00:00
1X
Sorry, no results.
Please try another keyword
- เหตุปัจจัยแห่งความตาย - เหตุปัจจัยแห่งการตายมีมาก เกิดขึ้นเป็นธรรมดา ไม่ใช่เรื่องยาก ความตายต้องเกิดขึ้นกับทุกคนแน่นอน - การรักหรือพอใจในสิ่งใดมาก หากไม่ได้สิ่งนั้นมา “จะตาย” ปัญหาไม่ใช่อยู่ที่การตาย แต่ปัญหาอยู่ที่ “ความอยาก (ตัณหา)” - เพราะมีตัณหา จึงมีอุปาทาน (ความยึดถือ) เพราะมีอุปาทาน จึงมีภพ (สภาวะ) เพราะมีภพ จึงมีความเกิด เพราะมีความเกิด จึงมีความตาย ความตายไม่ใช่เครื่องมือให้พ้นจากทุกข์ - ความตายเป็นเรื่องที่เกิดขึ้นเป็นธรรมดา ความตายไม่ใช่ตัวแก้ปัญหา เพราะปัญหาไม่ได้อยู่ที่ความตาย แต่ปัญหาอยู่ที่ความอยาก ดังนั้น แม้จะตายแต่ถ้ายังมีตัณหาหรืออวิชชาอยู่ ก็เป็นเหตุให้ไปเกิดใหม่ เมื่อเกิดใหม่ก็ต้องเจอปัญหาอีก ต้องเจอสิ่งที่เป็นทุกข์อีก ต้องตายอีก ซึ่งความทุกข์ที่จะต้องไปเจอปัญหาใหม่นั้นเป็นสิ่งที่ไม่แน่นอน - ความตายเป็นตัวทุกข์ ไม่ใช่เครื่องมือให้พ้นจากความทุกข์ ทุกข์เป็นสิ่งที่ควรกำหนดรู้ คือ ให้รู้ว่าเหตุปัจจัยของความตายคือการเกิด การเกิดมาจากภพ ภพมาจากอุปาทาน อุปาทานมาจากตัณหา ถ้ามีตัณหามากมีอุปาทานมาก ความทุกข์ก็จะมาก - การฆ่าตัวตายเป็นบาป (ยกเว้นบางกรณีในสมัยพุทธกาล) การฆ่าตัวตายด้วยทิฏฐิที่ไม่ถูกต้องอาจต้องไปเกิดในนรก ซึ่งเป็นภพที่มีความทุกข์มาก ความสุขน้อย[...]
- Q1: เมื่อมรณภาพ ทรัพย์สินของพระสงฆ์ตกแก่ใคร A: ของส่วนตัวของพระสงฆ์ ถ้ามีการระบุว่าให้แก่ใครก็เป็นไปตามนั้น แต่ถ้าไม่ระบุก็จะตกเป็นของพระอุปัฏฐาก ถ้าไม่มีพระอุปัฏฐากก็จะแบ่งกันในหมู่สงฆ์แล้วแต่ตกลงกัน Q2: ฟังข่าวแล้วเกิดความคิดให้คนทำผิดได้ไม่ดี เป็นบาปหรือไม่ A: บาป เพราะมีจิตคิดประทุษร้าย - เวลาที่เห็นคนอื่นทำไม่ดี ให้เราเรียนรู้ว่าความดีจะเกิดได้แบบไหน ความดีไม่อาจเกิดขึ้นได้ด้วยการทำไม่ดีต่อ ทำร้ายต่อ หรือตอบโต้ด้วยสิ่งที่เป็นอกุศลธรรม เปรียบได้กับพื้นบ้านสกปรก ไม่อาจสะอาดได้ด้วยสิ่งปฏิกูลแต่ต้องใช้น้ำสะอาดมาชะล้าง ความสกปรกจึงจะหายไปได้ ดังนั้น ความดีจึงจะเอาชนะความไม่ดีได้ - สื่อควรจะลงข่าวดีๆ มากกว่าข่าวไม่ดี เพราะคนจะได้เอาไปเป็นตัวอย่างได้ Q3: เพ่งโทษผู้อื่น ปั่นให้คนอื่นเกลียดตาม A: ลักษณะคนดี 4 อย่าง และคนไม่ดี 4 อย่าง - คนพาล (คนไม่ดี) 1. เพ่งโทษ = เห็นแต่ความไม่ดีของผู้อื่น, โทษของผู้อื่นเพียงนิดเดียวแต่เอามาขยายความให้มาก 2. ลบหลู่คุณท่าน = ดูแคลนด้อยค่าสิ่งที่ผู้อื่นทำดี 3. ยกตน = ตนทำดีเพียงนิดเดียวแต่เอามาขยายความให้มาก[...]
- ช่วงไต่ตามทาง: เล่นโทรศัพท์มากเกินไป A: ผู้ฟังท่านนี้ใช้เวลาไปกับการเล่นโทรศัพท์มากเกินไป จึงแก้ไขด้วยการแบ่งเวลาทำงานกับการเล่นโทรศัพท์ให้ชัดเจน หรือปิดโทรศัพท์แล้วไปทำอย่างอื่น เช่น ไปหลีกเร้น ช่วงปรับตัวแปรแก้สมการ: สันโดษกับการเพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน วิธีเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน มีดังนี้ 1. ทำความเข้าใจเรื่องสันโดษที่ถูกต้อง - “สันโดษ” หมายถึง ความพอใจ ความยินดีตามมีตามได้ในสิ่งที่เรามี พระพุทธเจ้าให้มีทั้งสันโดษและไม่สันโดษ คือ = ให้สันโดษ (รู้จักอิ่มจักพอ) ในปัจจัยสี่ สิ่งของภายนอก กาม = ไม่สันโดษ (ไม่รู้จักอิ่มจักพอ) ในกุศลธรรมทั้งหลาย เช่น อิทธิบาท 4 - เมื่อมีความเข้าใจเรื่องสันโดษที่ถูกต้องแล้ว จะสามารถแยกแยะเรื่องอื่น ๆ เพื่อนำไปสู่การเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานได้ 2. เจริญอิทธิบาท 4 (1) ฉันทะ = มีความพอใจในการทำงาน (2) วิริยะ = ความเพียร ความอุตสาหะ (3) จิตตะ = ความเอาใจใส่[...]
- 1 สมการชีวิตQ1: ชีวิตที่พลิกผันกรณี The icon A: เรื่องราวที่เกิดขึ้นทำให้เห็น 1. เห็นโลกธรรม ความไม่เที่ยง คือ สุขทุกข์ ได้ลาภเสื่อมลาภ สรรเสริญนินทา 2. เห็นการตั้งอยู่ในความประมาท เมื่อมีสุข ไม่ได้สังเกตเห็นความไม่เที่ยงของความสุขนั้น เมื่อความสุขนั้นเปลี่ยนแปลงไปก็จะเกิดทุกข์มาก 3. ค่านิยมของคนสมัยนี้ คือ ความสำเร็จทางวัตถุ ทางกายภาพ แต่ค่านิยมของคนสังคมที่ควรจะมี คือ ความเป็นผู้มีศีล ซึ่งเครื่องหมายของผู้มีศีลคือ ดูว่าเมื่อถูกกระทำ แนวความคิด การกระทำทางกาย คำพูด เป็นไปในทางที่ดี แต่ทั้งนี้ ก็มีโจรเสื้อนอก คือ สร้างภาพภายนอกว่าเป็นคนดีแต่ความจริงกำลังหลอกคนอื่นอยู่ เราจึงต้องป้องกันตัวเราเอง ด้วยการเข้าใจความไม่เที่ยงของสุขทุกข์ เราก็จะออกจากทุกข์ได้เร็ว ถือเป็นบทเรียน ไม่ลืมสิ่งที่เกิดขึ้นแต่ก็ไม่อาฆาตใคร Q2: การเทศน์ของพระสงฆ์ A: ด้านภายนอก: ไม่เทศน์ให้ผู้ที่ยังไม่พร้อมในการฟังธรรม เช่น ถืออาวุธในมือ สวมหมวก สวมรองเท้า อยู่ในที่สูงกว่า หรือแสดงถึงความไม่เคารพ - ด้านเนื้อหาในการเทศน์: ไม่พูดเรื่องโลก[...]
- ช่วงไต่ตามทาง : ธรรมอันเป็นเครื่องป้องกันความขลาด - คุณแม่สมบูรณ์อายุ 80 ปี ทางด้านร่างกายได้รับการดูแลอย่างดีจากลูกหลาน แต่ด้านจิตใจมีความร้อนใจ มีความกังวลใจในลูกหลานมาก จึงให้สมาทานพระรัตนตรัยและสมาทานศีล เมื่อมีศีลแล้วก็จะไม่มีความร้อนใจ แต่จะอยู่ได้นานแค่ไหนนั้น ขึ้นอยู่กับกำลังของสติ จึงให้ภาวนา “พุทโธ” เพื่อเป็นหลักกำหนดสติ ให้จิตมีสติตั้งไว้ พร้อมกับให้มีปัญญาร่วมด้วย ศีลกับปัญญาจะทำให้เกิดสมาธิได้ - วิธีขจัดความกังวลใจในเรื่องต่าง ๆ (1) กังวลใจในสิ่งของ = ให้เข้าใจว่า “สิ่งทั้งหลายเป็นของไม่เที่ยง” ให้คลายความกังวลผูกพันต่อสิ่งนั้น (2) กังวลใจในบุคคล = ให้เข้าใจว่า “สัตว์ทั้งหลายมีกรรมเป็นของตน ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว” ให้คลายความกังวลในบุคคลนั้น (3) กังวลใจในกายของตน = ให้เข้าใจว่า “กายนี้เป็นของที่เกิดมาจากธาตุดินน้ำลมไฟ มีความแตกไปเป็นธรรมดา มีความเสื่อมไปเป็นธรรมดา อย่าไปยึดถือกังวล เปรียบเหมือนภาชนะหม้อดินที่เก่าแล้วมีรอยรั่ว หันไปเอาภาชนะทองคำดีกว่าซึ่งเปรียบได้กับกายของเทวดา” (4) กังวลใจในชาติภพหน้าของตน = ให้เข้าใจว่า “ถ้ามีกรรมดี ก็จะไปในที่ที่ดี” ก็จะไปสวรรค์ได้ ให้นึกถึงทาน[...]
- Q1: เสพติดการเล่นมือถือ social media แก้อย่างไร A: อาการเสพติด ไม่ว่าอะไรก็ตาม คือ การเสพติดเวทนา (ความรู้สึกที่เป็นสุข) วิธีแก้ในทางธรรมะ คือ ต้องมีปัญญาเห็นว่า ตัณหาทำให้เกิดความพอใจในเวทนานั้น และเห็นตามความเป็นจริงว่า “เวทนาเป็นของไม่เที่ยง” ก็จะเกิดความเบื่อหน่ายคลายกำหนัดยินดีในเวทนานั้นได้ - การเสพติด Social Media แยกเป็น 2 ระดับ (1) ระดับความเพลินที่ยังควบคุมตัวเองได้ = แก้โดยวางแผนล่วงหน้าและแบ่งเวลาให้ชัดเจนว่าจะใช้เวลาทำสิ่งใดกี่นาทีโดยไม่เล่นมือถือ การวางแผนล่วงหน้าจะทำให้มีกำลังใจในการทำสิ่งนั้น ณ เวลานั้น ซึ่งต้องอาศัยความสม่ำเสมอก็จะเกิดความมีระเบียบวินัยขึ้นมา (2) ระดับความเพลินที่ควบคุมตัวเองไม่ได้ ถ้าไม่ได้เล่นจะอารมณ์เสีย ก้าวร้าว = แก้โดยต้องงดการเล่นเลย ร่วมกับปรึกษาแพทย์ เมื่ออาการดีขึ้นแล้วจึงค่อยมาทำความเข้าใจว่าเวทนาเป็นของไม่เที่ยง - การเสพติด Social Media เป็นการเสพติดความรู้สึกที่เป็นสุข อาจมีปัญหาอื่นที่เป็นสิ่งไม่น่าพอใจแฝงอยู่ก็เป็นได้ เช่น ปัญหาครอบครัว การเรียน ความสัมพันธ์ เป็นต้น ก็ต้องหาสาเหตุแล้วตามไปแก้ปัญหาเหล่านั้น Q2: วิธีสร้างวินัย[...]
- ช่วงไต่ตามทาง: - ผู้ฟังท่านนี้ประกอบกิจการรับเหมาก่อสร้าง เมื่อปี 2560 สถานการณ์เศรษฐกิจไม่ค่อยดี แต่ได้ปฏิบัติธรรม ตั้งอยู่ในศีลธรรม ทำสมาธิ จิตเกิดความสงบ ได้ตั้งจิตอธิษฐานด้วยบุญกุศลของตนขอให้มีงานเข้ามา ผ่านไปไม่ถึงสัปดาห์ มีงานเข้ามาเป็นโครงการใหญ่ หลังจากนั้นชีวิตก็พลิกผันไปในทางที่ดีหลายเรื่อง มีเงินเหลือเก็บ - คนที่ตั้งอยู่ในศีลธรรม ไม่คดโกง บุญก็จะส่งผล ให้สามารถรักษาตัวได้ ช่วงปรับตัวแปรแก้สมการ: ธรรมะ 14 ประการ เพื่อการบริหารทรัพย์ - ธรรมะ 14 ประการนี้ จะทำให้ผู้ครองเรือนซึ่งยังยินดีด้วยเงินทองไม่ตกเป็นทาสของเงิน รู้จักใช้เงินให้เป็น และกำจัดอะไรที่ไม่ดีเกี่ยวกับเงินทองออกไปได้ 1. อาหารของโภคทรัพย์ = ต้องมีความขยัน จะทำให้มีโภคทรัพย์มากขึ้น อย่าขี้เกียจ 2. บริหารจัดการทรัพย์ = สัมปทา 4 ได้แก่ การทำการงานปกติด้วยความขยัน, รักษาทรัพย์ (เก็บออม ลงทุน), มีกัลยาณมิตร (ศรัทธา ศีล จาคะ ปัญญา) และมีสมชีวิตา (ใช้จ่ายทรัพย์อย่างเหมาะสม[...]
- Q1: ขโมยดวง A: บุญบาป ขโมยกันไม่ได้ ใครทำคนนั้นได้ ทำให้กันก็ไม่ได้ ไม่เช่นนั้นพระพุทธเจ้าคงแบ่งบุญให้ทุกคนพ้นทุกข์ไปแล้ว การเสริมดวง (ดวงดี) = ทำความดี มีสัมมาทิฏฐิ (เห็นว่า สุขทุกข์เกิดกับตนโดยมีเหตุปัจจัย เช่น กรรมเก่า การเตรียมตัวไม่สม่ำเสมอ ดินฟ้าอากาศ ผู้อื่นทำร้าย ปัญหาสุขภาพ) การขโมยดวง (ดวงตก) = ทำความชั่ว คบเพื่อนชั่ว มีมิจฉาทิฏฐิ (เห็นว่า สุขทุกข์เกิดจากมีผู้เป็นใหญ่คอยบันดาลให้เกิดกับตนเท่านั้น หรือเกิดจากกรรมเก่าของตนเท่านั้น หรือกรรมเกิดขึ้นโดยไม่มีเหตุปัจจัย) ไม่ว่าจะเป็นการเสริมดวงหรือการขโมยดวง อยู่ที่การกระทำของเราว่าทำดีหรือทำชั่ว ให้มั่นใจในระบบของ “กรรม” ถ้าอยากได้สุข ไม่อยากได้ทุกข์ ก็ต้องสร้างเหตุปัจจัยที่เหมาะสม โดยการทำดี พูดดี คิดดี ซึ่งเราสามารถทำได้โดยไม่ต้องให้ใครมาพยากรณ์ กรณีเจอผัสสะที่ไม่น่าพอใจที่เกิดจากการกระทำของผู้อื่น (กายหยาบ กายละเอียด) วิธีอยู่อย่างไรให้ผาสุก ก็ต้องมั่นใจในเรื่องของ “กรรม” ที่ถูกต้อง Q2: การแสดงธรรมโดยเคารพเพื่อนผู้ประพฤติธรรม A: ตามคำสอนของพระพุทธเจ้า หลักการแสดงธรรมให้ผู้อื่นเข้าใจได้ง่ายมี 5[...]
- ช่วงไต่ตามทาง: ปลดหนี้ - ผู้ฟังท่านนี้ถูกเพื่อนชักชวนให้ลงทุนในธุรกิจเสริมความงาม ตกลงแบ่งกำไรให้ 40% จึงไปกู้เงินเพื่อมาลงทุนเพิ่มเกือบ 10 ล้านบาท ด้วยความเชื่อใจที่เป็นเพื่อนกันจึงไม่ได้ทำเอกสารหลักฐานอะไรไว้ ผ่านไป 2 ปี พบว่าธุรกิจนั้นไม่มีส่วนที่เพื่อนลงทุนเลย แต่ทรัพย์สินของธุรกิจกลับเป็นชื่อเพื่อนทั้งหมด เมื่อกิจการถูกปิด สรุปมีหนี้ 15 ล้านบาทที่ผู้ฟังท่านนี้ต้องชดใช้ให้เจ้าหนี้ ผู้ฟังท่านนี้ใช้เวลา 3 เดือน ติดต่อดำเนินคดีกับอีกฝ่ายแต่ไม่มีวี่แววว่าจะได้รับการชดใช้เงินคืน จึงตัดใจไม่ดำเนินคดีต่อแล้วหันมาตั้งหน้าตั้งตาทำงานใหม่ เจรจากับเจ้าหนี้ ผ่านไปไม่ถึงปี ก็สามารถปลดหนี้ทั้งหมดได้ - ได้เรียนรู้ว่า เพราะความโลภ ความไม่รอบคอบ และความประมาท จึงเกิดเหตุการณ์นี้ การเป็นคดีความ ใช้เวลามาก แต่เมื่อตัดใจเอาเวลาไปทุ่มเทกับการทำงานด้วยจิตใจที่ไม่มีความโกรธ ไม่มีความอาฆาตคิดร้ายต่อเพื่อนที่โกง มีเมตตา มีอุเบกขา ทำให้สามารถทำงานได้อย่างเต็มที่ แม้ยังมีหนี้ที่ต้องชดใช้ แต่จิตใจไม่เป็นอะไร สถานการณ์ก็พลิกผันทำงานหาเงินใช้หนี้ 15 ล้านบาท ได้ภายใน 1 ปี - ผู้ฟังอีกท่านหนึ่ง เรียนจบเป็นหนี้ กยศ. และมีหนี้ทางครอบครัวที่ต้องช่วยชดใช้เป็นล้าน จึงประหยัดค่าใช้จ่าย เอาข้าวไปกินที่ทำงาน[...]
- Q1: ปัญหาเพื่อนบ้านให้อาหารนกพิราบ A: การอยู่ร่วมกันในสังคม ต้องไม่เบียดเบียนทั้ง 4 ส่วน ได้แก่ ส่วนเรา ส่วนเขา ส่วนร่วม และส่วนรวม การกระทำใดเป็นการเบียดเบียนหรือไม่ ขึ้นอยู่กับมุมมองที่ถูกต้อง (สัมมาทิฏฐิ) - การขจัดปัญหาเพื่อนบ้านให้อาหารนกพิราบ ทำให้นกมาทำรัง มีมูลนก ต้องทำความสะอาดเพิ่ม ลำพังเพียงคาถาบทใดบทหนึ่งจะทำให้สิ่งใดสำเร็จขึ้นมาได้ อันนี้เป็นความเข้าใจผิด ความเข้าใจที่ถูกคือต้องอาศัยทั้งกาย วาจา และใจ ที่เป็นไปในทางเดียวกัน สิ่งใดสิ่งหนึ่งจึงจะสำเร็จขึ้นมาได้ (1) ทางกาย (ทำดี) = ทำความสะอาดในสิ่งที่คนอื่นทำไว้ เหมือนทำงานจิตอาสากวาดลานวัด (2) ทางวาจา (ปิยวาจา) = พูดคุยทำความเข้าใจกันด้วยปิยวาจา (3) ทางใจ (สัมมาทิฏฐิ+แผ่เมตตา) = ถ้ามีมุมมองว่าถูกเบียดเบียน ก็จะเป็นทุกข์ แต่ถ้าเปลี่ยนมุมมองว่าเรามีจิตอาสาทำความสะอาดในสิ่งที่คนอื่นทำไว้เหมือนพระปุณณมันตานีบุตร ก็จะเป็นบุญ จึงต้องปรับที่มุมมองของเรา และเจริญเมตตาแผ่ให้ทั้งเพื่อนบ้านและนกเหล่านั้น จะทำให้เมื่อเรามองเห็นจะไม่ขัดเคืองใจ มีความชุ่มเย็นอยู่ในใจ - อย่ามองว่าปัญหานี้เกิดจากกรรมเก่าโดยส่วนเดียว ให้ทำสิ่งดีขึ้นมาใหม่ สร้างสิ่งที่เป็นกุศล ละสิ่งที่เป็นอกุศล[...]
- ช่วงไต่ตามทาง: ลูกศิษย์ย้อนนึกถึงเมื่อครั้งช่วยสร้างวัด - ลูกศิษย์ของหลวงพ่อ ดร.สะอาด สมัยเริ่มสร้างวัดป่าดอนหายโศก ได้เคยร่วมสร้างกุฏิ ศาลาปฏิบัติธรรม และมาปฏิบัติธรรมที่วัด แต่ไม่ได้มาวัด 30 ปี จนกระทั่งได้ทราบข่าวการมรณภาพของหลวงพ่อจึงเดินทางมาที่วัด และได้หวนนึกถึงความหลังที่ตนได้สร้างมา จิตใจก็มีความปราบปลื้ม ดีใจ สบายใจ ความระลึกได้นั้นคือ “สติ” ระลึกถึงศีลความดีที่ตนเคยทำมา (สีลานุสติ) ระลึกถึงครูบาอาจารย์ (สังฆานุสติ) ระลึกถึงศรัทธา วิริยะ สติ สมาธิ ปัญญา (เทวตานุสติ) ความดีของตนที่ระลึกได้นี้ จะเป็นที่พึ่งของตนในเวลาที่จะจากโลกนี้ไปได้ - ในขณะจิตสุดท้าย ถ้าจิตน้อมไปคิดถึงเรื่องไม่ดี ปองร้าย พยาบาท ทางกาม ก็จะไปไม่ดี เกิดเป็นเปรตหรือสัตว์นรก ช่วงปรับตัวแปรแก้สมการ: บริหารสมองในวัยเกษียณ - กาย วาจา ใจ จะปรุงแต่งอย่างไรให้สมองและจิตยังดีอยู่ได้ ไม่แก่ไปตามร่างกายที่เปลี่ยนแปลงไป ให้ยังมีความผาสุกได้อยู่ - จิตกับสมองไม่เหมือนกัน สมองควบคุมร่างกาย ส่วนจิตควบคุมสมองอีกชั้นหนึ่ง จิตใช้สมองเป็นเครื่องมือในการคิดปรุงแต่งการพูดหรือการเคลื่อนไหวร่างกาย การฝึกสมองผ่านทางกาย ทางวาจา[...]
- Q1: คุณธรรมและจริยธรรมของผู้บริหารบ้านเมือง A: ตามหลักคำสอนของพระพุทธเจ้า คือ ต้องเป็นคนดี คนเก่ง และคนกล้า 1. เป็นคนดี = เห็นแก่ประโยชน์ส่วนรวม เป็นคุณธรรมข้อแรกที่นักปกครองต้องมี มีเกณฑ์วัด 4 ระดับ (1) ประโยชน์ส่วนตัว = วงกลม 2 วง เห็นประโยชน์ส่วนตัวแยกจากคนอื่น (2) ประโยชน์ส่วนร่วม = เห็นเฉพาะประโยชน์ส่วนที่วงกลม 2 วงทับซ้อนกัน (3) ประโยชน์ส่วนเรา = เห็นประโยชน์ของวงกลมทั้ง 2 วง ทั้งส่วนทับซ้อนและไม่ทับซ้อนกัน ( 4) ประโยชน์ส่วนรวม = เห็นประโยชน์ขยายเป็นสี่เหลี่ยมที่ครอบรวมวงกลมทั้ง 2 วง ทั้งหมด 2. เป็นคนเก่ง = มีทักษะ มีความสามารถ ฝึกฝนได้ 3. เป็นคนกล้า = กล้าที่จะยืนหยัดในความดี เมื่อมีอำนาจแล้วไม่ถูกกิเลสดึงให้ความดีลดลง[...]
- ช่วงไต่ตามทาง : นักธุรกิจสายมูเตลู - ผู้ฟังท่านนี้เป็นนักธุรกิจ เคยนิยมการบูชาวัตถุต่างๆ เป็นสายมูเตลู แต่เมื่อเริ่มฟังธรรม นั่งสมาธิ ทำให้เข้าใจว่าการบูชาคนที่ไม่ควรบูชา ได้ผลไม่ดี จึงลดการบูชาวัตถุ หันมาเน้นที่พระรัตนตรัย มีพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ เป็นที่พึ่งที่ระลึกเท่านั้น ไม่เอาอย่างอื่นเป็นที่พึ่ง ปรับเปลี่ยนหิ้งพระใหม่ ตั้งจิตในการบูชาใหม่ เกิดความสบายใจ โล่งใจขึ้น เมื่อมีใจที่สบายแล้ว การพูดหรือการกระทำอะไรก็ปลอดโปร่งโล่งสบายไปด้วย มีพฤติกรรมเปลี่ยนแปลงไป สิ่งแวดล้อมก็เปลี่ยนไป ธุรกิจก็ดำเนินไปได้ด้วยดี การทำงานกับลูกน้องหรือลูกค้าก็ไม่มีปัญหา เหมือนดึงดูดกระแสของสิ่งดีดีเข้ามาในชีวิต - พุทธพจน์ “ถ้าใครจะสำเร็จอะไรได้ด้วยเพียงการอ้อนวอนขอร้อง ในโลกนี้จะไม่มีใครเสื่อมจากอะไร” - การบูชาอื่นในคุณธรรมที่ผู้นั้นมี เช่น ศีล ศรัทธา จาคะ ปัญญา แล้วเราตั้งจิตไว้ตรงนั้น ก็เป็นเทวตานุสติได้ ช่วงปรับตัวแปรแก้สมการ: การใช้จ่ายเงินอย่างถูกต้อง (สมชีวิตา) “สมชีวิตา” = การรู้จักใช้จ่ายเงินอย่างถูกต้อง 1. รายรับต้องท่วมรายจ่าย อย่าให้รายจ่ายท่วมรายรับ 2. การใช้จ่าย ต้องแบ่งไว้ 4[...]
- กัลยาณมิตร VS ปาปมิตร “กัลยาณมิตร” มี 4 ลักษณะ 1. มิตรมีอุปการะ = คอยให้ประโยชน์ คอยเตือนเรารักษาเราเมื่อประมาทประพฤติไม่ดี คอยรักษาทรัพย์ให้เราเมื่อเราประมาท เมื่อมีภัยจะเป็นที่พึ่งพำนักได้ ในยามมีเหตุจำเป็นเดือดร้อนต่าง ๆ ยิ่งเป็นที่พึ่งได้เป็นสองเท่าจากที่เคยออกปากไว้ 2. มิตรร่วมทุกข์ร่วมสุข = มิตรที่บอกความลับของตนแก่เพื่อน ปิดความลับของเพื่อน ไม่ละทิ้งในยามอันตราย แม้ชีวิตก็สละให้กันได้ 3. มิตรแนะประโยชน์ = ห้ามจากความชั่ว ให้ตั้งอยู่ในความดี ให้ฟังในสิ่งที่ยังไม่เคยได้ฟัง บอกทางสวรรค์ให้ 4. มิตรมีความรักใคร่ = ไม่ยินดีในความเสื่อมของเพื่อน ยินดีในความเจริญของเพื่อน ห้ามคนที่กล่าวโทษเพื่อน สนับสนุนคนที่สรรเสริญเพื่อน “ปาปมิตร” มี 4 ลักษณะ 1. ปอกลอก = คิดเอาแต่ได้ฝ่ายเดียว เวลาจะเสียให้นิดเดียว แต่เวลาจะเอา เอามาก ไม่ช่วยงาน 2. ดีแต่พูด = เอาสิ่งที่ล่วงไปแล้วมาพูด อ้างสิ่งที่ยังมาไม่ถึงจะทำอย่างนั้นอย่างนี้ให้[...]
- โสด VS แต่งงาน - พระพุทธเจ้าทรงเตือนไว้ว่า “ผู้ใดมีสิ่งที่รักหนึ่งร้อย ผู้นั้นก็จะมีทุกข์หนึ่งร้อย ผู้ใดมีรักเก้าสิบ ผู้นั้นก็จะมีทุกข์เก้าสิบ ผู้ใดมีรักหนึ่ง ผู้นั้นก็จะมีทุกข์หนึ่ง ผู้ที่ไม่มีรัก ก็จะเป็นผู้ไม่มีทุกข์” - ถ้ายังไม่แต่งงาน = อยู่เป็นโสดดีกว่า - ถ้าจะแต่งงาน = อย่าเลือกคู่ครองจากสิ่งภายนอก เช่น รูปร่างหน้าตา เพราะเป็นสิ่งที่เปลี่ยนแปลงได้ แต่ให้เลือกที่คุณธรรมภายใน ได้แก่ “ศีล ศรัทธา จาคะ ปัญญา” - ถ้าแต่งงานแล้ว = ก็อย่าคิดเลิก ให้อยู่กันไป ถ้าไม่เวิร์ค ก็ต้องอดทน ปรับตัวให้อยู่ด้วยกันต่อไปให้ได้ - ตั้งแต่วันแต่งงาน ชีวิตไม่ได้เป็นของเราโดยสิ้นเชิงอีกต่อไปแล้ว แต่เป็นของกันและกัน ต้องเกี่ยวเนื่องกับครอบครัวของอีกฝ่ายหรือลูก จึงต้องช่วยกันรักษา ถ้าฝ่ายหนึ่งรักษาแต่อีกฝ่ายไม่รักษา ก็จะเกิดความบกพร่องในด้านที่ไม่รักษานั้น แต่ถ้าเรารักษาให้ดี ความดีก็จะเกิดขึ้นแก่เรา - การอยู่ครองเรือน อย่าอยู่ด้วยความรักแบบฉันชู้สาว ด้วยความพอใจหรือไม่พอใจ แต่ให้อยู่ด้วยคุณธรรม คือ “ศีล[...]
- Q1: ความอยากได้เงินเพิ่ม เพื่อนำไปทำบุญเพิ่มอีก เป็นความโลภหรือไม่ A: ความอยากได้เงินเพิ่มเพื่อนำไปทำบุญเพิ่มอีก จะทำให้บุญที่ทำในครั้งนั้นเศร้าหมองลง - การระลึกถึงบุญจากการทำทาน เป็นจาคานุสติ เกิดเป็นความสุขใจ แต่เมื่อเกิดความอยากได้เงินเพิ่มเพื่อนำไปทำทานเพิ่มอีก จะทำให้บุญนั้นเศร้าหมองลง ในขณะเดียวกัน ความคิดที่ว่าจะทำบุญเพิ่มอีก ก็เกิดสภาวะจิตสุขใจ เป็นบุญ ดังนั้น จึงเกิดสภาวะจิตที่เป็นบุญบ้าง สุขใจบ้าง เศร้าหมองบ้าง ปะปนกัน สลับกันไป - วิธีที่ถูกต้อง คือ รักษาสภาวะจิตให้อยู่ในแดนของบุญมาก ๆ ด้วยการภาวนา ซึ่งเป็นบุญที่เหนือกว่าการให้ทาน จึงจะถูกต้อง นอกจากการให้ทานแล้ว ควรยินดีในการรักษาศีล เจริญภาวนาด้วย จึงจะได้บุญเต็มในทุกรูปแบบ Q2: หากมีบุญมากกว่าบาป เมื่อตายแล้วจะไปสวรรค์ได้เลยหรือไม่ A: ขึ้นอยู่กับว่าในขณะที่ตาย บุญหรือบาปให้ผลก่อนกัน ไม่ใช่ว่าบุญหรือบาปน้อยกว่ากัน Q3: พิธีแก้กรรม A: ในทางพระพุทธศาสนา ไม่มีคำว่า “แก้กรรม” มีแต่ “ต้องได้รับผลของกรรม” “ความสิ้นกรรม” “กรรมหนักกรรมเบา” - การเจริญพุทธมนต์ เป็นการฟังบทสวดที่เป็นพุทธวจนของพระพุทธเจ้า[...]
- 1 สมการชีวิตวันแม่ ๐ เมตตา หมายถึง ความรัก ความปรารถนาดี ที่ไม่มีเงื่อนไข เปรียบเหมือนมารดาย่อมรักลูกที่เกิดจากครรภ์ตัวเองฉันใด ก็ควรเจริญเมตตาจิตไปยังสรรพสัตว์ทั้งหลายฉันนั้นเหมือนกัน จะทำให้เกิดกุศลและกีดกันไม่ให้อกุศลเกิดขึ้นในจิตของเราได้ ๐ วิธีตอบแทนพระคุณของมารดาที่ดีที่สุด คือ ถ้าท่านยังไม่มีศีล ศรัทธา จาคะ ปัญญา ก็ให้ท่านประดิษฐานตั้งอยู่ในศีล ศรัทธา จาคะ ปัญญา หากท่านมีแล้วก็ให้ท่านพัฒนาให้ยิ่งขึ้นไป แต่ถ้ามารดาล่วงลับไปแล้ว ก็ให้ทำบุญอุทิศส่วนกุศลให้ ช่วงไต่ตามทาง: เคยเป็นคนคิดลบ ผู้ฟังท่านนี้ อายุ 80 ปี เคยเป็นคนหงุดหงิดง่าย ไม่พอใจหลายสิ่งหลายอย่าง มีความคิดลบเยอะ แต่เมื่อได้ฟังรายการธรรมะรับอรุณทุกวัน เป็นเวลาหลายปี สังเกตเห็นว่าตนเองมีความทุกข์ลดลง มีความสุขในใจเพิ่มขึ้น ได้ประโยชน์จากการฟังรายการนี้มาก แนะนำให้ท่านผู้ฟังอื่นติดตามฟังรายการนี้ทุกวันจะได้รับประโยชน์มาก การที่มีคนฟังรายการธรรมะรับอรุณ เป็นการสนับสนุนรายการที่ดีที่สุด ช่วงปรับตัวแปรแก้สมการ: ความคิดทางลบ พระพุทธเจ้าแบ่งความคิด ออกเป็น 2 ฝ่าย คือ ความคิดในทางกุศลและความคิดในทางอกุศล (กาม พยาบาท เบียดเบียน) ลักษณะความคิด 1.มองโลกในแง่ดี แบบโลกสวย[...]
- Q1: การจำพรรษาของพระสงฆ์ในช่วงเข้าพรรษา A: พระสงฆ์ต้องอยู่เป็นที่ในช่วงฤดูฝน 3 เดือน, อยู่ในบริเวณเนื้อที่ที่กำหนดเอาไว้ เช่น กำแพงวัด, สามารถเดินทางออกนอกบริเวณได้ แต่ต้องกลับมาก่อนพระอาทิตย์ขึ้นในวันรุ่งขึ้น, เว้นแต่ เดินทางไปด้วยธุระจำเป็น สามารถไปได้ไม่เกิน 7 วัน - อาจเปลี่ยนที่จำพรรษาได้ แม้พรรษาขาดแต่ไม่เป็นอาบัติถ้าเข้า 6 กรณี - ถ้าพระสงฆ์ไม่แสวงหาที่จำพรรษาในช่วงเข้าพรรษา จะเป็นอาบัติ - อานิสงส์ของการจำพรรษา เช่น สามารถเที่ยวจาริกไปได้โดยไม่ต้องบอกลา, รับกฐินได้ - ระหว่างจำพรรษา พระสงฆ์จะมีการทำความเพียรเพิ่มขึ้นมา เช่น สวดมนต์ นั่งสมาธิ เพิ่มขึ้น - จึงชักชวนท่านผู้ฟัง ให้มีข้อปฏิบัติเพิ่มเติมเพื่อเร่งทำความเพียรในช่วงเข้าพรรษานี้ เช่น งดเหล้า ฝึกสวดมนต์ นั่งสมาธิ พัฒนาจิตใจให้เข้มแข็งมากขึ้น Q2: ในช่วงจำพรรษา พระสงฆ์อยู่กุฏิเดียวกันได้หรือไม่ A: อยู่ในกุฏิเดียวกัน 2-3 รูปได้ แต่ต้องระวังเรื่องการรักษาผ้าครอง (ผ้าสำรับ 3 ผืน[...]
- ช่วงไต่ตามทาง: - ผู้ฟังท่านนี้ เมื่อตอนเป็นนักศึกษามหาวิทยาลัยคณะวิศวะ มีรุ่นน้องคนหนึ่งสัญญากับแม่ไว้ว่าจะไม่ดื่มเหล้า แต่ถูกรุ่นพี่บอกให้ดื่มเหล้าเพื่อเป็นการให้เกียรติรุ่นพี่ รุ่นน้องคนนี้มีหิริโอตัปปะ ละอายต่อแม่ จึงเอาตัวรอดโดยการต่อรองขอเป็นคนชงเหล้าให้รุ่นพี่ และดื่มเครื่องดื่มอื่นที่ไม่ใช่เหล้าแทน เหตุการณ์ก็ผ่านไปได้ด้วยดี รุ่นน้องก็อยู่ในสังคมได้ ช่วงปรับตัวแปรแก้สมการ: - ทำกรรมอย่างไร ย่อมได้รับผลของกรรมนั้น ซึ่งจะให้ผลออกมาเป็นความสุขหรือความทุกข์ การทำดีโดยอยากได้ความดีตอบ อันนี้เป็นความอยาก ส่วนการทำความดีโดยไม่ได้หวังสุขเวทนา แต่ทำไปเพื่อกำจัดความอยาก ความตระหนี่ อันนี้เป็นปัญญา - คำสอนของพระพุทธเจ้า เป็นคำสอนที่ประกอบด้วย “ปัญญา” ต้องพิจารณาโดยแยบคาย ใคร่ครวญให้ลึกซึ้ง ดังนี้ (1) พิจารณาให้ได้ว่าการทำอะไรก็ตาม ให้หวังเอา “ปัญญา” ไม่ใช่หวังเอา “เวทนา”–การทำอะไรก็ตาม อย่าไปหวังให้สุขเวทนาเกิด ไม่อยากให้ทุกขเวทนาเกิด เพราะเป็นตัณหา (ความอยาก) ส่วนการทำอะไรแล้วได้ปัญญา ปัญญาจะเป็นตัวตัดความตระหนี่และความเข้าใจผิด ๆ ว่าทำอะไรแล้วจะต้องได้รับสุขเวทนา (2) พิจารณาให้ได้ระหว่าง “ตัณหา” (ความอยาก) กับ “ฉันทะ” (ความพอใจ)–การทำอะไรด้วยความอยากเป็นสิ่งไม่ดี แต่การทำด้วยความเพียร ด้วยฉันทะ ความพอใจ ตั้งจิตไว้อย่างแน่วแน่[...]
- Q1: เจ้ากรรมนายเวรในที่ทำงาน A: การกระทบกระทั่งกันระหว่างบุคคลเป็นเรื่องธรรมดาในวัฏฏะสงสาร “ทำกรรมอย่างไร จะได้รับ 'กรรม' อย่างนั้น” เช่น ตบยุง แล้วจะเกิดเป็นยุงโดนตบ-อันนี้ไม่ถูก เป็นมิจฉาทิฏฐิ “ทำกรรมอย่างไร จะได้รับ 'ผลของกรรม' นั้น" เช่น ตบยุง ทำให้มีโรคภัยไข้เจ็บมาก-อันนี้ถูก เป็นสัมมาทิฏฐิ - ในทางพระพุทธศาสนา กรรมดีมี กรรมชั่วมี การผูกเวรมี แต่ความเป็นเจ้าของไม่มี คำว่า “เจ้ากรรมนายเวร” หมายถึง กรรมไม่ดีกำลังให้ผล เป็นความทุกข์ ความเผ็ดร้อน อยู่ตอนนี้ - เหตุของความสุข ความทุกข์ ไม่ได้เกิดจากกรรมเก่าเพียงอย่างเดียว อาจเกิดจากเหตุอื่นได้ เช่น การถูกทำร้าย สุขภาพร่างกาย สภาพดินฟ้าอากาศ การเตรียมตัวไม่สม่ำเสมอในชาตินี้ ไม่ใช่เรื่องกรรมเก่าจากชาติที่แล้ว - ในกรณีทุกขเวทนาที่เกิดจากกรรมเก่า มีวิธีแก้โดยการทำความดีให้มากขึ้น แม้ความชั่วที่เคยทำไว้ไม่ได้ลดลง แต่ผลของความชั่วนั้นจะเบาบางลง การทำความดีทำให้เกิดความสบายใจ ความสบายใจนี้ทำให้ความร้อนใจจากกรรมชั่วเบาบางลง เปรียบกับการเจือจางน้ำเค็มจากเกลือด้วยน้ำที่มากขึ้น ปริมาณเกลือเท่าเดิม แต่น้ำที่เพิ่มขึ้น ทำให้ความเค็มเจือจางลง[...]
- ช่วงไต่ตามทาง: สุขภาพใจไม่ดี เพราะโรคซึมเศร้า - ท่านผู้ฟังท่านนี้เป็นโรคซึมเศร้า มีกัลยาณมิตรที่ดีแนะนำให้ฝึกสติอยู่กับตัวเอง รู้ทันอารมณ์ ก็ตั้งสติ สังเกตอารมณ์ที่เกิดขึ้น เช่น เศร้า ไม่พอใจ โกรธ เหงา ขี้เกียจ เป็นต้น มีจดบันทึกไว้บ้าง ทำอยู่ประมาณ 6–12 เดือน ก็เห็นความเปลี่ยนแปลงอย่างชัดเจน อารมณ์เหล่านั้นอ่อนแรงลง ความซึมเศร้าลดลงเรื่อย ๆ มีการพัฒนาอุปนิสัยใหม่ มีกิจกรรมใหม่ในทางที่ดีขึ้น ฟื้นฟูจากโรคซึมเศร้า สามารถดำเนินชีวิตได้อย่างปกติสุข - “เมื่อเราตริตรึกไปทางไหน จิตเราจะน้อมไปทางนั้น จิตเราน้อมไปทางไหน สิ่งนั้นจะมีพลัง หากเราไม่ตริตรึกไปทางไหน จิตเราก็จะไม่น้อมไปทางนั้น จิตเราไม่น้อมไปทางไหน สิ่งนั้นก็จะอ่อนกำลัง” ดังนั้น การที่เรามีสติ สังเกตเห็นอารมณ์ตัวเองได้ จะทำให้จิตที่จะคล้อยไปตามอารมณ์นั้นเบาบางลง จิตที่จะเพลินไปตามอารมณ์ซึมเศร้า ฟุ้งซ่าน โกรธ ไม่พอใจ ยินดี ลุ่มหลง นั้น จะอ่อนแรงลง เพราะ สติตั้งอยู่ตรงไหน ความเพลินจะอ่อนกำลังโดยอัตโนมัติทันที ช่วงปรับตัวแปรแก้สมการ: สุขภาพดีมีชัยไปกว่าครึ่ง จริงหรือไม่[...]
- Q1: วิธีรับมือมิจฉาชีพออนไลน์ A: คนที่ตั้งใจหลอกลวงเอาทรัพย์ผู้อื่น เป็นการเบียดเบียน เป็นบาป เมื่อเจอคนไม่ดี 1. ต้องมี “สติสัมปชัญญะ”: ไม่คล้อยไปตามเสียง รูป คำพูดของเขา 2. ต้อง “โยนิโสมนสิการ”: ใช้ปัญญาไตร่ตรองโดยแยบคาย รอบคอบ คิดเป็นระบบว่า - อะไรที่จะได้มาโดยง่ายไม่มี - ความสุข ความสำเร็จ เป็นสิ่งที่ได้มาโดยยาก โดยลำบาก - สิ่งที่ได้รับฟังมา ทนต่อการเพ่งพิสูจน์หรือไม่ - หากเราโดนหลอกครั้งแรก ก็อย่าให้โดนหลอกอีกในครั้งต่อไป - แม้ถูกหลอกไปแล้ว ก็ไม่ต้องเสียใจ คนที่หลอกจะได้รับผลไม่ดีอย่างแน่นอน แต่ตัวเราต้องไม่ทำสิ่งไม่ดีต่อ เช่น เสียใจ เศร้าโศก เป็นอกุศลกรรม เงินทองเป็นของนอกกาย หาใหม่ได้ หากเรายังมีจิตใจ มีปัญญาที่สามารถพัฒนาให้เกิดความเข้าใจ มีความกรุณา อุเบกขา ได้ ให้เรามีอุเบกขา อย่าไปคิดโกรธเคือง จะเป็นบาปแก่เรา Q2: การโพสต์ข้อความในโลกออนไลน์กระทบผู้อื่น A: กรรมทางใจ[...]
- ช่วงไต่ตามทาง: อดทน คือ ทุกสิ่ง - ผู้ฟังจาก กทม.-เป็นเด็กกำพร้า ถูกกระทำ และถูกต่อว่าให้เจ็บช้ำน้ำใจมาตั้งแต่เด็ก แต่ด้วยความอดทนทำให้ผ่านเหตุการณ์ทุกอย่างมาได้ จึงเข้าใจดีว่า ความอดทนเป็นทุกสิ่ง และยังเข้าใจอีกว่า การไม่ตอบโต้ ไม่ใช่เพราะความกลัว แต่เป็นเพราะความอดทน ซึ่งเป็นปัญญา แยกแยะได้ว่าสิ่งใดดี สิ่งใดไม่ดี สิ่งไหนควรทำ สิ่งไหนไม่ควรทำ สิ่งไหนเป็นกุศล สิ่งไหนเป็นอกุศล ปัจจุบันมีชีวิตที่มีความสุข ประสบความสำเร็จ - ผู้ฟังจากฉะเชิงเทรา-เมื่อได้ฟังธรรมะ ทำให้เข้าใจว่า การรบที่ยอดเยี่ยมที่สุด คือ การชนะกิเลสในจิตใจตนเอง เป็นชัยชนะที่ไม่ต้องออกรบ การอดทน ไม่ใช่เรื่องโง่ เป็นชัยชนะที่ใครก็เอาไปจากเราไม่ได้ ช่วงปรับตัวแปรแก้สมการ: ความอิจฉาในที่ทำงาน - อารมณ์ 3 ประเภท 1. อิจฉาริษยา 2. เย่อหยิ่งจองหอง 3. ความตระหนี่หวงกั้น มีความเกี่ยวข้องกัน ตัวอย่าง 1 เมื่อเราได้เลื่อนตำแหน่ง ได้ดีกว่าคนอื่น เราจะมีความเย่อหยิ่งเกิดขึ้น ส่วนเพื่อนร่วมงานที่ไม่ได้ ก็จะมีความอิจฉาริษยาเราขึ้นมา[...]
- Q1: วิธีทำให้สติอยู่เหนืออารมณ์ A: พระพุทธเจ้าแบ่งไว้ 3 ระดับ 1) สัตว์เดรัจฉาน: ทำตามอารมณ์ ไม่สนใจผิดชอบชั่วดี 2) มนุษย์: มนุษย์ที่มีพฤติกรรมแบบสัตว์เดรัจฉาน มีการผิดศีล ทำตามความพอใจ หรืออารมณ์ของตนเป็นหลัก ไม่สนใจว่าอะไรถูกหรือผิด และมนุษย์ที่มีศีล “ศีล” คือ ความปกติของความเป็นมนุษย์ แม้จะมีอารมณ์ขึ้น-ลงอยู่บ้าง ก็ไม่ผิดศีล 3) เหนือมนุษย์: จิตใจมั่นคง ไม่โกรธ มีเมตตา อุเบกขา อยู่ตลอดเวลา เป็นจิตใจเทวดา เหนือมนุษย์ (อุตตริมนุสสธรรม) - ธรรมะที่ทำให้เป็นคนเหนือคน 1) รักษาศีล 5-ทางกาย ทางวาจา 2) มีสติสัมปชัญญะ-รู้ผิดชอบชั่วดี 3) ทำศีล-สติ ให้ละเอียดและมีกำลังมากขึ้น-เพื่อเอาไปใช้ทางด้านจิตใจ ทำให้แยกอารมณ์ออกจากจิตใจได้ จิตจะมีความเข้มแข็งขึ้น - คนที่รู้ตัวว่าจิตใจกำลังแปรปรวน นั่นคือ มีสติแล้ว รู้ตัวแล้ว หากฝึกให้มีสติบ่อย ๆ สติก็จะมีกำลังมากขึ้น Q2:[...]
- ช่วงไต่ตามทาง: คุณแม่เลี้ยงเดี่ยว - คุณแม่เลี้ยงเดี่ยว เจอปัญหาสูญเสียรายได้ช่วงโควิดและลูกป่วย แต่เลือกที่จะอยู่กับปัจจุบัน ไม่ส่งจิตออกนอก ไปนึกถึงอดีตหรืออนาคตที่ยังมาไม่ถึง แล้วค่อย ๆ ทำงานที่มีอยู่ ด้วยกำลังใจเต็มที่ ไม่ให้จิตไหลไปในทางอกุศล - ในสถานการณ์เดิมเดียวกัน เมื่อจิตใจถูกปลอบประโลมด้วยธรรมะ จะทำให้เกิดความเข้าใจสถานการณ์ มองโลกในอีกมุมหนึ่ง ความเข้าใจสถานการณ์นี้ทำให้ความยืดถือในจิตใจน้อยลงและวางได้ จึงไม่หนัก แม้ปัญหาจะยังไม่ได้หายไป แต่ก็ไม่ทำให้จิตใจเกิดความท้อแท้ ท้อถอย เมื่อจิตใจมีความคลี่คลายลง เบาลง (หมายถึง จิตใจมีความหนักแน่นมากขึ้น ไม่สะดุ้งสะเทือนไปตามการเปลี่ยนแปลงภายนอก) จะสามารถอยู่กับสถานการณ์นั้น ๆ ได้ และมองเห็นช่องได้ว่าควรทำอย่างไรกับปัญหาที่เจอ แล้วค่อย ๆ แก้ปัญหาไป ปัญหาก็จะค่อย ๆ คลี่คลายลงได้ - คนที่ประสบทุกข์อยู่ในชีวิตประจำวัน แต่มีธรรมะอยู่ในจิตใจ อยู่กับทุกข์ได้โดยไม่ทุกข์ มีมากมายทั้งในสมัยพุทธกาล และในยุคปัจจุบัน เมื่อเข้าใจธรรมะแล้ว เราจะเห็นทุกข์ และอยู่กับทุกข์ได้โดยไม่ทุกข์ นั่นเอง ช่วงปรับตัวแปรแก้สมการ: มองโลกแง่ดี – แง่ร้าย กับ ทางสายกลาง -[...]
- Q1: บุญจากการนั่งสมาธิ A: แต่ละคนมองเห็นคุณค่าของของแต่ละอย่างไม่เท่ากัน และสิ่งใดสิ่งหนึ่งจะมีค่า ขึ้นอยู่กับเวลา สถานการณ์ และเงื่อนไขต่าง ๆ ส่วนความเห็นของใครจะถูกหรือผิด ขึ้นอยู่กับประโยชน์มากหรือน้อย การนั่งสมาธิทำให้จิตมีความสงบ เกิดความสุขจากในภายใน ก็จะได้บุญมากกว่า เพราะวัดจากความสุขและประโยชน์ที่เกิดขึ้น - ประโยชน์จากการนั่งสมาธิ 4 ประการ 1) คนอื่นเอาไปจากเราไม่ได้ = ไม่เป็นสาธารณะกับคนอื่น 2) ยิ่งใช้ยิ่งเพิ่ม = การนั่งสมาธิ แผ่เมตตา ไม่มีจำกัด 3) ประโยชน์ที่จะเกิดในเวลาต่อๆ ไป = เมื่อจิตเป็นสมาธิ ทุกข์ที่ตามมามีน้อย เห็นทางออกของปัญหา ทำให้ตัดสินใจเรื่องต่าง ๆ ได้ดีขึ้น เทียบกับการอิ่มท้อง ซึ่งยังมีทุกข์อยู่ ต้องไปถ่ายออก มีทุกข์ตามต่อมาอีก 4) ทำให้ถึงนิพพานได้ = เมื่อจิตเป็นสมาธิ เห็นทางออก ปฏิบัติตามมรรค ปล่อยวาง เห็นความไม่เที่ยง จิตสว่าง หลุดพ้น ซึ่งประโยชน์ข้อนี้มีมาก ทั้งในเวลาปัจจุบันและในเวลาต่อมา[...]
- ช่วงไต่ตามทาง คุณแชมป์สังเกตตนเองว่า ยังมีทิฎฐิที่ว่าการปฏิบัติธรรมของตนดีกว่าคนอื่น เก่งกว่าคนอื่น คนอื่นทำผิดหมด จิตใจกระด้าง มีความเศร้าหมอง พูดจาไม่รักษาน้ำใจคนอื่น ทำให้เสียเพื่อน เกิดการเบียดเบียนคนอื่น แต่เมื่อได้ฟังธรรมะแล้ว เกิดปัญญา จิตใจมีความนุ่มนวลอ่อนลง มีความเมตตากรุณา มีปัญญาเข้าใจประวัติพุทธศาสนา ที่มาของคำสอน เข้าใจสถานการณ์ปัจจุบัน มีความมั่นคงในธรรมะในกระบวนการของมรรค 8 คนรอบข้างได้รับกระแสแห่งปัญญาและเมตตา นี่เป็นตัวอย่างของคำสอนที่ว่า “อยู่คนเดียวให้ระวังความคิด อยู่กับมิตรให้ระวังวาจา” ช่วงปรับตัวแปรแก้สมการ : อยู่คนเดียวให้ระวังความคิด การปรุงแต่งมีได้ 3 ทาง ได้แก่ ทางกาย (การกระทำ) ทางวาจา (คำพูด) และทางใจ (ความคิด) เมื่อมีการตั้งเป้าหมายอย่างใดอย่างหนึ่ง จะต้องมีการ “พัฒนาทักษะ” เกิดขึ้นเพื่อทำสิ่งนั้นให้เกิด “ความสำเร็จ” ซึ่งจุดที่การพัฒนาทักษะเกิดขึ้นจะเป็นจุดที่ “อุปสรรค” เกิดขึ้นเช่นกัน เปรียบกับเครื่องบิน หากไม่มีลมต้านก็จะไม่มีแรงยกให้บินได้, มรรค หากไม่มีสิ่งมาทดสอบให้หลุดจากมรรคก็จะไม่รู้ว่ากำลังเดินตามทางมรรคอยู่หรือไม่, จะรู้สุขได้ ต้องมีทุกข์เสียก่อน เป็นต้น ความคาดหวังว่าสิ่งใดสิ่งหนึ่งจะสำเร็จด้วยความราบรื่น ปราศจากอุปสรรค เป็นการเข้าใจผิด แต่ควรปรารถนาให้ทักษะ,[...]
