างกันอย่างไร A: เพลินในภายใน คือ การสยบอยู่ในภายใน เป็นความเพลินในปิติสุขจากสมาธิ ภวังค์ คือ การที่สมาธิมีกำลังมากคล้ายหลับแต่ไม่หลับ เหมือนกันตรงที่ไม่มีสติไม่ก่อปัญญา แก้ไขโดยมีสติระลึกรู้ เห็นนิมิต ปรับเพิ่มความเพียรเพื่อละอกุศลเพิ่มกุศล เห็นความไม่เที่ยง Q: ไม่สามารถแยกแยะการพิจารณากับความฟุ้งซ่าน A:[...]
- 7 ตามใจท่าน (ธรรมะสากัจฉา)"ความอิจฉาริษยาจะลดลงได้ ถ้ามีกรุณา" Q: อยู่ในสมาธิจะไม่หิวใช่? ถ้าไม่สำรวมในการกินจะทำให้สมาธิเสื่อม? A: มีสมาธิก็หิวได้ ยกเว้นในกรณีที่เข้าสมาธิในขั้นสูงได้จะไม่หิว แต่เมื่อออกจากสมาธิแล้วจะมีเวทนาได้ แต่เวทนานั้นจะไม่กลุ้มรุมจิต เป็นผลจากกำลังของสมาธิ เวลากินควรพิจารณาว่า เพื่อลดเวทนาเก่าไม่ก่อเวทนาใหม่ ไม่เช่นนั้นจะทำให้สมาธิเสื่อมได้ Q: คนที่ไม่ระเบียบวินัยทำให้มีปัญหาทางด้านการงานการเงินหรือไม่ A: ไม่แน่ ความเกี่ยวเนื่องมีอยู่ในบางข้อ พิจารณาเป็นด้าน ๆ ไป Q: เมื่อถูก unfriend ควรวางจิตอย่างไร A: ไม่ควรยินดีหรือยินร้ายในคำด่าหรือคำชมนั้น ๆ ให้มีจิตเมตตาแผ่ไปยังสรรพสัตว์ โดยมีบุคคลนั้นเป็นอารมณ์ เป็นมหัคคตะ เมตตาไม่ใช่ความพอใจ ในทุกความคิดจะมีอารมณ์ติดมาเสมอ เราจึงควรตั้งสติเอาไว้ Q: ตักเตือนเพื่อนแค่ไหนจึงเหมาะสม A: ให้เห็นความลำบากของเราและเขาเป็นเรื่องเล็กน้อย ถ้าจะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงได้ การตักเตือนกันเป็นเรื่องดี การอยู่ด้วยกันจึงจะเกิดประโยชน์ Q: การพูดอย่างไรจะไม่เป็นการยุแยง และผิดศีล A: ศีลข้อ 4 เป็นเรื่องการโกหก ถ้าจะให้ละเอียด คือ นำสัมมาวาจาข้ออื่นมาใส่ด้วย อย่านำข้ออ้างในการกล่าวจริงมาทำอกุศล การที่เราพูดเรื่องไม่ดีของคนอื่นให้อีกคนฟัง เราก็เป็นคนไม่ดีด้วย[...]
- 7 ตามใจท่าน (ธรรมะสากัจฉา)Q: คันถธุระ คืออะไร A: คันถธุระ คือ การศึกษาตำราคัมภีร์ วิปัสสนาธุระ คือ การฝึกการปฏิบัติ ควรทำควบคู่กันไป อย่าติดแค่รูปแบบ Q: เมื่อต้องอยู่ร่วมกับคนต่างศาสนาควรทำอย่างไร A: หาจุดที่เข้ากันได้ เอาความสามัคคีเป็นหลัก เพราะอย่างน้อยเขาก็มีหลักในการดำเนินชีวิตที่ดี อย่าเป็นทุกข์โดยไม่จำเป็น ความอึดอัดใจปลดได้ด้วยการเข้าใจที่ถูกต้อง ดูพระพุทธเจ้าเป็นตัวอย่าง ท่านไม่ได้พยายามเจาะจงเปลี่ยนใครให้มานับถือ แต่ดูที่คำสอนนั้นว่าสามารถดับทุกข์ได้หรือไม่ ตรงไหนมีทุกข์ ดับที่ตรงนั้น ถ้าเขายึดตรงนั้นแล้วเราคลายความยึดถือตรงจุดที่ยึดนั้น เขาจะประจักษ์เอง Q: เหตุอะไรที่ทำให้คนทั่วไปหันมาปฏิบัติตามทำนองคลองธรรรม A: คนที่จะพ้นทุกข์ได้ ต้องเห็นทุกข์ แล้วมีศรัทธา แล้วจึงจะแสวงหาบุคคลที่แก้ปัญหานี้ได้ Q: เมื่อเจอผัสสะแล้วหลุด จากสติที่มีกำลังไม่พอ ควรทำอย่างไร A: ทำความเพียรตามทางสายกลาง สม่ำเสมอตลอดเวลา ฝนหนึ่งเม็ดก็สนับสนุนท้องทะเลได้ Q: คนที่ปฏิบัติกับบุคคลแต่ละคนไม่เหมือนกันเป็นธัมมัญญูใช่หรือไม่ A: ธัมมัญญู คือ เป็นผู้รู้ธรรม รู้เหตุรู้ผล รู้กาล อาจจะใช่หรือไม่ก็ได้ คนดีหรือไม่ดีต้องใช้เวลาในการดู และจะรู้ได้ด้วยคนฉลาดเท่านั้น Q: คนไม่กตัญญูจะไม่ได้ดี[...]
- 7 ตามใจท่าน (ธรรมะสากัจฉา)“ความผาสุกหรือไม่ผาสุกของเรา ไม่ควรจะอยู่ในกำมือของผู้อื่น” Q: คุณของมารดาบิดาจัดอยู่ในอนุสติ 10 หรือไม่ A: จัดอยู่ในเทวตานุสติ และพรหมวิหาร 4 อนุสติเป็นเครื่องมือที่เมื่อระลึกแล้วจะมีสติตามมา Q: สถานปฏิบัติธรรมรบกวนชีวิต ควรทำอย่างไร A: เมื่อมีผัสสะมากระทบให้เห็นว่า นั่นคือ แบบทดสอบ ให้ใช้กายใจของเราเป็นสถานปฏิบัติธรรม นี่คือ ของจริง ความผาสุกที่แท้จริงจะเกิดขึ้น เมื่อละความยึดถือในสิ่งที่ชอบหรือไม่ขอบนั้นได้ ตั้งสติ มีเมตตา ไม่ให้จิตมีอกุศล เพ่งในจุดดีของเขา แล้วรอเวลาค่อยคุยกัน อย่าเป็นเช่น แม่เจ้าเรือนชื่อเวเทหิกา Q: ขันธ์ 5 ก่อให้เกิดทุกข์ และธรรมะได้อย่างไร A: ความยึดถือในขันธ์ทั้ง 5 เป็นความทุกข์ การละความยึดถือได้ คือ การเห็นธรรม ไล่มาตามศีล สมาธิ ปัญญา
- 7 ตามใจท่าน (ธรรมะสากัจฉา)“ทุกข์อยู่ตรงไหน ความดับทุกข์ต้องอยู่ตรงนั้น” Q: เวลาป่วยไข้มีทุกขเวทนาควรวางจิตอย่างไร A: ใช้ทุกขาปฏิปทาให้เป็นประโยชน์ ให้เห็นทุกข์ที่อยู่ตรงหน้า เริ่มจากมีศรัทธาความมั่นใจที่มาคู่กับปัญญา ศรัทธามีทุกข์เป็นที่ตั้งอาศัย ตั้งสติ มีความเข้าใจในทุกข์ว่าทุกข์ต้องยอมรับ ไม่ใช่ว่ากำจัดมัน สิ่งที่ต้องกำจัด คือ ตัณหา ตัณหา คือ อยากได้สุขไม่อยากได้ทุกข์ ไม่อยากเจ็บป่วยไข้ ควรเห็นว่าสุขทุกข์เป็นธรรมดา ยอมรับมันจะอยู่กับมันได้ นี้เป็นทางสายกลาง Q: บุญจากการบวชแก้บนเป็นการผูกมัดสิ่งศักดิ์สิทธิ์หรือไม่ A: วิบากแห่งกรรมเป็นอจินไตย บางทีก็ได้บางทีก็ไม่สมปรารถนา สิ่งที่ควรทำคือทำความดีตามมรรค 8 Q: ความแตกต่างระหว่าง บุญ กุศล บารมี A: คล้ายกัน บุญเป็นชื่อแห่งความสุข กุศลในกุศลธรรมบท 10 กายวาจาใจ บารมี คือ บุญที่สะสมไว้มาก ๆ จนเป็นปกติ เป็นอาสวะในทางดี Q: ทำไมจึงกล่าว่าวิญญาณเป็นอาหารของนามรูป เมื่อกายดับแปรเป็นธาตุดินวิญญาณนี้เกี่ยวอย่างไร A: อาหาร คือ การหล่อเลี้ยงให้เกิดขึ้นมา อาหารของวิญญาณ คือ[...]
- 7 ตามใจท่าน (ธรรมะสากัจฉา)“เราต้องเห็นอาพาธในขั้นนั้น ๆ เห็นคุณในขั้นต่อไปที่ยังไม่ได้ จึงจะไปได้” Q: ทำไมจึงกล่าวว่าเกิดเป็นมนุษย์แสนยาก ทั้งที่เกิดกันเยอะ A: ตามพุทธพจน์เป็นเช่นนั้น ที่เรายังไม่เห็นมีมากกว่าที่เราเห็นดั่งขนโค และเขาโค Q: ทำไมกำลังของฌานจึงเสื่อมได้ A: กำลังของฌานที่มีอาจมีน้อย เสื่อมได้ เพราะไม่สำรวมอินทรีย์ Q: สึกมาอยู่กับสีกาบาปหรือไม่ A: ถูกศีลอยู่แต่ไม่ถูกใจ บาปตรงที่มีราคะโทสะโมหะ ถ้าเชื่อในวิชชา 3 ที่มี ควรนำมาใช้กำจัดกิเลสไม่ใช่ใช้เป็นข้ออ้างของกิเลส Q: น้ำผึ้งมะนาวเป็นปานะหรือไม่ A: มีส่วนผสมของเภสัช ขึ้นอยู่กับการพิจารณาของผู้รับ Q: วิตก วิจารณ์ ความคิดในฌาน 1 คืออะไร A: วิตก คือ ความคิดเรื่องใดเรื่องหนึ่ง วิจารณ์ คือ ความคิดที่ลึกลงไปในเรื่องนั้น เป็นความคิดที่ไม่มีกามพยาบาทเบียดเบียน ต้องเห็นอาพาธในแต่ละขั้นของสมาธิที่ได้ และเห็นคุณของสมาธิที่อยู่เหนือขึ้นไป จึงจะพัฒนาไปได้ ทำให้ชำนาญดุจโคขึ้นภูเขา เหมือนเป็นเครื่องเล่นกีฬาในฌาน Q: สิ่งที่ทำให้ดำรงอยู่ในสมณเพศได้ A: หิริ โอตัปปะ และความสุขในฌาน[...]
- 7 ตามใจท่าน (ธรรมะสากัจฉา)“ทำความดี ความดีนั้นจะเป็นที่พึ่งของเรา” Q: ทำไมชีวิตจึงมีความทุกข์มากมายเช่นนี้ A: สุขทุกข์มีเป็นธรรมดา มีแล้วให้เราไม่ประมาทในการทำความดี ตั้งอยู่ในมรรค 8 ศีล สมาธิ ปัญญา ความดีที่มีจะเป็นที่พึ่งได้ Q: ฆ่าสัตว์แล้วจะมีอายุสั้นจริงหรือ และควรแก้อย่างไร A: ไม่แน่ วิบากแปรไปตามกรรมดีกรรมชั่วที่กระทำ อะไรที่ไม่ดีก็เลิก อย่ากินแต่ของเก่า ควรสร้างบุญใหม่ด้วยศีลสมาธิปัญญา Q: การสร้างเจดีย์ของก่องข้าวน้อยฆ่าแม่จะล้างบาปได้หรือไม่ A: ทำกรรมอะไรไว้ก็จะได้รับผลของกรรมนั้น การล้างบาปในคำสอนนี้ไม่มี แต่การทำความดีย่อมมีวิบากดี จะใหผลมากหรือน้อยเป็นสิ่งที่บอกได้ยาก Q: พ่อ/แม่เลี้ยงดูแลบุตรอย่างดีจะได้บุญเท่าพ่อแม่จริงหรือไม่ A: เปรียบเทียบได้แต่ไม่เท่ากัน ให้ตั้งจิตแบบพรหม ทำดีแบบไม่หวังผลในความดี ยิ่งดี Q: กินข้าวก้นบาตรพร้อมทำงานวัดจะบาปหรือไม่ A: บุญบาปอยู่ที่การกระทำ ไม่ใช่อยู่ที่สถานที่ ไม่ใช่จากสุขหรือทุกขเวทนาที่ปรากฏ Q: ติดคุกแม้บริสุทธิ์หรือติดโควิดแม้ระวังอย่างดี เป็นกรรมเก่าหรือไม่ A: อาจจะเป็นหรือไม่ก็ได้ อยู่ที่ 6 เหตุปัจจัย Q: UFO เมื่อไหร่จะปรากฏ A: เป็นเรื่องโลกอื่น[...]
- 7 ตามใจท่าน (ธรรมะสากัจฉา)Q: คนพาลไปสี่สังเวชนียสถานด้วยศรัทธาจะไปสวรรค์ได้? A: ด้วยศรัทธาจะทำให้เกิดสลดสังเวช เกิดการเปลี่ยนแปลงรักษาศีลปิดทางแห่งบาปทั้ง 5 จิตได้รับการรักษาเมื่อตายก็ไปสวรรค์ คนเราเปลี่ยนแปลงได้แต่จะมี sense of urgency ในจุดที่แตกต่างกัน Q: ศีลข้อ 4 รวมสัมมาวาจา 3 ด้วยหรือไม่ A: ศีลข้อ 4 คือ การไม่การโกหก สัมมาวาจา 3 ข้อจะมาในศีลข้อ 5 ที่ว่าด้วยความประมาทจากสุรา เป็นปากทางแห่งความเสื่อม Q: สรุป 55 ข้อจากธรรมที่มีอุปการะมากคืออะไร และการฟังแต่คนอื่นถามได้หรือไม่ A: ทสุตตรสูตรท่านพระสารีบุตรแบ่งเป็น 10 หมวด แต่ละข้อจะสรุปจบในตัว ทำข้อใดข้อหนึ่งข้ออื่นก็จะตามมา สามารถสรุปลงเหลือที่สติและสัมปชัญญะ การฟังคนอื่นถามก็เหมือนกับถามเองให้ประโยชน์เหมือนกัน Q: ความสับสนในข่าวจะนำธรรมข้อใดมานำชีวิต A: ต้องแยกข้อเท็จจริง fact, สัจจะความจริง truth และความเห็น opinion ออกจากกัน สัจจะความจริง คือ เห็นความไม่เที่ยง[...]
- 7 ตามใจท่าน (ธรรมะสากัจฉา)“บุญเป็นชื่อของความสุข ความสุขมีตั้ง 9 ระดับ” Q: เมื่อทำบุญแล้วรู้สึกเฉย ๆ A: บุญเป็นชื่อของความสุข มีทั้งทาน ศีล ภาวนา ไต่ระดับความละเอียดขึ้นไปเหมือนในฌานสมาธิ บุญทำเพื่อปล่อยวางความยึดถือ ความรู้สึกเฉย ๆ นั่นคือ อุเบกขาเป็นจิตใจที่ปล่อยวางความสุขได้ เป็นภาวะเหนือบุญเหนือบาป ต้องแยกให้ออกจากการมีโมหะที่เกิดจากความตระหนี่ Q: ข้อคิดจากเรื่องท่านพระราธะมีอะไรบ้าง A: มี 4 ข้อ คือ 1. ถูกทอดทิ้งจนมาอยู่วัด 2. ความกตัญญูของท่านพระสารีบุตร กตเวทีตอบแทนด้วยการบวชให้ 3. บวชแล้วเป็นผู้ว่าง่าย 4. มีปฏิภาน “บอกสอนง่าย คือ เอื้อเฟื้อในการรับคำตักเตือน” Q: พระพุทธเจ้ารักษาโรคระบาดอย่างไร ? A: ใช้ธรรมะรักษาให้ใจมีปิติสุขใจที่สบายย่อมมีผลต่อกาย จะหายได้หรือไม่ก็โดยควรแก่ฐานะ โรคทางใจแก้ได้ด้วยมรรค 8 Q: ศาสนาช่วยรักษาซึมเศร้าได้ไหม ? A: ถ้าเป็นมานานจนก่อเป็นอาสวะจะแก้ได้ยาก แต่ถ้าเริ่มเป็นการฝึกจิตช่วยได้ เพราะเป็นโรคที่เกิดจากกิเลส มรรค[...]
- 7 ตามใจท่าน (ธรรมะสากัจฉา)"เรากับเขาไม่ใช่คนเดียวกันแต่เนื่องกันด้วยความยึดถือ" Q: ไม่พอใจพ่อแม่ของว่าที่สะใภ้จนมีปัญหากับลูก ควรแก้ไขอย่างไร A: ทางออกที่เหนือมนุษย์ เหนือกว่าเรื่องของกาม คือ พรหมวิหาร 4 ในจิตใจต้องมีคุณสมบัติของความเป็นผู้ใหญ่ เมตตาให้ได้ไม่มีประมาณไม่ว่าคนนั้นจะเป็นใคร เหนือขึ้นมาอีก คือ อุเบกขา วิธีการมี 3 คือ เขาทำเราจริงแล้วเราคิดว่าเขาทำจะละผูกเวรไม่ได้ เขาทำแต่เราไม่คิดจะละได้ เขาดีกับคนที่เราไม่ชอบก็อย่าไปคิดจะละได้ ให้ดูทีฆาวุกุมารเป็นตัวอย่าง จะเตือนกันก็รอช่อง รอจังหวะที่เหมาะสม ส่วนคำพูดของลูกที่เหมือนหอกทิ่มใจ หรือการหวังให้เขาทำดีตามเรา นั่นเป็นเพราะความยึดถือ ยึดถือแม้ในความดีนั้นไม่ดีจะเป็นทุกข์ ให้ละความยึดถือเสีย โดยมองว่านั่นไม่ใช่เป็นเรา ไม่ใช่ของของเรา เรากับเขาไม่ใช่คนเดียวกัน แต่เนื่องกันอยู่ด้วยความยึดถือ อย่าให้ความไม่ดีของเขาต่อมาทางเรา แม่พ่อเมตตาลูกไม่มีประมาณตั้งแต่วันที่คลอดเขาออกมาแล้ว อาจเผลอสติไปทำให้ทุกข์โดยไม่จำเป็น ในธรรมวินัยนี้จะเจอแบบทดสอบ คนที่สอบเราได้ก็มีแต่คนที่เรารักหรือเกลียด ต้องมีกำลังใจสูง ผิดบ้างก็แก้ไข ให้มั่นใจในพุทธธัมสงฆ์ คนเราจะดีหรือไม่อยู่ที่การกระทำของเราไม่ได้อยู่ที่ปากเขา พรหมวิหารธรรมที่เหนือมนุษย์ช่วยได้ Q: อยู่ใกล้แม่แล้วอาจทำบาปง่าย ควรย้ายหรือไม่ A: ให้มองด้านดีที่เราจะได้ แก้ที่ตัวเราให้ระวังในข้อผิดพลาดแล้วทำในสิ่งที่ทำได้ดี ตั้งอยู่ในความไม่ประมาท ควบคุมเหตุปัจจัยที่จะให้ออกมาดี
- 7 ตามใจท่าน (ธรรมะสากัจฉา)"การให้ธัมมะอยู่ที่จิตใจไม่ได้อยู่ที่สิ่งของ" Q: การให้ธัมมทานคืออะไร A: "การให้ธัมมะชนะการให้ทั้งปวง" จากพุทธพจน์บทนี้ทำให้บางท่านเข้าใจคลาดเคลื่อนในลักษณะการให้ธัมมะ การให้ในทุกระดับล้วนเป็นธัมมะตั้งแต่สิ่งของต่าง ๆ จนถึงการกระทำในใจ แค่เรามีธัมมะในใจนั่นคือ การให้แล้ว การให้ธัมมะอยู่ที่จิตใจไม่ใช่ที่สิ่งของ Q: ให้ทานทีละน้อยแต่บ่อยครั้งกับนาน ๆ ให้ทีแต่มากอย่างไหนดีกว่ากัน A: ควรทำทั้งสองอย่าง การแบ่งจ่ายทรัพย์ใน 4 หน้าที่ให้ถูกต้องจะช่วยขจัดความตระหนี่ได้ Q: ควรเลือกให้ในศาสนา หรือในสาธารณกุศลมากกว่ากัน A: คนละจุดประสงค์ เพื่อเอาบุญกับการสงเคราะห์ ถ้าไม่มีโลกหรือเราก็ไปไม่ได้ แบ่งสัดส่วนตามสถานการณ์ Q: ผลความต่างของทานในหมู่มิจฉาทิฏฐิกับหมู่สัมมาทิฏฐิ A: ต้องเลือกให้ในหมู่ที่มีราคะโทสะโมหะน้อยจะได้บุญมาก และการให้ในหมู่ที่มีมิจฉาทิฏฐิเป็นการเพิ่มกำลังให้เขาทำให้ภิกษุที่มีศีลอันเป็นที่รักถูกเบียดเบียนได้ Q: ให้เฉพาะเจาะจงดีหรือให้ในหมู่ดีกว่ากัน A: การให้ที่ตั้งจิตถวายในหมู่ที่ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบมีอานิสงส์มากกว่า Q: บาปจากการโกงกินจะชดใช้กัมม์อย่างไร A: เป็นการผิดศีลข้อ 2 ซึ่งจะพาไปนรกเปรตวิสัยหรือเดรัจฉานได้ อย่ามองแค่สุขหรือทุกข์ในภพนี้ ให้มองถึงความคุ้มหรือไม่คุ้มถ้าต้องไปรับวิบากในภพต่อไป หรือมองในปัจจุบันนี้ถ้ากลัวต่อการตำหนิตนเองได้ หรือกลัวผู้อื่นตำหนิได้ หรือกลัวอาญาบ้านเมือง จะไม่กล้าทำเพราะหิริโอตัปปะในใจ
- 7 ตามใจท่าน (ธรรมะสากัจฉา)Q: ทำบุญตามกำลังปัจจัยดีหรือไม่ A: บุญควรทำ ไม่จำเป็นต้องมีเงินมากแล้วจึงจะให้ทานได้ มีเงินน้อยก็ให้ได้ ดูที่ 4 หน้าที่ในการใช้จ่ายทรัพย์เป็นหลัก ไม่ใช่ที่มูลค่า แล้วเราจะไม่ตกเป็นทาสของเงิน ระลึกถึงทานนั้นใจจะเป็นสุข Q: ทำไมหญิงจึงเข้าวัดมากกว่าชาย A: ความสนใจน่าจะเท่ากัน แต่การกระทำได้อาจจะไม่เท่ากัน ไม่ควรสนใจที่เพศ ให้สนใจในปฏิปทา Q: วิธีการใดที่ทำให้มีความเพียรในการทำสมาธิ A: ต้องมีกัลยาณมิตร และศรัทธา ทำสมาธิแล้วควรหวังผล 4 อย่าง เห็นว่าสมาธินี้มีประโยชน์มากกว่าความสุขทางโลก ศรัทธาความมั่นใจว่าทำแล้วได้ผล 4 อย่างแน่นอน จะเป็นกำลังให้ความเพียรให้เดินมารอย คือ มรรค 8 นี้ได้ Q: ความหมายของมาร และเจ้ากรรมนายเวร A: มาร หมายถึง ล้างผลาญความดี ความดีถูกทำให้สิ้นลง มีหลายประเภท ที่เน้น คือ กิเลสมารที่อยู่ในใจเรา เอาชนะได้ด้วยมรรค 8 เวร คือ การผูกเวร ผูกโกรธ ประทุษร้ายกัน[...]
- 7 ตามใจท่าน (ธรรมะสากัจฉา)Q: ขณะฟังธรรมควรวางจิตไว้ที่ไหน A: ไว้ที่โสตวิญญาณ สัญญาที่เกิดขึ้นจากผัสสะจะทำให้ฟังธรรมรู้เรื่อง เป็นการตั้งสติไว้คนละระดับ ไม่มีวิตกแต่มีวิจารณ์ เป็นความชำนาญในการเลือกใช้ Q: มีคำถาม กลัววัคซีนเป็นวิจิกิจฉา? A: คำถามทุกคำถามไม่ใช่นิวรณ์ คนที่ไม่ถามอาจจะมีวิจิกิจฉาก็ได้ วิจิกิจฉา คือ ความเคลือบแคลงเห็นแย้งไม่ลงใจ ในพุทธ ธรรม สงฆ์ ในมรรคในข้อปฏิบัติ คนที่เป็นโสดาบันจะไม่มีสิ่งเหล่านี้ แต่คำถามในชีวิตทั่วไปก็ยังมีได้ตลอด Q: อาหารฆราวาสที่ใกล้เคียงพระทำอย่างไร A: คนที่ครองเรือนการไม่ยินดีด้วยอาหารเป็นการยาก ปรับให้พอดีกับตน อยู่ง่ายกินง่าย กินมื้อเดียว ปริมาณพอดี เป็นเวลา ปรุงไม่ยุ่งยาก Q: clube house สามารถทำเป็นไฟล์เสียง? A: ขณะนี้เปลี่ยนเป็น Live strem ผ่านทาง Facebook ทุกวันศุกร์เวลา 20.00 น. และในยูทูปเวลาใกล้ ๆ กัน ชื่อรายการว่า "พุทธบริษัท" Q: ความคิดที่เกิดขึ้น คือ ปัญญาหรือการปรุงแต่ง[...]
