00:00
1X
Sorry, no results.
Please try another keyword
- #67_นคโรปมสูตร ว่าด้วยธรรมเปรียบด้วยเครื่องป้องกันนคร เป็นการอุปมาเปรียบเทียบระหว่างนครหัวเมืองชายแดนที่มีการสร้างเครื่องป้องกันนคร 7 ประการ และมีความสมบูรณ์ของอาหาร 4 อย่าง อุปไมยลงในกายและใจที่ประกอบไปด้วยสัทธรรม 7 ประการ และ ฌานทั้ง 4 การเปรียบเทียบอุปมาอุปไมยเครื่องป้องกันนคร 7 ประการ และ อาหาร 4 อย่าง คือ 1. มีเสาระเนียดขุดหลุมฝังลึกไว้เป็นอย่างดี เปรียบได้กับ เป็นผู้มีศรัทธาตั้งมั่นแล้วเป็นอย่างดี 2. มีคูลึกและกว้าง เปรียบได้กับ เป็นผู้มีหิริ (ความละอายต่อบาปอกุศลธรรมทั้งหลาย) 3. มีทางเดินได้รอบ ทั้งสูงและกว้าง เปรียบได้กับ เป็นผู้มีโอตตัปปะ (ความกลัวต่อบาปอกุศลธรรมทั้งหลาย) 4. มีการสะสมอาวุธไว้มาก เปรียบได้กับ ความเป็นพหูสูต แทงตลอดดีด้วยทิฏฐิ 5. มีกองพลตั้งอาศัยอยู่มาก เปรียบได้กับ การปรารภความเพียร 6. มีทหารยามฉลาด คอยกันคนที่ไม่รู้จักไม่ให้เข้าไป ให้คนที่รู้จักเข้าไป เปรียบได้กับ “สติ” 7. มีกำแพงสูงและกว้าง เปรียบได้กับ[...]
- #65_หิริโอตตัปปสูตร ว่าด้วยผลแห่งหิริและโอตตัปปะ เป็นธรรมที่แสดงถึงความเป็นเหตุและผลเกี่ยวเนื่องซึ่งกันและกัน คือ “เมื่อมีสิ่งนี้... สิ่งนี้จึงมี และเมื่อไม่มีสิ่งนี้... สิ่งนี้จึงไม่มี” ได้แก่ 1. เมื่อมี หิริและโอตตัปปะ เป็นเหตุให้มี อินทรียสังวร 2. เมื่อมี อินทรียสังวร เป็นเหตุให้มี ศีล 3. เมื่อมี ศีล เป็นเหตุให้มี สัมมาสมาธิ 4. เมื่อมี สัมมาสมาธิ เป็นเหตุให้มี ยถาภูตญาณทัสสนะ 5. เมื่อมี ยถาภูตญาณทัสสนะ เป็นเหตุให้มี นิพพิทาและวิราคะ 6. เมื่อมี นิพพิทาและวิราคะ เป็นเหตุให้มี ข้อที่ 7. คือ วิมุตติญาณทัสสนะ เมื่อจะแสดงเหตุแห่งความไม่มี (ความดับ/เสื่อม) ก็ได้แสดงไว้ในลักษณะนี้เช่นเดียวกัน #66_สัตตสุริยสูตร ว่าด้วยดวงอาทิตย์ 7 ดวง โลกใบนี้มีการเปลี่ยนแปลง (เกิด-ดับ) อยู่ตลอดเวลา ทุกๆการเกิดขึ้นของสิ่งหนึ่งย่อมมีผลต่อสิ่งหนึ่ง ในพระสูตรนี้ได้กล่าวถึงการกำเนิดของดวงอาทิตย์ทั้ง 7[...]
- ในข้อ 51 และ 52 เป็นเรื่องเกี่ยวกับนิวรณ์และการแก้ไข "นิวรณ์" หมายถึง เครื่องกั้น เครื่องลวง เครื่องห่อ เครื่องหุ้มเอาไว้ บังเอาไว้ ครอบงำจิต บังจิต หุ้มห่อจิต รัดรึงจิต เพื่อไม่ให้เกิดปัญญา เหมือนมีสนิมเคลือบที่มีดทำให้ไม่คม องค์รวมของมัน คือทำจิตให้ไม่มีกำลังปัญญา มีนิวรณ์ที่ใดที่นั้นไม่มีสมาธิ นิวรณ์มี 5 อย่าง คือ 1) กามฉันทะ คือ ความพอใจในกาม: กามหรือกิเลสกาม คือ ความกำหนัดยินดีลุ่มหลงในวัตถุกาม วัตถุกาม คือ วัตถุที่สามารถทำให้เกิดความกำหนัดยินดี ในแต่ละคนจะไม่เหมือนกันความหยาบละเอียดต่างกันอยู่ที่กำลังจิตของคนนั้นๆ กามฉันทะ คือ ความพอใจในกาม เป็นสิ่งที่เกิดก่อนกามกิเลส กามฉันทะทำให้เกิดกิเลสกามได้ทั้งสิ่งที่ล่วงไปแล้ว และสิ่งที่กำลังจะมาถึง จึงต้องมีสติอยู่เสมอ 2) ความพยาบาท คือ ความคิดร้ายผูกเวร ถ้าเราสร้างรติในที่ใด ก็จะมีอรติในอีกที่หนึ่งเสมอ แล้วจะไล่มาเป็นปฏิฆะ โกธะ โทสะ และพยาบาทในที่สุด 3) ถีนมิทธะ[...]
- #62_เมตตสูตร ว่าด้วยการเจริญเมตตาจิต พระผู้มีพระภาคได้ทรงกล่าวถึงอานิสงส์แห่งการเจริญเมตตาจิตว่ามีอานิสงส์มาก โดยพระองค์เองนั้นได้เคยเจริญเมตตาจิตตลอดระยะเวลา 7 ปี และด้วยอานิสงส์นี้ทำให้พระองค์ได้เสวยสุขอยู่ในชั้นพรหมไม่ได้กลับมาสู่โลกนี้อีกตลอด 7 สังวัฏฏกัปและวิวัฏฏกัป ทรงเป็นมหาพรหมเป็นท้าวสักกะและได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิมีรัตนะ 7 ประการ #63_ภริยาสูตร ว่าด้วยภรรยา 7 ประเภท โดยปรารภนางสุชาดาซึ่งเป็นน้องสาวของนางวิสาขา นางสุชาดามีอุปนิสัยดื้อรั้น พระผู้มีพระภาคจึงรับสั่งเรียกนางมาและกล่าวถามนางว่า “ ในภรรยาทั้ง 7 ประเภทนี้ นางเป็นภรรยาประเภทไหน ” นางสุชาดาไม่เข้าใจความหมายแห่งภาษิตนั้น จึงได้ทูลขอให้พระผู้ภาคโปรดแสดงธรรมนั้นแก่นาง และหลังจากที่นางได้ฟังธรรมนั้นแล้วทำให้นางตั้งอยู่ในศีลและได้ทูลตอบพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า “ นางเป็นภรรยาดุจทาสี ” คือ ถูกทำให้โกรธก็ไม่โกรธอดทนได้ สงบเสงี่ยมประพฤติตามอำนาจสามี #64_โกธนสูตร ว่าด้วยบุคคลผู้มักโกรธ ความโกรธนั้นอาจเริ่มต้นมาจากปฏิฆะ (ความขัดเคือง) เป็นโทสะแล้วเพิ่มระดับขึ้นมาเป็น โกธะ คือ ความโกรธ เมื่อเราโกรธใครแล้วเราย่อมคิดไม่ดีกับบุคคลนั้น ความคิดให้เขาได้ไม่ดีนั้นนั่นแหละมันเป็นพิษร้ายทำลายตัวเราเอง และในทั้ง 7 ประการนี้เราได้ความไม่ดีนั้นก่อนเลยเพราะความโกรธมันเริ่มที่เราอยู่ในเรา ผู้มักโกรธจึงมักมีผิวพรรณหยาบ อยู่เป็นทุกข์ ไม่เจริญ เสื่อมทรัพย์ เสื่อมยศ เสื่อมมิตร ไปอบาย แก้ไขความโกรธด้วยจิตที่เมตตาหรือมีพรหมวิหาร[...]
- #58_อรักเขยยสูตร ว่าด้วยฐานะที่พระตถาคตไม่ต้องรักษา ก็เพราะด้วยพระตถาคตนั้นมีความประพฤติทางกาย วาจา ใจ และอาชีวะที่บริสุทธิ์อยู่แล้ว จึงไม่ต้องอาศัยใครให้คอยมาช่วยปิดบังรักษาอะไรให้ และเป็นผู้ที่มีความแกล้วกล้าในธรรมที่ตนได้ประกาศไว้ดีแล้ว เพราะตัวเองก็ทำได้ด้วย ผู้ที่ตนบอกสอนก็ทำได้ด้วย และก็มีจำนวนไม่ใช่น้อย แต่มีเป็นจำนวนมากมาย จึงไม่หวั่นกลัวต่อคำพูดหรือคำติเตียนใด ๆ เพราะด้วยธรรมที่ตนได้ประพฤติไว้บริสุทธิ์บริบูรณ์แล้ว #59_กิมิลสูตร ท่านพระกิมิละได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคถึงเหตุปัจจัยที่ทำให้พระสัทธรรมตั้งอยู่ได้นานและไม่ได้นาน ซึ่งเหตุที่ทำให้ตั้งอยู่ได้นานนั้น คือการเป็นผู้มีความเคารพยำเกรงในศาสดา / ธรรม / สงฆ์ / สิกขา / สมาธิ / ความไม่ประมาท / ปฏิสันถาร (บอกสอนต่อ) และเหตุที่ทำให้เสื่อม คือการไม่มีความเคารพยำเกรง...ฯ #60_สัตตธัมมสูตร ว่าด้วยธรรม 7 ประการ ที่เป็นเหตุให้บรรลุวิมุตติ คือ เป็นผู้มีศรัทธา / มีศีล / เป็นพหูสูต / เป็นผู้หลีกเร้น ทั้งภายนอกและภายใน / ปรารภความเพียร / มีสติ / มีปัญญา #61_จปลายมานสูตร[...]
- 5 พระสูตรสุดท้ายในกุสินารวรรค ทุติยอนุรุทธสูตร เป็นพระสูตรที่น่าสนใจ ทำไมการหลุดพ้นจึงเกิดขึ้นไม่ได้แม้ในผู้ที่มีสมาธิชั้นยอด ทำไมความสามารถในการตรวจโลกธาตุ 1000 จึงเป็นมานะ มีความเป็นตัวเราอยู่ ในสมาธิถ้าบำเพ็ญเพียรมากไป จึงกลายเป็นความฟุ้งซ่าน ดุจไฟที่มากเกินก็ทำให้ทองสุกเกินควร และทำไมอาสวะไม่สามารถละได้ด้วยสมาธิ แต่จะละได้ด้วยปัญญา การละ 3 ข้อนี้ จึงจะเข้านิพพานได้ ปฏิจฉันนสูตร น่าสนใจตรงที่มนต์ของพราหมณ์ ท่านใช้คำว่ายิ่งปกปิดยิ่งขลัง แต่ในคำสอนตถาคตใช้ว่าเปิดเผยจึงเจริญ ในเลขสูตร รอยขีดบนหินดินและน้ำ ที่เปรียบเหมือนจิตที่มีความโกรธความสะสมต่างกัน จิตที่ฉลาด คือ จิตที่เป็นดั่งน้ำ อดทนมั่นคง เห็นความสามัคคีมีค่ามากกว่าคำด่า กฏุวิยสูตร ทำไมการมีศีลสมบรูณ์จึงทำให้แมลงวันไม่ตอม แมลงวันคือความดำริที่เกี่ยวด้วยราคะ / ของเน่าคืออภิชฌา (ความโลภ) / กลิ่นเหม็นคาวคือพยาบาท ปฐมอนุรุทธสูตร ธรรม 3 ประการ ที่ทำให้ผู้หญิงไปอบายภูมิ ได้แก่ มีใจกลุ้มด้วยความตระหนี่ ความริษยา กามราคะ ถ้าละเสียได้จะพ้นทุกข์ ละได้ด้วยการให้สละออก มีมุทิตา และพิจารณาอสุภะ พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต กุสินาวรรค
- ติสสพรหมสูตร เทวดา 2 องค์ มาพบพระพุทธเจ้าแล้วกล่าวว่า ภิกษุณีได้หลุดพ้นด้วยดีแล้ว ไม่มีอุปาทานขันธ์เหลือ พระโมคคัลลานะสงสัยว่าเทวดาผู้ใดมีญาณหยั่งรู้ว่าบุคคลผู้ใดมีอุปาทานขันธ์เหลือ จึงไปยังพรหมโลกเพื่อสนทนากับติสสพรหม ติสสพรหมตอบว่าเทวดาชั้นพรหมเหล่าใดที่ยังยินดีด้วยอายุ วรรณะ สุข ยศ และความเป็นอธิบดีของพรหม แต่ไม่รู้ชัดตามความเป็นจริงซึ่งอุบายเป็นเครื่องสลัดออกไปอย่างยิ่งแห่งอายุ ย่อมไม่มีญาณหยั่งรู้ว่าผู้ใดยังมีอุปาทานขันธ์ ส่วนเทวดาชั้นพรหมเหล่าใดไม่ยินดีและรู้ชัดตามความเป็นจริงซึ่งอุบายเป็นเครื่องสลัดออกไปอย่างยิ่งแห่งอายุ ย่อมมีญาณหยั่งรู้ว่าผู้ใดยังมีอุปาทานขันธ์ แบ่งตามประเภทดังนี้ อุภโตภาควิมุติ ปัญญาวิมุติ กายสักขี ทิฏฐิปัตตะ สัทธาวิมุติ ธัมมานุสารี พระโมคคัลลานะกลับมาทูลพระพุทธเจ้าถึงการสนทนา พระผู้มีพระภาคได้ทรงแสดงบุคคลที่ 7 ให้แก่พระโมคคัลลานะว่า ภิกษุผู้เป็นอนิมิตตวิหารี ย่อมบรรลุเจโตสมาธิอันหานิมิตมิได้ เพราะไม่ใส่ใจถึงนิมิตทั้งปวงอยู่ เทวดาเหล่านั้นย่อมมีญาณหยั่งรู้อย่างนี้ สีหเสนาปติสูตร เป็นพระสูตรที่สะท้อนให้เห็นถึงความสำคัญของการให้ พระพุทธเจ้าได้ตรัสถึงผลแห่งการทำทานที่สามารถเห็นได้ด้วยตนเอง ซึ่งประกอบด้วย ผู้ให้ทานจะเป็นที่รักและพอใจของคนหมู่มาก ผู้สงบจะคบหาผู้ให้ทาน กิตติศัพท์อันงามของผู้ให้ทานจะขจรไป ผู้ให้ทานจะเข้าไปในบริษัทใด ๆ ด้วยความแกล้วกล้า ไม่เก้อเขิน หลังจากตายแล้วผู้ให้ทานจะไปเกิดในสุคติโลกสวรรค์ ซึ่งใน 6 ข้อแรก สีหเสนาบดีประจักษ์ด้วยตน ยกเว้นในข้อสุดท้าย พระไตรปิฎกเล่มที่ 23 พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ 15 [ฉบับมหาจุฬาฯ][...]
- อัพยากตสูตร ว่าด้วยเรื่องไม่พยากรณ์ พยากรณ์ก็คือคำตอบ ในข้อนี้ภิกษุทูลถามถึงความแตกต่างของปุถุชนที่มักสงสัยกับอริยบุคคลที่ไม่สงสัยในเรื่องที่ไม่ทรงพยากรณ์ 7 ประการ คือ ทิฏฐิ 10 ตัณหา สัญญา ความเข้าใจ ความปรุงแต่ง อุปาทาน และวิปปฏิสา ในทิฏฐิทั้ง 10 นั้น ที่อริยบุคคลไม่สงสัยเพราะคิดมาในระบบแห่งความเห็นที่ถูกต้องคืออริยสัจสี่ เดินมาตามมรรค 8 และแต่ละข้อที่ว่าเป็นทุกข์นั้น ถ้าเดินมาตามมรรค มาตามระบบแห่งความเห็นที่ถูกต้อง จะพ้นทุกข์ได้เช่นกัน เพราะการมีโยนิโสมนสิการ ปุริสคติสูตร ว่าด้วยเรื่องคติของบุรุษ พูดถึงคติ 7 อย่าง ที่คน ๆ หนึ่งจะบรรลุธรรม อนุปาทาปรินิพพานมีลักษณะไปได้อยู่ 7 ทางแบบนี้ 1.อันตราปรินิพายี สะเก็ดร่อนออก แล้วดับ 2.อันตราปรินิพายี สะเก็ดร่อนออก ลอยไป แล้วดับ 3.อันตราปรินิพายี สะเก็ดร่อนออก ลอยไป ยังไม่ตกถึงพื้น แล้วดับ 4.อุปหัจจปรินิพายี สะเก็ดร่อนออก ลอยไป ตกถึงพื้น แล้วดับ 5.อสังขารปรินิพายี[...]
- ใน ปฐมและทุติยวุฑฒปัพพชิตสูตร เป็นเรื่องของพระบวชเมื่อแก่ ที่มักเรียกว่า “หลวงตา” ที่สำคัญคืออย่าไปเหมารวมว่าไม่ดีหมด ไม่ใช่ แต่ให้มองว่าถ้ามีคุณลักษณะที่ดี 2 นัยยะ นัยยะละ 5 ข้อนี้แล้ว ก็จะสามารถเป็นบุคคลที่ประเสริฐได้ ใน ปฐมและทุติยสัญญาสูตร หมวดว่าด้วยสัญญา สัญญา หมายถึง ความหมายรู้ กำหนดรู้ขึ้น สัญญาไม่ใช่เหมือนกันหมด บางสัญญาก็จะเป็นไปเพื่อความมีกิเลสมาก ขณะเดียวกันสัญญาบางอย่างก็ลดกิเลสได้ ไม่ว่าจะเป็นสัญญาที่ทำให้กิเลสเพิ่มหรือกิเลสลด ต่างก็ไม่เที่ยงเหมือนกัน เพราะฉะนั้นมรรคกับทุกข์เหมือนกันตรงความไม่เที่ยง ต่างกันตรงหน้าที่ มรรคทำให้มาก ทุกข์ให้เข้าใจ สัญญา 5 ประการได้แก่ 1. อนิจจสัญญา กำหนดหมายว่ามันไม่เที่ยง ขึ้นอยู่กับเหตุเงื่อนไขปัจจัยไม่ได้อยู่ได้ด้วยตัวของมันเอง เพื่อลดความมัวเมาในอัตตาตัวตน 2. อนัตตสัญญา กำหนดหมายความเป็นอนัตตาในสิ่งทั้งปวง ทุกสิ่งล้วนมีเหตุมีปัจจัย ไม่ได้เป็นอัตตา (อาศัยเหตุปัจจัยไม่ได้เป็นตัวตนของมันเอง) ละอุปาทานในความเป็นตัวฉัน ความเป็นของฉัน และความเป็นตัวตนของฉัน เพื่อลดความเข้าใจว่าสิ่งต่าง ๆ เป็นของเรา 3. มรณสัญญา การกำหนดหมายว่าสิ่งต่าง ๆ มีความตายเป็นธรรมดา[...]