- หลักธรรมเกี่ยวกับ “มิตร” - มิตรมี 2 ประเภท 1) กัลยาณมิตร = เพื่อนดี มี 4 ลักษณะ (1) มิตรมีอุปการะ = คอยให้ประโยชน์ รักษาเราเมื่อประมาท คอยตักเตือน รักษาทรัพย์ให้ เมื่อเราประมาท เมื่อมีภัย เป็นที่พึ่งพำนักได้ เมื่อมีเหตุจำเป็นเดือดร้อน เป็นที่พึ่งได้เป็นสองเท่าจากที่เคยออกปากไว้ (2) มิตรร่วมทุกข์ร่วมสุข = มิตรที่บอกความลับของตนแก่เพื่อน ปิดความลับของเพื่อน ไม่ละทิ้งในยามอันตราย แม้ชีวิตก็สละให้กันได้ (3) มิตรแนะประโยชน์ = ห้ามจากความชั่ว ให้ตั้งอยู่ในความดี ให้ฟังในสิ่งที่ยังไม่เคยได้ฟัง บอกทางสวรรค์ให้ (4) มิตรมีความรักใคร่ = ไม่ยินดีในความเสื่อมของเพื่อน ยินดีในความเจริญของเพื่อน ห้ามคนที่กล่าวโทษเพื่อน สนับสนุนคนที่สรรเสริญเพื่อน 2) ปาปมิตร = เพื่อนชั่วที่จะนำความไม่ดีมาให้ มี 4 ลักษณะ (1) มิตรปอกลอก[...]
- วิธีแก้ปัญหาทะเลาะกับเพื่อนบ้าน - ผู้ฟัง 2 ท่าน ทะเลาะกับเพื่อนบ้าน แต่เมื่อได้ฟังธรรมะ ได้ฝึกแผ่เมตตาให้กับเพื่อนบ้าน และตนเอง ได้ฝึกกรุณาและอุเบกขา อยู่ 6 ปี สถานการณ์ก็ดีขึ้น ไม่มีการเพ่งโทษกัน มีการช่วยเหลือซึ่งกันและกัน - ถ้าเรามีธรรมะอยู่ในจิตใจแล้ว ลักษณะการแก้ปัญหาจะเป็นไปในลักษณะที่ไม่สุมความแค้นให้กันและกันมากขึ้น วิธีการที่พระพุทธเจ้าแนะนำ คือ ให้เราแผ่เมตตา และวางอุเบกขาเมื่อเขาทำอะไรให้เราไม่พอใจ นั่นประกอบด้วยธรรม โดยไม่ต้องใช้อาชญาศาตราในการแก้ปัญหา เมื่อถึงเวลาที่เหมาะสม จิตใจคนเรามันเปลี่ยนแปลงกันได้ เรียกว่า เป็นการแก้ปัญหาโดยธรรม ซึ่งจะเป็นการแก้ปัญหาที่ยั่งยืน และเป็นผลดีทั้งสองฝ่าย - เมื่อถูกทำร้ายหรือถูกเบียดเบียน ให้ตอบโต้ด้วยวิธีการ 4 อย่าง ดังต่อไปนี้ จะเป็นการรักษาทั้งตนเอง และผู้อื่นด้วย 1) อดทน 2) มีเมตตาจิต 3) มีความรักใคร่เอ็นดู 4) ด้วยความไม่เบียดเบียน “จักร 4” ธรรมที่ทำให้ชีวิตเจริญรุ่งเรือง - จักร 4 เป็นธรรมะ ที่จะทำให้เรารักษาตนในชีวิตประจำวัน[...]
- Q1: การเชื่อมจิต A: ปาฏิหาริย์มี 3 อย่าง 1) อิทธิปาฏิหาริย์ = การเหาะเหินเดินอากาศ ทะลุกำแพง 2) อาเทศนาปาฏิหาริย์ = รู้วาระจิต ลักษณะนิสัย ความคิด 3) อนุสาสนีปาฏิหาริย์ = คำสอนของพระพุทธเจ้าที่สามารถทำตามได้และเกิดผลตามนั้นได้จริง เช่น สมาทานศีลแล้วผู้นั้นรักษาศีลห้าได้ เกิดความสบายใจ ไม่ร้อนใจ การทำสมาธิแล้วเกิดความสงบขึ้นในใจ นี่คือปาฏิหาริย์ - “การเชื่อมจิต” อยู่ในหมวดอาเทศนาปาฏิหาริย์ มี 3 แบบ 1) พระพุทธเจ้าสมัยเป็นพระโพธิสัตว์ จะรู้สังเกตดูจากชั้นเชิงของมหาชน = รู้ว่าคนนี้เป็นคนธรรมดา ควรกับสิ่งนี้ รู้ว่าคนนี้เป็นคนพิเศษ ควรกับสิ่งนี้ รู้ว่าคนนี้เหมาะสมกับงานอะไร ต้องการอะไร รู้อุปนิสัย การกระทำ สิ่งที่เขาชอบ ซึ่งสามารถรู้ได้โดยอาศัยการสังเกต 2) รู้วาระจิตของคนอื่น (เจโตปริยญาณ) = รู้ว่าในใจเขาคิดอะไร ทั้งก่อนหน้าและปัจจุบัน ไม่ว่าอยู่ใกล้หรือไกลกัน 3)[...]
- อุปนิสัยของคนที่เคยบวชแล้วสึกออกไป (ทิด) - หลังจากสึกแล้ว ออกไปอยู่ครองเรือน จะมีความรับผิดชอบขึ้น ใจเย็นขึ้น มีอุปนิสัยเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดีขึ้นกว่าก่อนบวช แต่อุปนิสัยดี ๆ เหล่านั้น อาจจืดจางได้ ขึ้นอยู่กับว่าได้สร้างเหตุเพื่อรักษาความดีนั้นอย่างต่อเนื่องหรือไม่ เช่น นั่งสมาธิ การคบเพื่อน เป็นต้น นิสัย 22 อย่าง ที่ทำให้ชีวิตตกต่ำลง 1) ไม่ยอมตื่น–นอนในเวลาที่ไม่ควรจะนอน 2) เสพความบันเทิงมากเกินไป 3) ไม่เข้าหาบัณฑิต 4) แวดล้อมด้วยคนเทียมมิตร–เอาแต่ได้ มีภัยไม่ช่วย ปอกลอก ต่อหน้าอย่างลับหลังอย่าง หัวประจบ ชักชวนไปในทางไม่ดี 5) อยู่กับศพ–อยู่กับคนไม่มีศีล 6) ไม่เปิดทางน้ำเข้า–ปิดกั้นไม่ให้มีทรัพย์สินเข้า ไม่ขยันทำมาหากิน ไม่หาแหล่งรายได้อื่น 7) ไม่ปิดทางน้ำออก–เปิดทางให้ทรัพย์สินไหลออก, อบายมุข 6 (ดื่มสุรา เที่ยวกลางคืน ดูการละเล่น การพนัน คบคนชั่วเป็นมิตร เกียจคร้านในการทำงาน) 8) ไม่ทำงบประมาณ–ไม่มีสมชีวิตา ไม่รู้รายรับรายจ่าย ทำให้ไม่รู้จักสมดุล ไม่รู้จักการใช้จ่ายทรัพย์ใน[...]
- Q1: โสดาบัน A: โสดาบัน หมายถึง ผู้ที่จะไปถึงกระแส อยู่บนกระแส อยู่บนทาง เปรียบเหมือนกับการล่องแม่น้ำให้ออกไปสู่ทะเล คือ ทางที่จะไปสู่พระนิพพาน - คุณสมบัติของโสดาบัน (โสตาปัตติยังคะ 4) (1)–(3) มีศรัทธาอย่างลงมั่นไม่หวั่นไหวในพระพุทธ พระธรรม และพระสงฆ์ (อจลศรัทธา): โดยศรัทธาจะเต็มได้ต้องควบคู่ไปกับการมีปัญญาพอสมควร รู้ว่าพระพุทธเจ้าสอนอะไรไว้ ไม่ทำในสิ่งที่ท่านไม่ได้สอน ไม่งมงาย ตั้งมั่นในเรื่องของกรรม จิตใจจะไม่เคลื่อนคล้อยไปทางอื่น เช่น การอ้อนวอนบูชาขอร้อง เสี่ยงเซียมซี ดูหมอดู แก้เคล็ด เป็นต้น หากไม่สบายใจก็จะหาคำตอบจากในคำสอนของพระพุทธเจ้า ไม่ไปหาคำตอบนอกคำสอนของพระพุทธเจ้า (4) มีศีล 5 ชนิดที่ไม่ขาด ไม่ทะลุ ไม่ด่าง ไม่พร้อย - ความเป็นโสดาบัน (โสตาปัตติผล) (1) จะมีศีล ชนิดที่ไม่ใช่สีลัพพตปรามาส-จะไม่งมงาย ไม่ใช่สายมู ทุกอย่างมีเหตุมีผล (2) จะละสักกายทิฏฐิได้-เข้าใจว่าสิ่งทั้งหลายทั้งปวงเป็นของไม่เที่ยง (3) จะละวิจิกิจฉาได้-ละความเคลือบแคลง เห็นแย้ง ไม่ลงใจไปได้[...]
- ช่วงไต่ตามทาง: ภรรยาพาลูกหนีออกจากบ้าน - ท่านผู้ฟังรายนี้เจอเหตุการณ์ภรรยาพาลูกหนีมา กทม. โดยไม่ทราบสาเหตุ เกิดคำถามข้องใจและความเป็นห่วงมาก จิตใจไม่เป็นสุข แต่เมื่อได้ฟังพระสูตร ก็รู้สึกเย็นขึ้น จิตใจสงบลง ระงับความคิดฟุ้งซ่านลงไปได้บ้าง - เมื่อจิตใจเบา นุ่มนวล เย็นอยู่ในภายใน ก็จะสามารถหาวิธีการอื่นที่เหมาะสม นุ่มนวล ไม่เนื่องด้วยอาชญาศาสตรา เป็นไปด้วยคุณธรรม คือ ความสามัคคี เมตตา ให้อภัย หาทางออกที่เป็นกุศลธรรม ชนะทั้งสองฝ่าย ทั้งตัวเราก็ได้ประโยชน์ คือ มีกุศลธรรมเกิดขึ้นในจิตใจ อีกฝ่ายก็ได้รับความต้องการอย่างถูกต้อง มีกุศลธรรมเกิดขึ้น ด้วยการมีธรรมะเข้าไปแทรกเอาไว้ - สำคัญ คือ “ปัญญา” เมื่อมีปัญหาเกิดขึ้นคุณมี “เครื่องมือ” ที่จะใช้งานเพื่อแก้ปัญหานั้นหรือไม่ - “อาวุธ” ที่จะนำไปใช้เมื่อตกอยู่ในสถานการณ์ที่มันเร่าร้อน กดดัน บีบคั้นในทุก ๆ ด้าน ก็คือ “ปัญญา” พระพุทธเจ้าใช้คำว่า “ปัญญาวุธ” - กรณีผู้ฟังท่านนี้ ใช้ธรรมะที่ได้ฟังมาปรับให้เกิดอาวุธ คือ ปัญญาในจิตใจของตน[...]
- Q1: การสวดมนต์โดยไม่รู้ความหมาย A: เหตุที่ต้องสวดมนต์เป็นภาษาบาลี เพราะการสาธยายธรรมด้วยภาษาที่เป็นต้นฉบับจะเป็นไปเพื่อรักษาคำสอนของพระพุทธเจ้า การสวดมนต์ภาษาบาลีแม้ไม่รู้ความหมาย แต่เมื่อบทสวดมนต์ทั้งหลายเป็นพุทธพจน์ ซึ่งเป็นคำดี การเปล่งเสียงพูดออกไปก็ย่อมเป็นสิ่งดี แต่ถ้ารู้ความหมายด้วยและทำให้จิตใจสงบด้วยก็จะดียิ่งขึ้น - การสวดมนต์มี 3 ขั้นตอน 1. คำพูดที่ออกจากปากเป็นบทสวดมนต์ที่เป็นพุทธพจน์หรือไม่ 2. รู้ความหมายของคำพูดนั้นหรือไม่ 3. ทำให้จิตใจสงบหรือไม่ อาจทำได้ไม่ครบ 3 ขั้นตอน ก็ยังดีกว่าไม่สวดมนต์เลย - “ทำนองการสวดมนต์” พระพุทธเจ้าไม่ให้สวดด้วยเสียงโดยยาว (เอื้อน สูง-ต่ำ) เพราะจะทำให้เกิดความกำหนัดได้ (เสียงเพลง) ทรงอนุญาตให้สวดเป็น “ทำนองสรภัญญะ” ได้ คือ ท่องสวดเป็นจังหวะ มีลักษณะเป็นคำฉันท์ คำคล้องจอง บทกลอน เป็นเทคนิคให้จำได้ง่ายขึ้น เพื่อสืบต่อคำสอน Q2: ทำชีวิตให้เจริญทั้งทางโลกและทางธรรม A: วิธีทำให้ “เจริญทางโลก” ประกอบด้วย 4 อย่าง 1. มีความขยันหมั่นเพียรในงาน (อุฏฐานสัมปทา) 2. รู้จักรักษาทรัพย์ (อารักขสัมปทา)[...]
- ช่วงไต่ตามทาง: Party Girl กับคนบ้างาน - ท่านผู้ฟังอดีตเคยเป็น Party Girl ชอบสังสรรค์ ดื่มเหล้า ส่วนอีกคนเป็นคนวิศวกร เงินเดือนสูง มุ่งมั่นในการงานและความก้าวหน้าของอาชีพมาก จนกระทั่งได้มีโอกาสไปหลีกเร้น ช่วงที่นั่งสมาธิเกิดความคิดแจ่มแจ้งขึ้นมาว่าการดำเนินชีวิตที่เป็นอยู่ไม่ใช่ “ทาง” จะเอามาเป็นหลักไม่ได้ จึงเลิกสังสรรค์ และลาออกจากงาน แล้วหันมาสนใจปฏิบัติธรรม ทำสมาธิเจริญวิปัสสนากรรมฐาน หาทางพ้นทุกข์ ตั้งหลักในการดำเนินชีวิตใหม่ คือ การเป็น “โสดาบัน” ในชาตินี้ - การอยู่หลีกเร้นไม่คลุกคลีกับใคร ทำให้ได้ฝึกสติ เกิดสมาธิ ทำให้จิตสงบ เกิดปีติ สุข จึงเกิดปัญญาว่า การแสวงหาความสุขจากการปาร์ตี้ แต่งตัว กิน ดื่ม ตำแหน่งงานสูง เงินเดือนสูง อันนี้ไม่ใช่ทาง แม้ทั้งสองจะอายุไม่มาก ยังเจอทุกข์ไม่มาก แต่มีปัญญามาตามทางมรรค เริ่มเห็นได้ว่า สุขมันก็ทุกข์เหมือนกัน ไม่ใช่ว่าการมีเงินทองจะเป็นทางออกให้พ้นทุกข์ได้ ด้วยความไม่ประมาทจึงหันมาศึกษาคำสอนของพระพุทธเจ้าให้มากขึ้นดีกว่า ช่วงสมการชีวิต: เตรียมจิตด้วยปัญญาก่อนเจ็บป่วยมาถึง - สุขภาพกาย สุขภาพใจ ต้องดูแลทั้งสองส่วนคู่กัน[...]
- Q1: อานิสงส์ของการสักการะพระบรมสารีริกธาตุ A: พระพุทธเจ้าตรัสไว้ว่า สถานที่ที่ควรเห็นเพื่อให้เกิดความสังเวช คือ สังเวชนียสถาน 4 ได้แก่ สถานที่ประสูติ ตรัสรู้ แสดงธรรมจักร และปรินิพพาน ซึ่งมีการสร้างเจดีย์ที่ภายในบรรจุพระบรมสารีริกธาตุไว้ - การบูชาพระพุทธเจ้า ไม่ได้ทำเพื่อการอ้อนวอนขอร้องให้ได้สิ่งใดสิ่งหนึ่ง แต่ทำเพื่อให้เกิดบุญกุศลที่เป็นไปเพื่อให้เกิดปัญญา ซึ่งหนึ่งในปัญญาที่ต้องมี คือ การสลดสังเวชใจ คำว่า “สังเวช” ไม่ใช่เรื่องไม่ดี สังเวชเกิดแล้วดีเพราะทำให้เกิดความตื่นตระหนักขึ้น ต่างกับเสียใจที่ยังมีราคะ โทสะ โมหะ ร่ำไห้คร่ำครวญ ส่วนสังเวช (sense of urgency) จะมีความรีบเร่งที่จะดับไฟที่ไหม้ตนอยู่โดยไม่พึ่งพาใครก่อน - บุญจากการสักการะพระบรมสารีริกธาตุ มี 2 อย่าง (เป็นบุญให้ไปเกิดในสวรรค์ได้) 1. บุญที่เกิดจากอามิสบูชา เช่น การยกมือไหว้ ถวายของ เวียนประทักษิณ เดินจงกรม 2. บุญที่เกิดจากจิตใจที่มีศรัทธา มีปัญญา เกิดความสลดสังเวชใจว่า แม้พระพุทธเจ้ายิ่งใหญ่ปานนี้ก็ยังต้องปรินิพพาน สรีระเหลือเพียงเท่านี้ เกิดความสลดสังเวชใจ ให้เรายิ่งต้องรีบปฏิบัติเพื่อให้พ้นจากทุกข์ให้เห็นธรรมที่ท่านเห็นแล้ว[...]
- ช่วงไต่ตามทาง: - การมองโลกในแง่ดีในทางพระพุทธศาสนา คือ การไม่คิดไปในทางที่เป็นอกุศล ในขณะเดียวกันก็ต้องไม่ประมาท ไม่เผลอเพลิน มีความระมัดระวังอย่างสูงไม่ให้อกุศลธรรมเกิดขึ้นในใจ - คุณปฐวี เมื่อได้ฟังธรรมะแล้ว พอเจอเรื่องร้าย ก็ไม่ค่อยรู้สึกอะไร ปัญหาที่เคยรู้สึกว่าหนัก ก็กลายเป็นง่ายขึ้น เบาขึ้น มีแสงสว่างเกิดขึ้นในจิตใจ มีความร่าเริงแจ่มใสขึ้น เพราะสติที่ตั้งขึ้นไว้ได้ ทำให้จิตไม่ได้ไหลไปตามอารมณ์ความรู้สึกจิตใจตั้งมั่นอยู่ได้อย่างดี ช่วงปรับตัวแปรแก้สมการ: - เมื่อเป็นลูกศิษย์ของพระพุทธเจ้าแล้ว อย่าเอาแต่รักสุขเกลียดทุกข์ แต่ต้องเข้าใจสุขทุกข์ ผ่านปรากฏการณ์ที่เรียกว่า “พยับแดด” พยับแดด ไม่ใช่ “ของจริง” แค่ “ดูเหมือนว่าจริง” คือ แม้เราจะเห็นแต่ไกลว่าข้างหน้าเหมือนมีน้ำอยู่บนถนน แต่เมื่อขับรถไปถึงจุดนั้นแล้วกลับไม่มีน้ำ มันไม่ใช่ของจริง การปรุงแต่งมองเห็นพยับแดดว่าเป็นสิ่งที่มีตัวตนนั้น เปรียบเหมือนกับทุกข์ที่เราปรุงแต่งไปก่อนหน้า ซึ่งเป็นทุกข์ที่เกิดขึ้นจริง ๆ ณ วินาทีนั้นแล้ว ทำให้ทุกข์ไม่ได้ลดลงและสุขไม่ได้มากขึ้น - เราจะมาหาของจริง ในสิ่งที่ไม่ใช่ของจริงจะไปเจอได้อย่างไร ในพยับแดดมีแต่แสงแต่ไม่มีตัวตน “เราจะไปหาสุข ในสิ่งที่เป็นความทุกข์ ก็จะหาไม่เจอ เปรียบเหมือนกับการไปหาน้ำในตัวพยับแดด เราจะไม่เจอน้ำ สิ่งที่เจอจะมีเพียงความว่างเปล่าจากความเป็นตัวตน” - ผู้ที่เข้าใจเรื่องพยับแดด[...]
- Q1: การฟังธรรมช่วยจัดการความเครียด จริงหรือไม่ A: เมื่อเกิดความเครียดขึ้น การฟังธรรมย่อมดีกว่าการหาความสุขทางกามแน่นอน แต่ต้องฟังให้ถูก - วิธีฟังธรรมเพื่อคลายความเครียด 1. ต้องมีศรัทธา โดยเริ่มจากเลือกหมวดธรรมะที่เราพอใจ มีศรัทธาที่จะฟังก่อน 2. ขณะฟังธรรม อย่าเพ่งโทษติเตียน ให้มีจิตนอบน้อมในการฟังธรรม - การฟังธรรมช่วยให้คลายเครียดได้ เนื่องจากเสียงเป็นเครื่องล่อให้จิตสงบได้ ทุกเสียงที่ได้รับฟังจะมีอารมณ์ติดมาด้วยเสมอ ให้เลือกฟังแต่สิ่งที่ดีดี จิตเราน้อมไปทางไหน สิ่งนั้นจะมีกำลังเสมอ ถ้าฟังธรรม จิตก็จะมีกำลัง สติปัญญาก็จะเกิดขึ้น ความเครียดก็จะระงับไปเอง Q2: วิธีรวมสมาธิให้ได้เร็ว A: ต้องมีสัมมาสติก่อนจึงจะมีสัมมาสมาธิ โดยสัมมาสติเกิดจากการปรารภความเพียร มีศีล มีสัมมาวาจา ทั้งนี้ ต้องมีศีลที่เป็นไปเพื่อสมาธิ ได้แก่ การรู้ประมาณเพื่อการบริโภค การนอนยามเดียว ไม่นอนกลางวัน การสำรวมอินทรีย์ การอยู่หลีกเร้น การสันโดษในบริขารแห่งชีวิต การอยู่ง่าย กินง่าย การรับฟังคำตักเตือนด้วยความเคารพหนักแน่น เป็นต้น สิ่งแวดล้อม สถานที่ คนรอบตัว สิ่งของที่ใช้ การกระทำอื่น ๆ ก็มีผลต่อการนั่งสมาธิ[...]
- การทำงานมักมีปัญหาอยู่เป็นประจำ เวลามีคนโกรธหรือไม่พอใจเรา หากเราตอบโต้กลับด้วยความโกรธความไม่พอใจกลับไป เรื่องราวก็จะยิ่งขยายผล หากเป็นผู้ปฏิบัติธรรม จะชนะความโกรธได้ ด้วยการไม่โกรธตอบ จะเอาชนะความอิจฉาริษยาได้ ด้วยเมตตามุทิตา จะเอาชนะความตระหนี่ได้ ด้วยการให้ จะเอาชนะความเพ่งเล็งหาโทษใส่ความได้ ด้วยความสัตย์ความจริง (ความจริงใจ โอบอ้อมอารี) เมื่อรู้ว่าตัวเองโกรธ แสดงว่ามีสติแน่ แต่ยังตัดไม่ได้ เพราะสติยังมีกำลังอ่อน ปัญญายังมีกำลังน้อย ก็ต้องเพิ่มสติเข้าไป ด้วยการฟังเทศน์ฟังธรรม สวดมนต์ นั่งสมาธิ แล้วตั้งใจใหม่ ตั้งปณิธานในวันใหม่ว่า “ไม่ว่าจะเกิดอะไร จะยิ้มสู้ จะไม่โกรธ จะแผ่เมตตาให้ทุกคนที่พูดด้วย ทุกที่ที่เดินไป ทุกสถานการณ์ที่ผ่านมา รวมถึงแผ่เมตตาให้ตนเองด้วย” วิธีตอบโต้ความไม่พอใจในที่ทำงาน 4 อย่าง ได้แก่ เมตตาจิต รักใคร่เอ็นดู ไม่เบียดเบียน และความอดทน ปัญญาก็จะเกิด เมื่อมีสติปัญญาเกิด ก็จะตัดความไม่พอใจ (โทสะ) ได้ ถ้าเราสามารถละความโกรธ ความไม่พอใจในที่ทำงานได้ ไปที่ไหนเราก็จะสบายใจแน่นอน อย่าไปคิดว่างานมันยาก งานมันหนัก งานมันเหนื่อย แต่ความยาก ความหนัก ความเหนื่อย[...]
- Q1: ฝากเงินไปทำบุญ ผู้ฝากได้บุญหรือไม่? A: ได้ กรณีพระเจ้าปายาสิทำทานเป็นประจำ โดยสั่งลูกน้องให้ไปทำแทน แต่พระเจ้าปายาสิตั้งจิตไม่ถูก ในขณะที่ลูกน้องตั้งจิตอธิษฐานถูกต้องว่า “ใคร มีสิ่งใดต้องการ ก็ขอจงมารับสิ่งนี้ไปให้เกิดประโยชน์แก่บุคคลนั้น” เมื่อตายไป ลูกน้องได้ไปสวรรค์ในชั้นที่สูงกว่าพระเจ้าปายาสิ วิธีตั้งจิตอธิษฐานเมื่อทำทาน ต้องเป็นการสละออกแบบไม่ได้ต้องการอะไรกลับมา ไม่อ้อนวอนขอร้อง เวลาให้ทานโดยไม่หวังอะไรตอบแทนจะได้บุญมากที่สุด และเมื่อบุญเกิด เราก็จะตั้งจิตอธิษฐานได้ การตั้งจิตอธิษฐาน หมายถึง การตั้งใจมั่นอย่างแรงกล้าในการที่จะทำสิ่งใดสิ่งหนึ่ง เช่น ตั้งใจมั่นว่าจะคิดดี ทำดี พูดดี เพื่อเป็นเหตุให้สำเร็จอะไรก็ตามขึ้นมา (อธิษฐานสร้างเหตุนั่นเอง) ผู้ฝากทำบุญสามารถตั้งจิตอธิษฐานได้เองโดยไม่ต้องฝากใคร Q2: ธรรมะที่ช่วยให้นึกถึงเรื่องดี มากกว่าเรื่องไม่ดี A: ความเคยชินของจิต (อนุสัย) มักจะนึกถึงเรื่องไม่ดีที่ผ่านมาแล้ว เมื่อคิดตริตรึกไปในทางไหน จิตจะน้อมไปทางนั้น จิตน้อมไปทางไหน สิ่งนั้นจะมีพลังขึ้นมา และจะมีอารมณ์ติดมากับความคิดนั้นเสมอ เช่น เมื่อนึกถึงตอนที่ถูกคนต่อว่า อารมณ์ความขัดเคือง ความไม่พอใจ (ปฏิฆะ) ก็จะติดมาด้วย หากไปตรงกับความเคยชินที่เคยถูกต่อว่ามาก่อน ก็จะเหมือนถูกกรีดซ้ำรอยเดิม (ปฏิฆานุสัย) วิธีที่จะกำจัดความเคยชินต้องตั้งสติขึ้น บังคับให้มันอย่าไปในร่องเดิม บังคับให้ไปทางอื่น ก็จะเป็นการลบรอยเก่า[...]
- เรื่องของนางกาณา ในสมัยพุทธกาล เป็นสตรีที่มีศรัทธาในพระพุทธศาสนามาก แต่ไปแต่งงานไม่ทันเพราะใส่บาตรพระ ทำให้เจ้าบ่าวไปแต่งงานกับผู้หญิงอื่นแทนเพื่อให้ทันฤกษ์ยาม นางกาณาเสียใจมาก ตั้งแต่นั้นมา นางกาณาก็ด่าว่าติเตียนภิกษุ แต่ก็ยังมีศรัทธาในพระพุทธศาสนาอยู่ พระพุทธเจ้าจึงเสด็จมาโปรด ปรับจิตใจนางกาณาและแม่ให้ยังมีศรัทธาอยู่ ให้เข้าใจสถานการณ์ อย่าหาบาปเพิ่มให้ตนเอง ให้ดำเนินชีวิตตามทางอริยมรรคมีองค์ 8 นางกาณาและแม่ได้ฟังแล้วก็บรรลุพระโสดาบัน ได้ทรัพย์อันยิ่งใหญ่มากกว่าการได้แต่งงาน ถ้าเราเจอผัสสะที่น่าพอใจหรือไม่น่าพอใจก็ตาม และเราพยายามรักษาตามมรรค 8 ไว้ได้ กิเลสก็จะอยู่ไม่ได้ เพราะเราตั้งใจจะทำความดี รักษาจิตใจให้ดีเหมือนเดิม ในขณะที่โลกบีบคั้น ปัญญาก็จะเกิดขึ้นว่า โลกมันเป็นอย่างนี้ มีเกิดและดับ มีลาภ มีเสื่อมลาภ มีสุข มีทุกข์ ปัญญาจะเกิดขึ้นทันที ความสมดุลระหว่างทางโลกกับทางธรรม ธรรมะมีหลายระดับ เช่น ระดับนักบวช ระดับผู้ครองเรือน การครองเรือนไม่ว่ารูปแบบใดก็ตาม ถ้าอยู่ด้วยความยินดีในกามก็จะได้รับการเบียดเบียนจากกาม ถ้าในการดำเนินชีวิตของเราไม่ได้มีความเข้าใจที่ถูกต้อง ไม่ได้มีธรรมะสอดแทรกเอาไว้ แล้วต้องเผชิญกับกาม จิตใจก็จะมีความวุ่นวาย มีความทุกข์ระทม ความเข้าใจที่ถูกต้องคือ สุขทุกข์ถ้ามีเหตุให้เกิดมันก็เกิด สุขทุกข์เป็นธรรมดา มีเกิดมีดับ เป็นของไม่เที่ยง ไม่ใช่ว่าจะได้แต่สุข ไม่เอาทุกข์ ถ้าจิตใจเราแปรปรวนด้วยผัสสะที่มากระทบให้มีสุขบ้าง ทุกข์บ้าง ความสงบตั้งไม่ได้ ก็จะไปตามกระแส มองไม่เห็นทาง
- Q1: วันมาฆบูชา พุทธศาสนิกชนควรปฏิบัติตนอย่างไร A: วันมาฆบูชา เป็นวันแห่งความรักของพระพุทธศาสนา เป็นความรักที่เป็นไปด้วยความเมตตาชนิดที่ไม่มีเงื่อนไข คือ ความรักที่บริสุทธิ์ ประกอบด้วย 3 องค์ประกอบ คือ 1. ไม่มีเงื่อนไข 2. ไม่มีประมาณ ไม่กลัวหมด 3. ไม่เว้นใครไว้ หากเรารักคนอื่นด้วย 3 องค์ประกอบนี้ ไม่มองเห็นใครเป็นศัตรู มองทุกคนด้วยจิตใจที่เป็นมิตร ด้วยจิตใจที่มีความรักความเมตตาแบบนี้ เป็นสิ่งที่ควรเอามาปฏิบัติ ทั้งทางกาย ทางวาจา และทางใจ ก็จะทำให้มีจิตใจแบบพรหม อยู่เป็นสุขได้ Q2: วิธีรับมือกับคนเจ้าอารมณ์ A: การเงียบ ไม่ต่อคำด้วย อาจจะไม่จบเดี๋ยวนั้น แต่ในอนาคตก็จะจบ ค่อย ๆ ใช้เวลาระงับลง การพูดสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์ ก็ไม่พูด ให้พูดสิ่งที่เป็นประโยชน์ ในเวลาที่เหมาะสม และให้แผ่เมตตาให้บุคคลนั้นผ่านไปยังสรรพสัตว์ทั้งหลาย เขาจะรับกระแสความรักความเมตตาจากเรา อารมณ์ร้อน โทสะของเขาก็จะเบาบางลง วิธีแผ่เมตตา 1. ทำจิตให้เป็นสมาธิ-ตั้งสติขึ้นโดยใช้พุทโธหรือกำหนดลมหายใจ พอเกิดสติแล้ว จิตจะค่อยระงับลง[...]
- กระบวนการเกิดของพฤติกรรม เกิดจากจิตใจ โดยจิตของคนเราจะเป็นไปตามอารมณ์ เปรียบเหมือนกับลิง โหนตัวไปมา จับกิ่งไม้นี้ โหนตัวไปจับกิ่งไม้อื่น แล้วปล่อยกิ่งไม้เดิม ทำอย่างนี้ไปเรื่อย ๆ จิตของของเราก็เหมือนกันเคลื่อนไปตามอารมณ์นี้ นั้น โน้น ซึ่งอารมณ์ก็เกิดมาจากตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ เมื่อจิตไปเสวยอารมณ์ก็จะเกิดสิ่งที่อาสวะผลิตขึ้นมา คือ กิเลส ราคะ โทสะ โมหะ เกิดขึ้นเมื่อไม่มีสติ หลงเพลินไป อาสวะเป็นของไหลออกเนื่องจากพฤติกรรมของจิตที่ไปเสวยอารมณ์นั้น ๆ เมื่อจิตไปเสวยอารมณ์ อาสวะที่ผลิตออกมาก็จะถูกสะสมไว้ที่จิต (reinforce) คือ การตอกย้ำลงไป พฤติกรรมนั้นก็จะทำง่ายขึ้นในครั้งต่อไป เมื่อจิตเราไปเสวยอารมณ์อย่างนั้นอีก อาสวะเมื่อเราไม่มีสติ หลงเพลินไป ก็จะถูกผลิตขึ้นมาอีก ก็จะเป็นการตอกย้ำอีกว่า การกระทำพฤติกรรมแบบนี้มันก็จะง่ายขึ้น เช่น คนที่ชอบกินผัดกะเพราแล้วมันอร่อย ก็กินผัดกะเพราในครั้งต่อไปก็ยิ่งจะง่าย หรือ คนที่กลัวงู ก็เพราะมีอาสวะสะสมในจิตให้เกิดอารมณ์กลัวจากการได้เห็นงูมาก่อน เมื่อมีผัสสะมากระทบ พฤติกรรมจะออกมาทันทีว่ากลัวงู พอพัฒนามากขึ้นก็จะกลายเป็นโรค Phobia สำหรับคนที่เป็นโรค Phobia หรือโรคซึมเศร้า ทำให้มีปัญหาในการดำเนินการชีวิต[...]
- Q1: อโหสิกรรมแล้ว คนนั้นจะไม่ต้องรับผลกรรม ใช่หรือไม่ A: การกระทำทุกอย่างทั้งทางกาย วาจา ใจ ต้องได้รับผลแห่งกรรมนั้น ผล คือ วิบาก ความเชื่อที่ว่า “ถ้าเราทำกรรมอย่างไร ก็จะได้รับกรรมอย่างนั้น” เป็นความเชื่อที่ผิด เป็นมิจฉาทิฎฐิ แต่ “ทำกรรมอย่างไร ก็จะได้รับผลของกรรมอย่างนั้น” เป็นความเชื่อที่ถูก “ผลของกรรม” กับ “กรรม” เป็นคนละอย่างกัน “อโหสิ” คือ การกระทำของเรา แม้เราให้อภัยเขา เขาก็ยังต้องได้รับผลของกรรมของเขาอยู่ ไม่ได้ขึ้นอยู่กับว่าเราจะให้อภัยเขาหรือไม่ เพราะแต่ละบุคคลมีกรรมเป็นของตน แต่การให้อภัยจะเป็นประโยชน์กับตัวเรา หากเราไม่พอใจเขา ผูกเวร ก็จะเป็นบาป เป็นอกุศลกรรมของเรา การให้อภัยจะเป็นตัวตัดไม่ให้ความชั่ว หรืออกุศลกรรมเกิดขึ้นกับเรา ตัวเราก็จะได้รับผลของกรรมดีจากการให้อภัยนั้น ตัวอย่าง การผูกเวรของพระเทวทัตที่มีต่อพระพุทธเจ้า - วิธีการที่จะขอตัดเวรตัดกรรม คือ การปฏิบัติตามอริยมรรคมีองค์ 8 ซึ่งเป็นปฏิปทาให้ถึงความสิ้นกรรม ให้เราทำความดี รักษาศีล เจริญสมาธิ เจริญปัญญา - พระอาจารย์แนะนำให้เรา “ทำความดีต่อไป[...]
- ช่วงไต่ตามทาง: ประสบความทุกข์ต่อเนื่อง ช่วง 10 ปี ที่ผ่านมา ประสบความทุกข์มาก ทั้งเรื่องเงินทอง คนในครอบครัวเสียชีวิตหลายคน โควิด หน้าที่การงาน สุขภาพร่างกาย เจอบททดสอบหลายอย่าง เครียดมาก บางครั้งไม่รู้จะทำอะไรก่อนดี ถ้าไม่มีธรรมะ ก็อาจจะเป็นโรคซึมเศร้าได้ แต่ผู้ฟังท่านนี้ มีสติ คอยดึงไว้ ไม่ทำอะไรที่ผิดศีล หรือเบียดเบียนผู้อื่น ไม่ปรุงแต่งให้จิตใจหดหู่ลงไป นึกถึงธรรมะความไม่เที่ยง มีสติสัมปชัญญะอดกลั้นเวทนาไว้ รักษาจิตให้มีความสงบ หาความสุขในปัจจุบัน เร่งทำความดี ฟังธรรม มีกัลยาณมิตร เดินตามทางมรรค ช่วงปรับตัวแปรแก้สมการ: Mindset ที่ทำให้ชีวิตมีความสุข กฎเกณฑ์ที่เราตั้งในชีวิต ทำให้เราทุกข์โดยไม่จำเป็น ก็ควรจะเปลี่ยนกฎเกณฑ์ใหม่ กฎเกณฑ์ความสุขของแต่ละคนมีความแตกต่างกัน ถูกหล่อหลอมมาไม่เหมือนกัน เจอผัสสะมาไม่เหมือนกัน มีความเปลี่ยนแปลงไปอยู่ตลอดเวลา สิ่งมีชีวิตทุกอย่าง “รักสุข เกลียดทุกข์” ถูกผลักดันด้วยเวทนา หากเราตั้งกฎเกณฑ์ว่าทุกอย่างจะต้องราบรื่น ไม่มีปัญหาอะไร เราถึงจะมีความสุขนั้น รอไปเถอะ เราจะทุกข์โดยไม่จำเป็น ทิฏฐิ (Mindset) เกิดจากผัสสะ หล่อหลอมตกตะกอนจนทำให้เป็นกฎเกณฑ์ในชีวิต ในโลกปัจจุบันมีทิฏฐิว่า[...]
- ช่วงไต่ตามทาง: ท่านผู้ฟังป่วยเป็นโรคมะเร็งปอด และเสียชีวิตแล้ว ความป่วยมี 2 อย่าง คือ ป่วยกายกับป่วยใจ ก่อนเสียชีวิต ท่านไม่มีการร่ำไห้คร่ำครวญ นึกเสียใจ แต่มีพลังจิตพลังใจเข้มแข็งมาก ยังสอนลูกหลานว่าความเจ็บป่วยเป็นธรรมดา ทุกคนต้องตาย ธรรมะที่ทำให้บุคคลนี้ยังมีความผาสุกอยู่ได้แม้มีความตายมาจ่ออยู่ตรงหน้า คือ การตั้งสติไว้ มีการฟังเทศน์อยู่สม่ำเสมอ เมื่อมีทุกขเวทนาเกิดขึ้น พระพุทธเจ้าสอนไว้ว่ามี 2 วิธี คือ ใช้สุขาปฏิปทา คือ การหลบจากความเจ็บปวดด้วยการเข้าสมาธิ หรือใช้ทุกขาปฏิปทา คือ การพิจารณาลงไปในความเจ็บปวดทางกายนั้น จิตแยกกับกายได้ ทุกขาปฏิปทานี้ เป็นวิธีการ หรือการพิจารณาชนิดที่เป็นที่สบายต่อการบรรลุนิพพาน คือ เห็นโดยความไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา ช่วงปรับตัวแปรแก้สมการ: วิธีทำจิต เมื่อต้องเผชิญกับความเจ็บป่วย Stage 1 ยังไม่ป่วยกาย-หากกายยังไม่ป่วย ก็อย่าให้ใจป่วย ที่ตั้งแห่งความเบาใจ 4 ประการ ได้แก่ พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ และศีลของเรา ให้ยึดไว้เป็นสรณะ จิตของเราก็จะมีความเบาใจได้ อย่าเอาจิตของเราไปใส่ไว้ในจุดที่หนักใจ[...]
- Q1: ทำอย่างไรให้กรรมชั่วที่เคยทำไว้ สิ้นผลไปโดยเร็ว A: หลักการทั่วไป คือ กรรมชั่วจะให้ผลเป็นความไม่ดี ทุกขเวทนา ส่วนกรรมดี จะให้ผลเป็นความสุข แต่หลักการนี้มีเงื่อนไขตัวแปร 2 อย่าง คือ เวลาและความหนักเบา เวลา: กรรมจะให้ผลในปัจจุบันหรือในเวลาต่อมา และต่อมาอีก, ความหนักเบา: ขึ้นอยู่กับเงื่อนไขหรือสถานการณ์หลายอย่าง เปรียบเหมือนเกลือกับความเค็ม เกลือเค็มอยู่แล้ว แต่จะเค็มมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับว่ามีน้ำน้อยหรือน้ำมาก ถ้าน้ำน้อยก็เค็มมาก ถ้าน้ำมากก็เค็มน้อย ตัวอย่าง ท่านองคุลีมาล เป็นต้น สำหรับ “ปฏิปทาให้ถึงความสิ้นกรรม” นั้น ต้องปฏิบัติตามมรรค 8 คือ ศีล สมาธิ ปัญญา ถ้าเราทำให้มาก เจริญให้มากแล้ว อันนี้จะเป็นปฏิปทาให้ถึงความสิ้นกรรมได้ เร็วอย่างมากก็ 7 ปี ทั้งนี้ จะเร็วหรือช้า ขึ้นอยู่กับอินทรีย์ (ศรัทธา วิริยะ สติ สมาธิ ปัญญา) ว่ามีความแก่กล้าหรือไม่ Q2: การทำความดีกับการทำบุญ เหมือนหรือต่างกันอย่างไร[...]
- ช่วงไต่ตามทาง: คุณจอย ได้รับทุกขเวทนาทางใจ คือ ถูกสามีนอกใจ และได้รับทุกขเวทนาทางกาย คือ พบว่าตนป่วยเป็นมะเร็งปอดระยะที่หนึ่ง ในสถานการณ์ที่หมดหวัง ครอบครัวแตกสลาย และยังเจอโรคภัยไข้เจ็บร้ายแรง แต่ด้วยการมีธรรมะรักษาจิตใจไว้ ทำให้ยังมีความหวัง ความมั่นใจที่จะดำเนินชีวิตให้ดีได้ ความหวังความมั่นใจนี้ คือ “ศรัทธา” ที่ตั้งเอาไว้ ทำให้มีการปฏิบัติธรรม มีเมตตา มีอุเบกขา ประกอบด้วยปัญญาในการปล่อยวาง เห็นว่าสุขทุกข์เป็นเรื่องธรรมดา จิตใจประกอบด้วยกำลัง คือ อินทรีย์เป็นพละ เหล่านี้ ทำให้ในสถานการณ์ที่สิ้นหวัง ก็ยังสามารถดำรงอยู่ได้ จิตใจมีความเข้มแข็ง สามารถดำเนินชีวิตต่อไปได้ โดยมีเป้าหมายในชีวิต คือ การปฏิบัติธรรมให้ละเอียดสูงขึ้น ให้จิตมีกำลังมากขึ้น ประกอบด้วยความหวัง และกำลังใจ ตอนนี้คุณจอยมีความสบายใจมาก ภูมิใจมากที่ได้ศึกษาคำสอนของพระพุทธเจ้า ขอบคุณความทุกข์ที่ทำให้เห็นธรรม การฟังธรรมะอยู่เป็นประจำ ได้ฝึกปฏิบัติธรรม ทำให้จิตใจมีความเข้มแข็ง เกิดปีติอยู่ภายใน ส่งผลให้ร่างกายฟื้นฟูได้อย่างรวดเร็ว ช่วงปรับตัวแปรแก้สมการ: ให้เรามีศรัทธา มีความมั่นใจ มีความหวังที่ประกอบด้วยปัญญา ในปี 2567 นี้ ในช่วงใกล้ปีใหม่ คนเรามักจะมีความหวังว่าปีหน้าจะดีขึ้น แต่ถ้าตั้งความหวังไว้ไม่ถูกตั้งแต่แรก[...]
- ประชาสัมพันธ์ กิจกรรมขุมทรัพย์แห่งใจ จัดขึ้นในวันอาทิตย์ที่ 21 มกราคม 2567 เวลา 09.00 – 12.00 น. ณ หอประชุมกองทัพเรือ ลงทะเบียนได้ที่ http://panya.org/newyear หรือ http://linkdd.co/newyear หลักธรรมที่นำมาใช้สำหรับการทบทวนตนเองในรอบปี คือ “สัมมาวายามะ” โดยแบ่งเป็น 2 หมวด คือ กุศลธรรม (ความดี) และอกุศลธรรม (ความไม่ดี) ให้ทบทวนดูว่าในรอบปี ตัวเรามีอกุศลธรรม เพิ่ม ลด หรือมีเกิดขึ้นใหม่หรือไม่ เช่น พูดชั่ว คิดชั่ว ทำชั่ว ทำผิดศีล ขี้เกียจ เป็นต้น และทบทวนว่ามีกุศลธรรม เพิ่มขึ้นหรือไม่ การตรวจสอบตัวเองก็ต้องไม่เข้าข้างตัวเอง ถ้าพบว่าตนเองกุศลธรรมไม่เพิ่มแต่มีอกุศลธรรมเพิ่ม ก็ต้องเปลี่ยนแปลงตัวเอง เพราะหากเราทำแบบเดิมแล้วหวังว่าจะได้ผลแบบใหม่ก็จะไม่เป็นอย่างนั้น ถ้าเราหวังจะให้ผลเปลี่ยนแปลงไป ก็ต้องเปลี่ยนวิธีการ ไม่ว่าจะเป็นเรื่อง การตั้งเป้าหมาย เพื่อนฝูง พฤติกรรมที่เป็นอยู่ เป็นต้น ซึ่งวิธีการ หรือกระบวนการนั้น[...]
- ช่วงไต่ตามทาง: การที่เรารู้สึกว่าโลกวุ่นวาย นั่นคือ จิตใจของเราเองต่างหากที่มันวุ่นวาย แต่เมื่อจิตของเราได้ฟังธรรม ก็จะรู้สึกได้ว่าโลกมันเปลี่ยน แม้ความเป็นจริงโลกจะไม่ได้เปลี่ยน โลกก็ยังเป็นโลกเหมือนเดิม มันเป็นไปตามเงื่อนไขตามกระแสของมัน แต่จิตของเราที่ถูกชโลมด้วยกระแสแห่งธรรม มีความเย็นอยู่ใต้ร่มแห่งธรรมะของพระพุทธเจ้า จะมีความผ่อนคลาย สบายใจ ทำให้การตอบสนองต่อโลกมันเปลี่ยนแปลงไป กรณีบุคลากรทางการแพทย์ที่ต้องเจอสิ่งมากระทบหลายด้าน ทั้งโรคภัยไข้เจ็บของคนไข้ ญาติของคนไข้ พยาบาล หรือหมอด้วยกัน เรื่องที่ทำให้เกิดความไม่พอใจมีมาก จากที่เคยมีอารมณ์ฉุนเฉียว โกรธ ไม่พอใจ แต่เมื่อได้ฟังธรรมะแล้ว ได้แผ่เมตตา ได้ปรับปรุงตัวเองให้พูดจาดีดี ใจเย็น ก็พบว่ามีจิตใจที่สงบขึ้น ปล่อยวางได้ การวินิจฉัยโรคของคนไข้ก็เห็นได้ชัดเจน ถูกต้องมากขึ้น คนไข้ และญาติของคนไข้ก็มี Feedback ที่ดีกลับมา สิ่งมหัศจรรย์ คือ การที่มีการแสดงธรรม มีผู้ฟังธรรม และผู้ฟังธรรมได้รับประโยชน์ เพราะเมื่อมีคำสอนของพระพุทธเจ้าอยู่ จึงมีการทวนกระแสที่เกิดจากการฟังธรรมะ เจตนารมณ์ของพระอาจารย์ คือ การที่ท่านผู้ฟังได้นำความรู้ ได้นำธรรมะที่ได้รับฟังนำไปใช้แล้วเกิดประโยชน์ ช่วงปรับตัวแปรแก้สมการ: ทบทวนตนเอง ส่งท้ายปีเก่า ต้อนรับปีใหม่ ให้ทบทวนตนเอง ทั้ง 3 ทาง ได้แก่[...]
- Q1: พระพุทธเจ้าตรัสถึงการฆ่าตัวตายไว้อย่างไรบ้าง? A: การฆ่าโดยทั่วไป ไม่ว่าจะเป็นตัวเองหรือสัตว์อื่น ไม่ดีทั้งนั้น เพราะเป็นการทำชีวิตของบุคคลหรือสัตว์ให้ตกล่วงลงไป เว้นแต่จะได้บรรลุเป็นพระอรหันต์ไม่ก่อนและไม่หลังจากการตาย การฆ่าตัวตายเพราะโรคซึมเศร้า ซึ่งเกิดจากความบกพร่องทางสมองหรือทางจิต โดยไม่ได้มีเจตนาทำบาปทำกรรมนั้น ถ้ายังมีราคะ โทสะ โมหะ ยังไงก็เป็นเจตนา Q2: งานก่อสร้างถือเป็นกิจของสงฆ์หรือไม่? A: พระพุทธเจ้าตั้งชื่องานก่อสร้างของพระสงฆ์ไว้ว่า “นวกรรม” งานก่อสร้างบางอย่างมันจำเป็น แต่ทรงเตือนไว้ว่า อย่าทำให้มันมาก อย่ายุ่งวุ่นวายกับมันเยอะ เพราะจะเป็น “เครื่องเนิ่นช้า” เป็นเหตุให้ 1. พระวินัยหย่อนยาน 2. ตั้งสติปัฏฐาน 4 ได้ยาก 3. เพื่อนไม่รัก Q3: บทสวดมนต์ใดที่ทำให้หายเจ็บป่วย A: พระพุทธเจ้าสอนว่า “ถ้าคนจะสำเร็จอะไรได้ทุกอย่างเพียงการอ้อนวอนแล้ว จะไม่มีใครเสื่อมจากอะไร” ถ้าลำพังการสวดมนต์แล้วทำให้หายเจ็บป่วยได้ โลกนี้ก็จะไม่มีใครตาย การสวดมนต์ในทางพระพุทธศาสนา คือ การพูดกล่าวตามที่พระพุทธเจ้าได้เคยสอนไว้หรือสัชฌายะ (Recitation) ไม่ใช่การสวดเพื่อขอพร (Pray) การที่เรามีความเจ็บไข้ได้ป่วยได้ ก็เพราะมีกายนี้ เมื่อมีกายก็ย่อมมีเวทนาที่เกิดขึ้นในกาย พอมีเวทนาเกิดขึ้นในกาย ก็ย่อมมีแก่ มีเจ็บ[...]
- นักกอล์ฟคนหนึ่ง เป็นตัวแทนขององค์กรไปแข่งขันกอล์ฟ เดิมในช่วงฝึกซ้อมจะเกิดภาวะเครียดมาก เหนื่อยมาก เนื่องจากมีความเพ่ง เกร็ง มีความจดจ่อจนเกินไป กลัวว่าจะทำได้ไม่ดี จึงพยายามบังคับ บีบคั้น ที่จะต้องทำให้ได้ ต่อมา มีการนั่งสมาธิ 2 ชั่วโมง ตอนเช้า ช่วงฝึกซ้อม ก็จะตีกอล์ฟแบบเงียบ ๆ ไม่พูดคุยกับคนมาก บางครั้งก็ใส่หูฟัง ฟังเทศน์ฟังธรรมไปด้วย โดยตีกอล์ฟแบบไม่เพ่ง ไม่บังคับ บีบคั้น ตนเองจนเกินไป เป็นการกำหนดรู้เฉย ๆ มีความรู้ตัวทั่วพร้อม มีสติ มีสัมปชัญญะในการตีกอล์ฟ ก็พบว่าตนเองมีการควบคุมอารมณ์ตัวเองได้ดีขึ้น เมื่อมีการควบคุมอารมณ์ของตัวเองได้ทั้งในขั้นตอนการฝึกซ้อม ในเกมส์การแข่งขัน และต่อทีม ทำให้ผลการแข่งขันออกมาดี ได้รับชัยชนะ ซึ่งการชนะคนอื่นไม่สำคัญเท่ากับชนะใจของตัวเองที่มีวินัยฝึกซ้อม และสามารถควบคุมอารมณ์ของตัวเองได้ สติ และสมาธิ สามารถนำมาใส่ในการเล่นกีฬาได้ ไม่ได้จำกัดอยู่เฉพาะอิริยาบถนั่ง หรือเดินจงกรม การดำเนินชีวิตของฆราวาส มีการงานต้องทำมาก มีความวุ่นวายในการดำเนินชีวิต ใน 1 ปี มี 52 สัปดาห์ เคสแรก ไปเข้าคอร์สปฏิบัติธรรม[...]
- - กฐิน เป็น 1 ใน 2 พิธีกรรมที่พระพุทธเจ้าบัญญัติไว้ เป็นเรื่องเกี่ยวกับ “ผ้า” “ทอดกฐิน” คือ การที่ญาติโยมมอบผ้าให้หมู่สงฆ์ “กรานกฐิน” คือ กระบวนการที่พระสงฆ์ร่วมกันทำผ้าขึ้นมา เพื่อมอบให้กับพระภิกษุรูปใดรูปหนึ่งที่อยู่ในอาวาสนั้นครบ 3 เดือน โดยจะต้องทำผ้า (ตัด เย็บ ย้อม) ให้เสร็จภายในวันนั้น โดยกฐินมีกำหนดเวลาให้ทำได้เฉพาะช่วง 1 เดือน หลังจากออกพรรษาเท่านั้น งานกฐินไม่ได้เน้นเรื่องจำนวนเงิน แต่เน้นเรื่องความสามัคคีและความพร้อมเพรียงกันของหมู่คณะ - ปัจจัยที่ทำให้การทำทานได้บุญมากหรือน้อย ประกอบด้วย 1. ผู้ให้ มีความบริสุทธิ์ในศีล มีศรัทธาเต็ม ทั้งก่อนให้ทาน ระหว่างให้ทาน และหลังให้ทาน 2. ผู้รับ มีความบริสุทธิ์ในศีล มีราคะ โทสะ และโมหะ เบาบาง 3. ตัวทาน (สิ่งของที่นำมาให้) เป็นของที่ได้มาโดยถูกต้อง บริสุทธิ์ ไม่ได้คดโกงใครมา - การสวดมนต์ที่ถูกต้อง คือ[...]