- 7 ตามใจท่าน (ธรรมะสากัจฉา)Q: ทำไมคนเราเกิดมาแล้วแตกต่างกัน A: พระพุทธเจ้าบอกว่า "กรรมเป็นตัวจำแนกสัตว์ให้ทรามหรือปราณีต" ดังนั้นกรรมทำให้คนไม่เท่ากัน แม้ทำกรรมอย่างเดียวกันก็อาจได้รับผลไม่เท่ากัน ขึ้นกับบุญที่เคยทำไว้ แต่ที่ทำให้เท่ากันได้ คือ เปิดโอกาสให้เขาสร้างกุศลธรรม สร้างเหตุสะสมความดีเพื่อพัฒนาความดีให้ขึ้นไปได้ด้วยกุศลกรรมบท 10 Q: เพราะเหตุไรจึงกล่าวว่าการเกิดเป็นมนุษย์นั้นยาก A: การที่เต่าตาบอดร้อยปีจะขึ้นมาหายใจ แล้วเอาหัวซุกเข้ารูแพได้ ความยากนี้เหมือนคนที่ไปอบายทั้ง 4 แล้วจะกลับมาเป็นมนุษย์อีกนั้นยากมาก การกลับมาเกิดเป็นสัตว์หรือเป็นคน ก็เหมือนจำนวนของขนโคกับเขาโค Q: การฆ่าตัวตายเป็นบาปเท่านั้น? A: ไม่แน่ แต่โดยทั่วไปก็ถือว่าไม่ดี ในพุทธพจน์บางครั้ง การฆ่าตัวตายก็ได้รับการสรรเสริญ เพราะสามารถพ้นกิเลสได้ แต่บางกรณีก็ได้รับการติเตียน เพราะไม่แยบคายมีอวิชชา Q: ฉันทะกับตัณหาต่างกันอย่างไร และเหตุแห่งฉันทะคืออะไร A: ฉันทะ คือ ความพอใจ มีใช้ทั้งในส่วนที่เป็นกุศลและอกุศล ตัณหา คือ ความทะยานอยาก ใช้ในสิ่งที่เป็นอกุศลธรรมเท่านั้น ฉันทะสร้างใหม่ด้วยการมีศรัทธา และเปลี่ยนฉันทะเก่าที่ไม่ดีให้ดีขึ้นด้วยความเพียรด้วยปัญญา Q: วิธีขจัดความอิจฉาริษยา A: แก้โดยอย่าไปอยากอย่าไปมีตัณหา ด้วยการปฏิบัติตามมรรค 8 Q: ทำไมคนจึงคิดว่าตนถูกเสมอ[...]
- 7 ตามใจท่าน (ธรรมะสากัจฉา)Q: พระไม่แต่งงานไม่มีลูก แก่มาใครจะดูแล A: การแก้ปัญหาที่ยั่งยืนจากการเกิดแก่และตาย คือ การปฏิบัติตามมรรค 8 เพราะวัฏฏะจะถูกตัดให้สั้นลง การบวชจึงแก้ปัญหานี้ได้มากกว่า ส่วนความแก่ในชาตินี้ พระพุทธเจ้าบัญญัติให้พระช่วยดูแลกันเป็น 1 ในวัตร 14 ถึงแม้ไม่มีคนดูแลแล้วตายไป การตายนั้นก็คุ้มค่า ถ้าทำที่สุดแห่งทุกข์ได้ Q: นั่งสมาธิแล้วง่วงควรแก้อย่างไร A: พระพุทธเจ้าแนะเทคนิคไว้ 8 ข้อ ในที่นี้ให้ดูมาที่ ทำไมความง่วง หรือถีนมิทธะจึงวนกลับมาได้อยู่เรื่อย ๆ เป็นเพราะความง่วงนี้มีกำลังจากความยินดีในการเอนข้างหรือเคลิ้มหลับ วิธีแก้ คือ รู้สึกตัวเมื่อไหร่ให้ลุกขึ้นทันที ใช้สติเป็นตัวแก้ Q: ผู้ชนะการเกิด ภาษาบาลีว่าอย่างไร A: การเกิดเป็นส่วนของทุกข์ที่ต้องทำความเข้าใจ กิเลสเป็นส่วนที่ต้องละต้องชนะ ให้ทำความเข้าใจตามหลักอริยสัจ 4 ภาษาบาลี คือ ชิตังเมเราชนะแล้ว ปริญญายะเราเข้าใจแล้ว Q: ทางสายเอกในพุทธศาสนาคืออะไร A: พุทธพจน์ระบุไว้ คือ สติปัฏฐาน 4 และมรรค 8 แต่คำสอนทั้งหมดของพระพุทธเจ้าล้วนรวมลงในมรรค[...]
- 7 ตามใจท่าน (ธรรมะสากัจฉา)Q: ความต่างระหว่างขันติกับอุเบกขา A: เมื่อมีเรื่องมากระทบใจแล้ววางเฉยได้ นั่นคือ อุเบกขา ความที่ไม่ปะทุออกไปอดทนได้ นั่นคือ ขันติ อดทนไม่ใช่เก็บกด เพราะในขันติย่อมมีปัญญาที่จะสกัดสิ่งที่เป็นอกุศลได้ Q: ติดสมาธิทำให้ไม่ก้าวหน้าในธรรม? A: สมาธิชั้นสูงต้องดู 3 สิ่งนี้ประกอบ คือ นิมิตเพื่อความเพียร นิมิตเพื่อสมาธิ นิมิตเพื่ออุเบกขา 3 อย่างนี้ต้องไปด้วยกันอย่างสมดุล เมื่อเวลาเหมาะสมจะปล่อยวางได้ ถ้าสมาธิในความหมายของสมถะถ้ามากไปจะเกียจคร้านหย่อนไปไม่เกิดปัญญา ควรมีความแยบคายในการปฏิบัติโดยการปรับอินทรีย์ Q: สมาธิได้เป็นสุข แต่ตัน จะไปต่อได้อย่างไร A: ความสุขในสมาธิไม่ควรกลัว ควรทำให้มี สิ่งที่ควรแก้ คือ ความเพลินในความสุขจากสมาธินั้น ความเพลินนี้ไม่ดี ต้องมีสติให้เกิดปัญญาเห็นความไม่เที่ยงในสุขนั้น ละความยึดถือในสมาธินั้น เห็นว่าไม่ใช่ของเรา จะไปต่อได้ Q: กรรมเกิดจากอะไร A: เหตุเกิดของกรรม คือ ผัสสะ Q: ถ้าเหตุของกรรม คือ ผัสสะ แล้วกรรมจะส่งผลถึงเราได้อย่างไร A: ถ้าเจตนาที่กระทำเป็นชนิดอบุญ บาปนั้นจะให้ผลเป็นทุกข์[...]
- 7 ตามใจท่าน (ธรรมะสากัจฉา)Q: ป่วย ยากไร้ เป็นเพราะกรรมเก่าหรือไฉน A: ไม่แน่ เพราะสุขหรือทุกข์ที่เกิดขึ้นมาจากเหตุปัจจัย 4 อย่าง คือ กรรมเก่า การเตรียมตัวไม่สม่ำเสมอ ผู้อื่นทำให้ และระบบของร่างกาย ดังนั้น ความเชื่อที่ว่าทุกขเวทนานี้มาจากกรรมเก่าเท่านั้นเป็นมิจฉาทิฏฐิ เพราะจะทำให้ไม่ทำอะไร จมอยู่ในสังสารวัฏ ควรปรับทิฏฐิว่า สุขหรือทุกข์มีเป็นธรรมดาตามเหตุปัจจัย ประกอบกรรมดีเพื่อเจือจางความเค็ม ตั้งสติ ทำความเข้าใจผ่านมรรค 8 ตั้งตนให้อยู่ในโสตาปัตติยังคะ 4 จะเกิดปัญญา ไม่ว่าสุขหรือทุกข์ผ่านมาจะเห็นธรรมได้ ใช้ทุกขเวทนาที่มีบ่มอินทรีย์ให้แก่กล้าจนบรรลุธรรมได้ Q: ปัญจุปาทานขันธ์คืออะไร A: ขันธ์ คือ กอง ปัญจุ คือ 5 อุปาทานขันธ์ 5 คือ ขันธ์อันเป็นที่ตั้งแห่งความยึดถือ 5 อย่าง ขันธ์ 5 กับอุปาทานเป็นคนละอย่างกัน แต่ความยึดถือไม่เกิดที่ไหนเกิดในขันธ์ 5 เท่านั้น ขันธ์ต้องทำความเข้าใจ ที่ต้องทำลาย คือ อุปาทาน ทำลายด้วยสติ[...]
- 7 ตามใจท่าน (ธรรมะสากัจฉา)Q: ความหมายและบริบทของ ชา-ติ A: ชาติ คือ การเกิด การกำเนิดโดยยิ่ง การก้าวลงสู่ครรภ์ การปรากฏโดยอายตนะ หรือเกิดในบริบทอื่น ๆเกิดซ้อนเกิดแล้วแต่จะกำหนดอย่างไร ไม่มีบริบทหน้าหลังลำดับความเป็นมาเหมือนกับปัญญา เพราะปัญญาเป็นส่วนแห่งมรรค แต่ชาติเป็นส่วนแห่งทุกข์หน้าที่ก็คือ ทุกข์ให้ยอมรับ ส่วนมรรคทำให้เจริญมีความอุบัติขึ้นแห่งปัญญา ชาตินี้ดับได้โดยความยึดถือที่ดับไป "ความตายไม่ใช่ชาติ ความเกิดขึ้นของชาติ ความดับไปของความตาย ความดับไปของชาติ ความเกิดขึ้นของความตาย ไม่ใช่ชาติของความตาย ความดับไปของความเกิดไม่ใช่ความตายของชาติ" Q: งานใหญ่ควรเลือกคนขยันแต่โง่ หรือเลือกคนฉลาดแต่ขี้เกียจ A: เลือกทั้งสอง เพราะเป็นงานใหญ่ หน้าที่ของผู้นำ คือ ให้ทำงานตามกำลังที่เหมาะสม Q: รูปแบบเขียนปฏิจจสมุปบาทมีกี่ชนิด A: ให้กลับมาที่จุดที่เล็กที่สุด คือ "เพราะสิ่งนี้มี สิ่งนี้จึงมี เพราะสิ่งนี้ดับ สิ่งนี้จึงดับ" ใช้หลักการนี้ในการเข้าไปจับกับทุกสิ่งจะเกิดปัญญาได้ Q: ดับอวิชชาทำอย่างไร A: ดับอวิชชาได้ต้องมีวิชชาเกิดขึ้น วิชชาเกิดตรงที่เห็นความไม่เที่ยง จะเห็นได้จิตต้องมีโพชฌงค์ 7 อย่างใดอย่างหนึ่ง จะมีโพชฌงค์ได้ก็ต้องอาศัยสติปัฏฐาน 4 สติจะมีได้ก็จากอนุสติ[...]
- 7 ตามใจท่าน (ธรรมะสากัจฉา)Q: ต้องออกแบบโรงฆ่าสัตว์ ควรทำอย่างไร A: อยู่ที่การตั้งจิต เอามรรค 8 มาเป็นเกณท์ในการตัดสินใจ ในที่นี้ คือ ศีล 3 ระดับ ลำดับในการกระทำ ดูที่เจตนา และลมปราณของสัตว์ การเบียดเบียนกันย่อมมีเป็นธรรมดาเป็นโทษของวัฏฏะ ใช้ความรู้ที่มีเพื่อที่ลดปริมาณการเบียดเบียนต่อกันให้มากที่สุด ให้ทำความดีอย่างอื่นเพื่อให้จิตใจสบายอยู่ในห้วงแห่งบุญ Q: ภาวนามยปัญญาเกิดตอนไหน เป็นอย่างไร A: ทางเกิดแห่งปัญญามี 3 ระดับ คือ สุตมยปัญญา ปัญญาเกิดจากการฟัง จินตมยปัญญา ปัญญาเกิดจากการทรงจำได้แล้วใคร่ครวญ และภาวนามยปัญญา ปัญญาเกิดจากพัฒนา ภาวนามยปัญญาเกิดต่อจากจินตมยปัญญา ระหว่างทางนั้นศีลพร้อม กิเลสถูกกำจัดลง ๆ การภาวนามีผลจากการที่มีสัมมาสมาธิ อวิชชาลดลง ๆ วนรอบไปตามลำดับ เกิดตอนที่สมาธิมีแล้วพิจารณา ผลคือ ปล่อยวางได้ ลักษณะไม่ใช่ความคิดแต่เป็นเหมือนกล่องดำที่เมื่อผ่านแล้วจะเกิดผลเป็นความรู้ขึ้นมาได้ ดังนั้นสัญญาและฌานจึงมาก่อนญาณ Q: พระสงฆ์กับการร่วมชุมนุมทางการเมือง A: ให้ยึดหลักหน้าที่ของภิกษุที่พระพุทธเจ้าบัญญัติไว้ Q: การลาสิกขาต้องเปล่งวาจาหรือไม่ A: อยู่ที่เจตนา
- Q: เป็นทุกข์เพราะเกรงใจ ควรใช้ธรรมข้อไหนปรับA: ความทุกข์มี 11 อย่าง ในคำถามนี้ตกตรงทุกข์ เพราะประสพสิ่งที่ไม่น่าพอใจ พลัดพรากจากสิ่งที่พอใจ และอุปาทานในขันธ์ทั้ง 5 ที่เป็นไปตามมานะ 9 ทุกข์เพราะไปคาดหวังจากสิ่งที่เป็นอนัตตาว่าเป็นอัตตา เป็นสิ่งที่เป็นไปไม่ได้ ควรทำความเข้าใจว่า พฤติกรรมของคนเป็นอนัตตา มีเงื่อนไขปัจจัยที่ให้เขา หรือเราแสดงออกมาแบบนี้ ถ้าเราไปคาดหวังจากสิ่งที่เป็นอนัตตาเราจะทุกข์ เป็นการเบียดเบียนทั้งตนเองและผู้อื่น คาดหวังเป็นการจมทุกข์ให้หาทางออกด้วยมรรค 8 ทำไมมรรค 8 จึงแก้ปัญหาได้ เพราะมรรคจะทำให้มีความมั่นใจศรัทธาในพุทธ ธัม สงฆ์ และลงมือทำจริง มีสติเป็นดุจเครื่องเอกซเรย์ แก้ให้ตรงจุด ยึดตรงไหนจะคลายความยึดถือได้ก็ตรงนั้น สละความคาดหวังทั้งจากตัวเราและตัวเขา พิจารณาความเป็นอนัตตา จะมีปัญญาเห็นตามจริง คลายทุกข์ได้ จะคลายทุกข์ได้เร็วหรือช้า ก็ขึ้นอยู่กับความแก่กล้าของอินทรีย์ 5
- 7 ตามใจท่าน (ธรรมะสากัจฉา)“ดูกรภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายเมื่ออยู่ในที่สงัด จงประกอบความเพียรเถิด ดูกร ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้อยู่ในที่สงัดย่อมรู้ตามความเป็นจริง“ - ปฏิสัลลีนสูตร - ถ้าเคยคิดหาคำตอบหาทางออกจากวังวน สิ่งวุ่นวาย สิ่งที่ทำให้ทุกข์ สิ่งที่เคยเชื่อว่าทำให้สบายใจกาย แต่สุดท้ายกลับทุกข์อยู่ดี มาร่วมค้นหาคำตอบ ออกจากวัฏฏะด้วยการหลีกเร้น เพราะเมื่อหลีกเร้นแล้ว จะได้สัมมาสติที่ก่อให้เกิดสัมมาสมาธิทำให้เห็นตามจริงได้
- 7 ตามใจท่าน (ธรรมะสากัจฉา)Q: ธรรมใดเป็นเหตุให้ไม่เร่ร่อนเป็นทุกข์วนไป A: ศีล สมาธิ ปัญญา และวิมุติ เอาข้อใดข้อหนึ่งก็ได้ เพราะจะดึงข้ออื่น ๆ ตามมาโดยอัตโนมัติ อาจจะสรุปเหลือแค่สมถะวิปัสสนา หรือเหลือแค่สติก็ทำให้พ้นทุกข์ได้ ประเด็น คือ ไม่ใช่มากหรือน้อย แต่อยู่ที่ทำได้ดับทุกข์ได้ Q: โลกเที่ยงหรือไม่เที่ยง และความหมายของโลก A: ความหมายของโลกมี 4 นัยยะ คือ กาย (โรหิตัสสสูตร), เป็นกระแสสิ่งที่รับรู้เข้ามาผ่านอายตนะภายนอกภายใน, สภาวะภพและระบบสุริยะ ต้นกำเนิดของโลกเกิดจากวิวัฒนาการที่ต่ำลงจากพรหมกลายเป็นมนุษย์ โลกในความเชื่อของพราหมณ์นั้นเชื่อว่าพรหมโลกเที่ยงส่วนโลกอื่น ๆ ไม่เที่ยง แต่ในธรรมวินัยนี้ ชี้ให้เห็นว่าทุกสิ่งล้วนไม่เที่ยงแม้ในพรหมโลกก็ตาม Q: พ่อแม่ป่วย และดื้อควรวางใจอย่างไร A: ในการแนะนำถ้าคนป่วยมีปัญญาให้เตือนเพื่อระลึกถึงโสตาปัตติยังคะ 4 ส่วนในผู้ที่ยังไม่มีปัญญาควรให้กำลังใจดูแลห่วงใย ทำหน้าที่ของลูก อดทน เมตตา รับภาระ ใช้โอกาสนี้ให้ดีจะไม่เสียใจ และปรึกษากัลยาณมิตร Q: ความแตกต่างระหว่างวิปัสสนากับวิปัสสนาญาณ A: ญาณไปประกอบกับอะไร หมายถึง ความรู้ในเรื่องนั้น มาในทางปัญญา[...]
- 7 ตามใจท่าน (ธรรมะสากัจฉา)Q: อะไรที่เข้ามานึกคิดปรุงแต่ง A: คำตอบ คือ ไม่มี ที่เข้าใจว่าจิตเข้ามาปรุงแต่งนั้นเข้าใจผิด เพราะจิตก็ไม่มีตัวตนเป็นสภาพที่ลวงตา ควรทำความเข้าใจว่า สังขารการปรุงแต่งทั้งหมด คือ อวิชชา การเห็นความไม่เที่ยงจะทำให้อวิชชาละไปได้วิชชาเกิด เพราะไม่เข้าไปยึดถือ พอละความยึดถือได้ก็ดับเย็น Q: ทำไมต้องพ้นทุกข์ ในเมื่อพ้นแล้วก็ยังทำกิจที่เป็นทุกข์อยู่ A: ทุกข์ไม่ใช่ให้หนี แต่ทุกข์ต้องเข้าใจยอมรับ พอยอมรับได้ก็ขันธ์ 5 นั้นก็จะไม่มาเป็นทุกข์ ขันธ์ 5 ที่ไม่ประกอบด้วยอุปาทานจะไม่ทุกข์ กิจกรรมก็ยังทำอยู่แต่ไม่ติดพันมัวเมา เห็นโทษในสิ่งเหล่านั้นอยู่ ทำแบบเหนือทุกข์ Q: ข้าวหมากถวายพระได้หรือไม่ A: ได้ ถ้ามีปัญหาสุขภาพแล้วพิจารณาเป็นยาก็ฉันได้ในปริมาณที่เหมาะสม เพื่อระงับเวทนา Q: ทำดีลบล้างความชั่วได้หรือไม่ A: ได้ อยู่ที่ทำดีแบบไหนขนาดไหน
- 7 ตามใจท่าน (ธรรมะสากัจฉา)Q: สวดมนต์ควรสวดบทใด และการทำวัตรเช้าเย็นควรหรือไม่ A: สวดบทที่เรารู้ความหมาย เข้าใจ เพื่อให้ถึงจุดที่จิตสงบแล้ว จะเห็นธรรมตามจริงได้ วัตร คือ ข้อปฏิบัติที่ทำเป็นปกติควรทำ Q: ความแตกต่างระหว่างศีล 8 กับศีลอุโบสถ และควรสมาทานก่อนหรือไม่ A: ไม่เหมือนกัน ศีล 8 จะรวมทั้งหมด ถ้าผิด คือ ผิดทั้งหมด ส่วนอุโบสถศีล คือ รับมาทีละข้อ อุโบสถ คือ การเข้าอยู่คืนหนึ่งวันหนึ่ง เป็นการตั้งใจให้มันได้ อย่ากลัวผิด อย่ากลัวการสมาทาน เป็นการเพิ่มกำลังของสัมมาสติ และสัมมาวายามะ ก่อให้เกิดสมาธิ ศีล คือ ความเป็นปกติ การสมาทาน คือ ความตั้งใจมั่นให้มันได้ เป็นการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงให้มาเป็นปกติในทางดี ควรทำ Q: อะไรคือปานะ A: ปานะ คือ น้ำจากผล 8 อย่าง ผ่านการกรอง ไม่ผ่านความร้อนหรือน้ำตาล ดื่มได้เหมือนน้ำเปล่าโดยไม่ต้องมีเหตุมีปัจจัย[...]
- 7 ตามใจท่าน (ธรรมะสากัจฉา)Q: เมื่อขัดเคืองแล้วมีสติรู้ตามหลังนับว่าช้า? ไม่อยากขุ่นใจนับเป็นวิภวตัณหา? และสามารถฝึกจนไม่ขุ่นใจเลยได้หรือไม่ A: การที่มีสติรู้แต่ยังละไม่ได้ เพราะสัมมายาวามะยังไม่เต็ม ก็ฝึกทำจริงแน่วแน่จริง ทำไปเรื่อย ๆ จิตจะมีความเคยชิน อาจจะไม่ได้มีสติตลอดเวลา แต่จะพัฒนาขึ้นมาได้ ที่สำคัญคือ อย่าไปติดกับดักความอยากหรือความไม่อยาก แค่ทำให้ถูกมรรคเท่านั้นพอ พอเราไม่ตั้งอยู่ที่ความอยากหรือไม่อยาก เวลามีผัสสะมากระทบ มันก็จะแค่สักว่ารู้เฉย ๆ ความขุ่นใจจะไม่เกิดขึ้น นับเป็นอินทรีย์ภาวนาชั้นเลิศ อินทรีย์นั้นจะมีสติเป็นที่แล่นไปสู่ สติก็มีวิมุตเป็นที่แล่นไปสู่ การที่บางครั้งทำได้ นั่นคือ วิมุตแล้ว แต่ที่ยังกลับกำเริบ ก็เพราะยังไม่เห็นความไม่เที่ยงของสติและของจิต ยังไม่เห็นความเป็นตัวตนของจิต ยังยึดสติและจิต ต้องมีปัญญาเห็นความไม่เที่ยง จึงจะกำจัดอวิชชาได้ ฝึกจิตให้เห็นความไม่เที่ยงได้ก็ด้วยมรรค 8 ฝึกตามเส้นทางนี้ไปเรื่อย ๆ จะละความขุ่นเคืองได้ วิมุตนั้นก็จะนำไปนิพพาน Q: ฝึกจิตรับสถานการณ์ร้าย ๆ ได้อย่างไร A: ให้มีสติ ให้เห็นว่า ภาวะแก่เจ็บตายมันมีของมันอยู่แล้ว การยอมรับจะทำให้ไม่กลัว ทำความเข้าใจตามความเป็นจริงของมัน คือ เข้าใจเหตุเกิด ตัวมัน เข้าใจเหตุดับ รสอร่อย และโทษของมัน[...]
- 7 ตามใจท่าน (ธรรมะสากัจฉา)Q: อนิจเจทุกขสัญญา คือ อะไร A: สัญญา คือ ความหมายรู้ มีทั้งส่วนที่เป็นทุกข์ และส่วนที่เป็นมรรค อนิจเจทุกขสัญญาสามารถมองได้หลายมุม คือ เอาทุกขสัญญาเป็นหลัก แล้วเห็นความไม่เที่ยงในทุกข์ นั้นคือ อนิจจสัญญา หรือในคุณสมบัติของความที่เป็นทุกข์ เราหมายเอาความหมายที่ทนได้ยากในทุกข์นั้น หมายเอาโดยความไม่เที่ยงของสภาวะนี้ คือ ทุกขสัญญา หรือมองความที่ไม่ใช่ตัวตน ต้องขึ้นอยู่กับสิ่งอื่นเป็นอนัตตสัญญา ระหว่างอนิจจังกับทุกขังก็จะมีอนิจเจทุกขสัญญา ระหว่างทุกขังกับอนัตตาก็จะมีทุกเขอนัตตสัญญา อยู่ที่มุมมองว่าจะมองจากด้านไหน มองจากตรงไหนของกระบวนการ ในกระบวนการเกิดขึ้นตั้งอยู่ดับไป คือ ความไม่เที่ยงอยู่แล้ว และไม่ใช่ตัวของมันเอง ต้องอาศัยสิ่งอื่น เปลี่ยนแปลงตามสิ่งนั้น ๆ นี่คือ ทุกข์ การเห็นกระบวนการเกิดขึ้นตั้งอยู่ดับไปต้องเห็นทั้งก้อน เห็นแล้วก็จะเห็นอีก 3 ขั้นตอน คือ อนิจจังทุกขังอนัตตาไปด้วยในตัว การเข้าใจทั้งสายเกิดและสายดับ จึงจะสามารถเข้าใจว่าแม้กรรมเก่าก็ดับได้ จะเข้าใจแบบนี้ได้ก็ด้วยมรรค 8 Q: ความเข้าใจที่ว่า ทุกอย่างเป็นกรรมเก่าถูก? A: แทนที่จะพูดถึงความเที่ยงแท้แน่นอนของสิ่งใดสิ่งหนึ่ง แต่ให้ทำความเห็นมาด้านที่ว่าสิ่งใดสิ่งหนึ่งล้วนมีความไม่แน่นอน แม้กรรมเก่าก็ไม่เที่ยง ฝึกมาอย่างนี้ ไม่ใช่แค่ทุกข์เท่านั้นที่เราเห็น[...]