- ผลหรืออานิสงส์แห่งทานนั้นจะมากหรือน้อยย่อมอาศัยเหตุปัจจัยหลายอย่างประกอบกัน ไม่ว่าจะเป็นความปราณีตของทาน หยาบหรือละเอียด รวมไปถึงความศรัทธาของผู้ให้ ก่อนให้-ระหว่างให้-หลังให้ และผู้รับที่มีกิเลสเบาบาง หรือกำลังปฏิบัติเพื่อความสิ้นไปแห่งกิเลส หรือเป็นผู้ที่หมดกิเลสแล้ว ในข้อที่ #52_ทานมหัปผลสูตร เป็นเรื่องราวที่ชาวเมืองกรุงจำปามีข้อสงสัยในเรื่องผลแห่งทาน ว่า “ทำไมทานที่เหมือนกัน จึงให้ผลที่แตกต่างกัน” โดยมีท่านพระสารีบุตรเป็นตัวแทนในการกราบทูลถามพระผู้มีภาคเจ้า แล้วคำตอบก็คือ “การตั้งจิตของผู้ให้ทานนั่นเอง” โดยได้อธิบายไว้ถึง 7 ระดับด้วยกัน และมีอานิสงส์ให้ไปเกิดในสวรรค์ 6 ชั้น ไล่ไปตามลำดับจนไปถึงชั้นพรหมกายิกา โดยมีรายละเอียดในการให้ทานเพราะ 1. หวังผลของทาน - ให้ด้วยความอยาก 2. การให้ทานเป็นการดี - ให้เพราะยำเกรง 3. บรรพบุรุษเคยทำไว้ - ให้เพราะละอายกลัวบาป 4. สมณะจะหุงหาอาหารกินเองไม่ได้ - ให้ของดี ๆ ก่อน 5. เป็นทักขิไนยบุคคล - ให้ของที่ควรแก่ทักขิไนยบุคคล 6. ให้แล้วจิตผ่องใส 7. เป็นเครื่องปรุงแต่งจิต - เพื่อให้จิตเกิดสมถะและวิปัสสนา ข้อที่ #53_นันทมาตาสูตร[...]
- ปริเยสนาสูตร ว่าด้วยการแสวงหา 4 อย่างที่ประเสริฐ และไม่ประเสริฐ ถ้าคุณรู้ว่าเรามีความแก่ ความเจ็บไข้ ความตาย และความเศร้าหมองเป็นธรรมดา แล้วยังคงแสวงหาในสิ่งเหล่านี้ นั่นเป็นการแสวงหาที่ไม่ประเสริฐ พระโพธิสัตว์ทราบถึงโทษในสิ่งเหล่านี้ จึงเริ่มแสวงหาทางอันประเสริฐที่ทำให้ถึงแดนอันเกษม นั่นคือ นิพพาน น้อมเข้ามาดูที่ตัวเรา ด้วยความเป็นฆราวาสยังคงต้องแสวงหา ในการแสวงหานั้นควรจะมีสิ่งประเสริฐแทรกแซงอยู่บ้าง อย่างน้อยทราบถึงกระบวนการที่จะอยู่ในมรรค ดำเนินชีวิตอยู่ในมรรค ใจตั้งไว้ที่นิพพาน เห็นโทษ แล้วอยู่กับมันให้ได้ด้วยมรรค ก็จะเป็นการปูทางสู่นิพพานได้ สังคหวัตถุสูตร เป็นธรรมเครื่องยึดเหนี่ยวที่ก่อให้เกิดความสามัคคี คือ การให้ทาน เปยยวัชชะ (วาจาเป็นที่รัก) อัตถจริยา (การประพฤติประโยชน์) และสมานัตตตา (การวางตนสม่ำเสมอ) ถ้าขาดธรรมนี้ชนนั้นจะเกิดความแตกแยก มาลุงกยปุตตสูตร พระพุทธเจ้ากล่าวสอนธรรมะสั้น ๆ เพื่อการหลีกเร้นปฏิบัติเอาจริงต่อมาลุงกยบุตร คือ เหตุเกิดแห่งตัณหา 4 ประการ หรือกิเลสในปัจจัย 4 นั่นเอง “ตัณหาจะละได้ก็ด้วยมรรค 8” ละตัณหาละมานะได้ก็พ้นทุกข์ กุลสูตร ตระกูลใหญ่จะดำรงทรัพย์อยู่ได้ ถ้ามีการแสวงหาวัตถุที่หายไป ซ่อมแซมของเก่า รู้ประมาณในการบริโภค และตั้งสตรีหรือบุรุษที่มีศีลเป็นใหญ่[...]
- Q&A จากคำถามในสัญญาทั้ง 7 ประการ จำเป็นหรือไม่ที่จะต้องมีลำดับในการเจริญสัญญา คำตอบ ไม่จำเป็น ยกตัวอย่างเช่น ต้นทองกวาวจะบอกว่ามีสีแสด.. ก็ใช่ หรือใบดก.. ก็ใช่ หรือจะมีลำต้นดำ.. ก็ใช่ คือทั้งหมดก็เป็นลักษณะของต้นทองกวาวเช่นเดียวกับสัญญา 7 ประการ เมื่อเจริญสัญญาอย่างหนึ่ง สัญญาอื่น ๆ ก็เจริญขึ้นมาด้วย เปรียบเสมือนทางที่จะขึ้นไปบนยอดเขา (นิพพาน) จะขึ้นจากทิศใดก็สามารถขึ้นไปถึงยอดเขาได้เหมือนกัน ข้อที่ #50_เมถุนสูตร ว่าด้วยเมถุนสังโยค 7 ระดับ เป็นเรื่องราวของชาณุสโสณิพราหมณ์ที่มีความสงสัยในพระพุทธเจ้าที่พูดว่าตนเป็นผู้ประพฤติพรหมจรรย์ทั้งที่เคยอยู่ครองเรือนมาก่อน มีปราสาทถึง 3 หลังและแวดล้อมด้วยนางรำ ซึ่งแตกต่างกับลัทธิของตนที่ต้องประพฤติพรหมจรรย์ตามระยะเวลาถึง 48 ปี จึงจะเรียกได้ว่า “บรรลุอรหันต์” พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสตอบว่า เมื่อจะกล่าวให้ถูกต้อง พึงกล่าวถึงผู้ใดผู้หนึ่งว่า “เขาประพฤติพรหมจรรย์ ไม่ขาด ไม่ทะลุ ไม่ด่าง ไม่พร้อย บริสุทธิ์ บริบูรณ์ บุคคลนั้น เมื่อจะกล่าวให้ถูกต้อง พึงกล่าวถึงเรานั้นแล เพราะเราประพฤติพรหมจรรย์ ไม่ขาด ไม่ทะลุ ไม่ด่าง[...]
- ข้อที่ #78_สุขโสมนัสสสูตร ผู้ประกอบด้วยธรรม 6 การนี้ต่อไปนี้ เป็นผู้ปรารภเหตุแห่งความสิ้นอาสวะและมากด้วยสุขโสมนัสในปัจจุบัน (สุขโสมนัสที่เกิดจากเนกขัมมะสุข คือ สุขที่เกิดจากความสงบในภายใน) ได้แก่ 1. เป็นผู้ยินดีในธรรม (ยินดีในกุศลธรรม) 2. เป็นผู้ยินดีในภาวนา (ทำให้เจริญ / พัฒนา) – พัฒนาตรงจุดที่ยังไม่ดี ให้ดีขึ้นมา 3. เป็นผู้ยินดีในการละ (ละสิ่งที่เป็นอกุศลธรรมทั้งหลาย) 4. เป็นผู้ยินดีในปวิเวก (สงัดจากเสียงและการคลุกคลีด้วยหมู่) 5. เป็นผู้ยินดีในความไม่พยาบาท (คิดปองร้ายเพ่งไปที่ภายนอก) เริ่มจากความไม่เพลินไปในปฏิฆะ(ความขัดเคือง) -> โกรธ(คิดอยู่ภายใน) -> พยาบาท (เพ่งไปที่ภายนอก) 6. เป็นผู้ยินดีในธรรมที่ไม่เป็นเครื่องเนิ่นช้า (นิพพาน) พัฒนากุศลธรรมให้เจริญยิ่งขึ้น *ทัศนคติหรือความคิด (mindset) บางอย่างก็เป็นเหตุทำให้เกิดความเนิ่นช้าในกุศลธรรม เราจึงต้องมี “สติ” เพื่อแยกแยะว่า ความคิดใดทำให้เกิดกุศลธรรมก็ควรเจริญ ส่วนความคิดใดที่เป็นเหตุให้เกิดอกุศลก็ควรละ #79_อธิคมสูตร ธรรมที่เป็นเหตุให้บรรลุกุศลธรรมที่ยังไม่ได้บรรลุหรือทำกุศลธรรมที่ได้บรรลุแล้วให้เจริญได้ เป็นผู้ฉลาดในความเจริญ (เหตุทำให้เกิดกุศลธรรม) เป็นผู้ฉลาดในความเสื่อม (เหตุทำให้เกิดอกุศลธรรม) เป็นผู้ฉลาดในอุบาย[...]
- ในข้อที่ 48_ปฐมสัญญาสูตร และ ข้อที่ 49_ทุติยสัญญาสูตร ทั้งสองพระสูตรนี้ ว่าด้วยสัญญา 7 ประการ ที่เมื่อเจริญทำให้มากแล้วจะมีนิพพานเป็นที่หยั่งลง เพราะอาศัยเหตุที่เมื่อเจริญให้มากพอใน (1) เจริญ อสุภสัญญา แล้ว จะละเมถุนธรรมได้ (2) เจริญ มรณสัญญา แล้ว จะละความติดใจในชีวิตได้ (3) เจริญ อาหาเร ปฏิกูลสัญญา แล้ว จะช่วยละความมัวเมาในรสอาหารได้ (4) เจริญ สัพพโลเก อนภิรตสัญญา แล้ว จะละความไหลหลงในวิจิตรของโลกได้ (5) เจริญ อนิจจสัญญา แล้ว จะละความหลงในลาภสักการะและเสียงสรรเสริญเยินย่อได้ (6) เจริญ อนิจเจ ทุกขสัญญา แล้ว จะละความประมาทไม่ประกอบในความเพียรได้ (7) เจริญ ทุกเข อนัตตสัญญา แล้ว จะละความยึดถือในตัวตนได้ “สิ่งใดที่อาศัยเหตุปัจจัยในการเกิดขึ้น สิ่งนั้นย่อมไม่เที่ยง เมื่อไม่เที่ยง สิ่งนั้นจึงเป็นทุกข์ (แปรเปลี่ยนทนอยู่สภาพเดิมไม่ได้)[...]
- การมาทำความเข้าใจอย่างถูกต้องในเรื่องของจิตว่า “จิต และ วิญญาณ เป็นคนละอย่างกัน” โดยจิตมายึดถือวิญญาณโดยความเป็นตัวตน เมื่อวิญญาณไปตั้งอยู่ในรูป เวทนา สัญญา และสังขาร จิตก็ยึดถือสิ่งเหล่านั้นโดยความเป็นตัวตนขึ้นมา ซึ่งจะเห็นได้ใน สังคีติสูตร ที่ได้กล่าวถึงวิญญาณฐิติ 4 ประการ ตามนัยยะของท่านพระสารีบุตร และในข้อที่ #44_สัตตวิญญาณัฏฐิติสูตร ก็ได้อธิบายถึงวิญญาณฐิติ 7 ประการ (ภูมิเป็นที่ตั้งแห่งวิญญาณ) โดยประการที่ 1-4 พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแบ่งตามความละเอียดของรูปและนาม (สัญญา) และประการที่ 5-7 ทรงแบ่งตามอรูปฌาน การมาศึกษาตรงนี้จะทำให้เราเข้าใจอุปาทานขันธ์ 5 และวางความยึดถือลงได้ ข้อที่ #45_สมาธิปริกขารสูตร ว่าด้วยบริขารแห่งสมาธิ หมายถึงองค์ประกอบของมรรคสมาธิ คือ สัมมาสมาธิที่แวดล้อมประกอบไปด้วยมรรคทั้ง 7 อย่าง ข้อที่ #46_ปฐมอัคคิสูตร และ ข้อที่ #47_ทุติยอัคคิสูตร ว่าด้วยไฟ สูตรที่ 1-2 กล่าวถึง ไฟที่ควรละอยู่ 3 กองได้แก่ ไฟ คือ[...]
- เมื่อเราเห็นข้อปฏิบัติหรือสิ่งไม่ดีของผู้อื่นแล้ว เราเลือกที่จะใช้ความดีปฏิบัติตอบ ให้เขาได้แก้ไขเปลี่ยนแปลงเป็นคนดีขึ้นมาได้ เป็นการรักษากันและกัน “ด้วยความดี” จากคำถามใน #ข้อ100 กกุธเถรสูตร “ศาสดาท่านนี้จักทำกรรมใด เขาเองก็จักปรากฏด้วยกรรมนั้น” เป็นอุบายการรักษาจิตของสาวก (ลูกศิษย์) ที่เมื่อเห็นอาจารย์ของตนปฏิบัติไม่ดีแล้ว เลือกที่จะรักษาจิตให้มีความดี ให้มีเมตตา สีลสูตร #ข้อ107 ภิกษุถึงพร้อม (จนสุดถึงขั้นผล) ด้วย ศีล สมาธิ ปัญญา วิมุตติ วิมุตติญาณทัสสนะ ความหมายเหมือนกันกับ อเสขสูตร#ข้อ108 ภิกษุประกอบด้วย อริยสีลขันธ์ (ขันธ์ คือ กอง กลุ่มก้อน) สมาธิขันธ์ ปัญญาขันธ์ วิมุตติขันธ์ วิมุตติญาณทัสสนขันธ์ เป็นผู้ควรแก่ของที่เขานำมาถวาย ฯลฯ เป็นนาบุญอันยอดเยี่ยมของโลก จาตุททิสสูตร #ข้อ109 ภิกษุผู้เที่ยวไปในทิศทั้ง 4 (พระอรหันต์) เป็นผู้มี ศีล พหูสูต สันโดษด้วยปัจจัย 4 ได้ฌาน 4 ทำให้แจ้งเจโตวิมุตติและปัญญาวิมุตติ ไส้ในเหมือนกันกับ อรัญญสูตร[...]
- “ธรรม” ที่จะเป็นเหตุให้มีการบรรลุธรรมขั้นสูง คือ เจโตวิมุตติและปัญญาวิมุตติ (การหลุดพ้นด้วยจิตกับปัญญา) ซึ่งเมื่อเจริญให้มากซึ่งสมถะและวิปัสสนา จะเป็นผู้ถอนรากตัณหาและอวิชชาออกได้ #ข้อ71_ปฐมเจโตวิมุตติผลสูตร และ #ข้อ72_ทุติยเจโตวิมุตติผลสูตร เมื่อปฏิบัติร่วมกัน (มีข้อธรรมที่เหมือนกันอยู่ 1 ข้อ คือ อนิจจสัญญา) จนมีเจโตวิมุตติและปัญญาวิมุตติเป็นผลแล้ว ย่อมเป็นผู้ละอวิชชา, การเกิดในภพใหม่, ตัณหา, สังโยชน์เบื้องต่ำและเบื้องสูงได้หมดสิ้น #ข้อ73_ปฐมธัมมวิหารีสูตร การเป็นผู้ที่อยู่ด้วยธรรมคือ ต่อให้เป็นผู้ที่เรียนธรรมมามากจนเทศนาบอกต่อได้ ท่องจำ และใคร่ครวญในธรรมนั้น แต่ถ้าห่างเหินการหลีกเร้น ไม่ทำความสงบในจิตใจ ไม่ชื่อว่าเป็นผู้อยู่ด้วยธรรม เน้นมาในเรื่องสมถะ #ข้อ74_ทุติยธัมมวิหารีสูตร เน้นมาในวิปัสสนา ทำปัญญาให้ยิ่ง คือกิเลสต้องลดลง กำจัดกิเลสออกได้ โดยการนำหลักธรรมที่เหมือนกันกับในปฐมธัมมวิหารีสูตรนี้ นำมาปฏิบัติให้เข้าสู่จิตใจ จนให้ผลเป็นความสงบใจ แล้วให้เกิดปัญญา พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต โยธาชีวรรค ข้อที่ 71-74
- คำว่า “นิททส” แปลว่า มีอายุไม่ถึง 10 ปี (บวชไม่ถึง 10 พรรษา) เป็นคำที่พวกเดียรถีย์ใช้เรียกนิครนถ์ผู้ประพฤติพรหมจรรย์กำหนดครบ 12 ปีแล้วจะสำเร็จเป็นอรหันต์ แต่ถ้าตายลงก่อนที่จะครบกำหนด ก็จะกลับมาเกิดใหม่ในจำนวนปีที่เหลือแล้วได้ความเป็นอรหันต์ในภพนั้น โดยความเป็นอรหันต์จะวัดจากระยะเวลาในการประพฤติพรหมจรรย์ครบ 12 ปี “นิททสภิกษุ” ตามความหมายที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงให้ไว้คือ พระอรหันต์ ไม่มีการกลับมาเกิดอีก และไม่ได้ขึ้นอยู่กับเวลาในการประพฤติธรรม แต่ขึ้นอยู่กับหลักคุณธรรม 7 ประการ ซึ่งได้ทรงแสดงไว้ 2 วาระด้วยกัน คือ วาระของท่านพระสารีบุตรในข้อที่ #42_ปฐมนิททสสูตร และ วาระของท่านพระอานนท์ในข้อที่ #43_ทุติยนิททสสูตร ว่าด้วยนิททสวัตถุ โดยทั้งสูตรที่ 1 และสูตรที่ 2 นี้ ได้แสดงถึงทางปฏิบัติ (เหตุ) คือ อรหัตมรรค ให้ไปสู่ผล คือ อรหัตผล และในทุติยนิททสสูตรนั้นมีหลักธรรมที่เหมือนกันกับสัปปุริสธรรม 7 ประการ ตามนัยยะของเสขปฏิปทาสูตรซึ่งบรรยายโดยพระอานนท์ พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตกนิบาต เทวตาวรรค
- การไม่ให้จิตตกไปตามอำนาจของกิเลสแต่จะให้มาอยู่ในอำนาจของมรรค 8 ได้นั้น ต่างต้องอาศัยเหตุปัจจัย ซึ่งเหตุปัจจัยหลักนั้นก็คือการมี “สติ” คือจะต้องมีสติสัมปชัญญะเห็นเหตุปัจจัยแห่งการเกิดขึ้น ดำรงอยู่ และดับไปของสมาธิในขั้นต่าง ๆ กล่าวคือจะต้องเป็นผู้ฉลาดในสมาธิและกระทำสมาธิโดยชำนาญในทุกอริยบถ มีสติปัฏฐาน 4 มีสติรู้ชัดเห็นการเกิด-ดับในทุกสภาวะ จะเป็นผู้ทำจิตให้ตกอยู่ในอำนาจหรือมีอำนาจเหนือจิตได้ ในข้อที่ #40_ปฐมวสสูตร และ ข้อที่ #41_ทุติยวสสูตร ว่าด้วยธรรมที่เป็นเหตุให้จิตตกอยู่ในอำนาจ สูตรที่ ๑ และสูตรที่ ๒ ประกอบด้วยธรรม 7 ประการเหมือนกัน แต่ทุติยวสสูตรจะเป็นนัยยะของท่านพระสารีบุตร ธรรม 7 ประการ คือ 1. เป็นผู้ฉลาดในสมาธิ - รู้เหตุปัจจัย คุณลักษณะ และคุณสมบัติของสมาธิ 2. เป็นผู้ฉลาดในการเข้าสมาธิ - รู้เหตุที่ทำให้เข้าสมาธิได้โดยง่าย ความเป็นสัปปายะ และความอดทนต่ออายตนะ 3. เป็นผู้ฉลาดในการให้สมาธิตั้งอยู่ได้ - มีสติสัมปชัญญะเต็ม เห็นเหตุเกิดขึ้น ตั้งอยู่ และดับไปของสมาธิ 4. เป็นผู้ฉลาดในการออกจากสมาธิ - เห็นข้อเสียในสมาธิในจุดที่ตนเองอยู่ ละข้อเสียนั้น เห็นคุณในสมาธิขั้นต่อไป แล้วเลื่อนขึ้น[...]