- - ผู้ชายเคยทำผู้หญิงท้องและให้ไปทำแท้ง เกิดความร้อนใจ แต่แก้ไขด้วยการตั้งจิตตั้งใจใหม่ โดยการให้ทาน รักษาศีล เจริญสมาธิ และปัญญา ทำทุกวันๆ ก็พบว่าชีวิตมีการเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดีขึ้น - การอยู่ร่วมกันได้อย่างผาสุก ต้องมีการปรับจิตปรับใจให้มีความเมตตาต่อกัน ให้มีธรรมะในจิตใจ ซึ่งการให้ธรรมะซึ่งกันและกัน ไม่จำเป็นต้องพูดหรือทำอะไรให้กัน เพียงแค่ตัวเรานำธรรมะมาปฏิบัติ ก็ชื่อว่าได้ให้ธรรมะแล้ว - วิธีปรับจิตใจของตนต่อบุคคล 5 กรณี ได้แก่ 1. เขาพูดไม่ดี แต่การกระทำยังดีอยู่ 2. เขาทำไม่ดี แต่วาจายังดีอยู่ 3. เขาทำไม่ดีและวาจาก็ไม่ดีด้วย 4. เขาทำไม่ดี พูดไม่ดี และจิตใจก็ไม่ดีด้วย 5. เขามีการกระทำที่ดี คำพูดที่ดี และมีจิตใจที่ดี ให้เราหาข้อดีของบุคคลนั้นให้เจอ ไม่ใช่เพื่อพัฒนาเขา แต่เพื่อพัฒนาจิตใจของเรา ไม่ให้มีความอาฆาตพยาบาท ให้มีความเมตตาต่อบุคคลนั้น ให้จิตใจของเราไปในทางสว่าง
- ความเชื่อในเรื่องต่าง ๆ จะต้องประกอบด้วยปัญญา ให้เรามีพระพุทธ พระธรรม และพระสงฆ์ เป็นยอดธง จะทำให้มีความเห็นที่ถูกต้อง ในที่นี้ยกเรื่อง ข่าวการสักยันต์ที่ฝ่ามือเพื่อเปิดดวงชะตาเสริมดวง การสวดมนต์ด้วยบทสวดที่ช่วยให้เป็นเศรษฐีหรือพ้นกรรม ความอยากต่าง ๆ เช่น อยากเป็นพระอรหันต์ หรือการขอร้องอ้อนวอน ซึ่งเป็นมิจฉาทิฐิ ดังนั้นเราจึงต้องตั้งสถานะของเราให้ถูก มีศรัทธาตั้งมั่นในพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์โดยเดินตามทางมรรค 8 จะทำให้ตัณหาลดลง และมีนิพพานเป็นที่สุดจบ
- หลักในการตามรักษาไว้ซึ่งความจริง พระพุทธเจ้าทรงสอนไว้ในจังกีสูตร ว่าอย่าเพิ่งปักใจลงไป อย่ายึดถือโดยส่วนเดียว เข้าใจความจริงอันประเสริฐ คือ สัจจะ ด้วยการใช้หลักในการตามรักษาไว้ซึ่งความจริง 12 ขั้นตอน ดังนี้ 1. ปลูกศรัทธาลงไปครั้นมีศรัทธาเกิดแล้ว 2. ย่อม เข้าไปหา ครั้นเข้าไปหาแล้ว 3. ย่อม เข้าไปนั่งใกล้ ครั้นเข้าไปนั่งใกล้แล้ว 4. ย่อม เงี่ยโสตลง ครั้นเงี่ยโสตลง 5. ย่อม ฟังซึ่งธรรม ครั้นฟังซึ่งธรรมแล้ว 6. ย่อม ทรงไว้ซึ่งธรรม ครั้นทรงไว้ซึ่งธรรมแล้ว 7. ใคร่ครวญ ซึ่งเนื้อความแห่งธรรมทั้งหลายอันตนทรงไว้แล้ว เมื่อใคร่ครวญ ซึ่งเนื้อความแห่งธรรมอยู่ 8. ธรรมทั้งหลาย ย่อมทนต่อความเพ่งพินิจ เมื่อการทนต่อการเพ่งพินิจของธรรมมีอยู่ 9. ฉันทะ ย่อมเกิดขึ้น ผู้มีฉันทะเกิดขึ้นแล้ว 10. ย่อม มีอุตสาหะ ครั้นมีอุตสาหะแล้ว 11. ย่อม พิจารณาหาความสมดุลย์แห่งธรรม ครั้นมีความสมดุลย์แห่งธรรมแล้ว 12.[...]
- Q1: ทำไมช่วงเข้าพรรษา คนถึงนิยมรักษาศีล จะได้บุญมากกว่าช่วงปกติหรือไม่? A1: เป็นการเอาคติจากการอยู่ที่ใดที่หนึ่งช่วงเข้าพรรษาที่พระพุทธเจ้าบัญญัติไว้มาปรับใช้ในการกำหนดช่วงเวลาในการทำความเพียร รักษาศีล และให้เราทำแบบเป็นอริยะอุโบสถ โดยการระลึกถึงพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ Q2: พระพุทธรูปที่หิ้งพระที่บ้าน ควรหันหน้าไปทางทิศไหน? A2: เราไม่ควรติดในเรื่องของความเชื่อที่ว่าพระพุทธรูปจะต้องหันไปทางไหน แต่สิ่งที่สำคัญ คือ ให้เรารักษาศีล และพิจารณาตามความเหมาะสม Q3: ทำไมถึงไม่วางหิ้งพระไว้ใต้คาน A3: การวางพระพุทธรูปควรวางไว้ในจุดที่สูงสุด และสถานที่ที่มีความเหมาะสม Q4: ชีวิตหลังความตาย A4: ให้เราทำเหตุแห่งความตายให้นิโรธ คือ ดับไป ซึ่งเป็นสิ่งที่พระพุทธเจ้าทรงมาสอน บอกความรู้นี้เอาไว้ คือ ให้เราทำจิตของเราให้หมดจากตัณหา มีความรู้ คือ วิชชา จะทำให้เราพ้นจากความตายได้ Q5: ทำอย่างไรถึงจะยอมรับการตายของคนในครอบครัวได้? A5: ต้องมีปัญญาเห็นว่าความตายเป็นเรื่องธรรมดา เข้าใจถึงเหตุของความตาย ปฏิบัติตามมรรค 8 จะทำให้เราพ้น จาก ความเกิด ความแก่ และความตายได้ Q6: จิตคนก่อนตายเพียงแต่คิดไม่ดี ก็ไปนรกได้ ทั้ง[...]
- 1.อย่าเพียงแต่เชื่อ ความเชื่อ หรือศรัทธา จะต้องมีองค์ประกอบอื่น ๆ ประกอบกันให้สมบูรณ์ คือ มีความเพียร มีศีล มีสติ สมาธิ ปัญญา 2.วิธีเสริมสร้างปัญญา คือการทำสมาธิ พอจิตเป็นอารมณ์อันเดียวแล้วจะเห็นถึงความเป็นเหตุเป็นผล เห็นช่องทางที่จะนำปัญญาไปใช้งาน เห็นถึงความเกี่ยวข้องเชื่อมโยงไปในจุดต่าง ๆ ปัญญาที่พระพุทธเจ้าสอนเอาไว้คือให้พ้นทุกข์ 3.วิธีเอาตัวรอด ด้วยปัญญา โดยการเอาชนะกิเลสของตนเอง รอดจากราคะ โทสะ หรือ โมหะ ทั้งจากตัวเรา และของผู้อื่น โดยการตั้งสติของเราให้เกิดขึ้น และต้องมีความอดทนต่อกิเลส อดทนที่จะไม่คิดชั่ว อดทนต่อสิ่งต่าง ๆ ไม่ให้มิจฉาทางกาย ทางวาจา และใจเกิดขึ้น 4.ระวังคนพาลใกล้ตัว คนพาลใกล้ตัวคือตัวเราเอง ในขณะที่ถูกครอบงำด้วยราคะ โทสะ โมหะ ดังนั้นให้เราระวังคนพาลใกล้ตัว รู้จักรักษาตัวรอด เอาตัวรอดจากราคะ โทสะ โมหะ โดยการเสริมสร้างด้วยปัญญา ที่ไม่ใช่มีระบบเพียงแค่ความเชื่อ แต่มีหลายๆ องค์ประองค์ประกอบ ทำงานเป็นระบบในทางพระพุทธศาสนา คือ มีความเพียร มีศีล มีสติ[...]
- Q1: มีหลักธรรมในการเลี้ยงลูก และการใช้ชีวิตในโลกปัจจุบัน? A1: หน้าที่ของมารดาบิดา 5 อย่าง ตามคำสอนของพระพุทธเจ้า มีดังนี้ 1. ห้ามลูกเสียจากบาป 2. ให้ตั้งอยู่ในความดี 3. ศึกษาศิลปะวิทยา 4. ให้มีคู่ครองที่สมควร 5. มอบมรดกให้ตามเวลา Q2: ความขัดแย้งเกิดขึ้นได้อย่างไร และเราจะแก้ไขได้อย่างไร? A2: ความขัดแย้งมีสาเหตุ จากกาม ความกำหนัดยินดีพอใจ ที่เกิดจากตา หู จมูก ลิ้น และกาย การแก้ไข จิตต้องมีพรหมวิหาร 4 คือ มีความเมตตา เห็นอกเห็นใจ ให้อภัยกัน มีอุเบกขา และอยู่ในศีล Q3: ทานเนื้อสัตว์จะบาปน้อยกว่าดื่มเหล้าจริงไหม? A3: การรับประทานอาหารเจด้วยการตั้งเจตนาว่าจะไม่เบียดเบียน จะทำให้มีบุญมาก และหากมีการรักษาศีลด้วย จะทำให้ไม่มีความร้อนใจ ส่งผลให้เวลานั่งสมาธิมีจิตที่สงบ Q4: การฝึกสมาธิ online กับการไปเข้าวัดแล้วไปฟังสด ๆ ได้บุญต่างกันไหม A4:[...]
- เมื่อตัวเราป่วย หรือคนใกล้ตัวป่วยด้วยโรคร้าย การมีสติสัมปชัญญะ มีศีล สมาธิ เจริญมรณสติ จะทำให้เกิดปัญญายอมรับในความจริง เข้าใจสถานการณ์ ละความยึดถือทำให้อยู่ได้อย่างผาสุก การมีธรรมะ 5 ข้อ ที่จะทำให้ผู้เจ็บป่วยไข้ผาสุกอยู่ได้ รู้จักทำความสบาย สัปปายะ รู้ประมาณในความสบาย รู้จักรับประทานยา บอกอาการไข้จริงตามความเป็นจริง รู้จักอดทนต่อทุกขเวทนาทางกาย หน้าที่ 5 อย่าง ของผู้ดูแลผู้ป่วย สามารถจัดยาให้ถูกต้องได้ รู้จักของแสลง และของไม่แสลง ดูแลด้วยจิตเมตตากรุณา ไม่รังเกียจในการดูแลจัดการปัสสาวะ และอุจจาระ พูดให้กำลังใจ
- Q1: คำสอนของพระพุทธเจ้า มีสอนให้แบ่งจ่ายทรัพย์หรือไม่? A1: พระพุทธเจ้าทรงสอนนายสิงคาลก เกี่ยวกับหลักการใช้โภคทรัพย์ ไว้ดังนี้ รายจ่ายอย่าให้ท่วมรายรับ รายรับต้องท่วมรายจ่าย โดย cash flow ต้องเป็นบวก ซึ่งทรงสอนให้แบ่งโภคทรัพย์ออกเป็น 4 ส่วน ส่วนที่หนึ่งใช้สอย 2 ส่วนใช้เพื่อการงาน และเก็บไว้ใช้ยามมีอันตราย 1 ส่วน การแบ่งสัดส่วนให้พิจารณาให้เหมาะสมกับตัวเราไม่จำเป็นต้องเท่ากัน นอกจากนี้ ยังมีข้อมูลในเรื่องสมชีวิตา พูดถึงรายรับต้องท่วมรายจ่าย รายจ่ายให้ใช้เพื่อ 4 หน้าที่นี้เท่านั้น เพื่อเป็นการเปิดทางน้ำเข้า ดังนี้ 1. ขยันขันแข็ง 2. มีกัลยาณมิตร 3. รักษาทรัพย์ 4 รู้จักกระแสเงินสด เงินเข้าต้องมากกว่าเงินออก การใช้จ่ายแบ่งเป็น 4 ส่วน ส่วนที่ 1 ใช้จ่ายในชีวิตประจำวัน ส่วนที่ 2 ใช้จ่ายเพื่อรักษาทรัพย์ ส่วนที่ 3 ให้คนที่มีความจำเป็น ไม่หวังได้คืน ส่วนที่ 4 ให้เพื่อหวังเอาบุญ ถ้าเราใช้จ่ายแบบนี้จะหมุนวนเป็นกระแสเงินเข้ามาเรื่อย ๆ อุปมาเหมือนจอมปลวก หรือรวงผึ้ง ที่ค่อย ๆ สะสมโภคทรัพย์ จนสามารถขยับฐานะขึ้นเป็นมหาเศรษฐีได้ Q2: คนสมัยนี้ บรรลุธรรมขั้นโสดาบันได้ง่าย จริงหรือครับ? A2: โสดาบัน คือ ผู้มีศีล 5 บริสุทธิ์ มีศรัทธาในพระพุทธเจ้า พระธรรม และพระสงฆ์ ชนิดที่ไม่หวั่นไหวคลอนแคลน โสดาบัน แบ่งเป็น 2 ขั้น คือ โสดาปัตติมรรค และโสดาปัตติผล คนสมัยนี้บรรลุธรรมโสดาบันขั้นมรรคสามารถเป็นไปได้ เนื่องจากมีสื่อต่าง ๆ แต่ในขั้นบรรลุธรรมโสดาบันขั้นผลนั้น ปัจจุบันไม่มีใครสามารถพยากรณ์ได้ ทั้งนี้ ตัวเราเองสามารถบอกได้ว่าเรามีคุณธรรมขั้นไหน แต่ต้องอยู่บนพื้นฐานของการไม่เข้าข้างตัวเองหรือมีโมหะ โดยจะมีคุณสมบัติ และเครื่องทดสอบในแต่ละขั้น ดังนี้ โสดาบัน คือ ผู้ที่มีศีลเต็ม สมาธิ และปัญญาพอประมาณ มีเครื่องทดสอบให้เราเสื่อมศรัทธา สกทาคามี คือ ผู้ที่มีศีลเต็ม สมาธิ และปัญญาพอประมาณ มีเครื่องสอบ เพิ่มเติม คือ ราคะ โทสะ โมหะ ทำให้โกรธ ให้หลง[...]
- Case ของท่านผู้ฟังทางบ้านที่จับได้ว่าสามีมีหญิงอื่น ได้รับความทุกข์ใจเป็นอันมากจนคิดจะฆ่าตัวตายเพื่อจบปัญหา พระอาจารย์ได้แนะนำวิธีการรับมือ และแก้ไขปัญหาโดยให้ดำเนินการตามขั้นตอนดังนี้ ตั้งสติ ว่าแผลอยู่ตรงไหน ใช้สติเป็นเครื่องเอกซเรย์ที่ตรวจหาหัวลูกศรว่าอะไรเป็นเหตุของความทุกข์ ใน case ของผู้ฟังทางบ้าน ที่สามีมีหญิงอื่น หัวลูกศร คือความรักที่มีต่อสามี เมื่อสามีมีหญิงอื่นจึงนำซึ่งความทุกข์มาให้ ใช้ปัญญาเป็นดั่งมีดปาดลงไปที่แผล ทั้งนี้จิตต้องเป็นสมาธิ ถอนความรักออก จนเหลือแต่เมตตา แยกความดีไม่ดี ออกจากสุขหรือทุกข์ แล้วตั้งอยู่ในกุศลธรรมเข้าใจความสุข หรือทุกข์ว่าเป็นธรรมดา ใส่ยาเพื่อรักษาแผลที่จิตใจให้หายอย่าให้ลุกลามออกมาภายนอก ด้วย ศีล สมาธิปัญญา อุเบกขา เมตตา ภาวนา และไม่ทำสิ่งที่เป็นอกุศลเกิดขึ้นมาอีก สัญญาณที่จะเป็นตัวบ่งบอกว่าเราใกล้บ้าแล้ว นอนไม่หลับ หรือนอนมากเกินไป กินอาหารมากขึ้น หรือเบื่ออาหาร ใช่จ่ายฟุ่มเฟือย เสพสิ่งเสพติด เล่นโซเชี่ยลมากเกินไป เพ้อคลั่งอาละวาด มีความเครียดอยู่ตลอดเวลา หวาดระแวงทุกสิ่งทุกอย่าง ไม่มีสมาธิ ไม่สามารถจดจ่อกับสิ่งที่ต้องทำได้ตามปกติ เห็นภาพหลอนได้ยินเสียงแว่ว ไม่สามารถตัดสินใจเรื่องเล็กๆน้อยๆ ได้ หลงลืม คิดจะฆ่าตัวตาย หรือคิดว่าคนอื่นจะมาทำร้าย ในทางพระพุทธศาสนา คนที่ยังมีราคะ โทสะ โมหะ มีโอกาสเป็นบ้าได้ทุกคน โดยมีความวิปัลลาส 4 อย่าง ดังนี้ เห็นสิ่งที่ไม่เที่ยงว่าเที่ยง เห็นสิ่งที่เป็นทุกข์ว่าเป็นสุข เห็นสิ่งที่ไม่ใช่ตัวตนเป็นอนัตตาว่ามีตัวเราเป็นของเรา เห็นสิ่งที่ไม่งามอสุภะว่าเป็นของงาม
- Q1: มีคำพูดที่ว่า การสร้างพระประธาน หรือ เจ้าภาพกฐิน ไม่ควรทำคนเดียวถ้าบุญไม่ถึงอาจมีอันเป็นไป ขอสอบถามว่าเป็นอย่างนั้นใช่หรือไม่? A1: สามารถทำคนเดียวได้ ยกตัวอย่างอนาถบิณฑิกเศรษฐีที่สร้างวัดพระเชตวันเพียงคนเดียว ทั้งนี้ไม่มีพุทธพจน์ข้อไหนที่บอกไว้ว่าไม่ควรทำบุญใหญ่คนเดียว ทั้งนี้ เหตุผลที่ห้ามทำคนเดียวเป็นกุศโลบาย เนื่องจากการทำบุญด้วยการให้ทานผลที่จะเกิดขึ้น คือ สำหรับตนจะได้ โภคสมบัติ ถ้าชวนคนอื่นด้วย จะได้บริวารสมบัติ คือ มีหมู่คณะ มีเพื่อนเพิ่มเติมขึ้นมา โดยบุญมี 3 อย่าง คือ ให้ทาน รักษาศีล และเจริญภาวนา Q2: ถามถึงกิจกรรม Challenge ที่นั่งอันเป็นทิพย์ A2: เป็นกิจกรรมที่ท้าให้ผู้สนใจมาร่วมปฏิบัติการด้วยกัน เป็นเวลา 7 วัน เป็นการสร้างนิสัยเอาชนะความขี้เกียจ ฝึกแบบเป็นระบบด้วยรูปแบบการเรียนออนไลน์ และมีระบบการเก็บแต้ม คนที่ปฏิบัติได้ครบ 7 วันก็จะได้รับรางวัล เมื่อเราทำ Challenge รับคำท้า จะต้องเจอข้อสอบแน่นอน ให้เรามีปัญญา มีความเพียรตั้งมั่นทำความดีอยู่ในทางที่ถูกต้อง Q3: พระดูดวงให้กับฆารวาส ทำได้หรือไม่? A3: ถ้าดูแล้วมีการเรียกเก็บค่าดู ไม่สามารถทำได้เนื่องจากผิดศีลของพระ Q4: บวชชี 7 วันจะช่วย ชำระกรรมเก่าได้จริงไหม หรือเกิดประโยชน์ไหม? A4: การบวชชีเป็นสิ่งที่ดี ในที่นี้ยกตัวอย่างการทำความดีเหมือนเป็นการเพิ่มน้ำที่สามารถทำให้ความเค็มที่เกิดจากเกลือลดลง แต่เกลือในที่นี้ คือ กรรมเก่าไม่ได้หายไปทั้งนี้เนื่องจากกรรมนั้นได้ทำไปแล้วสำเร็จแล้ว ผลจะได้รับมากน้อย เร็วช้า มีตัวแปรหลายอย่าง เช่นการทำความดี การบวชชี ซึ่งเป็นการเพิ่มน้ำ Q5: การบวชภิกษุณี ควรจะไปบวชที่อินเดีย ถูกต้องไหม? A5: การบวชภิกษุณี ต้องเกิดจากการบวชโดยสงฆ์ 2 ฝ่าย คือ ภิกษุ และภิกษุณี แต่เนื่องจากประเทศไทยไม่มีภิกษุณี จึงต้องไปบวชที่ อินเดีย ศรีลังกา หรือไต้หวัน Q6: การนับวันในพุทธศาสนา กรณี อยู่คนละประเทศ จะยึดหลักการนับวันอย่างไร การปฎิบัติจะมีความลักลั่นกันไหม ? A6: การกำหนดวันพระในพระพุทธศาสนามากำหนดภายหลังจากพระพุทธเจ้าปรินิพพานไปแล้ว สมัยพุทธกาลทุกวันคือวันสำคัญ กรณีอยู่คนละประเทศหลักการนับให้ขึ้นอยู่กับแต่ละประเทศ Q7: ถ้าทำงานติดขัดมีปัญหา ขอคำแนะนำ ควรทำอย่างไรดี? A7: มีปัญหาตรงไหนให้แก้ตรงนั้น ถ้าทำงานติดขัดแล้วมีปัญหา อย่างน้อยให้รักษาศีลโดยนำหลักการปฎิบัติที่ไม่มีทางผิดมาใช้
- มีตนมีธรรมเป็นที่พึ่งสามารถที่จะผ่านปัญหาต่าง ๆ ด้วยปัญญาเฉพาะตน คนเราสามารถพัฒนาได้ ด้วยวิธีคิดที่ไม่ผิด ไม่ว่าสถานการณ์จะเป็นแบบไหนก็ตาม ซึ่งเป็นวิธีคิดที่พระพุทธเจ้าสอนเอาไว้ใน อปัณณกะ ว่าด้วยข้อปฏิบัติไม่ผิด “อะไรที่จะมีประโยชน์ให้เอาไว้ก่อน และหามาตรการในการป้องกันความเสี่ยง” 2 ส่วนยังไงก็ผิด เป็นความวิบัติ 3 อย่าง สีลวิบัติ (ความวิบัติแห่งศีล) จิตตวิบัติ (ความวิบัติแห่งจิต) ทิฏฐิวิบัติ (ความวิบัติแห่งทิฏฐิ) ความถึงพร้อม 3 อย่าง ที่ไม่มีทางผิด คือ สีลสัมปทา (ความถึงพร้อมด้วยศีล) จิตตสัมปทา (ความถึงพร้อมด้วยจิต) ทิฏฐิสัมปทา (ความถึงพร้อมด้วยทิฏฐิ) นั่นคือ ศีล สมาธิ ปัญญา ส่งผลให้เจริญแน่นอน ข้อปฎิบัติ 3 อย่าง ที่พระพุทธเจ้าทรงตกผลึกมาแล้ว ไม่ว่าจะประกอบอาชีพอะไรเมื่อปฎิบัติแล้วไม่มีทางเสีย มีแต่จะดีขึ้น คือ การคุ้มครองทวารในอินทรีย์ทั้งหลาย การรู้ประมาณในการบริโภค การประกอบความเพียรเครื่องตื่นอยู่เสมอ ๆ ในที่นี้ยกตัวอย่าง 3 เรื่องด้วยกัน ดังนี้เรื่องที่ 1 การถ่วงน้ำหนักลูกเต๋า ซึ่งเป็นกลโกงในการเล่นการพนัน ที่นำเทคนิคนี้มาปรับใช้ในการทำความดี สร้างประโยชน์ ทำความดีได้ตลอดเวลา เรื่องที่ 2 พระโพธิสัตว์ ครั้นเมื่อเกิดเป็นพ่อค้าบริหารความเสี่ยงด้วยระเบียบวินัย ในเรื่องของการใช้น้ำสำหรับการเดินทางในทางกันดาร โดยใช้ปัญญาคิดมาตรการ และระบบที่จะป้องกันความเสี่ยง และมีความเพียรในการทำตามระบบนั้น ทำให้ไม่ถูกยักษ์ที่แปลงกายมาหลอกให้ทิ้งน้ำกลางทางจนกว่าจะเจอน้ำใหม่ เรื่องที่ 3 คน 2 คน ไปหาสิ่งของมาขาย คนที่มีปัญญาจะคิดว่าอะไรที่จะมีประโยชน์ให้เอาไว้ก่อน เช่น ผ้าไหม มีประโยชน์กว่าเชือกป่าน จึงเลือกที่จะขนผ้าไหม
- Q1: การมีบุตรยาก ในพระไตรปิฎก มีบทไหนพูดถึง เหตุของการไม่มีทายาท? A1: การมีบุตรยากมีสาเหตุจาก 1) เกิดจากกรรมปัจจุบัน เช่น อาหารการรับประทานสุขภาพ และมลพิษ เป็นต้น และ 2) เกิดจากกรรมเก่า ในที่นี้ยกตัวอย่าง 2 case ดังนี้ Case 1 โพธิราชกุมาร เหตุแห่งการไม่มีลูกเนื่องจากทำกรรมเก่า เมื่อครั้งเป็นต้นหนเรือแล้วเรือแตกไปติดเกาะ ประทังชีพตลอดอายุขัยด้วยการกินไข่นก ลูกนก และพ่อแม่นก Case 2 เศรษฐีที่ร่ำรวย เนื่องจากเคยให้คนใช้นำอาหารไปใส่บาตรพระปัจเจกพระพุทธเจ้า แต่หลังจากเห็นของในบาตรแล้วพบว่ามีแต่ของดี ๆ จึงเกิดความเสียดายของที่ใส่บาตรไป ส่งผลให้ไม่ได้ยินดีในบุญ หรือสมบัติที่ตนมี และเหตุแห่งการไม่มีลูก มาจากการทำกรรมฆ่าหลาน เนื่องด้วยกลัวมาแย่งมรดก Q2: อยากจะสร้างบุญสร้างกุศล ให้มีลูกได้ไหม หรือมีวิธีการอย่างไรตามแนวพระพุทธศาสนาที่จะทำให้มีลูกได้? A2: ในทางพระพุทธศาสนาไม่มีสอนไว้ ทั้งนี้พระอาจารย์แนะนำให้ตั้งมั่นในความดี และตั้งจิตอธิษฐาน โดยอาศัยความดีของเรา เมื่อทำดังนี้แล้วให้วางจิตวางใจไว้ดังนี้ หากจะมีลูกก็ดี หรือไม่มีก็ได้ Q3: หลักการสร้างวัตถุมงคลทางพระพุทธศาสนา มีหลักการอย่างไร? A3: เรื่องมงคลในพระพุทธศาสนามีอยู่ 38 อย่าง เป็นมงคลที่เราลงมือทำ ปรากฏอยู่ในมงคลสูตร ซึ่งไม่ได้เป็นวัตถุมงคล การบูชาบุคคลที่ควรบูชาก็เป็นมงคลอย่างหนึ่ง เช่น การนับถือบิดามารดา เจ้านายบุคคลที่มีศีล (พญานาค ท้าวเวสสุวัณ ท้าวสักกะ เป็นต้น) การบูชาในทางพระพุทธศาสนาทำได้ 2 แบบ ดังนี้ 1) อามิสบูชา คือ ยัญญ (การให้โดยไม่มีผู้รับ) หรือให้ทาน (การให้ที่มีผู้รับ) และ 2) การบูชาโดยไม่ใช่อามิส บูชาด้วยคุณธรรม สิ่งที่บูชา คือ ศรัทธา ศีล จาคะ และปัญญา ความเชื่อที่ถูกต้อง จะต้องประกอบด้วยเหตุและผล มีพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ เป็นที่พึ่งสูงสุด พาไปพ้นทุกข์ ซึ่งจะต้องปฎิบัติตามอริยะมรรคมีองค์ 8 Q4: การทำพิธีกรรมต่าง ๆ ต้องมีบทสวด ในทางพระพุทธศาสนา กล่าวไว้ว่าอย่างไร A4: คำสอนของพระพุทธเจ้ามีความเป็นเหตุเป็นผลเพื่อให้เกิดปัญญา ปัญญาคือความเข้าใจในเรื่องนั้น ๆ เป็นอย่างดี การสวดมนต์ เป็นสิ่งที่ดี เช่น สวดมนต์แล้วจิตสงบ สงบแล้วมีปิติ มีปราโมทย์ จิตมีสมาธิ เกิดปัญญา ซึ่งเป็นหนึ่งในที่จะทำให้ถึงวิมุตติ 5 ประการ Q5: การฆ่าสัตว์โดยความจำเป็น จะบาปไหม? A5: เป็นบาป โดยบาปที่เกิดขึ้นจะมีความละเอียดแตกต่างกัน เช่น เมื่อเปรียบเทียบระหว่างสัตว์เล็กและสัตว์ใหญ่ การฆ่าสัตว์เล็กบาปน้อยกว่าฆ่าสัตว์ใหญ่ ดังนั้นการฆ่าแมลงสาบด้วยความจำเป็นจึงเป็นบาปไม่มาก ทั้งนี้พระอาจารย์แนะนำให้ทำบุญกุศล และตั้งจิตอธิษฐานด้วยความดีที่ทำขอให้ได้งานใหม่ ที่ไม่ต้องเบียดเบียนชีวิตสัตว์ Challenge กิจกรรม ท้าให้ทำ ท้าให้ผู้ฟังนั่งสมาธิตลอด 7 วัน
- 1.การตั้งจิตอธิษฐาน การอ้อนวอนขอร้องไม่ใช่หลักการตามคำสอนของพระพุทธเจ้า แต่สิ่งที่ให้ทำ คือ การตั้งจิตอธิษฐาน อธิษฐาน คือ การตั้งใจมั่นอย่างแรงกล้าที่จะทำสิ่งใดสิ่งหนึ่ง คือการสร้างเหตุ เพื่อให้ได้ผล เกิดความสำเร็จ หลักของการตั้งจิตอธิษฐาน จะต้องตั้งจิตให้ถูก ประกอบด้วยปัญญา มีความแน่วแน่ ไม่คลอนแคลนหวั่นไม่ว่าจะมีสิ่งใดมาขัดขวาง 2.การบูชา การบูชายัญ เป็นมิจฉาทิฐิ ให้บูชาด้วยจิตอธิษฐานที่ตั้งไว้เป็นความดี 3.ศรัทธา ศรัทธา มี 4 อย่าง ดังนี้ 3.1 กัมมสัทธา เชื่อกรรม เชื่อกฎแห่งกรรม เชื่อว่ากรรมมีอยู่จริง 3.2 วิปากสัทธา เชื่อผลของกรรม เชื่อว่าผลของกรรมมีจริง คือ เชื่อว่ากรรมที่ทำแล้วย่อมมีผล และผลต้องมีเหตุ ผลดีเกิดจากกรรมดี ผลชั่วเกิดจากกรรมชั่ว 3.3 กัมมัสสกตาสัทธา เชื่อว่าสัตว์ มีกรรมเป็นของตน เชื่อว่าแต่ละคนเป็นเจ้าของ จะต้องรับผิดชอบเสวยวิบาก เป็นไปตามกรรมของตน 3.4 ตถาคตโพธิสัทธา เชื่อเรื่องการตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า มั่นใจว่าเป็นพระสัมมาสัมพุทธะ ทรงพระคุณทั้ง 9 ประการ ตรัสธรรม บัญญัติวินัยไว้ด้วยดี ทรงเป็นผู้นำทางที่แสดงให้เห็นว่า มนุษย์ คือ เราทุกคนนี้ หากฝึกตนด้วยดีก็สามารถเข้าถึงภูมิธรรมสูงสุดบริสุทธิ์หลุดพ้นได้ ดังที่พระองค์ทรงบำเพ็ญไว้ ศรัทธา ที่สามารถยังประโยชน์ให้สำเร็จ ศรัทธานั้นต้องประกอบด้วยเหตุผล และปัญญา อจลศรัทธา คือ มีความศรัทธาในพระพุทธ พระธรรม และพระสงฆ์ ที่ตั้งมั่น ไม่คลอนแคลน ไม่หวั่นไหว คือ คุณธรรมของพระโสดาบัน
- Q1: การเลี้ยงสัตว์ / เลี้ยง นก ปลา ต่างๆ ทางพุทธศาสนาจะพิจารณาอย่างไร? A1: หลักการของพระพุทธศาสนาคือหากเลี้ยงแล้วต้องไม่เบียดเบียนชีวิต และไม่ผิดศีล ถ้าไม่ฆ่า ไม่ได้สั่งให้ฆ่า คือ ไม่ผิดศีล และการค้าขาย ที่ควรหลีกเลี่ยง คือการค้าขายสัตว์เป็น และค้าขายเนื้อสัตว์ Q2: ระหว่างแม่ที่ทำแท้งลูก กับแม่ทิ้งลูก อันไหนบาปกว่ากัน? A2: ทั้ง 2 กรณี มีสาเหตุมาจากการผิดศีล ข้อ 3 คือ ผิดจารีต จึงทำให้ไม่ได้รับการยอมรับ แต่กรณีทำแท้ง เป็นการผิดศีลข้อ 1 ด้วย คือ การฆ่า จึงบาปมากกว่าทิ้งลูก เราควรจะสร้างบุญทำให้ถูก แก้ไขปรับปรุงไม่ให้ทำบาป รับผิดชอบความผิดของตนเองจากการผิดจารีต เมื่อตั้งท้องแล้วก็ให้ยอมรับที่จะรับผิดชอบเลี้ยงดูเด็กให้ดี Q3: การเก็บร่าง พระเกจิอาจารย์ไว้ ถามว่า สมัยพุทธกาลเคยมีการเก็บแบบนี้ไว้ไหม? A3: ในพระวินัย และพระสุตตันตปิฎก ไม่มีการระบุว่ามีการเก็บร่างไว้ แม้แต่พระพุทธเจ้าเมื่อเสด็จดับขันปรินิพพานก็ดำเนินการเผาภายใน 7 วัน หลักธรรมคำสอนของพระพุทธเจ้า สิ่งที่เที่ยงไม่มี ธรรมทั้งหลายเป็นของไม่ใช่ตัวตน สิ่งทั้งหลายเป็นของไม่เที่ยง ในเรื่องนี้จำแนก ออกเป็น 2 กรณี ดังนี้ กรณีที่ 1 การเก็บร่างไว้เพื่อแสดงถึงความยังยืนแน่นอน ผิดหลักการของพระพุทธศาสนา กรณีที่ 2 เก็บไว้เพื่อแสดงให้เห็นถึงความไม่เที่ยง พอได้ ถ้าจะให้ถูกตามคำสอนของพระพุทธเจ้าฌาปนกิจเลย ไม่ควรเก็บไว้เกิน 7 วัน Q4: การเก็บร่างไว้ ตรงกับคำสอนของพระพุทธเจ้าไหม? A4: ที่พระพุทธเจ้าทำให้ดู คือ เก็บไว้ 7 วัน แล้วจึงฌาปนกิจ ดั่งที่ปรากฏในมหาปรินิพพานสูตร ปัจจุบันก็ให้พิจารณาตามความเหมาะสม Q5: หน้าที่ที่พึงปฎิบัติต่อทิศเบื้องหน้าต้องทำอย่างไร? A5: หน้าที่ของลูกที่พึงปฏิบัติต่อมารดาบิดา มีดังนี้ เมื่อแก่เถ้าแล้วเลี้ยงดูท่านตอบ เมื่อตายไปแล้วทำกาละให้ ดำรงวงศ์สกุล ทำข้อปฎิบัติเป็นอริยวงศ์ คือ ศีล และเป็นทายาท คือ รับมรดก ข้อปฎิบัติในชีวิตที่ดี ๆ มา ดำรงตนเป็นธรรมทายาท Q6: เด็กรุ่นใหม่บางคน มองว่า พ่อแม่ต้องเลี้ยงดูตนเพราะเป็นหน้าที่ ตนไม่จำเป็นต้องเลี้ยงดูท่านตอบ A6: ความเห็นบางอย่างมีแล้วทำแล้วให้เกิดบาป อกุศล เรียกว่ามิจฉาทิฏฐิ ความเห็นที่มีแล้วทำแล้ว ให้เกิดกุศล กิเลสลดลง เรียกว่า สัมมาทิฏฐิ พระพุทธเจ้าทรงสอนให้มีสัมมาทิฏฐิ เพื่อยับยั้งชั่งใจ เป็นการให้อาหารส่วนที่เป็นกุศล อีกทั้งให้คบกัลยาณมิตรที่จะช่วยทำให้เกิดความดีขึ้นในชีวิตของเรา Q7: วันพระไทยกับต่างประเทศ ไม่ตรงกัน จะถูกต้องไหม? A7: วันพระสามารถใช้เวลาตาม location นั้นได้เลย Q8: การสร้างพระพุทธรูปจะได้บุญใหญ่จริงหรือเปล่า? A8: การสร้างพระพุทธรูป จัดอยู่ในหมวดการสร้างเสนาสนะเจดีย์ ได้บุญมากสุดในส่วนของการให้ทาน แต่การรักษาศีลนั่งสมาธิภาวนา ช่วยให้ใกล้นิพพานมากกว่า และได้บุญมากกว่าการให้ทาน
- ไต่ตามทาง เรื่องเล่าของคุณตาที่สมัยหนุ่มเป็นคนอารมณ์ร้อน พอแก่ตัวลงประกอบกับ อินทรีย์แก่กล้าขึ้นจากการมีกัลยาณมิตร ได้ฟังธรรมะ ทำให้เป็นคนใจเย็นลงสามารถรับมือกับสถานการณ์ตอนเกิดอุบัติเหตุได้เป็นอย่างดี การรักษาศีล 5 อย่างละเอียด 1.การฆ่า ไม่ปลงชีวิตสัตว์ทั้งหมด ไม่ว่าสัตว์นั้นจะมีคุณมีโทษมากหรือน้อย สัตว์ใหญ่ หรือเล็ก 2.การขโมย ในที่นี้ยกตัวอย่างเรื่องการค้า การซื้อขายถ้าจะให้เป็นการรักษาศีลอย่างละเอียดให้เอามีนอกมีในออก ให้เป็นไปตามกลไกของตลาด และไม่มีการฮั้วกัน การโกง เป็นต้น 3.การดื่มสุรา และเมรัย พระพุทธเจ้าให้สำรวมจากการดื่มน้ำเมา รวมทั้งละเว้นจากการคบเพื่อนชั่ว เที่ยวตามตรอกซอกซอยในเวลากลางคืน และเล่นการพนัน เล่นหวยเล่นเบอร์ 4.การประพฤติผิดในกาม ในที่นี้คือการไม่ทำผิดจารีตประเพณี เช่น หนุ่มสาวที่ยังไม่ได้แต่งงานกัน แล้วอยู่ด้วยกันถือว่าประพฤติผิดในกาม 5.วาจา นอกจากการไม่พูดโกหก ไม่พูดโดยมีเจตนาให้เขาเข้าใจเป็นอย่างอื่น การพูดเพ้อเจ้อการพูดยุยงให้แตกกัน พูดคำหยาบ รวมถึงการพูดทิ่มแทงคนอื่น การพูดเสียดสี และการพูดที่กระทบกระเทือนจิตใจผู้อื่น ถือว่าผิดศีล ถ้าเรารักษาศีลได้ดีละเอียด นอกจากรักษาตัวเรายังช่วยรักษาผู้อื่นที่จะไม่ได้รับการเบียดเบียนจากตัวเรา การรักษาศีลให้ละเอียดเป็นพื้นฐานสู่โลกุตรธรรม
- Q1: ที่มาของวันอาสาฬหบูชา และวันเข้าพรรษา A1: วันเข้าพรรษา มีที่มาเนื่องจากในสมัยพุทธกาลช่วงฤดูฝนพระสงฆ์ผู้ที่เดินทางไปยังสถานที่ต่าง ๆ ได้เหยียบย่ำข้าวของชาวบ้านที่ปลูกไว้เสียหาย เมื่อเรื่องทราบถึงพระพุทธเจ้าจึงเกิดการบัญญัติเรื่องวันเข้าพรรษาในพระวินัยให้พระภิกษุอยู่จำพรรษาในช่วงฤดูฝน วันอาสาฬหบูชา เป็นวันแรกที่พระพุทธเจ้าแสดงธัมมจักกัปปวัตตนสูตร มีพระสงฆ์รูปแรกอุบัติขึ้น เป็นวันที่พระพุทธเจ้าออกบวช วันเกิดพระราหุล และวันที่ทำสังคายนาครั้งแรก Q2: ในปัจจุบันมีไฟฟ้าใช้แล้ว การถวายเทียนจำนำพรรษา พระภิกษุได้ใช้งานจริงหรือไม่? A2: เทียนจำนำพรรษาไม่ค่อยได้ใช้ แต่ปัจจุบันก็จะมีการประยุกต์เป็นถวายหลอดไฟซึ่งทางวัดสามารถนำไปใช้ได้ * ชักชวนทำข้อปฏิบัติที่ให้เกิดการตั้งมั่นตั้งใจสร้างนิสัยที่ดีในช่วงเข้าพรรษา 3 ข้อ ทุกวัน ดังนี้ 1) เดินจงกรม 2) นั่งสมาธิ และ 3) รับประทานอาหารมื้อเดียวหรือ 2 มื้อ (รักษาศีล 8) Q3: ขยันทำบุญได้อะไร? A3: ทำบุญแล้วได้บุญ พระพุทธเจ้าทรงสอนว่า ถ้าเราอยู่ในสังสารวัฏ ต้องมีบุญ ที่จะเป็นเสบียงใช้สำหรับเดินทางไกล อย่าสร้างบาป ให้ทำบุญ ให้อยู่เหนือบุญเหนือบาป เอาความดี เป็นที่พึ่ง ไม่ประมาทมั่วเมาในความสุข และไม่เมาบุญ Q4: ที่กล่าวว่า ความรักของพ่อแม่นั้นบริสุทธิ์ บริสุทธิ์อย่างไร? A4: ความรักของพ่อแม่นั้น ไม่มีเงื่อนไข ไม่ต้องการสิ่งตอบแทน ไม่มีหมด เป็นความรักอย่างของพรหม มีเมตตาเป็นที่ตั้ง Q5: เมื่อถูกเจ้านายสั่งให้ไปจ่ายสินบนแก่ข้าราชการ เราซึ่งเป็นตัวกลางในการส่งมอบผิดบาปหรือไม่? A5: ผิด และได้บาปมาด้วยส่วนหนึ่ง เนื่องจากมีส่วนร่วมในกระบวนการ หลักการที่พิจารณาว่าอะไรทำแล้วไม่ผิด หรือไม่บาป คือ ให้มีศีล ถ้าเอาเงินบาปไปทำบุญ จะได้บุญหรือไม่? ทำบุญด้วยการให้ทานได้บุญ แต่การเอาเงินบาปมาทำบุญจะมีความเศร้าหมองของวัตถุทานที่ไม่บริสุทธิ์ Q6: เวลาเป็นสังขตธรรมหรือไม่? A6: สังขตธรรม คือ ธรรมที่มีการปรุงแต่ง มีลักษณะ ดังนี้ 1) มีการเกิดปรากฏ 2) มีความเสื่อมปรากฎ 3) เมื่อตั้งอยู่มีภาวะอย่างอื่นปรากฎ เวลามีลักษณะทั้ง 3 อย่าง เวลาจึงเป็นสังขตธรรม Q7: ทำไมคนจึงนิยมไปทำบุญในตอนเช้าของวันพระ? A7: กิจของคฤหัสถ์มีมากจึงไม่สามารถมาทำบุญได้ทุกวัน ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับผู้มาทำบุญว่าจะสะดวกมาวันไหน ซึ่งส่วนใหญ่จึงนิยมไปทำบุญในตอนเช้าของวันพระ
- 4 อุปนิสัยที่จะทำให้เราอยู่ในโลกที่มีกระแสแห่งการเปลี่ยนแปลง ได้อย่างปลอดภัย สำเร็จ รักษา กายวาจา ใจ ของเราให้ไปตามทางที่มีองค์ประกอบอันประเสริฐ 8 อย่าง ประกอบด้วยปัญญา และความเพียร อันจะทำนิพพานเป็นที่สุดจบให้เกิดขึ้นได้ ข้อ 1 เรียนรู้ให้เร็ว หากผิดพลาดให้รีบแก้ไขให้ไว ลงมือทำให้เร็ว ปรับตัวให้ทัน นี่คือ concept การสอนของพระพุทธเจ้าที่จะทำให้เกิดการพัฒนา และทำให้เราอยู่ในโลกที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างมากนี้ได้สำเร็จ ข้อ 2 อย่ารักใครมากเกินไป อย่าเกลียดใครมากเกินไป โลกมีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา ตามหลักโลกธรรม 8 หากสถานการณ์เปลี่ยนแปลงไปเราต้องปรับตัวให้เร็ว มีสติ สัมปชัญญะ เข้าใจสถานการณ์ จะเห็นประโยชน์ จะเห็นโทษได้ ดังนั้นจึงไม่ควรรักหรือเกลียดใครมากเกินไป ให้อยู่กันด้วยเมตตา สร้างประโยชน์ให้แก่กัน และช่วยกันระมัดระวังสิ่งที่เป็นโทษ ข้อ 3 รู้จักปฏิเสธบ้าง Say No ให้เราจัดลำดับของงาน งานที่สำคัญ และเร่งด่วน ให้ลดลง งานที่สำคัญ แต่ไม่เร่งด่วน ทำให้มากขึ้น งานที่ไม่สำคัญ แต่เร่งด่วน ให้ say no ให้จิตใจของเรามาจดจ่อทำงานที่สำคัญ แต่ไม่เร่งด่วน ข้อที่ 4 อาหารการรับประทาน การกินมากมีอาพาทมาก มึนมาก จะทำให้เป็นโรค NCDs หรือ non-communicable diseases เป็นกลุ่มโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง คือ ไม่ได้เกิดจากเชื้อโรคและไม่สามารถแพร่กระจายจากคนสู่คนได้ แต่เป็นโรคที่เกิดจากนิสัยหรือพฤติกรรมการกิน เช่น โรคเบาหวาน ความดัน โรคมะเร็งบางประเภท เป็นต้น ดังนั้น ใน 1 วัน ควรกินเพียง 1 หรือ 2 มื้อ กิน 80% ของท้อง ไม่กินจุบจิ๊บ ไม่ดื่มน้ำหวาน และให้เลือกทานอาหาร non process food เทคนิคในการตื่นนอนตอนเช้า คือ ตั้งนาฬิกาปลุกเวลานอนจะทำให้มีประสิทธิภาพในการทำงาน และมีประสิทธิผล
- Q1: ฝึกสมาธิ โดยไม่ต้องนั่งสมาธิทำได้ไหม? A1: การฝึกสมาธิคือการฝึกจิต ให้มีสติตั้งไว้ ไม่เผลอเพลินไปตามเรื่องราวต่าง ๆ หากมีความคิดในทางพยาบาทเบียดเบียนก็ให้ลดลง ซึ่งสามารถทำได้ในทุกอริยาบท Q2: การทำสิ่งใดสิ่งหนึ่งแบบจดจ่อ เช่น อ่านหนังสือ ถือว่าเป็นการฝึกสมาธิไหม? A2: การจดจ่ออยู่กับเรื่องหนึ่งเรื่องเดียว ถือว่ามีสมาธิประเภทที่มีความคิด แต่จะให้ดีให้เรามาเจาะจงให้มีสัมมาสมาธิ โดยมีลำดับการพัฒนา ดังนี้ สัมมาสมาธิ เริ่มมาจากสัมมาสติ สัมมาสติ เริ่มมาจากสัมมาทิฏฐิ สัมมาทิฏฐิ คือรู้ผิดรู้ถูก Q3: ฤาษีกับพระ มีการทำสมาธิหรือปฏิบัติต่างกันอย่างไร? A3: ฤาษี คือ ผู้ประพฤติพรหมจรรย์รูปแบบหนึ่ง อาศัยอยู่ในป่า อยู่แบบสันโดษ ไม่คลุกคลีกับใคร ไม่ทานเนื้อสัตว์ ไม่โกนผม นุ่งห่มหนังเสือ หรือผ้าจากหนังสัตว์ ส่วนภิกษุ โกนผม นุ่งห่มผ้าย้อมน้ำฝาด พระพุทธเจ้าทรงเลือกการประพฤติพรหมจรรย์ ในรูปแบบภิกษุ เนื่องจากทรงพิจารณาแล้วเห็นข้อดี ที่จะไม่ต้องมีภาระในเรื่องเครื่องนุ่งห่ม และทรงผม Q4: วัสดุที่ใช้จดบันทึกคำสอนของพระพุทธเจ้า ทำไมต้องเป็นใบลาน? A4: เนื่องจากในสมัยก่อนยังไม่มีกระดาษ จึงต้องนำใบของต้นไม้มาใช้จดบันทึก[...]
- คลายเงื่อนปมสมการชีวิตด้วยปัญญา วิธีคิดของคนมีปัญญา ในการฟังข่าวที่มีความฉลาด มีธรรมะในใจ มีวิธีคิดอย่างไร? คนมีปัญญาจะฟังข่าวแบบมีสติ ไม่ไหลไปตามกระแสดราม่าต่าง ๆ ไม่หวั่นไหวต่อสิ่งที่มากระทบ จะมีความมั่นคง สามารถคิดวิเคราะห์แยกแยะ แก้ปัญหาเฉพาะหน้าอย่างเป็นบัณฑิตได้ ยกตัวอย่างการใช้ปัญญาในการฟังข่าว ข่าวการเมือง: ข่าวประธานสภา รองประธานสภา 2 ท่าน มาจาก 3 พรรคการเมือง และมาจากต่างศาสนากัน แต่ก็สามารถทำงานร่วมกันได้ ข่าวสังคม ดาราซื้อไซยาไนด์มากำจัดสัตว์ ได้รับผลกรรมจนทำให้ชีวิตย่ำแย่ลง ผู้มีปัญญาจะใช้ปัญญา เอาตัวรอดโดยไม่ต้องเบียดเบียนใคร ข่าวดาราป่วยโรคซึมเศร้า ทำอัตวินิบาตกรรม และข่าวคนถูกบันไดเลื่อนของสนามบินตัดขาขาด ผลเกิดจากกรรมใหม่ เนื่องจากการเตรียมตัวไม่สม่ำเสมอ ข่าวเศรษฐกิจ การตกแต่งบัญชี ของ บริษัท Stark ทำให้ผู้ลงทุนได้รับความลำบาก พระพุทธเจ้าท่านจึงสอนให้เราต้องรักษาสติ ถ้าไม่มีสติเจอคนพาล ก็จะทำผิดพลาดได้ การมีสติรักตัวเองก็เท่ากับรักษาผู้อื่น
- คนเราสามารถเปลี่ยนแปลงทางพฤติกรรมได้มีกระบวนการพัฒนาอินทรีย์ตามขั้นตอนดังนี้ ต้องมีสติจึงจะมีปัญญา จะมีสติได้ต้องมีศรัทธา มีศรัทธาประกอบด้วยความเพียรแล้ว จึงมีปัญญา มีความเลื่อมใส จึงมีศรัทธา สามารถเกิดขึ้นได้ทั้งคนและสัตว์ อยากจะมีจิตใจที่เยือกเย็น ขณะอยู่ในสิ่งแวดล้อมที่ไม่ดีได้ ให้พัฒนาจิต ให้หนักแน่นไม่หวั่นไหว โดยการตั้งสติขึ้น เปรียบจิตดังหม้อ มีฐานรองหม้อ คือ มรรค 8 ศีล สมาธิ ปัญญา วิธีการพัฒนา พระพุทธเจ้าให้ดูว่าเรามีอะไรดีอยู่ ให้ตั้งมั่นอยู่ในสิ่งนั้น เช่น มีศีล ให้เราตั้งมั่นอยู่ในศีล พอมีศีลแล้วแสดงว่ามีสัมวายามะ ก็จะทำให้เรามีสติ สมาธิเกิดขึ้นพิจารณาใคร่คราญสิ่งที่เห็น เกิดปัญญา มีแค่ปัญญายังไม่สามารถหลุดพ้นได้ ถ้าจะให้หลุดพ้นได้ต้องใช้ภาวนามยปัญญา เป็นปัญญาที่เกิดจากการปฏิบัติจนรู้แจ้งเห็นจริงด้วยตนเอง ซึ่งถือว่าเป็นปัญญาที่แท้จริง เป็นการต่อยอดจาก สุตมยปัญญา และจิตมยปัญญา ซึ่งจะเป็นไปในรูปแบบของการ รู้ คิด ทำ การที่เชื่อเรื่องดวงเพราะไม่มั่นใจ จึงหาที่พึงทางใจ วิธีแก้ปัญหา คือ พัฒนาศรัทธาในคำสอนของพระพุทธเจ้าให้มั่นคงไม่หวั่นไหว ตั้งมั่นมาตามทาง จะทำให้เจริญพัฒนารุ่งเรืองได้ พระพุทธเจ้านำเสนอสิ่งที่มีประโยชน์มาก คือ การรักษาศีล เจริญปัญญา อันไหนมีประโยชน์น้อยควรละทิ้ง อันไหนมีประโยชน์มากควรจะเชื่อ และควรทำ จากข่าวการบวชของพระเจมจิ ซึ่งเป็นดาราดัง[...]
- หลังแต่งงาน เมื่อต้องใช้ชีวิตอยู่ร่วมกัน ความแตกต่าง ขัดแย้งทางอุปนิสัย การอบรมเลี้ยงดู ปัญหาพ่อผัว แม่ผัว ลูกสะใภ้ เรื่องการเงิน เศรษฐกิจ ทำให้เกิดเป็นปัญหาครอบครัว และนำไปสู่การหย่าร้างในที่สุด ขันติ คือ ความอดทนอดกลั้นต่อความหนักและความร้ายแรงทั้งหลาย เป็นธรรมะที่นำมาใช้แก้ปัญหา ให้เรามีความอดทน อดกลั้นปรับตัวเข้าหากัน จึงจะสามารถประคับประคองชีวิตคู่ให้ผ่านไปได้ด้วยดี วิธีการที่จะพิจารณาว่าอะไรดีไม่ดี ให้ดูที่ ประโยชน์ ประกอบด้วย ประโยชน์ใน 3 กาล คือ ประโยชน์ในเวลาปัจจุบัน ประโยชน์ในเวลาต่อมา ประโยชน์ในเวลาต่อมาต่อมาอีกและประโยชน์ใน 3 ที่ คือ ประโยชน์ที่เกิดแก่ตนเอง ประโยชน์เกิดแก่ผู้อื่น ประโยชน์ที่เกิดแก่ทั้ง 2 ฝ่าย เมื่อต้องประสบกับโลกธรรม ให้ใช้ปัญญาพิจารณาหาความจริง เพื่อทำความเข้าใจความจริงของโลก พิจารณาให้เห็นไตรลักษณ์
- Q1 เอาของวัดกลับบ้าน แม้พระจะให้แล้ว เราจะบาปไหม? A1 ได้รับอนุญาตจากสงฆ์แล้ว ไม่บาป คำสอนของพระพุทธเจ้าเน้นเรื่องการรักษาศีล ให้อยู่เหนือบุญ เหนือบาป อยู่เหนือดี เหนือชั่ว คือ พระนิพพาน Q2 การนำสิ่งของคนตายมาใช้จะส่งผลต่อชีวิตหรือไม่ A2 สามารถใช้ได้ ยกตัวอย่างเช่น พระสงฆ์นำของคนตายมาใช้ แต่ก็ไม่มีผลต่อชีวิต สามารถทำบุญอุทิศให้คนที่ตายไปแล้ว จะทำให้เราสบายใจ Q3 พระนำสังฆทานที่รับมาแล้ว มาให้ญาติโยม แล้วญาติโยมเอาไปทำบุญต่อจะบาปไหม? A3 สังฆทานเป็นทานที่ให้แก่หมู่สงฆ์ ถ้าพระที่เป็นตัวแทนสงฆ์ท่านสละออกแล้ว โดยนำมาให้ญาติโยม สามารถนำมาใช้ทำบุญต่อได้ Q4 มีคนให้ของเรามาแล้วเรานำไปทำบุญต่อกับพระได้ไหม? A4 สามารถนำมาทำบุญต่อกับพระได้ Q5 ใส่บาตร โดยไม่ใส่น้ำ A5 การใส่บาตรโดยไม่ใส่น้ำก็ได้บุญ อยู่ที่เจตนาของเราให้เป็นบุญ Q6 คนที่บ้านชอบทำบุญเกินตัว A6 การทำบุญจะต้องไม่เบียดเบียนตัวเอง และผู้อื่น จะทำมากหรือน้อย แต่ศรัทธาเต็มยิ่งจะทำให้ได้บุญมาก ให้เอาตัว และจิตของเราทำบุญ มีปัญญาเข้าใจอริยสัจสี่ จะทำให้เราอยู่เหนือบุญ เหนือบาปได้ Q7 เมื่อต้องทำงานที่ไม่ชอบ[...]