- 7 ตามใจท่าน (ธรรมะสากัจฉา)ประเด็นที่น่าสนใจในตอนนี้ พูดถึงสถิติในสัมมโนประชากรระบุว่า คนไม่มีศาสนากันเพิ่มมากขึ้น คนไม่มีศาสนาจริง ๆ ก็คือ คนที่ไม่แคร์อะไร ไม่เชื่อว่าจะต้องทำความดี ถึงแม้คุณระบุไว้ว่าไม่มีศาสนาเป็น NIL แต่ถ้าดูตามหลักการประพฤติแล้ว คุณยังมีหลักในการดำเนินชีวิต คุณยังมีที่พึ่ง มีหลักการ นั่นคือ ดีแล้ว ดีกว่าคนที่ไม่มีศาสนาจริง ๆ หรือดีกว่าคนที่มีศาสนาแต่ทำผิดศีล ในคนที่มีที่พึ่งที่ยังไม่ถูก เช่น นับถือผี/เทวดาก็ยังนับว่าดีแล้ว ค่อย ๆ ปรับไปให้ถูก ศาสนา หมายถึง คำสอนใช้เป็นที่พึ่ง พิธีกรรมต่าง ๆ ที่ดูวุ่นวายนั้นมาภายหลัง อย่าดูแค่เปลือกจะเสียโอกาสได้ ต้องเข้าใจถึงแก่น อย่าติดเพียงแค่พิธีกรรม การที่คนดังหันมานับถือพุทธมากขึ้น เป็นเพราะการประจักษ์ด้วยตนเองว่า สามารถดับทุกข์ได้จริง ที่นี่เดี๋ยวนี้ คำสอนของพระพุทธเจ้าเป็น live style ทางกายวาจาใจที่เมื่อปฏิบัติแล้ว ย่อมรู้เห็นได้เอง คนดังอาจจะมีอิทธิพลต่อเราแต่เราจะได้หรือไม่ อยู่ที่การลงมือทำจริงของเราเอง ทำให้ละเอียดลึกซึ้งลงไป นอกจากนี้ยังมีประเด็นความสำคัญวันมาฆบูชา มุมมองจากการที่พระสารีบุตรพบท่านอัสสชิ บรรลุธรรมจากคาถาเยธัมมา ตลอดจนสิ่งที่พระพุทธเจ้าตรัสในวันนั้น คือ หลักการ 3 อุดมกราณ์ 4[...]
- 7 ตามใจท่าน (ธรรมะสากัจฉา)Q: เกิดมาแล้วต้องตาย แล้วจะเกิดมาทำไม A: เป็นคำถามที่พระโพธิสัตว์แสวงหาคำตอบ เห็นว่าความตายเป็นทุกข์ จะยุติการเกิดได้ด้วยความไม่ตาย แต่เมื่อเกิดมาแล้ว การเกิดนั้นก็เพื่อแสวงหาความเป็นอมตะ ด้วยการปฏิบัติมาตามมรรค 8 จึงจะตัดวงจรนี้ได้ จะถึงความไม่ตายได้ Q: ไสยศาสตร์คืออะไร A: ไสยศาสตร์ คือ พวกมนต์ดำ ความเชื่อ เปรียบเทียบกับพุทธศาสตร์โดยดูจากกุศลหรืออกุศล ถ้าไม่รู้ให้ถามผู้รู้ คือ พุทธะ ในชีวิตจะเห็นมาคู่กันให้ฝึกสังเกต ก็จะเป็นการฝึกสติไปในตัว แล้วเลือกให้ดีจะมาตามมรรคได้ Q: เมื่อคุณพ่อดื่มเหล้าสูบบุหรี่ ลูกควรจะทำอย่างไร A: คนจะละสิ่งใดสิ่งหนึ่งได้ เขาจะต้องเห็นโทษด้วยใจ การมีกัลยาณมิตรจะช่วยได้ และการมีศรัทธาจะก่อให้เกิดการทำจริงแน่วแน่จริง ละได้ Q: เป็นหอบหืดควรทำอย่างไร A: ในคำสอนนี้ทุกอย่างมีเหตุมีปัจจัย ก็แก้ไปตามเหตุทางกาย หรือถ้าทางกรรมเก่า ก็แก้ด้วยการทำให้สิ้นกรรมปฏิบัติไปตามมรรค 8 Q: ปริวัฏฏ์ 3 อาการ 12 เป็นอย่างไร A: ปริวัฏฏ์ 3 ก็คือ ญาณ[...]
- 7 ตามใจท่าน (ธรรมะสากัจฉา)คำถามแรก เรื่องอุปาทานกับการนำมาใช้ในชีวิตประจำวัน อุปาทานมี 4 ชนิด คือ กามุปาทานความพึงพอใจในทางตาหูจมูกลิ้นกาย, ทิฏฐุปาทานการยึดติดในความคิด (ทางใจ), สีลัพพตุปาทานการยึดมั่นในศีลและพรต ในโสดาบันสีลัพพตปรามาสละได้หมด แต่สีลัพพตุปาทานยังละไม่หมด ความยึดถือในกุศลก็ไม่นับว่าดี เพราะความยึดถือจะนำสิ่งที่ไม่ดีอื่นตามมา สรณะกับยึดถือจึงต่างกัน และอัตตวาทุปาทานยึดถือว่าวาทะนั้นเป็นของตน เกิดความเป็นสภาวะขึ้นมา อุปาทานต้องละทิ้ง จะละได้ต้องเริ่มจากการเห็นตามจริงในขันธ์ 5 เกิดหน่าย คลายกำหนัด การปล่อยวางต้องเป็นตามกระบวนการนี้ไม่เช่นนั้นจะกลายเป็นโมหะ ที่ต้องทำความเข้าใจให้ดี คือ เราไม่ได้ละขันธ์ 5 แต่ละอุปาทานในขันธ์ 5 การจะเห็นตามจริงได้จิตต้องเป็นสมาธิ ในชีวิตประจำวันให้มีสติตั้งไว้จะวางความยึดถือในความเพลินนั้น ๆ ได้ ในคำถามที่ 2 ธัมมมานุธัมมปฏิบัติคืออะไร คือ การปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม เป็นธรรมที่ควรทำให้เจริญ ทำมาดีแล้วให้ทำต่อไป ที่ยังปฏิบัติไม่ได้มีอยู่ 3 นัยยะ คือ ปฏิบัติตามคำสอนที่เกินพอดี, ปฏิบัติยังไม่ถึงได้ผลของมัน และข้อสุดท้ายดีเป็นบางเวลา ในคำถามสุดท้าย อุเบกขาวางอย่างไรให้พอดี อุเบกขา คือ ความวางเฉย ต้องมีอยู่ตลอด แต่อุเบกขาอย่างเดียวจิตจะไม่อ่อนเหมาะเพื่อการสิ้นอาสวะได้ ต้องผสมกับเมตตาจึงจะสมดุลเป็นธัมมานุธัมมปฏิบัติ[...]
- 7 ตามใจท่าน (ธรรมะสากัจฉา)Q: การแก้ไขคนตระหนี่ควรทำอย่างไร A: เริ่มจากตัวเราไม่ควรมีความตระหนี่ หรือความหวงกั้น เริ่มให้จากตัวเราก่อน แล้วการให้ของเราจะสามารถช่วยลดความตระหนี่ของคนอื่นได้ อย่าใช้อกุศลธรรมไปบังคับมันจะไม่ยั่งยืน ความตระหนี่เอาชนะได้ด้วยการให้ได้แน่นอน ถ้าไม่มีสินทรัพย์จะให้ สามารถให้ด้วยโภคะที่มี คือ เมตตา Q: คุณธรรมใดจะแก้ปัญหาความสัมพันธ์พ่อเลี้ยงลูกเลี้ยง A: ปัญหานี้มีได้หมดในทุกความสัมพันธ์ ต้องดูที่เหตุว่าทำไมจึงเป็นแบบนั้น ความสัมพันธ์ที่ไม่ดี เพราะมีกามพยาบาท และเบียดเบียน ถ้าละได้ความสัมพันธ์นั้นจะเป็นดุจนมผสมกับน้ำ หาเหตุที่มันจะดี ปรับทัศนคติ เมตตาอ่อนน้อม เอากุศลธรรมมาใช้ในการดำเนินชีวิต Q: ลูกไม่ดูแลพ่อแม่เพราะอะไร A: ลูกที่มีความสามารถแล้วไม่ดูแลพ่อแม่ พระพุทธเจ้าตรัสว่าเป็นคนถ่อย เปรียบไม้เท้ายังใช้ค้ำยันป้องกันตัวมีประโยชน์มากกว่าลูกที่ไม่ดูแล การดูแลพ่อแม่เป็นมงคลอย่างยิ่ง ถ้ามีการแตกแยกให้กลับไปดูว่ามีกามพยาบาทเบียดเบียนหรือไม่ แล้วตั้งจิตให้มีความรักใคร่ปราถนาดีต่อกัน Q: บุญเก่าช่วยชีวิต หรือกรรมเก่ายิ่งซ้ำเติม A: เป็นเรื่องของกรรมอุปถัมถ์ หรือกรรมตัดรอน การให้ผลของกรรมเป็นแบบนี้ เป็นธรรมดามันเกิดขึ้นได้ มองให้เห็นความเป็นธรรมดา คือ 1. เกิดได้ดับได้ตามโลกธรรมแปด / 2. ภพมนุษย์มีสุขทุกข์พอ ๆ กัน ไม่ควรดูตรงสุข หรือทุกข์ และ[...]
- 7 ตามใจท่าน (ธรรมะสากัจฉา)Q: ตักบาตรให้สามี เขาจะได้รับบุญหรือไม่ A: มีส่วนที่ได้แน่นอน การให้ทานเป็นสิ่งดีควรทำ ไม่ควรเว้น Q: ต้องกรวดน้ำหรือไม่ A: ไม่จำเป็น เป็นธรรมเนียมที่รับมาจากอินเดีย ดั่งปรากฏพระเวสสันดรรดน้ำยกช้างให้พราหมณ์ คือ ทานนั้นให้แล้วไม่เอาคืน ที่สำคัญ คือ ต้องมีบุญจากการให้ทาน น้ำมีหรือไม่ไม่สำคัญ Q: อานาปานสติในปฏิสัมภิทามรรคเจริญอย่างไร A: การพัฒนาจิตควรทำเป็นเรื่องดี แนะนำว่าอย่าบังคับลม ทำให้ได้ตลอดเวลา ศึกษาให้ยิ่งขึ้นไป และไม่ยึดติดในเครื่องมือ Q: ในสถานการณ์ที่แตกต่างสติ และปัญญาใช้เมื่อไหร่ A: ต้องกลับมาที่นิยามของพระพุทธเจ้า สติ คือ การระลึกได้ ในบางครั้งอาจมีการลืมไป เช่น ขับรถเลยบ้าน นั่นไม่ใช่ว่าเผลอสติ ในลักษณะจิตใจไม่มั่นคง แต่ในเรื่องการงานมันผิดพลาดได้ หรือในบางคนก็มีมิจฉาสติ ส่วนปัญญา คือ การเห็นความเกิดขึ้นความดับไป เห็นความไม่เที่ยง ปัญญาไม่ใช่ทักษะ แต่เป็นความรู้ในการชำแรกกิเลส จากมรรค 8 ย่อมาเป็น ศีล สมาธิ ปัญญา สมถะวิปัสสนา[...]
- 7 ตามใจท่าน (ธรรมะสากัจฉา)Q: ปฏิบัติธรรมแล้วร้องเพลงได้หรือไม่ A: ถ้าศีล 8 ซึ่งห่างไกลจากกามก็ไม่ควร แต่ถ้าเผลอทำนั่นคือ เผลอสติ ในขั้นนี้ยังไม่ถือว่ากำหนัดยินดีไปในกาม เพราะความเร่าร้อนยังไม่มีสมาธิยังได้ เป็นเรื่องที่เราต้องปรับเอาว่าจะข้างหย่อนหรือเข้ม หลักการ คือ ค่อย ๆ ลดกามลงจนหมดไป ความยินดีด้านนี้ก็จะหมดไป Q: สังโยชน์เบื้องสูงในรูปราคะ อรูปราคะ หมายถึงอะไร A: สังโยชน์ คือ เครื่องร้อยรัดให้อยู่ในภพ ภพ คือ ความเป็นสภาวะ คือ กามภพ รูปภพ และอรูปภพ ขึ้นกับว่ามีอาสวะชนิดไหน สังโยชน์เบื้องต่ำถ้าละได้เป็นโสดาบันก็จะอยู่ในกามภพ หรือละไม่ได้เลยก็อยู่ในกามภพนี้ แต่ถ้าละปฏิฆะ และกามราคะได้ ก็เข้าสู่รูปภพ และอรูปภพ รูปภพ คือ ความยินดีในฌานสมาธิขั้นที่ 1 - 4 อรูปภพความยินดีตั้งแต่ชั้นอากาสานัญจายตนะ ความยินดีทำให้ติดอยู่ในชั้นนั้น ๆ เพราะฉะนั้นในสมาธิต้องมีปัญญา Q: สมาธิทุกแบบก่อให้เกิดปัญญาใช่หรือไม่ A: ไม่ใช่ สมาธิที่ก่อปัญญานั้นต้องมีสติ มีองค์แห่งมรรคทั้ง[...]
- 7 ตามใจท่าน (ธรรมะสากัจฉา)Q: จิตฺตํ ภาวิตํ มหโต สลฺวัตฺตติ มีที่มาอย่างไร A: ไม่ใช่พุทธพจน์ แปลว่าจิตที่ฝึกดีแล้ว ย่อมมีประโยชน์ใหญ่ ที่เป็นพุทธพจน์ คือ จิตฺตํ ทนฺตํ สุขาวหํ จิตที่ฝึกดีแล้ว นำสุขมาให้ ความหมายคล้ายกัน อาจใช้คำต่างกันบ้าง ด้วยเป็นลักษณะของคำกลอน จิตที่อบรมดีแล้วจะละราคะได้ทำนิพพานให้แจ้งได้ จึงเป็นประโยชน์ใหญ่ จิตนั้นสามารถเข้าไปยึดถือโดยความเป็นตัวตนได้หมด ในช่องทางใจ ในธรรมารมณ์ และในวิญญาณ จะฝึกจิตได้ต้องรู้จักแยกแยะความแตกต่างของสิ่งเหล่านี้ ด้วยความเป็นประภัสสรละเอียดอ่อนของจิต จิตจึงสามารถเปลี่ยนแปลงได้ตามที่มันซึมซาบไป คล้อยไปตามผัสสะ ทำให้มีอาสวะสะสม ถ้าเราไม่ฝึกไม่บังคับ จิตก็จะไปตามตัณหาไปตามผัสสะไปตามขันธ์ 5 คือ อยู่ฝั่งที่เป็นทุกข์กับสมุทัย แต่ถ้าฝึกจิตด้วยมรรค จิตจะได้รับการรักษา จึงเป็นประโยชน์ใหญ่ เมื่อเข้าสมาธิได้ควรเห็นจิตโดยความเป็นของไม่เที่ยง แล้ววางความยึดถือในจิตนั้น จิตนี้ไม่ใช่ของเรา ถ้าเห็นอย่างนี้ คือ การเข้าถึงสภาวะที่ไม่มีเงื่อนไข ไม่มีปัจจัย คือ นิพพาน นิพพานมี 2 ฝั่ง คือ ฝั่งที่เหนือสมมติ กับฝั่งที่ยังมีสมมติอยู่ นี้จึงเป็นประโยชน์ใหญ่[...]
- 7 ตามใจท่าน (ธรรมะสากัจฉา)Q: เสียงนุ่มนวลแต่ทำไมฟังไม่เข้าใจ A: การจะฟังธรรมให้รู้เรื่อง ควรฟังแยกเป็นสองส่วน คือ เหตุและผล การฟังแบบนี้เป็นการเพิ่มบุญวาสนาในส่วนของปัญญา และจิตอย่าไปอยู่ที่ผู้พูด ให้อยู่กับการรับรู้ทางเสียง ฟังแล้วต้องปฏิบัติสมาธิด้วย Q: มนาโป โหติ ขันติโก แปลว่าอะไร A: แปลว่า"ผู้มีความอดทนย่อมเป็นที่ชอบใจ (ของคนอื่น)" ไม่ใช่พุทธพจน์ เป็นภาษาบาลีที่สมเด็จพระสังฆราชองค์ก่อนนิพนธ์ไว้ โดยอ้างอิงมาจากพุทธสุภาษิต ความอดทนนั้นอยู่ที่ใจ เมื่อมีแล้วจะทำให้เข้าสมาธิได้ง่าย ขันติโสรัจจะเป็นความงดงามในธรรมวินัยนี้ และความเป็นที่ชอบใจของคนอื่นควรมีคุณสมบัติ 5 ประการ ผู้ที่น่ารักควรมีคุณธรม 8 อย่าง การมีขันติตลอดเวลาจะเป็นมงคลต่อตัวเรา ดั่งเช่นที่ท้าวสักกะอดทน อดทนเพราะมีปัญญา Q: 15 ค่ำ เดือน 6 มีอยู่ในพุทพจน์หรือไม่ A: ในพุทธพจน์ไม่มี มีแต่ในคัมภีร์พุทธวงศ์ Q: เมื่อคนรักมุ่งมั่นปฏิบัติธรรม เราควรทำอย่างไร เลิกหรือไปต่อ A: เมื่อคนปฏิบัติธรรมกิเลสจะลดลงเครื่องเศร้าหมองลดลง ความต้องการให้ตอบแทนแบบหนุ่มสาวจะลดลง ความรักไม่ได้ลดลง แต่ความเศร้าหมองของความรักมันลดลงไป เหลือแต่ความรักที่บริสุทธิ์ จึงทำให้มีความไม่ตรงกันไม่พอดีกัน ถ้ากิเลสเราลดลงเราจะเข้าใจได้[...]
- 7 ตามใจท่าน (ธรรมะสากัจฉา)Q: นิโรธในอริยสัจ 4 คือ นิพพานใช่หรือไม่ A: นิโรธ คือ ความดับ อริยสัจ คือ ความจริงอันประเสริฐ 4 อย่าง ในปฏิจจสมุปบาทท่านแบ่งเป็นสองส่วน คือ ในส่วนของการเกิด คือ ทุกข์กับสมุทัย และส่วนของการดับ คือ นิโรธกับมรรค นิพพานในนิโรธเป็นนิพพานที่อาศัยเหตุอาศัยปัจจัยนั่น คือ มรรค ถ้าเหตุปัจจัยดับความดับนั้นความพ้นนั้นสภาวะนั้นก็หมดไป ยังกลับกำเริบได้ หรือที่เรียกว่านิพพานที่นี่เดี๋ยวนี้ แต่เมื่อใดที่ทำไป ๆ จะมีนิพพานชนิดที่ไม่กลับกำเริบ เป็นความพ้นที่มีนิพพานเป็นที่ไปสู่ นิพพานที่เหนือเหตุเหนือปัจจัย Q: ความแตกต่างระหว่างสังโยชน์เพื่ออุบัติกับเพื่อไปเกิดในภพ A: อุบัติ คือ การเกิด ภพ คือ ความเป็นสภาวะ สังโยชน์อันเดียวกัน อยู่ที่ว่ามองจากมุมของการเกิด หรือมองจากภพที่ไปเกิด Q: สร้างโกศธาตุในทะเลสมควรหรือไม่ A: เมื่อตายไปแล้วก็เป็นเรื่องของคนเป็น ร่างก็เหมือนไม้ที่เขาทิ้งไว้ในป่าหาประโยชน์ไม่ได้ ที่ควรทำ คือ ทำความดีก่อนตาย ความไม่ประมาท คือ[...]
- 7 ตามใจท่าน (ธรรมะสากัจฉา)Q: การรู้อริยสัจ 4 ดับอวิชชาได้อย่างไร A: คำตอบของคำถามนี้คือ ให้หยุดคิดก่อน เพราะปัญญาเกินกำลังของสติทำให้ฟุ้งซ่าน ให้ใช้ปัญญานั้นไปในทางเพิ่มศรัทธาในพุทธธัมสงฆ์ เมื่อมั่นใจแล้วจะทำให้มีกำลังความเพียรกำลังสติเพิ่มขึ้น ทำให้จิตรวมลงเป็นสมาธิจะงัดต่อมสงสัยได้ Q: ทำไมต้องขันธ์ 5 ไม่ใช่ขันธ์ 6 A: ขันธ์ 5 เป็นการบัญญัติของพระพุทธเจ้าจิตสามารถเข้าไปยึดถือ 5 อย่างนี้ได้หมด ขันธ์ 5 อยู่ในกองทุกข์ของอริยสัจ 4 ลักษณะที่เกิดทุกข์เพราะอาศัยขันธ์ 5 และตัณหามันจึงเป็นทุกข์ ทำกิจในแต่ละขั้นในอริยสัจให้ถูก เมื่อปฏิบัติตามมรรคแปดจะเข้าใจทุกข์ทำให้แจ้งซึ่งนิโรธได้ ปฏิบัติตามมรรคด้วยศรัทธาด้วยความเพียรเต็มที่จะเข้าใจเรื่องนี้ได้ Q: คำว่า พระอรหันต์หมดอุปาทาน ท่านตัดวงจรปฏิจจสมุปบาท ทำไมท่านยังดำรงธาตุขันธ์อยู่ได้? A: ท่านหมายถึงตัณหาดับไป พอตัณหาดับหมด วิญญาณที่จะมาเป็นทุกข์ไม่มี เพราะว่าตัณหาทำให้เกิดอุปาทาน อุปาทานนี้ไม่เกิดที่ไหนนอกจากขันธ์ 5 พอตัณหาดับ อุปาทานก็ดับ พออุปาทานดับก็ไม่เกิดความยึดถือในขันธ์ อุปาทานในขันธ์ 5 ดับไป ขันธ์นั้นไม่มาเป็นทุกข์อีก ท่านจึงเรียกว่าดับทุกข์ได้ แต่ขันธ์ 5 ก็ยังดำรงอยู่ตามเหตุตามปัจจัยของมัน[...]
- 7 ตามใจท่าน (ธรรมะสากัจฉา)Q: ปฏิบัติตามพระพุทธเจ้าเท่านั้นหรือจึงจะพ้นจากวัฏสงสาร A: สัมมาสัมพุทโธมีความสามารถในการสอนที่เมื่อปฏิบัติตาม อินทรีย์เต็มจะบรรลุตามเป็นอนุพุทโธได้ Q: การปฏิบัติของหลวงปู่ทวด A: ภิกษุทุกรูปปฏิบัติตามคำสอน บรรพชิตหรือคฤหัสถ์ที่เมื่อปฏิบัติตามมรรค 8 จะไม่หลงแน่นอน ประเด็นคือขอให้ทำ Q: ฝันเกิดขึ้นได้อย่างไร A: มาจากเหตุที่สร้างไว้ ทำดีเวลาไหนเวลานั้นฤกษ์ดี Q: เหตุที่ถูกล็อตเตอรี่รางวัลที่ 1 A: ทุกอย่างมีเหตุมีเงื่อนไขมีปัจจัย คือคุณทำดีไว้ก่อนแล้ว Q: ผลของการสาบานทั้ง ๆ ที่ผิด A: ไม่จำเป็นต้องสาบาน ถ้าติเตียนตนด้วยตน มีความกลัวความละอายต่อบาป และถ้าปักใจว่าเขาไม่ดีหรือสมน้ำหน้าบาปนั้นจะตกมาที่เรา Q: หิริโอตัปปะกับศีลอะไรมาก่อน A: ตั้งมั่นในธรรมที่ได้ก่อน ซึ่งธรรมะทั้งหมดเข้ากันได้เหมือนจุ่มแห Q: คุณธรรมทางด่วนที่ช่วยได้อยู่หมัด A: สติปัฏฐานสี่ในอนุสติ 10 เป็นคุณธรรมที่เป็นทางเอกทางเดียวที่เมื่อสติมีกำลัง
- 7 ตามใจท่าน (ธรรมะสากัจฉา)Q: ทำทานด้วยอาหารจะได้ผลน้อยกว่าสร้างวิหารหรือไม่ A: ทานที่มีองค์ประกอบครบทั้งผู้ให้และผู้รับย่อมมีผลมาก อานิสงส์ก็ไล่มาตามลำดับจากทานศีลภาวนา ทุกข์อยู่ที่ใจการกระทำทางใจจึงให้ผลมากกว่าลดทุกข์ได้มากกว่า แต่แม้อาหารจะดูน้อยถ้าขณะ หลัง ระหว่างให้ตั้งจิตไว้ดี นั่นก็เป็นการกระทำทางใจที่ย่อมให้ผลมากได้เช่นกัน ใจจะไม่ลำเค็ญแม้เป็นคนเข็ญใจถ้ามีอริยทรัพย์ 7 Q: เสียงมากระทบขณะทำสมาธิควรทำอย่างไร A: ที่สำคัญ คือ จิตตวิเวก แม้กายจะวิเวกหรือไม่ก็ตาม ฝึกมาก ๆ อย่าบ่นให้อดทน ความอดทนจะทำให้ข้ามไปได้ เพราะในอดทนมีความเพียรมีปัญญา Q: พิจารณากายแบบไหนดี A: จุดประสงค์ของการพิจารณากาย คือ ให้เห็นตามเป็นจริงเพื่อให้ปล่อยวางได้ ติดตรงไหนให้พิจารณาอันนั้น สุตะสั่งสมไว้หลายแบบได้ดีแต่ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับความชำนาญด้วย ข้อควรระวังของการพิจารณากายก็คือให้ปล่อยวางไม่ใช่เพื่อทำลาย Q: ออกจากสมาธิอย่างไรจึงจะถูก A: สมาธิไม่ควรออก แต่มีการเคลื่อนไปมาในฌานทั้ง 4 ได้ แต่ถ้ามีการออกโดยการตกใจ หรือตื่นเต้นออกมาอยู่ในแดนลบก็สามารถกู้คืนได้โดยฝึกทำเรื่อย ๆ และให้มั่นใจในพุทธธัมสงฆ์
- 7 ตามใจท่าน (ธรรมะสากัจฉา)พยายามทำความดียังไงก็ตาม ก็ยังเจอปัญหาเศรษฐกิจ เจอปัญหานั่นเจอปัญหานี่โรคภัยไข้เจ็บก็เจออยู่ แต่ก็ยังคงทำความดีอยู่ตลอด ๆ ตอนสุดท้ายคุณอาจจะแบบไม่ได้มีความสุขก็ได้ แต่เรารู้ว่าในจิตใจเรา…กำไร
- 7 ตามใจท่าน (ธรรมะสากัจฉา)"พอจะตายแล้วจะเปลี่ยนแปลงมั้ย เพราะโมหะมันครอบอยู่ โมหะมันหลอกเราว่า ฉันมั่นใจแล้วนะ แต่จริง ๆ แล้วยัง" Q: คำถามจากการฟังนิเวสกสูตร สงสัยว่าบุคคลที่เลื่อมใสในพุทธธัมสงฆ์ แต่ศีลยังไม่เต็ม ก็คือปุถุชนทั่วไป? A: จากนิเวสกสูตร บุคคลที่เลื่อมใสในพุทธธัมสงฆ์จะไม่ไปนรกในชาติถัดไป แต่ในชาติที่ถัด ๆ ไปไม่แน่อาจไปก็ได้ คือ อยู่ในขั้นมรรคยังไม่ได้ผล มีอยู่ทั่วไป อาจจัดเป็นภาวะก่อนเป็นโสดาบันกล่าวคือวิจิกิจฉา และสักกายทิฏฐิทำได้ มีแต่ศีลที่ยังไม่เต็ม ศีลที่ยังไม่เต็มก็จะทำให้กลับไปกลับมาได้ Q: พิจารณากายมีหลายแง่มุม ควรศึกษาทั้งหมดหรือเลือกเพียงหนึ่ง A: มีหลายลักษณะให้พิจารณา ตามหลักการคร่าว ๆ พระพุทธเจ้าให้หลักไว้ 2 ประเภท คือ ถ้ามีราคะโทสะโมหะมากควรพิจารณาอสุภะ ถ้ามีราคะโทสะโมหะเบาบางก็ให้เข้าสมาธิไปเป็นสุขาปฏิปทา ควรทำให้ได้หลากหลาย เหมือนการมีอาวุธที่หลากหลายพร้อมหยิบใช้ทำให้ชำนาญ การสั่งสมสุตตะก็คือการมีอาวุธนั่นเอง แต่ถ้าจะสับสนก็ให้ใช้ปฏิปทาอันเป็นที่สบาย คือ การพิจารณาถึงความไม่เที่ยง อนิจจังทุกขังอนัตตา Q: ผูกเวรผูกจิตข้ามภพข้ามชาติได้หรือไม่ ยุติได้หรือไม่ A: การผูกเวรผูกจิตจะมีไม่ได้ในขั้นพรหม บุคคลที่ไปเกิดในขั้นพรหมแต่ยังไม่ได้เป็นอนาคามีก็จะกลับมาเกิดในกามภพได้อีก ทำให้เริ่มวงจรการผูกเวรได้อีกครั้ง วัฏฏะยังไม่ตัด จะยุติการผูกเวรผูกจิตหากันไม่เจอได้แน่นอนก็คือ การปฏิบัติให้ราคะโทสะโมหะสิ้นไป[...]