- คำว่า “มิตรแท้ หรือ กัลยาณมิตร” มีความสำคัญและมีคุณค่ายิ่ง “มิตร” ที่เรามีอยู่เป็นแบบไหน และเราควรจะปฏิบัติตนหรือเลือกคบมิตรแบบใด ในข้อที่ #36_ปฐมมิตตสูตร และ #37_ทุติยมิตตสูตร ว่าด้วยองค์แห่งมิตร 7 ประการ คือ บุคคลที่ประกอบด้วยฐานะ 7 ประการนี้ ควรเข้าไปคบหาเป็นมิตรด้วย โดยในปฐมมิตตสูตร หมายถึง กัลยาณมิตรทั่วไป ส่วนในทุติยมิตตสูตร หมายถึง ครูบาอาจารย์และลูกศิษย์ “มิตร” ที่เรามีอยู่ไม่ว่าจะเป็นมิตรแบบไหน.. จิตของเราจะต้องประกอบไปด้วยกับเมตตา มองกันด้วยสายตาแห่งความรักใคร่เอ็นดู มีจิตไม่คิดปองร้าย ไม่คิดผูกเวรกับใคร ๆ ถ้าเป็นมิตรเทียมก็ให้มีระยะห่างที่จะไม่คบ ไม่ใช่ด้วยการผูกเวร #38_ปฐมปฏิสัมภิทาสูตร และ #39_ทุติยปฏิสัมภิทาสูตร (นัยยะของท่านพระสารีบุตร) ว่าด้วยธรรมที่เป็นเหตุให้บรรลุปฏิสัมภิทา (มีปัญญาแตกฉาน) ได้แก่ การมีสติเห็นจิตตามความเป็นจริงว่า จิตหดหู่ ท้อแท้ ฟุ้งซ่านหรือไม่ เห็นเวทนา สัญญา ความวิตกแห่งจิตว่า เกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป และ การรู้อุบายในการเกิดและการดับของสภาวะนั้น พระสุตตันตปิฎก[...]
- ข้อที่ #28_ปัญจังคิกสูตร ว่าด้วยการเจริญสัมมาสมาธิด้วยองค์ 5 ประการ คือ การไล่มาตามลำดับของการได้มาซึ่งฌานทั้ง 4 และปัจจเวกขณนิมิต จะได้ทราบอุปมาอุปไมยของการได้มาซึ่งฌานนั้น ๆ การเห็นอะไรจึงจะเลื่อนขึ้นในฌานที่สูงขึ้นไปละเอียดลงไปได้ ก็ต้องขจัดความหยาบของฌานที่ได้อยู่แล้วจึงจะพัฒนาต่อไปได้ เมื่อได้ฌานทั้ง 4 บวกกับปัจจเวกขณนิมิต คือ ญาณในการรู้ว่าเรามีเราละอะไรได้ จะทำให้ละเอียดขึ้นได้อย่างไร และการเห็นองค์ประกอบต่าง ๆ ในฌานต่าง ๆ ได้ชัดเจน จิตใจของคนเราถ้ามีสัมมาสมาธิที่ประกอบด้วยองค์ 5 ประการนี้แล้ว จะเกิดประโยชน์ในการกำจัดกิเลสได้ วิชชา 6 จะเกิดขึ้น ทำปัญญาให้เกิดขึ้นได้ นี่คือจุดที่สมาธิจะเปลี่ยนเป็นปัญญา ตลอดกระบวนการต้องมีสติอยู่แล้วจึงจะสามารถรู้เห็นตรงนี้ได้ และปัจจเวกขณนิมิตมีได้ในทุกระดับฌาน เป็นตัวที่จะทำให้ฌานเลื่อนขึ้นได้เร็ว ข้อที่ #29_จังกมสูตร จังกม แปลว่า การเดิน ทำให้เกิดอานิสงส์ คือ 1) อดทนต่อการเดินทางไกล 2) อดทนต่อการทำความเพียร นี่คืออดทนต่อสิ่งที่อดทนได้ยาก รู้อยู่ว่าทุกข์แต่อยู่กับมันได้ 3) อาหารย่อยได้ง่าย 4) มีอาพาธน้อย นี่คือมีสุขภาพดี มีเวทนาเบาบาง[...]
- การได้พบหรือได้ไปเยี่ยมเยียนพระสงฆ์นั้น จะเป็นทางมาแห่งกุศลบุญหลายประการ ทำให้มีโอกาสได้กราบไหว้ ถวายทานในพระสงฆ์ ได้ฟังธรรมและสอบถามธรรมะ โดยในข้อที่ #29_ทุติยปริหานิสูตร ข้อที่ #30_วิปัตติสูตร และ ข้อที่ #31_ปราภวสูตร มีนัยยะทิศทางเดียวกัน คือ ธรรมที่เป็นเหตุแห่งความไม่เสื่อมโดยเน้นมาที่อุบาสกและอุบาสิกา ได้แก่ ไม่ละเลยการเยี่ยมเยียนพระสงฆ์ การฟังธรรมโดยไม่คิดเพ่งโทษ ศึกษาในอธิศีล ได้ให้ทานและมีความเลื่อมใส่ในสงฆ์ ข้อที่ 32-33-34-35 มีเนื้อหาธรรมะเหมือนกันในห้าข้อแรกแตกต่างกันในสองข้อท้าย โดยมีเนื้อหาปรารภถึงเทวดาองค์หนื่งมาเข้าเฝ้าพระผู้มีพระภาค กราบทูลถึง “ธรรม 7 ประการ ย่อมเป็นไปเพื่อความไม่เสื่อมแก่ภิกษุ” โดยประการที่เหมือนกัน ได้แก่ เป็นผู้มีความเคารพในพระศาสดา ในพระธรรม ในพระสงฆ์ ในสิกขา ในสมาธิ และที่แตกต่างกันในแต่ละหัวข้อ ได้แก่ เป็นผู้ไม่ประมาท มีปฏิสันถาร (การต้อนรับ) / มีหิริ โอตตัปปะ / เป็นผู้ว่าง่าย มีกัลยาณมิตร พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตกนิบาต วัชชิสัตตกวรรค เทวตาวรรค
- เมื่อเราลองพิจารณาดูธรรมทั้งหลาย (สิ่งทั้งหลาย) ที่เรารับรู้ได้นั้น ล้วนต่างอาศัยเหตุปัจจัยในการเกิดขึ้น มีอยู่ และดับไปของสิ่งเหล่านั้น เมื่อธรรมทั้งหลายไม่เที่ยงมีสภาพแปรเปลี่ยนไปตามเหตุปัจจัยจึงว่างเปล่าจากความเป็นตัวตน คือตกอยู่ภายใต้กฏของ “ไตรลักษณ์” “อปริหานิยธรรม และ ปริหานิยธรรม” ก็เช่นเดียวกัน ล้วนต่างมีเหตุที่ทำให้เจริญและเหตุที่ทำให้เสื่อม ว่าให้เข้าใจได้โดยง่ายคือ ต่างอาศัยเหตุปัจจัยในการมีอยู่และดับไปนั่นเอง ข้อที่ #27_สัญญาสูตร ว่าด้วยสัญญาที่เป็นอปริหานิยธรรม กล่าวคือ สัญญา (การกำหนดหมายรู้) ที่เป็นไปเพื่อลดกิเลส เพิ่มกุศลธรรมให้เกิดเจริญขึ้นมี 7 ประการ ได้แก่ กำหนดหมายความไม่เที่ยงแห่งสังขาร, ความเป็นอนัตตาในธรรมทั้งหลาย, ความไม่งามในกาย, โทษทุกข์ของกายอันมีความเจ็บไข้ต่าง ๆ ละอกุศลวิตก กำหนดหมายวิราคะ (คลายกำหนัด) และนิโรธ (ความดับทุกข์) ว่าเป็นธรรมละเอียดประณีต ข้อที่ #28_ปฐมปริหานิสูตร ว่าด้วยธรรมที่เป็นเหตุแห่งความเสื่อม ในหัวข้อนี้เน้นมาที่พระเสขะ (ผู้ที่ยังต้องศึกษาอยู่) โดยธรรมประการสุดท้ายได้กล่าวไว้น่าสนใจ เมื่อเห็นพระผู้บวชมานานรับภาระกิจในสงฆ์อยู่ พระผู้เป็นเสขะจะปฏิบัติตนอย่างไรเพื่อไม่ให้ถึงความเสื่อม คือต้องอาศัยการวางจิตและการพิจารณาในกิจนั้นว่าเป็นเหตุทำให้กุศลธรรมเสื่อมหรือเจริญ พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตกนิบาต วัชชิสัตตกวรรค
- ทบทวน #ข้อ 215 - #ข้อ 126 ว่าด้วยความไม่อดทน โดยได้ยกเอา เวปจิตติสูตร มาอธิบายเสริมทำความแจ่มแจ้งในเรื่องของการวางจิตในความอดทนเพื่อให้เป็นปัญญา “ผู้ใดแล.. เป็นคนมีกำลัง อดกลั้นต่อคนพาลไว้ได้ ความอดกลั้นของผู้นั้น บัณฑิตทั้งหลายกล่าวว่า เป็นขันติอย่างยิ่ง” ปฐม-ทุติยอปาสาทิกสูตร #ข้อ 217 - 218 โทษของบุคคลผู้ไม่น่าเลื่อมใส(ทำผิดวินัย) สูตร 1-2 คือ แม้ตนก็ติเตียนตนเอง ผู้รู้ติเตียน ชื่อสียงไม่ดีกระฉ่อนไป หลงลืมสติตาย ตายแล้วไปเกิดในอบาย คนที่ยังไม่เลื่อมใสย่อมไม่เลื่อมใส ผู้ที่เลื่อมใสแล้วกลายเป็นอื่น ไม่ปฏิบัติตามคำสอน คนรุ่นหลังเอาแบบอย่างได้ อัคคิสูตร #ข้อ 219 โทษของไฟ คือ ทำให้ตาฝ้าฟาง ผิวหยาบกร้าน อ่อนกำลัง เพิ่มการคลุกคลีด้วยหมู่ สนทนาดิรัจฉานกถา มธุราสูตร #ข้อ 220 นครมธุรา มีโทษคือ พื้นดินไม่เรียบ มีฝุ่นละออง สุนัขดุ มียักษ์ร้าย อาหารหาได้ยาก ถ้าเราอยู่ที่ไหนแล้วมีจิตไม่เป็นสมาธิ[...]
- อวชานาติสูตร #ข้อ141 บุคคล 5 จำพวก (ปุถุชน) มีปรากฏอยู่ คือ 1) บุคคลให้แล้วดูหมิ่นผู้รับ 2) อยู่ร่วมกันแล้วดูหมิ่นในศีล 3) เป็นคนเชื่อง่าย หูเบา 4) เป็นคนโลเล ศรัทธาหัวเต่า และ 5) ผู้เขลา ไม่รู้จักธรรมดำธรรมขาว อารภติสูตร #ข้อ142 บุคคล 5 จำพวก คือ บุคคลจำพวกที่ 1-4 มี ศีล สมาธิ สมบูรณ์และไม่สมบูรณ์บ้าง และมีปัญญาพอประมาณ เมื่อละอาสวะที่เกิดจากการต้องอาบัติและวิปปฏิสาร และเจริญซึ่งสมถะกับวิปัสสนา ก็จะทัดเทียมจำพวกที่ 5 คือ อรหันต์ สารันททสูตร #ข้อ143 เจ้าลิจฉวี ได้สนทนากันเรื่อง “แก้ว 5 ประการ ที่หาได้ยากในโลก” โดยมีนัยยะมุ่งไปในทางกาม ส่วนนัยยะของพระผู้มีพระภาคนั้น คือ พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์[...]
- อปริหานิยธรรม 7 ประการ ของภิกษุ หรือ ภิกขุปริหานิยธรรม 7 (ธรรมอันไม่เป็นที่ตั้งแห่งความเสื่อม เป็นไปเพื่อความเจริญฝ่ายเดียวสำหรับภิกษุทั้งหลาย) ซึ่งได้แสดงจำแนกไว้หลายนัยยะ ข้อที่ 23_ปฐมสัตตกสูตร (สูตรที่ ๑) 1. หมั่นประชุมกันเนืองนิตย์ 2. พร้อมเพรียงกันประชุม - เลิกประชุม - ทำกิจที่สงฆ์จะต้องทำ 3. ไม่บัญญัติสิ่งที่พระพุทธเจ้าไม่ทรงบัญญัติ ไม่ล้มล้างสิ่งที่บัญญัติไว้ สมาทานศึกษาอยู่ในสิกขาบททั้งหลายตามที่บัญญัติไว้ 4. เคารพนับถือภิกษุผู้เป็นผู้ใหญ่ เห็นถ้อยคำของท่านว่าเป็นสิ่งอันควรรับฟัง 5. ไม่ลุอำนาจตัณหาคือความอยากที่เกิดขึ้น 6. ยินดีในเสนาสนะป่า 7. ตั้งสติระลึกไว้ว่า เพื่อนพรหมจารีผู้มีศีลงาม ซึ่งยังไม่มา ขอให้มา ที่มาแล้ว ขอให้อยู่ผาสุก ข้อที่ 24_ทุติยสัตตกสูตร (สูตรที่ ๒) 1. ไม่ยินดีในการงาน เช่น การทำจีวร หรืองานก่อสร้างต่าง ๆ 2. ไม่ชอบการพูดคุย - ไม่สนทนาเรื่องนอกธรรมวินัย (เรื่องกาม)[...]
- #25_อนุสสติฏฐานสูตร เมื่อตามระลึกถึงอนุสสติฏฐาน 6 ประการนี้แล้ว จิตย่อมไม่ถูกกิเลสกลุ้มรุม เป็นจิตดำเนินไปตรง ทำจิตบริสุทธิ์ขึ้นมาได้ อันได้แก่ 1) พุทธานุสสติ 2) ธัมมานุสสติ 3) สังฆานุสสติ 4) สีลานุสสติ 5) จาคานุสสติ 6) เทวตานุสสติ #26_มหากัจจานสูตร พระมหากัจจานะได้ปรารภการ “บรรลุช่องว่างในที่คับแคบ” ซึ่งหมายถึง อนุสสติฏฐาน 6 ที่ประกอบด้วยจิตอันไพบูลย์เป็นมหัคคตะ คือ ไม่ว่าเราจะถูกบีบคั้นจากอายตนะ 6 อย่างไร ถ้าเราจัดการจิตเราได้อย่างถูกต้องย่อมบรรลุถึงนิพพานได้ #27_#28_ปฐม_ทุติยสมยสูตร พระผู้มีพระภาคได้ตรัสกับภิกษุรูปหนึ่ง (สูตร1) และ ท่านพระมหากัจจานะได้กล่าวกับเหล่าภิกษุเถระ (สูตร 2) ถึงสมัยที่ควรเข้าไปพบภิกษุผู้เจริญภาวนาทางใจ ซึ่งก็ได้แก่ สมัยที่ถูกนิวรณ์ 5 กลุ้มรุม และไม่รู้นิมิต (เครื่องหมาย) ซึ่งเป็นที่สิ้นอาสวะสำหรับผู้อาศัยมนสิการ (ทำไว้ในใจ) อยู่ เพื่อขอให้ท่านได้แสดงอุบายเป็นเครื่องนำออกจากสิ่งนั้นได้ พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ฉักกนิบาต อนุตตริยวรรค
- อปริหานิยธรรม (ราชอปริหานิยธรรม) 7 ประการ นี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงตรัสแสดงแก่เจ้าวัชชีทั้งหลายผู้ปกครองรัฐโดยระบอบสามัคคีธรรม ซึ่งรัฐคู่อริ (แคว้นมคธ) ยอมรับว่า เมื่อชาววัชชียังปฏิบัติตามหลักธรรมนี้ จะเอาชนะด้วยการรบไม่ได้ นอกจากจะใช้การเกลี้ยกล่อมทางการฑูตหรือยุแยกให้แตกสามัคคีกัน #22_วัสสการสูตร พระเจ้าอชาตศัตรู มีพระประสงค์จะโค่นล้มพวกเจ้าลิจฉวีจึงรับสั่งให้ วัสสการพราหมณ์มหาอำมาตย์ ไปเข้าเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าเพื่อกราบทูลถาม..ฯ พระผู้มีพระภาคทรงไม่ตรัสตอบแต่ทรงรับสั่งเรียกท่านพระอานนท์มาตรัสถามถึง “อปริหานิยธรรม 7 ประการ” ของชาววัชชี จึงทำให้วัสสการพราหมณ์มีปัญญาเห็นกลอุบายที่จะโค่นล้มพวกเจ้าลิจฉวีนั่นคือ “ทำให้แตกแยกสามัคคี” ... จึงได้คิดวางแผนให้วัสสการพราหมณ์ปลอมเข้าไปเป็นไส้ศึก ซึ่งวิธีการที่ใช้ คือ 1. ทำให้ไม่เชื่อใจกัน (ระแวง) 2. ทำให้ไม่พอใจกัน ซึ่งใช้ระยะเวลาอยู่ 3 ปี ก็โค่นล้มพวกเจ้าลิจฉวีได้สำเร็จ พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตกนิบาต วัชชิสัตตกวรรค ....................................................................................... *อปริหานิยธรรม 7 ประการ 1. หมั่นประชุมกันเนืองนิตย์ 2. พร้อมเพรียงกันประชุม - เลิกประชุม – ทำกิจที่พึงทำ 3. ไม่บัญญัติสิ่งที่มิได้บัญญัติไว้[...]