- คุณแม่เลี้ยงเดี่ยว เลี้ยงลูก 2 คน เจอปัญหาต่างๆ รุมเร้า ได้รับผลกระทบจากโควิดทำให้สูญเสียรายได้ ลูกก็เจ็บป่วยไม่สบายจำเป็นต้องใช้เงินในการรักษา ใช้ธรรมนำทาง ทำให้มีจิตใจเข้มแข็ง เข้าใจสถานการณ์ ค่อยๆ แก้ไขปัญหา จนคลี่คลายปมปัญหาต่างๆ ลงได้ มุมมองการมองโลก ผู้ที่มองโลกในแง่ร้ายนั้นมีข้อเสีย คือ เป็นคนขี้กังวล ขี้อิจฉา ขี้กลัว ขี้ระแวง แต่มีข้อดี คือ เป็นผู้ที่มีความรอบครอบ ระมัดระวังตัวในการใช้ชีวิต ไม่ถูกหลอกหรือถูกโกง ส่วนผู้ที่มองโลกในแง่ดีนั้นมีข้อเสีย คือ ทำให้เป็นคนประมาท มีโมหะ ราคะ ลุ่มหลง เผลอเพลิน แต่มีข้อดี คือ เป็นคนมีเมตตา มีน้ำใจ พระพุทธเจ้าทรงสอนให้มองโลกแบบมัชฌิมาปฏิปทา เข้าใจสถานการณ์ รู้เท่าทันโลกธรรม 8 แนวทางการปฏิบัติที่จะให้เราอยู่ในโลกนี้ได้ ให้ดำเนินตามมรรค 8 อยู่กับทุกข์ก็อยู่ได้โดยไม่ทุกข์ อยู่กับสุขก็อยู่ได้โดยไม่เผลอเพลิน เปรียบเหมือนลิ้นงูอยู่ในปากงู จะทำให้รักษาตนให้พ้นภัยจากวัฏฏะนี้ได้
- Q1 ทำไม นั่งสมาธินั่งเฉยๆ ถึงให้บุญมากกว่าการทำบุญ? A1 การนั่งสมาธิมีประโยชน์ที่เกิดขึ้นมาก และยาวนาน ดังนี้ 1. คนอื่นไม่สามารถเอาไปได้ 2. ยิ่งใช้ยิ่งเพิ่ม 3. ทำให้เห็นทางแก้ปัญหา 4. ทำให้ถึงนิพพานได้ Q2 การให้ทาน เทียบกับการนั่งสมาธิ คนมักจะพูดว่านั่งสมาธิ บวกมากกว่า บวกมากกว่าอย่างไร? A2 การให้ทานให้ชีวิตได้เพียง 1 วัน ให้แล้วยังต้องให้อีก แต่การนั่งสมาธิ พอทำจิตให้เป็นสมาธิ ด้วยสติสัมปชัญญะ ตัวเราได้ชื่อว่ารักษาผู้อื่น เพราะจะไม่เบียดเบียนผู้อื่น มีเมตตา อดทน ไม่คิดประทุษร้ายผู้อื่น Q3 วัดที่อยู่ใกล้แหล่งน้ำ มีบริการจัดหาปลาให้ปล่อย เป็นพุทธพานิชย์ จะได้บุญไหม? A3 การค้าขายสัตว์เป็น เป็นอาชีพที่ไม่ควรทำ การไปซื้อสัตว์มาปล่อยไม่ควรทำ Q4 ไปเข้าโบสถ์แล้วไม่ได้จุดธูปเทียน ถวายดอกไม้ จะผิดหลักการ แล้ว ไม่ได้บุญหรือไม่? A4 เครื่องบูชาที่มีประโยชน์มาก ที่พระพุทธเจ้าเน้นย้ำ คือ ให้ปฏิบัติบูชา Q5[...]
- "เห็นทุกข์อยู่ แต่ไม่เห็นธรรม ก็เครียดไง" เอาความเครียดมาใช้ในการพัฒนาชีวิตของเรา ด้วย 3 ขั้นตอน การใช้สมาธิเพื่อคลายเครียด ดังนี้ สังเกตให้ได้ก่อนว่าเราเครียดแล้วหรือยัง (ให้อยู่กับปัจจุบัน) ถ้าไม่เครียดเลย ไม่ดี ต้องมีเครียดบ้าง ขั้นบูรณาการ คือ ถ้ารู้ว่าเครียด ให้มีสติเป็นยามเฝ้าประตู คือ รู้ปัจจุบัน ไม่ไปตามอารมณ์ ให้ยามเฝ้าอยู่ที่ป้อมยาม คือ ลมหายใจ เมื่อเครียดให้สูดลมหายให้มีสติขึ้นมา พอจิตเราไม่เพลินไปตามอารมณ์ ความเครียดระงับลง ๆ จึงเริ่มเป็นสมาธิ จะเห็นทุกข์ เอาปัญญามาดู ให้เห็นเพื่อเข้าใจว่าเป็นธรรมดาเกิดขึ้นได้ ตั้งอยู่ และดับไป พอเราเข้าใจเหตุผล ความมั่นใจ คือ ศรัทธา จะเชื่อมวงจรได้ด้วยทุกข์ทันที เพราะเราเข้าใจเหตุผล วงจรของใช้ตัวแปรเรื่องของอินทรีย์มาบูรณาให้เกิดการคลายเครียด ให้เห็นธรรม เราจึงจะอยู่กับสถานการณ์หรือเรื่องราวต่าง ๆ และรับมือกับปัญหาในชีวิต ไม่ว่าจะเป็นเรื่องความสัมพันธ์ การงาน ปัญหาสุขภาพได้โดยไม่เครียด
- Q1: ทำบุญเสร็จแล้วสามารถ ขอ หรืออธิษฐาน ได้หรือไม่ ดีไม่ดี อย่างไร? A1: อธิษฐาน หมายถึง การตั้งใจมั่นว่าจะทำสิ่งใดสิ่งหนึ่ง เป็นสิ่งดี ไม่ใช่การขอ ให้อธิษฐานเพื่อเสริมกำลังใจในการทำสิ่งใดสิ่งหนึ่ง เช่น จะตั้งใจทำงานทุกวัน เพื่อให้เลื่อนตำแหน่ง Q2: ถ้าทำบุญด้วยความเกรงใจ จะได้บุญมากน้อยแค่ไหน? A2: การสละออกถือว่าเป็นสิ่งดี แต่ถ้าทำด้วยความเกรงใจ ผลของทานจะได้บุญไม่เต็มที่ Q3: ถ้าใส่ซองกฐินแบบไม่เต็มใจได้บุญไหม? A3: ได้บุญ แต่ก็จะได้ไม่เต็มที่ เพราะใจเราไม่โน้มไปในสิ่งที่เราทำ แต่อย่างน้อยความตระหนี่จะถูกขูดเกลาออกไป Q4: คนที่เป็นประธานกฐิน ต้องเป็นคนอายุมาก เท่านั้นจริงไหม? A4: ไม่จำเป็นต้องเป็นคนอายุมาก คนอายุน้อยก็เป็นประธาน แต่โดยส่วนใหญ่แล้วคนที่จะทำบุญใหญ่มักจะมีอุปสรรคเป็นธรรมดา มารอาจมาขัดขวางได้ ดังนั้น ต้องประกอบด้วย บุญ บารมี และไม่ประมาท Q5: ทำบุญแล้วไม่ได้กรวดน้ำ คนที่ล่วงรับไปแล้ว เขาได้รับบุญไหม? A5: เวลาให้ทำบุญให้ตั้งจิตคิดถึงผู้ที่ล่วงรับไปแล้ว ขณะทำบุญ ผู้ล่วงรับจะได้รับบุญนั้น ไม่ต้องกรวดน้ำก็ได้ Q6:[...]
- ธุรกิจสีเทา คือ ธุรกิจที่ผิดกฎหมาย มีการเบียดเบียนตัวเองหรือผู้อื่น ธุรกิจที่ผิดศีล เป็นการงานที่มีโทษ เช่น การค้าขายอาวุธ ขายยาพิษ ขายสุรา ขายสัตว์เป็น ขายเนื้อสัตว์ ฟอกเงิน และการพนันทุกรูปแบบ เป็นต้น อานิสงฆ์ของการไม่ข้องเกี่ยวกับธุรกิจสีเทา ทำให้ไม่มีความร้อนใจ มีคำพูดที่ดีความคิดดี เมื่อมีคำพูดดีความคิดดีก็จะทำให้มีแต่สิ่งดีงามเข้ามาในชีวิต สร้างครอบครัวให้มีความสุข สร้างบริษัทที่มีความสามัคคี ความสุขก็จะมีขึ้นในชีวิตของเรา ซึ่งสอดคล้องกับคำสอนของพระพุทธเจ้า ที่ให้เราดำรงชีวิตเป็นไปเพื่อการไม่เบียดเบียนทั้งตนเอง และผู้อื่น
- เมื่อชีวิตเดินมาเจอปัญหา ให้ปฏิบัติตาม วิมุตายตนสูตร ซึ่งเป็นพระสูตรที่กล่าวถึงเหตุแห่งความหลุดพ้นจากทุกข์ ด้วยการทำเหตุแห่งวิมุตติ 5 ประการ ดังนี้ 1. สวดมนต์ 2. ฟังเทศน์ 3. สอนคนอื่น 4. ทำจิตให้สงบ 5. ใคร่คราญธรรมะที่ได้ฟังมา สำหรับการสวดมนต์ในทางพระพุทธศาสนามีจุดประสงค์เพื่อนำคำสอนของพระพุทธเจ้ามากล่าวซ้ำ ย้ำ เพื่อให้จำได้ และเป็นการสืบทอดด้วยการบอกต่อ
- ข่าวฆาตรกรที่ฆ่าคนด้วยยาพิษ สารไซยาไนด์ จากข่าวจะพบว่ามีเรื่องกามมาเกี่ยวข้อง เช่น เรื่องเงินๆ ทองๆ การเล่นแชร์ มาล่อลวงให้หลงไป สุดท้ายถูกจับได้ เพราะประทุษร้ายกุมารี คือ ไปฆ่าคนที่มีบิดามารดา พี่น้องรักษา จึงสืบเรื่องตามหาสาเหตุการตาย ซึ่งสอดคล้องกับพุทธพจน์ 8 ประการ ของคนชั่วที่จะทำให้ถูกจับได้โดยง่าย มีดังนี้ 1. ประหารคนที่ไม่ประหารตอบ (ทำร้ายผู้บริสุทธิ์) 2. ถือเอาสิ่งของไม่ให้เหลือ 3. ลักพาสตรี 4. ประทุษร้ายกุมารี 5. ปล้นบรรพชิต 6. ปล้นราชทรัพย์ 7. ทำงานใกล้ถิ่นเกินไป 8. ไม่ฉลาดในการเก็บ พระพุทธเจ้าอุปมายาพิษเปรียบได้ดั่งอวิชชา คือ ความไม่รู้ ลูกศรเปรียบดังตัณหา (ที่มา: สุนักขัตตสูตร) หากเราไม่ทำจิตของเราให้อยู่เหนือจากผัสสะ ให้พ้นทุกข์ เราก็จะโดนพิษ คือ อวิชชา และตัณหาครอบงำ
- Q1: ควรใช้เงินอย่างไรให้เหมาะสมกับยุคปัจจุบันนี้A1: บริหารจัดการให้รายรับต้องท่วมรายจ่าย รายจ่ายอย่าท่วมรายรับ โดยการสร้างรายรับเพิ่ม และแบ่งการใช้จ่ายออกเป็น 4 หน้าที่ และตัดรายจ่ายที่ไม่จำเป็นออก โดยอุดรูรั่ว 4 รู อบายมุข 4 คือ นักเลงสุรา การพนัน นักเลงเจ้าชู้ คบคนชั่วเป็นเพื่อนQ2: คำว่าเสบียงบุญคืออะไร?A2: ทำบุญสะสมไว้เพื่อให้ผลในเวลาต่อไปQ3: รู้สึกว่าชีวิตมีปัญหา ร้อนใจอยู่ตลอดเวลา แก้ไขอย่างไรดี?A3: ถ้าเราเห็นทุกข์ในอุปสรรคนั้นจะเกิดปัญญาที่จะแก้ปัญหาได้นั่นคือการพัฒนา คำสอนของพระพุทธเจ้ามีวิธีการแก้ปัญหาทุกวิธีQ4: คนเรามีปัญหาเพราะกรรมเก่า จริงหรือไม่ ? และเราจะเอาชนะกรรมเก่าได้อย่างไร?A4: มาจากกรรมเก่า 1 ใน 6 ส่วนสุขหรือทุกข์ ในปัจจุบันมาจากเหตุ 6 อย่าง สามารถชนะกรรมเก่าได้ด้วยปัญญา โดยปฏิบัติตามมรรค 8 เป็นปฏิปทาให้ถึงการสิ้นกรรมQ5: ถ้าโดนเพื่อนในที่ทำงานแทงข้างหลัง ทำอย่างไรดี?A5: ไม่ทำชั่วกลับ ต้องรักษาความดีของเราต่อไป ไม่ควรไปด่าหรือว่าเขากลับ จิตใจต้องหนักแน่นอดทนและกว้างขวางQ6: ลอยอังคารมีหลักการอย่างไร ไม่ลอยได้ไหม?A6: ในคำสอนของพระพุทธเจ้าไม่มีหลักการที่บัญญัติไว้ จะทำหรือไม่เอาที่สบายใจ การลอยอังคารคือการเอาเถ้ากระดูกผู้ตายไปทิ้ง
- ให้นำพรหมวิหารสร้างสิ่งแวดล้อมที่ดีให้เกิดขึ้นในจิตใจเรา เราก็จะสามารถที่จะอยู่ใน toxic Environment หรือรับมือกับการโดนหักหลังได้ ให้จิตของเราตั้งอยู่ด้วยพรหมวิหาร ความเจริญ ความพัฒนา จะมีขึ้นมาได้ สัตว์โลกทั้งหลายต้องเป็นไปตามกรรม เราจะอยู่เหนือสถานการณ์ และควบคุมสถานการณ์ได้ โดยใช้ความกรุณาเป็นเครื่องป้องกัน มีอุเบกขาที่จะช่วยเบรกไม่ให้จิตของเราไปทางต่ำ การที่เราตั้งมั่นอยู่ในพรหมวิหาร 4 จะช่วยรักษาผู้อื่น และรักษาเราด้วย ไม่มีใครสามารถทำอันตรายคนที่มีธรรมะคุ้มครองได้
- ให้มีสติรักษาอยู่ตลอด ในขณะเดินทาง หรือเกิดอุบัติเหตุ จะทำให้ไม่หัวร้อน ใจเย็นลง มีสัมมาวาจา เมื่อเจอปัญหาต่างๆ ก็สามารถรับมือจัดการปัญหาที่เกิดขึ้นได้ และฝึกฝนจิตใจให้ตั้งอยู่ในความดี ขึ้นเรื่อยๆ ให้เต็ม 100 ถ้าไม่ชอบก็ให้ใช้อุเบกขา จะทำให้อารมณ์ที่จะกระตุ้นให้เราโกรธ ก็จะระงับลง เนื่องในโอกาสปีใหม่ไทย วันสงกรานต์ให้ทบทวนว่าหนึ่งรอบปีที่ผ่านมา เราได้ทำความดีไหม ทำความชั่วไหม จะละชั่วได้อย่างไร พัฒนาความดีได้อย่างไร ปีใหม่ให้ทำความดี 3 ทาง คือ ทางกาย วาจา และใจ
- ประเด็นเรื่อง “ของปลอม” ที่ปรากฏอยู่ในสังคมปัจจุบัน ไม่จะเป็นข่าวปลอม พระปลอม เป็นต้น สิ่งเหล่านี้เป็นเครื่องทดสอบเราว่าจะคงอยู่ในธรรมนั้นได้ ดังนั้นเราต้องมีความมั่นใจ และไม่เป็นหนึ่งในสังคมที่ไม่ดี “ของจริง” ที่เราต้องเข้าให้ถึง คือ ความจริง 4 อย่าง นั่นคือ อริยสัจ 4 พระพุทธเจ้าได้ทรงสอนวิธีดูคนไว้ดังนี้ 1. คนมีศีล รู้ได้ด้วยการอยู่ร่วมกัน 2. ความบริสุทธิ์ใจ พึงรู้ได้ด้วยถ้อยคำ 3. กำลังจิตกำลังใจ พึงรู้ได้เมื่อมีอันตราย 4. ปัญญา พึงรู้ได้ด้วยการสนทนา
- สิ่งต่างๆ ที่เกิดขึ้นในชีวิต ไม่ว่าจะเป็นโดนโกง ถูกเบี้ยวหนี้ ทำคุณคนไม่ขึ้น คนทั่วไปมักจะโทษว่าเป็นผลมาจากกรรมเก่า ซึ่งมีพราหมณ์มาถามพระพุทธเจ้าว่าสุขหรือทุกข์ในชีวิตของเราเกิดจากกรรมเก่าใช่หรือไม่ พระองค์ได้ทรงตอบว่า สุขหรือทุกข์ในชีวิตของเราไม่ได้เกิดขึ้นจากกรรมเก่าเพียงอย่างเดียว แต่มีเหตุเงื่อนไข 6 ตัวแปรด้วยกัน คือ กรรมเก่า ดินฟ้าอากาศ โรคภัยไข้เจ็บ และการเตรียมตัวไม่สม่ำเสมอ ดังนั้นเมื่อต้องประสบกับปัญหาต่างๆ ให้เราใช้ปัญญาในการแก้ปัญหา พัฒนาตนในการที่จะทำกรรมดี ทำผลทำความดีให้เกิดได้ ใจเราก็จะเป็นสุขขึ้นมา
- ความตายไม่ยกเว้นให้กับใครๆ ทุกคนต้องตายหมด ความตายไม่เที่ยงเป็นอนัตตา ความตายไม่ต่อรอง อ้อนวอนได้สิ่งที่ทำให้เราทุกข์ ไม่ใช่ความตาย แต่เป็นความอยาก ที่มาเกาะเกี่ยวกับความตาย ดังนั้นเราจึงต้องใช้ปัญญาเปลี่ยนความเศร้าใจเสียใจเป็นความสุข ให้ทำความเข้าใจเรื่องของความตายให้ดี เพื่อที่ความตายนั้นจะมาทำให้เราเกิดความทุกข์ในจิตใจเราไม่ได้
- 1. Q: อยู่คอนโดกรวดน้ำอย่างไร A: ให้ตั้งจิตแผ่ส่วนกุศลขณะที่ทำบุญนั้นเลย 2. Q: อุทิศส่วนบุญส่วนกุศลให้แก่เทวดาอารักษ์ได้หรือไม่ A: ได้ 3. Q: ถ้าจุดเทียนต่อกันจะทำให้มีสิ่งไม่ดีติดมาด้วย A: สามารถต่อเทียนกันได้ ไม่ได้มีบัญญัติไว้ในพุทธพจน์ 4. การกระทำดี/ชั่ว มี 3 รูปแบบ 1) ตัวเราทำเอง 2) สั่งให้เขาทำ และ 3) ชักชวนให้เขาทำ 5. Q: อานิสงส์ของการจุดธูปเทียนบูชาพระ A: การบูชาด้วยของหอม จะทำให้มีศีล การบูชาด้วยประทีปโคมไฟแสงสว่าง จะทำให้มีตาทิพย์ 6. Q: วิธีตั้งจิตสำหรับการสวดมนต์ไหว้พระ เมื่อเดินทางไปต่างถิ่น A: ให้ระลึกถึงพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ ทำสมาธิก่อนนอน และให้น้อมจิตไปเพื่อการนอน 7. Q: นอนอย่างไรให้ถูกทิศ & การบูชาทิศในอริยะวินัยนี้ A: คำสอนของพระพุทธเจ้าไม่ได้มีระบุไว้ว่าจะต้องนอนอย่างไรให้ถูกทิศ แต่มีคำสอนให้บูชาทิศในอริยวินัย 8. Q:[...]
- เวลาที่เราเจอสิ่งที่ไม่น่าพอใจ ไม่ว่าจะเป็นในเรื่องการงาน การใช้ชีวิต มีวิธีการรับมือ 5 วิธีด้วยกัน ดังนี้ เปลี่ยนไปคิดในเรื่องที่จะทำให้สบายใจ ละอกุศลธรรมที่เกิดขึ้นทันที นึกถึงเรื่องที่เป็นกุศล มองต่างมุมในแง่ที่จะทำให้กุศลธรรม อดทนอดกลั้น
- คำถามที่ 1 การแก้ชงในพระพุทธศาสนา: ทำได้ด้วยการปรับจิตปรับใจ โดยที่เมื่อมีสุขเวทนา ให้มีเมตตา อุเบกขา เห็นความไม่เที่ยง นั้นคือ ดวงดี เมื่อประสบกับทุกขเวทนา ให้มีความอดทน มีจิตเมตตาเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ นั่นคือ ดวงดี คำถามที่ 2 ทำไมไหว้พระต้องจุดธูป: การจุดธูป การถวายปัจจัยสี่ เป็นการบูชาภายนอก การบูชาที่ดีที่สุด คือ การปฎิบัติบูชา คำถามที่ 3 วิธีแก้ความขี้เกียจในการทำงาน: แก้ไขได้ด้วยการตั้งฉันทะให้มีใจรักในสิ่งที่ทำ มีสติตั้งไว้ให้ถูกต้อง และมีความเพียร คำถามที่ 4 เครียดทั้งงานและคนทำยังไง: ให้มีสติ ใช้ปัญญา แยกแยะว่าอะไรสำคัญที่สุดเอามาทำก่อน วางแผนการทำงาน จัดระเบียบงาน จัดระเบียบคน คำถามที่ 5 เจ้ากรรมนายเวร: ความเชื่อว่าอะไรก็เกิดจากเจ้ากรรมนายเวรเป็นมิจฉาทิฐิ ให้เรามีปัญญา หาเหตุ เพื่อหาทางในการแก้ไข
- สะสมความดี ขณะใช้ชีวิตในครอบครัว ขณะทำงานให้อินทรีย์แก้กล้า ก็จะช่วยให้บรรลุธรรมขั้นสูงได้ สมการชีวิต 3 ตัวแปร ที่จะทำให้ใช้ชีวิตด้วยความไม่ประมาท ไม่มัวเมาไปในสิ่งต่าง ๆ อันจะช่วยทำให้สามารถครองเรือนให้ราบรื่นผาสุกได้ 1) เก่งชำนาญในอารมณ์ความรู้สึกของเราเอง : อารมณ์เสีย ต้องมีที่ระบาย เอาอารมณ์ไปทิ้ง ปรับเปลี่ยนเดี๋ยวนั้น ไม่ต้องเก็บมาเป็นขยะในหัว โกธร ให้มีเมตตา กลัว ให้มีความกล้า เห็นตามความเป็นจริง อิจฉาริษา ให้มีมุทิตา ให้มีคนรับฟัง ปรับจิตใจให้มีคุณธรรม มีสติ และอุเบกขา 2) การเงินการงาน ทำงานอย่าหวังเอาเงินให้หวังเอางาน ไม่ให้ตกเป็นทาสของเงิน การเงิน ให้แบ่งจ่ายเป็น 4 หน้าที่ คือ 1) ใช้จ่ายเลี้ยงตัวเอง 2) รักษา เก็บ หรือลงทุน 3) บริจาค 4) ทำบุญ และอย่าให้เงินรั่วไหลไปกับอบายมุข การงาน ให้ทำด้วยความขยันขันแข็งตั้งใจทำอย่างดีที่สุด 3) ฉลาดพัฒนาในเรื่องคนรอบตัว ซึ่งพระพุทธเจ้าทรงกล่าวไว้กับนายสิงคาลกะ ถึงวิธีการปฏิบัติตนต่อผู้อื่น[...]
- พระพุทธเจ้าเปรียบการครองเรือนเหมือนการเข้าไปอยู่ในป่า ที่จะต้องเจอกับภัยอันตราย การออกจากเรือนเหมือนอยู่ที่โล่งกว้าง ดังนั้นการที่จะทำให้อยู่ร่วมกันในครอบครัวได้อย่างเป็นสุข ไม่ตกเป็นเครื่องมือของมาร สมาชิกในครอบครัวต้อง "รักษาศีล 5" "มีพรหมวิหาร 4" อันประกอบด้วย เมตตา กรุณา มุฑิตา และอุเบกขา เช่น การกระทำบางอย่างไม่ผิดศีล แต่พูดให้เจ็บใจกัน ก็ให้มีสัมมาวาจา คำที่พูดออกมาไม่มีประโยชน์ ทำให้ผิดใจกัน พูดกระแทก มีอารมณ์ อย่าพูดดีกว่า ให้วางอุเบกขา เป็นต้น พระพุทธเจ้าทรงอธิบายเรื่องการแก้ปัญหาการทะเลาะวิวาท ไว้ใน “กินติสูตร” เพื่อให้ภิกษุสงฆ์ใช้เป็นแนวทางในการเสริมสร้างความสามัคคีให้เกิดความระลึกถึงกันให้เกิดความรู้สึกที่ดีต่อกันและกัน โดยทรงยกประเด็นในเรื่องของภิกษุมีความเห็นแตกแยกกันผูกใจเจ็บต่อกันไม่เชื่อถือกัน ไม่ยินดีต่อกันโดยพระองค์ทรงชี้แนะให้หาคนกลางเข้ามาเจรจาด้วยวิธีการประนีประนอม หรือโน้มน้าวใจที่เปี่ยมไปด้วยหลักของความเมตตากับคู่กรณีทั้งสองฝ่าย เพื่อให้อยู่ร่วมกันอย่างเป็นสุข
- นิสัย 22 อย่าง ที่เราไม่ควรมี ที่ดึงชีวิตของให้ต่ำลง 1. การไม่ยอมตื่น 2. บันเทิงเกินไป 3. ไม่เข้าหาบัณฑิต 4. แวดล้อมด้วยคนเทียมมิตร 5. อยู่กับศพ 6. ไม่เปิดทางน้ำเข้า 7. ไม่ปิดทางน้ำออก 8. ไม่รู้จักทำงบประมาณ 9. ไม่ฝังทรัพย์ 10. ไม่จ่ายหนี้ 11. ไม่ให้คนยืม 12. เติมเนื้อไม้ใหม่ 13. มีตาเดียว 14. หวั่นไหวในโลกธรรม 15. คำนึงถึงแต่สิ่งที่ล่วงมาแล้ว 16. มุ่งหวังในสิ่งที่ยังมาไม่ถึง 17. ไม่รับภาระ 18. ไม่สนทนาธรรมตามกาล 19. ไม่รู้ว่าวันนี้จะทำอะไร 20. คิดลบ 21. ตั้งเลท 22. ไม่รู้ประมาณในการบริโภค ถ้าเราแก้นิสัยทั้ง 22 อย่างนี้ได้ จะทำให้ชีวิตเราก้าวหน้า เจริญ เป็นมงคล
- ให้เรามีธรรมะในจิตใจ รักษาจิตของเราด้วยธรรมะให้ได้ตลอดเวลา ดำเนินชีวิตไปด้วยสติ ระมัดระวังเพื่อไม่ก่อให้เกิดการสร้างบาป มีเมตตา กรุณา มุฑิตา เวลามีผัสสะอะไรเข้ามากระทบให้เราตั้งสติไว้ ไม่หลงไปตามกระแส ทำจิตใจของเราให้บริสุทธิ์ ด้วยการรักษาศีล ทำการปฏิบัติบูชา ก็จะทำให้ชีวิตราบรื่นไปได้ หนักก็จะเป็นเบา สุขอยู่แล้วก็จะสุขมากยิ่งขึ้น เป็นกำไรของชีวิต ทำให้ได้ตลอดเวลาทุกวัน ก็จะทำให้เราดำเนินชีวิตของเราไปได้ และมีผล คือ นิพพานเป็นที่สุดจบ
- การตามรอยพระอรหันต์ หรือ อนุสาสนีปาฏิหาริย์ คือ การทำตามคำสอนแล้วเราจะได้ผลตามนั้น และที่เราต้องตามรอยพระอรหันต์ นั้นก็เพื่อที่เราจะได้ฝึกสมาธิปฏิบัติธรรม แต่จริง ๆ แล้วมันไม่ได้จำเป็น เพราะการตามรอยพระอรหันต์ คือ การที่เราต้องตามรอยทางการปฏิบัติ นั่นก็คือตามมรรค “มรรคแปลว่าทาง” ที่มีองค์ประกอบอันประเสริฐแปดอย่าง คือ “ศีล สมาธิ ปัญญา” และที่เป็นอย่างนั้น เพราะพระพุทธเจ้าเน้นย้ำมายังจุดที่ว่า “บางทีดูยากว่า ภิกษุรูปไหนเป็นพระอรหันต์และบางทีถูกหลอก” การที่จะดู “พระอรหันต์” ต้องดูที่ข้อปฏิบัติของท่าน ซึ่งมีขั้นตอนอยู่ และที่สำคัญ คือ เราทำตัวเองดีกว่า “ให้ไปสว่าง หาจุดที่สว่างไป” ทำกาย วาจา ใจ ที่เป็นสุจริต ชื่อว่า “ไปสว่าง” เพราะฉะนั้นถ้าเราสว่างอยู่ เช่น มีเงินทองใช้ ทำอะไรก็โชคดีราบรื่น ฯลฯ คุณอย่าไปมืด ขณะที่เราโชคไม่ดีโชคร้าย ทำอะไรติดขัด แสดงว่าเราอยู่มืดแล้ว เราต้องไปสว่าง ที่ไม่ใช่อะไรที่เป็นโชคลาภ แต่ให้ “คิดดี พูดดี ทำดี” รักษาศีลให้ดี[...]
- ไม่ใช่การตามหาบุคคลภายนอกว่าใครหนอ ๆ เป็นพระอรหันต์ เอาความเพียรนั้น ทำตนเองให้เป็นพระอรหันต์จะดีกว่า แทนที่จะต้องหาบุคคลใดมาเป็นกำลังใจ เพื่อให้ตนเองสามารถดำเนินไปตามการปฏิบัติ มันไม่จำเป็น เพราะ “ธรรมวินัย” นี้เป็นเรื่องของ “ระบบ - พุทโธ ธัมโม สังโฆ” ที่ไม่ได้ยึดติดกับตัวบุคคล “พุทโธ” หมายถึง การตรัสรู้ เชื่อว่าความสำเร็จได้ มีอยู่ “สังโฆ” หมายถึง หมู่ที่ปฏิบัติตามธรรมะ “ธัมโม” แล้วสามารถดับทุกข์ได้จริง ที่ไม่ว่าใครก็ทำได้ และทั้งหมดนี้อยู่ที่ว่า “คุณได้อริยมรรคมีองค์แปดอยู่ในจิตใจ” ซึ่งจะเกิดได้ ถ้ามีตัวเรา ถ้ามีคุณธรรมนั้น นั่นก็คือ “พึ่งตนพึ่งธรรม” ใส่ความพยายามเข้าไป คือ “พึ่งตน” ปฏิบัติให้ถูกต้องตามหลักธรรม คือ “พึ่งธรรม” สองอย่างรวมกัน จึงเป็นระบบแห่งการปฏิบัติที่ถูกต้องขึ้นมา พัฒนาที่จิตใจของเรา นำหลักธรรมเข้าสู่จิตใจให้เป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน ตามระบบของมรรคแปด จิตใจของเรา ก็เข้าสู่ความเป็นอรหันต์ได้นั่นเอง
- ‘จิต’ ใช้สมองเป็นเครื่องมือในการคิดนึกสิ่งต่างๆ ความคิดบางอย่างก็ควบคุมได้ บางอย่างก็ควบคุมไม่ได้ หรือบางทีพยายามจะคิดก็คิดไม่ออก และเพราะความคิดที่ดีประกอบด้วยกุศล มีประโยชน์ทั้งสองฝ่ายทั้งต่อตนเองต่อผู้อื่น ขณะที่ความคิดที่ชั่วเป็นอกุศล ไม่เป็นไปเพื่อประโยชน์ เป็นโทษต่อตนเองต่อผู้อื่น แต่เป็นไปเพื่อความทุกข์ตลอดกาลนาน…แล้วเราจะควบคุมความคิด ควบคุมจิตได้อย่างไร “ต้องฝีกจิต” วิธีการนั้นต้องรู้จักแยกแยะ เริ่มจากการตั้งสติ “สติเป็นอธิบดี” แยกแยะ สังเกตอาการในจิต “ถ้าเรารู้ว่าเรามีปัญหาอะไร เราแก้ได้ แต่ถ้าไม่รู้ว่าเรามีปัญหาอะไร มันแก้ไม่ได้” แก้ตามกระบวนการ “ศีล สมาธิ ปัญญา” ฝึกสมถะวิปัสสนา ฟังธรรมอยู่เรื่อยๆ น้อมจิตมาในทางกุศล ฝึกซ้ำฝึกย้ำ จิตใจจะมีความก้าวหน้า พัฒนาเป็นอินทรีย์ที่สะสมเอาไว้ มีกัลยาณมิตร ชวนกันฟังเทศน์ฟังธรรม ฝึกปฏิบัติ ปิดทางที่จะสู่อบายภูมิ ทางที่จะให้เกิดทุกข์โทษ แล้วให้เปิดทางของจิตที่จะไปสู่ความสุขความประเสริฐ “ทำได้ทุกคน ทำได้ในขณะนี้ ตลอดปีนี้และตลอดปีต่อๆ ไป สะสมความดี” อาสวะที่เป็นไปในทางฝ่ายทุกข์โทษ จะหลุดลอกออกไป จิตใจของเราปรับได้แก้ไขได้แน่นอน
- ลักษณะคำถามที่ว่า เกิดมาเพื่ออะไร เกิดมาทำไม? หรือ What is the meaning in life? เหล่านี้เป็นคำถามประเภทเดียวกัน ซึ่งเป็นคำถามที่ยังไม่ตรง 100% แต่ที่ควรจะเป็นคำถามในที่นี้ก็คือว่า ความหมายอะไรที่เราจะให้ในชีวิต หรือ คุณเกิดมาคุณจะทำอะไร? เพราะลักษณะคำถามแบบนี้มันขึ้นอยู่กับว่าใครจะให้ความหมายอย่างไรกับชีวิตที่มี ซึ่งก็อยู่กับผลประโยชน์ที่จะเกิดขึ้น แล้วอะไรคือประโยชน์ที่จะเกิดขึ้น? ถ้าไปถามนักธุรกิจ นักเที่ยว นักเล่น นักดื่ม เขาก็จะพูดถึงผลประโยชน์ในลักษณะที่เป็นเรื่องของกาม เป็นเรื่องของความสุข เรื่องของอำนาจ เรื่องของเงินทอง แต่ถ้าไปถามผู้รู้ ท่านก็จะอธิบายถึงประโยชน์ในชาตินี้ ประโยชน์ในโลกหน้า ประโยชน์ตนเอง ประโยชน์ผู้อื่น และก็ประโยชน์ทั้งสองฝ่าย พระพุทธเจ้าจึงตรัสไว้ถึงทางที่เป็นไปเพื่อประโยชน์ ที่จะไม่ใช่เป็นไปเพื่อสุดโต่งสองข้าง ถ้าเราต้องการมีปัญญา จึงควรเข้าไปหาสมณะผู้ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ ถามถึงว่า “อะไรจะเป็นประโยชน์เพื่อความสุขสิ้นกาลนาน อะไรทำแล้วจะเป็นทุกข์เป็นโทษตลอดกาลนาน” อะไรที่มันจะไม่มีประโยชน์เราก็อย่าทำ อะไรที่จะมีประโยชน์มากเราก็ทำ สิ่งที่มีประโยชน์มากมีโทษน้อย ก็คือ อริยมรรคมีองค์ 8 (ทางแห่งศีล สมาธิ ปัญญา) ในทางตรงข้ามสิ่งที่มีโทษมากมีประโยชน์น้อย ก็จะไม่ไปตามทางนี้ เช่น ถ้าทำอะไรที่มันจะผิดศีลหรือออกทางอันประเสริฐนี้ แล้วคิดว่ามันจะเป็นประโยชน์เป็นสุข อันนั้นจะเป็นทางหลอกลวง[...]
- “ใครจะสำเร็จอะไรอย่างไร ถ้าจะเพียงได้ด้วยความปรารถนาแล้วโลกนี้จะไม่มีใครเสื่อมจากอะไร ทุกคนก็จะสำเร็จหมด”...ให้เราลองทบทวนเป้าหมายในปีที่ผ่านมา สิ่งที่เราหวังไว้อยากไว้อ้อนวอนไว้ปรารถนาไว้มันสำเร็จทุกข้อหรือไม่? สิ่งที่เราคิดไว้หวังไว้ปรารถนาไว้ว่าจะทำนั่นทำนี่ให้สำเร็จจะทำอันนั้นอันนี้ให้ได้ นั่นคือแผนที่ แล้วเราจะไปซ้ายหรือขวา แล้วความปรารถนาอะไรที่จะทำให้สำเร็จ ๆ นี้ มันจะไปถูกที่ถูกทางหรือไม่? พระพุทธเจ้าคือผู้ที่สำเร็จแล้ว สำเร็จความปรารถนาสูงสุดในความที่บรรลุสัมมาสัมโพธิญาณ ท่านตรัสเปรียบไว้กับคนบอกทาง ที่เมื่อเราไปถามทางเขา เขาก็บอกเส้นทางเรามา คนบอกและคนถาม (ผู้เดินทาง) มันคนละส่วนกัน ทางสู่ความสำเร็จมันมีอยู่ ทางที่จะสำเร็จประโยชน์ที่เราคาดหวังไว้ มันมีทั้งประโยชน์ตน ประโยชน์ผู้อื่น ประโยชน์ทั้งสองฝ่ายประโยชน์ในโลกนี้ ประโยชน์ในโลกหน้า ประโยชน์เพื่อบุคคลเราเอง ประโยชน์เพื่อครอบครัว ทางที่จะไปสู่ความสำเร็จเหล่านี้ ไม่มีผิดพลาด จะไม่เป็นไปเพื่อความเสื่อมประโยชน์ จะไม่เป็นไปเพื่อความมีทุกข์โทษ แต่จะเป็นไปเพื่อความสุขความสำเร็จ ทางนี้คืออริยมรรคมีองค์แปด คือ ศีล สมาธิ ปัญญานั่นเอง โดยแบ่งเค้าโครงออกเป็น การละความชั่วก็คือเรื่องของศีล การทำความดีก็คือเรื่องของทางจิตเรื่องของทางสมาธิ และการทำจิตให้บริสุทธิ์เป็นเรื่องของทางปัญญา เพราะการกำหนดเค้าโครงก็คือกำหนดเส้นทาง ในทางกายทางวาจา เป็นฐานที่มั่นคงด้วยรักษาศีลคือข้อปฏิบัติ ในทางใจ ความคิดนึกของเราจะสำเร็จหรือไม่จิตเราต้องมีกำลัง ทำอย่างไรจิตถึงจะมีกำลังใจได้?...ถ้ามีอกุศลธรรมอยู่ในปัจจุบันต้องละ มีกุศลธรรมอยู่ในปัจจุบันต้องเพิ่ม คิดแบบนี้เป็นลักษณะของสัมมาวายามะ (ความเพียรชอบ) เป็นหนึ่งในส่วนของการทำดี ซึ่งจะให้จิตของเรามีกำลัง ฉะนั้นอยู่กับปัจจุบัน คิดเรื่องอดีต อนาคตด้วยเหตุผลเป็นการพัฒนาปรับปรุงตัวเอง[...]
- เมื่อเราทำบุญ ถ้าเป็นการให้ทาน เรียกว่า ทานมัย การรักษาศีลเรียกว่า ศีลมัย การภาวนาเรียกว่า ภาวนามัย นั่นคือ เราได้บุญต่อแรกแล้ว และถ้าเราบอกบุญคนอื่น เราจะได้บุญต่อที่สอง เรียกว่า “ปัตติทานมัย” และเมื่อเขาอนุโมทนาบุญกับเรา คือ เขาแสดงความยินดีกับบุญของเรา เขาจะได้บุญจากการอนุโมทนา เรียกว่า ปัตตานุโมทนามัย การ “อนุโมทนา” เป็นการกระทำทางใจ บุญเกิดขึ้นที่ใจ การที่มีใจยินดีกับผู้อื่นด้วยใจจริง จะสามารถแก้ความอิจฉาริษยาได้ และผู้ที่มักจะมีโชคหรือมีกำไรจากทำอะไรก็แล้วแต่ เป็นเพราะเขาได้มีการให้ทาน แต่แทนที่เราจะหวังว่าจะถูกหวย 50 ล้าน 70 ล้าน ให้มาหวังว่า ทำธุรกิจแล้วรวยเป็นร้อยล้าน ยังจะมีโอกาสประสบความสำเร็จมากกว่าอีก เพราะบุญที่เราเคยทำไว้ เมื่อมันมีช่องทางให้บุญออกผล คือ การค้าขาย การทำงานด้วยความขยันขันแข็ง สุจริต มีปัญญา จะเป็นเหตุปัจจัยที่ทำให้เรามีโภคทรัพย์ขึ้นมาได้
- ถ้าต้องยอมรับ หรือปฏิเสธอะไรสักอย่างใดอย่างหนึ่ง สิ่งที่ไม่ควรมี คือ “ความลำเอียง” เพราะ “อคติ 4 ” รัก (ฉันทาคติ) โกรธ/ขัดเคือง (โทสาคติ) หลง (โมหาคติ) และกลัว (ภยาคติ) เพราะถ้าเราทำอะไรด้วยอำนาจของ 4 อย่างนี้ จะทำให้มีราคะโทสะโมหะ เกิดขึ้นในจิตใจ จะมีความผิดพลาด และเสียใจในภายหลังได้ แต่ให้พิจารณาเข้ามาในทางมรรค 8 เช่น เรื่องเงินทอง ให้พิจารณาถึงเรื่องการแบ่งจ่ายทรัพย์ การจะทำอะไรไปที่ไหน ให้พิจารณาถึงกุศลอกุศลที่จะเกิดขึ้น ส่วนเรื่องการงาน ให้ตั้งเป้าหมายในชีวิตด้วยอิทธิบาท 4 เราจะรู้ว่าเราต้องการอะไร มีทิศทางการดำเนินไปอย่างไร และที่สำคัญที่ต้องเข้าใจ คือ “โลกนี้มีทั้งสุขและทุกข์พอๆ กัน สำเร็จบ้าง ไม่สำเร็จบ้าง ให้เราตั้งไว้ในกุศลธรรมความดี อย่ามีความเสียใจที่เป็นอกุศลเมื่อไม่สำเร็จ หรืออย่าเหลิงเพลิดเพลินไปตามความสำเร็จที่เกิดขึ้น”
- เพราะเป็นภัยของวัฎสงสาร จึงมีผัสสะมีการกระทบกระทั่งกับคนอื่นๆ เป็นธรรมดา ซึ่งพระพุทธศาสนาสอนว่า “ไม่มีใครเป็นเจ้าของอะไร” “ทุกอย่างเป็นอนัตตา” “ธรรมทั้งหลายทั้งปวงเป็นอนัตตา” และความเข้าใจที่ถูกในเรื่องของกรรม คือ “ทำกรรมไม่ว่าจะดีหรือชั่วอย่างไร จะได้รับ ‘ผล’ ของกรรมนั้น” ไม่ใช่! จะได้กรรมนั้น ฉะนั้น ถ้าเรามีความทุกข์อยู่ แล้วมัวแต่ไปหาว่าคนนั้นคนนี้เขาอย่างนั้นอย่างนี้ หาว่าทำไมเขาพูดแบบนี้ทำแบบนี้ มันหาไม่จบ แต่ให้มีสติตั้งไว้ “จิตอยู่ที่ไหน สติต้องอยู่ที่นั่น” แล้วใช้ปัญญาพิจารณาให้เห็นตามความเป็นจริงว่า “จิตเป็นนามธาตุ สั่งสม เกิดดับเป็นกระแสเหมือนกระแสน้ำกระแสไฟฟ้า ตัวตนของมันไม่มี” แล้วที่เราทุกข์อยู่นี่ ก็เป็นเพราะไปยึดถือเป็นตัวตนเป็นตัวเรา แต่ถ้าไม่ได้เป็นตัวเรา ไม่ได้เป็นตัวตน เป็นอนัตตา ความทุกข์มันจะเกาะอยู่ไม่ได้ ก็ตัดความรักความพอใจความไม่พอใจนั้นเสีย
- ถ้ายังมีความคิดว่า "เขาทำเราอยู่ เขาว่าเราอยู่ เขาเอาของ ๆ เราไปอยู่ ยังคิดว่าเขาทำไม่ดีให้เราอยู่ คิดอยู่เรื่อย ๆ มันไม่มีทางที่จะคลายความไม่พอใจในเพื่อนบ้านนั้นได้เลย" “โรคในจิตของเรา” คือ ศัตรูที่แท้จริงเป็นกิเลสที่อยู่ในใจ ทำให้เราขัดเคืองบ้าง บีบคั้นให้ลุ่มหลงบ้าง ทำให้ขึ้น ๆ ลง ๆ แต่วิธีที่ดีที่สุดในการรบ คือ "เปลี่ยนศัตรูให้เป็นมิตร" อันดับแรกเราต้องรักษาศีลให้ดี แล้วระงับความคิดในใจด้วยเมตตา กรุณา อุเบกขา เอากิเลสในใจออกไป เปลี่ยนแปลงตัวเองก่อนด้วยพรหมวิหารสี่ ด้วยสติ ด้วยปัญญา รักษาจิตใจของเราแบบนี้ ก็ชื่อว่ารักษาผู้อื่นด้วยรักด้วยความรักความเมตตา ด้วยความไม่เบียดเบียน ด้วยเมตตาจิต ก็ชื่อว่ารักษาตัวเราเอง ด้วยการประพฤติปฏิบัติธรรม ด้วยการทำให้มันสมควรแก่ธรรมะ ก็ชื่อว่ารักษาผู้อื่นด้วยเหมือนกัน
- ด้วยการกระทำทางกายวาจาใจ กับหลักการ 3 อย่าง คือ 1) เหตุคือกรรมหรือการกระทำ ผลคือวิบาก 2) ความหนักเบาของผลที่เปรียบไว้เหมือนรอยกรีดบนหิน บนทราย บนน้ำ 3) การให้ผลที่มากหรือน้อย เปรียบเหมือนความเค็มจากเกลือที่ผสมในน้ำ ด้วยความเข้าใจ 3 อย่างนี้ให้มั่นใจได้ว่า ถ้าเราสร้างเหตุไว้จะได้ผลแน่นอน ซึ่งกรรมที่หนักๆ ได้ผลยาวๆ และเตรียมการน้อย นั่นคือ การรักษาศีล การเจริญภาวนา สองอย่างนี้ เราจะมั่นใจได้ว่า เราจะไปสู่สุคติ ณ ปัจจุบัน ด้วยจิตที่สงบจากการภาวนาเป็นกรรมหนัก เพราะเห็นผลทันที มีสติไม่ว่าจากการดูลมหายใจ การนึกพุทโธ การฟังธรรม มีปัญญาเข้าใจความธรรมดาของชีวิต หาความสุขในภายในได้ นั่นจะเป็นวิหารธรรม เป็นที่อยู่ในจิตใจของเรา อยู่ที่ไหนก็เป็นสุข เป็นสุขได้ในปัจจุบัน ภายภาคหน้าไปสวรรค์ ทำทางไปสู่นิพพานได้แน่นอน
- สำหรับคนที่เริ่มทำงานเหมือนเด็กหญิง Alice ที่ก้าวไปในแดนมหัศจรรย์ “Alice in Wonderland” เมื่อถึงทางแยก“ถ้าไม่รู้ว่าเราควรไปทางไหน ไม่มีแผนไม่มีเป้าหมาย” นั่นจะเป็นปัญหา “รู้ว่าไม่รู้อะไร กับไม่รู้ว่าไม่รู้อะไร” เป็น 2 ระดับ ไม่มีแผนการดำเนินชีวิต ไม่ลงมือทำ เอาแต่คิดอย่างเดียว มันพัฒนาไม่ได้ และเราก็จะตกไปอยู่ในแผนการดำเนินชีวิตของคนอื่น สิ่งที่สำคัญที่สุด คือ “ลงมือทำ” ทำจริงแน่วแน่จริง คือ “ทำเต็มที่” แล้วมันจะเกิดความรู้ว่า สิ่งนั้นๆ มันใช่หรือไม่ใช่สำหรับเรา และเราชอบหรือไม่ชอบที่ไม่ได้เป็นไปตามความอยาก ซึ่งถ้าเราไม่รู้ว่า ทางนี้จะดีสำหรับเราไหม ก็ให้ข้อคำแนะนำจากผู้รู้ผู้ที่ประสบความสำเร็จมาก่อน “ลงมือทำ ทำเต็มที่” มีอินทรีย์ 5 อิทธิบาท 4 จะเป็นทางที่เร็วที่สุดที่จะทำให้เรามีความแจ่มแจ้งในเป้าหมาย ไปถึงจุดหมายของเราได้
- ปรากฎการณ์พยับแดด “เหมือนจะใช่ แต่จริงๆ หาสาระไม่เจอ หาแก่นสารไม่ได้” เรื่องความเชื่อต่างๆ เราต้องพิจารณาใคร่ครวญให้ดี เปรียบเทียบในคำสอน อันไหนลงกันไม่ได้เข้ากันไม่ได้ ก็ทิ้งไป อันไหนลงกันได้เข้ากันได้ ก็รับมาทำ “ความดีหรือความชั่วของเรา จะมีหรือจะไม่มี ดวงดาวไม่ได้จะทำอะไรได้ แต่จะดีหรือจะชั่ว อยู่ที่การกระทำของเรา” “บุญจากการให้ต้องประกอบด้วยเจตนา บุญเกิดตั้งแต่ตอนที่ตั้งเจตนา เมื่อให้ไปแล้วก็ได้บุญต่อเนื่อง” ให้มีกำลังใจ ‘โสตาปัตติยังคะ 4’ คือ ศรัทธาในการตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า ศรัทธาในสิ่งที่ดีปฏิบัติได้จริงของพระธรรม ศรัทธาในการปฏิบัติดีปฏิบัติชอบของพระสงฆ์ และศรัทธา คือ มั่นใจในศีลของเรา มี “สัมมา คือ ความดี” ในครอบครัว ไล่ไปตั้งแต่สัมมาทิฏฐิจนถึงสัมมาสมาธิ คือ อริยมรรคมีองค์ 8 รักษาธรรมะในครอบครัวให้ดี เราจะเป็น Smart Family ครอบครัวคุณภาพ มีเมตตากรุณา และปัญญา ไม่ใช้อาชญา ไม่ใช้ศาสตราในการที่ครูจะสอนลูกศิษย์ให้ประพฤติตามเป็นคนดี สังคมไทยก็จะมีความมั่นคง ประเทศไทยเจริญรุ่งเรืองไปได้
- เราต้องมีระบบ ระเบียบ วินัย ที่สามารถจะลงมือทำ ในสิ่งที่ต้องทำ ในเวลาที่ต้องทำ ไม่ว่าจะอยากทำหรือไม่อยากทำก็ตาม ซึ่งบางคนมักจะให้ความสำคัญกับงานหรือสิ่งต่าง ๆ ที่ควรจะต้องทำไม่ถูก แล้วมาเร่งลงมือทำในช่วง 4 เดือนท้ายของปี (Ber Months) เพราะใกล้ถึงกำหนด (Deadline) ด้วย ‘อิทธิบาท 4’ มีการงานหรือสิ่งต่าง ๆ เป็นธรรมเครื่องปรุงแต่ง อาศัยสมาธิจดจ่อเชื่อมกับ ‘ฉันทะ’ จะทำให้ “งานเริ่มได้” เชื่อมกับ ‘วิริยะ’ จะทำให้ “งานเสร็จได้” และในระหว่างเชื่อมกับ ‘จิตตะ’จะทำให้ “งานต่อเนื่องได้” เชื่อมกับ‘วิมังสา’ จะทำให้ “พัฒนางานให้ถูกวิธีถูกเวลาได้” ทำด้วยความเข้าใจที่ถูก ทำตามระบบทำตามวินัย ตั้งใจทำให้ดีตามระบบระเบียบ สิ่งที่เราตั้งเอาไว้นั้น จะมีความสำเร็จเกิดปาฏิหาริย์เป็น Miracle Month ขึ้นมาได้
- เจริญในทางโลก หมายถึง ชีวิตครอบครัว การงาน การเงิน สิ่งแวดล้อม เพื่อนฝูง ที่เป็นปัจจุบัน จะดีได้ เราต้องมีธรรมะที่บางคนเรียกว่า “คาถาเศรษฐี/หัวใจเศรษฐี - อุ อา กะ สะ” คือ อุฏฐานสัมปทา อารักขสัมปทา กัลยาณมิตตตา และสมชีวิตา ซึ่งการงานจะสำเร็จ ไม่คั่งค้าง ไม่หมดไฟ เมื่อมีการเจริญอิทธิบาท 4 ด้วยการที่เอาการงานนั้นๆ เป็นธรรมเครื่องปรุงแต่ง แล้วมี “ฉันทะ วิริยะ จิตตะ วิมังสา” แต่ละข้อๆ เป็นประธานกิจ โดยอาศัยสมาธิ การงานนั้นจะสำเร็จได้ ส่วนเจริญในทางธรรม ให้มีธรรม 4 อย่าง “ศีล ศรัทธา จาคะ ปัญญา” ที่เมื่อเรารักษาจิตให้อยู่ในทางธรรมแล้ว พอแก่ตัวไป อินทรีย์มีความแก่กล้ามากขึ้นๆ ในเวลาต่อมาๆ ถ้าตายไปแล้ว มีธรรมะ ก็จะไม่ตกต่ำ มีที่ไปที่สูงที่ดีได้ และการสวดมนต์ ถ้าเรารู้ความหมายของบทสวดก็จะดีกว่า[...]