- 7 ตามใจท่าน (ธรรมะสากัจฉา)"พอเราปฏิบัติไป ๆ ปัญญาเรามากขึ้น บางทีรู้สึกว่าศรัทธาเรามันอ่อน ไม่ได้เป็น next level เหมือนอยู่กับที่ เพราะงั้นจะให้ไปต่อได้ ศรัทธาจะเป็นตัวที่ก้าวกระโดดขึ้นไปได้ให้เพิ่มไปได้ ถ้าคุณมีปัญญาสูง คุณใช้ปัญญาไปในทางเพิ่มศรัทธาได้ มันปรับกันได้ " Q: พราหมณ์ให้ผ้าผืนเดียวแล้วไม่เปลือยหรือ A: เป็นเรื่องของเอกสาฏกพราหมณ์ที่สละผ้าคลุมที่มีผืนเดียว ไม่ใช่ผ้านุ่งจึงไม่เปลือย เขาข้ามความตระหนี่หรือความอายไปได้ แสดงว่าต้องเห็นอะไรที่ยิ่งไปกว่า ประเด็นคือ ต่อให้ผ้าผืนนั้นเป็นผืนสุดท้าย แล้วคุณจะให้ได้มั้ย สามารถให้สิ่งที่รักเพื่อสิ่งที่เรารักเหมือนโพธิสัตว์ได้หรือไม่ Q: การมีเพื่อนสองมีนัยยะอย่างไร การมีความคิดนึกไปเองใช่เป็นเพื่อนสอง? A: ถ้าดูเฉพาะคำศัพท์ก็เป็นไปในทางดี เช่น กัลยาณมิตร แต่ถ้าดูจากบริบทที่พระพุทธเจ้าสอนภิกษุ เพื่อนสอง คือ ตัณหา ส่วนการคิดนึกอาจจะไม่ใช่ตัณหา ความคิดเป็นวิตกวิจารณ์ แต่อุปาทานในความคิดนั้นต่างหาก คือ ตัณหา Q: ศรัทธากับสัมมาทิฏฐิ อะไรมาก่อนกัน A: อยู่ที่เป็นประเภทไหน ถ้าเป็นสัทธาวิมุต สัทธานุสารี อันนี้ศรัทธามาก่อน ถ้าเป็นกายสักขี ทิฏฐิปัตตะ หรือธัมมานุสารี อันนี้สัมมาทิฏฐิมาก่อน ทั้งนี้ต้องมีทั้งสองอย่างประกอบกันจึงจะไม่หลุดจากทาง เพราะถ้าศรัทธามากกว่าปัญญาจะกลายเป็นงมงายยึดติด[...]
- 7 ตามใจท่าน (ธรรมะสากัจฉา)"ปัญญาจะมากำจัดโมหะได้ ปัญญาเป็นแสงสว่างเหมือนดั่งไฟฉายฉายทางไป คือ การเห็นความไม่เที่ยง อันเป็นปฏิปทาอันเป็นที่สบายที่จะไปตามทางนี้" Q: ราคะโทสะพอมองออก แต่โมหะมองได้ยาก ควรทำอย่างไร A: ราคะโทสะโมหะมาจากตัณหาอวิชชา ที่เมื่อมีแล้วจะทำให้การรับรู้ของเราผิดเพี้ยนไป โมหะ คือ การเห็นไม่ชัดเจนขมุกขมัวเหมือนพยับแดด เป็นกลลวงเป็นของปลอม เป็นความเข้าใจที่ไม่ถูก จึงสามารถแทรกซึมไปได้ทุกที่ ปัญญาในการเห็นความไม่เที่ยงจะกำจัดโมหะได้ Q: เกิดเป็นเทวดาหรือมนุษย์ดีกว่ากัน A: เทวดาน่าจะดีกว่า เพราะสุขทุกข์ที่ต่างกัน และการแสดงธรรมของพระพุทธเจ้าที่แสดงต่อเทวดานั้นสั้น ๆ และสวยงามก็สามารถทำให้บรรลุธรรมได้ง่ายเร็วจากศีลปัญญาภาวนาที่มี แต่เป็นมนุษย์ก็อย่าน้อยใจให้มีความเพียรทำเดี๋ยวนี้ แล้วทำไมพระพุทธเจ้าไม่เกิดเป็นเทวดา ก็เพราะในภพมนุษย์มีความเกิดความแก่ความตายที่เห็นได้ง่ายกว่า และด้วยความเป็นพุทธะที่ต้องช่วยเหลือคนตั้งแต่ระดับที่ช่วยได้ให้ได้มากที่สุด Q: ต้องการปฏิบัติธรรมแบบเข้มข้น แต่ป่วยไม่สามารถงดอาหารเย็นได้ ควรทำอย่างไร และสวดมนต์แบบไหนดี A: คุณสมบัติของผู้มีปธานิยังคะ สุขภาพไม่ใช่ข้อเดียวยังมีข้ออื่น ๆ อีก เช่น ศรัทธาความเพียรปัญญาที่เป็นทางออก อย่างไรก็ตามพระพุทธเจ้าก็มีข้อผ่อนปรนให้เพื่อระงับอาพาธ ส่วนการสวดมนต์ต้องเป็นไปเพื่อให้จำได้และเกิดสมาธิ สวดบทไหนก็ได้ Q: ดวงตาเห็นธรรมเป็นอย่างไร A: "ยังกิญจิ สะมุทะยะธัมมัง สัพพันตัง นิโรธะธัมมันติ ฯ" "สิ่งใดสิ่งหนึ่งมีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดาแล้ว สิ่งนั้นทั้งปวง ก็ต้องดับสลายไปเป็นธรรมดา" เป็นปรากฏการณ์ที่เมื่อบุคคลนั้นเริ่มเกิดดวงตาที่สามแต่อาจจะยังไม่เปิดเต็มที่ คือ[...]
- 7 ตามใจท่าน (ธรรมะสากัจฉา)"…ซึมเศร้าเริ่มมาจากความเสียใจ คนเราถ้ายังมีราคะโทสะโมหะ ยังมีรากของอวิชชาอยู่ มันมีความทุกข์แน่…ต้องมีการทำในใจโดยแยบคาย เห็นในความเป็นของไม่เที่ยงจะละราคะโทสะโมหะไปได้ พอเห็นความไม่เที่ยงก็จะหลุดออกจากอารมณ์นั้นได้" Q: ปฏิบัติธรรมแล้วมีภาวะซึมเศร้าเป็นไปได้หรือ ในสมัยพุทธกาลมีหรือไม่ ควรปรับอย่างไร ถ้ารู้แล้วไม่ช่วยจะบาปมั้ย A: ภาวะซึมเศร้าเกิดจากความเสียใจความไม่เข้าใจความไม่แยบคาย ในสมัยพุทธกาลมีอยู่ เช่น ท่านพระวักกลิ ท่านโพธิกะ หรือภิกษุที่พิจารณาอสุภะไม่ถูกวิธี การศึกษาธรรมก็เหมือนการจับงูพิษ ต้องรู้วิธีจับ ในกรณีนี้ต้องมีการทำในใจโดยแยบคาย พิจารณาโดยความเป็นของไม่เที่ยงเป็นทุกข์เป็นอนัตตาไม่ใช่ตัวตน ทุกสิ่งมีเหตุมีปัจจัยจึงเกิดขึ้น ก็จะวางได้ มาปฏิบัติแล้วซึมเศร้าก็อาจเป็นได้ดั่งกรณีของภิกษุที่ยกมา หรือเขาอาจเป็นมาอยู่ก่อนแล้วแล้วไม่มีโยนิโสมนสิการ โยนิโสมนสิการจะมีได้ก็ด้วยกัลยาณมิตร จิตนี้ฝึกได้ด้วยความเพียรด้วยมรรค 8 ถ้าสามารถช่วยได้ก็จะเป็นกัลยาณมิตรที่มีอุปการะ แต่ถ้าไม่สามารถก็ต้องวางอุเบกขา สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม Q: คนที่ฉุนเฉียวง่ายมักเป็นคนที่เคยปฏิบัติธรรม ทำไมจึงเป็นเช่นนั้น A: อาจจะเคยมีมาก่อนแล้ว หรือก่อนหน้านี้ไม่เคยเป็นแต่มาเป็น นั่นเป็นเพราะไปยึดถือพอใจในความสงบที่ได้รับตอนปฏิบัติธรรม เมื่อไม่ได้จึงไม่พอใจ ทางแก้ คือ เห็นความเป็นของไม่เที่ยง จะคลายความยึดถือได้ Q: เพราะต้องทำงานแข่งกับเวลาต้องรับผิดชอบสูง ทำให้เครียด ควบคุมอารมณ์ไม่ได้ดี เกิดซึมเศร้า ควรทำอย่างไร A: ถ้าความเพียรมากเกินกำลังของสติ ตัณหาหรือความอยากจะออกมาในรูปแบบของความฟุ้งซ่านความเครียด ไม่ต้องลดความเพียรลงแต่ให้เพิ่มสติให้มากขึ้น ค่อย ๆ บ่มอินทรีย์
- 7 ตามใจท่าน (ธรรมะสากัจฉา)"เราต้องละเหตุแห่งทุกข์ จึงจะดับทุกข์ได้ ไม่ใช่รู้สาเหตุแห่งทุกข์ สิ่งที่ต้องรู้คือรู้เรื่องทุกข์ เข้าใจว่าเหตุของมันคืออะไร รู้แล้วละเหตุของมันให้ได้ จึงจะดับทุกข์ได้" Q: ขอทราบประวัติท่านพระราหุล A: ที่กล่าวถึงก็จะมีใน 3 พระสูตร และ 2 เรื่องในธรรมบท รายละเอียดสามารถหาฟังเพิ่มเติมใน link ด้านล่าง หรือค้นด้วยคำว่าราหุลใน donhaisok.fm Q: การแสดงฤทธิ์เช่นการย่นระยะทางในเกจิอาจารย์มีอยู่จริงหรือ คนเราสามารถทำตามได้หรือไม่ A: วิชชาแบบนี้มี สามารถทำได้ด้วยกระบวนการคือสมาธิแล้วน้อมไปเพื่ออิทธิวิธีได้ ต้องอาศัยการทุ่มเทการปฏิบัติมาก และต้องมีศรัทธาว่ามีอยู่จริง Q: ต้องอาบัติปาราชิกแล้วปกปิดไว้จะขาดจากความเป็นพระตอนไหน และการปาราชิกมีผลถึงทายาทหรือไม่ A: ขาดจากความเป็นพระตั้งแต่ตอนที่ทำแล้ว เป็นผลเฉพาะบุคคลไม่ส่งผลต่อทายาท ยกเว้นบุคคลที่ปาราชิกได้ไปเป็นอุปัชฌาย์บวชให้ ถือว่าการบวชนั้นไม่สมบรูณ์ เมื่อรู้แล้วก็ต้องสึกไป Q: พระสมัยก่อนไม่ค่อยมีข่าวร้ายขณะเดินธุดงด์ ถือว่าเป็นอานิสงส์บุญบารมีใช่หรือไม่ A: มีอยู่เพียงแต่อาจไม่ได้รับความสนใจ ส่วนอานิสงส์ทำให้แคล้วคลาดก็เกิดจากการที่มีเมตตา เราอาจจะหลงทางได้ แต่ในใจเราจะไม่หลงด้วยสติ Q: เปรตมีอยู่จริงหรือแค่เรื่องเล่าให้กลัว A: ในพระไตรปิฏกระบุว่ามีอยู่จริงเป็นหนึ่งในอบายทั้งสี่ เป็นหนึ่งในหลายธีการสอนของพระพุทธเจ้าที่ชี้ให้เห็นถึงโทษ Q: ความทุกข์เป็นผลจากอดีตที่ทำไว้ การที่จะแก้ทุกข์ได้ เราต้องรู้สาเหตุแห่งทุกข์ก่อน จึงจะดับทุกข์ได้[...]
- 7 ตามใจท่าน (ธรรมะสากัจฉา)…"ถ้ามันยึดถือตรงไหน คุณจะละความยึดถือได้ต้องละตรงนั้น"… Q: มีจิตฟุ้งซ่านมักน้อมไปทางอกุศล แล้วส่งผลต่อร่างกาย ควรทำอย่างไร A: ถ้าจิตดื้อมากพยศมากต้องขนาบให้มาก ต้องมีทักษะเหมือนช่างไม้ อาจจะใช้พุทโธเรียกสติ, มองเห็นสิ่งนี้แล้วคิดไม่ดีก็มองสิ่งอื่น, พิจารณาอสุภะของสิ่งนั้น, พิจารณาเห็นโทษของสิ่งที่เป็นอกุศลดั่งมองเห็นสิวบนหน้า หรือซากศพที่แขวนคอ หรือข่มจิตด้วยจิต หักดิบ ไม่ตามเสียงหรือภาพนั้นไป ให้ฝืน ให้มั่นใจว่าฝึกได้ ทำให้เต็มที่จะเห็นผล ดีคือรู้ว่าไม่ดีตรงไหน แบบนี้จะแก้ได้ ถ้าไม่เคยทำอนันตริยกรรม ไม่ติเตียนสงฆ์ รักษาศีล อราธนาพระรัตนตรัยใหม่ ก็จะเป็นทางที่ไปได้ Q: ตียุงด้วยใจที่วางเฉย บาปหรือไม่ A: มีวิธีป้องกันยุงอยู่หลายวิธี การตีโดยวางเฉยก็เป็นเจตนาที่จะให้ผลมากน้อยเหมือนกับรอยกรีดของมีดลงบนผิวน้ำหรือดินหรือหิน อย่างไรก็ตามแค่มีจิตไม่พอใจก็ถือว่าเป็นบาปแล้ว ควรทำจิตให้มีเมตตา อุเบกขา Q: ไม่เข้าใจพุทธพจน์ที่ว่า "ท่านจงปล่อยความอาลัยในขันธ์ที่เป็นอดีตเสีย จงปล่อยความอาลัยในขันธ์ที่เป็นอนาคตเสีย จงปล่อยความอาลัยในขันธ์ที่เป็นปัจจุบันเสีย จักเป็นผู้ถึงฝั่งแห่งภพ มีใจพ้นวิเศษ แล้วในสังขตธรรมทั้งปวง จักไม่เข้าถึงชาติและชราอีก" A:[...]
- 7 ตามใจท่าน (ธรรมะสากัจฉา)Q: หลีกเร้นที่บ้านอย่างไรให้ได้ผลดีเท่าที่วัด หรือควรออกไปเช่าโรงแรมเพื่อการนี้ A: เช่าโรงแรมก็ได้แต่ต้องมีการควบคุมเรื่องอาหาร คนมาติดต่อ โทรศัพท์ และสุดท้ายควบคุมจิตใจตนเองให้ได้คือสำคัญที่สุด ถ้าควบคุมจิตใจได้ทำที่ไหนก็ได้ กายวิเวกสำคัญน้อยกว่าจิตตวิเวก Q: เมื่อฟังธรรมแล้วเราจะรู้ได้อย่างไรว่า ไม่วิเคราะห์เข้าข้างตัวเองหรือวิเคราะห์มาถูกทางของพระพุทธเจ้า A: ถ้าคิดวิเคราะห์แล้ว ทำให้ราคะโทสะโมหะลดลงนั่นคือมาถูกทาง ให้หลักตั้งอยู่ในอริยมรรคมีองค์ 8 แล้วปริยัตินั้นจะไม่เป็นงูพิษ การวิเคราะห์จะไม่เข้าข้างตัวเองถ้ามีกัลยาณมิตรที่เรารับฟังคำตักเตือนนั้นด้วยความเคารพหนักแน่นและมี cross check Q: การบูชาพระราหูเกี่ยวกับในสุริยสูตรหรือในจันทิมาสูตรหรือไม่ เป็นพุทธพจน์หรือเปล่า A: พระสูตรที่พูดถึงราหูมีอยู่ คือ สิ่งที่ทำให้พระจันทร์พระอาทิตย์ไม่ส่องสว่างเศร้าหมองได้มีสามอย่างคือ เฆฆ หมอก ราหู ทรงเปรียบกลับมาที่จิตใจคนว่า เศร้าหมองได้จากราคะ โทสะ โมหะ หรือจากนิวรณ์ 5 ไม่ได้กล่าวว่าต้องบูชาอย่างไร ต้องไม่งมงายด้วยปัญญา Q: อยากปฏิบัติแบบเป็นขั้นเป็นตอนควรทำอย่างไร A: การศึกษาแบบเป็นขั้นเป็นตอนเหตุปัจจัยต้องพร้อม แต่ถ้ามาเริ่มในปัจฉิมวัยเวลาที่เหลือมีน้อยให้เลือกเอาที่สำคัญ ๆ คือ ตรงที่แก้ปัญหาดับทุกข์ได้ ไม่ต้องไปเริ่มที่ขั้นต้น Q: เป็นห่วงไก่จนลูกน้อยใจทำอย่างไรดี A: มีอะไรก็ทุกข์เพราะสิ่งนั้น แก้อันหนึ่งอีกอันก็ยังไม่ได้แก้ เพราะไม่ได้แก้ที่เหตุ[...]
- 7 ตามใจท่าน (ธรรมะสากัจฉา)"สภาวะที่สะสมคืออาสวะ แต่ความที่ไม่รู้คืออวิชชา" Q: ท่านอัญญาโกณทัญญะใช้เวลากี่วันจึงบรรลุธรรม A: "อัญญาสิ วะตะ โภ โกณฑัญโญติ" เป็นเกียรติยศเฉพาะท่านเท่านั้น เพราะเป็นการตั้งความปรารถนาว่าต้องเป็นสาวกคนแรกที่สำเร็จ ถ้านับตั้งแต่การตั้งจิตไว้ก็แสนกัป ถ้านับจากวันที่พระโพธิสัตว์ออกบวชก็ 6 ปี นับจากวันที่พระพุทธเจ้าตรัสรู้ก็ 2 เดือนที่ได้เป็นโสดาบัน ส่วนอรหันต์ก็บวกไปอีก 3 - 5 วัน Q: ถ้าเข้าใจว่าตัณหาเกิดจากเวทนาตามหลักในปฏิจจสมุปบาท การจะละได้ คือ เดินตามมรรค 8 และการเปรียบวิชชาเป็นปุ่ม on และอวิชชาเป็นปุ่ม off ที่เลื่อนได้ ถ้าเลื่อนปุ่มมาทางวิชชามาก ๆ ก็จะพ้นไปได้ แบบนี้ถูกหรือไม่ A: ที่เข้าใจตามหลักปฏิจจสมุปบาทถูกต้องแล้ว พอปฏิบัติมาตามมรค 8 ความยึดถือจะไม่มี และการเปรียบแบบปุ่มไฟที่เป็นแบบ analog ก็เป็นการเข้าใจที่ถูกต้อง เพราะมันสามารถเลื่อนกลับมาได้ทำให้กลับกำเริบได้ แต่ถ้ามีความเข้าใจบางอย่างวิชชาเกิดขึ้นอวิชชาจะดับไปทันที Q: กิเลสอยู่ในจิตเป็นอาสวะในจิต? การปฏิบัติตามมรรคทำให้อาสวะกิเลสลดลง? กิเลสเหมือนการเกิดแบบห่วงโซ่ไฟ? การคิดเชื่อมโยงแบบนี้ถูกหรือไม่ หรือเป็นการฟุ้งซ่าน A: กิเลสแปลว่าเครื่องเศร้าหมองที่ทำให้การรับรู้ทางใจไม่ชัดเจน ทำให้มีผลออกมาเป็นความรู้สึกร้อนคือโทสะ[...]
- 7 ตามใจท่าน (ธรรมะสากัจฉา)"พุทธพจน์จริง ๆ คือปลอมแล้ว เพราะว่ามันไม่ใช่ธรรมะจริง ๆ ในใจท่าน จนกว่าคุณเอาข้อมูลนั้นมาตั้งในจิตใจจริง ๆ นั่นจึงเป็นสัทธรรมจริง ๆ ไม่ใช่สัทธรรมปฏิรูป คือ คุณผลิตทองคำแท้ของคุณเอง" Q: ความหมายของสัทธรรมปฏิรูป และจะรู้ได้อย่างไร A: สัทธรรมที่แท้จริงคือการที่สามารถนำธรรมะนั้นเข้าสู่ใจไม่ใช่แค่ความจำในสมอง การที่จะทำได้ต้องมีกระบวนการที่ต้องอาศัยพ่อแม่ครูบาอาจารย์ช่วยอธิบาย ซึ่งอาจไม่ใช่พุทธพจน์เป๊ะ ๆ แต่ถ้ามันทำให้ธรรมะเข้าสู่จิตใจได้ ธรรมะที่เข้าสู่จิตใจนั้นคือธรรมะแท้ แต่ธรรมะที่ต่อให้เป็นคำพระพุทธเจ้า แล้วเขาจดลงมาในกระดาษ อันนั้นก็ยังเป็นปฏิรูป Q: สัมมาทิฏฐิระดับโลกียะ และโลกุตระเกี่ยวเนื่องกันอย่างไร ถ้ายังคงมีคำถามสงสัยในภพนี้ภพหน้านั่นคือยังคงมีวิจิกิจฉาใช่หรือไม่ A: คนที่กำจัดวิจิกิจฉาได้แล้วก็ไม่ใช่ว่าไม่มีคำถามเลย เพราะฉะนั้นในที่นี้ไม่ต้องปรับสัมมาทิฏฐิ สิ่งที่ต้องปรับ คือ ปัญญาให้เห็นตามจริงในเรื่องของความไม่เที่ยง แล้วจะทำให้วิชชาเกิดกำจัดอวิชชาได้ สัมมาทิฏฐิในโลกียะที่เป็นบุญก็จะช่วยหนุนในส่วนโลกกุตระ คือ ให้ทำแต่อย่ายึดถือ พอไม่ยึดก็จะไม่ไปต่อ วิชชาเกิดนี้เป็นส่วนของโลกุตระ เกี่ยวเนื่องกันแบบนี้ Q: พระสูตรที่เกี่ยวกับการเกิดของสัตว์ จิตและวิญญาณดวงแรกที่เกิดจากครรถ์เป็นมาอย่างไร A: มาจากจักวรรดิสูตรและอคัญญสูตร เป็นการพัฒนาที่ต่ำลงของเทวดาจนทำให้เกิดมาเป็นมนุษย์ เพราะความชั่วที่มากขึ้นกุศลธรรมที่ลดลง จนเกิดกายหยาบ มีเพศสัมพันธ์ุกัน การเกิดของสัตว์ผ่านครรภ์จึงเกิดขึ้น บุคคลแรกที่อาศัยผ่านครรภ์ คือ[...]