- #21_สามกสูตร พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ที่วิหารโปกขรณีย์ ใกล้หมู่บ้านสามะ ทรงปรารภเทวดาที่มาเข้าเฝ้ากราบทูลถึงธรรมที่เป็นไปเพื่อความเสื่อม 3 ประการ คือ 1) เป็นผู้ชอบการงาน 2) ชอบการพูดคุย 3) ชอบการนอนหลับ และพระองค์ทรงแสดงปริหานิยธรรมเพิ่มอีก 3 ประการ ให้แก่ภิกษุทั้งหลาย คิอ 4) ชอบคลุกคลีด้วยหมู่ 5) เป็นผู้ว่ายาก 6) มีปาปมิตร (มิตรชั่ว) #22_อปริหานิยสูตร อปริหานิยธรรม (ธรรมที่ไม่เป็นเหตุแห่งความเสื่อม) คือ ยกเอาธรรมในข้อ #21 ทั้ง 6 ประการ มากล่าวถึงในทางตรงข้ามกัน #23_ภยสูตร คำว่า ‘ภัย (อันตราย) ทุกข์ (ยึดถือ) โรค (อ่อนกำลัง) ฝี (จิตกลัดหนอง) เครื่องข้อง (บีบคั้น) เปือกตม (จมอยู่)’ นี้เป็นชื่อของกาม เพราะกามทำให้ผูกพัน มีฉันทราคะ ลุ่มหลง ก็จะทำให้เกิด ‘ภัย ทุกข์ โรค[...]
- จิตที่ไม่นุ่มนวล เพราะถูกกิเลสรัดตรึงไว้ จิตจะไม่ก้าวหน้า ให้เราเอาเครื่องขวางนี้ออก จิตของเราจะมีการพัฒนา บรรลุธรรมได้ กิมพิลสูตร #ข้อ 201 ท่านกิมพิละได้ทูลถามพระพุทธเจ้าถึงเหตุปัจจัยให้พระสัทธรรมดำรงอยู่ได้ไม่นานเมื่อพระพุทธเจ้าปรินิพพานแล้ว นั่นก็คือพุทธบริษัท 4 นี้ ไม่เคารพยำเกรงในพระรัตนตรัย ในสิกขา และ ในกันและกัน ธัมมัสสวนสูตร #ข้อ 202 การฟังธรรมจะมีอานิสงส์ 5 ประการ คือ ได้ฟังสิ่งที่ยังไม่เคยได้ฟัง เข้าใจชัดสิ่งที่ได้ฟังแล้ว บรรเทาความสงสัยเสียได้ ทำให้มีความเห็นตรง จิตย่อมเลื่อมใส อัสสาชานียสูตร #ข้อ 203 อุปมาอุปไมยม้าอาชาไนยกับภิกษุ ในเรื่องความตรง ความมีเชาว์ ความอ่อน ความอดทน และความเสงี่ยม พลสูตร #ข้อ 204 พละ คือ กำลังคือศรัทธา หิริ โอตตัปปะ วิริยะ และปัญญา เจโตขิลสูตร #ข้อ 205 กิเลสเครื่องตรึงจิตดุจตะปู 5 ประการ คือ[...]
- มุณฑราชวรรค หมวดว่าด้วยพระเจ้ามุณฑราช เริ่มด้วยข้อที่ 42 สัปปุริสสูตร เพราะมีความเกี่ยวเนื่องด้วยข้อที่ 40 ไส้ในเหมือนกัน หัวข้อและอุปมาต่างกัน ในข้อที่ 42 นี้คือ คนดีเกิดมาเพื่อประโยชน์แก่คนหมู่มาก คนดีดูได้ที่ ศรัทธา ศีล สุตตะ จาคะ ปัญญา ท่านอุปมาเฆฆฝนที่ตั้งขึ้นย่อมมีคุณต่อชาวนาในการเพาะปลูก ข้อที่ 41 อาทิยสูตร บุคคลที่มีโภคทรัพย์แล้ว ควรถือประโยชน์จากทรัพย์นั้นให้ครบทั้ง 5 ประการ เพราะแต่ละข้อให้ประโยชน์แตกต่างกัน ควรจะขวนขวายเอาให้หมดจากเงินแม้น้อยหรือมากที่เรามีก็ตาม รู้จักบริหารเป็นสุขอยู่โดยธรรม ด้านบำรุงครอบครัวและมิตรให้พลังมีความเพียร ด้านป้องกันภัยให้มีเงินเก็บรู้จักลงทุน ด้านสละเพื่อสังคมทำให้มีกัลยาณมิตร และด้านที่สละออกแด่เนื้อนาบุญจะทำให้บุญนั้นให้ผล ข้อที่ 43 อิฏฐสูตร ธรรมะ 5 อย่างที่ใคร ๆ ก็ปรารถนา คือ อายุ วรรณะ ความสุข ยศ สวรรค์ แต่การได้มานั้นพระพุทธเจ้าไม่ได้ให้อ้อนวอนหรือเพลิดเพลินไปในสิ่งนั้น ให้เห็นถึงความไม่เที่ยง ให้มีปฏิปทาที่ให้เกิดผลนั้นอยู่ ถ้าเราสร้างเหตุเฉยๆ ไม่มีความอยาก มีความแยบคายในการปฏิบัติ อริยสาวกย่อมได้รับธรรมะห้าข้อนี้[...]
- Q: ประสบปัญหาสูญเสียดวงตา เคยคิดฆ่าตัวตายแต่ไม่กล้า / คาถา “อะทาสิ เม อะกาสิ เม” ที่ใช้สวดในงานศพมีความหมายอย่างไร? A: ผู้ที่ประสบปัญหาแล้วแต่มีความกล้าหาญที่จะเผชิญหน้ากับปัญหานั้น เราเรียกความกล้าหาญของผู้นี้ว่า "เป็นผู้ที่มีดวงตาเห็นธรรม” / “อะทาสิ เม อะกาสิ เม” แปลได้ว่า “ทานที่ให้แล้ว บุญที่กระทำแล้วมีผล” หมายความว่า ทาน ศีล ภาวนา ที่เราได้กระทำไว้ไม่สูญเปล่าย่อมส่งผลทั้งในโลกนี้และโลกหน้า Q: เมื่อประสบความทุกข์อยู่ต่อหน้าอะไรคือทางออก? A: สติคือทางออกอย่างแรกเลย สติจะมีหน้าที่คอยแยกแยะไม่ให้หลงเพลินไปในความทุกข์นั้น ให้มีความอดทนต่อผัสสะต่างๆ สั่งสมปัญญาด้วยการฟังธรรมอยู่เนืองๆ จิตจะคลายความยึดถือลง เบาลง Q: มีความฟุ้งซ่านเกิดขึ้นในระหว่างการทำสมาธิ A: “สมาธิไม่ได้ด้วยการบังคับ” อย่าบังคับความคิด แต่ให้ดึงสติให้มาสังเกตลมหายใจอยู่ที่จมูก Q: เรื่องภาษาและเชื้อขาติ กับคำสอนของพระพุทธเจ้า A: คำสอนของพระพุทธเจ้าเกี่ยวกับ “ทุกขอริยสัจ” เป็นความจริงบนโลกซึ่งสามารถทำความเข้าใจได้ในทุกชาติทุกภาษา Q: มักจะเจอคำตอบของปัญหาในการฟังธรรม A: ทุกข์บนโลกนี้มีมาก และทุกคนก็ประสบความทุกข์เหมือนกัน กล่าวคือ[...]
- การที่เราจะมาพิจารณาเห็นความเป็นสุขในนิพพานได้นั้น ต้องอาศัยการลงมือปฏิบัติตามอริยมรรค เพื่อให้เข้าใจทุกข์ เหตุเกิดทุกข์ และปัญญาที่จะเห็นแจ้งในการดับทุกข์ ซึ่งในข้อที่ #19_นิพพานสูตร ได้เน้นถึงการมีสัญญาเห็นอยู่บ่อย ๆ ใน “ความไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา” ในสังขารทั้งหลายและการดับลงแห่งสังขารทั้งหลายของอนาคามีและอรหันต์ 7 จำพวกซึ่งเป็นผู้ควรแก่ของที่เขานำมาถวายฯลฯ.. เป็นนาบุญอันยอดเยี่ยมของโลก *การมีสติตั้งมั่นในสติปัฏฐาน 4 จะทำให้เราเห็นแจ้งตามความเป็นจริงในสังขารทั้งหลาย เข้าถึงนิพพานในปัจจุบันได้ #20_นิททสวัตถุสูตร การบรรลุธรรมเป็นอริยบุคคลขั้นใดขั้นหนึ่งไม่ได้เกี่ยวเนื่องด้วยจำนวนพรรษา แต่อยู่ที่การปฏิบัติในศีล สมาธิ และปัญญา มีการพิจารณาใคร่ครวญธรรม ข่มตัณหา อยู่หลีกเร้น ปรารภความเพียร มีสติปัญญาเป็นเครื่องรักษาตน แทงตลอดด้วยทิฏฐิ พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตกนิบาต อนุสยวรรค
- ขยายความในข้อที่14 ให้เห็นถึงลักษณะของโสดาบันในสไตล์การบรรลุที่ต่างกัน ไล่มาตั้งแต่โสดาปัตติมรรคคือธัมมานุสารีและสัทธานุสารีนี้เป็นมรรคให้เกิดผลในกายสักขี ทิฏฐิปัตตะ สัทธาวิมุตติ ส่วนในสองข้อแรกคืออรหันต์ ต่อมาในข้อที่15 เปรียบด้วยบุคคลผู้ตกน้ำ เป็นอุปมาอุปไมยการท่วมทับจากกามจนจมน้ำ จนถึงกายแห้งขึ้นบกคืออรหันต์ โดยมีอินทรีย์ 5 เป็นตัววัดในการพัฒนาของบุคคลทั้ง 7 ประเภทนี้ คือ 1)จมแล้ว จมเลย=ดำมืด ไม่มีกุศลธรรม 2)โผล่แล้ว จมลงอีก=มีอยู่แต่ไม่คงที่ 3)โผล่แล้ว หยุดอยู่=คงที่ 4)โผล่แล้ว เหลียวมองดู=โสดาบัน 5)โผล่แล้ว ข้ามไป=สกทาคามี 6)โผล่แล้ว ได้ที่พึ่ง=อนาคามี และ 7)โผล่แล้ว เข้าถึงฝั่ง=อรหันต์ ข้อที่ 16, 17 และ18 มีความต่างกันตรงเหตุที่ทำให้บรรลุคือการพิจารณาความไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา โดยมีพื้นฐานเหมือนข้อที่ 14 โดยในสองข้อแรกหมายถึงอรหันต์ ส่วนข้อที่เหลือหมายถึงอนาคามี 5 ประเภท ที่มีเวลาการบรรลุที่แตกต่างกันตามภพที่ไปเกิด คือ อัตราปรินิพพายี มีอายุไม่ถึงกึ่งก็ปรินิพพาน, อุปหัจจปรินิพพายี อายุเลยกึ่งจึงนิพพาน, อสังขารปรินิพพายี บรรลุโดยไม่ใช้ความเพียรมาก, สสังขารปรินิพพายี ใช้ความเพียรมาก[...]
- ข้อที่ #10_มัจฉริยสูตร สังโยชน์ หมายถึง สิ่งที่ผูกจิตให้ติดอยู่ในภพ ได้แก่ สังโยชน์ คือ ความยินดี, ความยินร้าย, ความเห็นผิด ความลังเลสงสัย, ความถือตัว, ความริษยา (ตนเองไม่มี-แต่คนอื่นมี), ความตระหนี่ (ตนเองมี-แต่ไม่ให้) ข้อที่ #11-12_ปฐม-ทุติยอนุสยสูตร อนุสัย คือ กิเลสที่นองเนื่องในสันดาน ได้แก่ อนุสัย คือ ความกำหนัดในกาม, ความยินร้าย, ความเห็นผิด, ความลังเลสงสัย, ความถือตัว, ความติดใจในภพ, ความไม่รู้แจ้ง *กิเลสที่ทำให้เกิดอนุสัย 7 และ สังโยชน์ 7 นี้ สังเกตเห็นได้ว่า เป็นกิเลสอย่างละเอียดชนิดเดียวกัน เมื่อเกิดสะสมอยู่ในจิตแล้วผลคือ ผูกจิตให้ติดอยู่ในภพ สามารถละได้ด้วยศีล สมาธิ ปัญญาอย่างละเอียด ข้อที่#13_กุลสูตร ตระกูลที่ประด้วยองค์ประกอบต่อไปนี้ ภิกษุควรเข้าไปหา (ไว้ใช้พิจารณาการเข้าสู่ตระกูล) คือ มีการลุกขึ้นต้อนรับ-ไหว้-ให้อาสนะด้วยความเต็มใจ, ไม่ปกปิดของที่มีอยู่, มีของมาก ก็ถวายมาก, มีของประณีต[...]
- ข้อที่ #7_อุคคสูตร เป็นเรื่องราวของอุคคมหาอำมาตย์ที่ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคเจ้าถึงความเป็นผู้มีทรัพย์มากของมิคารเศรษฐีผู้เป็นหลานของโรหณเศรษฐี พระผู้มีพระภาคจึงทรงได้แสดงถึงทรัพย์เหล่านั้นว่า เป็นของสาธารณะทั่วไป แล้วได้ทรงแสดงถึง “อริยทรัพย์ 7 ประการ” ได้แก่ ทรัพย์คือ ศรัทธา, ศีล, หิริ, โอตตัปปะ, สุตะ, จาคะ และปัญญา ที่ไม่ใช่ของสาธารณะกับบุคคลอื่น ยิ่งใช้ยิ่งเพิ่ม และนำติดตัวข้ามภพชาติไปด้วยได้ *อริยทรัพย์นี้เมื่อเจริญให้มากก็ย่อมก่อให้เกิดประโยชน์อันมากด้วยเช่นกัน นั่นหมายถึงการละสังโยชน์ตัดภพชาติได้ ข้อที่ 8-9-10 ว่าด้วยเรื่องสังโยชน์กิเลสเครื่องผูกใจสัตว์ไว้ในภพ ได้แก่ สังโยชน์คือ 1. ความยินดีเพลินในสุข -รักสุข (กามราคะ) 2. ความยินร้ายในทุกข์ -ความหงุดหงิดด้วยอำนาจโทสะ (ปฏิฆะ) 3. ความเห็นผิด -ยึดมั่นในความเห็น (ทิฏฐิ) 4. ความลังเลสงสัยในพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ (วิจิกิจฉา) 5. ความถือตัว -เป็นสังโยชน์เบื้องสูง อาศัยความละเอียดในศีล สมาธิ และปัญญาในการละ (มานะ) 6. ความติดใจในภพ -กำหนัดยินดีในภพให้มีอยู่คงอยู่[...]
- ข้อธรรมะ 7 ประการในหมวดธนวรรค ที่ว่าด้วยอริยทรัพย์ คือ ทรัพย์อันประเสริฐที่เมื่อมีอยู่ในจิตใจของผู้ใดแล้วจะทำให้ผู้นั้นเป็นบุคคลประเสริฐขึ้นมาได้อย่างแท้จริง ทรัพย์ในที่นี้จึงหมายถึงธรรมะที่ทำให้ผู้นั้นเป็นคนประเสริฐหรืออริยบุคคลได้แก่ ข้อ#1 และ ข้อ#2 ธรรมที่เป็นเหตุให้เป็นที่รักที่พอใจเป็นที่น่าเคารพยกย่อง ได้แก่ 1. เป็นผู้ไม่มุ่งลาภ (สิ่งของ,เงินทอง) 2. ไม่มุ่งสักการะ (ยกย่อง) 3. ไม่มุ่งชื่อเสียง (มีหน้ามีตา) 4. เป็นผู้มีหิริ (ละอายบาป) 5. มีโอตตัปปะ (กลัวบาป) 6. มักน้อย (ไม่โอ้วอวด) / ไม่ริษยา 7. เป็นสัมมาทิฏฐิ / ไม่ตระหนี่ *ถึงแม้จะมีเพียงแค่ข้อใดข้อหนึ่งใน 7 ข้อนี้ก็เป็นเหตุให้เป็นที่รักได้ ข้อ#3 และ ข้อ#4 ว่าด้วยพละคือกำลังของจิตที่จะทำให้ทรงอยู่ในมรรคได้มากหรือน้อยได้แก่ 1. ศรัทธา (เชื่อมั่นในปัญญาการตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า) 2. วิริยะ(เพียรในการเจริญกุศล-ละอกุศล) 3. สติ (สติปัฏฐาน 4) 4. หิริ 5.[...]
- มาในพลวรรค ข้อที่ 11 - 14 อธิบายโดยรวมได้ดังนี้ พละ 5 เป็นธรรมที่องอาจ เป็นการบันลือสีหนาทของพระพุทธเจ้า ทำให้เราได้ฟังได้ยินในสิ่งที่ไม่เคยได้ยินได้ฟังมาก่อน พละ คือ กำลัง มี 5 อย่าง ได้แก่ ศรัทธา คือ ความมั่นใจความเลื่อมใส ความลงใจในการตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า แม้เอ่ยเพียงหนึ่งแต่ให้เข้าใจว่ารวมทั้งหมด “พุทธ ธรรม สงฆ์” เป็นศรัทธาที่ไม่เศร้าหมอง เพราะศรัทธาในสัมมาสัมพุทโธ มีศรัทธาแล้วจะทำให้ไม่ลังเลที่จะทำจริงแน่วแน่จริงมีความกล้าในการเผชิญหน้ากับทุกข์ (วิริยะ) เห็นตามจริง สติเกิดขึ้น สมาธิปัญญาก็ตามมาตามลำดับ ปัญญามีสูงสุดในแต่ละขั้นที่ผ่านไป หิริ โอตตัปปะ และสติ สมาธิสามารถนำมาใช้แทนกันได้สลับไปมาได้ในพละนี้ ข้อที่ 15 จะชี้ให้เห็นว่า สามารถหาคุณธรรมทั้ง 5 ได้จากที่ไหน: ศรัทธาหาได้ในโสตาปัตติยังคะ 4 วิริยะหาได้ในสัมมัปปธาน 4 สติหาได้ในสติปัฏฐาน 4 สมาธิหาได้ในฌาน 4 ปัญญาหาได้ในอริยสัจ 4 ทำไมจึงกล่าวว่าหาปัญญาได้ที่อริยสัจ[...]
- ข้อที่ #119-139 ได้กล่าวถึงคุณธรรมของอริยบุคคลขั้นผลของคหบดี 20 ท่าน โดยใน 10 ท่านแรกเป็นอุบาสกผู้เลิศ (เอตทัคคะ) ซึ่งคุณธรรมที่จะทำให้เป็นผู้เชื่อมั่นในตถาคต เห็นอมตธรรม ทำให้แจ้งอมตธรรม มีอยู่ 6 ประการ คือ มีความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระพุทธ (๑) พระธรรม (๒) พระสงฆ์ (๓) อริยศีล (๔) อริยญาณ (๕) และ อริยวิมุตติ (๖) *ความเลี่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ หมายถึง ความเชื่อมั่นในการตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า เชื่อมั่นในธรรมข้อปฏิบัติ (อริยศีล) ที่เมื่อปฏิบัติตามแล้วจะเป็นผู้ที่มีปัญญา (อริยญาณ) เห็นแจ้งในวิมุตติ เป็นอริยสงฆ์ขึ้นมาได้ ข้อที่ #140-649 ได้กล่าวถึงธรรมที่เป็นไปเพื่อความรู้ยิ่ง ไล่ไปจนถึงธรรมเพื่อความสละคืนในอุปกิเลสทั้ง 16 อย่าง เป็นธรรมที่แสดงเป็นชุด (Set) ในหนึ่งชุดประกอบด้วย อนุตตริยะ 6 คือ การได้เห็น.. ได้ฟังธรรม.. การได้ศรัทธา..[...]