- “คนคิดมากคิดน้อยไม่เป็นไร แต่คิดแล้วๆ จะสามารถให้เกิดประโยชน์ ป้องกันโทษที่จะเกิดได้ไหม และจะหาประโยชน์จากความคิดของเราได้หรือไม่” แล้วอะไรคือความคิด ด้วยสภาวะของความเป็นมนุษย์ ระบบสมองจึงมีความซับซ้อน ทำให้คิดอะไรได้ซับซ้อน ซึ่งสมองไม่ใช่จิต สมองเป็นแค่เครื่องมือสำหรับการคิด ‘จิต’ มีสภาวะของการสั่งสม แล้วอะไรที่ทำให้เราแยกแยะได้ว่า “อันนี้ควรคิด อันนี้ไม่ควรคิด อารมณ์อะไรที่เราควรเสพ หรือไม่ควรเสพ” นั่นคือ สติ และปัญญา ซึ่งถ้าไม่มีสติ ปัญญา สะสมไว้ จิตของเรา ก็จะไปตามอารมณ์เหมือนสัตว์ป่าที่ฝึกไม่ได้ จะมีสติมีปัญญาได้ ต้องอาศัยสมาธิ มีศีลเป็นพื้นฐาน ประกอบกับความเพียรแล้ว “จิตเราทุกคนที่เกิดเป็นมนุษย์ ฝึกได้แน่นอน”
- สิ่งที่พระพุทธเจ้าบัญญัติ ‘เกิด’ คือ อุบัติ ‘ดับ’ คือ นิโรธ เมื่อมีการเกิดอุบัติขึ้น การเกิดก็ดับไป เป็น “ชาติหรือชา-ติ” ถ้าตายคือมรณะ แล้วคิดว่าตายซะ ปัญหาจะจบๆ ไป มันไม่ใช่ แต่ความตายเป็นส่วนหนึ่งของความทุกข์ต่างหาก “การทำชีวิตสัตว์ให้ตกล่วงไป ทำให้ปราณหรือชีวิตหายไป ล่วงไป อันนี้เป็นการผิดศีล ยิ่งทำให้ความทุกข์เพิ่มขึ้น” แต่จะดับการตาย ต้องดับที่การเกิด ด้วยการปฏิบัติตามระบบของมรรค 8 ถ้ามีการเจริญอิทธิบาทสี่ จะทำให้อายุสังขารของเรา ในที่นี้หมายถึงแขนขา และระบบสมอง อยู่ได้เต็มขีดจำกัดของเขา และถ้าเรา “เกษียณ” หมายถึง มีโอกาสว่าง นอกจากจะทำกิจกรรมสันทนาการต่างๆ แล้ว ให้ทำที่พึ่งของเราต่อไปและต่อๆ ไป คือ บุญกุศล ให้มาพัฒนาตรงนี้ “ฝึกสมาธิ ฟังธรรม” บุญเกิดได้หลายอย่าง และจิตไม่ได้จะมีหญิง หรือชาย เป็นเด็กเป็นผู้ใหญ่ มีสิทธิเท่าเทียมกัน ตรัสรู้ธรรมได้ ทำได้เหมือนกัน
- สถาบันครอบครัวเป็นสถาบันที่มีความสำคัญ เป็นพื้นฐานของทุกสิ่งทุกอย่าง ‘ครอบครัว’ คือ เรื่องของคนที่อยู่ในวงในที่ใกล้ชิดกับตัวเรามากที่สุด วงนี้จึงมีความสำคัญ แล้วถ้าในวงนี้มีเงื่อนไขที่ไม่ลงตัว ปรับตัวแปรไม่ดี มันจะกลายเป็นเงื่อนเป็นปมที่ถ้ามันแน่นเข้าๆ คลี่คลายไม่ออก มันจึงทุกข์ได้ ‘มารดาบิดา’ สองบุคคลที่หาได้ยากในโลก ท่านเลี้ยงเรามาแล้ว เราต้องเลี้ยงท่านตอบ ต่อให้ท่านไม่อยู่หรือไม่ได้เลี้ยงดู เราก็ต้องทำบุญอุทิศให้ เพราะความกตัญญูกตเวทีจะเกิดขึ้นในจิตใจเราทันที และต้องไล่ลำดับความสำคัญให้ถูก พ่อแม่มีความสำคัญเป็นอันดับแรก รองมาคือพี่น้อง ลูก และสุดท้ายจึงเป็นคู่ครอง “ถ้าปมอยู่ตรงไหน แก้ตรงนั้น แต่ถ้าแก้ไม่ถูก มันจะกลายเป็นเสี้ยนหนามได้ แต่ถ้าแก้ถูกแล้ว ตรงนั้นจะเกิดเป็นมงคลในชีวิตขึ้นมาได้”
- การลงทุนมีความเสี่ยง จะป้องกันการถูกหลอกได้ด้วย ‘โยนิโสมนสิการ’ การใคร่ครวญโดยแยบคาย อย่าเพิ่งเชื่อแต่ให้ตรวจสอบกับกิเลสในใจตัวเองว่าเป็นความอยากความโลภหรือไม่ และให้มีการบริหารความเสี่ยง แบ่งจ่ายทรัพย์ 4 ส่วน เลี้ยงตน/ลงทุน/บริจาค/สร้างบุญสร้างกุศล ให้ถูกต้อง…จริงๆ ทุกอย่างในชีวิตมีความเสี่ยงทั้งการทำงาน การเดินทาง การพูดคุย ซึ่งเราต้องมีสติสัมปชัญญะอย่างมาก ที่สามารถฝึกได้เตรียมตัวไว้ก่อนได้ ‘บุญ’ ไม่ใช่มีแค่จากการให้ทาน แต่ยังมีบุญที่เกิดจากการรักษาศีล นั่งสมาธิ เจริญภาวนา ฟังธรรมหรือบุญจากการอนุโมทนา ฯ ซึ่งถ้าเรามีเงินน้อย แต่ถ้าแบ่งให้แบ่งใช้ให้ถูกใน 4 หน้าที่ มีการทำบุญ เราไม่ใช่คนจนแต่เป็นร่ำรวยต่างหาก เพราะมีอริยทรัพย์ ไม่ใช่จิตที่ตระหนี่ ดังนั้นเกิดเป็นคนแล้วให้เราทำกิจที่ควรทำให้เต็มที่ในทิศทั้ง 6 เพื่อที่เราจะไม่ร้อนใจในภายหลัง
- ถ้าร่างกายเราแก่ไปๆ จิตใจที่เชื่อมอยู่กับกาย มีสมอง มีแขนขา เราจะรักษาสมองอย่างไรให้มันแก่ไปตามร่างกายที่เปลี่ยนแปลงไป ก็ด้วยตัวแปรที่เป็นทวาร 3 อย่าง คือ กาย วาจา ใจ ปรุงแต่งทางกาย: ด้วยการนอนให้เพียงพอ ออกกำลังกาย กินพออิ่ม มีการจัดระเบียบในชีวิต ปรุงแต่งทางวาจา: ด้วยการฝึกอ่านออกเสียง พูดตามภาพที่คิด ฝึกตั้งคำถาม ฝึกฟังคนอื่นพูด ฝึกชมคนอื่น ปรุงแต่งทางใจ: ด้วยการเขียนปรับความคิด ฝึกคิดวางแผน คิดเรื่องสร้างสรรค์ เป็นประโยชน์ ฝึกสมาธิ และฟังเทศน์บ้าง “ฝึกสมองให้คม” สมองควบคุมร่างกาย แต่จิตควบคุมสมองอีกที ดังนั้นถ้าฝึกสังเกตโดยไม่ส่งจิตออกนอก แต่รักษาจิตด้วยสมาธิ คอยสังเกตดู จะช่วยพัฒนาสมองได้ เมื่อสมองยังดี จิตใจที่ดีมีกุศลธรรม ด้วยบุญกุศลที่เราสะสมไว้ กายและใจเราจะให้เกิดเป็นผลดีได้
- 1 สมการชีวิต“เวลาฟังข่าวแล้วหรืออ่านตำราหนังสืออะไร ต้องดูว่าเขาสื่อถึงอะไร แล้วเราจะไม่หลุดประเด็น เราก็จะทำความดีได้” ในทีนี้ได้พูดคุยเรื่องข่าวอยู่หลายประเด็น ซึ่งการสำรวจหรือการศึกษามันไปได้ไม่มีที่สุดจบ แต่ถ้าจะจบได้ ต้องศึกษาต้องสำรวจมาในภายใน คือ รู้กายรู้ใจของเรา และการที่จะรู้ได้นั้น ต้องเดินตามทาง ‘เส้นทาง’ ที่มีองค์ประกอบอันประเสริฐ 8 อย่าง นอกจากนั้น “การตั้งจิตไว้ถูก” องค์ประกอบที่สำคัญอีกอย่าง คือ ‘เป้าหมาย’ ในชีวิตที่เราต้องรู้และต้องมีอิทธิบาท 4 เมื่อมีอิทธิบาท 4 และมาตามทางที่ถูกต้องแล้ว สามารถที่จะบรรลุผล 3 ขั้นตอนทั้งผลเฉพาะหน้า ผลในระยะกลาง และผลที่สุด ได้ประโยชน์ทั้งในปัจจุบัน ในเวลาต่อไปและต่อๆ ไปได้
- เมื่อเจอสิ่งที่ไม่น่าพอใจ พลัดพรากจากสิ่งที่พอใจนั้น เราจะต้องทำอะไรที่ไม่สุดโต่งไปทั้งสองทาง แต่ได้ประโยชน์ทั้งตนเอง ทั้งผู้อื่น และทั้งสองฝ่าย นั่นคือ ไปตามทางสายกลาง ‘มัชฌิมาปฏิปทา’ มีการพิจารณาใคร่ครวญ เพื่อให้เกิดปัญญา เพราะปัญญา คือ สัมมาทิฏฐินั้นจะเป็นองค์นำหน้าของมรรคแปด ในที่นี้ใช้ 3 นัยยะ คือ 1. ฐานะที่เป็นธรรมดาที่ใครๆ ในโลกไม่พึงได้ คือ ขออย่าให้แก่ เจ็บไข้ ตาย สิ้นไป และฉิบหายไป 2. อนมตัคคปริยาย คือ น้ำตาไม่มีที่สิ้นสุดที่มาจากการสูญเสียบุคคลอันเป็นที่รักตลอดกาลยืดยาวนานของสังสารวัฏ และ 3. กล้าที่จะเผชิญหน้าความจริงว่า “มันก็เป็นแบบนี้แหละ” ในเมื่อธรรมชาติเป็นแบบนี้ แล้วจะไปยึดถือเพื่ออะไร ถ้าอย่างนั้นสิ่งที่เป็นการงานต้องทำ ก็ทำไป ปัญญามันเกิดตรงนี้ พิจารณาอยู่เนืองๆ ทำอยู่เป็นประจำ จะทำให้สติมีกำลังเพิ่มขึ้นๆ เราจะมีอาวุธคือปัญญา ที่เราจะอยู่ผาสุกได้ แม้เจอผัสสะที่ไม่น่าพอใจ แม้ในการที่จะพลัดพรากจากสิ่งอันเป็นที่รักที่น่าพอใจได้
- 1 สมการชีวิต“ให้ตั้งอยู่ในความดี ห้ามเสียจากบาป” นี่คือ 2 ใน 5 หน้าที่ของมารดาบิดา และครูอาจารย์บางท่านที่ก็ทำหน้าที่แทนพ่อแม่ให้ด้วย แต่ถ้าจะห้ามด้วยการทำบาปเหมือนกัน มันจะไม่ได้ “ทำชั่วก่อน เพื่อจะชักชวนให้คนอื่นเขาทำดี” แต่ “ต้องใช้ดี ในการห้ามความชั่ว” “ใช้เมตตาใช้อุเบกขา ไม่ใช่ใช้อาญชา ใช้ศาสตรา” นี่คือ หลักการในทางคำสอน ให้เรามี “ที่พึ่งที่เกษม” คือ พระพุทธพระธรรมพระสงฆ์ “พึ่งตนพึ่งธรรม” พึ่งตน คือ ให้มีสติ พึ่งธรรมะ คือ ให้มีมรรคแปด ให้มีการตั้งตนไว้ถูกตั้งตนไว้ชอบ นั่นคือ ตั้งจิตนั่นเอง ต้องมีเป้าหมายในชีวิต ซึ่งกระบวนการตรงนี้ คือ ปฏิบัติตามศีล สมาธิ ปัญญา เมื่อตั้งสติ ตั้งด้วยมรรคแปดแล้ว ไปตามทางนี้ ตั้งตนไว้ถูก จะมีความเกษม คือ นิพพานนั่นเอง
- 1 สมการชีวิตคนเราถ้ายังมีกิเลสอยู่ มันเหมือนเป็นบ้า ถ้าคุณตามราคะโทสะโมหะนั้นไป อยู่ที่บ้ามากหรือบ้าน้อย อยากได้สิ่งใดบางทีไม่เป็นตัวเอง หรือโกรธไปตามเสียงที่เขาด่าว่า เราจะประสาท เราจะมีปัญหาทันที ในที่นี้ยกตัวอย่างคนที่ได้ยิน หรือเห็นภาพที่คนอื่นไม่ได้สัมผัสแบบเดียวกัน ดังนั้นต้องเริ่มจากการแยกแยะว่า เป็นความคิดที่เกิดจากการปรุงแต่งของจิต เราคิดขึ้นเอง หรือเกิดจากสิ่งภายนอก หรือเป็นญาณทัสสนะจริงๆ เครื่องมือที่จะช่วย คือ ‘ศีล’ ที่จะรักษากาย วาจา และ ‘สติ’ รักษาใจ ทำจิตให้ละเอียดลงไป..3 ช่องทางนี้ และจิต 4 ทิศทาง 4 ตัวแปร ที่สามารถปรับไปมา พอปรับตัวแปรถูก มาตามทางที่มีองค์ประกอบอันประเสริฐแปดอย่าง เราจะลดความเป็นบ้าความเพี้ยนในจิตใจของเรา รักษาได้แก้ไขได้
- 1 สมการชีวิต“บุญเป็นชื่อของความสุข” แยกได้เป็น ‘ทาน รักษาศีล เจริญภาวนา’ หรือแบ่งเป็นทางกาย วาจา ใจ ‘ทาน’ มากหรือน้อยไม่ได้วัดที่ตัวเงิน แต่ปริมาณบุญที่ได้อยู่ที่ศรัทธาของผู้ให้ และราคะ โทสะ โมหะของผู้รับ “ศีลเป็นไปเพื่อความไม่ร้อนใจ เป็นไปเพื่อโภคทรัพย์” ที่ไม่ใช่การอ้อนวอนขอร้อง แต่สร้างเหตุปัจจัยที่ถูกต้อง และถ้าทำผิดไปแล้ว “เห็นโทษโดยความเป็นโทษ แล้วกระทำคืนตามธรรม” นี่คือ บัณฑิตเป็นคนฉลาด ‘ภาวนา’ มาจากศัพท์คำว่า ภาวิตา คือ พัฒนา จากที่มีน้อยทำให้มีมากขึ้น จากที่ยังไม่ค่อยดี ทำให้ค่อยๆ ดีขึ้น “ทำสิ่งที่เป็นกุศล ละสิ่งที่เป็นอกุศล” และการปฏิบัติธรรมแตกต่างกับ ‘การหลีกเร้น’ ที่ทำให้สติของเรามีกำลังขึ้นมาได้ พอสติมีกำลัง จิตจะเป็นสมาธิ จิตที่มีสมาธิจะมีปัญญาในการกำจัดรากถอนโคนอวิชชาได้
- 1 สมการชีวิต‘สามีภรรยา’ ถ้าจะอยู่ด้วยเมถุนธรรมอย่างเดียว มันไม่รอดหรอก แต่จะอยู่ร่วมกันให้ยืดยาวให้อยู่อย่างผาสุกได้ ต้องอยู่แบบเพื่อนกัน ด้วยธรรมะอะไรที่จะต้องมี “ชีวิตเมื่อมีความทุกข์ ต้องแสวงหาทางออกจากทุกข์ ถ้าไม่ใช่ธรรมะทางออกนั้นไม่เกษมไม่ยั่งยืน เวลาเสียเปล่า” ในที่นี้ยกตัวอย่างเรื่องในสมัยพุทธกาล และชีวิตคู่ที่มีคนที่สาม ต่อมาเมื่อเขาปรับพฤติกรรมแล้ว เราต้องไม่เอามาเป็นของอ้างในการไม่ไว้ใจกัน ไม่อดทนกัน ถ้ามีความระแวงให้กัน มันอยู่ไม่เป็นสุข หรือเอาความชั่วความไม่ดีของเขา จึงจะทำชั่วบ้างไม่ดีบ้าง อ้างความดีที่จะให้เขากลับตัวเป็นคนดี ด้วยการด่า นั่นก็ไม่ดี ดังนั้นสามีภรรยาต้องรักษาหน้าที่ของกันและกัน ลองคิดดู ถ้าสามีหรือภรรยาประพฤติอะไรๆ ก็ตามที่เป็นที่พอใจของอีกฝ่าย ปัดโธ่!! เป็นสุขแน่นอน
- 1 สมการชีวิตความทุกข์อันใดอันหนึ่ง 5 อย่าง “ที่เป็นธรรมดา” ไม่ว่าจะเป็นเทวดาเทพมารพรหมหรือสมณะองค์ไหนก็ตาม” ที่ขอว่า “อย่าแก่..อย่าเจ็บไข้..อย่าตาย..อย่าสิ้นไป..อย่าฉิบหาย”..เขาจะไม่ได้.. ความทุกข์เมื่อมีมา เมื่อมีความทุกข์ถูกต้องแล้ว รุมเร้าบีบรัด จะมีพฤติกรรมมีการกระทำอันเป็นผลจากความทุกข์อยู่ 2 ประการนี้เท่านั้น คือ ร่ำไห้คร่ำครวญ ทุบอกชกตัว ถึงความเป็นผู้งุนงงคลั่งเพ้อ หรือแสวงหาว่า “ที่พึ่งภายนอก ใครหนอจะรู้ทางออกของความทุกข์นี้ สักหนึ่งหรือสองวิธี” “ที่พึ่งบางอย่าง ไม่ใช่ที่พึ่งอันเกษม” เพราะมันจะวนจะตันจะกลับที่เก่า “ไม่ได้แก้ปัญหานั้นได้อย่างยั่งยืน” “ที่พึ่งอันเกษม คือ พระพุทธพระธรรมพระสงฆ์” มี “ศีลสมาธิปัญญา” เป็นทางสายกลาง เป็นทางที่จะออกจากปัญหานี้ “ด้วยอะไรที่เราต้องมี ที่ถ้าเราจะต้องทุกข์อยู่อย่างนี้ เราจะอยู่ได้อย่างผาสุก” คำตอบนี้คือ “ต้องมีปัญญาที่จะมอง ปัญญาที่จะเห็น ปัญญาที่จะเข้าใจ ปัญญาที่จะพิจารณา อ๋อ! ทุกข์มันก็เป็นแบบนี้แหละ”
- 1 สมการชีวิตกลยุทธ์ที่จะรับมือกับวิกฤตการเงินที่ใครๆ ก็โดน! ได้ด้วย ‘สมชีวิตา’ ให้รายรับท่วมรายจ่าย แบ่งจ่ายทรัพย์ให้ถูกต้องเหมาะสมใน 4 หน้าที่ คือ ใช้จ่าย ใช้เก็บ ใช้ลงทุน และใช้สงเคราะห์ผู้อื่นสร้างบุญ “บุญเป็นเครื่องหล่อเลี้ยงจิตใจ ถ้าจิตใจฝืดเคืองตระหนี่ จะมีอริยทรัพย์ไม่ได้” เราจะมีอริยทรัพย์ภายในได้ด้วยการทำหน้าที่อย่างนี้ คำถามในที่นี้ คือ จะอยู่อย่างไรที่ถ้าภัยอื่นๆ ในอนาคตที่พระพุทธเจ้าทรงเตือนไว้ โจรกำเริบ สงคราม ข้าวยากหมากแพง ความแก่ ความเจ็บ ความตาย “จะอยู่อย่างไรให้ผาสุก อะไรที่ต้องรู้ อะไรที่ต้องเห็น อะไรที่ต้องบรรลุ” ด้วยอริยทรัพย์ในจิตใจ “ศีล ศรัทธา ปัญญา จาคะ ฟังธรรม” จะหล่อเลี้ยงให้จิตใจไม่ให้แห้งผาก ยิ้มแย้มแจ่มใส มีความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ ชุ่มเย็นร่าเริงในใจ “แม้ทรัพย์ข้างนอกฝืดเคือง แต่ทรัพย์ข้างในให้มี เราจะอยู่ผาสุกได้”
- 1 สมการชีวิตไม่ใช่ทั้งหมดที่ความสุขสมหวัง ความผิดหวังในชีวิต จะเกิดจากผู้อื่นบันดาลเป็นพรหมลิขิตหรือกรรมเก่าอย่างเดียว แต่มีเหตุมีปัจจัย และไม่ใช่ว่าเหตุเดียวผลเดียว อาจเกิดจากการเตรียมตัวไม่สม่ำเสมอ หรือเหตุบังเอิญก็เป็นไปได้ และหากรู้สึกรักใคร่ชอบพอก็อาจจะเคยเกื้อกูลกันมาในภพก่อนๆ มีศรัทธา ศีล จาคะ ปัญญา ที่เสมอๆ กัน ‘กรรม’ เกิดได้ทางกายวาจาใจ เป็น ‘ราคะ โทสะหรือโมหะ’ ซึ่งกรรมอันใดที่ไม่ได้ทำเพราะโทสะหรือโมหะ นั่นไม่ได้เป็นกรรมที่จะให้เกิดการผิดศีล แต่เพราะมีการกระทบกระทั่งเบียดเบียนกันเกิดขึ้น เราจึงรู้สึกไม่ดี เพราะนี่คือโทษของวัฏฏะ โทษของสังสารวัฏ ซึ่งพระพุทธศาสนาเป็นศาสนาที่ไม่เบียดเบียนอยู่แล้ว ดังนั้นแม้ใครจะเบียดเบียนเรา แต่ให้มี ‘ธรรมเครื่องขูดเกลา’ ที่เรายังต้องมีความอดทน มีความรักใคร่เอ็นดู มีเมตตาจิตอยู่เสมอ พิจารณาแบบนี้จิตใจเราจะสูง ต่อให้ตาย การตายนั้นเป็นการตายที่ไม่สูญเปล่า
- 1 สมการชีวิตถ้ามีกฎเกณฑ์ความสุขในชีวิตมาก เป็นไปตามกระแสของโลกมาก ความทุกข์ของเราจะมาก ตามกระแสของโลกคือตัณหา มีตัณหามากความทุกข์ก็มาก แทนที่จะความสุขมากตามกฏเกณฑ์ที่มีมาก No! ความทุกข์ยิ่งมาก แต่ถ้ามีกฎเกณฑ์ความสุขในชีวิตน้อย คือ ไม่ต้องไปตามกระแสของตัณหาเท่าไหร่ เออ! มีกฎเกณฑ์ความสุขน้อย ความสุขกลับมาก เป็นความสุขที่เหนือกว่าสุขเวทนา เพราะจิตใจไม่ผูกเป็นปมเป็นเงื่อนไม่ลงตัว กินอะไรอยู่ที่ไหนทำอะไรก็มีความสุขได้ เป็นความสุขเกิดขึ้นจากในภายใน ไม่ได้เป็นไปตามเงื่อนไขของในภายนอก เราต้องรอสิ่งต่างๆ ให้เป็นไปตามเงื่อนไขปัจจัยที่คาดหวัง ถึงจะมีความสุข ไม่จำเป็น แต่มีความสุขที่นี่เดี๋ยวนี้ปัจจุบันนี้ได้ทันที ด้วยการตั้งจิตใหม่ให้มาตามทางมรรคที่มีองค์ประกอบอันประเสริฐ 8 อย่าง “ปรับกฎเกณฑ์ใหม่ ให้กฎเกณฑ์ของเราเป็นไปตามกฎเกณฑ์ของโลก กฎของอริยสัจคือความจริงอันประเสริฐ ถ้าปรับตามนี้แล้ว ชีวิตของเราจะมีความสุขได้ทันที”
- 1 สมการชีวิตทุกคนในโลกที่เกิดมาเป็นมนุษย์ บรรลุถึงธรรมะที่ให้เกิดความดีจะว่าอย่างนั้นก็ยังได้ เพราะความที่เกิดเป็นมนุษย์ไม่ใช่ง่าย ๆ เราบรรลุซึ่งความดีที่ได้ยากแล้ว มีบุญมากพอ ต่อไปอีก คนจะมามืดหรือมาสว่าง แต่ให้ไปสว่าง จึงควรแท้ที่จะไม่ประมาท เพราะที่สูงขึ้นไปยังมีให้เกิดการบรรลุเป็นขั้น ๆ เหมือนการปฏิบัติที่เป็นไปตามลำดับ ธรรมะใช้ให้ถูกจุด เราจะมีกำลังใจในการปฏิบัติ เริ่มจากศีลธรรมดา ๆ ความเพียร หิริโอตตัปปะ หรือแม้แต่การกินอาหารที่ไม่ได้มัวเมา แต่เพื่อระงับเวทนาฯ .. เมื่อเข้าใจถูกแล้ว ทำเป็นขั้น ๆ “ทำทีละน้อย ๆ ฝนตกทีละเม็ด ๆ เขื่อนเต็มขึ้นมาได้” เหมือน “เราตั้งสติไว้ทีละครั้ง ๆ ก็บรรลุมรรคผลนิพพานได้” นี่หมายถึงระดับขั้นสูงนั่นเลย
- ถ้าจะให้ประสิทธิภาพในการทำงานยังมีอยู่สูง เราต้องมีวิธีละความเครียด “เจริญธรรมะฉันทะ เพื่อละกามฉันทะ” ซึ่งรูปแบบของความเครียดจะมาว่าเราอยากไปดูเฟสบุ๊ค ยูทูป นั่นคือ มีกามฉันทะขึ้นแว๊บนึง หรือมีความไม่พอใจคนนั้นคนนี้ มีความง่วง มีความคิดฟุ้งซ่าน สงสัย เคลือบแคลง คือ มีนิวรณ์ 5 เกิดขึ้น ‘สติ’ จะเป็นตัวแยกแยะว่า เราจะสู้ต่อหรือพอแค่นี้ แต่ถ้าสติมีกำลังอ่อน ก็ฝึกให้สติมีกำลังมากขึ้น สมาธิก็จะมีกำลังมากขึ้น ด้วยการจดจ่อในการเจริญอิทธิบาท 4 ‘ฉันทะ วิริยะ จิตตะ วิมังสา’ อย่างใดอย่างหนึ่งให้เกิดสมาธิได้ “ทุกคนมีศักยภาพในการทำงานอยู่แล้ว เพียงแต่ต้องรู้จักเลือกที่จะใช้ในงานที่จะต้องทำ ในเวลาที่เหมาะสม ให้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ”
- “ธรรมะทางตรงธรรมะทางลัด คือ ทางเอก ไม่ใช่ทางอ้อม” เป็นมัชฌิมาปฏิปทา เป็นการแก้ปัญหาโดยตรง ต้องทำตามนี้ ไม่อย่างนั้นต้องวนกลับมาเหมือนเดิม “เกิดในสังสารวัฏ ทุกคนเป็นเจ้ากรรมนายเวรของกันและกันอยู่แล้ว มีความเกี่ยวข้องกันไม่ทางใดก็ทางหนึ่ง” ท่านจึงแนะนำว่าอย่าไปอยู่ในสังสารวัฎ มันทุกข์มาก มีปัญหามาก เมื่อมีผัสสะคุณจะมีเวทนา ถ้ามีเวทนา คุณจะมีความทุกข์ได้” สำคัญคือ มีผัสสะแล้ว มีทุกข์ไหม ถ้าเข้าใจผัสสะได้ถูกต้องว่า “ผัสสะไม่เที่ยง สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นตัวเราหรือเปล่า” นี่คือสัมมาทิฏฐิ…เข้าใจได้เริ่มจากศรัทธา ฟังธรรม จิตเป็นสมาธิ จะมีสัมมาสมาธิได้ ต้องมีสัมมาสติ ซึ่งอานิสงส์ของผู้ที่เจริญเมตตาอยู่เป็นประจำ จะทำให้เข้าสมาธิได้ง่าย
- จิตที่ไม่มีสติ เสวยอารมณ์ใดๆ จะผลิตสิ่งที่เรียกว่ากิเลส เมื่อสั่งสมมากเข้าๆ จนเป็นอาสวะหรือสิ่งที่ไหลออกจนเป็นพฤติกรรม ‘โมหะ’ อาสวะที่ทำให้กลัว มีโทษมากคลายช้า “เรากลัวสิ่งใด จะละความกลัวได้ ก็ต้องละในสิ่งนั้น” ‘ราคะ’ อาสวะที่ทำให้เกิดความหลง โทษน้อยคลายช้า ส่วน ‘โทสะ’ อาสวะที่ทำให้ขัดเคือง โทษมากคลายเร็ว อาสวะเหล่านี้ จะตัดจะแก้ได้ ต้องใช้ ‘ปัญญา’ เปรียบเหมือนความคมของมีด กำลังของ ‘สมาธิ’ คือมีดเล่มเล็กหรือใหญ่ เล็งลงไปให้ตรง นั่นคือสติ "อาสวะมันเหนียว ฟันทีเดียวไม่ขาด หรือขาดแล้วต่อใหม่ได้" เพราะเป็นพฤติกรรมที่สั่งสมมานาน จึงต้อง “พิจารณา” ซ้ำๆ ย้ำๆ ถึงกุศลและอกุศล ฟันลงไปฟาดลงไปให้ตรง พิจารณาต่อเนื่อง จะเกิดประโยชน์ขึ้นแน่นอน
- 1 สมการชีวิต“ศาสนานี้คำสอนนี้ เป็นศาสนาของปัญญา” เมื่อ “เห็นโทษโดยความเป็นโทษ แล้วกระทำคืนตามธรรม” ที่ว่าจำเป็นต้องทำไม่ดี ต้องดูที่เจตนาเปรียบเหมือนรอยกรีดลงบนน้ำ ทรายหรือหิน “กระทำอะไรก็ตาม ต้องได้รับผลมีวิบากของกรรม” ซึ่งการที่เกิดมาเป็นคน มีความดีรักษาเราอยู่แล้ว ฉะนั้นให้เป็นผู้มีตาที่ 1 ในการทำความดี ตาที่ 2 ในการหาทรัพย์ และตาที่ 3 ในการเห็นอริยสัจ 4 ฟังแล้วใคร่ครวญให้เกิดปัญญา ไม่ประมาทในชีวิตทั้ง 3 วัย คุณธรรมอะไรดีๆ เก็บไว้ๆ ไม่เห็นแก่ว่ามันน้อย มันสั้น แต่เก็บไว้ด้วยการตั้งสติให้ดี แทงลงตรงจุดที่เป็นกุศลธรรม แก้กรรมที่ทำไม่ดีมาก่อน อินทรีย์มีความแก่กล้าขึ้น ปล่อยวางจุดนั้นจุดนี้ จิตสุดท้ายทำให้ดี จะทำให้เกิดการสิ้นกรรมขึ้นมาได้
- โลกนี้..หลายๆ อย่างมันเป็นเงื่อนงำ ผูกเป็นปมซ่อนเร้นให้ไม่เห็นว่า ข้างในเป็นอะไร ฉะนั้นเราต้องมองให้ลึกซึ้ง ไม่ใช่แค่เพียงผิวเผิน ใคร่ครวญโดยแยบคาย ที่จะให้เกิดสิ่งที่ไม่ดีในลักษณะให้ไม่เข้าใจ ให้ไม่พอใจ หรือให้เกิดความลุ่มหลงเป็นอาสวะ 3 แบบกาม ปฏิฆะ และอวิชชา ขึ้นมาได้ “ทำดี” ไม่ได้จะหวังเอาสิ่งดีๆ แต่เพื่อกำจัดความอยาก เพื่อกำจัดความตระหนี่ “จะดีหรือไม่ดี ไม่ได้อยู่ที่ปากคนอื่น ไม่ได้จะอยู่ที่ว่าจะมีสุขหรือมีทุกข์ จะร่ำรวยหรือยากจน ไม่ได้อยู่ที่เวทนาแบบไหน แต่อยู่ที่ตัวเรา” เราจึงต้อง “พึ่งตนพึ่งธรรม” ใช้ปัญญา พิจารณาเข้ามาที่ตัวเองในลักษณะที่ไม่ให้อาสวะเกิดขึ้น ปัญญาก็จะแจ่มแจ้งขึ้นอยู่ตรงนั้นนั่นเอง
- 1 สมการชีวิต“ทำไมมีเวทนาบางอย่าง สุขก็มีทุกข์ก็มี” เพราะเหตุ 8 อย่าง หนึ่งในนั้นคือกรรมเก่า แต่หากเชื่อว่า “กรรมเก่าเท่านั้นที่ทำให้เราต้องทุกข์ หรือทำให้เขาหน้าตาดีฐานะดี” ความเข้าใจนั้นผิด เพราะจิตจะน้อมไปที่จะไม่ทำอะไรในตอนนี้ชาตินี้ แต่ถ้าอยู่กับทุกข์ได้ถูกวิธี จิตใจเราจะไม่ทุกข์ หรืออยู่กับสุขโดยไม่ลุ่มหลง ‘สุขทุกข์เป็นธรรมดา’ นี่เป็นทิฏฐิที่ถูก และ “บุญเป็นชื่อของความสุข” ดังนั้นไม่ว่าจะเกิดสว่างหรือมืด แต่ให้ไปสว่าง คือ ชีวิตมีกำไร เพราะฉะนั้น ‘ทานศีลภาวนา-ศีลสมาธิปัญญา’ เป็นเหตุเงื่อนไขปัจจัยที่สามารถสร้างได้ในปัจจุบัน แทงลงตรงจุดที่เป็นกุศลธรรม ไม่ว่าบุญจะให้ผลเวลานี้ ในเวลาต่อมา หรือต่อมาๆ บุญก็ให้ผลเป็นความสุข
- 1 สมการชีวิตระบบและระเบียบ คือ ‘ระเบียบวินัย’ คนที่จะประสบความสำเร็จต้องมีระบบเสมอ ระบบเป็นสิ่งให้เราสู่ความสำเร็จ สู่อิสรภาพจากสิ่งที่เป็นอยู่ตอนนี้ ไม่ว่าต้องการจะสำเร็จเรื่องอะไร มีคนเคยทำสำเร็จมาแล้วทั้งสิ้น ว่าแต่คุณจะมีวินัยทำตามระบบนั้นได้ไหม และจะทำให้ชีวิตเรามีระเบียบวินัยตั้งอยู่ในระบบที่ดีได้อย่างไร ฟังแล้ว..ให้มีความกล้า ให้มีกำลัง ให้มีความเพียร “ทำทันที” ด้วยวินัย ให้เป็นผู้มีความสันโดษ และไม่สันโดษ “ไม่อิ่มไม่พอในกุศลธรรมทั้งหลาย ไม่ถอยกลับในการทำความเพียร” ทำตามทัศนคติตามระบบที่มีองค์ประกอบอันประเสริฐ 8 อย่าง..จี้จ่อลงไป ฝึก/ทำตรงจุดที่ทำไม่ได้นั่นแหละ ทำให้ดีกว่าเดิม ตรงนั้นจะให้ผลตอบแทนสูงสุด
- 1 สมการชีวิตโลกนี้สุขทุกข์เป็นธรรมดา มีเหตุให้เกิดก็เกิด มีเหตุให้ดับก็ดับ จะเข้าใจได้ ไม่มี “อคติ 4-ลำเอียงเพราะชอบ ชัง หลง กลัว” จิตต้องมีพลังสติพลังสมาธิ “ใครเขาด่าว่าแดกดันหรือสรรเสริญเยินยอ จิตเราจะไม่แปรปรวนได้” สติเป็นทักษะที่ฝึกได้ ‘พลัง’ นี้เป็น soft power คือ พละ 5 ที่ไม่ใช่อาชญาไม่ใช้ศาสตรา มีองค์ประกอบ 5 อย่าง “ศรัทธา วิริยะ สติ สมาธิ ปัญญา” เมื่อทำแล้ว รักษาจิตให้มีพลัง การงานใดที่ยากที่หนัก เวลาที่สัมพัทธ์กับจิต ใจที่สบาย การงานนั้นก็มีประสิทธิภาพ จัดการให้ดีได้ ทั้งเพื่อประโยชน์ตน ประโยชน์ผู้อื่นและทั้งสองฝ่าย ก็ชื่อว่ารักษาตนและรักษาผู้อื่นด้วย “เกิดมาครั้งนี้ ไม่ต้องเอาทั้งชาติ เอาตั้งแต่เช้าแค่วันเดียว วันนี้เรากำไรหรือขาดทุน?”
- ปัญญาเป็นสิ่งที่สำคัญมากในการดำเนินชีวิต เป็นอาวุธที่ใช้แก้ปัญหา เหมือนกุญแจที่จะปลดล็อคสิ่งต่างๆ ที่เป็นเงื่อนเป็นปม คำถามคือจะทำปัญญาให้เกิดขึ้นได้อย่างไร ซึ่งในทีนี้ได้ยกไว้ถึง 10 ตัวอย่าง ปัญญา คือ ความคิดจากการคิดอ่านการงานธรรมดานี่แหละ ที่เราสามารถพัฒนาปัญญาให้มากขึ้นๆ ไปในทางที่ดีขึ้นๆ จากที่คิดทำมาหากินอย่างเดียว ไม่คิดคดโกง ไม่คิดเบียดเบียนหรือตระหนี่ แต่ให้คิดที่จะแบ่งปัน คิดในการที่จะหาความสงบในจิตใจ ฟังเทศน์ฟังธรรม เป็นผู้ที่ไม่อยู่ด้วยความประมาท สร้างอาวุธ คือ ปัญญา สุดท้ายปัญญาในการที่จะกำจัดกิเลส ฆ่ากิเลสที่อยู่ในจิตใจ ให้เราเป็นผู้ที่มีความสงบเย็น มีความพ้นทุกข์ รักษาตนให้พ้นจากภัยในวัฏฏะได้
- เครื่องหมายของสมาธิที่พระพุทธเจ้าให้ไว้ คือ ความคิดในทางอกุศลต้องดับไป ถ้าคิดเรื่องที่หลีกออกจากกาม ไม่พยาบาท ไม่เบียดเบียน นั่นคือจิตเป็นสมาธิแล้ว และการรู้ว่าอะไรเป็นความคิดในทางดี นั่นคือสัมมาทิฏฐิ แยกแยะได้แล้วพยายามคิดถึงในสิ่งที่ดี ความพยายามนั้นคือสัมมาวายามะ ความระลึกถึงสิ่งที่ดีได้ นั่นคือสัมมาสติ บางครั้งรู้ว่าอะไรชั่วอะไรดี แต่กำลังในการที่จะลงมือทำในสิ่งที่ดี ไม่พอ เพราะฉะนั้น 3 อย่างต้องประกอบกัน ความรู้ตรงนี้จะทำให้เกิดการพัฒนา ถ้าเราฝึกอยู่เป็นประจำ อยู่ที่ไหนก็ทำได้ เพราะสติเป็นเรื่องของจิตใจ ฝึกในรูปแบบตอนเช้าหรือเย็น ระหว่างวันก็ฝึกได้ จะช่วยหนุนกันให้เกิดสมาธิที่ลึกซึ้งขึ้นไปได้
- 1 สมการชีวิต‘โรคซึมเศร้าที่เกิดจากความวิตกกังวลแก้ได้ด้วยการปฏิบัติธรรม’ ในที่นี้ได้ยกเคสที่กินยามานานที่ถ้าไม่มีการเปลี่ยนแปลงตัวเอง มันก็แก้ไขไม่ได้ ด้วยเทคนิคต่างๆ ทั้งการระบายความเก็บกดออกมา โดยเราต้องมีผู้รับฟังที่เป็นกัลยาณมิตร มีคุณธรรม คือ พรหมวิหาร 4 พูดคุยกันอย่างเปิดเผย รู้จักเอาความกังวลออกไป มีการฝึกทำสมาธิ มีการพิจารณาให้เห็นทุกข์ เข้าใจทุกข์ด้วยจิตที่สงบ มีปัญญา “ปัญหาทุกปัญหาแก้ได้ โรคภัยไข้เจ็บทุกอย่างแก้ได้ หายจากเชื้อโรคในจิตใจ เอาชนะความวิตกกังวล เมื่อมีความคิดแล้วไม่ตามไป แต่ให้ตั้งสติเอาไว้ มีพรหมวิหาร เริ่มจากแผ่เมตตา กรุณา ให้ตัวเราเอง.”
- 1 สมการชีวิตทางสายกลางของพระพุทธเจ้า คือ สติ จะนำหลักธรรมมาปรับใช้อย่างไร ในที่นี้มีทั้งผัสสะที่ไม่น่าพอใจ ก่อนอื่นต้องมีความระงับ รักษาจิตให้มีธรรมะอยู่ในใจ “ตอบโต้ด้วยความอดทน ด้วยความไม่เบียดเบียน ด้วยเมตตาจิต ด้วยความรักใคร่เอ็นดู” หรือผัสสะที่น่าพอใจกำหนัดยินดีลุ่มหลง ต้องมีความยับยั้งใจ เตือนตนด้วยตน “เราตริตรึกคิดนึกไปทางไหน จิตจะน้อมไปทางนั้น สิ่งนั้นยิ่งมีพลัง” การตั้งเป้าหมายที่จะเปลี่ยนแปลงตัวเอง ให้เริ่มจากมองว่าเรามีอะไรที่ดีอยู่ เอามาเป็นพื้นฐานเป็นกำลังใจเป็นความมั่นใจในความดีที่เรามีอยู่นั้น แล้วพัฒนาต่อยอดคุณธรรมอื่นให้ดียิ่งขึ้นไป
- 1 สมการชีวิต“เราไม่ควรตั้งความไม่พอใจ ความอาฆาต ความพยาบาทในบุคคลใด แม้แต่บุคคลที่ประพฤติไม่ชอบทั้งทางกาย วาจา ใจ เพราะเราจะไปมืด แต่ให้ตั้งไว้ด้วยเมตตา กรุณา หรืออุเบกขา” เปรียบเหมือนกับการชัก ‘ผ้าบังสุกุล’ ที่เขาทิ้งแล้วมาใช้งาน เพราะส่วนที่ดียังมีอยู่ การจะอยู่ร่วมกันไม่ว่าจะในครอบครัว ที่ทำงาน หรือในระดับไหนก็ตาม จะมีความผาสุกได้ด้วย ‘การให้ธรรมะ’ ที่ไม่จำเป็นต้องพูดหรือมีสิ่งของอะไรให้ แค่เอามาทำเอามาปฏิบัติ ปรับจิตปรับใจ ‘พัฒนาจิตของเรา’ ตั้งมั่นในธรรม ละสิ่งที่เป็นอุศลทำสิ่งที่เป็นกุศล ที่ไม่ว่าเราจะมามืดหรือสว่าง แต่ให้ไปดีไปสว่าง ไปตามทางที่มีองค์ประกอบอันประเสริฐ 8 อย่าง รักษาตนให้พ้นจากภัยในวัฏฏะนี้
- การติดโซเชียลมีเดียไม่ต่างกับติดยาเสพติดหรือติดสิ่งใดสิ่งหนึ่ง เป็นการติดเวทนา คือ ติดความรู้สึกที่เป็นสุขที่เกิดขึ้น มีตัณหามีความพอใจในเวทนานั้น จะแก้ไขได้ ต้องเห็นเวทนานั้นโดยความเป็นของไม่เที่ยง เราจะคลายความยึดถือ คลายความกำหนัดยินดีนั้นได้ ‘นินทา’ จะเอาชนะความเท็จต้องด้วยความจริงเท่านั้น ถ้าคนที่เข้าใจผิดเป็นคนพาล เราไม่จำเป็นต้องกล่าวแก้ก็ได้ แต่ต้องอยู่ให้เรื่องราวระงับเสียก่อน แต่ถ้าเขาเป็นบัณฑิต เราควรเอาความจริงมาเปิดเผย และในทางคำสอนของพระพุทธเจ้า ความอดทนมีแต่ดีอย่างเดียว “ความอดทน ความสามารถในการละสิ่งที่เป็นอกุศล เป็นธรรมะ” คุณธรรมสองข้อนี้จะรักษาตัวเราให้อยู่ในทางโลกและทางธรรมได้ดีแน่นอน
- 1 สมการชีวิตหลักการเรื่องโภคทรัพย์ ‘สมชีวิตา’ คือ การบริหารจัดการรายรับ/รายจ่ายที่ต้องมีความเหมาะสม เปรียบเหมือนผลมะเดื่อ คือ มีระบบการจัดแจงภายในให้ดี “รายรับต้องท่วมรายจ่าย” รายรับและรายจ่ายต้องเป็นไปโดยธรรม รายรับมาจากการทำงาน จัดให้ทำหรือจัดแจงการงาน ส่วนรายจ่ายให้รู้จักแบ่งจ่ายใน 4 หน้าที่ และต้องระวัง ‘รูรั่ว’ จากอบายมุข ความประมาทมั่วเมาพระพุทธเจ้าอุปมาการสะสมทรัพย์ให้พอกพูนเหมือนจอมปลวกหรือรวงผึ้ง ที่ปลวกหรือผึ้งทำงานอย่างเป็นระบบ มีการสะสมๆ หมุนไปๆ จอมปลวกหรือรวงผึ้งก็ใหญ่ขึ้นมาได้ และคนที่เป็นเศรษฐีมหาเศรษฐี เขาไม่ได้มีจอมปลวกจอมเดียว รวงผึ้งรวงเดียว เขาก็จะมีรวงผึ้งหลายๆ อัน จอมปลวกหลายๆ แห่ง
- 1 สมการชีวิตเราจะรักษาจิตอย่างไร เมื่อความแก่ ความเจ็บ ความตาย ความพลัดพรากจากคนที่เรารักมาถึง และเมื่อมีทุกข์น้อยหรือทุกข์มาก ที่เราจะยังผาสุกอยู่ได้ คำตอบนั้นคือองค์ประกอบอันประเสริฐแปดอย่าง ตั้งแต่สัมมาทิฏฐิ ไล่ไปจนถึงสัมมาสมาธิให้เกิดขึ้นในจิตใจ วิธีการ คือ ตั้งสติเอาไว้ เห็นตามความเป็นจริง ให้มีการพิจารณาเนืองๆ ว่าเรามีความเจ็บไข้เป็นธรรมดา เพื่อที่จะไม่ให้เพลิดเพลินไปในความไม่มีโรค ไม่เพลิดเพลินในความหนุ่มสาว ไม่เพลิดเพลินในความมีชีวิต เพราะเมื่อเราเจอสิ่งนั้นแล้ว เราจะอยู่กับทุกข์ได้
- 1 สมการชีวิตกระบวนการความสำเร็จของตั้งเป้าหมายอย่างใดอย่างหนึ่ง ให้เริ่มต้นทุกวันด้วย 4 ขั้นตอน เริ่มจากทำจิตให้สงบ ใส่ใจไว้กับลมบ้าง กระดูกบ้าง จิตนิ่ง ๆ เป็นสมาธิ แล้วตั้งจิตนึกคิดเป็นภาพในกิจการงานที่เราจะทำในวันนั้น ๆ ที่เรียกว่าเทคนิคการ Visualization โดยต้องไม่ใส่ใจไปกับอารมณ์ต่าง ๆ ไม่เป็นไปในทางกามพยาบาทเบียดเบียน หรือมีความอยาก เพราะจะทำให้จิตอ่อนกำลัง นี่คือลักษณะของอิทธิบาทสี่ มีธรรมเครื่องปรุงแต่ง จบด้วยการแผ่เมตตาแบบไม่มีประมาณ แถมด้วยพรอีก 9 ประการ วันนั้นดีแน่ ประสบความสำเร็จ “คิดบวกให้ถูกหลัก จากร้ายจะกลายเป็นดี” หรือต่อให้สิ่งต่าง ๆ ไม่เป็นไปตามแผน แต่ด้วยจิตที่ฝึกมาดีแล้วนั้น เราจะนิ่ง เย็น สงบ ได้
- 1 สมการชีวิตความแก่ ความเจ็บ ความตาย เป็นสามในห้าอย่างของเทวทูตที่เตือนสติให้เราทำความดี ตั้งสติเอาไว้ ซึ่งความดี-ความไม่ดี ต้องดูตามแบบที่ผู้รู้ คือ วิญญูชนบอกสอน ในที่นี้ คือ หลักของศีล สมาธิ ปัญญา หรือศรัทธา ศีล สุตตะ จาคะ ปัญญา ไม่หนีไปจากนี้ นี่คือความดีที่ให้กระทำไว้ เห็นสิ่งต่างๆ แล้วตั้งเทวตานุสติ คือ ระลึกถึงความดีของผู้อื่น หรือมรณสติ รู้สึกถึงสัมปชัญญะ ก็ดำเนินชีวิตของเราไปได้ เมื่อ ‘สัจจกิริยา’ คือ การตั้งสัจจะด้วยเหตุที่เราได้ทำมาดีแล้ว สร้างเหตุไว้อย่างถูกต้อง มีจิตที่ตั้งอยู่ในแดนกุศล แล้วถ้าช่องของบุญจะให้ผล สิ่งที่เราหวังอย่างใดอย่างหนึ่ง ก็อาจจะให้ผลได้ อย่างน้อยจิตใจมีความผาสุกอยู่ได้
- 1 สมการชีวิตตราบาป คือ นิมิตเครื่องหมายของความไม่ดี อาจทำให้จิตของเราตกไปอยู่ห้วงอกุศล เพราะฉะนั้นถ้ามีปัญหาเรื่องความสัมพันธ์โดยเฉพาะอย่างยิ่งในครอบครัว เราต้องรักษาให้ดี บางทีคำขอโทษง่ายๆ ไม่ยาก ช่องทางมีน้อย โอกาสหาแทบไม่เห็น แต่ขอให้ทำ อย่าให้มีการผูกเวรกัน แต่ให้มีความเมตตา เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ มีอุเบกขาให้กัน พอพัฒนาปรับปรุงความสัมพันธ์แล้ว จิตใจเราถูกปลดล็อคคลายเงื่อนคลายปม จะไม่มีความหงุดหงิดอยู่ในใจ จะมีความสบาย ชีวิตมันจะดีขึ้นได้ เป็นทางดำเนินที่ถูก เป็นทางโล่งทางโปร่งไม่ประกอบด้วยขวากหนาม เป็นทางที่เกษมร่มเย็น "จิตใจที่ดำเนินไปตามทาง ‘ศีลสมาธิปัญญา’ อาจจะยากบ้างอาจจะมีทุกขเวทนาบ้าง อันนี้เป็นธรรมดา"
- 1 สมการชีวิต“บุญแปลว่าความสุข” บุญเกิดจากกายวาจาใจ หรือ ‘บุญกิริยา 10’ แบ่งเป็นทางใจ 3 วาจา 4 และกายอีก 3 รวมลงในศีลสมาธิปัญญา บุญจากทานศีลภาวนา บุญจากการอุทิศ บุญจากการอนุโมทนา บุญที่ไม่เบียดเบียนตนเองและผู้อื่น ตัวอย่างพระเวสสันดร “สิ่งที่ตัวเองให้ เป็นสิ่งที่ตัวเองรัก และเป็นสิ่งที่พอใจด้วย รัก จึง ให้” เพราะดูถึงคุณธรรมที่จะเกิดขึ้น ส่วนความคิดลบที่ว่าทุกอย่างเป็นกรรมเก่า เป็นคนเลวคนไม่ดีนั่นเป็นมิจฉาทิฏฐิ ให้ละเสีย ไม่ว่าจะสว่างมา คือ มีสุขเวทนา หรือมืดมา คือ มีทุกขเวทนา ให้อดทนมีความเพียรมีเมตตา ต้องไปตามมรรคไปทางสว่าง เพื่อให้จิตไปทางกุศล ชีวิตจะค่อยปรับไปๆ มีอะไรก็ “อยู่กับมันให้ได้ ให้มีกำลังใจสูง”
- 1 สมการชีวิตทุกอย่างอยู่ที่ ‘ผลประโยชน์’ คือ ในทางโลกกับในทางธรรม แต่อะไรที่จะดีกว่าให้กำลังใจเราได้มากกว่า คงอยู่ได้ยาวนานยั่งยืน มีข้อเสียน้อย และเป็นประโยชน์ใหญ่ ทั้งเพื่อตนเองและผู้อื่นด้วย นั่นคือประโยชน์ในทางธรรมะ อย่างความอดทนหรือการให้ ‘จาคะ’ ที่บางคนอาจจะคิดว่า ‘เสีย’ แต่จริง ๆ แล้วคุณ ‘ได้’ ต่างหากได้ให้ทานได้สละออก ให้เห็นแก่ประโยชน์ตนเป็นหลักตั้งขึ้น เพราะประโยชน์ด้านโลกุตระเราได้ประโยชน์แล้ว คนอื่นก็ได้ประโยชน์ด้วย สังคมก็จะอยู่ได้อย่างราบรื่น รู้จักปรับผลประโยชน์ให้เห็นมาในส่วนของมรรค ปรับสายตาให้มีดวงตาคือปัญญา ในการที่จะเห็นผลประโยชน์ที่จะเกิดขึ้นในด้านโลกุตระให้ยิ่งๆ ขึ้นไป
- 1 สมการชีวิตวันสำคัญในเดือนนี้ มีแง่มุมธรรมะว่า อย่างไรจึงเป็นมงคล .. “บูชาบุคคลที่ควรบูชา” คือ ผู้ที่มีศรัทธา ศีล สุตตะ จาคะ ปัญญา เป็นพุทธมามกะ นับถือพระรัตนตรัย และปีนี้จะดีจะชงหรือไม่ อยู่ที่เราทำดีนั่นคือดี ใช้โอกาสในการเริ่มต้นใหม่ ๆ ผูกมิตร ทำดี ๆ ให้กัน อดทน ไม่เบียดเบียนกัน มีเมตตาจิต รักใคร่เอ็นดูนั่นจะเป็นการดี ส่วนเรื่องในสังคมที่เกิดขึ้น .. “เราไม่จำเป็นต้องทุกข์” มันแค่วิธีคิดวิธีทำจิต ตั้งทิฏฐิให้ถูก กลับมาที่สติ มีกัลยาณมิตร มีสัมปชัญญะ “ทุกข์เป็นที่ตั้งของศรัทธา” อุบายที่จะออกจากทุกข์ได้ ต้องมาตามทางศรัทธา “ทำความเพียร ทำจริงแน่วแน่จริงในการตั้งสติขึ้น” เห็นสิ่งเหล่านี้ในความเป็นของไม่เที่ยงเป็นเรื่องธรรมดา
- 1 สมการชีวิตชีวิตของเรามีเรื่องที่ต้องให้ตัดสินใจอยู่ตลอด ในรูปแบบของผัสสะหรือปัญหาต่าง ๆ ที่เป็นสุขเวทนา ชื่อเสียงเงินทอง ทุกขเวทนา ถูกด่าถูกว่าไล่ออกสูญเสียเงิน วัน ๆ หนึ่งต้องตัดสินใจหลายอย่าง ยิ่งเป็น Disruption world โลกเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว จะตัดสินใจอย่างไรที่ไม่ใช่มองโลกในแง่ร้ายหรือโลกสวยมองแต่แง่ดีจนเกินไป ปรับจิตให้อยู่ในทาง ‘ปัญญา’ จึงเป็นจุดสำคัญ ที่จะเปลี่ยนให้เราเป็นคนรอบคอบ เป็นคนดีมีน้ำใจเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ มีพรหมวิหารสี่ มีความเป็นผู้นำสูง เรามาเรียนรู้ ปรับปัญญารักษาจิตให้เป็นพละเป็นอินทรีย์ พัฒนากุศลที่เรามีดีอยู่ให้เกิดขึ้น ด้วยมรรคแปดที่เรารักษาไว้ในสถานการณ์ต่าง ๆ
- 1 สมการชีวิต“เราอยู่ในโลกใบนี้เหมือนเราโหลดแอปมา เราต้องยอมรับเงื่อนไขของแอปที่เราโหลด เหมือนงูกับลิ้นงูที่ต้องอยู่ด้วยกันให้ได้” Q: การบวชผู้ที่มีจิตใจไม่ใช่เพศชายได้หรือไม่ A: ในหลักธรรมมีบัณเฑาะก์อยู่ ซึ่ง 2 อย่างใน 5 อย่างนั้นสามารถบวชได้ ด้วยเงื่อนไขของสรีระและอวัยวะที่ไม่เป็นอุปสรรค และเพราะธรรมะสามารถเปลี่ยนจิตใจของคน ดังนั้นการบรรลุธรรมจึงอยู่เหนือเพศสภาพ ชาย/ หญิง / หรือบัณเฑาะก์ ก็สามารถบรรลุธรรมได้ Q: พระอุปัชฌาย์ไม่ผิดและกรมการศาสนาไม่ทราบหรือ A: พระอุปัชฌาย์ต้องพิจารณาและกรมการศาสนาต้องประชุมกัน Q: การถอดเครื่องหายใจให้พ่อแม่ บาปหรือไม่ A: การทำปาณาติบาต บาปแน่นอนขึ้นกับเจตนาที่มี 3 ระดับเหมือนการกรีดมีดลงบนวัตถุ 3 อย่าง บนน้ำ บนทราย บนหิน ส่วนจะตัดสินใจอย่างไร ให้ทำตามคำแนะนำของแพทย์และเจตนาของพ่อแม่ Q: พระอภิธรรมกับพระไตรปิฎกต่างกันอย่างไร A: พระไตรปิฎกมี 3 ส่วน คือ พระอภิธรรม พระสูตร และพระวินัย ดังนั้น พระอภิธรรมจึงอยู่ในส่วนของพระไตรปิฎก Q: บทสวดมนต์ปรายนสูตร A: การสวดมนต์ทุกอย่างควรจะเข้าใจบทสวดด้วย[...]