- 7 ตามใจท่าน (ธรรมะสากัจฉา)Q: การพิจารณาอัปปัญญาพรหมวิหาร และทิศทั้ง 6 เป็นการบ่มอินทรีย์ใช่หรือไม่ A: พรมวิหาร 4 เป็นธรรมะที่คุ้มครองโลกมีอยู่แล้ว อัปปัญญา คือ ธรรมะที่พระพุทธเจ้าเติมลงไปเพื่อใช้เป็นบาทฐานในการเข้านิพพาน ในทิศทั้ง 6 คือ การได้รับคนรอบข้างมาดูแล ทั้งสองอย่างนี้อยู่ในมรรค 8 เมื่อทำแล้วก็เป็นการบ่มอินทรีย์ การบ่มอินทรีย์ให้สุกนั้นจะพัฒนาไปได้เมื่อมีผัสสะ ผัสสะมาแล้วยังอยู่ในมรรคได้นั่น คือ รักษาจิตได้ ทำให้อินทรีย์แก่กล้าขึ้นจนบรรลุธรรมในที่สุด Q: ความสว่างไสวของจิตเกิดจากการแผ่จิตใช่หรือไม่ และแผ่เมตตาอย่างไรให้ได้ดี A: ความสว่างไสวเป็นเรื่องของสมาธิเป็นกระแสของความดี สมาธิและการแผ่เมตตาเกื้อหนุนกันให้แต่ละอย่างมีกำลังมากขึ้น การแผ่เมตตาและสมาธิควรทำให้มีได้ตลอดเวลา Q: โยนิโสมนสิการ คือ การคิด วิปัสสนา คือ การไม่คิด ใช่หรือไม่ต่างกันอย่างไร A: คือการคิดเหมือนกันแต่ใช้ในบริบทที่ต่างกัน วิปัสสนาใช้คู่กับสมถะใช้ในทางที่ถูกให้เห็นตามจริง โยนิโสมนสิการ คือ ใคร่ครวญมาในอริยสัจ 4 คิดก็คือพิจารณาแต่ไม่ใช่สัญญา และต้องคิดด้วยจิตที่เป็นอารมณ์อันเดียว ไม่เช่นนั้นจะฟุ้งซ่าน Q: จะรู้ได้อย่างไรว่าจิตนั้นขั้นไหน นิมิตนั้นจริงหรือปรุงแต่ง A: ถ้ายังไม่มีความชำนาญในแต่ละระดับของสมาธิจะไม่สามารถรู้ได้ ต้องทำให้ชำนาญใช้ระยะเวลา [...]
- 7 ตามใจท่าน (ธรรมะสากัจฉา)"เมื่อแก้วิจิกิจฉาได้คำถามเหล่านี้จะหมดไป จากการให้ข้อมูลที่ทำให้เกิดศรัทธา ให้ปัญญาด้วยทุกข์ที่มีอยู่" Q: ตนในความหมายที่ว่า ตนเป็นที่พึ่งแห่งตน เป็นอย่างไร A: ให้พุทธธัมสงฆ์เข้าสู่ใจนี่คือ "ตน" ทำให้เกิดได้โดยฝึกมาตามมรรค 8 ทำให้มากเจริญให้มาก เช่น การฝึกเดินของเด็ก ฝึกเท่าที่กิเลสนั้นจะหมด ฝึกเท่าพอจึงจะเรียกว่าเป็นที่พึ่งได้ อย่าอยาก ให้ฝึกให้เต็มที่ ณ ตรงนี้ Q: คนชั่วเมื่อเทียบกับน้ำจะรั่วแบบไหน ธรรมะข้อไหนชั่วได้ A: อุดปิดกั้นรักษาด้วยความสำรวมอินทรีย์ ด้วยการนี้กุศลธรรมจะรักษาไว้ได้หมด อกุศลธรรมเข้าไม่ได้ Q: เมื่อสงสัยในพระพุทธเจ้าและในคำสอน ควรทำอย่างไร A: เพราะมีความไม่ลงใจความสงสัยเกิดขึ้น แก้ได้ด้วยการเพิ่มศรัทธา จากการที่เห็นว่าทุกข์เป็นที่ตั้งของศรัทธาแล้วมีปัญญาเป็นเหตุ เมื่อทุกข์กับปัญญารวมกันจะก่อให้เกิดศรัทธาที่สามารถแก้ไขความสั่นคลอนนี้ได้ Q: การระลึกชาติของเทวดา, เปรตหรือมนุษย์ต่างกันอย่างไร A: ระลึกได้ต่างกัน เพราะฉะนั้นอย่าประมาท ให้มีความดีพอเพียงที่จะพ้นจากอบายและอยู่ในภพเทวดาได้ Q: วิธีทำจิตปรุงแต่งให้ระงับ ทำอย่างไร A: จิตตสังขารจะระงับได้ด้วยการเจริญอนุสติ 10 ซึ่งเป็นการปรุงแต่งในทางดีทำให้กิเลสลดลง หมั่นทำจิตให้ระงับเป็นประภัสสร มาตามกระบวนการ ไม่บังคับ เพียรแต่พอดี
- 7 ตามใจท่าน (ธรรมะสากัจฉา)Q: เมื่อกล่าวปลงอาบัติแล้วถือว่าพ้นผิดแล้วใช่หรือไม่ และควรกล่าวบ่อยแค่ไหน A: การปลงอาบัติคือการเปิดเผยความผิด เป็นสิ่งที่ควรกระทำ สังฆาทิเสสเป็นอาบัติหนักชนิดที่ปลงได้ แต่ถ้าไม่รีบปลงโทษนั้นจะคูณสองและต้องมีภิกษุ 20 รูปผู้ฉลาดในธรรมวินัยรับรอง อาบัติเล็กไม่จำเป็นต้องกล่าวปลงบ่อย ๆ ดูที่สติเป็นสำคัญ Q: ฆ่าความโกรธแล้วจะได้ประโยชน์อย่างไร A: ฆ่าความโกรธได้เป็นสุข มีผลพิสูจน์ได้ทั้งทางร่างกายและใจ ค่อยๆฝึกไปเหมือนการฝึกสัตว์ Q: ทำไมต้องเล่มเกมส์ของวัฏฏะในเมื่อมันไม่แฟร์ จุดเริ่มจุดจบอยู่ที่ไหน A: พระพุทธเจ้าบอกว่าเบื้องต้นเบื้องปลายไม่ปรากฏ เป็นวงกลม อวิชชาความไม่รู้ทำให้วนไป จะจบเกมส์ได้ต้องทำวิชชาให้เกิด โดยเดินมาตามมรรค Q: จะเริ่มฝึกอานาปานสติควรเริ่มที่อะไร A: เริ่มที่ศีล ตั้งจิตไว้ที่ลมเหมือนผูกสัตว์ไว้กับเสา เสาล้มบ้างเชือกขาดบ้างก็เป็นธรรมดา ความเพียรจะทำให้ไปต่อได้จนเห็นตามความเป็นจริง Q: วิธีขจัดความขี้เกียจทำอย่างไร A: ศรัทธาที่ไม่เต็มทำให้ความเพียรไม่เกิด เพิ่มศรัทธาชนิดมั่นใจไม่งมงาย
- 7 ตามใจท่าน (ธรรมะสากัจฉา)"ถ้าเรามีความสุขในชีวิตของเราดี พอดีมีได้อยู่แล้ว อาจจะสำเร็จมาก อาจจะสำเร็จน้อยแต่มันพอไปได้ อย่างเงี๊ยะ คุณอย่าประมาท เพราะถ้าประมาทแล้ว จุดที่เราประมาทไปมันจะรั่วตรงนั้น มันจะถลำลึกไป มันจะแก้ไขยาก" การเพลิดเพลินในความสุขในชีวิตที่ว่าดีๆนั้น จะเป็นหนทางแห่งความประมาทได้อย่างไร ท่านจะเลือกทางเดินชนิดไม่มีทางหวนกลับเช่นเทวฑัต หรือจะเลือกทางสุขไม่ประมาทแบบยสกุลบุตร ไปร่วมค้นหาคำตอบกันใน episode นี้ได้เลย
- 7 ตามใจท่าน (ธรรมะสากัจฉา)Q: ในปฏิจจสมุปบาทสามารถเพิ่มการไม่รู้ในอริยสัจสี่เป็นอาการที่ 25 ตามความเข้าใจได้หรือไม่ A: สามารถทำได้ เห็นความเชื่อมโยง ฝึกให้เป็นพหูสูต แต่จะขยายอะไรควรกลับมาที่ตัวแม่บทเสมอ Q: มรรค 8 ดูเหมือนง่าย แต่ในชีวิตจริงไม่ง่าย ควรปรับอย่างไร และบ่มจิตอย่างไรให้เป็นพันธุ์ที่ดี A: ไม่ง่าย ไม่ได้หมายความว่ามันยากจนทำไม่ได้ เกินความสามารถความเพียรของบุคคล เพราะขึ้นชื่อว่าความสุขแล้วใคร ๆ จะบรรลุได้โดยง่ายเป็นไม่มี คนที่ทำได้มีมาแล้ว ผู้สอนก็เป็นสัมมาสัมพุทธะ ธรรมก็เป็นสวากขาตธรรม ง่ายกับยากไม่ใช่ว่าสุขหรือทุกข์ จิตเมื่อบ่มต้องใช้เวลา และกระบวนการมาตามอริยมรรค ผลที่ออกมาจะไม่มีอะไรยิ่งไปกว่า Q: ทำไมจึงกล่าวว่าข้อสอบของอรหันต์ คือเอาทั้งหมดมาทดสอบอีก A: ข้อสอบอันเดิม เพราะอวิชชามีอยู่ในทุกส่วน แต่คุณเห็นแง่มุมละเอียดขึ้นเร็วขึ้น มีปัญญา Q: chat กับกัลยาณมิตรอย่างไรจึงพอเหมาะ A: ให้อยู่ในมรรค 8 มีช่วงเวลาพักหลีกเร้น คุยเรื่องที่ไม่ขวางหนทางธรรม Q: ทำเนสัชชิกเพื่ออะไร A: เพื่อขูดเกลากิเลสเป็นข้อที่น่ายกย่อง เพราะถ้าอยู่ลำบากแล้วกุศลธรรมเจริญ อกุศลธรรมเสื่อม ควรทำ
- 7 ตามใจท่าน (ธรรมะสากัจฉา)Q: สังฆาฏิใช้แทนจีวรได้หรือไม่ A: ผ้าของพระอย่างน้อยมี 3 ผืน คือ ผ้านุ่ง (สบง), ผ้าห่ม (จีวร), ผ้าคลุม (สังฆาฏิ) สังฆาฏิมักใช้ห่มซ้อนจีวรเพื่อปกปิดให้เรียบร้อย สามารถใช้แทนกันได้ Q: ความสามารถในการเข้าฌานทำไมไม่เท่ากัน A: เพราะว่าอินทรีย์คนเราไม่เท่ากัน เป็นเรื่องของทักษะ มีตัวแปรหลายอย่างทำให้ผลไม่เท่ากัน ต้องทำอินทรีย์ให้เสมอ ๆ กัน อินทรีย์ คือ ศรัทธา วิริยะ สติ สมาธิ ปัญญา Q: นิ่งแล้วทำไงต่อ A: ถ้านิ่งแล้วยังงง นั่นคือมีอวิชชา ต้องทำวิชชาให้เกิดโดยการเห็นความไม่เที่ยง ใส่ปัญญาเพิ่มสติ สมาธิที่ดี สติที่เกิดจะทำให้ไม่เพลินไปในสมาธินั้น ตรงจุดที่เห็นความไม่เที่ยงจะทำให้ไปต่อจนถึงนิพพานได้ Q: ทำทานน้อยกว่าภาวนาควรปรับอย่างไร A: ควรทำให้บริสุทธิ์ บริบูรณ์ ให้มีความลึกซึ้งในการปฏิบัติ จะพัฒนาตรงนี้ได้ต้องมีศรัทธา วิริยะ และปัญญาที่เกื้อหนุนกัน
- 7 ตามใจท่าน (ธรรมะสากัจฉา)ตามใจท่านในเอพพิโสดนี้ สนทนาธรรมเรื่องของกุศล และอกุศล มาร่วมกันทบทวนว่าอะไรที่จะระงับอกุศลที่เกิดขึ้นแล้ว และที่อาจจะเกิดขึ้นอีกได้? แน่นอนว่าย่อมไม่ใช่การทำบาปอย่างแน่นอน
- 7 ตามใจท่าน (ธรรมะสากัจฉา)Q: พระพุทธเจ้าจะมีอายุยืนเท่าไหร่ก็ได้? ถ้ามีอายุยืนคำสอนจะมากขึ้นด้วยใช่หรือไม่ A: ในมหาปรินิพพานสูตรบอกว่า ถ้าตถาคตต้องการมีชีวิต 1 กัปก็สามารถทำได้ด้วยการเจริญอิทธิบาทสี่ 1 กัป คือ 1 วงรอบของมนุษย์ ท่านจะปรินิพพานเมื่อไหร่ก็ได้ เพราะหน้าที่ของพระพุทธเจ้าจบแล้ว เรื่องสำคัญ ๆ ได้เปิดเผยหมดแล้ว ทำไมต้อง 80 เพราะเคยตรัสกับท่านจุนทะว่า พรหมจรรย์นี้มั่งคั่งยั่งยืน ทำให้มารได้ช่องมาทวงสัญญา ถ้าอายุยืนคำสอนจะมากขึ้นแต่สัดส่วนจะน้อยลง Q: ผีมีจริงหรือ และใช้อะไรแก้กลัว A: ในพระไตรปิฎกกล่าวว่า อมนุษย์มีอยู่จริง สิ่งที่จะใช้สำรอกความกลัวที่เป็นอกุศล คือ ธรรมะที่ประกอบด้วยองค์ 8 Q: ต้องอาบัติสังฆาทิเสสแล้วไม่ได้แจ้ง จะปรับอาบัติอย่างไร A: ปกปิดความผิดนี้ไว้เท่าไหร่ ก็ต้องเอาเวลาที่ปกปิดไว้นั้นมารวมด้วย ถ้าทำซ้ำ ๆ ก็จะโดนปรับหนักขึ้นตามลำดับ Q: ละขันธ์ 5 เข้าสู่นิพพาน แต่ขันธ์ไม่ละจากเรา? และการสื่อจิตถึงพระอรหันต์ที่ปรินิพพานไปแล้วคืออะไร A: สิ่งที่เกิดขึ้นอาจจะเป็นนิมิตก็ได้ ขันธ์ 5 ไม่ได้ละ แต่ละอุปาทานในขันธ์[...]
- 7 ตามใจท่าน (ธรรมะสากัจฉา)"ปฏิบัติธรรมแล้วเราจะต้องหลบโลก มันไม่ค่อยถูก โลกเนี่ยไม่ใช่ของที่เราจะต้องหลบ แต่ว่าโลกเป็นของที่เราต้องทำความเข้าใจ" Q: ปฏิบัติธรรมแล้วอยากหลีกออกจากโลก ควรปรับตัวปรับใจอย่างไรดี เพราะการปฏิบัติธรรมไม่ใช่การไม่รู้ร้อนรู้หนาว A: ให้ดูตัวอย่างของท่านจิตตคฤหบดีที่มีคุณธรรมขั้นอนาคามี แต่ยังคงครองเรือน ทำหน้าที่ไปพร้อมกับการรักษาศีลแปดศึกษาธรรมะไปด้วย การที่จะอยู่ในโลกแบบไม่รู้ร้อนรู้หนาว คือ การไม่ขึ้นๆ ลงๆ ไปตามผัสสะต่างๆ ที่มากระทบ ให้มีจิตอุเบกขา จิตที่มีอุเบกขาจะทำงานที่ชอบก็ได้ทำงานที่ไม่ชอบก็ได้ ส่วนที่ว่า บัดนี้เราทำอะไรอยู่ ให้มองว่าสิ่งที่ทำอยู่นั้นมีมรรคแปดแทรกซึมอยู่มั้ย มีเผลอเพลินหรือขยะแขยงในงานนั้นมั้ย ถ้ามีคือเสียเวลา แต่ทำไปแล้วมีมรรคแปดในงานด้วย อันนั้นดี Q: มือที่ไม่มีแผลจับยาพิษก็ไม่อันตรายเป็นอย่างไร A: เหมือนกับคนที่รู้แล้วทำ บาปน้อยกว่าคนที่ไม่รู้ แล้วทำ เพราะจะมีความระมัดระวังมากกว่า เช่นเดียวกันเมื่อรู้ว่าเป็นยาพิษการจับต้องก็จะระมัดระวัง เหมือนมียามเฝ้ารักษา มีความสำรวมอินทรีย์ไม่ประมาท Q: ความสันโดษทำให้ขี้เกียจ? A: สันโดษ คือ ความพอใจในสิ่งที่มี ได้มีอย่างไรพอใจอย่างนั้น แต่ไม่ใช่ไม่ขวนขวาย คนละเรื่องกับความขี้เกียจหรือขยัน ความสันโดษจะทำให้คุณพอใจสบายใจ ไม่วุ่นวายใจ สันโดษต้องมีส่วนผสมของความเพียรและอิทธิบาท 4 Q: ด้วยเหตุอย่างไรคนจึงมีจิตรักกัน A: อาศัยความเกื้อกูลกันในปางก่อนหรือในปัจจุบัน แต่ทั้งหมดสามารถเปลี่ยนแปลงไปตามเหตุและผลที่เกิดขึ้นได้ Q:[...]
- 7 ตามใจท่าน (ธรรมะสากัจฉา)Q: ประพฤติธรรมมาตลอด สุดท้ายเป็นอัลไซเมอร์ จะไปดีหรือไม่? A: จิตลึกลงไปยิ่งกว่าสมอง การสะสมความดีจนเป็นอาสวะ จิตจะน้อมไประลึกถึงความดีนั้นได้แน่ Q: จิตที่มีกำลังเป็นเช่นไร? A: ถ้าเราอยู่ในสภาวะใดสภาวะหนึ่ง แล้วเราสามารถที่จะรักษาความเป็นสภาวะนั้นได้ นี้คือสิ่งที่บ่งบอกถึงการที่จิตมีกำลัง ฝึกฝนมาตามศีล สมาธิ ปัญญา จิตที่มีกำลังสูงสุดคือ ต้องวางมันได้ เข้าใจในอริยสัจ แข็งอยู่แต่นุ่มนวล Q: ถ้าจะเริ่มภาวนาควรจะรู้อะไร? A: ภาวนาคือพัฒนามาตามมรรคแปด โดยเริ่มต้นที่สติ Q: นิมิตแท้ กับ นิมิตเทียมต่างกันอย่างไร จะหลงหรือไม่ A: คนที่มีปัญญา จะทราบแยกแยะได้ว่าอันไหนจริงอันไหนเทียม ตั้งสติเอาไว้เพื่อให้เห็นตามจริง นิมิตทั้งหมดล้วนมีความไม่เที่ยง Q: ขี้ลืม กังวล ใจร้อน ธรรมะข้อไหนแก้ได้ A: ขี้ลืม- ตั้งสติเอาไว้ แต่ถ้าเป็นส่วนความจำก็ต้องอาศัยปัญญา , กังวล- แก้โดยการเห็นตามเป็นจริง ทำความเพียรให้มากตามมรรคแปด , ใจร้อน- มีความเพียร มีเมตตา และให้เห็นทุกข์มาก ๆ จะวางได้[...]
- 7 ตามใจท่าน (ธรรมะสากัจฉา)อตฺตา หเว ชิตํ เสยฺโยอัตตา หะเว ชิตัง เสยโยชนะตนนั่นแหละ ดีกว่า ชัยชนะเป็นความปรารถนาของสิ่งมีชีวิตทั้งปวง เพราะสามารถทำให้ดำเนินชีวิตต่อไปได้ ไม่ว่าจะเป็นการต่อสู่ในรูปแบบใดก็ตาม บางครั้งชัยชนะก็ทำให้เกิดศัตรู สร้างความเกลียดชัง ความอาฆาต จองเวรกันมากขึ้นและจะเกิดการต่อสู่ไม่มีที่สิ้นสุด อย่างไรก็ตามหากต้องชัยชนะแบบราบคาบต้องเป็น "การชนะตนเอง" เท่านั้นที่จะนำมาซึ่งความสุขตามหลักคำสอนของพระพุทธเจ้า การชนะตนเอง คือ การฝึกตนตามกระบวนการของอริยมรรคมีองค์แปด เป็นความสามารถในการเอาชนะกิเลสของตนเองให้ได้ เพื่อการควบคุมตนเองให้ประพฤติในสิ่งที่ดีงามทั้งทางกาย วาจา และใจ ถือเป็นหลักธรรมที่เป็นหัวใจของพระพุทธศาสนา ซึ่งพระพุทธเจ้าได้ทรงแสดง "โอวาทปาฏิโมกข์" ไว้ในวันมาฆบูชา อันประกอบไปด้วยการทำความดี ละเว้นความชั่ว และทำจิตใจให้ผ่องใส หากชนะใจตนเองได้แล้วนั้น การชนะใจผู้อื่นจะยิ่งนำมาซึ่งสันติภาพ เพราะเป็นชัยชนะที่ไม่เบียดเบียนใคร อีกทั้งชัยชนะนั้นกลับให้แพ้อีกไม่ได้ และเป็นไปเพื่อความรู้ยิ่ง รู้พร้อม นิพพานด้วย ดังเช่นที่องค์สัมมาสัมพุทธเจ้าทรงตรัสรู้เป็นพระอรหันต์ พระองค์ทรงชนะตนเองแล้วจึงชนะใจผู้อื่นด้วยการอบรมสั่งสอนสาวกให้เลื่อมใสในพระธรรม เมื่อปวงชนได้นำหลักธรรมมาประพฤติปฏิบัติย่อมเกิดความสงบสุขบนโลกใบนี้
- 7 ตามใจท่าน (ธรรมะสากัจฉา)สังคมสมัยนี้อยู่ยาก หากมีปัญญาไม่เต็มที่จะเกิดความทุกข์ใจ ความคับแค้นใจ เนื่องจากสิ่งที่น่าปรารถนานั้นแปรเปลี่ยนไป หรือปรารถนาสิ่งใดแล้วไม่ได้ในสิ่งนั้น ซึ่งนี้ก็เป็นไปตามเหตุปัจจัย เงื่อนไข และการปรุงแต่งที่ต่างกัน ธรรมะ 2 อย่าง ที่จะทำให้อยู่ได้ง่ายขึ้น ได้แก่ อดทนให้มากที่สุด ต่อผัสสะที่ไม่น่าพอใจ มีปัญญาเห็นตามความเป็นจริง มีความเข้าใจอย่างถ่องแท้ในเรื่องของอริยสัจสี่ การแสดงออกของปัญญาทางหนึ่ง คือ ด้วยวาจา หากเป็นในทางสัมมาทิฏฐิ จะเป็นศาสตราวุธที่ใช้สำหรับขูดเกลากำจัดกิเลสได้ แต่ถ้าใช้ไปในทางที่ผิด เป็นมิจฉาทิฏฐิแล้ว ก็จะเปรียบเสมือนกับหอกดาบที่ใช้ทิ่มแทงกัน ดังนั้น การพิจารณาใคร่ครวญไปตามปฏิปทาและคำสอนของพระพุทธเจ้า การปฏิบัติตนตามกระบวนการของอริยมรรคมีองค์แปด จึงทำให้เราสามารถที่จะเห็นตามความเป็นจริง คลายกำหนัด ปล่อยวาง และทำที่สุดแห่งทุกข์ (นิพพาน) ได้ แนะนำรับฟังเพิ่มเติมได้ที่ Playlists: ตามใจท่าน S09E25
- 7 ตามใจท่าน (ธรรมะสากัจฉา)การลงทุนในสมาธิ ไม่ต้องใช้ต้นทุนมาก มีความผิดพลาดน้อย ความเสี่ยงไม่สูง และให้ผลตอบแทนมาก จึงเป็นการกระทำที่มีกระแสต่อเนื่องของการเปลี่ยนแปลงที่กรรมเก่าส่งผลต่อกรรมใหม่ ด้วยเหตุปัจจัย เงื่อนไข และการปรุงแต่ง ที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงอันเป็นไปในทางที่ดีได้ สุขหรือเวทนาในสมาธิ เป็นสุขที่ควรเสพ เพราะมีโทษและอันตรายน้อยกว่าความสุขที่เกิดจากกาม ควรทำให้มาก เจริญให้มาก เเป็นการไม่เบียดเบียนผู้อื่น และที่สำคัญ อย่าตกกับดักของมาร ดังนั้น ให้ใช้ปัญญาพิจารณาแยกแยะและต่อสู้กับกิเลสเหล่านั้นด้วยความเพียร ต้องพยายามถอนตัวออกจากกับดักมารให้ได้ ค่อย ๆ ปรับองค์ประกอบของปัญญาในส่วนของสมาธิ เพื่อให้เห็นตามความเป็นจริง ที่จะไม่ให้อาสวะเกิดขึ้น พยายามวางความยึดถือในกายและจิต วางมานะความเป็นตัวตนลง จิตจะร่าเริงในธรรม จนเกิดเป็นสัมมาวิมุตติและสัมมาญาณะขึ้น เมื่อประกอบกับมรรคแปดแล้ว จึงรวมเรียกว่า "สัมมัตตะ 10"
- 7 ตามใจท่าน (ธรรมะสากัจฉา)การกระทำใด ๆ ขึ้นอยู่กับเจตนา หากทำถูกต้อง ก็จะได้บุญ แต่ถ้าทำผิด ก็ได้บาป จึงต้องพิจารณาใคร่ครวญดูว่า การกระทำเหล่านั้นควรที่จะก่อให้เกิดศีล สมาธิ และปัญญา อย่าให้เกิดความเศร้าหมองขึ้นที่จิต ไม่เอาบาปผู้อื่นมาต่อบาปให้ตนเอง ควรวางอุเบกขาเพื่อคลายความขัดเคือง (ปฏิฆะ) ลง และมีเมตตาจิตต่อการกระทำนั้น แนะนำรับฟังเพิ่มเติมได้ที่ Playlists: ใต้ร่มโพธิบท S08E37 , ตามใจท่าน S09E05 , #บุญหรือบาปขึ้นกับเจตนาในการกระทำ
- 7 ตามใจท่าน (ธรรมะสากัจฉา)ดวงดี อาจทำให้เกิดความรู้สึกสุข ในขณะที่ ดวงไม่ดี ทำให้เกิดความรู้สึกทุกข์ แต่ทั้งสุขเวทนาหรือทุกขเวทนาต่างก็เกิดขึ้นเป็นธรรมดา เหตุปัจจัยขึ้นอยู่กับการกระทำของเรา ที่เป็นไปในทางกุศลกรรมทั้งกาย วาจา และใจ ที่เป็นไปในทางที่ดี ทำให้เกิดบุญ ไม่ใช่เรื่องของอาหาร เรื่องของดวง หรือด้วยคำพูดของผู้อื่น ดังนั้น จึงควรไม่ประมาทในการดำเนินชีวิต หมั่นทำความดีและสร้างบุญอย่างสม่ำเสมอ แม้ดวงจะไม่ดี แล้วมีทุกขเวทนาเกิดขึ้น แต่ก็สามารถที่จะสร้างกุศลธรรมได้ ด้วยความศรัทธา ด้วยความเพียรพยายาม มีความอดทนอดกลั้น สามารถแผ่เมตตาให้กับผู้ที่คิดไม่ดีกับเราได้ และปฏิบัติตนตามหลักอริยมรรคมีองค์แปด ที่ให้ดำเนินไปตามทางสายกลางที่พระพุทธเจ้าทรงแนะนำไว้ การระลึกดีได้ในขณะที่เกิดทุกขเวทนา ถือว่าเป็นสัมมาสติ เกิดผลเป็นกาย วาจา ใจที่ดี และให้ผลเป็นความสุขผ่านมาทางตา หู จมูก ลิ้น กาย วนรอบไปเรื่อย ๆ จนทำให้เกิดเป็นสุขเวทนาในขณะที่สร้างความดีได้ในที่สุด
- 7 ตามใจท่าน (ธรรมะสากัจฉา)สภาวะจิตที่ยังข้องกับบุญหรือบาป จะพาให้บุคคลนั้นไปสู่ภพที่ต่างกันได้ ได้แก่ การข้องกับกิเลส เช่น โทสะทำให้ไปเกิดเป็นสัตว์นรก โมหะทำให้ไปเกิดเป็นสัตว์เดรัจฉาน หรือราคะทำให้ไปเกิดเป็นเปรต ในทางกลับกัน หากสามารถ ระลึกถึงทานและศีล ได้ จะทำให้ไปเกิดเป็นเทวดาในสวรรค์ทั้ง 6 ชั้น หรือ หากมีสติ จิตเป็นอารมณ์อันเดียว ระลึกถึงสีลานุสสติหรือจาคานุสสติ ได้ จะทำให้ไปเกิดเป็นพรหม ดังนั้น จึงควรดำรงตนตั้งอยู่ในความไม่ประมาท ปฏิบัติธรรมฝึกจิตในการสั่งสมความดี และต้องมีจุดเหมาะสมที่สามารถทำให้ทั้งกายและจิตสมดุลกันได้ ไม่ว่าอยู่ในระหว่างการทำกิจการงานใด ๆ ก็ตาม ทั้งนี้ สิ่งที่พระพุทธเจ้าทรงสอนนั้น เป็นไปเพื่อสิ่งที่ประกอบด้วยประโยชน์ เป็นเบื้องต้นแห่งพรหมจรรย์ เป็นไปเพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อความรู้พร้อม เพื่อความหน่ายทุกข์ เพื่อคลายกำหนัด เพื่อความดับ และเพื่อนิพพานเป็นที่สุดจบ ฉะนั้น การศึกษาพระธรรมคำสอนจนสามารถเป็นพหูสูตได้ ก็ดี หรือหากยังไม่ลงใจในธรรมะข้อใด ก็ควรนำธรรมะข้อนั้น ๆ มาเทียบเคียงเพื่ออ้างอิงกับแม่บทในพระสูตรหรือพระวินัย ก็จะทำให้เราไม่หนีห่างไปจากพระธรรมคำสอนและดำเนินอยู่ในทางของอริยมรรคมีองค์ 8 มีความละเอียดรอบคอบ สามารถทำความเข้าใจในเนื้อหาเรื่องราวต่าง ๆ ได้ดียิ่งขึ้น แนะนำรับฟังเพิ่มเติมได้ที่ Playlists: สมการชีวิต S02E31 , ใต้ร่มโพธิบท[...]