- มหาวรรคหมวดว่าด้วยเรื่องใหญ่ พระสูตรที่น่าสนใจ คือ # 193_ภัททิยสูตร: มนต์ใดที่พระพุทธเจ้ากล่าวแล้วทำให้ภัททิยะเปลี่ยนไป ตั้งใจจะมาถามแต่เกรงโดนมนต์เปลี่ยนใจ มนต์นั้นเป็นความจริงหรือ พระพุทธเจ้าได้ตอบให้คิดกลับว่า ในความเชื่อ 10 อย่างที่เขาเชื่อกันอยู่นั้น ให้ละเสีย แล้วให้พิจารณาจากสิ่งใดที่ทำแล้วสามารถละโลภะ โทสะ โมหะ และสารัมภะได้ ควรทำ เพราะจะทำให้เกิดกุศล สิ่งใดที่ทำแล้วก่อให้เกิดโลภะ โทสะ โมหะ หรือสารัมภะ สิ่งนั้นก่อให้เกิดอกุศลธรรมบท 10 อย่าอ้างในนามของความดี ฉันขอทำความชั่ว ไม่ได้ #191_โสตานุคตสูตร: บุคคลใดที่ฟังธรรมแล้ว คล่องปากขึ้นใจแทงตลอด แต่ขณะตายเกิดหลงลืมสติ จะทำให้เกิดอานิสงส์ไปเป็นเทวดาแล้วจะสามารถบรรลุนิพพานในชั้นนั้นโดยสถานะต่างกัน คือ จำได้ด้วยตนเอง จำได้เพราะภิกษุแสดงธรรม (เสียงกลอง) จำได้เพราะเทวดาแสดงธรรม (เสียงสังข์) จำได้เพราะเพื่อนเทวดาเตือน (จำวัยเด็กได้) #192_ฐานสูตร: รู้บุคคลด้วยสถานะ 4 ประการ คือ ศีลพึงรู้ได้ด้วยการอยู่ร่วมกัน ความบริสุทธิ์พึงรู้ได้ด้วยถ้อยคำ กำลังจิตพึงรู้ได้ในคราวมีภัย ปัญญาพึงรู้ได้ด้วยการสนทนา ทั้งหมดนี้ต้องใช้เวลานาน มีมนสิการ และปัญญา การตรวจสอบคนอื่นไม่ใช่หาข้อผิด ให้มนสิการกลับมาพัฒนาตนในข้อที่ยังไม่มี[...]
- การมาศึกษาคำสอนของพระพุทธเจ้าเพื่อให้เกิดผลที่ดีงามนั้น ควรจะศึกษาด้วยการปฏิบัติ (สิกขา) คือ ปริยัติและปฏิบัติจะต้องควบคู่กันไป ซึ่งจะทำให้การปฏิบัติของเรานั้น มีความละเอียดลึกซึ้งขึ้นมาได้ #116_อุทธัจจสูตร ว่าด้วยความฟุ้งซ่าน •ควรเจริญสมถะ (ความสงบแห่งจิต) เพื่อละ อุทธัจจะ (ความฟุ้งซ่าน) - ความคิดในหลายๆ เรื่องที่เป็นอกุศล •ควรเจริญสังวร (ความสำรวม) เพื่อละ อสังวร (ความไม่สำรวม) •ควรเจริญอัปปมาทะ (ความไม่ประมาท) เพื่อละ ปมาทะ (ความประมาท) *การที่จะให้เกิดความสงบในจิตขึ้นมาได้นั้น ก็เริ่มมาจากการที่เราไม่ประมาท มีสติสำรวมในอินทรีย์ จิตก็จะรวมเป็นอารมณ์อันเดียวเกิดสมถะขึ้นมาในจิตใจได้ #117_กายานุปัสสีสูตร และ #118_ธัมมานุปัสสีสูตร ว่าด้วยผู้ที่ยังละธรรม 6 ประการนี้ไม่ได้ ก็จะทำให้สติปัฏฐาน 4 ให้เกิดขึ้นไม่ได้ และ ถ้าละได้แล้วก็จะทำให้สติปัฏฐาน 4 เกิดขึ้นได้ ได้แก่ 1. เป็นผู้ชอบการงาน 2. เป็นผู้ชอบการพูดคุย 3. เป็นผู้ชอบการนอนหลับ 4. เป็นผู้ชอบการคลุกคลีด้วยหมู่ 5. เป็นผู้ไม่คุ้มครองทวารในอินทรีย์ทั้งหลาย[...]
- ในติกวรรคนี้แบ่งธรรมออกเป็น 2 หมวด หมวดละ 3 ข้อ โดยใน 3 ข้อแรกจะเป็นฝ่าย “อกุศล” และธรรม 3 ข้อหลังจะแสดงเพื่อละธรรมใน 3 ข้อแรกนั้น #114_สันตุฏฐิตาสูตร ว่าด้วย ความสันโดษ ธรรมในหมวดนี้ คือ อสันตุฏฐิตา (ความไม่สันโดษ) / อสัมปัชชัญญะ (ความไม่มีสัมปชัญญะ) / มหิจฉตา (ความปรารถนามาก) • ควรเจริญสันตุฏฐิตา (ความสันโดษ) เพื่อละอสันตุฏฐิตา • ควรเจริญสัมปชัญญะ (มีสติ รู้ตัวทั่วพร้อม) เพื่อละอสัมปัชชัญญะ • ควรเจริญอัปปิจฉตา (ความปรารถนาน้อย) เพื่อละมหิจฉตา *สันโดษ มักน้อย มักจะเป็นวลีที่มาคู่กันเสมอ และมีการเข้าใจผิดเพี้ยนคลาดเคลื่อนไป “สันโดษ” ไม่ใช่ ความเกียจคร้าน แต่เป็นความยินดีพอใจยอมรับในสิ่งที่ตนมี จะทำให้เกิดการพัฒนา ส่วน “มักน้อย” คือ ไม่ปรารถนาให้ผู้อื่นรู้คุณวิเศษในตน ทำดีได้โดยไม่ต้องโอ้อวด[...]
- หมวดธรรมติกวรรคนี้ แบ่งธรรมออกเป็นหมวดละ 3 ข้อ โดยยกธรรม 3 ข้อแรกขึ้นมาก่อน แล้วยกธรรม 3 ข้อหลังขึ้นมาเพื่อละธรรม 3 ข้อแรกนั้น #112_อัสสาทสูตร ว่าด้วยอัสสาททิฏฐิ (อัสสาทะ หมายถึง ความยินดี ความพอใจ รสอร่อยในกามคุณ / ทิฏฐิ หมายถึง ความเห็น *ในที่นี้หมายถึงความเห็นผิด) 1. อัสสาททิฏฐิ - ความเห็นผิดที่เกิดขึ้นเพราะอาศัยความยินดี เพลินพอใจไปในกามคุณ เห็นแต่ข้อดีอย่างเดียว (คือ รสอร่อย) ไม่เห็นโทษอันต่ำทราม คือ ความที่มันเป็นของไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา (อาทีนวะ) - ควรเจริญ “อนิจจสัญญา” (คือ ความหมายรู้โดยความเป็นของไม่เที่ยงของสังขารทั้งหลาย) เพื่อละอัสสาททิฏฐิ 2. อัตตานุทิฏฐิ - ความเห็นผิดว่านี่เป็นเรา เป็นตัวเรา เป็นของเรา (สักกายทิฏฐิ) - ควรเจริญ “อนัตตสัญญา” (คือ[...]
- หมวดธรรมติกวรรคนี้ แบ่งธรรมออกเป็นหมวดละ 3 ข้อ โดยยกธรรม 3 ข้อแรกขึ้นมาแสดง แล้วตามด้วยธรรม 3 ข้อหลังเพื่อการละธรรม 3 ข้อแรกนั้น #107_ราคสูตร ว่าด้วย ราคะ โทสะ โมหะ 1. ควรเจริญอสุภะ (ความเป็นของไม่งาม-ปฏิกูล) เพื่อละ ราคะ 2. เจริญเมตตา เพื่อละ โทสะ - ลักษณะของเมตตาที่เป็นไปเพื่อละโทสะ คือ 1. ไม่มีเงื่อนไข 2. ไม่มีประมาณ 3. ไม่มียกเว้นใคร 3. เจริญปัญญา เพื่อละ โมหะ - ปัจจัยส่งเสริมให้เกิดปัญญา คือ กัลยาณมิตร (มีพระรัตนตรัยเป็นสรณะ และเลือกคบคนดี) และการโยนิโสมนสิการ #108_ทุจจริตสูตร ว่าด้วย กายทุจริต วจีทุจริต มโนทุจริต ควรเจริญกายสุจริต วจีสุจริต มโนสุจริต *ข้อสังเกต[...]
- #17_โสปปสูตร พระผู้มีพระภาคทรงตรัสกับพวกภิกษุผู้บวชใหม่ โดยทรงชี้ให้เห็นโทษของ “ผู้ที่หาความสุขจากการนอน” โดยได้ยกตัวอย่างบุคคล 6 ประเภทขึ้นมาเปรียบอุปไมยกับภิกษุ แล้วทรงชี้ให้เห็นคุณของ “การสำรวมอินทรีย์ รู้ประมาณในการบริโภค หมั่นประกอบในธรรมอันเป็นเครื่องตื่น ให้เห็นแจ้งในกุศลธรรมทั้งหลาย และเพียรเจริญโพธิปักขิยธรรม” ซึ่งจะทำให้ถึงความสิ้นอาสวะได้ #18_มัจฉพันธสูตร พระผู้มีพระภาคทรงปรารภเรื่อง “การเลี้ยงชีพด้วยการฆ่าเพื่อขาย” ของ คนฆ่าปลา ฆ่าโค ฆ่าแกะ ฆ่าสุกร พรานนก และพรานเนื้อ กระทำด้วยใจที่เป็นบาป (เจตนาทำซ้ำ ๆ) เพราะกรรมนั้นจึงเป็นเหตุให้ไม่มีโภคทรัพย์มาก ยิ่งผู้ที่ฆ่ามนุษย์ด้วยแล้วย่อมมีทุกข์มากตลอดกาล เมื่อตายไปแล้วย่อมไปเกิดในอบาย ฯ #19_#20_ปฐม_ทุติยมรณัสสติสูตร (สูตร 1-2) พระผู้มีพระภาคทรงปรารภเรื่อง “การเจริญมรณสติ” มีอานิสงส์มาก มีอมตะ (นิพพาน) เป็นที่สุด พึงเจริญมรณสติอย่างแรงกล้า เพราะเหตุแห่งความตายมีมาก เช่น ภัยจากสัตว์ร้าย ลื่นหกล้ม อาหารไม่ย่อย ดี-เสมหะ-ลมพิษกำเริบ จึงพึงตั้งสติมั่นในการละอกุศล เจริญแต่กุศลให้มาก พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ฉักกนิบาต สารณียวรรค
- การมาเห็นสังขารทั้งหลาย (ขันธ์ 5) เป็นของไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา แล้วเห็นอย่างไม่จำกัดขอบเขต จะเกิดอานิสงส์อย่างมาก จิตน้อมไปสู่กระแสนิพพาน “อนุโลมิกขันติ” จะหยั่งลงสู่ระบบความเห็นที่ถูกต้อง คือ “สัมมัตตนิยาม” และจะทำที่สุดแห่งทุกข์ได้ ข้อที่ 102-104 ว่าด้วย เรื่องอานิสงส์ 6 ประการ ที่เกิดขึ้นจากเห็น “อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา” ในสังขารทั้งหลาย เป็นการเห็นอย่างไม่มีขอบเขต #102_อนวัฏฐิตสูตร เห็นโดยความเป็นของไม่เที่ยง “อนิจจสัญญา” อานิสงส์ คือ เมื่อเห็นความไม่เที่ยงแล้ว จิตจะไม่ยินดี จะถอยออก จะน้อมไปในนิพพาน ก็จะละความยึดถือเครื่องร้อยรัด (สังโยชน์) ทำให้เกิดผลยอดเยี่ยม (สามัญญผล) #103_อุกขิตตาสิกสูตร เห็นโดยความเป็นทุกข์ “ทุกขสัญญา” อานิสงส์ คือ จะเกิดความเบื่อหน่าย “นิพพิทาสัญญา” จิตก็จะถอยออก จะน้อมไปในนิพพาน ก็จะถอนอนุสัยได้ (กิเลส ความเคยชิน) จะทำตามหน้าที่ มีจิตเมตตาบำรุงพระศาสดา (ปฏิบัติบูชา) #104_อตัมมยสูตร[...]
- “อนุโลมิกขันติ” คือ กระแสแห่งธรรมที่เป็นไปเพื่อมรรคผลนิพพาน ผู้ที่เข้าถึงกระแสนี้แล้ว ย่อมเห็นความเป็นกฏไตรลักษณ์ในสังขารทั้งหลาย เป็นผู้ที่มีนิพพานเป็นเบื้องหน้า #96_ปาตุภาวสูตร การปรากฏขึ้นของเหตุ 6 ประการนี้ หาได้ยากในโลก ได้แก่ การปรากฏขึ้นของพระพุทธเจ้าบุคคลผู้แสดงธรรมวินัยที่ตถาคตประกาศไว้ผู้เกิดในถิ่นที่มีคำสอนของพระพุทธเจ้าความมีอินทรีย์ไม่บกพร่อง คือ มีความปกติทางกายและจิตใจ (อินทรีย์ 5)ไม่โง่เขลาพอใจในกุศลธรรม #97_อานิสังสสูตร อานิสงส์ของผู้ที่ได้บรรลุโสดาปัตติผลแล้ว คือ มีความเที่ยงแท้ต่อพระนิพพาน / มีความไม่เสื่อม(ไม่อาจทำเหตุให้ไปตกอบาย) / ทำความดับทุกข์ได้ / มีอสาธารณญาณ (ปัญญาญาณ) / เห็นเหตุ / เห็นผลในธรรมที่เกิดขึ้น ข้อที่ 98-99-100-101 เป็นธรรมที่ประกอบด้วย “อนุโลมิกขันติ” แต่ละข้อจะว่าด้วย ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา และ นิพพาน โดยในแต่ละหัวข้อ แบ่งออกได้เป็น 3 คู่ ซึ่งเป็นธรรมที่ตรงข้ามกัน #98_อนิจจสูตร ผู้ที่ประกอบด้วยอนุโลมิกขันติ จะเห็นสังขารว่าเป็นของไม่เที่ยง หยั่งลงสู่ระบบความเห็นที่ถูกต้องได้ คือ สัมมัตตนิยาม และ จักทำให้แจ้งโสดาปัตติผล[...]
- อริยบุคคล คือ บุคคลผู้ประเสริฐ ผู้เข้าถึงกระแสแห่งพระนิพพาน มี 8 จำพวก แบ่งได้เป็น 4 คู่ ซึ่งในแต่ละคู่นั้น แบ่งออกเป็นขั้นอริยมรรค และขั้นอริยผล โสดาบัน คือ อริยบุคคลพวกแรกที่เข้าถึงกระแสแห่งพระนิพพาน ประเภทของโสดาบัน แบ่งเป็น 3 ประเภท คือ เอกพีชี, โกลังโกละ, สัตตักขัตตุงปรมะ คุณสมบัติที่ทำให้เป็นโสดาบันทั้งในขั้นมรรคและขั้นผลนั้น ก็จะประกอบไปด้วย โสตาปัตติยังคะ 4 (ผู้มีศรัทธาหยั่งลงมั่นไม่หวั่นไหวในพระรัตนตรัย และมีศีลบริบูรณ์) และในขั้นผลก็จะละสังโยชน์เบื้องต่ำ 3 ประการแรกได้ (สักกายทิฏฐิ วิจิกิจฉา สีลัพพตปรามาส) กล่าวโดยย่อ คือ “เป็นผู้มีศรัทธา และมีศีลเต็มบริบูรณ์ มีสมาธิ และปัญญาพอประมาณ” ฐานะที่ไม่อาจเป็นไปได้ของโสดาบัน (ผู้ถึงพร้อมแล้วด้วยทิฏฐิ เห็นตามความเป็นจริง) ได้แก่ #94_ตติยอภัพพัฏฐานสูตร (สูตรที่ 3) ไม่อาจจะทำอนันตริยกรรม 5 ได้ และไม่อาจนับถือศาสนาอื่น หรือศาสดาอื่นได้ คือ ไม่เอามาเป็นสรณะ (ที่พึ่ง)[...]
- ในอริยบุคคลนั้น จะประกอบด้วยขั้นมรรคและขั้นผล ผู้ที่ได้อริยบุคคลขั้นผลแล้ว ก็ต้องผ่านการทำเหตุมาก่อน คือ ผ่านขั้นมรรคมาก่อน “มรรค” จึงเป็นทางดำเนิน (แนวทางการปฏิบัติ) ให้ไปสู่ความเป็นอริยบุคคลขั้นผลในระดับต่างๆ ข้อ 89-91 เป็นธรรมที่มีไส้ในทั้ง 6 ประการที่เหมือนกัน แต่มีนัยยะหัวข้อที่เกี่ยวเนื่องด้วยเรื่องของโสดาบันที่แตกต่างกันออกไป โดยธรรม 6 ประการนี้ คือ 1. สักกายทิฏฐิ (ความเห็นว่าเป็นอัตตา) คือ เห็นขันธ์ 5 เป็นตัวตน เที่ยงแท้ ยังยืน จีรัง ถาวร *ตรงข้ามกับ “สัมมาทิฏฐิ” 2. วิจิกิจฉา คือ ความลังเล สงสัยในคุณของพระรัตยตรัย เกิดเคลือบแคลง เห็นแย้ง ไม่ลงใจ ซึ่งจะเกิดถามลักษณะจับผิด หาเรื่องตามมา *ตรงข้ามกับ “มีศรัทธา” 3. สีลัพพตปรามาส คือ ความถือมั่นศีลพรตนอกพระพุทธศาสนา ความเชื่องมงายที่ผิดไปจากคำสอน *ตรงข้ามกับ “มีศีล” 4.-5. ราคะ โทสะ[...]
- “สัมมัตตนิยาม” หมายถึง ระบบความเห็นที่ถูกต้อง คือ อริยมรรคมีองค์ 8 หรือ ความเป็นโสดาบันขั้นมรรคหรือผล ชึ่งในพระสูตรข้อที่ 86–88 นี้ เป็นธรรมที่มีหัวข้อเหมือนกัน เปรียบเทียบคู่ตรงข้ามของธรรม 6 ประการ ที่เมื่อบุคคลแม้ฟังธรรมอยู่ จะก้าวลงสู่ระบบความเห็นที่ถูกต้อง คือ สัมมัตตนิยาม จะได้หรือไม่ได้นั้น มีธรรมอะไรบ้าง #86_อาวรณตาสูตร 1. เป็นผู้ไม่มีกรรมเป็นเครื่องกั้น - ไม่ได้ทำอนันตริยกรรม 5 (ฆ่ามารดา บิดา พระอรหันต์ ทำพระพุทธเจ้าให้ห้อเลือด ทำสงฆ์ให้แตกกัน) 2. เป็นผู้ไม่มีกิเลสเป็นเครื่องกั้น - มีสัมมาทิฎฐิ 3. เป็นผู้ไม่มีวิบากเป็นเครื่องกั้น (ผลที่ได้รับจากการกระทำ) – เกิดในภพที่พอจะบรรลุธรรมได้ เช่น โลกมนุษย์ สวรรค์ถึงชั้นพรหม ยกเว้น อรูปพรหม เพราะด้วยเหตุปัจจัยที่เกิดของสภาวะภพนั้น 4. เป็นผู้มีศรัทธา - มีความลงใจ มั่นใจ 5. เป็นผู้มีฉันทะ -[...]