- ถ้ายังไม่แต่งงาน ไม่ต้องคิดจะแต่ง หรือถ้าอยากจะแต่งจริง ๆ ให้ดูที่คุณธรรม “ศรัทธา ศีล จาคะ ปัญญา” แต่ถ้าแต่งกันอยู่แล้ว อย่าคิดว่าจะเลิก อยู่กันไปให้ได้ ทำยังไงให้มันเวิร์ค แต่งงานแล้วไม่ขาดทุน แต่ได้กำไร “รักษาความดีได้” มีความมั่งคั่งทั้งทรัพย์สินเงินทอง ทั้งความสัมพันธ์ ทั้งลูกหลาน ทั้งการดำเนินชีวิต ชีวิตคู่จะราบรื่น เพราะรู้จักรักษาจิตของตนให้ดี ให้อยู่ด้วยคุณธรรม ด้วยหน้าที่ด้วยกิจที่ควรทำ ในฐานะลูกสะใภ้ลูกเขย ภรรยาสามี ในทิศทั้งหก ด้วยความขยันขันแข็ง ด้วยความเมตตา ด้วยความแบ่งปัน ด้วยความอดทน การครองเรือนของเราจะไปได้
- 1 สมการชีวิตเพราะไม้อ่อนดัดง่ายกว่า หน้าที่ของพ่อแม่จึงต้องให้ลูกตั้งอยู่ในความดี ห้ามเสียจากบาป อย่างน้อยต้องสอนให้เขามีศีล รักษาศีล แล้วพัฒนาให้ดีขึ้น ๆ ส่วนผู้สูงอายุก็ใช่ว่าจะดัดไม่ได้ ด้วยเวลาที่งวดลง ๆ เราจึงต้องรีบทำความเพียร จะอยู่ที่วัดหรือที่ไหนก็ตาม ให้รักษาจิตใจให้อยู่ในมรรค 8 กายวาจาก็จะได้รับการควบคุมโดยอัตโนมัติ ปรับความเพียรให้เสมอ ๆ กัน ด้วยสติที่ตั้งเอาไว้เมื่อเจอผัสสะหรือสิ่งกระทบต่าง ๆ ในแต่ละสถานการณ์ เมื่อบ่มไป ๆ ด้วยทานศีลภาวนา ด้วยศีลสมาธิปัญญา “‘อินทรีย์ 5’ คือ ศรัทธา วิริยะ สติ สมาธิ ปัญญา” มันจะแก่กล้าขึ้น จิตใจเราจะสุกง่อมเป็นอริยผล บรรลุธรรมขึ้นมาได้
- 1 สมการชีวิตในชีวิตของคนเรามันมีการเปลี่ยนแปลงแน่นอน ไม่ว่าจะตั้งเป้าหมายหรือไม่ก็ตาม แต่คุณธรรมหรือธรรมะที่จะต้องมี ‘อิทธิบาทสี่’ เป็นสิ่งที่จะควบคุมชีวิตของเราให้อยู่ในร่องในรอยในทางที่จะทำให้เกิดความเจริญความเป็นมงคลความดีงามในชีวิตของเราได้ เราจึงต้องพิจารณาว่า อะไรจะเป็นสิ่งที่ให้การพูดความคิดการกระทำ ‘จิตของเรา’ ไปในทางที่ดีได้โดยมี ‘ธรรมเครื่องปรุงแต่ง’ ไม่ว่าสิ่งนั้นจะเป็นยอดขายร้อยล้านหรืองานบ้านทั่วไป โรคภัยไข้เจ็บหรืองานเพียรเผากิเลส ทุกอย่างเป็นงานเป็นอาชีวะ สิ่งที่เราทำไม่ง่าย แต่ไม่ยากเกินที่จะทำ ความสุขความสำเร็จจะได้มาง่าย ๆ ไม่มี เราจะรู้ถึงความสำเร็จได้อย่างไร ตรงที่เคยผิดพลาดมาก่อน “ความทุกข์นั่นแหละ จะให้เรารู้ถึงคุณค่าของความสุข” ความยากนั่นแหละ จะทำให้รู้ว่าเสร็จแล้วมันง่ายนะ
- 1 สมการชีวิตธรรมะสำหรับปีใหม่ ไม่เอามาก เอาข้อเดียว คือ “เราต้องพัฒนาตัวเอง” ต้องพัฒนาจิตใจ คิดพิจารณาว่า อะไรที่จะพัฒนาได้ในปี 2565 ที่จะมาถึง อะไรที่ได้พัฒนาจากปี 2563 มาแล้ว หรืออะไรที่ไม่ดี ๆ แล้วได้กำจัดออกไปในปี 2564 นี้บ้าง ใคร่ครวญแยกแยะ หลักการ คือ ดูที่ 4 ส่วน โดยแบ่งเป็นคู่ของกุศลกับอกุศล ถัดไปอีก ต้องวางแผนต่อไปในปีหน้าว่าจะพัฒนาข้อไหนทั้ง 2 คู่นี้ “กุศลอกุศลอย่างไรที่เราจะสร้างสรรค์ให้มี อันไหนที่เราจะกำจัดออกไป” เพราะตราบใดที่ยังต้องอยู่ในโลก ตราบนั้น กิเลสมันจ้องที่จะเล่นงานอยู่ตลอด ตราบใดที่เรายังมีผัสสะ ยังไงต้องมีปัญหาให้แก้ เราจึงต้องคอยระมัดระวังอยู่ตลอด เพราะปีไม่มีหมด หมายถึง โลกมันวนรอบดวงอาทิตย์ไปเรื่อย ๆ ปีนี้จบปีหน้าต่อไปก็มา จนกว่าชีวิตเราจะจบ เราก็ต้องระวังอยู่ตลอด มีสติอยู่ตลอด ต้องคอยพัฒนาตน อยู่ตลอด
- 1 สมการชีวิตหลายเรื่องในอดีตชาติที่ทำให้คนบางคนเคยเกิดเป็นหญิง แม้เแต่พระพุทธเจ้า พระอานนท์ ซึ่งประเด็นในที่นี้ คือ คนที่มีเพศสภาพที่เปลี่ยนแปลงไปจากกำเนิด เขาเหล่านั้นจะมีความละเอียดละออในเรื่องของกามมาก ตามวิสัยที่เคยมีมา ทำให้มีความทุกข์ที่พ่วงตามกันมาได้มาก แต่ความดีที่มี เป็นจุดที่สำคัญกว่า ฝึกปฏิบัติธรรมให้มาก ประพฤติอยู่ในศีลธรรม ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ ธรรมะย่อมรักษาคนที่ปฏิบัติธรรม จุดนี้จะทำให้เราพ้นจากกรรมนี้ มีจิตใจที่อยู่เหนือขึ้นไปกว่าชายและหญิง นำความสุขความเจริญมาให้เกิดขึ้นในชีวิตของเราได้แน่นอน
- 1 สมการชีวิตประเด็นสำคัญในสัปดาห์นี้ เป็นเรื่องเด็กไม่มีความเคารพเชื่อฟังผู้ใหญ่ .. พอทำผิดกายวาจาใจที่เป็นอกุศลจะหาความเจริญไม่ได้ เพราะนั่นเป็นบาป แต่! คนเราบางทีมีความเห็นต่างกันได้ “ความเห็นของเรามีอยู่ เราอาจจะถูกอาจจะผิดก็ได้ แต่เอาตามท่านก็แล้วกัน เราจะผิดจะถูกก็ไม่เป็นไร เพราะเราเคารพกัน” “ถูกหรือผิดไม่ใช่ประเด็น ถ้าถูกหรือผิด แล้วอกุศลธรรมมันจะเกิด อย่าถูกอย่าผิดเลย อย่าเห็นแก่ความถูก เพราะถ้าเกิดมิจฉาทางกาย วาจา ใจ เป็นอกุศลธรรมมันไม่ดี” แทนที่จะกำชับต้องทำอย่างนั้นอย่างนี้ มันจะได้ขัดแย้ง แต่สิ่งที่ต้องทำ คือให้เขาคิดในลักษณะที่ว่าอย่างไรจึงเหมาะสม คือ การชักชวน ค่อย ๆ พูดค่อย ๆ จา ต้องรับฟัง ต้องมีจิตใจที่กว้างขวาง ต้องมีจิตใจที่นุ่มที่อ่อน น้อมนำจิตใจของเขา
- 1 สมการชีวิตโลกทุกวันนี้อยู่ยาก? ดี-ไม่ดี สบาย-ลำบาก มั่งมี-ยากจน สุขหรือทุกข์ คำพวกนี้ไม่ใช่จะบอกได้ว่า ‘อยู่ง่ายหรืออยู่ยาก’ และไม่ใช่เรื่องที่จะไปตามความพอใจหรือไม่พอใจ แต่ถ้า ‘ทำเป็น อยู่เป็นแล้ว จะอยู่ได้ง่ายเลย’ เรื่องของสุขเวทนาหรือทุกข์เวทนา เราควบคุมไม่ได้หรอก เพราะมันมีเหตุเงื่อนไขปัจจัยของมัน แต่มองให้ถูก ด้วยจิตใจที่เป็นสมาธิ เลือกที่จะควบคุมคุณธรรมในจิตใจของเรา หมายถึงเลือกที่จะมีสติ รักษาคุณธรรม มีความหวัง ความตั้งใจ ศรัทธา ศีล สมาธิ ปัญญาแล้ว ยากขนาดไหน มันอยู่ง่ายทันที
- 1 สมการชีวิตอย่าประมาทในวัยและชีวิต ว่าชีวิตเราจะอยู่ยั่งยืนถาวร ยังไม่ตายยังมีสุขภาพดีอยู่ ยังเรื่องการงานด้วย และอย่าประมาทในการทำความดี เพราะประมาทเท่ากับตาบอด เท่ากับตายแล้ว ชีวิตที่อยู่ด้วยความประมาท หมายถึงมันไม่มีค่า ‘ทำความดี ทำไมบางทีไม่ได้ดี’ อย่าคิดแบบนั้น กรรมดียังไงให้ผลแน่นอน และให้เรามีความมุ่งมั่นมีความพยายาม ฝึกทักษะรักษาจิต แยกแยะความดีความชั่ว เอาธรรมะ ‘อินทรีย์ 5’ มาปรับใช้ในทุกเรื่อง เริ่มจากความกล้าความมั่นใจ คือ ศรัทธา ‘ถ้าเราทำความดี ความดีอยู่ตรงนั้นที่เราทำ’ จะสุขหรือจะทุกข์ มันก็ธรรมดา โลกนี้เป็นอย่างนี้ ความดีเราต้องตั้งมั่นไว้ อย่าลืมอย่าเผลอ ให้มีความมั่นใจในความดี ชีวิตเราจะไปได้
- คิดว่าชีวิตไม่มีความหมาย ก็เลยจะจบชีวิตลง แต่ถ้าเห็นชีวิต ‘ตามความเป็นจริง’ สุขก็มีทุกข์ก็มี มีเหตุมีปัจจัยมา เข้าใจชีวิตอย่างถูกต้อง มันก็ทุกข์ไม่มาก แต่ถ้าเข้าใจคลาดเคลื่อนจากที่มันเป็น มันก็จะทุกข์มาก “มองไปรอบ ๆ สิ ยังมีคนที่เขารักเราอยู่ไหม มีสิ แต่บางทีนึกไม่ถึง ตั้งสติไว้จะค่อย ๆ เห็น” เหตุการณ์ต่าง ๆ ในชีวิต เป็นเครื่องเตือนสติเราทั้งสิ้น ชีวิตมันเป็น 2 ด้านอย่างนี้แหละ มีสุขมีทุกข์ เมื่อเข้าใจแล้ว ตัดสินใจเลยในการที่จะดำรงชีวิตให้มีคุณค่า ให้มีความอดทน ให้มีเมตตา มีการให้อภัย เอื้อเฟื้อเกื้อกูล เห็นตามความเป็นจริง ให้มีปัญญาให้เกิดขึ้นได้ เราใส่อะไรลงไปในชีวิต ชีวิตเราก็มีค่ามีราคาตามสิ่งนั้นขึ้นมา
- 1 สมการชีวิตที่ต้องดูดวงเพราะไม่มั่นใจ ความมั่นใจในทางคำสอน คือ ศรัทธา ซึ่งวิธีที่พระพุทธเจ้าทำนาย คือ ประกอบด้วยเหตุและผล เป็น “ศรัทธาที่ไม่งมงาย แต่ประกอบด้วยปัญญา” ส่วนการอธิษฐาน คือ การตั้งใจมั่นอย่างแรงกล้าในการจะทำสิ่งใดสิ่งหนึ่ง ไม่ใช่การอ้อนวอนขอร้อง ดังนั้น ให้เราเป็นคนที่กำหนดดวงชะตาของตัวเราเอง มีความมั่นใจแล้วสร้างเหตุปัจจัย ตามกำลังความเพียร ผลเราได้แน่ด้วยการอธิษฐานที่ถูกต้อง
- 1 สมการชีวิต“เกมคือผัสสะ คือ วัตถุกามอันวิจิตรพิสดารที่สร้างสรรค์ปรุงแต่ง” จะแกะปมแก้ปัญหาเด็กติดเกม หรือแม้แต่ผู้ใหญ่ที่ติดการทำงาน ติดการพนัน ติดสื่อลามก ก็ลักษณะเดียวกันไม่ต่างกัน เพราะมีพฤติกรรมที่เปลี่ยนไป แล้วเริ่มมีการเบียดเบียนตัวเอง จนถึงมีปัญหากับคนรอบข้างเบียดเบียนผู้อื่น “การที่จะให้เขาตั้งอยู่ในความดีได้ ไม่ได้ด้วยอาชญา ไม่ได้ด้วยศาสตรา” จะไปตี ไปด่าว่าไม่ได้ จะเอาเครื่องมือของมารไปแก้ไขจิตใจที่เป็นมาร ยิ่งเป็นการเอาอาวุธให้เขาด้วยซ้ำ แต่ต้องหาช่องให้เจอ ต้องละเอียดรอบคอบนุ่มนวลแยบคาย จิตใจต้องงดงามมีความกรุณา ในเวลาที่เหมาะสม
- 1 สมการชีวิตเมื่อต้องเผชิญหน้ากับวิกฤตชีวิตอย่างใดอย่างหนึ่ง อย่าเพิ่งตกใจ ให้ตั้งสติเอาไว้ก่อนเลย ทำจิตให้มั่นคง อย่าไหลไปตามกระแสของข่าวสาร แต่ให้ติดตามหาข้อมูลด้วยปัญญาให้ดี เพื่อใช้ประกอบการตัดสินใจ และทำความเข้าใจในวิกฤตที่เกิดขึ้นนั้นว่าย่อมมีความเปลี่ยนแปลง ชีวิตของเราไม่เหมือนเดิมแน่ เราจึงต้องยอมรับ และมีการปรับเปลี่ยนจากจุดที่เป็นอยู่ (แม้ในจุดที่ตกต่ำ) ให้ไปในทางที่ดีขึ้นได้ พระพุทธเจ้าจึงตรัสถึง "วุฒิธรรม 4" คือ ธรรมะแห่งความเจริญงอกงาม เวลาที่เราเจอผัสสะเรื่องราวต่าง ๆ มากระทบ ในที่นี้คือ "ธรรมเครื่องปรุงแต่ง" เช่น เป้าหมายที่เราตั้งเอาไว้บ้าง หรือวิกฤตชีวิตต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นบ้าง ซึ่งถ้าเพื่อว่าเราเจริญอิทธิบาท 4 ได้ไม่ถูก เราจะมีความเครียดแน่นอน เราจะไม่เครียด จะสลายความเครียดไปได้ เราจึงต้องเจริญอิทธิบาท 4 ให้ถูก ด้วยธรรมเครื่องปรุงแต่ง และสมาธิที่อาศัยฉันทะฯ เป็นหลักเป็นประธาน เพราะเวลาผัสสะมันมากระทบถูกจิตเราแล้ว ถ้าจิตเราไม่มีสมาธิ จิตเราจะแตกได้ จิตเราจะเครียดได้ หลักธรรมที่จะนำไปสู่การพัฒนาตนเองให้ดียิ่งขึ้น โดยพิจารณาใน 2 เรื่อง คือ ความดี (กุศลธรรม) และความไม่ดี (อกุศลธรรม) ว่ามีเกิดขึ้นในตัวเราหรือไม่ มันเพิ่มขึ้นหรือมันลดลง[...]
- การเงินการงานการลงทุน ในขณะที่เรามีเงินอยู่ ควรทำยังไง ถ้าเราไม่มีเงินเลย หรือเป็นหนี้ด้วย เราควรจะรักษาจิตอย่างไร อธิษฐานอย่างไร รวมถึงตอนที่เรากลับมามีเงินทองใหม่ ตั้งตัวได้แล้ว เราจะรักษาจิตให้ไปตลอดรอดฝั่ง มีกำไรได้อย่างไร “ความที่เป็นคนค้าขาย เป็นพ่อค้า หรือเป็นนักธุรกิจ ด้วยจิตที่ไม่มีความโลภ ด้วยจิตที่ไม่มีความตระหนี่ จะสามารถเห็นช่องทางในการที่จะหาทรัพย์ให้มากขึ้นได้ คือ เมื่อตั้งจิตให้ดีแล้ว เราจะไม่ถูกหลอกง่าย เราแยกแยะกัลยาณมิตรออกจากเพื่อนชั่วได้ เราจะเห็นช่องทาง จะมีช่องทางในการลงทุนบ้างต่าง ๆ นานา เราก็จะสามารถเรียนรู้จากความผิดพลาดของเราได้”
- 1 สมการชีวิตชีวิตจะอยู่เย็นเป็นสุข ในเรื่องการงาน ในที่นี้เน้นมาที่หัวหน้า หรือคนที่มีลูกน้องมีบริวาร ธรรมที่จะเชื่อมองค์กร ยึดเหนี่ยวจิตใจให้สามัคคีกัน คือ สังคหวัตถุ 4 ซึ่งเจ้านายจะรักษาความเป็นผู้นำได้ต้องมี ‘พรหมวิหาร 4’ และองค์กรจะสำเร็จตามเป้าหมายได้ ต้องมี ‘อิทธิบาท 4’ “งานทุกอย่าง เราสามารถที่จะสร้างกุศลธรรมในงานนั้นให้เกิดขึ้นได้” เพราะอย่างนั้นเราต้องปรับจิตให้เกิดฉันทะในการทำงาน แม้จะไม่ชอบงาน แต่ให้มีความพอใจไว้ในสิ่งที่เราทำ นั่นคือ สันตุฏฐี มีความเห็นอกเห็นใจในหมู่คณะ ทำหน้าที่ที่เป็นเจ้านายลูกน้องให้ดี องค์กรนั้นไปได้แน่นอน ส่วนการครองเรือน อย่าไปพยายามเปลี่ยนเขาให้เป็นอย่างที่เราอยาก อันนั้นจะทำให้เราทุกข์ แต่ให้อยู่บนพื้นฐานของเมตตา มี ‘ฆราวาสธรรม 4’ ทำหน้าที่ของสามีภรรยาให้ดี จิตใจเป็นกุศล ชีวิตมีกำไรแน่นอน
- 1 สมการชีวิตถ้านึกถึงความดีไม่ได้ เห็นโทษของความไม่ดีไม่ได้ มีปัญญาไม่ได้ ความโกรธมันต่อเนื่องไป ผูกกันไปเรื่อย ต่อให้จบที่กระบวนการยุติธรรม แต่ในใจไม่จบ เจ็บแล้วถ้าไม่จบ เจ็บฟรีนะ แต่ถ้าเจ็บแล้วจบ จบที่ใจของเรา นึกถึงความดีของเราบ้างของคนอื่นบ้าง ระลึกถึงความดี เริ่มจากพุทโธ ธัมโม สังโฆ เป็นสัมมาสติได้ ความไม่ดีใดผ่านมา จะเห็นโทษของความไม่ดีได้นั้น นั่นคือ ปัญญา มีสติมีปัญญาจะทำความที่ไม่ผูกเวรกัน ให้อภัยกัน ทำให้มีคุณธรรม กุศลธรรมต่าง ๆ เกิดขึ้นได้ #64-1u41
- 1 สมการชีวิต‘บาป เจตนา ศีล’ ศีล คือ เจตนาในการงดเว้น ด้วยความที่ไม่เจตนา ไม่ผิดศีลอยู่แล้ว แต่บางทีความบาปมันมีได้ ขณะที่บางอย่างแม้ไม่ผิดศีล แต่ก็มีความบาปเกิดขึ้นได้ “บาป คือ ชื่อของความเศร้าหมอง ความไม่เป็นสุข” ในที่นี้ได้พูดคุยหลายประเด็น ทั้งการงาน 5 อย่าง ที่แม้จะไม่ผิดศีล แต่เป็น ‘อกรณียกิจ’ อยู่ในวงจรการเบียดเบียน หรือแม้แต่ความคิดที่เป็นไปในทางลบที่อยู่ในจิตใจ ‘จิตตก เครียด’ เราก็ต้องรีบละออก โดยใช้นิมิตดี ๆ ที่จะรักษาอารมณ์ของเรา ฝึกสติฝึกจิต แล้วรักษาความดีในข้ออื่นให้ดี หนุนนำโอกาสดีให้เกิดขึ้นได้ #64-1u40
- 1 สมการชีวิตทุกอย่างเป็นงาน เป็นสิ่งที่ต้องใส่ความเพียร ใส่พลังลงไป ‘งาน’ ในที่นี้หมายถึง ความเป็นอยู่ คนไม่มีความเพียร ชีวิตตั้งอยู่ไม่ได้ เหมือนไฟต้องมีเชื้อ มีเปลว มีความร้อน ถ้าไม่มีงาน ชีวิตเหมือนไม่มีค่า ถ้ามีคำว่าเบื่อ คำว่าเซ็ง นั่นคือ คุณหมดไฟแล้ว ทำอย่างไร ฟังธรรมสิ จะมีความเห็นแจ้ง มีปัญญาเพิ่มขึ้น แล้วตั้งศรัทธาความมั่นใจเอาไว้ ทำจริงแน่วแน่จริงไปเลย บางทีแบ่งเวลาไม่ถูก แสดงว่าสมาธิมันหย่อน ทำให้ไม่มีปัญญา จึงไม่เห็นว่าจะพัฒนาตรงไหนได้บ้าง เพ่งจดจ่อให้ดี สมาธิเพิ่มขึ้น ควบคุมด้วยสติ ระลึกให้ถูกในความดี ปรับให้มีพลังให้ดีขึ้น ๆ ได้ #64-1u39
- เมื่อเจอเรื่องราวอย่างใดอย่างหนึ่งแล้ว เราจะโกรธจะไม่พอใจ กลายเป็นยักษ์ทันที จิตใจหมุนไปวันหนึ่ง ๆ เดี๋ยวเป็นเทวดา เป็นยักษ์ เป็นสัตว์เดรัจฉาน เป็นสัตว์นรก อย่างน่วม! กลับบ้านเจอครอบครัวกลับเป็นคน วนไปวนมาอย่างนี้ แล้วจะครองเรือนรอดได้อย่างไร มันจึงยาก แต่ไม่ใช่ว่าแก้ไม่ได้ ทางออกมีอยู่ นั่นคือ “ฆราวาสธรรม" ธรรมะสี่อย่างของผู้ครองเรือนที่พระพุทธเจ้าแสดงไว้กับอาฬวกยักษ์ สามารถเปลี่ยนจากยักษ์กินคน เป็นยักษ์ช่วยคนที่มีศีล และเมื่อเราทำจริง ทำได้ปฏิบัติได้แล้ว จะได้ผลที่ยิ่งไปกว่า มีกำไรสองต่อ เป็นคนจริงใจคนดีที่มีสรณะมีตนมีธรรมะเป็นที่พึ่ง และยังสามารถเปลี่ยนจากศัตรูให้เป็นมิตรได้อีกด้วย #64-1u38
- “ตัวเรา” รักษาตัวเราให้พ้นจากภัยในวัฏฏะ เป็นผู้ที่ผาสุกได้ ฟังข่าวรับรู้เรื่องราวต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นสังคมแล้ว ให้นำมาเทียบเคียงแง่มุมกับหลักธรรมในทางคำสอน เห็นเป็นเทวทูตเตือนให้เราทำดี ที่สำคัญ “ตัวเราจะสุขหรือจะทุกข์ ไม่ควรจะขึ้นอยู่กับผู้อื่นว่าเขาจะต้องทำสิ่งนี้ พูดสิ่งนี้ หรือเป็นแบบนี้ เราถึงจะสุขหรือทำให้เราเป็นทุกข์ แต่เราควรจะมีจิตใจที่มั่นคง” และแยกแยะว่าสิ่งไหนดีกว่ามีความสุขมากกว่า ก็เดินไปตามทางที่พระพุทธเจ้าทรงสอนไว้ ก็จะไม่มีปัญหากับใครทั้งสิ้น #64-1u37
- 1 สมการชีวิต“คนไหนก็ตามที่สามารถพูดแล้ว ทำแล้ว ไม่เบียดเบียนตัวเอง ไม่เบียดเบียนผู้อื่น ไม่เบียดเบียนทั้งสองฝ่าย คนนี้มีปัญญามาก จุดที่จะพูดจะทำอะไรสักอย่างหนึ่งออกไป ปัญญาเราจะทำให้เกิดขึ้นได้ไหม” ในที่นี้ได้ยกตัวอย่างในหลายกรณีที่เกี่ยวกับทางกายวาจา และที่ยิ่งขึ้นไป คือ ทางใจ ยิ่งกระแสของตัณหาของกิเลสมันพัดแรง เพราะฉะนั้น จิตใจของเราต้องมีสมาธิต้องมีสติมาก ๆ ต้องอยู่เหนือมาก ๆ จะเป็นคนเหนือคน จิตใจคุณต้องควบคุมได้บังคับได้ “อะไรที่ได้มายาก ๆ มันมีคุณค่าในตัวเอง การทำความดี มันไม่ง่ายอยู่แล้ว” ขึ้นชื่อว่าความสุขแล้ว จะได้มาง่าย ๆ มันไม่มี ความสุขเป็นสิ่งที่ได้มาโดยยาก #64-1u36
- ..ไม่ใช่ว่าโลกก็ทางหนึ่ง ไม่ใช่ว่าธรรมะก็อีกทางหนึ่ง ไม่ใช่ว่าต้องแยกกัน ..ไม่ใช่คิดว่า ชั้นก็ทำดี แต่ทำดีแล้วทำไมไม่ได้ผล ..เข้าใจที่ถูกต้อง ที่ต้องสอดแทรกเข้าไป คือ ธรรมะ “สุขทุกข์มันธรรมดา เกิดก็มีดับก็มี” “ทุกข์ไม่ใช่ปัญหา สุขไม่ใช่ความสมหวัง” ด้วยแค่ข้อนี้ คุณจะอยู่ครองเรือน อยู่ในทางโลกนี้ ไม่มีปัญหาเลย ให้ทุกอย่างในชีวิตประจำวัน มีธรรมะสอดแทรกเข้าไปในจิตใจ สามารถรักษากายรักษาวาจารักษาจิตอยู่ในทางโลกนี้ได้ในทุกสถานการณ์ ไม่ว่าจะสุขบ้างทุกข์บ้าง ได้กับทุกคน
- 1 สมการชีวิตเวลาที่เจอภาวะอันใดอันหนึ่งที่ไม่น่าพอใจ ไม่ต่างอะไรจากภาวะโควิด ไม่ต่างอะไรกับความเกิด ความเจ็บ ความแก่ และความตาย เจอสิ่งที่ไม่น่าพอใจทั้งหมด ในที่นี้ได้หยิบยกไว้ทั้งเรื่องชีวิตคู่ที่ไปกันไม่ได้ ลูกที่ไม่เลี้ยงมารดาบิดา การแตกความสามัคคี จนถึงภัยธรรมชาติฯ เพราะขันธ์ห้าหรือโลกของเรานี้ มันคือวิกฤตอยู่แล้ว มีอะไรบ้างที่เที่ยง ความเข้าใจเรื่องความไม่เที่ยงตรงนี้ เราจะรักษาจิตให้เราคลายความยึดถือ ภาวะเหล่านี้จะไม่มาเป็นเรื่องทุกข์ใจ ไม่มาเป็นวิกฤตในใจ เราจะมีความผาสุกอยู่ได้ แม้ในเวลาที่จะตาย เวลาที่เจ็บ เวลาเจอสิ่งที่ไม่น่าพอใจ ก็ยังมีความผาสุกอยู่ในใจได้ #64-1u34
- 1 สมการชีวิตโควิด! แค่เสพข่าวก็กลัว ยังไม่ติดก็กลัวก็มี ติดแล้วกลัวตายก็มี ไม่กลัวตายก็มี ติดแล้วใช่จะหายอย่างเดียวหรือตายอย่างเดียว ‘ไม่แน่’ แต่ถ้าเราควบคุม รักษาจิตไม่ได้ มันต้องถูกชักนำไปด้วยกระแสของโลกแน่นอน เพราะจิตใจมนุษย์ไม่โลภก็กลัว สองเสาที่รัดรึงโลกนี้อยู่ แต่จิตใจที่ไม่สะดุ้งสะเทือน ความกลัวกับความโลภทำอะไรไม่ได้ จะรักษาจิตจะประคับประคองจิตได้ ‘คุณต้องมีศรัทธา คุณต้องมีความเพียร คุณสร้างสติ ผลิตปัญญาได้’ ถ้าทำได้ เราจะเลือกได้เลยว่าถ้าจากโลกนี้ไป จะไปอยู่โลกไหน เทวดา พรหม แต่ถ้ายังอยู่บนโลกใบนี้ ก็ดีแน่นอน เพราะเรารักษาจิตเราไว้แล้ว ด้วยสติด้วยปัญญา #64-1u33
- 1 สมการชีวิตโลกกับธรรมต้องไปด้วยกัน ถ้าแค่อย่างใดอย่างหนึ่ง บางทีก็หลงทาง ไม่ว่าจะในครอบครัวพ่อแม่ สามีภรรยา การทำงานการเรียน ที่ถ้ารู้จักแยกแยะ กุศลทำอกุศลไม่ทำ และสุขทุกข์ก็ส่วนหนึ่ง เข้าใจมัน ก็จะอยู่ในโลกได้อย่างสบายใจ กาย วาจา ใจ’ ต้องรักษา ประคับประคองให้มีความบริสุทธิ์ ฝึกจิตฝึกใจให้อดทนไม่หงุดหงิด ‘มันจะไม่ดีกว่าหรือ ถ้าเราสามารถทำสิ่งที่ชอบก็ได้ สิ่งที่ไม่ชอบก็ได้’ ถ้าทำด้วยเจตนาที่ดีเต็มความสามารถ นี้คือ ความดีของเราแล้ว ความดีอยู่ตรงนี้แค่นี้ คนอื่นจะเห็นหรือไม่เห็น ยังไงความดีก็อยู่ที่ตัวเรา ‘คนดีอยู่ที่ไหนก็ดี’ ไม่ต้องไปคาดหวัง และขึ้นลงตามอารมณ์ของคนอื่น #64-1u32
- 1 สมการชีวิตไม่ได้จะเอาว่าคนนั้นถูกคนนี้ผิด แต่สิ่งที่จะเอา คือ ความที่จิตใจของทั้งสองฝ่าย ตั้งอยู่ในกุศลธรรมได้ มีความนุ่มนวลอ่อนเหมาะ ไม่เศร้าหมอง นั่นคือ สัมมา นั่นคือ ถูก “จิตใจของคนเราไม่เหมือนกัน จากจิตใจของเราที่ไม่ดี ให้ดีขึ้นแล้ว จากจิตใจของเขาที่ไม่ดี จะเปลี่ยนแปลงให้ดีได้ อาจจะใช้เวลา” กระบวนการสื่อสารความจริง (Total Truth Process) ที่จะปรับเชื่อมจิตใจของทั้งสองฝ่าย จิตใจของเรา เราปรับเอง แต่จิตใจของเขา เราจะช่วยปรับเปลี่ยนพฤติกรรม เริ่มอย่างไร #64-1u31
- 1 สมการชีวิตธัมม์หลายแง่มุมที่เกี่ยวกับโควิด การได้ยศตำแหน่ง การลงทุนจ้างสร้าง Fake News เพื่อทำลายคู่แข่ง..ธัมมะข้อใดที่นำมาปรับใช้ “ต้องตามหาซึ่งความจริง แต่ถ้าปักใจว่าสิ่งนี้จริงสิ่งอื่นเปล่า เราจะตกเป็นเหยื่ออารมณ์ของตัวเอง ให้เขาใช้ประโยชน์จากความพอใจไม่พอใจ” นี่ด้านผู้เสพข่าว แต่ถ้าถูกป้ายสี “ต้องเอาชนะความไม่จริงด้วยความจริง ด้วยความเยือกเย็น ด้วยจิตใจที่อ่อนนุ่ม” ส่วนถ้าป่วยหรือทำพิธีฌาปนกิจในช่วงโควิดนั้น ที่สำคัญ คือ ‘อย่าสงสัย อย่าต้องกลัวเจ็บ กลัวตาย กลัวไปไม่ดี’ แต่กลัวให้ถูกหลัก ‘กลัว ละอายต่อบาป คือ หิริโอตตัปปะ’ ให้ตั้งสติและทำความดีตอนนี้ “อย่าต้องมาร้อนใจในภายหลัง” มั่นใจในความดี คือ ศรัทธา ทำดีแล้วความดีอยู่กับเรา #64-1u30
- 1 สมการชีวิตหนึ่งในฐานะห้าที่ใคร ๆ ไม่พึงได้ด้วยการอ้อนวอนขอร้อง เพราะเป็นธรรมดา “ความเจ็บป่วย” อาศัยโอกาสนี้ ทำจิตใจเราให้สูงขึ้นดีขึ้น ด้วย 3 ขั้นตอน ตั้งแต่ไม่ป่วยกาย อย่าให้ป่วยใจ แล้วถ้าป่วยน้อย ๆ ตั้งสติฝึกจิตให้มีกำลัง แยกแยะสุข-ทุกข์ กุศล-อกุศล กายอันหนึ่งใจอันหนึ่ง เหมือนชักดาบออกจากฝัก จนถึงป่วยหนัก..ธัมม์ 5 ประการที่เมื่อฝึกจนชำนาญ เหมือนนักรบซ้อมรบ จะผาสุกได้เมื่อความตายจ่ออยู่ตรงหน้า เมื่อยึดถือกายนี้ไม่ได้ ก็ปล่อยวาง เรียกว่าเห็นทุกข์ตามความเป็นจริง เห็นโดยความเป็นของไม่เที่ยง พิจารณาแบบนี้จะเป็นที่สบาย “ตายแต่เข้าถึงความไม่ตายได้” #64-1u29
- 1 สมการชีวิตอย่างไรที่จะอยู่เป็นครอบครัวอย่างมีความสุข ทั้งสามีภรรยาที่ครองเรือนมาหลายสิบปี จะนิ่งหรือจะพูด ที่สำคัญต้องมีสติ มีเมตตา มีความดีได้ทำร่วมกันมา และจะไม่มีปัญหาระหว่างวัย พ่อแม่กับลูก พูดกันไม่รู้เรื่อง ซึ่งเมื่อฟังตอนนี้แล้ว ยังสามารถประยุกต์ใช้ได้ในบริบทที่แตกต่าง Generation gap ไม่ได้มีจริง แต่เป็นกิเลสของคนรุ่นหนึ่งที่มีอาสวะสั่งสมมาเป็นแบบหนึ่ง อีกรุ่นหนึ่งก็มีอาสวะสั่งสมมาอีกแบบหนึ่ง อาสวะเหมือนกัน แต่แตกต่างกัน สร้างกิเลส สร้างความทุกข์ให้เราเหมือนกัน แต่เราควรทำความเข้าใจกับสิ่งที่อยู่ในปัจจุบัน จุดไหนที่ลงกันได้ เข้ากันได้ เอาปัจจุบันนี้ มันถึงจะไปกันได้ #64-1u28
- 1 สมการชีวิต“ถ้าจะให้คนทั้งโลกดีหรือเป็นไปตามที่เราต้องการ แล้วเราถึงจะค่อยมีความสุข นี่โง่สิ้นดี!!” หรือนึกจะให้คนอื่นเขาเสื่อม เราจะเจริญ คือ คิดจะให้เขาได้ไม่ดี เราจะได้ดี แต่เราต้องคิดเรื่องไม่ดีก่อน พอคิดเรื่องไม่ดี เรานั่นแหละเสื่อมเลย ความไม่ดีเกิดขึ้นที่เราทันที แล้วมันจะไปดีหรือ รักษาความดีให้จิตใจตั้งอยู่ในกุศลธรรม ไม่ไหลไปตามกระแสของราคะ โทสะ โมหะ หรือตามกระแสข้อมูลข่าวสาร แต่มั่นคงเมื่อมีทุกขเวทนาอย่างใดอย่างหนึ่ง ไม่ว่าจะถูกด่าหักหลังโกรธไม่พอใจ เราต้องมีกำลังใจสูง จึงจะสู้กิเลสในภายใน เริ่มจากมีสติรู้ตัว และห้าวิธีรับมือเมื่อเจอสิ่งที่ไม่น่าพอใจ #64-1u27
- 1 สมการชีวิตเริ่มด้วยระเบียบวินัย จัดตารางชีวิตประจำวัน จะเล่นกีฬา เรียนหนังสือ หรือทำงานให้เก่งมีประสิทธิภาพ ที่ถ้าจดจ่อเรื่องใดเรื่องหนึ่งด้วย ‘สมาธิ’ จิตเป็นอารมณ์อันเดียว มันจะพ้นจาก disruption ของโลกทุกวันนี้ที่พยายามดึงความสนใจเราไปด้วยเทคนิคต่าง ๆ สำรวมอินทรีย์ เห็นสิ่งใดได้ยินสิ่งใด พยายามระลึกถึงลมหายใจ หรือพุทโธ ฝึกให้จิตของเราให้มีกำลัง จำกัดเวลาทำสิ่งนั้นสิ่งนี้ให้ชัดเจน มีตารางมีระเบียบวินัย นั่นคือ สติ มาตรงนั้นเลยโดยอัตโนมัติ สะสมสอดแทรกนิสัยไปทีละอย่าง ๆ ให้เรามีสติสัมปชัญญะ สะสม ๆ ให้เรามีสมาธิ ไม่ยากทำได้ #64-1u26
- 1 สมการชีวิตถ้ามีไม้กายสิทธิ์ หรือ magic wand สามารถเสกให้กลับไปแก้ไขอดีต หรือไปอยู่ในอดีต ถ้ามีโอกาสคุณจะกลับไปทำอะไร จะกลับไปไหม และถ้ารู้อนาคตกำหนดอนาคตได้ จะกำหนดอย่างไร ปลดล็อกจากอดีตจากอนาคต เพราะอดีตหรืออนาคตก็ตาม ความคิดนี้มันอยู่ในปัจจุบันตอนนี้เดี๋ยวนี้ คิดอยู่ในปัจจุบัน ๆ จึงเป็นทุกขณะ ๆ อยู่ในปัจจุบัน เพราะยึดถือจึงคิดอยู่เรื่อย ๆ เป็นออโตเมติก แต่อุบายที่ถ้าเห็นปัจจุบันโดยความเป็นของง่อนแง่นของคลอนแคลนเป็นของไม่เที่ยง มีสติสัมปชัญญะมีปัญญา ‘เรียนรู้จากอดีต ทำปัจจุบันให้ดี อนาคตไม่คาดหวัง’ สั่งสมเรื่องดี ๆ ทางกายวาจาใจ เราจะเหนือสุขเหนือทุกข์เหนือโลกได้ #64-1u25
- 1 สมการชีวิตมองมุมขององค์กรว่าจะดีขึ้นได้อย่างไร คือ ไม่ได้จะมาโฟกัสว่าคนนั้นผิดชั้นถูก ไม่ใช่ แต่ทั้งองค์กรจะแก้ปัญหานี้อย่างไร เพราะเราอยู่ด้วยกัน ให้เรามีความสุขในการทำงาน ได้เจอเพื่อนร่วมงาน เขาอาจจะไม่ดีกับเรา แต่เราก็มีจิตใจเมตตา ยิ้มแย้มแจ่มใส เอื้ออารีต่อกันและกัน ทำจิตแบบนี้ การมาทำงานของเราวันนั้น แฮปปี้ ๆ ทุกวัน ๆ อย่าไปคาดหวัง แต่ทำการงานให้เต็มที่ ทำวันนั้นให้ดีที่สุด ขยันขันแข็ง มีความละเอียดรอบคอบ ทำหน้าที่ของตนให้ดี ไม่ได้ไปเพ่งที่คนอื่น กลับมาที่ตรงการฝึกจิตของเรา ให้มันนิ่ง คิดเรื่องที่ควรคิด “ไม่ต้องรอคนชมคนด่า ก็รักษาจิตได้ อุเบกขาได้” #64-1u24
- 1 สมการชีวิตข้อจำกัดของคฤหัสถ์ที่จะหลีกออกไปภาวนา บางทีมันยาก กิจการงานมาก พระพุทธเจ้าท่านจึงให้ธรรมะไว้หลายข้อ เพื่อที่จะให้ผู้ครองเรือนอยู่ได้อย่างราบรื่นผาสุก แต่ถ้าเราอยากมาก ความอยากนั้นจะทำให้เราทุกข์ทันที “คนดีก็ทุกข์ เพราะความดี อยากได้ดีมันจึงทุกข์ เพราะความดีที่ตัวเองอยาก” กิเลสชัด ๆ มันไม่ได้เอาเราแค่สองทาง กามตัณหาว่าหลุดแล้ว ไปเจอภวตัณหา อยากไปปฏิบัติธรรม พอบอกว่าไม่จำเป็น เจอความไม่รู้ กลายเป็นวิภวตัณหา...ไม่ต้องรอปลายปีจะไปวัด พรุ่งนี้จะใส่บาตร เย็นนี้จะสวดมนต์ แล้วใจจะเป็นสุข แต่ทำที่นี้ทำเดี๋ยวนี้ที่กายวาจาใจ ใส่มรรคแปดลงไป ความอยากจะลดลงอัตโนมัติ ความพอใจจะเต็มเปี่ยมขึ้นมาทันที #64-1u23
- 1 สมการชีวิต“ถ้าจะอยู่กันเฉพาะเจาะจงในเรื่องของกามอย่างเดียว มันไม่ได้ มันจะอยู่กันไม่ยืด..แต่เรื่องที่ว่ามันจะใหญ่ มันก็เล็กไป ด้วยพรหมวิหารสี่นี่เอง” เปรียบฝนเหมือนกามที่จะรั่วรดเราได้ เพราะอย่างนั้นเราต้องมีร่ม คือ ศีล ถึงจะอยู่ในโลกที่มีกามได้อย่างพอเอาตัวรอด ไม่เปียกมาก แต่ต่อให้มีร่ม น้ำฝนก็ยังกระเด็นมาได้ถ้าฝนมันแรง เพราะเราอยู่ในโลกที่เต็มไปด้วยกาม รักษาตัวเองได้อยู่ก็จริง แต่บางทีก็ทุกข์ใจ ถูกเขากระทำนั่นนี่โน่น ฉะนั้นวิธีที่ดีที่สุด คือ คุณต้องเหนือจากเรื่องของกาม คุณต้องมีพรหมวิหารสี่ ต้องออกจากเกมส์นี้ให้ได้ เป็นผู้ที่ผาสุกเมื่อความแก่ และความตายมาถึง #64-1u22
- ถ้ารู้เข้าใจทั้งหมด 14 อย่างนี้ เงินจะเป็นทาสเรา เราจะไม่เป็นทาสของเงิน เราจะรู้จักการใช้เงินให้เป็น ไม่ใช่ว่าถูกเงินทองนั้นใช้ อะไรที่ไม่ดีเกี่ยวกับเงินทอง เราจะกำจัดมันออกไปได้ ในความที่เป็นผู้บริโภคกาม คนที่ครองเรือนอยู่ ยินดีเงินทองอยู่ ต้องเกี่ยวเนื่องด้วยโภคทรัพย์ต้องทราบไว้ ไม่ว่าเราจะมีเงินน้อยหรือมีเงินมาก สามารถบริหารจัดการทรัพย์ตามแบบที่พระพุทธเจ้ามอบไว้ให้ได้ #64-1u21
- 1 สมการชีวิตผู้นำที่ไม่ใช่เป็นแค่เจ้านาย ลูกน้องที่ดีที่ไม่ใช่ประจบ แต่รู้จักปรับปรุงประสิทธิภาพการงานของตนเองด้วยอิทธิบาท 4 ที่ถ้าตั้งไว้ที่ความอยาก ต้องการเลื่อนขั้นต้องการเงินทอง แต่ถ้าไม่ได้ก็จะรู้สึก “หมดไฟ” เพราะตกกับดักของความอยาก ติดทั้งสองทาง มีเป้าหมายไม่ซังกะตาย แก้ปัญหา Midlife crisis ที่ยั่งยืนด้วยการพัฒนาความสามารถของตน ทั้งเรื่องงานเรื่องเงิน อย่างไรที่จะได้มาและออกไปโดยธรรม เป็นบุญทั้งสองทาง และยิ่งถ้ามีปัญหาระหว่างเจ้านายกับลูกน้อง ยิ่งต้องพูดคุย อยู่ด้วยกันสงเคราะห์กัน ลองฟังดูจะเข้าใจการแสวงหาความสำเร็จที่ถูกต้อง #64-1u20
- นิสัยที่ไม่ควรมี นิสัยที่มีแล้วจะมีปัญหา นิสัยที่จะทำให้ชีวิตตกต่ำลง นิสัยที่จะทำให้ชีวิตจะไม่เจริญ ที่มีปัญหาที่แย่ ๆ อยู่ ก็จะแย่ต่อไป ที่ดีอยู่แล้ว ก็จะดีต่อไปไม่ได้ อาจจะดึงลง สกัดกั้นความเป็นอัจฉริยะ สกัดกั้นความเป็นเศรษฐีให้เจริญต่อไปไม่ได้ ในทางกลับกัน 22 นิสัยเกี่ยวกับความสัมพันธ์กับบุคคลอื่น ความขยัน การงานการเงิน พัฒนาตนพัฒนาความคิด ดูแลสุขภาพและรู้ประมาณในการกิน ที่จะทำให้ชีวิตของเราพัฒนาดีขึ้น #64-1u19
- 1 สมการชีวิตเพราะประมาทมัวเมา การ์ดตกเพลิดเพลิน จึงมีโควิดระบาดรอบ 3 แล้วถ้าตกใจเกินไป ไม่ว่าอยู่ในสถานการณ์ใด การตัดสินใจต่าง ๆ จะผิดเพี้ยน ไม่รู้สิ่งที่ควรทำ ไม่ได้ละสิ่งที่ควรละ จะรักษาตรงกลาง ๆ ได้ จิตต้องนิ่ง คุณต้องมีสติ ส่วนเรื่องฆ่าตัวตายถวายเป็นพุทธบูชา หรือตายในลักษณะใดก็ตาม ถ้าตายเพื่อความดี ความตายนั้นไม่น่าติเตียน ไม่เสียเปล่า ขึ้นอยู่กับจิตสุดท้ายก่อนตาย และต้องมีปัญญากับศรัทธาที่เสมอ ๆ กันด้วย ฉะนั้นเราต้องทำความดี รักษาความดีให้ได้ตลอด อย่าไปคิดว่าตั้งสติก่อนตาย ก็ไปสวรรค์ได้ มันเสี่ยงมาก ที่ตกนรกมีมากกว่าอีก #64-1u18
- 1 สมการชีวิตความรัก คือ อะไร เหตุอะไรที่ทำให้เราสุขหรือทุกข์ มันคือ ความยึดถือ! ตามแต่กิเลสที่พาไป ที่เขาว่า “มีรักเมื่อไหร่ ก็ทุกข์เมื่อนั้น รักตรงไหน เวลาจะทุกข์ ก็ตรงที่รักนั่นแหละ” อย่างนั้นต้องไม่รักและมีแต่ทุกข์หรือ? “เข้าใจความรัก” ทั้งที่เป็นเรื่องกาม เป็นกามสุขที่เกิดทางอายตนะ และความรักที่พัฒนาให้สูงขึ้นประเสริฐกว่าได้ เข้าใจทั้งความรักตัวเองรักผู้อื่น ด้วยเงื่อนไขอะไรที่จะไม่ทำให้ราคะ คือ ความกำหนัดยินดีพอใจเพิ่มขึ้น ไม่ทำให้โมหะ คือ ความมืดเพิ่มขึ้น เข้าใจแล้ว จะอยู่คนเดียวหรืออยู่เป็นคู่ ก็มีความสุข ณ ปัจจุบันได้ #64-1u17
- การที่คุณต้องทำงาน หรือพบปะกับคนอื่น แสดงว่าเรามี “เพื่อน” เป็นบุคคลที่เราจะต้องเกี่ยวข้องด้วย เราคงต้องเจอคนหลายแบบในชีวิต จะพิจารณาอย่างไรที่จะอยู่กับเขาได้อย่างถูกต้องตามธรรม ในทางกลับกัน ถ้าเขาเป็นคนไม่ดีมีปัญหา เราจะเป็นมิตรแนะประโยชน์ มิตรผู้มีอุปการะให้เขาได้ไหม มีเมตตา กรุณา มุทิตา หรืออุเบกขาแล้วหลีกห่าง ๆ แต่ที่สำคัญ คือ จิตใจเราอย่าให้มีอคติ #64-1u16
- ในวัน ๆ หนึ่ง เดือน ๆ หนึ่ง ปี ๆ หนึ่ง ทศวรรษหนึ่ง คุณวนอยู่กับอะไร ถ้าหมุนไป ๆ กับ 4 เรื่องนี้ ถึงพร้อมแล้ว ซึ่งเหตุที่ทำให้ถึงความเป็นใหญ่ ถึงความเจริญ ถึงโภคทรัพย์ จะรักษาธัมมะที่ประกอบไปด้วยสัมมาอาชีวะ รักษาจิตของเราให้ดีได้อย่างไร อยู่ในถิ่นที่ดี คบคนดี ตั้งตนไว้ชอบ สร้างบุญทำความดีไว้ และผูกมิตรกับบุคคลอื่น มีการให้สิ่งของ พูดดี ๆ กัน ประพฤติประโยชน์กัน วางตนเสมอกัน ดีต่อกันทั้งกายวาจาใจ แบ่งจ่ายงบประมาณในสี่ส่วน ส่วนที่สามเอาไว้แบ่งปัน ไม่พูดทิ่มแทง วาจาสร้างมิตรก็ได้สร้างศัตรูก็ได้ อย่าคิดไม่ดีคิดสมน้ำหน้า แต่คิดด้วยอุเบกขาบ้างกรุณาบ้าง เมตตาอย่างไม่มีประมาณ และมีปัญญา สามารถแก้ไขสถานการณ์ วนลูบไป ๆ มีความรอบคอบ ไม่เกียจคร้าน...ชีวิตดีแน่นอน ต่อกาลไม่นาน #64-1u15
- ในทุกศาสตร์ทุกแง่ทุกมุมของชีวิต ควรจะต้องมีธรรมะเข้ามาเกี่ยวข้องอยู่แล้ว ถ้าตรงไหนไม่มีธรรมะ อยู่ไม่เป็นสุขแน่ ธรรมะที่มีทุกที่ทุกกลุ่มทุกฝ่าย ทุกคนจะมองกันด้วยสายตาแห่งความรักใคร่กันเป็นอยู่ ไม่ว่าจะเครียดหรือซังกะตาย อย่างไรที่จะรักษาสมดุลให้ดี ก้าวหน้าในการงาน จริยธรรมในการเมืองการปกครอง แม้แต่สงฆ์เกี่ยวข้องกับการเมืองหรือไม่ ยิ่งช่วงใกล้วันสงกรานต์ อย่างไรที่จะไม่เป็นคนหัวร้อน แต่ปลอดภัยด้วยศีลด้วยสติ อีกทั้งทำหน้าที่ของตนให้ครบถ้วน ที่ไม่ใช่แค่ว่าจะทำในวันปีใหม่ไทย วันครอบครัว วันผู้สูงอายุ แต่ให้ตระหนักว่าข้อปฏิบัติอะไรในทางคำสอนของพระพุทธเจ้าที่เราควรทำทุกวัน #64-1u14
- 1 สมการชีวิตเรียนรู้เทคนิคการ Visualization การนึกคิดเป็นภาพที่ถูก กับกิจการงานที่จะทำในแต่ละวัน เริ่มต้นวันใหม่ใน 4 ขั้นตอน ที่ปิดจ๊อบด้วยการแผ่เมตตาแบบไม่มีประมาณ จะทำให้เกิดความโชคดี โชคชะตาเข้าข้างได้เพราะแถมพร 9 ประการให้ด้วย Positive Thinking จะโลกสวยหรือส่งความปรารถนาดีให้คนอื่นเป็น Positive Intention อย่างไรที่ไม่ประมาทเลินเล่อ ไม่เผลอเพลินเป็นฝันกลางวัน แต่ด้วยจิตที่ประกอบด้วยสมาธิ ตั้งมั่นในการงาน ด้วยพลังของอำนาจจิต การงานนั้นจะสำเร็จขึ้นมาได้ หรือต่อให้สิ่งต่าง ๆ ไม่เป็นไปตามแผน แต่ด้วยจิตที่ฝึกมาดีแล้วนั้น เราจะนิ่ง เย็น สงบ ได้ #64-1u13
- 1 สมการชีวิต“ถ้าเรามีความอยากตั้งไว้ตรงไหน สิ่งนั้นจะเป็นความทุกข์ของเราทันที” ไม่ว่าจะทำงานที่ชอบ หรือไม่ชอบ ทำอย่างไรที่จะก้าวหน้าในหน้าที่การงาน จะอยู่ต่อ หรือลาออก ด้วยสติที่ตั้งไว้ในการงานเมื่อไหร่ ณ จุดนั้นวินาทีนั้น เราจะมีความสุขกับงานได้ทันที โดยที่คุณไม่ได้ย้ายงาน หัวหน้าก็ยังเป็นเหมือนเดิม เพื่อนร่วมงานก็เหมือนเดิม การแก้ไขปัญหา ไม่ใช่ไปเที่ยวหางานที่รักหางานที่ชอบ เพราะมันเหมือนกับการตามหา “พยับแดด” คุณจะหาไม่เจอ ไม่ต่างอะไรกับความฝันไม่ต่างอะไรกับนักเล่นมายากล เป็นกลลวง ไม่มีทางเป็นจริง #64-1u12