- 7 ตามใจท่าน (ธรรมะสากัจฉา)"ความดียิ่งเปิดเผยยิ่งเจริญ" ความดี ในที่นี้หมายถึง ความไม่รู้จักอิ่ม ไม่รู้จักพอในกุศลธรรมทั้งหลาย ซึ่งเราอาจจะถูกชักชวนให้ทำดีหรือชั่ว จะด้วยอำนาจของมารหรือเทวดาก็ตาม แต่การกระทำทั้งหมดล้วนเกิดจากตนเองทั้งสิ้น การปฏิบัติธรรมตามหลักอริยมรรคมีองค์ 8 จะทำให้การดำเนินชีวิตเปลี่ยนมาตามทางสายกลาง เข้าถึงนิพพานเป็นที่สุดจบได้ เป็นปฏิปทาให้ถึงการสิ้นกรรม โดยหมายรวมถึงการสิ้นไปทั้งกรรมดีและกรรมชั่ว การสิ้นไปทั้งอาสวะที่เป็นส่วนแห่งบุญและอาสวะที่เป็นส่วนแห่งบาป การสิ้นไปทั้งสุคติและทุคติ
- 7 ตามใจท่าน (ธรรมะสากัจฉา)"อวิชชา" หมายถึง ความไม่รู้แจ้ง เป็นความไม่รู้ในอริยสัจ 4 อันประกอบด้วยความไม่รู้ในทุกข์ ในเหตุเกิดทุกข์ ในความดับทุกข์ และในข้อปฏิบัติสำหรับดับทุกข์ ความไม่รู้ในส่วนอดีต ในส่วนอนาคต ทั้งในส่วนอดีตและอนาคต และความไม่รู้ใน "ปฏิจจสมุปบาท" คือ ธรรมทั้งหลาย เพราะอาศัยซึ่งกันและกัน จึงมีเกิดขึ้น หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า "หลักอิทัปปัจจยตา" "เพราะอวิชชาดับ อวิชชาจึงดับ" เป็นความรู้ที่จะนำไปสู่การตั้งคำถามต่อไปว่า แล้วทำอย่างไร อวิชชาจึงจะดับไป? นี้จึงเข้าสู่กระบวนการที่จะทำให้อวิชชาดับไป ด้วยการมีศรัทธาอันหยั่งลงมั่นไม่หวั่นไหวในการตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า ควบคู่ไปกับปัญญาที่เกิดจากการปฏิบัติตามคำสอนที่รวมลงมาในอริยมรรคมีองค์แปด ทำให้เกิดสัมมาญาณะและสัมมาวิมุตติในที่สุด โดยได้อธิบายรายละเอียดไว้ เริ่มจากการมี สัมมาทิฏฐิที่ถูกต้อง จะทำให้กาย วาจา และอาชีวะบริสุทธิ์ เมื่อ กาย วาจา และอาชีวะบริสุทธิ์ จะทำให้เกิดความเพียร เมื่อมี ความเพียร จะทำให้เกิดสติ เมื่อมี สติ จะทำให้เกิดสมาธิ เมื่อมี สมาธิ จะทำให้เกิดญาณ (ความรู้) เมื่อมี ญาณ (ความรู้) จะทำให้วิชชาเกิด และเมื่อมี[...]
- 7 ตามใจท่าน (ธรรมะสากัจฉา)"นิพพาน" หมายถึง ความดับเย็น ความดับสนิทแห่งกิเลสและกองทุกข์ เป็นที่สุดจบของการปฏิบัติ ทั้งนี้อาจจะมีการกล่าวถึงโดยนัยของการดับในเรื่องต่าง ๆ ได้อีกด้วย เช่น ความดับของกาม (ฌานที่ 1), ความดับของวิตก วิจารณ์ (ฌานที่ 2), ความดับของปิติ (ฌานที่ 3), ความดับของความสุข ที่เหลือแต่อุเบกขาล้วน ๆ (ฌานที่ 4), ความดับของรูปทั้งหมด (อรูปฌาน) เป็นต้น ทางที่จะให้ไปถึงพระนิพพานได้ นั่นคือ อริยมรรคมีองค์แปด ซึ่งเราทุกคนสามารถปฏิบัติตามพระธรรมนี้ และจะเห็นได้ด้วยตนเอง (สันทิฏฐิโก) โดยไม่ต้องเชื่อคำผู้อื่น อีกทั้งยังดำเนินไปเองได้ด้วยศรัทธาที่หยั่งลงมั่นไม่หวั่นไหว ปฏิบัติด้วยความเพียรให้ถึงพร้อมด้วยศีล สมาธิ และปัญญา ช่วงท้ายเอพิโสด ได้ทำการสรุปเนื้อหารวบยอด "มหาปรินิพพานสูตร" ทั้ง 5 ตอน ที่ผ่าน ในช่วงคลังพระสูตร ซึ่งเป็นเรื่องราวเหตุการณ์ 18 เดือนสุดท้ายก่อนการปรินิพพาน แนะนำรับฟังเพิ่มเติมได้ที่ Playlists: เข้าใจทำ (ธรรม) S08E22 ,[...]
- เมื่อมีผัสสะใด ๆ มากระทบ แล้วเกิดมีเวทนาอย่างใดอย่างหนึ่งขึ้น ต้องรู้จักแยกแยะให้ออกด้วยสติระหว่าง กุศลธรรม กับ อกุศลธรรม ทำความเข้าใจเปรียบเทียบในสิ่งนั้น ๆ กลับมาว่า สอดคล้องเชื่อมโยง เป็นไปในทิศทางเดียวกันกับคำสอนของพระพุทธเจ้าหรือไม่ เพื่อที่จะใช้เป็นแนวทางประพฤติปฏิบัติตาม ซึ่งในบางเรื่องนั้นอาจทำได้ยาก แต่ถ้าทำแล้วกุศลธรรมเกิดได้ ก็ให้เราทำ เปรียบไว้กับลูกศรที่ถ้ามันตรงแล้ว ก็ไม่ต้องดัด แต่ถ้ามันงออยู่ก็ต้องดัด ดัดในลักษณะที่ให้มันตรง ไม่ใช่ดัดให้มันหัก ดังนั้น คำสอนของพระพุทธเจ้าจึงรวมลงที่หลักของอริยมรรคมีองค์แปด ซึ่งเป็นกระบวนการที่ต้องทำด้วยวิธีการที่ถูกต้อง ถึงพร้อม มุ่งเน้นไปเพื่อความหน่ายคลายกำหนัด เพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อความรู้พร้อม และเพื่อนิพพาน แนะนำรับฟังเพิ่มเติมได้ที่ Playlists: เข้าใจทำ (ธรรม) S07E43 , ใต้ร่มโพธิบท S08E31 , #กัลยาณมิตร 3 ระดับ
- 7 ตามใจท่าน (ธรรมะสากัจฉา)ทั้ง ความดีและความไม่ดี เปรียบเสมือนเชื้อโรค สามารถแพร่ออกไปทำให้ติดต่อกันได้ ดังนั้นจึงควรทำความดีด้วยการตั้งตนอยู่ในธรรม ปฏิบัติตามอริยมรรคมีองค์ 8 ให้แพร่ความดีของเราออกไป ก็จะมีผลดีขยายออกไปเป็นวงกว้าง เพราะการช่วยเหลือผู้อื่น ก็ถือเป็นการช่วยเหลือตนเอง หรืออีกนัยหนึ่ง ก็คือ การรักษาตนเอง ก็เป็นการรักษาผู้อื่น ด้วยเช่นกัน พระพุทธเจ้าตรัสตอบปัญหาแก่สุภมาณพโตเทยยบุตร ถึงเรื่อง "กรรมย่อมจำแนกสัตว์ให้ทรามหรือประณีตได้" ซึ่งหนึ่งในความทรามหรือความประณีต เป็นเรื่องของปัญญา เหตุปัจจัยที่ทำให้บางคนมีปัญญาน้อย บางคนมีปัญญามาก ก็คือ การที่รู้จักเข้าไปหาสมณะผู้รู้ทั้งหลาย เพื่อสอบถามว่า อะไรเป็นกุศล อะไรเป็นอกุศล อะไรทำแล้วเป็นสุข อะไรทำแล้วเป็นทุกข์ อะไรควรทำ อะไรไม่ควรทำ เพื่อที่ให้รู้จักแยกแยะแจกแจงได้ ทำให้เกิดปัญญา มองอะไรก็เข้าใจแทงตลอดไปหมด ความแก่กล้าของอินทรีย์ ต้องสร้างขึ้นด้วย ความเพียร ที่ทุกคนสามารถทำได้มีได้แน่นอน และสิ่งที่สำคัญก็คือ เมื่อมีความเพียรแล้ว ให้มุ่งเน้นทำให้เกิดความสำเร็จดีงามขึ้นในทางศีล สมาธิ และปัญญา ไม่ใช่เพ่งอยู่ตรงจุดที่ความสบายหรือความลำบาก แนะนำรับฟังเพิ่มเติมได้ที่ Playlists: สมการชีวิต S02E25 , ใต้ร่มโพธิบท S08E30 , คลังพระสูตร S09E30[...]
- 7 ตามใจท่าน (ธรรมะสากัจฉา)"ไม่พักไม่เพียรข้ามห้วงโอฆะได้" คือ ทางสายกลาง หรือที่เรียกว่า "มัชฌิมาปฏิปทา" เป็นทางที่ไม่แล่นดิ่งไปสุดโต่งสองด้าน ที่ไม่ใช่ทั้งประกอบชุ่มอยู่ด้วยกามหรือทรมานตนเองให้ลำบาก ไม่ใช่ทั้งความเห็นว่าสิ่งทั้งปวงมีอยู่ เป็นอัตถิตา ยึดถือในตัวตน หรือความเห็นว่าสิ่งทั้งปวงไม่มีอยู่ เป็นนัตถิตา คือปฏิเสธทุกอย่าง แต่เป็นทางสายกลางคือ อนัตตา ไม่ติดทั้งตัณหาหรือไม่ติดกับทิฏฐิ ไม่ใช่ทั้งกิเลส (ราคะ โทสะ โมหะ) หรือการปรุงแต่งสังขารทั้งหลาย และไม่ใช่ทั้งสุขหรือทุกข์ แต่เป็นทางสายกลางคือ เหนือสุขเหนือทุกข์ อย่างไรก็ตาม หากเราต้องการให้ถึงความหลุดพ้นที่สุดแห่งกองทุกข์ในสังสารวัฏนี้ได้ ต้องปฏิบัติตนตามอริยมรรคมีองค์ 8 ปฏิบัติให้ถึงพร้อมด้วยศีล สมาธิ ปัญญา เหมือนกับการสร้างถนน ที่มีวิธีการทำเหมือนเดิม แต่ในขณะที่สิ่งแวดล้อมเปลี่ยนไปตามระยะทาง ดังนั้น จึงต้องทำซ้ำทำย้ำ และทำอย่างสม่ำเสมอ จนกว่าจะไม่ผิดศีลหรือสามารถทำสมาธิให้มีความละเอียดมากขึ้น ๆ ตามลำดับขั้น ทั้งนี้ต้องไม่ตึงเกินไปเพราะจะทำให้ฟุ้งซ่าน หรือไม่หย่อนไปเพราะจะทำให้เกียจคร้าน การปรารภความเพียร ถือเป็นหนึ่งในอริยมรรคมีองค์ 8 ข้อ "สัมมาวายามะ" ที่เมื่อปรารภมากแล้วเป็นสิ่งที่ดี แต่ต้องมีความพอดีด้วยการปรับอินทรีย์ทั้ง 5 ให้เหมาะสมเสมอ ๆ กัน ยกตัวอย่างเช่น หากเพียรจนตึงไป[...]
- 7 ตามใจท่าน (ธรรมะสากัจฉา)พระพุทธเจ้าทรงตรัสสอนไว้ถึงวิธีละอกุศลธรรมออกจากจิตใจ ซึ่งผู้ที่จะรู้ว่าตนเองมีอกุศลธรรมเกิดขึ้นแล้ว เช่น มีนิวรณ์เกิดขึ้น จะต้องมี “กำลังสติ” เสียก่อน เพื่อให้ทราบว่าตนเองมีอกุศลธรรมเกิดขึ้นในจิตแล้ว จึงจะสามารถใช้ 1 ใน 5 วิธีต่อไปนี้ วิธีที่ 1 ถ้าคิดหรือนิมิต (การกำหนดไว้ในใจ) ซึ่งเรื่องใดเรื่องหนึ่งอยู่ แล้วเกิดอกุศลธรรมขึ้น ก็ให้กำจัดหรือเลิกคิดเรื่องที่เป็นนิมิตนั้นเสีย หรือเปลี่ยนไปคิดอย่างอื่นแทน เปรียบเสมือนช่างไม้ใช้ลิ่มสลักเล็กตอกงัดลิ่มสลักใหญ่ให้หลุดออกได้ วิธีที่ 2 ให้เห็นโทษของอกุศลธรรมนั้น เปรียบเสมือนหนุ่มสาวต้องการส่องกระจกเพื่อแต่งหน้า แล้วเห็นซากสัตว์ตายแขวนที่คอตนเอง จึงรีบเอาออกเสีย วิธีที่ 3 ให้เลิกทำสิ่งที่เป็นอกุศลธรรมนั้นไปคิดเรื่องที่เป็นกุศลธรรมแทน เปรียบเสมือนคนที่มีตา หากไม่ต้องการเห็นรูปใด ๆ ให้หลับตาลงหรือเหลียวมองไปทางอื่น วิธีที่ 4 ให้มองในแง่อื่น คือ ปรุงแต่งให้เป็นอย่างอื่น (Reframe) เปรียบเสมือนการปรับเปลี่ยนจากอิริยาบถที่หยาบเป็นอิริยาบถที่ละเอียดมากยิ่งขึ้น สามารถฉุกคิดขึ้นได้ว่า การคิดเรื่องอกุศลต่าง ๆ ย่อมไม่เกิดประโยชน์ วิธีที่ 5 ให้หักดิบที่จิตเลย เปรียบเสมือนบุรุษแข็งแรงจับบุรุษอ่อนแอที่ศีรษะ ที่คอ หรือที่ลำตัว แล้วข่มขี่บีบคั้นทำให้ร้อนเป็นอย่างยิ่ง เป็นการบีบบังคับตนเองให้เลิกคิดเรื่องอกุศลธรรมนั้นให้ได้ ธรรมะมีคุณค่าในตนเอง เพราะด้วยความแห่งธรรมะเป็นธรรมอันดี[...]
- 7 ตามใจท่าน (ธรรมะสากัจฉา)การรักษาศีล สามารถลงมือทำได้ทันที และทำได้มากอย่างไร้ขีดจำกัด เราจึงต้องมีกำลังใจเป็นความสามารถที่จะทรงไว้หรือตั้งไว้ซึ่งความดีของเรา โดยการมี "สัมมัปปธาน 4" คือ การบำเพ็ญความเพียรในการละบาปอกุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้ว (ละอกุศลเดิม) เพียรในการระวังยับยั้งบาปอกุศลธรรมที่ยังไม่เกิด ไม่ให้เกิดขึ้น (ป้องกันอกุศลใหม่) เพียรในการรักษากุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้วให้ตั้งมั่นและให้เจริญยิ่ง (พัฒนากุศลเดิม) และเพียรในการทำกุศลธรรมที่ยังไม่เกิด ให้เกิดมี (เพิ่มเติมกุศลใหม่) ดังนั้นเราจึงควรรีบลงมือทำเสียแต่ตอนนี้เลย เพื่อไม่เป็นผู้ที่ร้อนใจในภายหลัง พระพุทธเจ้าทรงตรัสเตือนไว้แล้วถึงภัยในอนาคต 5 ประการ ที่จะมีเกิดขึ้นมาแน่นอน แล้วเราจะเป็นผู้ที่ผาสุกอยู่ได้ ก็ด้วยการปฏิบัติตนให้เป็นไปตามหลักศีล สมาธิ ปัญญา เป็นไปตามอริยมรรคมีองค์แปด แนะนำรับฟังเพิ่มเติมได้ที่ Playlists: สมการชีวิต S02E25 , S02E15 , ใต้ร่มโพธิบท S08E27
- 7 ตามใจท่าน (ธรรมะสากัจฉา)เงื่อนไขที่ใช้ประกอบในการตรวจสอบผลที่เกิดจากการปฏิบัติธรรม ไม่ว่าจะเป็น ฌานสมาธิ หรือคุณธรรมในขั้นต่าง ๆ คือ 1) จะไม่ได้ด้วยการบีบคั้น ข่มขี่ หรือปรุงแต่ง แต่จะได้ด้วยความสงบระงับ 2) เป็นสิ่งที่คนชั่วคนถ่อยเสพไม่ได้ คนฟุ้งซ่าน ไม่มั่นใจ ไม่มีศีล จะไม่สามารถทำให้เกิดขึ้นได้ และ 3) ต้องดำเนินอยู่ในทางของอริยมรรคมีองค์แปด ไม่ทำสิ่งที่เป็นอกุศลอันเป็นเหตุให้ต้องหลุดออกนอกทาง ทุกสิ่งที่เกิดขึ้นจากการปฏิบัติล้วนเป็นการปรุงแต่งของจิตทั้งสิ้น ดังนั้นจึงต้องมีสติคอยกำกับไว้ให้ดำเนินไปตามมรรคให้ได้ ซึ่งการบรรลุธรรมจะเกิดขึ้นได้ ก็เมื่อเราสร้างเหตุปัจจัยที่เหมาะสม ประกอบด้วยทางอันประเสริฐ 8 อย่าง (อริยมรรคมีองค์ 8 ที่เป็นยอดแห่งการปรุงแต่ง) ทำการบ่มเพาะอินทรีย์ของเราด้วยทาน ศีล ภาวนา แล้วทำให้เกิดผล เป็นการเข้าสู่พระนิพพานได้อย่างไม่มีเงื่อนไข แนะนำรับฟังเพิ่มเติมได้ที่ Playlists: ใต้ร่มโพธิบท S08E24 , ขุดเพชรในพระไตรปิฎก S03E18
- 7 ตามใจท่าน (ธรรมะสากัจฉา)ในช่วงที่ไวรัส COVID-19 กำลังระบาด เราควรมีความร้อนใจที่ไม่ใช่ความกังวลใจ ทำกิจการการงานใด ๆ ด้วยตระหนักได้แต่ไม่ตื่นตระหนก บริบูรณ์ด้วยสติสัมปชัญญะ และต้องลงมือทำตอนนี้ ทำเดี๋ยวนี้ การถึงพร้อมด้วยโสตาปัตติยังคะ 4 ด้วยการรักษาศีล ไม่ว่าจะเป็นศีลห้าหรือศีลแปด และศรัทธาอย่างหยั่งลงมั่นไม่หวั่นไหวในพระพุทธ พระธรรม และพระสงฆ์ ถือเป็นสัปปายะในการพัฒนา ภาวนา ภาวิตาได้อย่างไม่กังวลใจ สามารถแก้ไขสถานการณ์ และทำให้มรรคแปดเจริญได้ ให้เรามั่นใจได้ว่า กุศลกรรมดีที่เกิดขึ้นนั้น สามารถให้ผลได้ในปัจจุบัน (ฐิตธรรม) เป็นความดีจากการแบ่งปัน เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ และให้ผลได้ในเวลาต่อ ๆ ไป (สัมปรายะ) อันได้แก่ สกิทาคามิผล อนาคามีผล และอรหัตผล
- 7 ตามใจท่าน (ธรรมะสากัจฉา)“ขึ้นชื่อว่าความสุขแล้วใครๆ จะบรรลุได้โดยง่ายเป็นไม่มีความสุขเป็นสิ่งที่ใครๆ บรรลุได้โดยยาก” เราจะเข้าใจความสุข ความสำเร็จได้ ก็ต่อเมื่อมีความทุกข์มาเปรียบเทียบ เช่นเดียวกันกับการจะเข้าใจความทุกข์ได้ ก็ต่อเมื่อนำความสุขมาเปรียบเทียบด้วยเสมอเช่นกัน จะเห็นว่าสุขทุกข์เป็นของคู่กัน มาด้วยกัน เป็นอย่างเดียวกัน เพียงแค่อยู่กันคนละด้านเท่านั้น ความสุขหรือความทุกข์เป็นเวทนา ต้องกำหนดรู้ ทำความเข้าใจ แต่ความอยากกับความไม่อยากเป็นตัณหา จึงต้องละหรือทำให้เบาบางลงจนหมดไป ดังนั้นหากเอาเราความอยากในจิตใจของเราออกไปได้ ก็จะทำให้เราข้ามสุขเหนือทุกข์ได้ อุบายพ้นทุกข์คือ ความสุขที่เกิดจากสมาธิ (เนกขัมมะ) ทำได้ด้วยการตั้งสติเอาไว้เพื่อเข้าหาสมาธิ มีสติปัฏฐาน 4 อันเป็นหนทางเครื่องไปทางเดียว ที่จะทำให้สัตว์ในยุคนี้ข้ามพ้นความโศก ความร่ำไรรำพัน ความทุกข์เฉพาะหน้าได้ ให้ตั้งอยู่ในโสตาปัตติยังคะ 4 กล่าวคือ เป็นผู้ที่มีศีล มีความศรัทธาในพุทโธ ธัมโม สังโฆ ก็จะทำให้จิตใจเข้มแข็ง มีกัลยาณมิตร พิจารณาใคร่ครวญธรรมโดยรอบคอบ เกิดเป็นปัญญาขึ้น เปลี่ยนมุมมองจากเห็นทุกข์เป็นเห็นธรรมแทน และสามารถพ้นทุกข์ได้ในที่สุด
- 7 ตามใจท่าน (ธรรมะสากัจฉา)คำสอนของพระพุทธเจ้า มุ่งเน้นไปที่เหตุ ไม่ใช่กรรมเก่า ซึ่งล้วนเกิดจากการกระทำทั้งสิ้น ไม่ว่าจะเป็นดินฟ้าอากาศ ระบบภายในร่างกาย หรือแม้กระทั่งตัวของเราเอง โดยสามารถสรุปเป็นเหตุแห่งเวทนาทั้ง 6 อย่าง ได้แก่ เหตุแห่งดินฟ้าอากาศ เตรียมตัวไม่สม่ำเสมอ ธาตุลม ระบบภายในร่างกาย น้ำดี ระบบการย่อยอาหาร ผู้อื่นทำร้าย กรรมของตน อย่างไรก็ตาม ความเกิด ความดับ และความพ้น ต่างก็ต้องมีเหตุปัจจัยด้วยกันทั้งนั้น เราจึงควรปฏิบัติธรรมตามหลักอริยมรรคมีองค์แปด เพื่อเป็นแนวทางในการพ้นทุกข์ เข้าถึงพระนิพพานได้ แนะนำรับฟังเพิ่มเติมได้ที่ Playlists: ใต้ร่มโพธิบท S08E15
- 7 ตามใจท่าน (ธรรมะสากัจฉา)พระพุทธเจ้าได้ตรัสไว้ว่า ภัยในอนาคตที่จะเกิดขึ้นกับชีวิตของเราทุกคน จะมีแน่นอน ใน 5 ประการ ดังนี้ภัยจากความแก่ภัยจากความเจ็บไข้ภัยจากข้าวปลาอาหารขาดแคลนภัยจากโจรป่ากำเริบภัยจากหมู่สงฆ์แตกแยกกัน อย่างไรก็ตาม ถึงแม้ภัยในอนาคตข้างต้นนี้ อาจจะไม่เกิดขึ้น แต่ความเสื่อมหรือภัยที่เกิดจากความแก่ ความเจ็บ ความตาย ก็เป็นภัยที่ทุกคนไม่สามารถหลีกเลี่ยงหรือรอดพ้นไปได้เลย เราจึงควร เจริญอริยมรรคมีองค์แปด เพื่อทำจิตใจให้มีความผาสุกอยู่ได้ ไม่ใช่ความพยายามที่จะเปลี่ยนแปลงขันธ์ 5 หรือสิ่งต่าง ๆ ภายนอก เพราะทั้งขันธ์ 5 และสิ่งต่าง ๆ ภายนอก ล้วนเป็นอนัตตา มีความไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนไปเป็นตามธรรมดา ไม่ควรเข้าไปยึดถือ พยายามวางหรือละอุปาทาน ด้วยการปฏิบัติที่พร้อมไปด้วยศีล สมาธิ และปัญญา
- บาป เป็นการกระทำที่เป็นไปในทางกาม พยาบาท เบียดเบียน มีความโกรธเกลียด และเป็นมิจฉาทิฏฐิ ใจ เป็นช่องทางที่จะทำให้เกิด กิเลส ราคะ โทสะ โมหะ มากขึ้นหรือเบาบาง กล่าวคือ หากกิเลสมากก็จะทำให้ล้นออกมาทางกายและวาจา ทำให้เห็นเป็นความไม่ดีหรืออกุศลกรรมในรูปแบบต่าง ๆ ดังนั้นหากเรามีศีล ซึ่งเป็นข้อปฏิบัติที่สามารถควบคุมกายและวาจาได้ ใจก็จะได้รับการรักษาไปด้วย และทำให้กิเลสเบาบางลงได้เช่นกัน การรักษาที่รากเหง้าของการเกิดกิเลส คือ จิตและใจ จะทำให้กายและวาจาได้รับการรักษาไปด้วย โดยการทำดีในทุกรูปแบบถือว่า เป็นการปฏิบัติตามคำสอนของพระพุทธเจ้า เป็นการปฏิบัติบูชาตามหลักอริยมรรคมีองค์แปด ซึ่งล้วนเป็นการกระทำตอบ (ปฏิการะ) และเป็นเครื่องวัดคุณธรรมที่สูงยิ่ง ๆ ขึ้นไป ทั้งนี้การทำดีไม่ได้ขึ้นอยู่ที่ปากหรือความคิดผู้อื่น แต่ขึ้นอยู่ที่การกระทำและความคิดของตนเอง ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญที่สุด
- 7 ตามใจท่าน (ธรรมะสากัจฉา)อินทรีย์ 5 มีลักษณะการไหลไปตามลำดับแห่งธรรม โดยการเริ่มจากการทำจริง แน่วแน่จริง มีความเชื่อ ความลงใจ ความมั่นใจจนเกิดเป็น ศรัทธา ขึ้นมาได้ และการมีศรัทธาในพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ ถือว่าเป็นกำลังใจสำคัญในการปฏิบัติ จนเกิดเป็น วิริยะ (มีความเพียรที่เหมาะสม) และส่งผลให้เกิดเป็น สติ (การระลึกได้ที่ถูกต้อง) เมื่อตั้งสติได้อย่างมั่นคงจะทำให้จิตเป็น สมาธิ (จิตมีอารมณ์เป็นอันเดียว) และเกิดเป็น ปัญญา (เห็นตามความเป็นจริง) ในที่สุด เมื่อเริ่มต้นการปฏิบัติจากจุดเล็ก ๆ โดยมีปัญญาเป็นยอดที่ผ่องใส เมื่อพัฒนาต่อ ๆ ไป จนปัญญากว้างขวางขึ้น แข็งแรงขึ้น เข้มแข็งขึ้น ก็จะส่งเสริมให้ฐานอื่น ๆ มั่นคงมากยิ่งขึ้นตามลำดับเช่นกัน ซึ่งจะเห็นได้ว่า ปัญญาก็ยังเป็นยอดอยู่เหมือนเดิม และหากปัญญามีความบริสุทธิ์ บริบูรณ์สิ้นเชิงแล้ว จะทำให้ละ ราคะ โทสะ โมหะ และอวิชชาลงได้ หลักธรรมที่พระพุทธเจ้าทรงค้นพบเป็นอันดับแรกคือ "ฉันทะ" คือ การที่มีความพอใจที่จะทำที่จะค้นหานิยาม ความหมาย และรายละเอียดของอริยสัจสี่ ดังที่พระอานนท์ได้เคยกล่าวไว้ว่า[...]