- #83_ อัคคธัมมสูตร (เป็นธรรมคู่ตรงข้าม-ทำให้แจ้งหรือไม่แจ้งอรหัตผล) ผู้ที่ประกอบด้วยธรรม 6 ประการนี้ เป็นผู้อาจทำให้แจ้งอรหัตผล คือ 1. เป็นผู้มีศรัทธา-ศรัทธาในพระรัตนตรัย (ระดับของศรัทธา คือ “อมูลิกาศรัทธา” เชื่อแบบงมงาย ไม่มีมูลเหตุผล, “อาการวตีศรัทธา” ประกอบด้วยปัญญา เข้าใจเหตุผล-เหตุปัจจัย, “อจลศรัทธา” โสดาบัน ไม่หวั่นไหว) 2. เป็นผู้มีหิริ (ละอาย) 3. โอตตัปปะ (เกรงกลัวต่อบาป) 4. เป็นผู้ปรารภความเพียร-ทำจริงแน่วแน่จริง อกุศลลดลง-กุศลเพิ่มขึ้น 5. เป็นผู้มีปัญญา-3 ระดับ (สุตมยปัญญา จินตามยปัญญา ภาวนามยปัญญา) 6. เป็นผู้ไม่ห่วงใยกาย และชีวิต-ปล่อยวางตัวตนด้วยปัญญา #84_รัตติทิวสสูตร (เป็นธรรมคู่ตรงข้าม-เจริญหรือเสื่อมในกุศลธรรม) ผู้ที่ประกอบด้วยธรรม 6 ประการนี้ จะเจริญในกุศลธรรมทั้งหลาย ไม่เสื่อมเลย คือ 1. เป็นผู้ไม่มักมาก (สันโดษ)-ยินดีตามมีตามได้ ไม่คับแค้นใจ 2. มีศรัทธา 3. มีศีล 4. ปรารภความเพียร 5.[...]
- ทบทวนข้อ #79_อธิคมสูตร เป็นธรรมคู่ตรงข้าม หลักธรรมข้อนี้เป็นการสร้างนิสัยที่ดี และกำจัดนิสัยที่ไม่ดีในชีวิตประจำวัน 1. เป็นผู้ฉลาดในความเจริญ (เหตุทำให้เกิดกุศลธรรม) 2. เป็นผู้ฉลาดในความเสื่อม (เหตุทำให้เกิดอกุศลธรรม) 3. เป็นผู้ฉลาดในอุบาย (วิธีการ / ทางแก้) 4. สร้างฉันทะเพื่อบรรลุกุศลธรรมที่ยังไม่ได้บรรลุ (ความพอใจในการทำกุศลธรรม) 5. รักษากุศลธรรมที่ได้บรรลุแล้ว 6. ทำกุศลธรรมให้ถึงพร้อมด้วยการทำติดต่อ (ทำให้ติดต่อต่อเนื่องกันไป) #80_มหัตตสูตร ผู้ประกอบด้วยธรรม 6 ประการนี้ ไม่นานนัก ย่อมบรรลุความเป็นใหญ่ ความไพบูลย์ในธรรมทั้งหลาย (เกิดความก้าวหน้าและละเอียดยิ่งขึ้นไป) ได้แก่ 1. เป็นผู้มากด้วยแสงสว่าง (ญาณ / ความรู้) – ทำในสิ่งที่เรามีอยู่แล้วให้เกิดความชำนาญยิ่ง ๆ ขึ้นไป 2. เป็นผู้มากด้วยความเพียร (วิริยะ / ความกล้า) – ปรับเพิ่มความเพียร 3. เป็นผู้มากด้วยความปลาบปลื้ม (ปีติและปราโมทย์) - ทำให้เกิดกำลังใจในการทำความเพียร[...]
- #78_สุขโสมนัสสสูตร ผู้ประกอบด้วยธรรม 6 การนี้ จะเป็นเหตุให้มีสุขโสมนัส (เนกขัมมะสุข คือ สุขที่เกิดจากการออกจากกาม) และถึงความสิ้นอาสวะ ได้แก่ เป็นผู้ยินดีในธรรม เป็นผู้ยินดีในภาวนา (ทำให้เจริญ / พัฒนา) เป็นผู้ยินดีในการละ (ละสิ่งที่เป็นอกุศลธรรมทั้งหลาย) เป็นผู้ยินดีในปวิเวก (สงัดจากเสียงและการคลุกคลีด้วยหมู่) เป็นผู้ยินดีในความไม่พยาบาท (คิดปองร้ายเพ่งไปที่ภายนอก) เริ่มจากความไม่เพลินไปในปฏิฆะ (ความขัดเคือง) -> โกรธ (คิดอยู่ภายใน) -> พยาบาท (เพ่งไปที่ภายนอก) เป็นผู้ยินดีในธรรมที่ไม่เป็นเครื่องเนิ่นช้า (นิพพาน) พัฒนากุศลธรรมให้เจริญยิ่งขึ้น #79_อธิคมสูตร เป็นธรรมคู่เปรียบเทียบ คือ ผู้ที่ประกอบด้วยธรรม 6 การนี้ (ธรรมที่เป็นเหตุปรารภความเพียร) จะบรรลุกุศลธรรมที่ยังไม่ได้บรรลุหรือทำกุศลธรรมที่ได้บรรลุแล้วให้เจริญได้หรือไม่ได้ เป็นผู้ฉลาดในความเจริญ (เหตุทำให้เกิดกุศลธรรม) เป็นผู้ฉลาดในความเสื่อม (เหตุทำให้เกิดอกุศลธรรม) เป็นผู้ฉลาดในอุบาย (วิธีการ / ทางแก้) สร้างฉันทะเพื่อบรรลุกุศลธรรมที่ยังไม่ได้บรรลุ (ความพอใจในการทำกุศลธรรม) รักษากุศลธรรมที่ได้บรรลุแล้ว ทำกุศลธรรมให้ถึงพร้อมด้วยการทำติดต่อ (ทำติดต่อต่อเนื่อง) พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย[...]
- #75_ทุกขสูตร ผู้ที่ประกอบด้วยธรรม 6 ประการนี้ ย่อมอยู่เป็นทุกข์ เร่าร้อน หลังจากตายแล้ว พึงหวังได้ทุคติ คือ คิดตริตรึกหมายรู้ไปในกาม พยาบาท และเบียดเบียน (วิหิงสา) และธรรมคู่ต่างกันที่เมื่อประกอบแล้วย่อมอยู่เป็นสุข คือ คิดตริตรึกหมายรู้ออกจากกาม พยาบาท และเบียดเบียน *วิหิงสา นอกจะมีความหมายว่าเบียดเบียนแล้ว อาจจะมีความหมายได้อีกว่า เป็นการกระทำที่ไร้ผล เปล่าประโยชน์ #76_อรหัตตสูตร ผู้ที่ละธรรม 6 ประการนี้ได้ หรือ ไม่ได้ ย่อมทำให้แจ้ง หรือมิอาจแจ้งซึ่งอรหัตผลได้ คือ มานะ (ความถือตัวว่ามีตัวตน “อัตตา”) โอมานะ (สำคัญว่าด้อยกว่าเขา หรือ แกล้งลดตัว) อติมานะ (ยกตัวขึ้นมาดูหมิ่นเขา) อธิมานะ (ความเข้าใจผิด ถือตัวจัด “มานะ 9”) ถัมภะ (ความหัวดื้อ) อตินิปาตะ (สำคัญตนว่าเลว) พระอรหันต์กำจัดแล้วซึ่งกิเลสและอวิชชา และเพราะรู้แล้วเพราะเห็นแล้ว จึงไม่สำคัญความเป็นตัวตนขึ้นมา #77_อุตตริมนุสสธัมมสูตร ผู้ที่ละธรรม[...]
- อุปสรรคที่จะมาเป็นเครื่องกั้นเครื่องขวางทำให้เราเข้าฌานสมาธิไม่ค่อยได้ นอกจากข้อใดข้อหนึ่งในนิวรณ์ 5 แล้ว ยังมีเหตุอะไรอีกบ้าง ที่เป็นเหตุทำให้ได้บรรลุหรือมิอาจบรรลุปฐมฌานได้ ปฐม-ทุติยตัชฌานสูตร เป็นธรรมคู่ตรงข้าม ที่เมื่อละธรรม 6 ประการนี้ได้ หรือยังละไม่ได้ จะเป็นเหตุให้บรรลุ หรือมิอาจบรรลุปฐมฌาน #73_ปฐมตัชฌานสูตร กามฉันทะ คือ ความพอใจ กำหนัด ยินดีในวัตถุกามที่ทำให้เกิดกามสัญญา และกามวิตกตามมา พยาบาท คือ ความคิดร้าย เริ่มจากความขัดเคืองเล็กน้อยกลายเป็น -> ความโกรธ (ร้อนลุ่มอยู่ภายใน) แรงขึ้นเป็น -> โทสะ (เพ่งไปที่บุคคลข้างนอก) -> พยาบาท -> ผูกเวร ถีนมิทธะ คือ ความขี้เกียจ ท้อแท้ อ่อนแอ หมดอาลัย ไร้กำลังทั้งกายใจ ไม่ฮึกเหิม อุทธัจจกุกกุจจะ คือ ความฟุ้งซ่านและร้อนใจ คิดมาในทางกาม วิจิกิจฉา คือ ความไม่ลงใจ ไม่เห็นโทษในกามทั้งหลายด้วยปัญญาอันชอบตามความเป็นจริง #74_ทุติยตัชฌานสูตร คือ กามวิตก[...]
- #69_เทวตาสูตร พระผู้มีพระภาคได้ตรัสกับภิกษุทั้งหลาย ทรงปรารภถึงเทวดาตนหนึ่งที่เข้ามากราบทูลเรื่องธรรม 6 ประการ ย่อมเป็นไปเพื่อความไม่เสื่อม คือ ความเป็นผู้เคารพในพระพุทธ, พระธรรม, พระสงฆ์, สิกขา, เป็นผู้ว่าง่าย, ความเป็นผู้มีมิตรดี เมื่อท่านพระสารีบุตรได้ฟังจบแล้วก็ได้ทำความละเอียดในธรรมอีก 4 อย่างแต่ละหัวข้อ คือ ตัวเองเป็นเอง / สรรเสริญคนที่เป็น / ชักชวนผู้อื่นให้มาเป็น / ประกาศคุณของผู้ที่ทำได้ขึ้นมา #70_ สมาธิสูตร ว่าด้วยสมาธิที่มีความสงบ ปราณีต ระงับ เป็นหนึ่ง เป็นผลให้ได้วิชชา 6 คือ มีฤทธิ์, หูทิพย์, รู้ใจผู้อื่น, ระลึกชาติได้, ตาทิพย์, ทำอาสวะให้หมดสิ้นไป #71_สักขิภัพพสูตร เหตุที่จะทำให้เกิดปัญญา คือ เห็นธรรมฝ่ายเสื่อม (นิวรณ์), ธรรมฝ่ายคงที่ (มิจฉาสติ), ธรรมฝ่ายคุณวิเศษ (สมาธิที่คล่องแคล่ว), ธรรมฝ่ายชำแรกกิเลส (วิปัสสนาญาณ), เอื้อเฟื้อเอาใจใส่, ทำสิ่งที่เป็นสัปปายะ (สบายแก่มาธิ) [...]
- #64_สีหนาทสูตร กำลังของตถาคต 6 ประการ เป็นเหตุให้บรรลือสีหนาทประกาศพรหมจักรในบริษัท คือ รู้ชัดฐานะ (สิ่งที่มีได้ เป็นได้) และอฐานะ (เป็นไปไม่ได้ มีขึ้นไม่ได้) ในโลกนี้ตามความเป็นจริง รู้เรื่องกรรมและผลของกรรม สามารถเข้า-ออกฌานวิโมกข์ สมาธิ สมาบัติได้อย่างคล่องแคล่ว ระลึกชาติได้หลายชาติ (ปุพเพนิวาสานุสสติญาณ) เห็นการเวียนว่ายตายเกิดของสัตว์ทั้งหลาย (จุตูปปาตญาณ) ญาณหยั่งรู้ที่ทำให้สิ้นอาสวะ (อาสวักขยญาณ) และมีความรู้แจ้งในเรื่องทั้งหมดอย่างแท้จริง เมื่อถูกถามก็ตอบได้หมด และที่ทำแบบนี้ได้ก็เพราะจิตเป็นสมาธิ #65_อนาคามิผลสูตร เมื่อละธรรมเหล่านี้ได้แล้ว จะเป็นเหตุทำให้บรรลุอนาคามิผล คือ ความไม่มีศรัทธา ไม่มีหิริ ไม่มีโอตตัปปะ เกียจคร้าน หลงลืมสติ มีปัญญาทราม #66_อรหัตตสูตร เมื่อละธรรมเหล่านี้ได้แล้ว จะเป็นเหตุทำให้บรรลุอรหัตผล คือ ความหดหู่ เซื่องซึม ฟุ้งซ่าน ร้อนใจ ไม่มีศรัทธา ความประมาท #67_มิตตสูตร เมื่อมีมิตรดี เสพคบเพื่อนดี ประพฤติตามเพื่อนดี จะบำเพ็ญอภิสมาจาริกธรรม (มารยาทความประพฤติอันดี) เสขะธรรม และศีล ให้บริบูรณ์ได้[...]
- พระไตรปิฎกสากลอักษรโรมัน – ปาฬิภาสาที่จัดทำขึ้นโดยมูลนิธิพระไตรปิฎกสากล ได้ทำการตรวจทานเทียบเคียงกับพระไตรปิฎกถึง 13 ฉบับด้วยกัน มีการแบ่งพยางค์และการใช้โน้ตเสียงเข้ามาเพื่อการออกเสียงที่ถูกต้อง ถือได้ว่าเป็นฉบับที่สมบูรณ์ที่สุดชุดแรกของโลก ............ #63_นิพเพธิกสูตร ว่าด้วยธรรมบรรยายที่เป็นเหตุชำแรกกิเลส พระผู้มีพระภาคทรงแสดงแก่ภิกษุทั้งหลายโดยให้ทำความรอบรู้-รู้แจ้งในธรรม 6 ประการ ได้แก่ กาม / เวทนา / สัญญา / อาสวะ / กรรม / ทุกข์ และในแต่ละประการก็มีรายละเอียดอีก 6 อย่าง ได้แก่ ลักษณะ / เหตุเกิด / ความต่างกัน / วิบาก / ความดับ / ข้อปฏิบัติให้ถึงความดับ คือ มรรค 8 พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ฉักกนิบาต มหาวรรค
- สิ่งดี ๆ ที่บุคคลนั้น มีอยู่ เป็นอยู่ หรือที่เราเห็นอยู่ว่าดี เขาอาจจะเปลี่ยนแปลงไปเป็นไม่ดีหรืออาจจะดีกว่าเดิมยิ่ง ๆ ขึ้นไปก็ได้ และสิ่งไม่ดีที่บุคคลนั้น มีอยู่ เป็นอยู่ ก็อาจจะพัฒนาเปลี่ยนแปลงไปเป็นดีได้เช่นกัน จึงไม่อาจดูรู้ได้เพียงผิวเผินว่า “ข้างในจิตใจ เขาเป็นอย่างไร” นอกเสียจากเรามีญาณเครื่องรู้เห็นในจิตใจของเขาว่า จิตใจของเขามันจะเจริญขึ้น หรือเสื่อมลงจากสิ่งทึ่เราเห็นอยู่ภายนอก #62_ปุริสินทริยญาณสูตร พระผู้มีพระภาคทรงแสดงแก่ท่านพระอานนท์ ทรงปรารภเรื่องการพยากรณ์พระเทวทัตว่า จะต้องเกิดในอบาย ตกนรก ดำรงอยู่ตลอดกัป แก้ไขไม่ได้ โดยทรงได้แสดงญาณเป็นเครื่องรู้อินทรีย์ของบุคคล 6 ประการ โดย 3 ประการแรก อุปมากับเมล็ดพันธุ์ไม้ และ 3 ประการหลัง อุปมากับถ่านไฟ ซึ่งจะพอสรุปได้ว่า บุคคลจะถึงความเจริญ หรือ ความเสื่อมได้ ต่างอาศัยสิ่งอื่นเป็นปัจจัยและอินทรีย์ คือ กำลังทางจิต ได้แก่ ศรัทธา วิริยะ สติ สมาธิ ปัญญา ว่ามีกำลังแก่กล้าหรืออ่อน แต่ทุกสิ่งทุกอย่างล้วนมีการเปลี่ยนแปลงได้พัฒนาได้ และไม่ควรประมาทในคุณธรรมที่ทีอยู่แล้วให้เจริญพัฒนายิ่ง ๆ ขึ้นไป[...]