- 1 สมการชีวิต“ควรแล้วไหมที่เราจะพ้นจากวัฏฏะ พ้นจากสังสารวัฏ พ้นจากการเกิดอีก” ปรับตัวแปรแก้สมการใน 2 ประเด็น กรณีที่ป่วยเอง หรือคนที่เรารักป่วยด้วยโรคร้ายแรงใกล้จะตาย (Terminal Illness) และกรณีที่คนที่รักตายแบบกะทันหันโดยที่ไม่ได้เตรียมใจ อุบายอะไรที่จะไม่ให้ทุกขเวทนาครอบงำจิตใจ ‘ความตาย’ เราไม่ได้ คนอื่นก็ไม่ได้เหมือนกัน สิ่งที่ต้องทำ คือ ทำความเข้าใจ ยอมรับมัน อยู่กับความโศก อยู่กับการสูญเสีย อยู่กับความไม่เที่ยง อยู่กับความเป็นอนัตตา อยู่กับความทุกข์ ให้มันได้ #64-1u11
- 1 สมการชีวิต‘Index ที่อยู่เป็นสุข’ มีธรรมะมากขึ้น มีความทุกข์ลดลง ไม่ใช่ดูเฉพาะเศรษฐกิจ GDP รายได้หรือหนี้สิน แต่จิตใจของเรามีความสุขความสงบไหม ดัชนี้เหล่านี้ ต้องพัฒนาต่อไป ฟังเกี่ยวกับสื่อออนไลน์ใหม่ ๆ ‘Clubhouse’ การใช้เทคโนโลยีในโลกเสมือนให้เป็นประโยชน์ ที่สำคัญคือจิตใจของเราตั้งไว้อย่างไร เมื่อมีสิ่งกระทบต่าง ๆ มียา คือ มรรคแปดที่จะมากำจัดหรือป้องกันตัณหาอวิชชาที่เปรียบเหมือนเชื้อไวรัส ที่อยู่ในร่างกาย คือ ขันธ์ห้า ทุกวัน 365 วันไม่ใช่แค่วันพระ ที่ถ้าระลึกถึงคำสอนของพระพุทธเจ้า ทำความดีตลอด คิดดีพูดดีทำดี รู้จักแบ่งจ่ายทรัพย์ กตัญญูกตเวทีกับพ่อแม่ แผ่เมตตาให้คนอื่นทุกวัน ๆ ให้จิตใจสูงมีคุณธรรม อันนี้ดีมาก ถือว่าศาสนาอยู่ในใจอยู่ทุกที่อยู่ทุกวัน #64-1u10
- 1 สมการชีวิตเมื่อตัวเราป่วยหรือคนใกล้ตัวป่วยด้วยโรคร้าย การทำใจให้ยอมรับเป็นการยาก การมีสติสัมปชัญญะจะทำให้เกิดปัญญายอมรับในความจริงว่า ร่างกายเป็นแบบนี้ เป็นธาตุ 4 กับกรรม เป็นไปตามเหตุตามปัจจัย ใคร่ครวญว่ายังมีอกุศลธรรมใดในใจ ความกังวลความยึดถือที่ทำให้เราทุกข์ ยึดถือตรงไหน ให้แก้ที่ตรงนั้น ทำความเข้าใจที่ตรงนั้น เรื่องกายให้หมอดูแล เรื่องใจเราต้องดูแลเอง ถ้าเรามีศีล สติ สมาธิ และปัญญา เราจะยอมรับได้ การยอมรับได้นั่นคือ การเจริญมรณสติ การมีธรรมะ 5 ข้อที่เมื่อเราป่วยจะทำให้เราเป็นคนป่วยที่ดี และเมื่อเป็นคนดูแลก็จะเป็นคนดูแลที่ยอดเยี่ยม ตลอดจนเกณท์พิจารณาว่ารักษาแค่ไหนจึงจะพอ ในผู้ป่วยระยะสุดท้ายรักษาแล้วหาย ไม่สำคัญเท่ากับการเห็นทุกข์ให้เห็นธรรม อย่ายึดกาย ให้เห็นว่าทุกข์เท่านั้นที่เกิด ทุกข์เท่านั้นที่ดับ #64-1u09
- 1 สมการชีวิตรูปแบบการบูชา ปีชง แก้ขี้เกียจ แก้เครียด กรรมเก่าอีก ทำอย่างไรที่เข้าใจถูกต้องไม่งมงาย หาจุดสมดุลได้ ดวงดีด้วยโชคดีด้วยเป็น “สุคะโต” อะไรคือสาระสำคัญ เข้าใจกระบวนการทาง “สายกลาง” จะว่ายากก็ไม่ยากเกินไป จะว่าง่ายก็ไม่ง่าย ที่สำคัญคือฟังแล้วทำ “ปรับจิตตัวเอง ตั้งไว้ในสิ่งที่ทำ” #64-1u08
- 1 สมการชีวิตหลัก 3 อย่างที่ต้องมี ไม่ว่าจะเป็นพ่อค้าตลาดสด แม่ค้าตลาดนัด นักธุรกิจตลาดหุ้น หรือค้าออนไลน์ จะค้าขายให้ประสบความสำเร็จ ฝ่ากระแส Disruption ของโลกที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างมาก และรวดเร็ว ที่ตอนนี้อะไร ๆ ก็ go online โดยช่วงแรกได้หยิบยกตัวอย่างนักธุรกิจที่เมื่อมีธรรมะ จึงมีปัญญา มีสมาธิจิตแจ่มใสเห็นลู่ทางสามารถปรับธุรกิจจนประสบความสำเร็จ ค้าขายดีธุรกิจดีแล้ว จะแบ่งจ่ายทรัพย์อย่างไร จะขยายธุรกิจมีดาวรายหรือยังไม่รู้จะขายอะไรฟัง..เพื่อเพิ่มพูนปัญญา “ทำธุรกิจมันมีความเสี่ยงหมดนั่นแหละ อยู่ที่ว่าคุณมีตาไหม?” #64-1u07
- 1 สมการชีวิตเพราะมันเป็นที่ตั้งแห่งความประมาท เป็นปากทางแห่งความเสื่อม ที่ถ้าจะมีอะไรไม่ดี มันจะเกิดตรงนั้น อาจทำให้เราผิดศีลได้ ไม่ว่าจะเล่นการพนันกินเหล้าติดเกมส์แทงหวย แม้กระทั่งความขี้เกียจขี้คร้าน การอวดอ้างสรรพคุณเกินจริง! “อะไรที่มันเสี่ยง มันคุ้มเสียไหม ข้อเสียมีมาก ข้อได้มีน้อย ตัดสินใจเลย อย่าไปยุ่งกับมัน” จะเลิกได้ถ้าเห็นโทษของมัน เห็นคุณของมันลดลง ๆ เห็นโทษของมันมากขึ้น ๆ เราเปลี่ยนได้แค่ชั่วลัดนิ้วมือเดียว จะเปลี่ยนแปลงได้ จะกำจัดความไม่ยินดี ต้องกำจัดด้วยความพอใจ พอใจที่จะเปลี่ยนแปลง #64-1u06
- 1 สมการชีวิตทำงาน อย่าหวังเอาเงิน หมายถึงให้หวังเอางาน ทำงาน ถ้าเราหวังเงินนี่ เงินจะใช้เราทันที ทั้ง ๆ ที่ตัวเองไม่มี เราจะตกเป็นทาสของเงินทันที แต่วิธีที่ถูกต้อง จะให้เราเก่งเรื่องการเงินขึ้นมาได้ ทำงานนี่อย่าหวังเอามัน แต่ทำงานต้องหวังเอางาน ทำงานอย่าหวังเอาเงิน งาน คือ ความสุข เงินทองชื่อเสียงไม่ได้จะเป็นตัววัดความสำเร็จ เพราะความสำเร็จมันอยู่ที่อารมณ์ความรู้สึกของเรา เป็นเรื่องของความรู้สึกล้วน ๆ การงานเราต้องทำให้ดีที่สุด อย่าสับสนความเพียรกับความอยาก เพราะความอยากก็เป็นเรื่องของอารมณ์ความรู้สึก ถ้าเราฉลาดในเรื่องความรู้สึกของตัวเราเอง จะทำให้เราปรับเรื่องความอยากและความเครียดไปได้ทันที เปลี่ยนจากความโกรธความเกลียดความกลัวความเสียใจ เป็นเมตตาเป็นอุเบกขา มันต้องเป็นอย่างนั้น สุดท้ายเอาสูงสุดที่ว่า ปรับเปลี่ยนอารมณ์ของเราเหมือนขยะที่ผ่านกระบวนการแล้วไปสุดท้ายที่ฝังบ้างเผาบ้าง ไม่ได้มากองอยู่ที่หน้าบ้านของเรา #64-1u05
- 1 สมการชีวิตถ้าไม่มีความสุขในการทำงาน อันนี้ผิดแล้ว แสดงว่าไม่มีธรรมะในที่ทำงานนั้น ๆ แต่ถ้าตั้งจิตถูกมีธรรมะ ทุกวันที่ทำงานจะมีความสุขได้ สิ่งที่ต้องเปลี่ยนอันดับแรก คือ ทัศนคติมุมมอง ที่ว่าความสำเร็จหรือเป้าหมายในชีวิตคืออะไร เปลี่ยนมุมมองตรงนี้ได้ ที่เราทำแต่ละวัน ๆ จะเปลี่ยนไป ความสุขจะเปลี่ยนไป คำด่าไม่ต่างกับคำชม ถ้าเขาด่าแล้วอารมณ์เสีย แล้วเขาชม เราดีใจสุด ๆ สองอันนี้ค่าเท่ากัน เพราะเป็นอกุศลเหมือนกัน เราเพลิดเพลินยินดีลุ่มหลงในคำชมนั้น วิธีแก้ คือ ถ้าถูกชมแล้ว เราต้องเห็นสิ่งนั้นโดยความเป็นของไม่เที่ยง ไม่ลุ่มหลงในคำชมนั้น ถูกด่าแล้ว ก็อย่าให้มีความพยาบาทความไม่พอใจ แต่ให้มีความอดทนอดกลั้น ซึ่งอดทนไม่เหมือนกับเก็บกด พรหมวิหารต้องมีมาก ๆ ในที่ทำงาน ต้องมีความรักความเมตตา แล้วถ้าเขามีความสำเร็จ เราต้องมีมุทิตา ถ้าเขาอิจฉา เราต้องมีกรุณา ทีนี้สำหรับบางคน เมตตากรุณามุทิตาเต็มที่แล้ว มันก็ยังไม่ดีอยู่ เราต้องมีอุเบกขาด้วย หมายถึง ความวางเฉย เขาจะดีหรือไม่ดียังไง เราจะไม่ได้จะไปทำความไม่ดีตามเขา มันจะหยุดความไม่ดีในตัวเราได้ ด้วยอุเบกขาของเรา #64-1u04
- 1 สมการชีวิตในช่วงของต้นปีใหม่ อยากให้ทบทวน ตั้งเป้าหมายในชีวิตให้ดีด้วยระบบที่ถูกต้อง ตามกระบวนการอริยสัจสี่ ตามกระบวนการของมรรคแปด การทำการปฏิบัติที่สอดแทรกมรรคแปดเข้าไป ด้วยกำลังของพระเสขะ ไม่ว่าเป้าหมายอะไรที่ตั้งไว้ในชีวิตประจำวัน สามารถที่จะให้เราเดินตามทางมรรคแปด การงานนั้นก็ทำให้เข้าสู่นิพพานตามทางนี้มรรคแปดด้วย ไปตามทางการงานด้วย เราจะมีความสบายใจมาก ๆ ที่สำคัญอีกประการหนึ่ง เป้าหมายที่ตั้งไว้ ต้องให้ครบถ้วนทุก ๆ ด้านของชีวิต กระบวนการจะเป็นอย่างไร ระบบหรือปฏิปทาจะปรับเปลี่ยนอย่างไร ทุกสัปดาห์ทุกวัน ๆ ใคร่ครวญพิจารณา จะทำให้ปีนี้จะเป็นปีที่ประสบความสำเร็จของเราได้ จะเป็นปีที่ไปตามทางไปสู่เป้าหมายได้ #64-1u03
- 1 สมการชีวิตห้ามความชั่วด้วยความดี ค่อย ๆ บอกค่อย ๆ สอน พูดดี ๆ เป็นคำฟูใจเป็นคำที่ชาวเมืองเขาพูดกัน คำพูดที่ดี ๆ จึงจะเป็นสิ่งที่จะดี จะให้ลูกตั้งอยู่ในความดี ห้ามเขาเสียจากบาป ไม่ใช่ไปทำบาปให้เขาเห็น ต้องทำความดีขึ้นมา พ่อแม่ต้องเป็นตัวอย่างให้ลูกเห็นในการทำความดี ตรงนี้ที่เป็นคีย์ที่สำคัญ ห้ามเขาจากความไม่ดี คุณเลยด่าลูก! คำด่ามันเป็นบุญหรือเป็นบาป เราด่าเราพูดสิ่งที่ไม่ดีมันเป็นบาป จะห้ามบาปด้วยความบาป มันจึงย้อนแย้งโดยสิ้นเชิง ยิ่งเป็นการตราบาป กลับทำความบาปให้เขาเห็น วิธีนี้ไม่เวิร์ค! พ่อแม่จึงมีความสำคัญมากที่จะต้องคอยเอาใจใส่ มีจิตเมตตามีการดูแล ให้เวลามาก ๆ มันถึงจะดีไปได้ ยุคสมัยเปลี่ยนแปลงไป สิ่งยั่วยวนเปลี่ยนแปลงตาม เราต้องรู้จักป้องกันให้รัดกุมมากขึ้น องค์ความรู้ไม่เปลี่ยน เป็นอกุศลธรรมเดิม องค์ความรู้เดิมที่ดีอยู่แล้ว รักษาตรงนั้นให้ดี จุดไหนที่ต้องเปลี่ยนก็ต้องเปลี่ยน จุดไหนที่ต้องรักษาก็ต้องรักษาเอาไว้ ต้องยืดหยุ่นทุกแง่มุมทุกอย่าง #64-1u02
- 1 สมการชีวิตพี่น้องพ่อแม่ไม่ได้มีอยู่เรื่อย พ่อแม่คลอดลูกคนไหน นั่นพี่น้องเรา ก็พ่อแม่เดียวผู้ให้กำเนิด ไม่มีเงื่อนไขอื่น ถ้าเขาไม่ดีต้องรักษาความดีที่เขามีอยู่ อะไรดี ๆ แบ่งปันกัน ค่อยพูดค่อยบอก ถ้าไม่แก้ไข มันจะเป็น“ตราบาป” เป็นนิมิตเครื่องหมายของความไม่ดีโผล่มา ทำให้จิตของเราตกไปอยู่ห้วงของอกุศลได้ ฉะนั้นความสัมพันธ์ในครอบครัวต้องรักษาให้ดี คำขอโทษง่าย ๆ ไม่ยาก ช่องทางบางทีแทบไม่เห็นที่จะพูดทำความเข้าใจ แต่ขอให้ทำ ช่องมันมีอยู่ตลอด อยู่ที่ว่าจะเห็นไหม “อดทนในสิ่งที่อดทนได้ยากทำสิ่งที่ทำได้ยาก มันจะดี” วางเฉยได้ในคำที่เขาด่ามา ด้วยเมตตาและอุเบกขา แก้ได้ทุกสถานการณ์ไม่ว่าจะยากขนาดไหน อย่าให้มีการผูกเวรกัน พัฒนาปรับปรุงความสัมพันธ์ต่าง ๆ ให้ดี จิตใจที่ปลดล็อคคลายเงื่อนปมแล้ว จะไม่มีความหงุดหงิดจะมีความสบาย ช่องทางที่จะไปอบายก็ปิดลง ช่องทางที่จะไปสวรรค์ไปนิพพานก็เปิดออก ทางดำเนินแบบนี้คือทางดำเนินที่ถูกต้อง เป็นทางโล่งทางโปร่งไม่ประกอบด้วยขวากหนามเป็นทางที่เกษมร่มเย็น จิตใจที่ดำเนินไปตามทางศีลสมาธิปัญญา อาจจะยากอาจจะมีทุกขเวทนาบ้าง อันนี้เป็นธรรมดา #64-1u01
- 1 สมการชีวิตทุกปัญหามีทางออก อยู่ที่ว่าเรามองเห็นไหม จะเห็นได้จิตใจต้องแจ่มใสสว่าง ปรับจิตตั้งจิตให้มีความมั่นใจในพุทโธธัมโมสังโฆ มั่นใจในกรรม จิตใจเมื่อมีความผ่องใสสว่างแล้ว มองดูสถานการณ์อีกทีหนึ่ง ช่องทางบางทีมันค่อยปรากฎขึ้นคลี่คลายขึ้น สุขทุกข์เป็นธรรมดา ชีวิตของคนเราสุขบ้างทุกข์บ้าง แต่ยังสามารถใช้กายนี้ประคับประคองกระทำสิ่งที่ดีได้ คนมามืดมาสว่างไม่เท่ากัน แต่ให้ไปสว่างให้ไปดี ไปดีไปสว่าง อยู่ที่การกระทำ ถ้าคิดว่าคนอื่นทำไมเขาได้แล้วเราไม่ได้ นั่นเป็นความริษยาเป็นความน้อยใจ คุณกำลังกินยาพิษคุณกำลังต้านกระแสของยาอยู่ เอาใหม่ปรับความคิด ตั้งมั่นในความดี มีความอดทน ชีวิตมันก็เป็นแบบนี้แหละ ตื่นเช้ามาก็ยิ้มแย้มแจ่มใสได้ จิตใจมีความแยบคายในการปฏิบัติ คือตั้งอยู่ในกุศลธรรม อย่าไปคิดน้อยเนื้อต่ำใจ แต่ให้มีปัญญาเรียนรู้จากสถานการณ์ ปรับทัศนคติ (Embraced) ยอมรับในสิ่งที่เป็นทุกข์นั้น มันเป็นอย่างนั้นแหละ แล้วมาตามทางที่ประกอบด้วยองค์ประกอบอันประเสริฐแปดอย่าง #63-1u53
- 1 สมการชีวิตถ้าต้องการเป็นที่รักทั้งของเจ้านายเพื่อนร่วมงานและลูกน้อง อันดับแรกที่ไม่ควรทำเลย คือ เป็นคนเทียมมิตรประจบประแจง อะไรก็คล้อยตาม ต่อหน้าสรรเสริญลับหลังพูดอีกอย่างนึง อย่าเป็นอย่างนั้น แต่ทำหน้าที่ของเราให้ดีที่สุดตามทิศทั้ง 6 ทั้งเป็นเจ้านายและลูกน้อง แผ่เมตตาให้กัน มีเมตตากรุณามุทิตาและอุเบกขา และคนเราจะอยู่ดักดานตลอดกาลมันก็ไม่ได้ คนเราต้องมีการพัฒนา ซึ่งต้องอาศัยการเจริญอิทธิบาทสี่ ถ้างานนี้ชั้นไม่ชอบ ชั้นจะทำยังไง คุณก็ต้องทำให้ได้ งั้นชั้นจะตั้งยังไง คุณต้องมีสมาธิ จะทำยังไงให้มีสมาธิ คุณต้องมีสติ มันก็กลับมาที่จุดเดิม เพราะฉะนั้น จุดตรงนี้แหละคือจิตเรามันต้องสั่งให้ได้ จะสั่งได้ด้วยสมาธิ จะฝึกอย่างนั้นได้ ต้องด้วยสติ มันถึงวนกันอยู่อย่างนี้ เราถึงจะค่อยพัฒนา แล้วถ้าเราทำงานดี๊ดีดีเลย ยังไงเขาจะต้องเลื่อนขั้นเลื่อนงานให้เรา #63-1u52
- 1 สมการชีวิตคนที่รักษาจิตอย่างตัวเองยังไม่ได้ แล้วคิดว่าจะไปพึ่งหมอทั้งหมด ให้หมอรักษากาย ฉันต้องหาย ๆ ไม่หายไม่ได้ โอ๊ย! ยิ่งจิตใจมีความกังวลความหดหู่ ความห่วงใย กายยิ่งมีปัญหา ฮอร์โมนต่าง ๆ บางทีไม่ปกติมีผลข้างเคียง หมอเขาให้เราพึ่งได้แค่เฉพาะทางกายเท่านั้น ทางใจเราต้องพึ่งของตัวเราเอง พอทำความเข้าใจถูกต้องแล้ว ทุกขเวทนาก็ได้ สุขเวทนาก็ไม่มีปัญหาอะไร มีความเข้าใจยอมรับมัน เราอยู่กับทุกข์ได้ นี่คือสิ่งสำคัญ ด้วยจิตใจที่ตั้งไว้อย่างดี เราอยู่กับทุกข์ได้ อยู่ได้อย่างผาสุก ตั้งจิตด้วยสติ ทำสมาธิให้เกิดขึ้น ลับปัญญาให้แหลมคม ด้วยการฟังธรรมะอยู่เป็นประจำ ไม่ใช่แค่ว่าจำได้ อยู่ในตำรา เป็น text books แต่เวลามีปัญหาเกิดขึ้น ให้จิตใจของเรามีความนุ่มนวลอ่อนเหมาะ มีความผาสุก ก็จะดีขึ้นมาได้ #63-1u51
- 1 สมการชีวิตลูกศรเมื่อมันงอมันโก่ง คุณต้องเอาไปลนไฟก่อนแล้วดัดที่ไม้ง่าม การกระทำที่ช่างศรดัดลูกศรให้ตรง เหมือนกับจิตใจของเรา ถ้าอยู่สบายเกินไปแล้วมันงอมีอกุศล เพลิดเพลินยินดีพอใจกำหนัดลุ่มหลง งั้นอย่าอยู่สบายเลย มีสถานการณ์เกิดขึ้นมีโลกภัยไข้เจ็บเศรษฐกิจไม่ดีซะ อยู่ลำบากแล้วกุศลธรรมเกิด อยู่อย่างพอมีพอกินพอใช้ จิตใจมีเมตตาต่อกัน มีสติสัมปชัญญะ เห็นความไม่เที่ยง มีปัญญาเกิดขึ้น คือ กุศลธรรม อันนี้ Blessing เลย โชคดีมาก ๆ ตรงที่กุศลธรรมเกิด การทำความเพียรมันจึงมีได้ในรูปแบบนี้ เป็นปัญญาที่เกิดขึ้น บางคนผ่านสถานการณ์มาได้ จิตใจเข้มแข็งดีขึ้น ตั้งอยู่ในศีลธรรมดีมีมากขึ้น ปรับเปลี่ยนสถานการณ์หนี้สิน เออนี่มันดี มันคอยปรับให้เรามาอยู่ในทาง #63-1u50
- 1 สมการชีวิต“เงินทองที่คุณได้มาแล้ว จากการดำเนินอาชีพการงานในสังคม เงินทองที่ได้มาแล้วบางทีก็เอาไปใช้หาความสุขบ้างนะอ่ะ ถ้าคนเกษียณแล้ว ก็อยากจะเอาเงินไปใช้มาทำสวยบ้างนะอ่ะ ฉันอยากจะไปฉีดโบท๊อกบ้าง ฉันอยากจะไปนวดหน้าบ้าง หรือใช้เงินไปเที่ยวจุดนั้นจุดนี้บ้าง แล้วเกิดลูกหลานไม่พอใจว่า โอ๊ย! ทำไมคุณย่าคุณยายเนี่ยเอาเงินมาใช้แบบนี้ ลักษณะนี้มันผิดคำสอนไหม ก็ฉันจะเอาเงินที่ฉันหาได้ มาเนี่ย มาใช้ยังไงแล้วมันจะมีปัญหาอะไร ถูกมั๊ย? ในเรื่องนี้เรามีวิธีการพิจารณาให้มันเป็นไปตามทำนองคลองธรรม ไม่ให้เงินนั้นมันมามีปัญหากับเราได้” ในเอพิโสดนี้ จึงได้มาทำความเข้าใจใน 3 ประเด็น เกี่ยวกับสัมมาอาชีวะ ที่เราจะดำเนินชีวิตของเราไปในลักษณะไหนอย่างไร โดยพิจารณาไล่มาจากเรื่องของศีล ไล่มาจากเรื่องของการค้าขายที่พึงกระทำหรือไม่กระทำ แล้วก็มาในเรื่องของการกระตุ้นราคะ โทสะ โมหะ จากนั้นการช่วยเหลือกันในกระแสแห่งหน้าที่การงานควรจะเป็นอย่างไรในจุดที่ว่าเราจะช่วยเหลือไหม เราจะตั้งจิตอย่างไร ใช้ทรัพยากรไปในแบบไหน และในประเด็นสุดท้ายที่ว่า เรามีเงินทองได้มาแล้ว จะใช้จ่ายให้ถูกหน้าที่ได้อย่างไร เสพกามในลักษณะไหนที่มันจะถูกต้องได้ ยินดีได้ แล้วให้เราเป็นไปตามธรรม #63-1u49
- 1 สมการชีวิต“...ความเครียดมันเกิดขึ้นได้ในทุกกรณี มีอยู่ อันนี้เป็นธรรมดา แต่สิ่งที่เราต้องควบคุมให้ได้ คือ จิตของเรา ว่าพอมีความเครียดเกิดขึ้นแล้ว คุณให้จิตคุณไปอยู่ตรงที่มันสบายใจได้มั๊ย? อย่าให้ไปอยู่ตรงที่มันเครียด เหมือนกับว่า ความปวดเวทนามีเกิดอยู่ในร่างกาย คุณจะต้องรู้สึกหรือปรับจิตอย่างไรให้จิตของเรา ไปตั้งอยู่ในจุดที่มันไม่รู้สึกถึงเวทนานั้น หรือแยกกันออกไป ซึ่งการฝึกสมาธิช่วยได้ อาจจะแยกกันไม่ได้ 100% แต่ว่าอย่างน้อยก็ห่างกันได้บ้าง ยังพอหาช่องที่มีความสุขได้บ้าง เหมือนหยดน้ำกับใบบัว อันนี้เราต้องฝึกจิตของเรา ซึ่งมันไม่ยาก เพียงฝึกตั้งสติไว้ในช่วงเวลาที่เราเดินทางไปที่ทำงาน วันละ 5 - 15 นาที ฝึกตอนเช้า ตอนค่ำ ระหว่างเดินทาง หรือระหว่างหลังกินข้าว ในช่วงเวลาไหนก็ได้ มันจะช่วยให้จิตใจของเรามีกำลังตลอดเวลา แล้วเราก็จะคลายความเครียดได้ ถึงเวลาตกอยู่สถานการณ์เครียดครัดแล้ว ก็สามารถตัดสินใจได้ดี จิตใจแจ่มใสใส่ความรักใส่ความเพียรลงไปในการงานที่เราทำได้” ในเอพิโสดนี้ จึงได้มาสนทนาถามตอบในประเด็นคำถามจากท่านผู้ฟังที่ว่า ถือเป็นการผิดจากหลักคำสอนหรือไม่ ที่หมอจะต้องรักษาคนไข้ โดยเฉพาะคนไข้ระยะสุดท้าย ในเมื่อเราไม่ควรยึดติดกับร่างกาย และได้รวบรวมประเด็นในเรื่องของการทำงาน ไม่ว่าจะเป็นวิธีการหลีกเลี่ยงไม่ร่วมวงนินทาในที่ทำงาน วิธีกำจัดความขี้เกียจในการทำงานออกไป หน้าที่ของเจ้านายและลูกน้องที่พึงมีต่อกัน การปรับมุมมองต่อการทำงาน ฝึกจิตให้ไม่เครียดในการทำงาน และธรรมะเพื่อความสามัคคี #63-1u48
- 1 สมการชีวิต“คนครองเรือนแล้วอยู่เหนือกาม ชีวิตคุณนี้ดีมาก ๆ เพราะอะไร เพราะเราไม่ได้ถูกมารกุมหัวใจอยู่ มารเนี่ยจะใช้กามนี่แหละมาเป็นเหยื่อล่อให้เราทำหรือไม่ทำสิ่งใดสิ่งหนึ่ง ที่นี้พอเราอยู่ในโลกของกามแล้ว ถ้าเราเหนือกามได้ จะไม่ถูกมันควบคุม ฉะนั้นจิตใจเราต้องอยู่เหมือนพรหม แต่ตัวเราก็อยู่ในโลกมนุษย์นี้แหละ นี้คือขั้นที่ 3 ที่ต้องฝึกให้มันเหนือขึ้นไป ในการที่ว่าฉันจะไม่ต้องไปยินดีพอใจในสิ่งที่เป็นความสุขทางตาทางหูนั้นอีกต่อไปเลย จิตใจนี้มันทำให้เหนือได้” ในเอพิโสดนี้ จึงมาทำความเข้าใจถึงลักษณะพฤติกรรมของคนยุคสตรอเบอรี่เจนเนอเรชั่น / ฮ่องเต้ซินโดรม ที่สามารถเป็นกันได้ในทุกเพศทุกวัย ขึ้นอยู่กับพฤติกรรมของคน ๆ นั้นที่ไปเชื่อมโยง "โดพามีน ฮอร์โมนความสุข" (Dopamine) เข้ากับความเพลิดเพลินลุ่มหลงยินดีในกาม จนก่อให้เกิดปัญหาชีวิตตามมา เช่น โรคซึมเศร้า ประเด็นในที่นี้คือ กิจกรรมอะไรที่ว่าดีมีประโยชน์ต่อร่างกายของเราแล้วจะไม่ได้ให้โดพามีนมาก แต่ให้ความสุขในภายในได้ อันนี้ควรทำ ซึ่งตามหลักคำสอน นั่นก็คือ เนกขัมมะ (การหลีกออกจากกาม) ที่จะช่วยดีท็อกซ์โดพามีนที่มีมากเกินไปนั้น ปรับสัดส่วนในเรื่องของกายและใจให้มีความสมดุลกันได้ #63-1u47
- 1 สมการชีวิต“แล้วทำไมคนเราถึงจะมาหลีกออกจากกาม ไม่พยาบาท ไม่เบียดเบียนได้ เพราะฉะนั้น นี่คือหัวข้อของสัมมาสังกัปปะ คือ ความดำริชอบ ความดำริในทางที่จะให้จิตใจของเรา มันมีกิเลสลดลง ก็นี่แหละที่ว่า ถ้าเราไม่รู้จักหน้าที่ศีลธรรม ไม่รู้จักความดี ไม่รู้จักคำสอนของพระพุทธเจ้า บางทีเราก็ทำชั่วโดยที่เราไม่รู้ตัว” เหตุแห่งโยนิโสมนสิการ จะช่วยกรรมของประเทศให้ดีได้อย่างไร? จึงเอพิโสดนี้ ได้มาสนทนาปรับแก้สมการในประเด็นปัญหาเหตุการณ์ที่กำลังเกิดขึ้นในปัจจุบัน ตอบคำถามจากท่านผู้ฟัง ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการทำบุญปล่อยนกปล่อยปลา ไถ่ชีวิตโคกระบือ การทำบุญหวังรวย การนิมนต์พระ และ ปัญหาความขัดแข้ง ความไม่ลงรอยกันทางความคิดของกลุ่มคนในชาติ #63-1u46
- 1 สมการชีวิต“อุ อา กะ สะ อุ อา กะ สะ อุ อา กะ สะ” ใครที่ได้ท่องคาถาบทนี้แล้วปฏิบัติตาม จะทำให้เป็นบุคคลผู้มีหัวใจเศรษฐีได้ พระพุทธเจ้าตรัสไว้กับโกฬิยบุตรชื่อทีฆชาณุ ถึงธรรมะ 4 ประการ ที่จะพึงเป็นไปเพื่อประโยชน์ เพื่อความสุข ทั้งในปัจจุบันและในภายภาคหน้า ในเอพิโสดนี้ จึงได้มาทำความรู้จักความหมายของตัวต้นของศัพท์ ให้ลึกซึ้ง พร้อมวิธีปฏิบัตินั้น ๆ โดยรายละเอียด ทั้งยังนำเรื่องราวของเหล่าเศรษฐีผู้มีความร่ำรวยมั่งคั่งทั้งในทางกายและทางจิตใจ มาเล่าสู่กันฟัง เพื่อพิจารณาใคร่ครวญนำมาปรับแก้สมการชีวิตของเราให้รู้จักจุดที่พอดีได้ #63-1u45
- 1 สมการชีวิตจะทำอย่างไร เมื่อคนใกล้ตัวติดอบายมุข ...คนที่ติดอบายมุข เขาจะไม่ได้เห็นคุณของสิ่งดีเลย แต่กลับเห็นคุณของสิ่งไม่ดี (เห็นกงจักรเป็นดอกบัว) พอเห็นสิ่งไม่ดีคืออบายมุขว่าเป็นสิ่งที่คุณจะต้องทำมากๆ แต่เห็นสิ่งดี ๆ เช่น ศีล สมาธิ ภาวนา ว่าเป็นสิ่งไม่ได้มีประโยชน์อะไร ถ้าเราจะพูดถึงประโยชน์ ๆ คนไม่มีศีล เขาไม่ชอบฟังคนพูดเรื่องศีล คนไม่ดี เขาไม่ชอบฟังเรื่องดี ๆ ที่เรามาคอยจ้ำจี้จ้ำไช พูดอย่างนั้นอย่างนี้ มันจะคุยกันไม่รู้เรื่อง เพราะเขายังเห็นประโยชน์เห็นความดีในอบายมุขนั้น เขาจึงยังทำอยู่ ฉะนั้น จึงให้เราเป็นกัลยาณมิตรของเขา คอยชักจูงให้ข้อมูลด้วยมีเมตตา แสดงให้เห็นโทษของอบายมุขอย่างนั้น ๆ และถ้าหากพูดแล้วเขาจะแตก พูดแล้วเขาจะไม่ฟัง เราอย่าเพิ่งพูด แต่ให้พูดในเวลาที่เขาจะฟัง พูดในเวลาที่จะให้ความดีมันเกิดขึ้นได้ คือหาช่องชี้แจ้งที่จะให้เขาเห็นโทษ และแนะนำหากิจกรรมที่เป็นประโยชน์เพื่อทดแทนเวลาที่เขาจะใช้ไปในทางอบายมุข ซึ่งพอเขามีปัญญาในระดับที่น้อมเข้าสู่จิตใจของตนเองได้แล้ว ก็จะสามารถเห็นโทษของหนทางแห่งความเสื่อมนี้ด้วยภาวนามยปัญญา คือ การพัฒนาจิตให้เรามีความรู้ในข้อนี้เกิดขึ้น ซึ่งตรงนี้เป็นจุดสำคัญที่ว่า “ถ้าเราเห็นโทษของอะไรสักอย่างใดอย่างหนึ่ง อะไรที่มันแย่ขนาดไหน ก็ตาม มันละได้หมด” ในเอพิโสดนี้ จึงนำเรื่องราวเหตุการณ์ปัจจุบันมาสนทนาพูดคุยกันเพื่อแก้สมการได้ถูกต้องตามหลักคำสอนของพระพุทธศาสนา ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของการที่ครูอาจารย์ลงโทษลูกศิษย์ด้วยการดุด่าว่าตี การปรับตัวต่อสังคมที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว การที่มีคนใกล้ตัวติดอบายมุข การเล่นเกมส์ที่มีการต่อสู้ฆ่ากัน และการละเมิดลิขสิทธิ์ #63-1u44
- 1 สมการชีวิตไม่ว่าจะเป็น “ความเครียด” หรือ “ความเหงา” ต่างก็เป็นปัญหาที่พบเจอกันได้มากในสังคมยุคปัจจุบัน ที่ส่งผลกระทบต่อการดำเนินชีวิตของตัวเองและผู้คนรอบข้าง ทั้งในเรื่องของปัญหาครอบครัว การทำงาน ญาติมิตร ซึ่งจะก่อให้เกิดปัญหาอื่น ๆ ตามมาอีกมากมาย เพราะความที่เหตุของมันคือ ตัณหา และ ตัณหาก็คือปัญหา ในเอพิโสดนี้ จึงได้ยกเอาทั้ง 2 ประเด็นนี้ มาทำความรู้จักเข้าใจถึงสาเหตุและผลที่เกิดขึ้น เพื่อแก้ไขปัญหาความสับสนหรือเข้าใจผิด ปรับสมดุลชีวิต เพิ่มความรู้ความเข้าใจในวิธีแก้เครียดคลายเหงาได้อย่างถูกต้อง #63-1u43
- 1 สมการชีวิตจะทำอย่างไรดี เมื่อลูกหนี้ยืมเงินแล้วไม่ยอมคืน “นี่แหละมันเป็นความยากลำบากของการที่ต้องครองเรือน ที่ว่ามันต้องมีเรื่องเกี่ยวกับด้วยเงินทอง จึงอันดับแรก สิ่งที่ต้องการจะแนะนำก็คือ ถ้าเราจะใช้อกุศลธรรมเพื่อให้เขาคืนเงินอันนี้มันเป็นบาป เราไม่ควรทำ อย่างเช่น โทรไปด่าเขา หรือว่าฆ่าเขาขู่เขา เบียดเบียนในรูปแบบใดรูปแบบหนึ่ง อันนี้ไม่ควรทำ คือ ไม่ควรที่จะออกนอกมรรคด้วยเหตุแห่งทรัพย์สินเพียงเล็กน้อยแบบนี้ อาจจะไม่เล็กน้อย อาจจะมาก แต่ว่ามันไม่คุ้มค่ากันถ้าเผื่อว่าเราจะต้องทำผิดศีลธรรม เพราะฉะนั้น ก็ค่อย ๆ พูด ค่อย ๆ จากันเอา อาจจะต้องอดทนในเบื้องต้น ค่อยพูดค่อยจา แล้วก็รู้จักแบ่งจ่ายตรงนั้น ปรับตรงนี้ อาจจะหาคนช่วยเหลือจุดนั้นจุดนี้ มันก็จะค่อยเป็นไปได้” ในเอพิโสดนี้ ได้นำเอาคำถามจากท่านผู้ฟังในเรื่องของ “หนี้สิน”ที่เน้นมาในส่วนของเจ้าหนี้ โดยจะมีเกณฑ์ในการพิจารณาก่อนการให้ยืมอย่างไร หรือเมื่อหลังให้ยืมไปแล้ว ถ้าเขาไม่ยอมคืน ควรทำอย่างไร นอกจากนี้ ก็ยังมีประเด็นอื่น ๆ ที่น่าสนใจ ไม่ว่าจะเป็นในเรื่องการทำบุญ (คุณ) กับคนไม่ขึ้น เรื่องของดวง เรื่องของการสักยันต์ ที่มาของศาลพระภูมิเจ้าที่ เรื่องของเจ้ากรรมนายเวร และคำถามที่มักถามกันบ่อย ๆ ก็คือเรื่องของนักปฏิบัติกับการตบยุง มาสนทนาแก้สมการกัน #63-1u42
- 1 สมการชีวิต“ในความโชคดีมีโชคร้าย ในความโชคร้ายมีโชคดี เหตุปัจจัยบางอย่างที่เกิดขึ้นจากภายในก็ตาม หรือภายนอกก็ตาม มันต้องประกอบกัน เพราะฉะนั้นมันไม่ใช่ว่าอาศัยความโชคดีอย่างเดียวหรือความโชคร้ายอย่างเดียว ที่ทำให้เวทนาบางอย่างเกิดขึ้น เพราะฉะนั้น สิ่งที่เราต้องทำความเข้าใจในที่นี้ ในฐานะที่ว่าโปรดศึกษาคำสอนของพระพุทธเจ้า ท่านเป็นสัพพัญญูผู้รู้แจกแจงธรรมะต่าง ๆ เราอย่าให้มีทิฐิความเห็นที่เป็นเอกกรณวาทะ ด้วยความที่ว่าเหตุเดียว ปัจจัยเดียวแล้วก็ขึ้นเป็นอย่างนี้ อาศัยฉันอย่างเดียวหรืออาศัยภายนอกอย่างเดียว คุณจะผิดพลาดทันที คุณจะมีความทุกข์ขึ้นมาทันที เราจึงต้องปรับเหตุปัจจัยเงื่อนไข ปัจจัยภายนอกก็มี ภายในก็มี ถ้าเราคิดว่าเงื่อนไขปัจจัยเกิดจากภายในเท่านั้น คุณคิดผิด คุณจะมีความทุกข์เกิดขึ้นในภายในนั้นได้ ทั้ง ๆ ที่มีสุขเวทนานั่นแหละ” ในเอพิโสดนี้ จึงได้นำเอาเรื่องของ “ดวง” มาทำความเข้าใจกัน ไม่ว่าจะด้วยเรื่องลักษณะและเหตุปัจจัยเงื่อนไขที่ทำให้เกิดสุข (ดวงดี) หรือทุกข์ (ดวงไม่ดี) ความเห็นที่ถูกต้องในเรื่องของดวงตามคำสอนของพระพุทธเจ้า และสิ่งสำคัญจะทำให้เราเป็นผู้ที่มากับดวงดีได้ #63-1u41
- 1 สมการชีวิต“หลักธรรมในที่นี้ ก็คือ ถ้าเราพูดคำอะไรแล้ว จะทำให้เกิดความเบียดเบียน เศร้าหมอง แตกกัน เราอย่าพูด เพราะถ้าพูดแล้วมันจะไม่จบง่าย ๆ มันจะต้องมีคำที่พูดมาก พอพูดมากแล้วมันก็จะฟุ้งซ่าน ฟุ้งซ่านแล้วก็จะไม่สำรวม พอไม่สำรวมจิตก็จะเสื่อมจากสมาธิ พอจิตมันตั้งขึ้นให้เป็นอารมณ์เดียวไม่ได้ การตัดสินใจอะไรบางทีมันผิดพลาดไปหมด เราก็จึงต้องมีเมตตากัน ถ้าเขาจะพูดจาแบบให้ร้าย ด่าว่าเราบ้าง ก็ให้อดทนเอา ซึ่งพอเราอดทนได้แล้ว เราไม่พูดแบบทิ่มแทงเขาแล้ว เราไม่พูดให้ร้ายเขาอีก จิตใจของเขาก็ได้ปลดปล่อย แล้วก็จะเย็นลง ๆ มันก็จะค่อยพูดจากันรู้เรื่อง” ในเอพิโสดนี้ มีประเด็นที่น่าสนใจมาสนทนากันในหลายเรื่อง ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของการที่รู้สึกรำคาญ เมื่อเวลามีคนมาเรี่ยไร่เงินทำบุญ เรื่องลำดับสมณศักดิ์ของพระสงฆ์ เรื่องความเชื่อและศรัทธา "ไอ้ไข่" ที่วัดเจดีย์ หลักธรรมที่ช่วยแก้ปัญหาการเกี่ยงงาน การเอาเปรียบกัน การอิจฉาริษยากันในที่ทำงาน เรื่องของเทคโนโลยีที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็วในยุคปัจจุบันกับคนสูงวัยหรือคนรุ่นเก่า การไปร่วมกดแชร์ กดไลค์ ให้ความเห็น ในโพสต์ที่มีการด่าว่ากัน หรือวิธีแก้ไข ที่เมื่อมีความคิดเห็นที่แตกต่างกัน จนเกิดเป็นความขัดแย้ง ก่อเกิดคำพูดที่ทำให้มีความเกลียดชังกันขึ้น ตลอดจนถึงปัญหาครอบครัว ในเรื่องการการนอกใจไปมีเมียน้อย ไปมีมือที่สาม และเรื่องของการควบคุมอารมณ์ #63-1u40
- 1 สมการชีวิต“สิ่งที่จะให้กำลังใจเราได้มาก และคงอยู่ได้ระยะยาวนาน (Long Lasting/Sustainable) สามารถที่จะมีความยั่งยืนได้ มีข้อเสียน้อย มีประโยชน์ใหญ่ ทั้งเพื่อประโยชน์ตนเองและผู้อื่นด้วย นั่นคือผลประโยชน์ทางด้านโลกุตระ ในทางด้านธรรมะ มันจะทำให้เรามีกำลังใจ ชุ่มชื่นใจ ทำให้เราเย็นใจได้ ถ้าเราได้ทำ ถึงแม้ว่าบางทีเราอาจจะเสียด้วย แต่คุณไม่คิดว่ามันเสียงัย แม้จาคะ ๆ เป็นการสละออก แต่คุณคิด “ได้” ได้ในที่นี้ คือ ฉันได้ให้ทาน ได้เสียสละ ได้ทำจุดนั้น ได้ทำจุดนี้ นี่ฉันมีแต่ได้ ฉันมีแต่ได้ คิดเอาแต่ได้ นี่มันดีท่านผู้ฟัง เอาให้มันได้ผลประโยชน์ที่เป็นโลกุตระ มันดี…” ประเด็นที่ยกขึ้นมาวิเคราะห์กันในเอพิโสดนี้ เป็นเรื่องของ “ผลประโยชน์” เพราะคนเราจะเห็นแก่อะไรสักอย่างใดอย่างนึง ก็เอาผลประโยชน์ขึ้นนำหน้าอยู่เสมอ จึงเป็นเรื่องที่สำคัญที่เมื่อทำความเข้าใจให้ลึกซึ้งแยบคายลงไปในเงื่อนไขข้อมูลตรงนี้ได้ จะทำให้เกิดประโยชน์อย่างมากในการดำเนินชีวิตของเรา โดยได้ยกเรื่องของนายกาละ บุตรของอนาถบิณฑิกเศรษฐี ขึ้นมาเป็นกรณีตัวอย่าง ที่สามารถปรับสัดส่วนในการเห็นประโยชน์จากส่วนของทางกาม ทางโลก ทางโลกียะ มาเป็น เห็นประโยชน์ในส่วนของมรรค ส่วนของทางธรรมะ ทางโลกุตระ จากคนขี้เกียจขี้คร้าน ได้มาสัมผัสรสแห่งอมตธรรม จนบรรลุเป็นพระอริยบุคคลขั้นโสดาบันได้ #63-1u39
- 1 สมการชีวิตประเด็นในที่นี้ คือ ถ้าไม่เคารพกันเมื่อไหร่ มันก็จะเริ่มมีวาจาที่ทิ่มแทงกัน บาปอกุศลธรรมทั้งหลายจะมีตามมา ซึ่งในปัจจุบันมีเป็นลักษณะที่เราเรียกกันว่า Hate Speech คือ วาจาที่ก่อให้เกิดความเกลียดชัง ทำให้เกิดการแบ่งแยก แบ่งเป็นฝักเป็นฝ่าย ซึ่งวาจาแบบนี้ มันเป็นมิจฉาวาจา ก็จะมีถ้อยคำที่ทำให้เกิดความทุ่มเถียงกัน เกิดจากการหวงกั้นทุ่มเถียงกันตามมา ที่นี้มันจะจบกันอย่างไร การเคารพและรับฟังความคิดเห็นของผู้ใหญ่ ซึ่งเป็น 1 ใน “อปริหานิยธรรม 7” และ “เชฏฐาปจายนธรรม” คุณธรรมแห่งความอ่อนน้อมถ่อมตน จะนำมาซึ่งความเคารพซึ่งกันและกัน ลงรอยกันได้ นอกจากนี้ ยังมีคำถามจากท่านผู้ฟังและประเด็นที่น่าสนใจอื่น ๆ อีกหลายเรื่อง ที่ได้นำมาสนทนากันในเอพิโสดนี้ #63-1u38
- 1 สมการชีวิต“ความดีตรงนี้แหละ ท่านผู้ฟังเอ้ย เป็นที่พึ่งของเรา เราไม่ใช่ว่าไม่มีที่พึ่งแล้ว ณ ตอนนี้ มีที่พึ่งอยู่ หิริโอตัปปะ ความดีในจิตใจนี่แหละ เป็นจุดที่ให้เราเพิ่งอยู่ ณ วินาทีนี้ เดี๋ยวนี้ ตอนนี้ เราจึงยังไม่ได้ไปหาทำความชั่ว ความผิด ความบาป เราจึงยังไม่ได้ฆ่าตัวตาย ไม่ได้ฆ่าเจ้าหนี้ ไม่ได้ทำสิ่งอะไรที่มันไม่ดี นี่แหละ จุดนี้แหละ เป็นที่พึ่งของเรา แต่มันกำลังถูกสั่นคลอน ถูกสั่นสะเทือนอยู่...” ประเด็นสมการชีวิตในเอพิโสดนี้ เป็นเรื่องราวของท่านผู้ฟังทางบ้านท่านหนึ่งที่ได้เขียนจดหมายส่งมาแชร์ประสบการณ์ชีวิต ที่ต้องเจอกับด้วยทั้งปัญหาเรื่องลูก ปัญหาเรื่องหนี้สินที่ตนเองก็ไม่ได้ก่อ สวดมนต์ไป ๆ น้ำตาก็ไหล ชีวิตถูกบีบคั้น ถูกกดดัน จนเครียดหนัก จึงได้ยกกรณีนี้ขึ้นมาวิเคราะห์ใคร่ครวญเพื่อหาหนทางออก เริ่มต้นด้วยในภายใน ภายในใจของเราก่อน จะต้องมีที่พึ่ง มีกำลังใจสูง ซึ่งสามารถสร้างขึ้นได้ด้วยอจลศรัทธาในพุทโธ ธัมโม สังโฆ ตั้งมั่นเชื่อมั่นในความดีที่เรามี ระลึกถึงความดีตรงนั้นให้ได้ และด้วยจิตที่มีความแจ่มใส จะตั้งสติ มีสัมปชัญญะ จะเกิดปัญญาที่จะเห็นทางออกของปัญหาได้ ทางออกที่ก็อยู่ในจิตใจของเรานี่เอง โดยใช้ธรรมะเข้ามาปรับแก้ ไม่ว่าจะเป็นในเรื่องของทิศทั้ง 6 (หน้าที่ของพ่อแม่ที่มีต่อลูก), สมชีวิตาว่าด้วยเรื่องการแบ่งจ่ายทรัพย์ (การบริหารกระแสเงินเข้า-เงินออก ที่ต้องจ่ายให้ถูกไปใน 4 หน้าที่),[...]
- 1 สมการชีวิต“ข้อนี้สำคัญ จึงต้องการจะเน้นว่า คือบางทีเราทำงานนั่นนี่ เราประมาท เราลืมไป พอเราลืมไปบึ๊บ เราก็ได้รับความเดือดร้อนในลักษณะที่ว่าถูกกามบีบคั้นบ้างล่ะ แต่ตอนนี้เราจะว่างแล้ว โล่งแล้ว ไม่ต้องมีใครมาโทรหา โทรกวน ไม่ต้องตอบคำถามใคร ว่างแล้ว โล่งแล้ว เป็นลักษณะเหมือนกับคุณออกมาจากป่าแล้ว มาอยู่ที่โล่งแจ้ง โล่งว่าง นี่แหละ เราจึงควรที่จะต้องใช้โอกาสนี้ในการที่จะประพฤติธรรม สร้างกุศลบำเพ็ญบุญให้ได้มากๆ” ในเอพิโสดนี้ เนื่องจากตรงกับวันที่ได้มีการกำหนดให้เป็นวันเกษียณอายุของข้าราชการ ประเด็นการสนทนาจึงเป็นเรื่องของ “ชีวิตหลังเกษียณอายุ” ที่ถ้าใครมีตาเห็นช่อง ก็จะพบว่า นี้เป็นโอกาสว่าง คือเหมือนออกมาสู่ที่โล่งแล้ว ตรงจุดที่ออกมาที่โล่งแล้วนี่แหละ ให้ถามตัวเราเองว่า จิตใจของเรา พร้อมมั๊ย? ที่จะรู้ถึงความสุขที่เกิดจากการหลีกออกจากกาม ความสุขที่เกิดจากในภายใน ซึ่งถ้าไม่รู้ อันนี้เราจะอยู่ไม่ผาสุก เพราะฉะนั้นเราจึงจะต้องรู้ให้ได้ว่า ความสุขที่เกิดจากในภายในเป็นอย่างไร เราถึงจะอยู่ผาสุขได้ นอกจากนี้ ยังมีประเด็นเกี่ยวข้องที่น่าสนใจเสริมเพิ่มเติม ไม่ว่าจะเป็น องค์ของผู้ที่ประกอบความเพียร 5 ข้อ, การรู้จักแบ่งจ่ายทรัพย์ให้ถูกต้องใน 4 หน้าที่, การรักษาศีล, เรื่องของการสวดมนต์, หลักที่พึ่ง เมื่อต้องอยู่ในโลกธรรม 8, ความต่างกันของความชอบใจพอใจใน กามสุข กับ สุขที่ได้จากการปฏิบัติธรรม[...]