- 7 ตามใจท่าน (ธรรมะสากัจฉา)คำสอนของพระพุทธเจ้าเป็นอนัตตา เพราะมีเหตุมีปัจจัย เป็นทางสายกลาง ไม่เป็นไปในแบบที่สุดโต่งของความเห็นทั้งสองข้าง คือ ความเห็นว่าสิ่งทั้งปวงมีอยู่ (อัตถิตา) หรือ ความเห็นว่าสิ่งทั้งปวงไม่มีอยู่ (นัตถิตา) จะเข้าใจความเป็นเหตุเป็นปัจจัยได้ จะต้องมีสัญญา ดังนั้นจึงต้องกล่าวถึงในเรื่องของสัญญาและญาณ ซึ่งสัญญาและญาณจะเชื่อมกันได้ ต้องอาศัยสมาธิ และสมาธิจะเกิดขึ้นไม่ได้หากมีนิวรณ์ อันเป็นเครื่องขวางกั้นเครื่องข้อง โดยเฉพาะอย่างยิ่ง คือ วิจิกิจฉา ซึ่งเป็นความเคลือบแคลงเห็นแย้ง เป็นความไม่ลงใจ รู้สึกไม่มั่นคง ไม่มั่นใจ ฟุ้งซ่าน ปล่อยวางไม่ได้ ทำให้มีอกุศลกรรมเกิดขึ้น เราจะสามารถกำจัดวิจิกิจฉาได้ ก็ด้วยมีความมั่นใจ มีศรัทธาอันหยั่งลงมั่นไม่หวั่นไหวใน พุทโธ ธัมโม และสังโฆ ซึ่งศรัทธานั้น จะทำให้เกิดความเพียร มีการทำจริงแน่วแน่จริง ทำให้จิตเป็นสมาธิ มีปัญญาเกิดขึ้น สามารถเห็นตามความเป็นจริง และเข้าสู่พระนิพพานได้ในที่สุด แนะนำรับฟังเพิ่มเติมได้ที่ Playlists: ใต้ร่มโพธิบท S08E17
- 7 ตามใจท่าน (ธรรมะสากัจฉา)การรักษาศีล สำคัญอยู่ที่การตั้งเจตนา ทำได้มากหรือน้อย ย่อมดีกว่าการไม่ทำเลย ความผิดพลาดต้องมีเป็นธรรมดา ไม่ว่าจะเป็นทางกาย วาจา หรือใจ ดังนั้นต้องเรียนรู้เพื่อการปรับปรุงแก้ไข จึงเป็นลักษณะของการพัฒนา (ภาวิตา) เพื่อการเจริญและรักษาความดีไว้ให้ตลอด นอกจากนั้นแล้ว ควรรักษาจิตตนเองให้ดี ไม่ให้มีความพยาบาท ไม่เต็มไปด้วยราคะ โทสะ โมหะ ให้มีพรหมวิหารสี่และรู้จักวางอุเบกขา จุดประสงค์หลักของศีล คือ ลดขบวนการของการเบียดเบียนทั้งตนเองและผู้อื่น หากมีทางเลือกอื่นในการเลี้ยงชีพตนเองโดยที่ไม่เบียดเบียนผู้อื่น ก็ควรจะค่อย ๆ ปรับไป เริ่มจากการรักษาศีลให้ดี ทำบุญในรูปแบบอื่นเพื่อเป็นการทดแทนขึ้นมา เช่น การให้ทาน การบริจาค การปฏิบัติธรรมภาวนา เป็นต้น ตราบใดที่ยังไม่บรรลุพระนิพพาน ความผิดพลาดย่อมมีเกิดขึ้นได้แน่นอน อย่าคิดว่าจะไม่ทำดี แต่ให้ลงมือทำความดีทันทีและทำความดีนั้นให้เต็มที่
- 7 ตามใจท่าน (ธรรมะสากัจฉา)Q1: เวลาเราสวดมนต์และท่องเร็ว ๆ หรืออ่านบาลีผิด คำสาธยายธรรมเหล่านั้นจะยังศักดิ์สิทธิ์และมีความเป็นกุศลอยู่หรือไม่ การสวดมนต์ หรือ การสาธยายมนต์ หมายถึง การท่องจำคำสอนของพระพุทธเจ้าให้คล่องปากขึ้นใจ เป็นหนึ่งในวิธีการบันทึกคำสอนให้อยู่ได้ตลอดกาลช้านาน ทั้งนี้นัยยะในการสวดมนต์ควรจะต้องจำได้ เข้าใจความหมาย และด้วยอาการแห่งการสวดมนต์ เมื่อได้ยินได้ฟังแล้วจิตเกิดปิติ ปราโมทย์ มีสุข เป็นสมาธิ เห็นตามความเป็นจริงได้ ข้อควรระวัง คือ อย่าสักแต่ว่าสวดแล้วเลิกร้างการหลีกเร้นหรือการปฏิบัติ เพราะหากสวดมนต์แล้วจิตเป็นกังวลว่าจำบทสวดไม่ได้ หรือหมกหมุ่นแต่ความถูกต้องของบทสวด จนทำให้จิตไม่เป็นสมาธิ ก็จะไม่เป็นผลดีกับผู้สวดเองด้วย Q2: ปกติผู้ถามถือศีลแปด ไม่ทานอาหารหลังเวลาเที่ยงวัน แต่บางครั้งในขณะที่ฟ้ายังมืดอยู่ ยังไม่สว่าง ซึ่งปกติเวลาตี 5 เรียกว่า ยามสุดท้ายแห่งราตรี (คือยังเป็นกลางคืนอยู่) จำเป็นต้องทานอาหาร จะผิดศีลหรือไม่ หรือต้องรอให้เห็นพระอาทิตขึ้นก่อนแล้วค่อยทานอาหารได้ใช่หรือไม่ และ "วิกาลโภชนา" หนึ่งในศีลแปดของฆราวาสกับพระ เหมือนหรือต่างกันอย่างไร? อ้างอิงตามพุทธพจน์ ศีลในข้อ "วิกาลโภชนา" หมายถึง การเว้นขาดจากการบริโภคในเวลาล่วงกาลและในเวลาราตรี ซึ่งกาละที่เหมาะสม คือ การที่พระอาทิตย์ขึ้นถือเป็นนิมิตเครื่องหมายและ เวลากลางคืน (ราตรี) ในการดำเนินชีวิตในสังคมปัจจุบันจำเป็นต้องยืดหยุ่นหรือปรับเปลี่ยนตามสถานการณ์ให้เหมาะสม เพราะวัตถุประสงค์หลักของการรักษาศีลคือ[...]
- 7 ตามใจท่าน (ธรรมะสากัจฉา)คำถามเก็บตกจากรายการ "ธรรมะรับอรณ ไลฟ์สด" เมื่อเสาร์-อาทิตย์-จันทร ์ ที่ผ่านมา Q1: เมื่อวันจันทร์ที่ 27 มกราคม 2563 ได้ฟังการตอบคำถามในประเด็นของการฆ่าสัตว์เพื่อเป็นอาหาร เช่น ฆ่าปลา โดยเจาะจงเพื่อทำอาหารนำมาถวายพระ จะเป็นบาปทั้งผู้ถวายและพระผู้รับ หากทราบที่มา ผู้ถามจึงต้องการทราบว่ากรณีพระติสสะที่ชาติก่อนเป็นพรานจับนก ฆ่านก และเผอิญได้พบพระปัจเจกพุทธเจ้า จึงเจาะจงฆ่านกเพื่อนำมาแกงใส่บาตรให้พระฉัน แม้ทำบุญเพียงครั้งเดียว ในกรณีนี้เพราะเหตุใดถึงส่งผลให้พระติสสะในชาติต่อมาได้บรรลุอรหันต์ในช่วงสุดท้ายก่อนสิ้นใจ การฆ่าสัตว์แบบเจาะจงมาเป็นอาหาร ก็ทำให้บุญนั้นมีมลทิน เศร้าหมอง ไม่ผ่องแผ้วในตัวออยู่แล้ ในกรณีของพระติสสะ หรือ "พระปูติคัตตติสสเถระ" ผู้มีกายเน่าและได้รับความทุกข์ทรมานจากเวทนาในความเจ็บป่วยนี้ พระพุทธเจ้าได้ทรงเทศน์ถึงกายท่านที่เน่า กายที่หาสาระไม่ได้ กายที่เป็นรังโรค กายที่ไม่ควรยึดถือเอาไว้ด้วยความเป็นตัวตน ท่านจึงได้บรรลุเป็นพระอรหันต์ก่อนสิ้นใจ ด้วยเหตุปัจจัยที่สร้างไว้ในชาติก่อนที่เคยเป็นพรานนกแล้วขายให้กับอิสระชน ดังนี้ ในชาติสุดท้าย เหตุเพราะเวลาจับนกได้มากเกินกว่าความต้องการซื้อ จึงต้องหักปีกและขานกเพื่อเก็บไว้ขายในวันถัดไป จึงทำให้ท่านเกิดมามีกายเน่าและกระดูกแตก ระหว่างทางที่กำลังจะไปขายนก ได้พบกับพระปัจเจกพระพุทธเจ้าและจิตใจมีความเลื่อมใสมาก จึงนำนกที่จับมาได้ทำอาหารถวาย ด้วยกรรมดีนี้ซึ่งเป็นกรรมที่ไม่ได้ฆ่านกเพื่อนำมาทำอาหารถวายพระปัจเจกพระพุทธเจ้าแบบเจาะจง จึงเป็นเหตุปัจจัยให้ท่านบรรลุธรรมเป็นพระอรหันต์ในชาติสุดท้ายเช่นกัน Q2: ถ้าลูกทำผิด พ่อแม่บางคนเสียใจมากถึงขนาดร้องไห้ แต่พ่อแม่ของบางคนก็รับได้ ไม่ทุกข์ คิดว่าเป็นเรื่องธรรมดา อยากทราบว่าลูกที่ทำผิดนั้นบาปหรือไม่ บาปนั้นได้เกิดขึ้นแล้ว[...]
- 7 ตามใจท่าน (ธรรมะสากัจฉา)"ตามใจท่าน" ในเอพิโสดนี้ เป็นไฟล์เสียง การออกอากาศ "ไลฟ์สด" ณ ห้องส่ง สถานีวิทยุแห่งประเทศไทย เมื่อวันอาทิตย์ที่ 26 ม.ค. 2563 เปิดโอกาสให้ท่านผู้ฟังได้มีส่วนร่วมในการสอบถามปัญหาหรือทักทายกันเข้ามาทางโทรศัพท์ "มาสว่างแล้วเพราะการเกิดเป็นมนุษย์ จะไปสว่างได้ด้วยการมีความดีและทำให้ชีวิตมีกำไร" หัวหน้างานอารมณ์ฉุนเฉียว เกรี้ยวกราดมากขึ้น มีการปะทะกันบ่อย และไม่มีความสุขในการทำงาน ควรใช้หลักธรรมใดในการแก้ปัญหา แก้ไขได้โดยการแผ่เมตตาให้กัน ตั้งแต่ก่อนการกระทบกันด้วยการทำสมาธิ ตั้งจิตไว้ด้วยกับเมตตา แล้วนึกถึงบุคคลนั้นทุกครั้ง จะทำให้พฤติกรรมเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดีทั้งสองฝ่าย ให้ระลึกไว้เสมอว่าการปะทะกันจะทำให้เกิดการผูกเวร ได้บาป ชนะกันด้วยความไม่ราบคาบ ไม่บริสุทธิ์ และไม่บริบูรณ์
- 7 ตามใจท่าน (ธรรมะสากัจฉา)"ตามใจท่าน" ในเอพิโสดนี้ เป็นไฟล์เสียง การออกอากาศ "ไลฟ์สด" ณ ห้องส่ง สถานีวิทยุแห่งประเทศไทย เมื่อวันเสาร์ที่ 25 ม.ค. 2563 เปิดโอกาสให้ท่านผู้ฟังได้มีส่วนร่วมในการสอบถามปัญหาหรือทักทายกันเข้ามาทางโทรศัพท์ คนที่ได้โสดาบัน เขาตัดกิจกรรมคนคู่ ลดลง หรือว่า ใช้ชีวิตปกติ? คุณสมบัติของโสดาบัน คือ มีศีล เพราะฉะนั้น ศีลเป็นเรื่องมีกิจกรรมของคนคู่ได้ไหม? คำตอบคือ ได้ เพราะศีลข้อ 3 ที่ว่าด้วย การไม่เป็นผู้ประพฤติผิดจารีตในกาม เช่น ล่วงภรรยาผู้อื่น ล่วงหญิงที่มารดา บิดาเขารักษาอยู่ ไม่ทำอย่างนั้น เพราะฉะนั้น ถ้าเรามีภรรยาอยู่แล้ว หรือมีสามีอยู่แล้ว เราก็ไม่ล่วงเกินไปจากคู่ของเรา คุณก็มีกิจกรรมคนคู่ได้ ในความที่เป็นคู่ของเรา เช่น คุณไปกินข้าวด้วยกัน กระหนุงกระหนิง โทรหากันจ๊ะจ๋า พูดเกี้ยวกันบ้าง เป็นธรรมดา แต่ไม่เกินเลย ไม่ผิดศีล ไม่ไปทำกับคู่ของคนอื่น จะเป็นหญิงหรือชายก็ตาม "โสดาบัน" คือ คนที่เข้าสู่กระแส เป็นใคร? เป็นคนที่ปรับทิฏฐิให้ถูกต้องแล้ว[...]
- 7 ตามใจท่าน (ธรรมะสากัจฉา)Q1: โดนหัวหน้างานกลั่นแกล้ง ต้องทำอย่างไรตามคำสอนทางพุทธศาสนาหรือมีปัจจัยอะไรเร่งให้กรรมทำงานเร็วขึ้น การไม่ทำความชั่วตามคำชักชวนใด ๆ ถือว่าเป็นการทำความดีของเราแล้ว บางครั้งความดี ความเพียร และความตั้งใจมั่นอาจจะทำได้ยาก เพราะอาจทำให้เกิดเป็นความคับแค้น ความเร่าร้อน หรือผัสสะที่ไม่น่าพอใจเกิดขึ้นในระหว่างที่ตั้งใจทำความดีนั้น ๆ ให้ระลึกถึงคุณความดีของตนเอง ซึ่งถือเป็น สีลานุสสติ สิ่งที่ควรทำความเข้าใจมากกว่าการเร่งให้กรรมทำงานเร็วขึ้น นั่นคือ ต้องทำอย่างไรจึงจะรักษาความดีของเราให้มีตลอดได้ พละ 5 (ศรัทธา วิริยะ สติ สมาธิและปัญญา) จึงเป็นคุณธรรมที่สำคัญใช้หุ้มห่อจิตใจของเราให้สามารถรักษาความดีได้อย่างเต็มที่ไปตลอดรอดฝั่ง ทำให้จิตใจของเราไม่คิดเบียดเบียน ไม่พอใจ หรือไม่คิดทำร้ายผู้อื่นด้วย ความยุติธรรมไม่มีในสังสารวัฏนี้ หากต้องการให้สุดจบจริง ๆ มีที่พระนิพพานแห่งเดียวเท่านั้น การให้ผลของกรรมจะมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับบุญกุศลที่ได้สร้างมาตั้งแต่อดีตชาติจนกระทั่งถึงปัจจุบันชาติที่มากน้อยไม่เท่ากัน ระยะเวลาการให้ผลของกรรมจึงแตกต่างกัน คือ ให้ผลในปัจจุบัน ให้ผลในเวลาถัดมา และให้ผลในเวลาถัด ๆ มาอีก ซึ่งผลกรรมอาจจะเกิดกับตนเอง กับลูก หรือกับผู้อื่นที่เกี่ยวข้องด้วยก็ได้ Q2: สาวกทั้ง 80 รูป มีบ้างหรือไม่ที่บวช ๆ สึก ๆ หลายครั้งแล้วได้บรรลุธรรม ผู้ถามเคยถามหลวงน้าท่านหนึ่งซึ่งมรณภาพไปหลายสิบปีแล้ว ท่านอธิบาย "ชายสามโบสถ์"[...]
- 7 ตามใจท่าน (ธรรมะสากัจฉา)ก่อนอื่น ขอประชาสัมพันธ์เกี่ยวกับการจัดรายการธรรมะรับอรุณ ในแบบ Live สด โดยจัดมีขึ้นที่ สถานีวิทยุแห่งประเทศไทย (สวท.) ในวันที่ 25 - 26 มกราคม 2563 ซึ่งรับฟังรายละเอียดเพิ่มเติมกันได้ในเอพิโสดนี้ Q1: พิมพ์ด่า+พิมพ์โกหก กับ พูดด่า+พูดโกหก รับผลกรรมเหมือนกันหรือไม่ อย่างไร พระธรรมทินนาเถรี กล่าวไว้ว่า "บุคคลตรึกตรองแล้วค่อยเปล่งวาจา" หมายถึง เมื่อคิดอย่างไรจึงแสดงออกไปอย่างนั้น ไม่ว่าจะเป็นการพูดหรือการเขียนก็ตามทั้งที่เป็นการชมและการตำหนิ ด่าว่า เพียงแต่เป็นการกระทำที่มีทวารต่างกันเท่านั้น ความหนักเบาของผลกรรมนั้น มาจากทางใจจะหนักที่สุด หนักมากกว่าทางกายหรือวาจา เพราะเรามีใจเป็นใหญ่ ใจเป็นประธาน ทั้งนี้เปรียบ เจตนาในการกระทำนั้น ๆ เสมือนรอยกรีดบนน้ำ บนทราย และบนหิน เมื่อมีการใช้ Social Media กันอย่างกว้างขวาง จึงทำให้การสื่อสารข้อความต่าง ๆ แพร่กระจายออกไปได้ง่าย รวดเร็ว และไกลขึ้น ซึ่งก็จะทำให้การเบียดเบียนหรือการสร้างบาป อกุศลธรรมเพิ่มขึ้นเช่นกัน Q2: ถ้าเรารู้หรือได้ยินคำที่มีใครคนหนึ่งเขาว่าคนอื่น แล้วมีอีกคนมาถามว่าเราได้ยินอย่างนี้ ๆ[...]
- 7 ตามใจท่าน (ธรรมะสากัจฉา)"จิตใจของโพธิสัตว์" หมายถึง จิตใจแบบเต็มเปี่ยม ใหญ่หลวง และกว้างขวาง ให้ของที่ดีและให้มากเกินกว่าที่ขอโดยไม่มีความเสียดาย อีกทั้งให้ด้วยความนอบน้อมด้วย การให้ในสิ่งที่ตนรักเพื่อสิ่งที่ตนรัก นั่นคือ "โพธิญาณ" ซึ่งสามารถช่วยคนได้มาก ทำความดีได้สูง เป็นการเอาความดีที่ตนมีอยู่สละออกเพื่อให้เกิดความดียิ่งกว่า ทำให้จิตใจสูงขึ้นและบุญเกิดขึ้นทันที คำถาม (1) : ควรหรือไม่ที่จะแนะนำให้โสดาบันตั้งความปรารถนาว่า ชาติต่อไปที่เหลือ ขอได้เกิดเป็นมนุษย์? คำตอบ (1) : การสร้างบารมีหรือบำเพ็ญบารมีเพื่อให้บรรลุธรรมในแต่ละขั้นนั้น จะต้องประกอบด้วยความบริสุทธิ์และความบริบูรณ์ของมรรค กล่าวคือจะต้องมีการปฏิบัติที่ถูกต้อง(ความบริสุทธิ์) และการปฏิบัติด้วยความเพียรที่เข้มข้นและเหมาะสม(ความบริบูรณ์) ในความเป็นพุทโธนั้นๆ เพื่อสะสมความดีในรูปแบบต่างๆที่เป็นบารมี เพื่อให้เกิดการสร้างกุศลธรรมที่เพิ่มขึ้นและทำให้อกุศลธรรมลดลง คำถาม (2) : คำกล่าวที่ว่า "ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว" ได้ดีหมายถึงอะไร ซึ่งในที่นี้ผู้ถามเข้าใจว่า "ได้ดี" หมายถึง กุศลกรรมเพิ่มแต่กิเลสลดลง ใช่หรือไม่? คำตอบ (2) : ตามคำสอนของพระพุทธเจ้า พระองค์หมายเอามรรคแปด ไม่ใช่ขันธ์ห้า ดังนั้นเราจึงต้องแยกแยะให้ถูกต้องระหว่าง "กุศลหรืออกุศล"(จัดอยู่ในมรรค) แต่ "สุขเวทนาหรือทุกขเวทนา"(จัดอยู่ในทุกข์) กล่าวคือ ไม่ว่าจะเกิดสุขเวทนาหรือทุกขเวทนาก็ตามแล้ว เราไม่ลุ่มหลงเพลิดเพลิน แต่มีความอดทน มองเห็นความไม่เที่ยง เกิดอุเบกขา[...]