- #60_หัตถิสารีปุตตสูตร ท่านพระจิตตหัตถิสารีบุตรได้พูดสอดขึ้นในระหว่างการสนทนาธรรม จนเป็นเหตุให้ท่านพระมหาโกฏฐิกะได้กล่าวถึงผู้ที่มีคุณสมบัติ 6 ประการแต่หากยังคลุกคลีด้วยหมู่จะเป็นเหตุให้เสื่อมจากธรรมนั้น #61_มัชเฌสูตร หมู่ภิกษุผู้เป็นเถระได้นั่งประชุมสนทนาธรรมเรื่อง “ติสสเมตเตยยปัญหานิทเทส” โดยแต่ละท่านก็ได้แสดงตามความคิดของตนได้ 6 นัยยะ ได้พากันไปเข้าเฝ้าเพื่อกราบทูลถามพระผู้มีพระภาค พระองค์ทรงตรัสตอบว่า “ผัสสะเป็นส่วนสุดด้านหนึ่ง เหตุเกิดผัสสะเป็นส่วนสุดอีกด้านหนึ่ง ความดับผัสสะอยู่ท่ามกลาง ตัณหาจัดเป็นเครื่องร้อยรัด” กล่าวคือ ความดับผัสสะ ก็คือ การดับตัณหาเข้าสู่นิพพานในปัจจุบันนั่นเอง พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ฉักกนิบาต มหาวรรค
- #58_อาสวสูตร ผู้ประกอบด้วยธรรม 6 ประการนี้ เป็นผู้ควรแก่ของที่เขานำมาถวาย ควรแก่ของต้อนรับ ควรแก่ทักษิณา ควรแก่การทำอัญชลี เป็นนาบุญอันยอดเยี่ยมของโลก ธรรม 6 ประการ คือ อาสวะที่พึงละได้ด้วยการสังวร (การสำรวมอินทรีย์) ด้วยการใช้สอย (พิจารณาปัจจัย 4) ด้วยความอดกลั้น (อดทนด้วยความเข้าใจ) ด้วยการเว้น (หลีกเลี่ยงที่ “อโคจร”) การบรรเทา (ละอกุศลธรรม) และการเจริญ (ทำให้มากซึ่งโพชฌงค์ 7) #59_ทารุกัมมิกสูตร พระผู้มีพระภาคทรงแสดงธรรมแก่ทารุกัมมิกะคหบดี ทรงปรารภเรื่องการทำทานในเนื้อนาบุญ ยากที่คฤหัสถ์ผู้บริโภคกามจะพึงรู้ได้ โดยยกถึง ภิกษุ 6 จำพวก แบ่งเป็น 2 ประเภท คือ ภิกษุพึงถูกติเตียน และภิกษุพึงได้รับการสรรเสริญ พระผู้มีพระภาคทรงได้แนะนำให้ทำทานในหมู่ภิกษุ (สังฆทาน) พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ฉักกนิบาต มหาวรรค
- พระไตรปิฏกสากล ฉบับสัชฌายะ ถือเป็นพระไตรปิฎก(เสียง)สากลฉบับแรกของโลก โดยมีต้นฉบับจากพระไตรปิฎก จ.ป.ร. อักษรสยาม พ.ศ. 2436 โดยตระหนักถึงการออกเสียงปาฬิอย่างถูกต้องก็เพื่อจะรักษาคำสอนเอาไว้ให้สมบูรณ์ที่สุด ซี่งมี 2 ชุด ได้แก่ ชุด ภ.ป.ร. (ต้นฉบับปาฬิภาสา) พ.ศ. 2559 พิมพ์ด้วยอักขระเสียงปาฬิ ซึ่งเป็นนวัตกรรมสัททะอักขะระ-ปาฬิ เป็นการเขียนเสียงที่ละเอียดแม่นตรง ชุด ส.ก. (โน้ตเสียงปาฬิ) พ.ศ. 2560 พิมพ์ด้วยโน้ตเสียงปาฬิ ซึ่งเป็นชุดสัททสัญลักษณ์ที่เป็นสากลที่สามารถกำหนดจังหวะการแบ่งพยางค์ และระดับเสียงที่ไม่มีวรรณยุกต์สูงต่ำได้อย่างชัดเจนยิ่งขึ้น และนวัตกรรมการบันทึกเสียงปาฬิรูปแบบนี้ว่า “เสียงสัชฌายะดิจิทัล” ............ #57_ฉฬภิชาติสูตร พระผู้มีพระภาคทรงปรารภคำถามของท่านพระอานนท์เรื่องการบัญญัติชาติกำเนิด 6 ประเภทของปูรณะ กัสสปะ โดยทรงได้บัญญัติทับลงไปถึงบุคคลที่เกิดมาในตระกูลต่ำและในตระกูลสูง ที่มีความประพฤติทางกาย วาจา ใจ ทุจริต จะมีที่ไปคือนรก และถ้าประพฤติสุจริตจะมีที่ไปคือสวรรค์ และบุคคลที่ได้ออกบวช ละนิวรณ์ 5ได้ มีจิตตั้งมั่นดีในสติปัฏฐาน 4 เจริญโพชฌงค์ 7 ตามความเป็นจริงแล้วได้บรรลุนิพพาน พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย[...]
- พระไตรปิฏกสากล พ.ศ. 2548 “ปาฬิภาสา อักษรโรมัน” (ฉบับมหาสังคีติ) เป็นพระไตรปิฏกฉบับที่จัดทำขึ้นให้มีเนื้อหาที่ถูกต้องสมบูรณ์ที่สุด โดยนำเอาต้นฉบับมาจากการสังคายนาพระไตรปิฎกนานาชาติ พ.ศ. 2500 (ฉบับฉัฏฐสังคีติ) ในประเทศพม่า ซึ่งสมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณสังวร ทรงเป็นหนึ่งในผู้แทนคณะสงฆ์ไทยที่ได้ร่วมทำการสังคายนาในครั้งนั้นด้วย มาขยายผลตรวจทานแก้ไขจุดบกพร่อง โดยมีการคิดค้นระบบอ้างอิง เพื่อที่จะอ้างอิงแหล่งข้อมูลที่มาได้ถูกต้อง และการที่เราถอดอักษร (Transliteration) จากอักษรพม่ามาเป็นอักษรโรมัน ก็เพื่อความเป็นสากล (นานาชาติ) ที่สามารถใช้แปลกันได้ทั่วโลก แต่เพราะการออกเสียงที่แตกต่างกันไปในแต่ละท้องถิ่น จึงทำให้ต้องมีระบบการถอดเสียง (Transcription) หรือที่เรียกว่า “สัททะอักขระ” ซึ่งเป็นการเขียนเสียงด้วยอักษรเสียง มาพิมพ์เป็นดัชนีเก็บไว้ข้างหลังพระไตรปิฏกอักษรโรมัน เพื่อให้มีการออกเสียงให้ชัดเจนถูกต้อง #56_ผัคคุณสูตร ว่าด้วยพระผัคคุณะผู้อาพาธ มีเวทนาอย่างแรงกล้า แต่เมื่อได้ฟังธรรมจากพระพุทธเจ้า ก็มีอาการสงบ และได้ดับขันธ์ลงด้วยมีอินทรีย์ผ่องใส เพราะอานิสงส์ในการฟังธรรม ในการใคร่ครวญเนื้อความแห่งธรรมโดยกาลอันควร พระพุทธเจ้าจึงได้ตรัสถึงธรรม 6 ประการที่เป็นเหตุปัจจัยแห่งการบรรลุธรรม พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ฉักกนิบาต มหาวรรค
- พระไตรปิฎก เดิมเรียกว่า “พระธรรมวินัย” (คือ พระธรรม กับพระวินัย) และสาเหตุของการสังคายนาพระไตรปิฎกเนื่องจากมีอธิกรณ์เกิดมากขึ้น จึงจัดให้มีการประชุมของพระสงฆ์เพื่อทำการจัดระเบียบหมวดหมู่หลักคำสอน ประวัติการทำสังคายนาพระไตรปิฎกเกิดขึ้นหลายครั้ง นับตั้งแต่พุทธปรินิพพานจนถึงปัจจุบัน การนับจำนวนก็ยังไม่มีข้อยุติ การทำสังคายนาในประเทศศรีลังกา เมื่อปี พ.ศ. 433 ได้มีการจารึกเป็นลายลักษณ์อักษรลงบนใบลานแทนการท่องจำหรือ “มุขปาฐะ” ในประเทศไทย เมื่อปี พ.ศ. 2020 ที่วัดโพธาราม จังหวัดเชียงใหม่ โดยมีพระเจ้าติโลกราชเป็นองค์ราชูปถัมภ์ การสังคายนาครั้งนี้ได้จารึกพระไตรปิฎกโดยใช้อักษรไทยล้านนา ............ #55_โสณสูตร ท่านพระโสณะปรารภความเพียรหนักเกินไปโดยเดินจงกรมจนฝ่าเท้าแตก จึงมีจิตฟุ้งซ่านท้อแท้จะบอกลาคืนสิกขา พระผู้มีพระภาคทรงทราบและได้ตรัสสอนท่านพระโสณะให้ตั้งความเพียรแต่พอดี ให้ปรับอินทรีย์ให้เสมอกัน หลังจากนั้นไม่นานท่านพระโสณะก็บรรลุอรหันต์ แล้วได้พยากรณ์อรหัตตผลในฐานะ 6 ประการ คือ น้อมไปในเนกขัมมะ / ปวิเวก / ความไม่เบียดเบียน / สิ้นตัณหา / สิ้นอุปาทาน / ไม่ลุ่มหลง เพราะความสิ้นไปแห่งราคะ โทสะ และโมหะ พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ฉักกนิบาต มหาวรรค
- วันวิสาขบูชา เป็นวันที่บังเกิดเหตุการณ์สำคัญที่สุดในศาสนาพุทธ 3 เหตุการณ์ด้วยกัน คือ การประสูติ ตรัสรู้ และปรินิพพานของพระโคตมพุทธเจ้า ซึ่งตรงกับวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 6 ตามปฏิทินจันทรคติ และปีนี้เป็นปีอธิกมาส คือมีเดือน 8 สองหน ก็เลื่อนไปทำในวันเพ็ญเดือน 7 แทน ............ การทำสังคายนาครั้งที่ 1 ได้จัดขึ้นที่ถ้ำสัตบรรณคูหา เมืองราชคฤห์ ตามคำปรารภของพระมหากัสสปเถระ โดยมีพระเจ้าอชาตศัตรูเป็นองค์อุปถัมภ์ ใช้เวลาในการสังคายนารวบรวมพระธรรมวินัยอยู่ 7 เดือนจึงแล้วเสร็จ การทำสังคายนาครั้งที่ 2 เกิดขึ้นเมื่อ พ.ศ. 100 ข้อปรารภในการทำสังคายนาครั้งนี้เกิดขึ้นเมื่อ พระยสกากัณฑกบุตร พบเห็นข้อปฏิบัติย่อหย่อน 10 ประการ ............ #54_ธัมมิกสูตร พระผู้มีพระภาคทรงปรารภเรื่อง “สมณธรรม” ได้ตรัสกับท่านพระธัมมิกะ โดยยกครู 6 ท่านกับเหล่าสาวกที่มีจิตเลื่อมใสและใม่เลื่อมใส จะมีภพที่ไปในเบื้องหน้าแตกต่างกัน พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ฉักกนิบาต ธัมมิกวรรค
- จุดเริ่มของการสังคายนาพระไตรปิฎก : “สังคายนา” หรือ “สังคีติ” คือ การจัดระเบียบหลักคำสอนของพระพุทธเจ้าไว้เป็นหมวดหมู่ สะดวกแก่การจดจำ (ใช้ระบบท่องจำ) "สังคายนา" หมายถึง สวดพร้อมกัน มีมาตั้งแต่สมัยที่พระพุทธเจ้ายังทรงพระชนม์อยู่แล้ว โดยท่านพระสารีบุตรมีการรวบรวมคำสอนของพระพุทธเจ้ามาแสดงตามลำดับหมวด ตั้งแต่หมวดหนึ่ง ไปจนถึงหมวดสิบตามหลักฐานที่ปรากฏในปาสาทิกสูตร และสังคีติสูตร ความแตกต่างของเถรวาท และ อาจริยวาท : เถรวาท คือ คำสอนที่วางไว้เป็นหลักการพระเถระผู้ประชุมทำสังคายนาครั้งแรก อาจริยวาท คือ ถือตามคำสอนของอาจารย์ของตน (นิกายมหายาน) ............ #53_อัปปมาทสูตร พราหมณ์คนหนึ่งได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคเจ้าถึงธรรมอย่างหนึ่งที่บุคคลเจริญทำให้มากแล้ว ย่อมยึดถือไว้ได้ซึ่งประโยชน์ทั้งสอง (ในภพนี้ และ ภพหน้า) มีอยู่หรือไม่? โดยพระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสตอบธรรมข้อนั้นคือ “ความไม่ประมาท” และได้ยกอุปมา-อุปไมยใน 6 อย่าง #54_ ธัมมิกสูตร ว่าด้วยท่านพระธัมมิกะเป็นเจ้าอาวาสชอบด่า บริภาษ เบียดเบียน ทิ่มแทง เสียดสีพวกภิกษุ อาคันตุกะด้วยวาจา ซึ่งเป็นเหตุให้พวกอุบาสกและอุบาสิกาขอท่านพระธัมมิกะหลีกไปจากอาวาสถึง 7 แห่ง พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ฉักกนิบาต[...]
- สมเด็จฯ กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ ผู้ทรงเป็นองค์ประธานกิตติมศักดิ์การเผยแผ่พระไตรปิฎกสากล ตามรอยประวัติศาสตร์พระไตรปิฎก จ.ป.ร. อักษรสยาม พ.ศ. 2436 ซึ่งโครงการพระไตรปิฎกสากลได้เริ่มดำเนินงานตั้งแต่ พ.ศ. 2548 - ปัจจุบัน 6 พฤศภาคม พ.ศ. 2566 นีั รัฐบาลไทยจะเริ่มเฉลิมพระเกียรติ 100 ปี วันประสูติ และในต่างประเทศ องค์กร UNESCO ณ กรุงปารีส จะประกาศยกย่อง ทรงเป็นบุคคลสำคัญของโลก 2023 ............ #51_อานันทสูตร ท่านพระอานนท์ได้เรียนถามท่านพระสารีบุตรถึงความไม่เลอะเลือนแห่งธรรมมีด้วยเหตุเท่าไร? ท่านพระสารีบุตรยกให้ท่านพระอานนท์ซึ่งเป็นพหูสูต เป็นผู้แสดงธรรมในข้อนี้แทน ซึ่งได้แก่ การเรียนธรรม แสดงธรรม บอกธรรม สาธยายธรรม ตรึกตรองตาม อยู่ในอาวาสที่มีภิกษุเถระผู้เป็นพหูสูต #52_ขัตติยสูตร ได้กล่าวถึง ความประสงค์ ความต้องการในบุคคลแต่ละประเภทได้แก่ กษัตริย์ พราหมณ์ คหบดี สตรี โจร สมณะ ว่ามีความประสงค์อะไร นิยมอะไร มั่นใจอะไร[...]
- พระไตรปิฎกสากล ฉบับสัชฌายะ พ.ศ. 2559 เป็นนวัตกรรมการพิมพ์ด้วย อักษรเสียงอ่าน ที่เรียกว่า สัญลักษณ์ทางเสียง หรือ "สัททสัญลักษณ์" (Phonetic Symbol) โดยคำว่า สัชฌายะ หมายถึง การท่องจำออกเสียงพระไตรปิฎกให้ขึ้นใจ โดยสร้างขึ้นต่อเนื่องจากการจัดพิมพ์พระไตรปิฎกฉบับสากล อักษรโรมัน พ.ศ. 2548 พระไตรปิฎกสากล ฉบับสัชฌายะ แบ่งเป็น 2 ชุด ได้แก่ 1. ชุด ภ.ป.ร. (ต้นฉบับปาฬิภาสา) 2. ชุด ส.ก. (โน้ตเสียงปาฬิ) ………….. #49_เขมสูตร ท่านพระเขมะ และท่านพระสุมนะ ได้เข้าไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคกล่าวการพยากรณ์อรหัตผลโดยมีลักษณะที่กล่าวแต่ธรรมโดยไม่น้อมเข้ามาหาตน #50_อินทริยสังวรสูตร อุปมาอุปมัยในธรรม 6 ประการ โดยเริ่มจากต่ำ-สูง คือ อินทรียสังวร -> ศีล -> สัมมาสมาธิ -> ยถาภูตญาณทัสสนะ -> นิพพิทา[...]