- 1 สมการชีวิตประเด็นสมการชีวิตในเอพิโสดนี้ เป็นเรื่องของ "คนตกงาน" ในสภาวะเศรษฐกิจที่ย่ำแย่ และวิกฤตการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 มีความเครียด วิตกกังวล เกิดความกดดันขึ้นในภายใน ด้วยเจอกับปัญหารายรับไม่พอรายจ่าย ชักหน้าไม่ถึงหลัง รู้สึกท้อแท้ หมดหวังหมดกำลังใจ ฝันสลาย ซึมเศร้า จะทำอย่างไร? ความหวัง กำลังใจ มาจากที่ไหน? ทำความเข้าใจเหตุและวิธีใน 3 วงนี้ ที่จะช่วยทำให้เกิดมีกำลังใจสูง ด้วยการตั้งไว้ซึ่งความหวังที่ถูกต้อง จะเกิดความมั่นใจ มีกำลังใจ มีตาที่จะเห็นช่องทางออกเห็นทางรอดได้ "ถ้าเราไม่เข้าใจความทุกข์ ไม่กำหนดรู้ความทุกข์ เราก็จะเจอทุกข์อยู่เรื่อย ๆ พอเราเจอทุกข์แบบนี้แล้ว คุณเข้าใจมันได้มั๊ย? เข้าใจโดยเริ่มต้นจากในจิตใจของเรา ความหวังเป็นสิ่งที่เป็นอันตราย เราต้องตั้งไว้ให้ถูก ตั้งไว้ให้ถูกในสิ่งที่เป็นกุศลธรรม ที่เราทำได้เดี๋ยวนี้เลย มีศีล มีศรัทธา เป็นต้น มีศีล มีศรัทธา ตั้งความหวังไว้ถูกต้องแล้ว เราจะมีความมั่นใจ ความมั่นใจนั้น ก็จะทำให้เกิดกำลังใจ มีกำลังใจถูกต้องแล้ว อะไรเป็นมา เป็นไป มันได้หมด อะไรเปลี่ยนแปลงมา เรารับมือได้หมด" #2035-1u0246
- 1 สมการชีวิตพอเราทำความเข้าใจว่า "สุขหรือทุกข์ไม่ได้เกิดขึ้นจากกรรมเก่าโดยส่วนเดียว" จิตใจของเรา ก็จะไม่ได้คิดว่าจะไม่ได้ต้องทำอะไร เพราะมันขึ้นอยู่กับเหตุปัจจัยอื่นด้วย ฉะนั้น ในเมื่อมันขึ้นอยู่ด้วยกับเหตุปัจจัยอื่น เราจึงมีแนวโน้มว่า ในปัจจุบันนี่แหละ ฉันจะทำความดี ซึ่งคนที่ว่าถ้ามีทิฏฐิ มีความเชื่อ มีความเห็นเช่นนี้ว่า "ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว" เขาก็จะทำความดีในปัจจุบัน เพื่อที่จะให้ได้ผลดีในอนาคตต่อไป ในเอพิโสดนี้ จึงได้นำประเด็นต่าง ๆ ที่น่าสนใจมาสนทนาด้วยกันหลายเรื่อง ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการพูดโกหก เพื่อความสบายใจของผู้ป่วย, การที่จะส่งพ่อแม่ไปอยู่ยังสถานพักฟื้นคนชรา, เมื่อเราแค่มีความคิดไม่ดีเพียงเล็กน้อยกับพ่อแม่ที่จู่จี้ขี้บ่น, จริงหรือที่ "ทำดีได้ดีมีที่ไหน ทำชั่วได้ดีมีถมไป", การนำข่าวฉาว ข่าวไม่ดีไปแชร์ต่อ, จริงหรือที่คนเราเกิดมา แล้วมีปัญหา มีทุกข์อยู่ในทุกวันนี้ เป็นเพราะเพียงกรรมเก่า และจริงหรือไม่ที่ถ้าทำบุญแบบนั้นแบบนี้ตามที่มีคนบอก จะทำให้ได้ตามที่หวังในชาติหน้า แนะนำรับฟังเพิ่มเติมได้ที่ Playlists: สมการชีวิต S02E20 #2034-1u0245
- 1 สมการชีวิต"เพราะว่า โลกมนุษย์ของเรามันมีทั้งสุขและทั้งทุกข์ พอ ๆ กัน บางทีก็สำเร็จ บางทีก็ไม่สำเร็จ ขึ้นชื่อว่าความสุขความสำเร็จ เราจะไม่รู้มันได้หรอก ถ้าว่ามันไม่มีทุกข์ ไม่มีความผิดหวัง สองอย่างนี้ มันปนกันมาในโลกของเรา สุขก็มี ทุกข์ก็มี สำเร็จก็มี ผิดหวังก็มี ได้ก็มี เสียก็มี ประเด็นคือ ถ้าเผื่อว่าเราตัดสินใจปฏิเสธหรือยอมรับอะไรด้วยอคติ 4 แล้วไม่สำเร็จ มันจะมาเสียใจอย่างมากเลย" ในเอพิโสดนี้ ได้พูดถึงประเด็นที่ ถ้าต้องยอมรับหรือปฏิเสธอะไรสักอย่างใดอย่างหนึ่ง เราควรมีหลักในการใคร่ครวญพิจารณาอย่างไรบ้าง 1) สิ่งที่ไม่ควรมี คือ "อคติ 4 " ได้แก่ ความลำเอียงเพราะรัก (ฉันทาคติ), ความลำเอียงเพราะโกรธ/ขัดเคือง (โทสาคติ), ความลำเอียงเพราะหลง (โมหาคติ) และ ความลำเอียงเพราะกลัว (ภยาคติ) ซึ่งทั้ง 4 อย่างนี้ ทำให้มีราคะ โทสะ โมหะ เกิดขึ้นในจิตใจ เกิดเป็นความผิดพลาดและเสียใจในภายหลังได้ (Regret) 2) การพิจารณาเข้ามาในทางมรรค 8 เช่น ในเรื่อง การยืมเงิน ให้พิจารณาถึงการแบ่งจ่ายทรัพย์ใน 4 หน้าที่ เจาะจงมาในส่วนที่[...]
- 1 สมการชีวิตอะไรคือ"วัด" ในบริบทนี้ คือ สถานที่ที่สงัด ที่สงบ ไม่ได้มีเสียงอึกทึกครึกโครมมาก เป็นที่ ๆ จะอยู่หลีกเร้นได้ เหมาะกับการประพฤติปฏิบัติให้ดีได้ จึงถ้าเราสามารถทำบ้านให้มีลักษณะตามเกณฑ์ที่เป็นวัดได้ แล้วปฏิบัติตนให้เหมือนเวลาไปวัดด้วยการให้ทาน รักษาศีล เจริญภาวนา เช่น ทำทานด้วยการหยอดกระปุกออมเงินไว้ ตั้งจิตอธิษฐาน แล้วให้บุคคลอื่นนำไปทำให้แทน หรือมีการรักษาศีล มีการเจริญสติอย่างต่อเนื่องสม่ำเสมอ หรือบางทีก็นิมนต์พระไปที่บ้านบ้าง เพื่อเป็นการพบเห็นสมณะผู้ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ จะได้มีการกราบไหว้บูชาบุคคลที่ควรกราบไหว้บูชา และให้มีการฟังธรรม "เพราะฉะนั้น แค่ตั้งจิตระลึกถึงศีลเนี่ย บู้ม!!! เลย จิตใจเราแบบ จะสบายขึ้นมาทันที จุดนั้นมันก็คือเป็นวัดที่บ้านเราแล้ว ทีนี้ วัดที่มันลึกซึ้งขึ้นไป คือ วัดให้อยู่ในใจเรา ให้ในใจของเราเนี่ย มีวัดอยู่ข้างในใจ คือ มีจุดที่มันจะสงบ มีจุดที่มันจะไม่วุ่นวายใจ มีจุดที่มันจะเย็นอยู่ได้ นี่คือให้สร้างวัดที่บ้าน ให้สร้างวัดที่อยู่ในใจ นี้สำคัญ" ในเอพิโสดนี้ จึงได้นำคำถามจากท่านผู้ฟัง และประเด็นต่าง ๆ ที่น่าสนใจมาสนทนากัน ไม่ว่าจะด้วยเรื่องของ... การจัดงานศพสวดอภิธรรมหลายคืน แล้วยังบุญอุทิศส่วนกุศลให้แก่ผู้ตาย แต่วิญญาณผู้ตายได้มาสิงร่างหลานสาว บอกว่าอดอยากหิวโหย ไม่มีอะไรจะกิน[...]
- 1 สมการชีวิต"มาร" คือ ผู้ล้างผลาญความดี ที่จะมักเอาความสุขเล็ก ๆ น้อย ๆ มาเป็นเหยื่อล่อ ให้เราติดกับดัก ด้วยเงื่อนไขให้เราทำความชั่วความบาปอกุศล เพื่อแลกกับสุขเวทนาที่จะได้ ไม่ว่าจะเป็นชื่อเสียง เงินทอง ความก้าวหน้าในหน้าที่การงาน ความร่ำรวย อันเป็นเงื่อนไขสัญญาแลกเปลี่ยนของปีศาจที่เราได้ทำไว้แล้ว ซึ่งเมื่อถูกทวงคืน จะก่อให้เกิดความไม่ดีขึ้นมารุมเร้าในภายหลัง เกิดทุกขเวทนา ตลอดไปจนถึงตกนรก กำเนิดเดรัจฉาน เปรตวิสัย พระพุทธเจ้าเคยตรัสไว้ว่า "ถ้าเผื่อว่า เรารู้ว่ามันไม่ดี แล้วเราทำไป โทษบาป มันน้อยกว่าคนที่ไม่รู้ว่าไม่ดี แล้วทำลงไป" ดังนั้นคนไม่รู้ตัว ทำลงไป มันจึงอันตรายมาก ในที่นี้ พึงมาทำความเข้าใจและแยกแยะให้ถูกต้องด้วยปัญญาใน 3 สิ่งต่อไปนี้ ได้แก่ 1) ร่องรอยของมาร จึงไม่ใช่จะเห็นแก่สุขหรือทุกข์ แต่ให้เห็นในกุศลหรืออกุศล 2) สุข ทุกข์ เกิดได้ ดับได้ เป็นธรรมดา และ 3) ศีลมีค่ามาก อย่าแลกเพียงเพื่อความสุขเล็กน้อย ทางมีอยู่ ปฏิปทามีอยู่ เรารู้ เราทำ ให้ระมัดระวัง ให้รักษาความดีกุศลธรรมของเราให้มันเต็มที่ แยกแยะให้เห็นความดี[...]
- 1 สมการชีวิต"ธรรมทาน" ไม่ใช่แค่สอนธรรมะ แต่เป็นการปฏิบัติธรรมด้วย ตัวอย่างเช่น พระพุทธเจ้าสอนธรรมะ เราก็จะบอกว่าท่านให้ธรรมะเป็นทาน หรือแม้ท่านไม่ตรัสสอน แต่ก็ทรงปฏิบัติธรรมอยู่ในตัวเองอยู่แล้ว ธรรมะไม่ได้มาสุดที่เรา แต่มันเป็นการให้ออก การให้ออกตรงนี้คือ การที่คุณเอามาทำ เอามาปฏิบัติ เพราะ ทาน คือ การนำออก สละออกไป ถ้าคุณไม่มี คุณจะสละออกได้อย่างไร ดังนั้น คุณจึงต้องมี ต้องมีธรรมะก่อน พอคุณมีธรรมะแล้ว จะทำอย่างไรให้มันออกไปได้ ก็ต้องด้วยการทำ ด้วยการปฏิบัติ เช่น จะรักษาศีล คุณก็ไม่ไปฆ่าสัตว์ตัดชีวิต หรือจะมีโอกาสทำผิดลูกเมียเขา คุณก็ไม่ทำ ซึ่งเมื่อคุณปฏิบัติธรรมะอยู่ นั่นก็คือ "ธรรมทาน" แล้ว ในเอพิโสดนี้ จึงได้นำประเด็นต่าง ๆ มาสนทนากัน ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของการทำบุญทำทานในรูปแบบต่าง ๆ เหตุที่นิยมทำบุญกับพระ ทำบุญทำทานอย่างไรให้ผลมาก ธรรมทาน vs อามิสทาน ศรัทธาหรืองมงาย จะรู้ได้อย่างไร? เรื่องของพระประจำวันเกิด และสุดท้ายเป็นเรื่องของการพาแมวหมาไปทำหมัน จะเป็นบาปหรือไหม? แนะนำรับฟังเพิ่มเติมได้ที่ Playlists: ขุดเพชรในพระไตรปิฏก S04E12 ,[...]
- “มนุษย์ปรารถนาความไม่มีศัตรู ปรารถนาความเจริญรุ่งเรือง ปรารถนาความไม่จองเวร ปรารถนาความไม่มีโทษ ต่างก็รักสุข ต่างก็เกลียดทุกข์ แต่ทำไมยังมีคนจองเวรกัน มีศัตรูกัน ให้โทษกัน เบียดเบียนกันหาความทุกข์ให้กัน นำความสุขออกไปจากกันได้” พระพุทธเจ้าทรงตรัสตอบแก่ท้าวสักกะไว้ว่า “เพราะมีความริษยาและมีความตระหนี่” “อยู่ยาก ๆ เพราะกระแสมันแรง” ที่พูด ๆ กันอยู่ นี้เป็นเพราะกระแสของตัณหาที่มันซัดสาดถาโถม บีบคั้นรึงรัด ประเด็นในเอพิโสดนี้ จึงกล่าวถึงว่า ถ้าได้มาปฏิบัติในแนวทางธรรมะแล้ว จะหาความสุข จะแต่งหน้าทำสวย หรือจะทำงาน มีการลงทุนให้ได้ผลงอกเงยได้หรือไม่ และการปฏิบัติตนให้เสมอเช่นผ้าขี้ริ้ว คนเรามีสองตา ตาที่ 1 คือ เห็นช่องทางที่จะทำให้เกิดทรัพย์ ส่วนตาที่ 2 คือ ตาที่เห็นสิ่งที่เป็นกุศลเป็นอกุศล เห็นธรรมที่มีโทษไม่มีโทษ ถ้าลำพังมีแค่ตาเดียว หรือตาบอด อาจกะระยะผิดพลาดได้ ดังนั้นควรให้มีตาทั้งสองข้าง หรืออย่างน้อยก็ให้มีตาที่ 2 คือ อย่าผิดศีล ด้วยความโลภ ด้วยความอยาก ด้วยความเพ่งเล็งเอาทรัพย์ ความตระหนี่ ความห่วงกั้น ความจับอกจับใจ ความสงบมัวเมาในความยินดี ความปลงใจรัก[...]
- 1 สมการชีวิตเมื่อมาปฏิธรรม แล้วมีคนมาจีบ จะปฏิเสธหรือคบเป็นเพื่อน ทำอย่างไรดี? ทั้งนี้ ก็ขึ้นอยู่กับว่าจิตเรานั้นยังน้อมไปในทางกามหรือไม่ ความรักที่เป็นสิ่งสวยงาม แต่ถ้าเจือด้วยกาม มันจะไม่สวยแล้ว เพราะกามคือเครื่องเศร้าหมองของใจ แต่ถ้าจะเสพกาม เงื่อนไขก็คืออย่าให้เกินกรอบของศีล อย่าผิดศีล หรือต่อให้เขาไม่ได้มาจีบ เป็นเพื่อนร่วมงานกัน เป็นคนที่ไปเจอในที่ใด ๆ ก็ตาม ถ้าเขาเป็นคนไม่มีศีล ไม่มีศรัทธา ไม่มีจาคะ ไม่มีปัญญา ก็ไม่ควรจะไปคบหาพูดคุยด้วย รูปแบบการดำเนินชีวิต ไม่ได้จะต้องขึ้นกับการแต่งงานเพียงอย่างเดียว คุณจะอยู่คนเดียวก็ได้ แต่ให้มีกัลยาณมิตร มีเพื่อนดีคอยรักษาเมื่อเวลาเห็นเพื่อนประมาทพลาดพลั้ง คอยดูแลกัน หรือแม้บางทีอยู่คนเดียวแล้วมันเหงาอ้างว้างไม่มีใคร ก็อย่าเหงา แต่ให้รู้จักหาความสงบความสุขในภายใน ต้องรู้จักที่จะหาที่จะเห็นความสุขจากการอยู่สงบ จากการที่อยู่สงัดในที่ ๆ ไม่ต้องวุ่นวาย ซึ่งจะถึงจุดนั้นได้ คุณต้องมีสติ อาศัยการฝึกฝน เมื่อได้แล้ว มันคุ้มค่ากว่ากันมาก นอกจากนี้ ยังมีประเด็นน่าสนใจที่ได้มาพูดคุยกันในเอพิโสดนี้อีกหลายเรื่อง ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของการหลีกเลี่ยงคนไม่ดี การดูการละเล่นที่เป็นข้าศึกแก่กุศล และการนำของที่ไหว้เจ้าแล้วไปตักบาตรถวายพระ แนะนำรับฟังเพิ่มเติมได้ที่ Playlists: สมการชีวิต S01E11 #2028-1u0239
- 1 สมการชีวิตพระพุทธเจ้าตรัสสอนไว้ถึง “อย่าเห็นแก่สั้น อย่าเห็นแก่ยาว เวรย่อมระงับด้วยการไม่จองเวร” คืออย่าจองเวรให้ยืดยื้อ และอย่าแตกร้าวจากมิตรให้เร็วนัก อย่างไรเรียกว่าเร็วนัก อย่างไรเรียกว่าอย่าแตกร้าว ในเอพิโสดนี้ จึงเป็นประเด็นในการพิจารณาใคร่ครวญให้ถูกต้องที่จะเลิกคบใครสักคนหรือจะสมานมิตรต่อไป อันดับแรก จึงต้องทำความเข้าใจในเรื่องของทิศทั้ง 6 ด้วยการทำหน้าที่ของเราต่อผู้คนรอบข้างให้ถูกต้อง ถัดมาคือ แยกแยะปัจจัยที่ทำให้กระทบกระทั่ง เป็นจุดที่เกิดรอยแตกร้าวขึ้น โดยแบ่งเป็น 2 ส่วน คือ ส่วนที่เนื่องด้วยกาม และ ส่วนที่หลีกออกจากกาม ในทั้งสองส่วนนี้ถ้ามีการกระทบกระทั่งแล้ว อย่าเห็นแก่ส่วนที่เป็นสุขหรือทุกข์ แต่ให้เห็นว่า ถ้าเป็นเรื่องของกาม ก็อย่าแตกกันเพราะด้วยเหตุนี้ ให้อดทนเอา อย่าเก็บเอาเรื่องที่ทำให้ไม่พอใจไว้แล้วมาผูกเวร แต่ถ้าเป็นเรื่องของการผิดศีล ต้องพิจารณาให้ดี ๆ ถ้ามีช่อง เราต้องพูด ต้องตักเตือนกันด้วยการหาวิธีพูดทำความเข้าใจในตอนที่เขาอารมณ์ดี และเราก็อารมณ์ดีด้วย แต่ถ้าพูดคุยแล้ว มันไม่ดีไม่ได้ จะเลิกหรือจะปรับปรุงอย่างไร ก็ให้เน้นมารักษาที่จิตใจของเราเอง ด้วยให้มีกรุณา มีอุเบกขา ไม่คิดในทางไม่ดีกับเขา แล้วค่อย ๆ ลดการติดต่อสื่อสาร ซึ่งลักษณะนี้จะเป็นการแยกกันด้วยดี อย่างไรก็ตาม สิ่งที่ดีที่สุด ก็คือ การเปลี่ยนจากศัตรูให้เป็นมิตร เปลี่ยนเขาจากคนไม่ดีให้เป็นคนดี เปลี่ยนจากคนมีปัญญาน้อย[...]
- 1 สมการชีวิตในเอพิโสดนี้ มีประเด็นสนทนาที่น่าสนใจในหลายเรื่อง ไม่ว่าจะเกี่ยวกับการมีสมาธิในการทำงาน พฤติกรรมเสพติดในสิ่งใดสิ่งหนึ่งหรือเรื่องใดเรื่องหนึ่ง การเสริมดวงเมื่อดวงตก เมื่อเกิดความอิจฉาต่อผู้อื่น และการพูดตรงเกินไป โดยจะมีวิธีนำธรรมะเข้ามาปรับใช้สอดแทรกได้อย่างไร ในปัจจุบันนี้ มนุษย์เราถูกบีบคั้นเบียดเบียนด้วยกามอยู่ตลอดเวลา ไม่ว่าจะทางหู ตา จมูก ลิ้น กาย ใจ (อายตนะ 6) หรือ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ (ขันธ์ 5) ไม่ช่องทางใดก็ช่องทางหนึ่งทำให้มีการกระทบกระทั่ง กระแทกกระทั้น ด่าว่ากัน กระแนะกระแหน ทิ่มแทงกันด้วยวาจาที่ไม่ถูกต้อง นี้เป็นไปด้วยอำนาจของ “กาม” จึงทำให้เป็นแบบนี้ ซึ่งการที่จะกำจัดมันให้ออกไปได้ ก็ต้องด้วยกุศลธรรมเท่านั้น ต้องเอาน้ำดีไล่น้ำเสียเท่านั้น เพราะฉะนั้น จึงต้องรักษาจิตของเราไว้อย่างดี ด้วยการปฏิบัติตามอริยมรรคมีองค์ 8 (ศีล สมาธิ ปัญญา) โดยเริ่มจากการตั้งสติขึ้น "สติ" จะเป็นตัวช่วยทำให้เราสามารถจดจ่อ (Focus) อยู่ตรงจุดที่จะทำให้เกิดสมาธิได้ เหมือนกับการเอาแว่นขยายมารวมแสง ที่ถ้าเราปรับจุดรวมแสงให้พอดีแล้ว พลังงานมันก็มาก ซึ่งเมื่อมีความคิดที่เป็นเครื่องกวนเกิดขึ้น อย่าสนใจ อย่าตามมันไป[...]
- 1 สมการชีวิต"มองโลกแต่ในแง่ร้ายอย่างเดียว ก็ไม่ดี มองแต่แง่ดีอย่างเดียว ก็ไม่ได้ มองแต่แง่ร้าย ก็เป็นความคิดอกุศล จิตใจหยาบกระด้างขวางโลก มองแต่ในแง่ดี ก็กลายเป็นคนโลกสวย ไม่รอบคอบ ถูกเอารัดเอาเปรียบ ถูกเขาหลอก" อันดับแรก จึงต้องปรับจิตของเราให้อยู่ดำเนินอยู่ในทางคือมรรคแปดเสียก่อน มองด้วยปัญญา ทำจิตให้เป็นอารมณ์อันเดียว เพราะถ้าจิตไม่เป็นสมาธิแล้ว จะไม่สามารถเข้าใจในปัญหาแยกแยะเรื่องราวต่างๆ ไม่ได้ งง ๆ มึน ๆ ก็จะติดกับดักของสุดโต่งทั้งสองข้างได้ ปัญญาจึงเป็นจุดที่สำคัญ ที่เมื่อมีสถานการณ์เกิดขึ้น ไม่ว่าจะเรื่องเล็กหรือเรื่องใหญ่ในชีวิต อย่ามองแต่ในแง่ดีหรือแง่ร้ายเพียงอย่างเดียว ปัญญาที่มีความแหลมคม แทงตลอดเข้าใจเรื่องราวต่าง ๆ สามารถปาดส่วนที่เป็นขี้ริ้ว โทสาคติ ความลำเอียงเพราะชัง ความไม่พอใจ ความเห็นแย้ง ความคิดอกุศลกับคนนั้นคนนี้ คิดไม่ดีอย่างนั้นอย่างนี้ ปาดเอาความประมาทเลินเล่อ ความลำเอียงเพราะชอบ ส่วนที่เผลอเพลิน ไม่รอบคอบ ออกไป เมื่อเฉือนปาดสิ่งที่เป็นอกุศลออกไปได้แล้ว อุเบกขาก็จะมีมาด้วยกันกับเมตตา ใส่มาด้วยกันกับปัญญาแล้วเลย จะเป็นคนใจดีมีเมตตาช่วยเหลือเพื่อนมนุษย์ โดยที่ไม่ถูกฉกฉวยโอกาส มีจิตใจกว้างขวางขึ้นมาได้ เปลี่ยนวิกฤติให้เป็นโอกาสได้ ต้องเรียนรู้ด้วยปัญญา #2025-1u0236
- 1 สมการชีวิตในเอพิโสดนี้ มีประเด็นสนทนาที่น่าสนใจ โดยเริ่มที่ ทำอย่างไรไม่ให้จิตใจหดหู่เมื่อคิดถึงบ้าน การสวดมนต์ช่วยในการฝึกจิตได้หรือไม่ วิธีแก้ความง่วงหรือความขี้เกียจ (ถีนมิทธะ) การเพ่งจิตไปที่ที่ควร การนอนไม่หลับ และสิ่งที่ไม่ควรถวายพระ การฝึกสติ ฝึกสมาธิ ให้มีกำลังนั้น แม้ใน 1 ชั่วโมง 59 นาที 60 วินาที ต่อให้เราไม่ได้สมาธิเลย มีความฟุ้งซ่านเกิดขึ้นตลอด แต่สิ่งที่เราได้ นั่นคือ ความเพียร ที่มีการทำความเพียร มีวิริยะได้ เพราะเมื่อมีศรัทธา เกิดความเลื่อมใส จึงสามารถมาทำความเพียร มามีสติได้ การฝึกสติให้มีกำลัง ทำให้เกิดเป็นสมาธิได้ เปรียบเหมือนกับสร้างบ้านชั้นสอง ที่ต้องสร้างชั้นหนึ่งเป็นฐานรากก่อน แล้วจึงสร้างอีกชั้นหนึ่ง จิตของเราก็เช่นกัน ต้องฝึกให้มาในทางดีได้ ให้มีสัมมาสติ ให้มีอริยมรรคมีองค์แปด ที่มีสัมมาทิฏฐิ เป็นองค์นำหน้า ควบคู่ไปกับสัมนาในข้ออื่น ๆ รวมลงเข้ากันได้จนแวดล้อมเป็นสัมมาสมาธิ และเมื่อจิตใจเราสามารถที่จะตั้งอยู่มาในทางที่จะดีได้แล้ว ไม่ใช่แค่ว่าจะสามารถแก้ปัญหาต่าง ๆ ในชีวิตได้เท่านั้น ยังสามารถพาเราดำเนินต่อไปจนถึงนิพพานได้ด้วยเลย #2024-1u0235
- 1 สมการชีวิตในความที่เป็นผู้ป่วยขั้นสุดท้ายหรือป่วยเป็นโรคที่รักษาไม่หาย ก็ตาม สิ่งที่หวังนั้น ไม่ได้หวังที่จะหาย แต่หวังที่จะทำอย่างไรให้จิตใจยังผาสุกอยู่ได้แม้ยามเจ็บป่วยไข้เช่นนี้ ก่อนอื่นจึงต้องมาทำความเข้าใจให้ถูกต้องในประเด็นต่อไปนี้ การเป็น "ผู้ป่วยระยะสุดท้าย" ไม่ใช่ว่าจะให้คุณหมดกำลังใจ หมดอาลัยตายอยาก แต่คำนี้ในทางการแพทย์ คือ การเปลี่ยนเป้าหมายการรักษา จากที่จะรักษาให้หาย ก็เปลี่ยนแผนการรักษาให้อย่างน้อยผู้ป่วยได้มีคุณภาพชีวิตที่ดี ตั้งแต่ตอนที่อยู่ไปจนกว่าจะสิ้นลมหายใจ โดยรักษาไปตามอาการ เพื่อบรรเทาอาการเจ็บปวดให้ลดลงได้บ้าง ยืดชีวิตไว้ให้นานที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ หรือท้ายที่สุดให้ตายไปอย่างสงบ แต่ประเด็นสำคัญในที่นี้ ก็คือ "ป่วยกายแล้ว อย่าให้ป่วยใจ" เราจึงต้องรักษาใจไว้ ด้วยการมีกาย วาจา และใจ อันเป็นสุจริต โดยเริ่มจากรักษาศีลและเจริญพรหมวิหารไว้ให้ดี ทำจิตใจให้สบาย เป็นผู้ป่วยที่ให้สามารถดูแลได้ง่าย และเป็นผู้มีความผาสุกในปัจจุบัน ซึ่งในบางครั้งบางคราวที่เรามีกำลังใจสูง ให้หาช่องทางสักจุดหนึ่งจุดหนึ่งที่จะมาระลึกนึกถึงบุญกุศลตรงนี้ให้ได้ ร่างกายของเรานี้ มันคร่ำคร่า รักษาไม่หายแล้ว เปรียบเหมือนหม้อดินที่ทั้งเก่าและแตกหัก พระพุทธเจ้าตรัสไว้ถึง "ธรรมะ 5 ข้อ"ที่ถ้าผู้เจ็บป่วยไข้พิจารณาอยู่เนื่อง ๆ แล้ว จะทำให้เป็นผู้มีอินทรีย์แก่กล้า สามารถปล่อยวางได้ ไม่เข้าไปยึดถือในสิ่งต่าง ๆ ไปจนถึงสามารถทำให้แจ้งได้ ซึ่งเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติชนิดที่หาอาสวะไม่ได้ ในเวลาไม่นาน ดังนั้น เราจึงไม่ต้องกลัวตายเลย[...]
- 1 สมการชีวิตในภาวะวิกฤติโควิด 19 จะทำอย่างไรให้เราปรับตัวเข้าสู่การดำเนินชีวิตในวิถีแบบใหม่ (New Normal) เพื่อให้มีความผาสุกอยู่ได้โดยเร็ว พระพุทธเจ้าตรัสเตือนเอาไว้ถึงภัยในอนาคต 5 อย่าง เราจึงต้องให้มีธรรมะก่อน เพื่อที่ว่าเมื่อถึงจุดนั้นแล้วจะมีความผาสุกเกิดขึ้นได้ ซึ่งในเรื่องของการปรับตัวนั้น อย่างแรกเลย เราต้องมีศรัทธา มีความมั่นใจก่อนในความที่เมื่อเปลี่ยนวิถีชีวิตใหม่แล้วจะทำให้เรามีความผาสุกได้ ปัญญาจะเป็นตัวที่มาเสริมศรัทธา ให้มีความมั่นใจในการเปลี่ยนวิถีการดำเนินชีวิต อย่างที่ 2 ถ้าอยู่สบายเกินไป อาจจะทำให้เกิดอกุศลธรรมได้ เช่น ในภาวะปกติ ก็มีความเพลิดเพลินไปในสถานบันเทิงต่าง ๆ กินดื่มเที่ยว ไม่มีวินัย ใช้จ่ายเกินตัว แต่พอเกิดวิกฤตขึ้น สถานการณ์มันเปลี่ยนแปลงไป จะต้องประหยัดมัธยัสถ์ คิดให้รอบคอบ มีการทำงบประมาณ (Budget) ซึ่งเมื่ออยู่ลำบากแล้วกุศลธรรมมันเกิด การอยู่ลำบากจึงดีกว่า เปรียบไว้กับการดัดลูกศรที่มันงอให้ตรง ประเด็นในที่นี้ คือ ไม่ได้เห็นแก่ความสบายหรือความลำบาก แต่เห็นแก่ความดีที่มันจะเกิดขึ้น จะดีหรือไม่ดี ไม่ใช่ดูที่ว่า สุขมากหรือสุขน้อย แต่ดูที่กุศลธรรมที่เรามี มันเป็นสิ่งที่ดีเราจึงทำ ซึ่งทั้งสองข้อนี้ จะทำให้เราสามารถปรับตัวได้โดยง่ายไม่ลำบากเกินไป “ตู้ปันสุข” เป็นการแสดงออกให้เห็นถึงความดี มีการให้ทาน เป็นการสงเคราะห์ เป็นสิ่งที่ควรทำ และที่สำคัญ อย่าทำให้บุญของเราเศร้าหมอง[...]
- 1 สมการชีวิตไม่ว่าการงานประเภทไหนก็ตาม ถ้าเราทำไปด้วยความอยาก ที่เขาเรียกกันว่า แพชชั่น (Passion) ซึ่งความอยากนี้ มันมีกับดักของมัน ถ้าเราตกลงไปในกับดักของความอยากแล้ว เราพลาดเลย ในเอพิโสดนี้ จึงมาทำความเข้าใจประเด็นในเรื่องนี้กัน ความอยากและความกลัว ที่เป็นสุดโต่ง 2 ทางนั้น มันคอยดักเราไว้ทั้ง 2 ด้าน แต่ก็จะมีตรงกลาง ที่เป็นทางรอด เป็นทางสายกลางให้ดำเนินไปได้ เป็นช่องที่จะไม่ให้เราติดกับดักของความอยาก คือตัณหา คือปัญหา ที่จะทำให้เกิดความยึดถือ ที่เมื่อเพ่งจดจ่อลงไป มันจะเกิดเป็นมิจฉาสมาธิ ก่อให้เกิดความเผลอเพลินไป เป็นความไม่รู้ เป็นอวิชชา และเมื่อมีตัณหา มีอวิชชาพอกพูนกัน มันไม่รู้จักอิ่มไม่รู้จักพอ จึงต้องเริ่มด้วย "ฉันทะ" คือ ความพอใจ เป็นช่องที่ถ้ามาถูกทางแล้ว จะทำให้เกิดความเพียร ไม่มากไม่น้อยเกินไป เพราะถ้ามากเกินไปก็จะกลายเป็นตัณหา และถ้าน้อยเกินไปก็จัดเป็นตัณหาอีกแบบหนึ่ง มันจะหลุดไปสุดโต่ง 2 ข้าง จึงต้องทำให้มันตรง ๆ ทรงอยู่ได้ ตั้งอยู่ได้ เป็นสมาธิ พอเรามีสมาธิด้วยฉันทะ มีความเพียรที่พอดี และเมื่อทำอะไรด้วยความยึดถือที่ลดลงแล้ว มันจะมีช่องให้กุศลคือปัญญาเพิ่มขึ้นได้ จะมีความพอใจ[...]
- 1 สมการชีวิตเมื่อเราหายป่วย รอดมาได้ ยังไม่ตาย นี้คือบุญแล้ว ต้องมีความยินดี เพราะ ชีวิตเป็นของมีค่า สามารถที่จะสร้างความดีได้ ให้เราตั้งไว้ซึ่งความดีก่อน เปรียบเหมือนม้าอาชาไนยที่โดนแทงด้วยปฏัก ทิ่มเข้าไปถึงหนังทะลุเนื้อถึงในกระดูกแล้ว จ่ออยู่กับปากความตายแล้ว แต่รอดมาได้ จึงยิ่งต้องรีบเร่งทำความเพียร เป็นสิ่งที่ต้องระลึกนึกถึงไว้ก่อนเลย หลังจากนั้น ถ้าเจอสิ่งไม่ดี เป็นทุกขเวทนาที่เกิดขึ้น ก็ยิ่งต้องมีสติสัมปชัญญะรักษาความดีของเราไว้ให้ดีมากขึ้น ด้วยความเมตตาและอดทน ยิ่งต้องเตรียมพร้อมและไม่ประมาท มีสติสำรวมระวังไม่ให้บาปอกุศลนั้นเกิดขึ้น "จิตสุดท้าย" จึงมีความสำคัญ เพราะถ้าเราไม่ได้ฝึกนิสัยในการคิดถึงเรื่องดี ๆ เอาไว้มาก่อน สิ่งอะไรที่เราทำไว้ในกาลก่อน ไม่ว่าจะดีหรือไม่ดีอย่างไรก็ตาม มันจะทอดตามมาเหมือนเงาตามตัว ในขณะที่เรากำลังจะตาย ก็มีความน่าจะเป็น (Probability) ที่เป็นไปได้สูงว่าเราจะไประลึกถึงเรื่องอะไรที่เราทำไว้มาก ๆ ดังนั้นอยู่ที่ว่า เราจะสามารถตั้งจิตมีสติระลึกถึงความดีของเราไว้ได้ไหม ตรงนี้จึงมีความเสี่ยง เป็นความไม่แน่นอน ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ อย่างไรก็ดี ก็ยังพอที่จะควบคุมความน่าจะเป็นหรือความเสี่ยงนี้ได้ ด้วยการสร้างเหตุปัจจัยที่มันถูกต้อง ด้วยการทำสิ่งที่แน่นอน นั่นคือ ความเป็นโสดาบัน เป็นผู้ถึงแล้วซึ่งกระแส มีการตรัสรู้พร้อมเป็นเบื้องหน้า มีความไม่ตกต่ำเป็นธรรมดาแน่นอน ให้เราไม่ประมาท มีการเตรียมตัวก่อนที่จะตาย ด้วยการตั้งสติไว้ตลอดเวลา ระลึกถึงความดีที่เรามีที่เราทำไว้ให้ได้ มีสติสัมปชัญญะรอคอยการตาย[...]
- 1 สมการชีวิต“หวังว่าจะได้รับโอกาสจากสังคม ได้รับความรักจากคนอื่น ก็ต้องเริ่มด้วยการรักตัวเองก่อน ต้องเริ่มให้โอกาสตัวเองก่อน ความหวัง จริง ๆ นั้น หมายถึง กำลังใจ ต้นทุนคนเราไม่เท่ากัน ประเด็นสำคัญจึงอยู่ที่การพัฒนาตน” “กำลังใจ” คือความหวัง คือความตั้งใจ จะเกิดขึ้นจากในภายในได้ ต้องมีความกล้า กล้าในการที่จะตัดสินใจ ทำไมจึงใช้คำว่า “ตัด” ทำไมจึงใช้คำว่า “ใจ” เพราะต้องตัด ต้องละ สิ่งที่ไม่ดีออกจากในใจของเรา คุณจะตัดเชือกเก่า ๆ ตัดความอาฆาตเก่า ๆ ตัดเรื่องที่ไม่ดีเก่า ๆ ก็ต้องตัดที่ใจตรงนี้ให้ได้ ตัดออก จึงคือ “ตัดสินใจ” พอเราให้โอกาสตัวเอง รักตัวเองแบบนี้แล้ว เราจะมีความหวัง มีกำลังใจ มีความกล้า ที่จะทำให้เราไม่เกียจคร้าน ทำให้เรามีความอดทนอดกลั้น ไม่ถือโทษโกรธผู้อื่น และทำให้เรามีความรับผิดชอบตนเอง เกิดการพัฒนาตนเองได้ เปลี่ยนแปลงจากภายในออกมาเป็นภายนอก สิ่งแวดล้อมมันเปลี่ยนแปลงไปตามทันที เราจะได้รับความรัก ได้รับโอกาสจากคนอื่น ด้วยความดีจากข้างในที่เรามี มาเป็นฐาน ทำให้ชีวิตเราดีขึ้น ๆ ได้ ซึ่งความดีมันเกิดได้เดี๋ยวนี้เลย[...]
- 1 สมการชีวิต"ความผาสุก" ตรงนี้สำคัญ ในสถานการณ์ที่คับขันอย่างนี้ มีความบีบคั้นหวงกั้น เต็มไปด้วยภัยต่าง ๆ ทั้งในเรื่องสุขภาพร่างกาย โรคภัยไข้เจ็บ เศรษฐกิจสังคม แต่ถ้าเรามีจิตใจที่มีกำลังใจสูง ก็จะมีความผาสุกอยู่ได้ ไม่ใช่อยู่ด้วยความโกรธ ความกลัว ไม่ใช่ได้ด้วยการยื้อแย่งแข่งดีแข่งเด่น แต่อยู่ได้ด้วยความเมตตา ด้วยความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ ด้วยการแบ่งปัน และต้องอยู่ด้วยอริยมรรคมีองค์ 8 ซึ่งเมื่อพูดถึงความเมตตาแล้ว ก็ต้องมาพร้อมด้วยกันกับ กรุณา มุทิตา และอุเบกขา ซึ่งเป็นพรหมวิหาร 4 ที่ต้องมาด้วยกัน ดังนั้น เราจึงต้องเพ่งจิตของเราไว้ให้ถูก เล็งเห็นจุดอะไรที่จะมีผลดีในช่วงวิกฤตเช่นนี้ได้บ้าง ผลดีในที่นี้คือ ในเรื่องสามัญญผล เป็นเรื่องศีล สมาธิ ปัญญา เป็นเรื่องมรรคเรื่องทางสายกลาง โดยเริ่มจากการฝึกสติ ตั้งสติเพื่อรักษาความดีในจุดนี้ของเราเอาไว้ คำว่า "บุญ" เป็นชื่อของความสุข จะทำให้เกิดบุญได้ด้วย ทาน ศีล และภาวนา ซึ่งความสุขที่แท้จริง ก็คือ การกำจัดกิเลสที่อยู่ในใจของเราออกไปให้ได้ด้วยการภาวนาหรือการพัฒนาจิต และผลที่หวังได้ 4 อย่าง จากการสร้างบุญไม่ว่าจะด้วยทาน ศีล หรือภาวนาก็ตาม นั่นคือ[...]
- 1 สมการชีวิตประเด็นเรื่องการกลั่นแกล้ง รุมด่า ให้ร้าย คุกคามกันผ่านโลกไซเบอร์/ทางอินเทอร์เน็ต (Cyber Bullying) ซึ่งบางครั้งก็ขยายผลทำให้เป็นโรคซึมเศร้า มีการใช้ความรุนแรงทางกายและวาจา หรือจนถึงการฆ่าตัวตาย ในเอพิโสดนี้ จะมีคำตอบที่เป็นไปตามธรรม เป็นทางสายกลาง เป็นทางออกได้ การที่เราไม่ด่าตอบ ไม่ว่าตอบ ไม่ทำร้ายตอบ อดทนไว้ ชื่อว่ารักษาคนอื่นด้วย เพราะว่าจิตใจที่มีความอดทน ก็คือ การไม่เบียดเบียน และถ้าจะให้ได้ผลที่ยิ่งขึ้นไปจากการที่เราไม่โกรธตอบ จิตเรามีเมตตาอยู่ได้แน่นอน เราสามารถตั้งจิตไว้อันเป็นไปด้วยกับเมตตา ตั้งจิตไว้อันเป็นไปด้วยกับความรักใคร่ เอ็นดู ถ้าเรามีการอดทน มีการไม่เบียดเบียน มีเมตตาจิต มีความรักใคร่เอ็นดู การทำแบบนี้ชื่อว่า เป็นการรักษาตนเองด้วย วิธีการในทางธรรมวินัยนี้ พระพุทธเจ้าได้เปลี่ยนจากศัตรูให้เป็นมิตร ก็ด้วยใช้คำว่า "มิตร" นี่แหละ ซึ่ง "มิตตะ" ก็มาจากรากศัพท์คำเดียวกันกับ "เมตตา" นั่นเอง ควรเริ่มที่ตัวเราเองก่อน ด้วยการไม่ผูกเวร ด้วยการอาศัยเมตตาเป็นธรรมะที่ชนะสิ่งต่าง ๆ ได้ อาศัยเมตตาที่จะทำให้จิตใจของเรานั้นกว้างขวาง เป็นมหัคคตะ ไม่เว้นแม้แต่คนที่เขาแกล้งเรา ให้แผ่เมตตาให้เขาไปเลย ให้โดยที่ไม่มีขีดจำกัด ให้โดยที่ไม่ต้องเว้นวรรค ไม่ต้องเว้นว่าง ให้ได้เต็มที่[...]
- 1 สมการชีวิตจุดที่จะเป็นตัวป้องกันเราจากความเครียดและความกลัว คือ ต้องรู้จักปรับจิตของเราให้ไปอยู่ในจุดที่มันสบายคือสติ สตินี้เป็นตัวที่จับจิตของเราไปวางไว้ตรงจุดที่เราจะมีความสบายใจได้ นั่นคือสมาธิ ถ้ามีสติแล้ว สมาธิจะเกิดขึ้นได้ เพราะฉะนั้น สติต้องตั้งไว้ให้ดีเลย ต้องมีกำลัง ยิ่งถ้าผัสสะแรงเท่าไร เสายิ่งก็ต้องยิ่งมั่นคง หลักการทำงานนั้น เหมือนกันในเรื่องของไวรัสกับกิเลส หรือ ยากับมรรค ซึ่งมีหลักการทำงานคล้าย ๆ กัน มรรค 8 เป็นทั้งยาป้องกัน เป็นวัคซีน เป็นยารักษา เป็นสูตรยาที่พระพุทธเจ้าได้คิดไว้ดีแล้ว แต่มรรค 8 ทั้งที่อยู่ในตำราคัมภีร์ ทั้งที่อยู่ในความจำในสมอง หรือ มรรค 8 ของครูบาอาจารย์ที่ท่านเจริญทำได้อย่างดีแล้ว หรือแม้แต่ของพระพุทธเจ้า ก็ตาม ก็เป็นของท่าน ยังไม่มาเป็นของเรา มันยังไม่เข้าสู่ระบบภูมิคุ้มกัน (Immune systems) ของร่างกาย ยังไม่เข้าไปสู่จิตใจของเรา ดังนั้น จึงต้องมีการฝึกทำบ่อย ๆ ฝึกทำให้มาก ๆ เป็นการเจริญ เป็นการพัฒนา เป็นการภาวนาคือภาวิตา ที่เมื่อเจริญให้มากแล้วทำให้มากแล้ว มรรค 8 นั้น จะเข้าไปในจิตใจของเราได้[...]
- 1 สมการชีวิตจะรับมือกับไวรัสได้ ก็ต้องทำงานให้เหมือนไวรัส คือ มีความสามัคคีความร่วมมือ ความเป็นหนึ่งเดียวกัน นี้เป็นสิ่งที่ไม่เห็นตัว ที่จะมาประสานสิ่งที่เห็นตัวให้เข้ากันได้ เช่น จำนวนหน้ากาก จำนวนบุคลากรทางการแพทย์ จำนวนเครื่องช่วยหายใจ หรือการให้ข้อมูลตามความเป็นจริงต่าง ๆ ที่ถ้าเมื่อเรามีความสามัคคีกันแล้ว จะชนะไวรัสนี้ได้ อย่างเช่นเหล่าเจ้าลิจฉวีแห่งแคว้นวัชชีที่มี อปริหานิยธรรม คือ ธรรมเป็นที่ตั้งแห่งความไม่เสื่อม 7 ประการ ไวรัสเวลามันทำลาย มันทำลายมาจากภายใน จะสู้กับมันได้ ก็ต้องทำจากภายในเช่นกัน โดยต้องมีพรหมวิหาร มีศีล ซึ่งจะเป็นจุดที่ทำให้ภายในใจของเรานั้น มีความสบายใจได้ อดทนได้ แม้เขาจะทำอย่างนั้น ว่าอย่างนี้ บางคนเกิดทำผิดพลาด จะด่าจะว่ากัน เราจะอารมณ์เสีย ๆ เอง จึงต้องอุเบกขา ให้ภายในมีศีล มีอุเบกขา ให้เหมือนกับเจ้าไวรัสที่ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ เพราะมันทำจากภายใน โดยไม่เห็นตัว เมื่อเรารักษาความดีของเราไว้ด้วย 3 ข้อนี้; สามัคคี ศีล และพรหมวิหาร อย่างต่อเนื่องติดต่อกันไม่ขาดสายแล้ว เวลานั้นอยู่ข้างเรา เราจะชนะได้ สามารถมีชัยชนะไม่ใช่แค่กับไวรัสธรรมดา ๆ แต่ยังสามารถที่จะเอาชนะภัยอื่น[...]
- 1 สมการชีวิตอะไรที่เมื่อรู้แล้ว บรรลุแล้ว เห็นแล้ว เข้าใจแล้ว จะเป็นผู้ที่ผาสุกอยู่ได้แม้ในยามที่มีโรคภัยไข้เจ็บ เราต้องไม่ตั้งอยู่ในความประมาทในการดำเนินชีวิต ในขณะเดียวกันก็ไม่ตื่นตะหนกหรือวิตกกังวลเกินไปจนทำให้ฟุ้งซ่าน แต่ให้มีความร้อนใจ (ความรู้สึกที่ต้องตื่นตัว) ในการที่จะต้องทำอะไรสักอย่างใดอย่างหนึ่ง ที่ต้องทำตอนนี้ เพื่อว่าจะได้ไม่ต้องมาร้อนใจภายหลัง ถ้าสมมุติว่าเราติดโรคแล้ว ขอให้เป็นซูเปอร์สเปรดเดอร์ (Super spreader) ที่แผ่ความเมตตา ให้กำลังใจ มีการต่อสู้ไม่ย่อท้อ ในการปฏิบัติตนตามกฎระเบียบ ให้เป็นตัวอย่างไปเลย แทนที่จะแพร่กระจายเชื้อโรค แพร่กระจายไวรัส แต่ให้แผ่ความเมตตาออกไป แผ่ความดีออกไป เป็นตัวอย่างของคนที่มีระเบียบวินัย ปฏิบัติตามกฎกติกาของสังคม มีความรับผิดชอบต่อตนเอง ครอบครัว และส่วนรวม เมื่อถูกเอาเปรียบจากสังคมเพื่อนร่วมงาน ควรทำอย่างไร หากต่อความชั่วด้วยความชั่วแล้ว มันมีแต่จะเละและเละมากยิ่งขึ้น ทำให้ความดีที่มีถูกหักล้าง เราก็จะกลายเป็นคนด้วน ความดีด้วนออกจากจิตใจ ถูกมารล้างผลาญความดีแล้ว ฉะนั้นเราต้องไม่หยุดการทำความดี คือ ให้มีความอดทน มีอุเบกขา สืบต่อความดีนั้น อย่าให้ความชั่วเขาคืบคลานมาสู่การกระทำของเรา ให้เรามีสติ มีความอดทน ไม่เบียดเบียน มีจิตเมตตารักใคร่เอ็นดู ตอบแทนให้เป็น 4 เท่า เหมือนบ่มเมล็ดพันธุ์ บ่มอินทรีย์ให้แก่กล้า แล้วเราจะเป็นผู้ที่อยู่ได้ในทุกสถานการณ์อย่างผาสุก แนะนำรับฟังเพิ่มเติมได้ที่[...]
- 1 สมการชีวิตผูกโกรธ ผูกเวร ผูกอาฆาต | ถ้านึกถึงความดีไม่ได้ เห็นโทษของความไม่ดีนั้นไม่ได้ มีปัญญาไม่ได้ ความโกรธมันก็จะต่อเนื่องไป ๆ เหมือนงูกับพังพอน หมีกับไม้ตะคร้อ มนุษย์หมาป่ากับแวมไพร์ ผูกเวรกันไปเรื่อย ๆ ต่อให้มีกระบวนการยุติธรรมอย่างไรมันก็ไม่จบ ถึงจบที่ศาลที่ตำรวจได้ก็จริง แต่ว่าในใจมันไม่จบ เจ็บแล้วถ้าไม่จบ มันเจ็บฟรีนะ! ระวังให้ดี แต่ถ้าเจ็บแล้วจะจบ ให้จบลงที่ใจของเรา นึกถึงความดีของเราบ้าง ของคนอื่นบ้าง ใจของเรา เป็นช่องทางที่ให้เกิดการรับรู้เรื่องราวต่าง ๆ ผูกเป็นเงื่อนปม เป็นกรรมกันมาอย่างนี้แล้ว ทำให้เรามีกายนี้ กรรมเก่าคือกายนี้ มันมีมาแล้ว ดังนั้นเราจึงไม่ควรปล่อยให้มันถูกชักจูงลากไปตามทางเหมือนลิงห้อยโหนตัวไปตามกิ่งไม้ในป่าใหญ่ แต่ให้มาผูกตั้งไว้อยู่กับเสาเขื่อนเสาหลัก ถ้าจะไประลึกถึงความไม่ดี ความชั่วของคนอื่นนั้นอย่างใดอย่างหนึ่ง มันไม่จบ ให้ตั้งสติไว้ในความดี ไม่ใช่ตั้งความพอใจไว้ในสิ่งใดสิ่งหนึ่ง เพราะนั่นเป็นเหตุปัจจัยที่จะทำให้เกิดความขัดเคืองใจ แต่ให้มาระลึกถึงความดี โดยเริ่มจากพุทโธ ธัมโม สังโฆ เป็นที่พึงที่ระลึกถึง เป็นสัมมาสติ จะเห็นโทษของความผูกโกรธนั้นได้ เห็นโทษของสังสารวัฏว่ามันเป็นธรรมดาของโลก นี่คือมีปัญญารู้ชัด มีสติมีปัญญาแล้วจะทำความไม่ผูกเวรกัน ให้อภัยซึ่งกันและกัน ทำให้มีคุณธรรมกุศลธรรมต่าง ๆ เกิดขึ้นได้ การให้อภัยจึงเป็นคนละประเด็นกับความยุติธรรม[...]
- ชายหรือหญิงที่ต้องการจะพบกันในชาติต่อ ๆ ไป คุณธรรม 4 อย่าง ที่พึงกระทำให้เสมอ ๆ กัน คือ ศรัทธา ศีล จาคะ และปัญญา ส่วนคนที่จะอยู่ด้วยกัน ไม่ว่าจะเป็นหมู่คณะในครอบครัวหรือบริษัท คุณธรรม 2 อย่างที่จะต้องเสมอกันคือ ศีลและทิฏฐิ ถ้าทิฏฐิไม่เสมอกันแล้ว มีความเห็นไปคนละแบบ ก็ไปกันไม่ได้ จะอยู่ด้วยกันแบบติด ๆ ขัด ๆ ดังนั้นจึงควรรักษาศีลและทิฏฐิให้ดี เมตตาก่อนทั้งต่อหน้าและลับหลัง กาย วาจา ใจ ตรงนี้จึงสำคัญ ลำพังแค่การเปลี่ยนชื่อหรือใช้ของพวกผ้ายันต์ วัตถุมงคลฯ อย่างเดียว แล้วไม่มีปิยวาจา ยังด่าคน ยังมีความต้องการมาก ทำตัวเด่นดัง มีความเห็นผิดแล้วไม่ได้สร้างเหตุอย่างอื่น รับรองให้ได้ว่า สิ่งของเหล่านั้นหรือการเปลี่ยนชื่อ มันจะไม่เวิร์ค มันจะไม่ได้ผล ทำไมถึงมาหาพระในเวลาที่มีความทุกข์ ก็เพื่อต้องการเครื่องมือที่จะตัดละความรักใคร่พอใจ เครื่องมือในที่นี้คือมีดคม ๆ คือปัญญา ที่ทำให้เห็นตามความเป็นจริงถึงความไม่เที่ยง แล้วตัดกิเลสตัณหาความยึดถือนั้นออกไปได้ ฉวยโอกาสในความทุกข์นี้ให้เป็นประโยชน์ พิจารณาจนกระทั่งว่า โอ๊ย![...]
- 1 สมการชีวิตเมื่อคนที่เจอสถานการณ์เหมือนอย่างในกรณีของคุณป้าชาวเกาหลีผู้ติดเชื้อ ที่อาศัยอยู่ในเมืองแทกู ได้กลายเป็น ผู้ที่สามารถจะแพร่เชื้อไปสู่บุคคลอื่น ๆ ได้เป็นจำนวนมาก (Super Spreader) จากคนหนึ่งแพร่กระจายเชื้อออกไปสู่หลายร้อยคนได้ ซึ่งแทนที่เราจะแพร่เชื้อความไม่ดีที่เป็นเรื่องในทางกายภาพ แต่ให้เปลี่ยนความกังวลและความไม่ดีนั้น ให้เป็นความดีที่แพร่กระจายแจกจ่ายออกไป ให้เป็นซูเปอร์สเปรดเดอร์ในทางยารักษายาแก้ ไม่ใช่ยาแก้ในภายนอก แต่เป็นในภายใน ที่เมื่อเข้าสู่จิตใจของคนแล้ว เขาจะสบายใจ ยินดีพอใจ มีความไ