- 7 ตามใจท่าน (ธรรมะสากัจฉา)"ไม่ว่าจะสุขหรือทุกข์ที่เจอ ต่างก็เป็นทุกข์เช่นเดียวกัน คนที่เจอสุขแล้วไม่เจอทุกข์ เพลิดเพลินแล้วไปในการเกิด ไม่ทำความเข้าใจให้ดีและถูกต้อง จะยิ่งเป็นโทษมากขึ้นไปอีก แต่ในทางตรงข้าม หากผู้ใดพบเจอแต่ทุกข์มากกว่าสุขแล้วทำความเข้าใจด้วยปัญญาอันแจ่มแจ้งชัดเจน จะสามารถระงับทุกข์ที่เนื่องจากการเกิดนั้นได้อย่างถูกต้อง ซึ่งเราสามารถทำความดับไม่เหลือของการเกิดให้มีได้ โดยการทำความเข้าใจและนำไปปฏิบัติตามหลักอริยมรรคมีองค์แปด" Q1: "เราเกิดมาทำไม?" และ "ทำไมจึงต้องเกิด?" "เราเกิดมาทำไม?" ทุกคนต้องหาคำตอบให้กับตนเอง เพราะเกี่ยวเนื่องกับการดำเนินชีวิตและการยังชีพในแต่ละคน ๆ และ "ทำไมจึงต้องเกิด?" เพราะความเกิดมันเกี่ยวเนื่องด้วยปฏิจจสมุปบาท (ธรรมที่อาศัยกันและกันแล้วจึงเกิดขึ้น) จะทำความดับไม่ให้เหลือของการเกิดได้ ก็ด้วยการปฏิบัติตามหลักอริยมรรคมีองค์แปด ในเรื่องของ "ปฏิจจสมุปบาท" ได้อธิบายถึงการเกิดขึ้นพร้อมแห่งธรรมทั้งหลาย เพราะอาศัยกันและกัน การที่สิ่งทั้งหลายอาศัยกันและกันจึงเกิดมีขึ้น จากตัวแม่บทที่กล่าวถึงข้างต้นนั่น การเกิดขึ้นของปฏิจจสมุปบาทเมื่ออธิบายตามหลักไวยากรณ์ของภาษาบาลีแล้ว หมายถึงว่าแต่ละคู่สามารถจบในตัวได้เลย โดยที่ไม่จำเป็นต้องเกิดขึ้นตามลำดับอย่างต่อเนื่อง เช่น ทุกข์เกิดขึ้นเพราะมีปัจจัย 12 เรื่อง (11 คู่ 12 อาการ) เกิดขึ้นสืบเนื่องกันมาเป็นคู่ ๆ Q2: ประเทศไทยเป็นเมืองพุทธ แต่ทำไมมีคนทำผิดศีลธรรมกันมากมาย พระสงฆ์จะมีส่วนช่วยสังคมในเรื่องนี้อย่างไรบ้าง อ้างอิงจาก "สุริยสูตร" และ “อัคคัญญสูตร” พระสูตรว่าด้วยการกำเนิดจักรวาล โลก มนุษย์[...]
- 7 ตามใจท่าน (ธรรมะสากัจฉา)ตามใจท่านกับ 4 คำถามหลัก ในเรื่องที่เกี่ยวกับ อตัมมยตา, โทษของศรัทธา, คฤหัสบรรลุธรรมต้องมีสถานะตามควรอย่างไร และเรื่องของบุญในรูปแบบต่าง ๆ ทั้งนี้ยังมีการแสดงความเห็นในคำกล่าวที่ว่า "คนที่มีลูกคือคนที่ไม่ต้องการไปนิพพาน" พระพุทธเจ้าทรงเปรียบเทียบไว้กับ ดอกบัวหรือใบบัว ดอกบัวหรือใบบัวอาศัยน้ำ อาศัยเกิด แต่พอมันเป็นดอกเป็นใบโตขึ้นพ้นน้ำแล้ว น้ำหรือขี้ตมโดนมัน มันก็ไม่เปื้อนกัน แยกกัน ผ่องแผ้วกัน ไม่โดนกัน นี้เป็นลักษณะหนึ่งที่เราปฏิบัติไปด้วยมรรคจนกระทั่งเข้าถึงนิพพานแล้ว แต่ว่าเราไม่ได้ยึดถือนิพพานนั้น ไม่ได้ไปเกาะเกี่นวในนิพพานนั้น เพราะว่านิพพานนั้นเป็นสิ่งที่เรารู้รอบแล้ว นี้คือความมหัศจรรย์ของมรรคที่ทำให้เกิดผล จึงเรียกว่า มรรคผลนิพพาน นิพพานแล้วก็จึงเป็น "อตัมมยตา" คือ สภาวะที่ไม่เนื่องด้วยสิ่งต่าง ๆ เหล่านั้น ภิกษุแม้นั้น ก็ย่อมรู้ชัดแจ้งซึ่งนิพพาน โดยความเป็นนิพพาน; เมื่อรู้ชัดแจ้งซึ่งนิพพาน โดยสักแต่ว่าเป็นนิพพานแล้ว, ย่อมไม่เป็นผู้หมายมั่นซึ่งนิพพาน; ไม่หมายมั่น ในนิพพาน; ไม่หมายมั่น โดยความเป็นนิพพาน; ไม่หมายมั่นว่า ‘นิพพานเป็นของเรา’ ดังนี้; จึงไม่เป็นผู้เพลิดเพลิน ซึ่งนิพพาน. ข้อนั้นเพราะเหตุไรเล่า? เราขอตอบว่า “เพราะว่า นิพพานเป็นสิ่งที่ภิกษุผู้อรหันต์ขีณาสพนั้นได้รู้รอบแล้ว” ดังนี้แล…มูลปริยายสูตร ว่าด้วยมูลเหตุแห่งธรรม [...]
- 7 ตามใจท่าน (ธรรมะสากัจฉา)ตามใจท่านกับ 2 คำถามหลัก ในเรื่องเกี่ยวกับพระสงฆ์ และ วิธีเจริญอนิจจสัญญาอย่างง่าย ๆ ในชีวิตประจำวัน "คนที่มีราคะ โทสะ โมหะมาก เมื่อถูกเบียดเบียนด้วยกิเลส มันทำให้เห็นทุกข์ได้ชัดเจน พระพุทธเจ้าจึงเอาประโยชน์ในข้อนี้…คุณรู้สึกเครียด คุณรู้สึกโกรธ ให้คุณเห็นความไม่ดีตรงจุดนี้ นี่คือ ทุกขาปฏิปทา ในขณะที่คนที่มีราคะ โทสะ โมหะเบาบาง จิตเขาจะไม่ค่อยได้ถูกเบียดเบียนด้วยกิเลส เมื่อมีผัสสะมากระทบก็สามารถสงบนิ่งได้ ทำให้สามารถเข้าสมาธิได้ง่าย นี่คือ สุขาปฏิปทา แต่ไม่ว่าจะเป็นการปฏิบัติแบบไหนก็ตาม จุดประสงค์ก็คือ ให้เกิดการปล่อยวางให้ได้"
- 7 ตามใจท่าน (ธรรมะสากัจฉา)"การปรารภความเพียร" ถือเป็นหนึ่งในอริยมรรคมีองค์แปดในข้อ "สัมมาวายามะ" ซึ่งไม่ได้เกี่ยวข้องกับความสบายหรือความลำบากที่เป็นเรื่องของสุดโต่งทั้งสองด้าน แต่มีสาระสำคัญอยู่ที่ การทำให้กุศลธรรมที่มีอยู่แล้ว เพิ่มมากยิ่งขึ้น, การทำให้กุศลธรรมที่ยังไม่มี ให้เกิดขึ้นใหม่ได้, การทำให้อกุศลธรรมที่มีอยู่แล้ว ลดลงไปเรื่อย ๆ และการทำให้อกุศลธรรมที่ยังไม่เกิด ไม่ให้เกิดขึ้นใหม่ได้ ทั้งนี้สามารถทำได้ในทุกอิริยาบถ ทุกสถานที่ และทุกเวลา โดยสามารถวัดผลจากการที่ทำให้กุศลธรรมเพิ่มขึ้น ในขณะที่อกุศลธรรมลดน้อยลง รวมถึงต้องประพฤติโดยชอบด้วยทั้งทางกาย วาจา และใจ เพื่อให้เกิดสัมมาทิฏฐิและอริยปัญญาในการเห็นตามความเป็นจริง แนะนำรับฟังเพิ่มเติมได้ที่ Playlists: ใต้ร่มโพธิบท E08S08 , ตามใจท่าน E09S55 , #การทำความเพียรที่ไม่มีทุกข์ทับถม
- 7 ตามใจท่าน (ธรรมะสากัจฉา)Q1: เพื่อความเข้าใจและความก้าวหน้าในการปฏิบัติธรรมที่ถูกต้อง โดยไม่หลงเอาตัวเราไปเป็นผู้รู้ จึงต้องการทราบคำอธิบายอย่างละเอียดว่า จิตกับใจต่างกันอย่างไร จากคำภาษาบาลี มโนคือใจ จิตก็คือจิต ทั้งสองคำต่างกันที่ มโนคือช่องทาง มีเพิ่มเติมโดยยกศัพท์ขึ้นมาอธิบายเพื่อประกอบความเข้าในในที่นี้ คือ วิญญาณ (การรู้แจ้ง, การรับรู้) และส่วน จิต หมายถึง สภาวะแห่งการสั่งสม (อาสวะ) ทั้งสิ่งที่เป็นบุญและสิ่งที่เป็นบาป, การคิดนึกปรุงแต่งให้มีความจิตพิสดารได้ เพราะความที่มีการสั่งสมนี่แหละ ทำให้มันมีความรู้สึกว่าเป็นตัวเป็นตนของมันขึ้นมา มีการปรุงแต่งให้เป็นตัวของมันเองขึ้นมา เพราะฉะนั้นจิตสามารถที่จะเข้าไปยึดถือวิญญาณโดยความเป็นตัวตนได้ จิตนี้สามารถที่จะเข้าไปยึดถือรูปโดยความเป็นตัวตนได้ สิ่งที่จะเข้าไปมีความยึดถือนั้นคือจิต ไม่ใช่ใจ ไม่ใช่วิญญาณ ดังนั้นเราจะต้องมีการฝึกสติให้สามารถที่จะแยกแยะได้ว่า จิตก็อันหนึ่ง ใจก็อันหนึ่ง วิญญาณก็อันหนึ่ง ธรรมารมณ์ก็อันหนึ่ง มีการทำงานต่างกัน “ดูก่อนพราหมณ์ อินทรีย์ ๕ ประการนี้มีอารมณ์ต่างกัน มีทางโคจรต่างกัน ไม่เสวยอารมณ์อันเป็นทางโคจรของกันและกัน…อินทรีย์ ๕ ประการ คือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ (มโน) ย่อมเป็นที่ยึดเหนี่ยวร่วมของอินทรีย์ ๕ ประการนี้[...]
- 7 ตามใจท่าน (ธรรมะสากัจฉา)“อนัตตา” เป็นคุณสมบัติ (Property or Attribute) ของการไม่ใช่ ไม่มี และไม่เป็นตัวตน มีปรากฏอยู่ในทุกสิ่งทุกอย่าง ซึ่งคุณสมบัตินี้จะบ่งบอกถึงการขึ้นกับสิ่งอื่นเพื่อให้เกิดสิ่งใดสิ่งหนึ่งเกิดขึ้น มีความมีอยู่หรือคงอยู่แค่ช่วงเวลาที่เหตุปัจจัยนั้นมีอยู่ มีความไม่เที่ยง เป็นทุกข์ ทนอยู่ในสภาพเดิมได้ยาก เพราะเปลี่ยนแปลงไปตามเหตุตามปัจจัย รวมทั้งมีความแปรปรวนเป็นธรรมดา จึงไม่ควรที่เราจะเห็นสิ่งนั้นว่าเป็นตัวเรา ของเรา หรือมีอยู่ในเรา ดังนั้น เราต้องมีอุบายในการละความยึดถือ ทำความเข้าใจให้ถูกต้องได้ในสิ่งที่ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ และเป็นอนัตตา ด้วยการปฏิบัติตามหลักอริยมรรคมีองค์แปด แนะนำรับฟังเพิ่มเติมได้ที่ Playlists:เข้าใจทำ (ธรรม) E07S07 , ใต้ร่มโพธิบท E08S04 , #อนัตตา ต่างจาก น อัตตา
- 7 ตามใจท่าน (ธรรมะสากัจฉา)Q1: การให้ทานในฆราวาสที่เป็นโสดาบันกับนักบวชที่เป็นโสดาบัน ผลอานิสงค์แตกต่างกันอย่างไร ผู้ถามคำถามมีความสงสัย โดยอ้างอิงมาจาก ทักขิณาวิภังคสูตร ว่าด้วยการจำแนกทานและผลแห่งทาน ซึ่งมีเนื้อหาของ ทักษิณาเป็นปาฏิปุคคลิก 14 (บุคคลที่ควรรับของบูชา) ซึ่งการทำบุญโดยการให้ทานถือเป็นการสละสิ่งของภายนอกออกไป หากจะทำบุญที่สูงขึ้นมาก็ด้วยการรักษาศีลโดยใช้ตัวเราเป็นตัวทำ อย่างไรก็ตาม การใช้จิตใจเราเป็นตัวทำด้วยการมีสัมมาทิฏฐิ มีเมตตาไม่คิดพยาบาท มีความกรุณาไม่คิดเบียดเบียน สละกิเลสออกไป โดยการปฏิบัติธรรม สร้างความดีให้เข้ามาสู่ในใจ ตั้งสติเอาไว้ ทำกำลังสมาธิให้สูงขึ้น ซึ่งถือว่าเป็นบุญที่สูงที่สุด สามารถอยู่เหนือบุญเหนือบาปได้ โดยการดำเนินตามอริยมรรคมีองค์แปดเป็นทางสู่พระนิพพานได้ในที่สุด Q2: จากสุภาษิตที่ว่า “ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว” ทำให้บางครั้งคนเราก็ไปคิดว่า ทำดีต้องได้ดี ต้องมีคนเห็นความดีของฉัน อันนี้เราจะบอกเขาได้อย่างไรว่าทำดีคือดีแล้ว ไม่ต้อง action ให้ใครเห็นก็ได้ ทำดีแล้วสุขในใจก็เพียงพอ การยึดความดีนั้นว่า นั่นของฉันน่าจะเป็นทุกข์ หรือทำบุญแล้วยึดว่านั่นฉันทำแล้วเห็นสิ ฉันเข้าครอบครองความดีนั้นแล้ว อันนี้จะเห็นกันยากว่านั่นก็ทุกข์เหมือนกัน "ฉันทำดี ต้องได้ดี" ในความหมายของปุถุชนทั่ว ๆ ไป ดีแรกนี้ที่เขาหมายถึงกันคือ การให้ทาน การพูดดี ๆ กับผู้อื่น การอดทน เป็นต้น ส่วนดีที่สองที่หมายถึง[...]
- 7 ตามใจท่าน (ธรรมะสากัจฉา)แม้ตัวพระพุทธเจ้าเองก็ไม่มีญาณทัสสนะอยู่ตลอดเวลา แต่จะรู้ได้ก็ต่อเมื่อดึงเอาออกมาใช้งาน ดังนั้นหากต้องการระลึกถึงเรื่องใดเรื่องหนึ่งขึ้นมา ให้ตั้งสติและทำจิตให้สงบเพื่อให้เกิดมีสมาธิ อย่าไปกังวลใจหรือพยายามนึกให้ได้ ซึ่งนั่นถือว่าเป็นนิวรณ์อย่างหนึ่ง ควรเริ่มต้นจากเอาใจจดจ่อเพื่อให้เกิดสติ เพราะในสติก็มีปัญญาหรือญาณแทรกอยู่ด้วย แนะนำรับฟังเพิ่มเติมได้ที่ Playlists: คลังพระสูตร S08E60 , พหูสูต
- 7 ตามใจท่าน (ธรรมะสากัจฉา)หากคิดใคร่ครวญด้วยปัญญาชัดเจนโดยชอบตามวิญญูชนแล้ว จะพบว่า "สิ่งใดสิ่งหนึ่งในโลกนี้ ที่เมื่อเรายึดถือแล้ว จะเป็นผู้หาโทษไม่ได้"นั้นไม่มี นั่นหมายถึงว่า ไม่มีสิ่งใดเลยในโลกนี้ ที่เป็น "อัตตา ตัวตน" แต่ในทางตรงกันข้ามกัน มันเป็น "อนัตตา" เพราะต้องอาศัยสิ่งอื่นมาปรุงแต่ง ทำให้เกิดขึ้น ซึ่งเป็นสัจจะความจริงที่เราต้องเข้าใจว่า "ไม่ควรยึดถือว่าเป็นตัวเรา ของเรา" Q1: ในวรรคที่กล่าวถึง "ฆราวาสธรรม" ชุดที่ (1) สัจจะ ธรรมะ ธิติ จาคะ กับ ชุดที่ (2) สัจจะ ทมะ ขันติ จาคะ เพราะเหตุใดจึงต้องใช้คำไม่เหมือนกัน เป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับฉันทลักษณ์ ซึ่งเป็นข้อกำหนด ระเบียบถ้อยคำที่ทำให้เกิดความลงรับ คล้องจองกันของคำอ่าน เพื่อให้เกิดความไพเราะ ความสวยงามทางด้านภาษา แต่มีความหมายที่ไม่แตกต่างกัน Q2: ได้อ่าน "กสิภารทวาชสูตร" แล้วไม่เข้าใจว่า ทำไมพระพุทธเจ้าจึงไม่รับข้าวปายาสของพราหมณ์ที่เขาถวายหลังจากพระองค์ตอบเรื่องแอกและไถ ในเมื่อพราหมณ์ก็ถวายด้วยความเคารพ และข้าวนี้ก็ไม่มีใครทานได้นอกจากพระองค์และสาวก เพราะเหตุใดจึงให้เททิ้ง ในบางที่มีคนว่าพระองค์ยังคงไปโปรดซ้ำ ไปบิณฑบาตได้เลย เพราะพระพุทธเจ้าไม่ทรงรับอาหารหรืออามิสทานที่เกิดจากการกระทำที่ไม่ดี ไม่ถูกต้อง หรือเป็นมิจฉาทิฏฐิ Q3:ทุกสิ่งอย่างทั้งหมดในโลกนี้[...]
- 7 ตามใจท่าน (ธรรมะสากัจฉา)Q1: ขอคำอธิบายเกี่ยวกับ "สัปบุรุษ" คืออะไร ต้องมีลักษณะอย่างไร ควรประกอบด้วยคุณธรรมใดบ้าง และคำว่า "สัปบุรุษ" มีกล่าวถึงไว้ในพระสูตรใดบ้าง ทั้งนี้คำว่า "สัปบุรุษ" มีความสอดคล้องหรือเกี่ยวข้องกันในแต่ละพระสูตรอย่างไร "สัปบุรุษ" คือนิยามของคำว่า "คนดี" ตามคำสอนของพระพุทธเจ้า มีลักษณะที่ประกอบขึ้นด้วยคุณธรรมต่าง ๆ ที่จะเป็นหลักเกณฑ์ที่ทำให้เรารู้ได้ว่า ตนเองเป็นสัปบุรุษหรือไม่ เป็นได้ดีพอมากน้อยเพียงใด และกำลังคบหากับมิตรที่เป็นสัปบุรุษอยู่หรือไม่ สัปปุริสธรรม 7 อ้างอิงจาก "สังคีติสูตร" ในพระไตรปิฎก เล่มที่ 23 ซึ่งประกอบด้วย ธัมมัญญุตา เป็นผู้รู้จักเหตุ อัตถัญญุตา เป็นผู้รู้จักผล อัตตัญญุตา เป็นผู้รู้จักตน มัตตัญญุตา เป็นผู้รู้จักประมาณ กาลัญญุตา เป็นผู้รู้จักกาล ปริสัญญุตา เป็นผู้รู้จักบริษัท ปุคคลัญญุตา เป็นผู้รู้จักบุคคล สัปปุริสธรรม 7 อ้างอิงจาก "เสขปฏิปทาสูตร" โดยนัยยะของท่านพระอานนท์ ได้กล่าวถึงคุณสมบัติของผู้ที่ประกอบด้วยสัปปุริสธรรม ไว้ 7 ประการคือ เป็นผู้มีศรัทธา คือเชื่อความตรัสรู้ของพระตถาคตว่า แม้เพราะเหตุนี้ๆ พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้นเป็นพระอรหันต์ ตรัสรู้เองโดยชอบ ถึงพร้อมด้วยวิชชาและจรณะ เสด็จไปดีแล้ว ทรงรู้แจ้งโลก เป็นสารถีฝึกบุรุษที่ควรฝึก ไม่มีผู้อื่นยิ่งกว่า[...]
- 7 ตามใจท่าน (ธรรมะสากัจฉา)"รักษาตนคือรักษาผู้อื่น รักษาผู้อื่นก็คือการรักษาตนเอง" เราสามารถตอบโต้คนไม่ดีด้วยความอดทน ด้วยการไม่เบียดเบียน ด้วยเมตตาจิต ด้วยความรักใคร่เอ็นดู ซึ่งได้ชื่อว่ารักษาทั้งตนเองและผู้อื่น ทั้งนี้จะต้องปรับกลยุทธการรับมือตามสถานการณ์ด้วย รู้จักรักษาตัวรอด ต้องทรงจิตของเราที่จะรับมือกับผัสสะต่างๆให้ได้โดยการปฏิบัติธรรมอย่างต่อเนื่อง ใคร่ครวญธรรมอย่างสม่ำเสมอ และปฏิบัติธรรมอย่างสมควร ความจริงใจที่สุดคือ อริยสัจสี่และข้อปฏิบัติตามอริยมรรคมีองค์แปด รวมถึงเงื่อนไขของความเป็นคำจริงหรือไม่ มีประโยชน์หรือไม่ และเมื่อฟังแล้วเขาจะมีความพอใจหรือขัดเคือง ความดีสามารถวัดได้จากการกระทำเมื่อทำแล้วทำให้มีกุศลธรรมเพิ่มขึ้น และอกุศลธรรมลดต่ำลง เราต้องไม่กระทำตนอย่างที่พระพุทธเจ้าทรงเรียกว่า บุคคลสุดท้าย หรือ "The Last Man" กล่าวคือ "อย่าให้ความดีมาสุดจบที่เรา" Q1: วิธีการรับมือกับความเห็นแก่ตัว ทั้งจากตนเองและผู้อื่น ต้องมีความอดทน อย่าให้มีอกุศลธรรมเกิดขึ้นในจิตของเรา การตอบโต้กลับไปเพราะมีความเป็นอัตตาตัวตน ถือว่าเห็นแก่ตัวเช่นกัน ไม่ถูกต้องตามธรรม Q2: เราควรปฏิบัติตนหรือวางใจอย่างไร เมื่อ “พวกมาก ลากไป” ล้วนทำความผิด ในขณะที่เราทำสิ่งที่ถูกต้อง แต่กลับโดนคนทำผิดใส่ร้ายและประนามต่อหน้าผู้อื่น ในบางสถานการณ์ความจริงใจก็ใช้กับคนบางคนไม่ได้ ควรมีเงื่อนไขเช่นไรในการเลือกใช้ความจริงใจทางธรรม เพื่อประยุกต์ปรับใช้ใช้กับเหตุการณ์ทางโลก สัจจะความจริง สามารถใช้ได้กับทุกสถานการณ์และทุกบุคคล แต่ที่บางคนไม่สามารถยอมรับได้เพราะถูกกิเลสครอบงำ เงื่อนไขเดียวที่สามารถใช้ได้คือ "ต้องรู้กาละที่เหมาะสมในการที่จะกล่าววาจานั้น" หรือหมายความว่า ต้องบอกความจริงในเวลาที่เหมาะสม ซึ่งเราต้องมีปัญญาแยบคาย มีความรอบคอบ Q3: แค่ไหนถึงจะเรียกว่าดี ด้วยเหตุของความดีแต่ละคนไม่เท่ากัน[...]
- 7 ตามใจท่าน (ธรรมะสากัจฉา)จุดประสงค์หลักในคำสอนของพระพุทธเจ้า คือ การมีปัญญาในการตัดกิเลส ปล่อยวางความยึดถือในกายลงได้ ซึ่งจะสามารถปล่อยวางได้เร็วหรือช้าก็ขึ้นอยู่กับอินทรีย์ที่แก่กล้าของแต่ละบุคคล โดยต้องปฏิบัติให้มากตามแนวทางต่อไปนี้ สุขาปฏิปทา โดยการตั้งจิตให้เข้าสมาธิ ไม่ต้องพิจารณา สำหรับผู้ที่มีราคะ โทสะ โมหะ เบาบาง ทุกขาปฏิปทา โดยวิธีการใคร่ครวญ พิจารณาให้เห็นทุกข์ เห็นความเป็นของไม่เที่ยง เห็นความไม่สวยงาม เห็นความเป็นของปฏิกูล สำหรับผู้ที่มีราคะ โทสะ โมหะ แก่กล้า Q1: เมื่อเป็นผู้ที่มีความรักในวิชากายวิภาคศาสตร์ (Anatomy) เป็นชีวิตและจิตใจ จะฝึกปฏิบัติในรูปแบบอสุภกรรมฐานอย่างไรให้ได้ผล ต้องเปลี่ยนมุมมอง พิจารณาเห็นถึงความเป็นของไม่สวยงาม ความเน่าเหม็นของร่างกาย ไม่ตั้งความพอใจในสรีระของตนเอง เห็นกายเป็นของไม่น่ายึดถือ เป็นของไม่เที่ยง เพื่อการจางคลายและปล่อยวางลงได้ Q2: ต้องทำบุญอย่างไร มากน้อยเพียงไร จึงจะได้ผลบุญที่ดี ได้ผลบุญที่มาก และมีวิธีดูอย่างไรว่าเราทำบุญไปมากพอแล้ว การทำบุญมากเพียงพอที่จะเหนือบุญและเหนือบาป นั่นคือ การบรรลุธรรมเข้าสู่พระนิพพาน หากยังไม่ถึงพระนิพพานเพียงใดก็ควรค่อย ๆทำบุญอย่างต่อเนื่องให้ละเอียดลึกซึ้งมากยิ่งขึ้น ไม่เมาบุญ เพื่อการสละกิเลสและสละความยึดถือ (อุปธิ) ลงได้ ให้ได้ผลบุญมากเพียงพอ เป็นหนทางเข้าสู่พระนิพพานได้ในที่สุด Q3: เราสามารถนำหลักของ “บุญกิริยาวัตถุ 10” มาประยุกต์ใช้กับการดำเนินชีวิตประจำวันได้อย่างไร? การทำบุญที่เกิดจากการคิด (สัมมาทิฏฐิ ไม่พยาบาท[...]