- ความเป็นมาของพระไตรปิฎกสากล ปี พ.ศ. 2436 รัชกาลที่ 5 ได้ทรงโปรดให้เปลี่ยนจากการบันทึก ปาฬิภาสา-อักษรขอมที่จารด้วยมือบนใบลาน เป็นการใช้เทคโนโลยีการพิมพ์ที่ทันสมัยของยุคนั้น ตีพิมพ์ชุดหนังสือพระไตรปิฏกปาฬิ-อักขะระสยามชุดแรกของโลก (ฉบับ จ.ป.ร. อักษรสยาม) และในปี พ.ศ. 2548 สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนาฯ เป็นองค์ประธานกิตติมศักดิ์การเผยแผ่พระไตรปิฎกสากล (อักษรโรมัน) ตามรอยประวัติศาสตร์พระไตรปิฎฉบับ จ.ป.ร. อักษรสยาม พ.ศ. 2436 #46_มหาจุนทสูตร ได้กล่าวถึงภิกษุ 2 ประเภท คือ ฝ่ายสมถะ หรือ ฝ่ายวิปัสสนา ไม่ควรว่ากล่าวรุกรานกัน แต่ควรจะกล่าวสรรเสริญกัน #47_ปฐมสันทิฏฐิกสูตร โมฬิยสีวกปริพาชกได้ถามพระผู้มีพระภาคถึงธรรมที่ผู้ปฏิบัติพึงเห็นชัดด้วยตนเองมีด้วยเหตุอย่างไร? พระผู้มีพระภาคได้ตอบคำถามแบบถามกลับว่า “เห็นธรรมที่เกิดขึ้นและดับไปหรือไม่” #48_ทุติยสันทิฏฐิกสูตร มีนัยยะเหมือนกันกับข้อ 47 และเพิ่มเหตุแห่งการประทุษร้ายทางกาย วาจา ใจ เข้ามา พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ฉักกนิบาต ธัมมิกวรรค
- ปาฬิ คือ เสียงใช้ถ่ายทอดคำสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ปัจจุบันบันทึกเสียงเป็นลายลักษณ์อักษรในพระไตรปิฏกพระพุทธศาสนาเถรวาท (พระไตรปิฎกสากล) โดยอ้างอิงกฎไวยากรณ์กัจจายะนะ-ปาฬิ .............. #45_อิณสูตร ว่าด้วยความเป็นหนี้ เป็นธรรมที่ยกอุปมาคนจนเข็ญใจ ยากไร้ ย่อมกู้หนี้ เมื่อกู้หนี้แล้ว ย่อมใช้ดอกเบี้ย ถูกทวง ถูกติดตาม ถูกจับคุม ซึ่งเป็นความทุกข์ของคฤหัสถ์ผู้ครองเรือน อุปไมยลงในบุคคลที่ไม่มีศรัทธาในกุศลธรรม ไม่มีหิริในกุศลธรรม ไม่มีโอตตัปปะในกุศลธรรม ไม่มีวิริยะในกุศลธรรม ไม่มีปัญญาในกุศลธรรม บุคคลนี้เราเรียกว่า เป็นคนจนเข็ญใจยากไร้ในอริยวินัยนี้ พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ฉักกนิบาต ธัมมิกวรรค
- รายการธรรมะรับอรุณ โดยมูลนิธิปัญญาภาวนา ได้จัดขึ้นมาเพื่อให้ผู้ฟังได้สะดวก และง่ายต่อการเข้าถึงสื่อธรรมะในรูปแบบต่างๆ ของมูลนิธิ จึงได้วางรูปแบบ และระบบไว้เพื่อความคล่องตัวในการดำเนินงาน และให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ พระไตรปิฎกสากล ภาษาที่ใช้ในการสืบทอดคำสอน (บอก) เป็นภาษา “ปาฬิ” เท่านั้น ส่วนคำอธิบายใช้ภาษาอื่นในปัจจุบันได้ เพื่อป้องกันเหตุแห่งความอันตรธานของคำสอน #44_มิคสาลาสูตร มิคสาลาอุบาสิกาได้เข้าไปหาท่านพระอานนท์แล้วได้เรียนถามธรรมที่พระผู้มีพระภาคทรงแสดงว่า “คน 2 คน คือ คนหนึ่งประพฤติพรหมจรรย์ อีกคนหนึ่งไม่ประพฤติพรหมจรรย์ เป็นผู้มีคติเสมอเหมือนกันในสัมปรายภพ” จะพึงรู้ได้อย่างไร? พระอานนท์ได้นำความนี้กราบทูลถามพระผู้มีพระภาค แล้วพระองค์ได้ตอบถึงญาณเป็นเครื่องกำหนดรู้อินทรีย์แก่กล้าของบุคคลในพระองค์ และได้ยกธรรม 6 ข้อ ที่เป็นคู่เหมือน และคู่ต่างที่ทำให้บุคคลหลังจากตายแล้วไปในที่ต่างกัน พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ฉักกนิบาต ธัมมิกวรรค
- นางอุตตรานันทมารดา เอตทัคคะในฝ่ายผู้เพ่งด้วยฌาน ด้วยเหตุที่นางอุตตราเป็นโสดาบัน เมื่อถึงวันเข้าพรรษานางจึงขออนุญาตสามีรักษาอุโบสถศีล แต่สามีไม่อนุญาต บิดาของนางจึงส่งเงินมาให้นางจ้าง นางสิริมา หญิงโสเภณีให้มาทําหน้าที่บำรุงบำเรอสามีแทน ส่วนตนและหญิงบริวารก็จัดหาอาหารเพื่อถวายพระพุทธเจ้า และพระสาวก ฝ่ายนางสิริมาเมื่อเห็นสามียืนมองดูนางอุตตราจัดแจงอาหารอยู่พร้อมรอยยิ้ม จึงเกิดความไม่พอใจ ได้ตักน้ำมันร้อนๆ เทราดไปบนศีรษะของนางอุตตรา แต่ด้วยนางอุตตราได้เข้าฌานเจริญเมตตาจิตเป็นอารมณ์ น้ำมันร้อนๆ นั้น ไม่อาจทำอันตรายใดๆ ได้เลย นางสิริมาเห็นเช่นก็ตกใจ กลับได้สติ จึงวิงวอนขอให้นางอุตตรยกโทษให้ ต่อมานางสิริมาได้ฟังธรรมจากพระพุทธเจ้า และได้ดำรงอยู่ในโสดาปัตติผล พระนางสุปปวาสา เอตทัคคะในฝ่ายผู้ถวายของมีรสอันประณีต พระนางได้ตั้งครรภ์ถึง 7 ปี 7 วัน จึงประสูติพระสีวลี และในขณะคลอดได้เกิดทุกขเวทนาเป็นอันมาก แต่พระนางอดกลั้นได้ด้วยการตรึกในพระรัตนตรัย นางสุปปิยา เอตทัคคะในฝ่ายผู้อุปัฏฐากภิกษุไข้ นางได้พบภิกษุไข้รูปหนึ่งทราบว่าท่านควรได้อาหารที่มีรส (เนื้อ) จึงจะจัดมาถวาย แต่ไม่สามารถหาซื้อปวัตตมังสะ (เนื้อที่ขายกันในตลาด) ได้เลย นางจึงสละเนื้อขาของตนปรุงเป็นอาหารถวายแทน ทำให้เป็นเหตุแห่งต้นบัญญัติสิกขาบทห้ามภิกษุฉันเนื้อมนุษย์ พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอกกนิบาต เอตทัคควรรค
- นางขุชชุตตราเป็นหญิงรับใช้คนหลังค่อมของพระนางสามาวดี อัครมเหสีของพระเจ้าอุเทน เป็นเอตทัคคะผู้เป็นเลิศกว่าอุบาสิกาทั้งปวงในด้านการแสดงธรรม นางได้ฟังธรรมที่พระพุทธเจ้าแสดงแล้วบรรลุโสดาปัตติผล พระนางสามาวดีจึงให้นางเป็นผู้สอนธรรมที่ได้ฟังมานั้นแสดงแก่ตนและหญิงบริวาร 500 คน นางขุชชุตตราเป็นผู้มีปัญญามาก เป็นพหูสูต จึงมีหน้าที่ฟังธรรมที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงแล้วมาแสดงธรรมต่อ พระนางสามาวดี อัครมเหสีของพระเจ้าอุเทน ด้วยความที่เป็นผู้มีความเสื่อมใสศรัทธาในพระพุทธเจ้าเป็นอย่างมาก จึงถูกพระนางมาคันทิยา อัครมเหสีอีกคนของพระเจ้าอุเทน ผู้ซึ่งผูกอาฆาตต่อพระพุทธเจ้า กลั่นแกล้งสาระพัด แต่พระนางก็รอดพ้นมาได้ด้วยอานุภาพแห่งเมตตา สุดท้ายพระนางก็ต้องชดใช้กรรมเก่าที่เคยได้ทำมา ถูกเผาทั้งเป็นพร้อมด้วยหญิงบริวาร ถึงกระนั้น พระนางก็มีสติมั่นคงไม่หวั่นไหว ให้โอวาทแก่หญิงบริวาร ให้เจริญเมตตาไปยังบุคคลทั่วๆ ไป แม้ในพระนางคันทิยา ก่อนที่จะถูกไฟเผาถึงแก่กรรม ทำให้บางคนก็บรรลุอนาคามิผล บางคนก็ไปบังเกิดในสุคติโลกสวรรค์ พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอกกนิบาต เอตทัคควรรค
- จิตตคฤหบดีเป็นชาวเมืองมัจฉิกาสัณฑะ เมื่อวันที่ท่านเกิดมีดอกไม้หลากสีตกลงทั่วเมือง ซึ่งเป็นนิมิตหมายแห่งความวิจิตรสวยงาม จึงได้ชื่อว่า จิตตกุมาร จิตตคฤหบดี ได้มีโอกาสพบพระมหานามะ (หนึ่งในปัญจวัคคีย์) เห็นท่านสงบสำรวมน่าเลื่อมใสมาก จึงมีความศรัทธานิมนต์ท่านไปฉันภัตตาหารที่คฤหาสน์ของตน และได้สร้างที่พำนักแก่ท่านในสวนชื่อ “อัมพาฏการาม” นิมนต์ให้ท่านอยู่เป็นประจำ พระมหานามะได้แสดงธรรมให้จิตตคหบดีฟังอยู่เสมอ จนได้บรรลุอนาคามิผล ด้วยความที่เป็นผู้เอาใจใส่พิจารณาธรรมอยู่เนืองๆ จนแตกฉาน มีความสามารถในการอธิบายธรรมได้ดี จนได้รับการยกย่องจากพระพุทธเจ้าให้เป็นเอตทัคคะในฝ่ายผู้เป็นธรรมกถึก
- อนาถบิณฑิกเศรษฐี เมื่อได้ยินชื่อของพระพุทธเจ้าเป็นครั้งแรกจากเศรษฐีน้องเขย ก็รีบไปเข้าเฝ้าฯ เพื่อฟังธรรม แล้วตั้งอยู่ในโสดาปัตติผล ได้ถวายมหาทานแล้วกราบอาราธนาพระพุทธเจ้าไปกรุงสาวัตถี ระหว่างการเดินทางกลับนั้นก็สละทรัพย์จำนวนมากพร้อมทั้งชักชวนชาวบ้านสร้างวิหารระหว่างทางทุกหนึ่งโยชน์ ได้ซื้อที่ดินจากเจ้าเชตกุมารราคาเท่าทรัพย์ที่ปูลงในแผ่นดินนั้นสร้างเป็นวัดพระเชตวันถวายพระสงฆ์ซึ่งมีพระพุทธเจ้าเป็นประธาน พระพุทธเจ้าประทับจำพรรษาอยู่วัดนี้ถึง 19 พรรษา เมื่อจะไปสำนักของพระพุทธเจ้าก็ไม่เคยไปมือเปล่า จะมีอาหารของขบฉันตามกาลไปด้วยเสมอ ระหว่างที่เข้าเฝ้าก็ไม่เคยถามปัญหากับพระพุทธเจ้าด้วยเกรงพระองค์จะเหน็ดเหนื่อย ท่านมีจิตคิดให้ทาน ทำแต่บุญไว้ตลอด เมื่อครั้งที่เศรษฐีป่วยหนัก พระสารีบุตรและพระอานนท์ได้ไปเยี่ยม แสดงธรรม เกิดปิติเป็นอันมาก หลังการตายได้ไปเกิดบนสวรรค์เป็นเทพบุตรที่มีรัศมีกายอันงดงาม พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอกกนิบาต เอตทัคควรรค
- นางปฏาจารา เป็นธิดาของเศรษฐีชาวเมืองสาวัตถี ได้หนีตามชายรับใช้ออกจากเรือนไป เรื่องเกิดขึ้นเมื่อนางก็ตั้งครรภ์บุตรคนที่ 2 ในเวลาใกล้คลอดจึงหนีสามีกลับบ้าน แต่ในระหว่างทางนั้นเองนางได้สูญเสียสามี และบุตรทั้งสองคนไป พอยั้งสติได้เดินร้องไห้เข้าสู่เมืองสาวัตถี ทราบข่าวจากชาวเมืองคนหนึ่งว่า ลมฝนได้พัดเรือนบิดามารดาของนางพังทลายและเจ้าของเรือนก็ตายไปด้วย นางปฏาจาราสูญเสียทุกอย่างในเวลาใกล้กันไม่อาจตั้งสติได้ นางไม่รู้สึกถึงผ้าที่นุ่งซึ่งได้หลุดลง แล้ววิ่งบ่นเพ้อเข้าไปยังพระวิหารเชตวันในขณะที่พระพุทธเจ้ากำลังทรงแสดงธรรมอยู่ท่ามกลางบริษัท ผู้คนต่างเห็นนางแล้วร้องห้ามอย่าให้คนบ้านั้นเข้ามา แต่พระพุทธเจ้ารับสั่งปล่อยให้นางเข้ามาเถิด แล้วตรัส อนมตัคคปริยายสูตร เตือนสติ จนนางคลายความโศกเศร้า กลับได้สติดังเดิม และได้ฟังธรรมจากพระพุทธเจ้า มีกำลังใจขึ้นมา บรรลุโสดาปัตติผล จากนั้นได้ทูลขอบวชเป็นพระภิกษุณี วันหนึ่ง นางกำลังเอาหม้อตักน้ำล้างเท้า เทน้ำลง นางถือเอาน้ำนั้นเป็นอารมณ์ พิจารณาเห็นความเกิดขึ้นและความเสื่อมแห่งปัญจขันธ์ ก็ได้บรรลุเป็นพระอรหันต์ พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอกกนิบาต เอตทัคควรรค
- เอตทัคคะในฝ่ายผู้รัตตัญญู พระมหาปชาบดีโคตมีเถรี เป็นพระนางน้าและเป็นพระมารดาเลี้ยงของพระพุทธเจ้า หลังจากพระเจ้าสุทโธทนะเสด็จสวรรคต และเหล่าเจ้าศากยะทั้งหลายออกบวชแล้ว พระนางได้ปลงผมแล้วครองผ้ากาสาวพัสตร์ นำพาศากิยนารีเป็นบริวารประมาณ 500 เพื่อกราบทูลอ้อนวอนขอบวชแต่พระพุทธองค์ไม่ทรงอนุญาต พระอานนท์จึงช่วยทูลขออนุญาตให้ โดยตรัสถามพระพุทธองค์ว่า “สตรีสามารถบรรลุธรรมได้เช่นเดียวกับผู้ชายหรือไม่?” จากนั้นพระพุทธเจ้าจึงทรงอนุญาต แต่ต้องรับปฏิบัติด้วยครุธรรม 8 ประการ อันเป็นเงื่อนไขให้สตรีอุปสมบทได้ เอตทัคคะในฝ่ายผู้มีปัญญามาก พระเขมาเถรี เป็นพระอัครมเหสีของพระเจ้าพิมพิสาร เป็นสตรีที่มีรูปงามมาก หลงเมามัวในรูปสมบัติของตน พระเจ้าพิมพิสารจึงคิดอุบายให้พระนางได้เข้าเฝ้าพระพุทธเจ้า พระพุทธองค์ได้ทำให้พระนางเห็นภาพนิมิตซึ่งแสดงความไม่เที่ยงของสังขาร และได้ฟังพระธรรมเทศนาเรื่องราคะ และการกำจัดราคะ พระนางก็บรรลุอรหัตตผล ณ ที่นั้น เมื่อพระเจ้าพิมพิสารทรงทราบความ ทรงอนุญาตให้พระนางออกบวชเป็นภิกษุณีได้ เอตทัคคะในฝ่ายผู้มีฤทธิ์มาก พระอุบลวรรณาเถรี เนื่องจากนางมีความงามมากเป็นที่หมายปองของพระราชาและมหาเศรษฐี เศรษฐีผู้บิดารู้สึกลำบากใจที่จะรักษาน้ำใจของคนทั้งหมดไว้ จึงคิดอุบายให้ธิดาบวช พอบวชได้ไม่นาน ได้เพ่งดูเปลวประทีปแล้วถือเอาเป็นนิมิต ได้บรรลุพระอรหัตผลในเวลานั้น พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอกกนิบาต เอตทัคควรรค
- มารดาของท่านพระกุมารกัสสปะ เกิดตั้งครรภ์ขึ้นมิรู้ตัวก่อนออกบวช พระบรมศาสดาก็ทรงทราบความจริงในเรื่องนี้ แต่เพื่อจะเปลื้องความสงสัย จึงรับสั่งให้ไปเชิญตระกูลใหญ่ๆ ให้มาพร้อมกันแล้วพิสูจน์ จึงได้รู้ชัดว่า นางมีครรภ์ตั้งแต่ยังไม่ได้บวช ยังมีศีลบริสุทธิ์อยู่ พระเจ้าปเสนทิโกศลทรงทราบเรื่องและทรงรับเอาท่านพระกุมารกัสสปะไปเลี้ยงไว้เป็นบุตรบุญธรรม เมื่อเติบโตเจริญวัยขึ้น พอได้ทราบในชาติกำเนิดที่แท้จริงของตน เกิดความสลดใจ จึงขอพระบรมราชานุญาตออกบวช ครั้นเมื่อมีอายุครบ 20 ปีบริบูรณ์ ได้ฟังปัญหาพยากรณ์ 15 ข้อจากพระบรมศาสดาแล้ว ก็ได้บรรลุพระอรหัตตผลพร้อมด้วยปฏิสัมภิทา ท่านมีความสามารถเสดงธรรมได้อย่างวิจิตรพิสดาร สมบูรณ์ด้วยข้ออุปมาอุปไมยพร้อมทั้งเหตุผล ให้ผู้ฟังเข้าใจง่าย ฉลาดในวิธีการสั่งสอน จึงได้รับการยกย่องจากพระบรมศาสดาว่า เป็นผู้เลิศในจิตรกถา คือ แสดงธรรมเทศนาได้อย่างวิจิตร พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอกกนิบาต เอตทัคควรรค
- ครั้งสมัยพระพุทธเจ้าปทุมุตตร ท่านพระอนุรุทธะได้ตั้งความปรารถนาไว้ในความเป็นยอดของภิกษุผู้มีทิพยจักษุ ได้ทำการบูชาด้วยประทีปอันโอฬารด้วยอธิษฐานว่า จงเป็นอุปนิสัย แก่ทิพยจักษุญาณ ในสมัยของพระพุทธเจ้าโคดมของเรานี้ ท่านพระอนุรุทธะเกิดในศากยราชสกุล เป็นพระราชโอรสของกษัตริย์ผู้สุขุมาลชาติ แม้แต่คำว่า “ไม่มี” ก็ไม่เคยรู้จักไม่เคยได้ยินนับตั้งแต่ประสูติมา เมื่อเจริญวัยแล้ว ได้ออกบวชพร้อมกับพระเจ้าภัททิยศากยะ ภัคคุ อานนท์ กิมพิละ เทวทัต และอุบาลีซึ่งเป็นภูษามาลา เมื่อบวชแล้ว ภายในพรรษาแรก พระอนุรุทธะได้สำเร็จทิพยจักษุญาณ ได้ตาทิพย์ หลังจากนั้นท่านได้เรียนกรรมฐานกับท่านพระสารีบุตร ต่อมาท่านได้ไปเจริญสมณธรรมในป่าปาจีนวังสทายวัน โดยตรึกมหาปุริสวิตก และได้บรรลุพระอรหัตผล ท่านพระอนุรุทธะ ได้รับการยกย่องจากพระผู้มีพระภาค ให้เป็นเอตทัคคะในด้านเป็นผู้มีทิพยจักษุญาณ พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอกกนิบาต เอตทัคควรรค
- ในสมัยพระพุทธเจ้าอโนมทัสสี ท่านพระสารีบุตรเกิดในตระกูลพราหมณ์ มีชื่อว่า “สรทมาณพ” ได้บวชเป็นฤาษี ครั้งเมื่อได้ฟังธรรมจากพระพุทธเจ้าอโนมทัสสี และพระนิสภเถระอัครสาวกแล้ว เกิดตั้งความปรารถนาเป็นพระอัครสาวกของพระพุทธเจ้าพระองค์หนึ่ง ต่อมาในสมัยพระผู้มีพระภาคเจ้าของเรานี้เอง ท่านพระสารีบุตร และท่านพระโมคคัลลานะได้เที่ยวชมงานมหรสพ แต่เกิดความเบื่อหน่ายจึงออกบวชแสวงหาโมกขธรรมไปในสำนักของสัญชัยปริพาชก และศึกษาจนจบภายในเวลา 2-3 วัน แล้วได้เที่ยวไปยังนิคมอื่นเพื่อแสวงหาโมกขธรรมต่อ ครั้งนั้น ท่านพระสารีบุตรได้พบท่านพระอัสสชิเถระซึ่งมีกิริยาข้อวัตรที่งดงาม เมื่อมีโอกาสจึงได้สอบถามว่า “ท่านบวชจำเพาะใคร หรือใครเป็นศาสดาของท่าน และศาสดาของท่านมีวาทะอย่างไร” เมื่อท่านพระสารีบุตรได้ทราบความจากท่านพระอัสสชิเถระแล้ว ก็บรรลุเป็นโสดาบัน จึงได้ไปชวนท่านพระโมคคัลลานะไปในสำนักของพระพุทธเจ้าด้วยกัน ท่านพระสารีบุตรหลังจากบวชในสำนักของพระพุทธเจ้าแล้วครึ่งเดือน ได้ฟังพระศาสดาทรงแสดงเวทนาปริคคหสูตร แก่ทีฆนขปริพาชก ผู้เป็นหลานของตนแล้ว ก็ได้บรรลุอรหัตผลที่ถ้ำสุกรขาตา แล้วได้สถาปนาพระสารีบุตรเป็นยอดของภิกษุสาวกผู้มีปัญญามาก พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอกกนิบาต เอตทัคควรรค
- #กิมมิลสูตร_40 ท่านพระกิมมิละ ได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคว่า “เหตุปัจจัยอะไร ที่ทำให้พระสัทธรรมตั้งอยู่ได้นาน และไม่ได้นาน เมื่อพระตถาคตปรินิพพานแล้ว” คำตอบคือ การมี และไม่มีคารวธรรม 6 นั่นเอง #ทารุกขันธสูตร_41 ท่านพระสารีบุตร ได้เห็นกองฟืนจึงได้กล่าวกับภิกษุทั้งหลายว่า “ภิกษุผู้มีฤทธิ์ บรรลุความชำนาญทางใจ ถ้าต้องการจะน้อมจิตบอกว่า กองฟืนนี้ คือ ดิน น้ำ ไฟ ลม ว่างาม และไม่งาม ย่อมทำได้” เพื่อเน้นความไม่เที่ยงนั่นเอง #นาคิตสูตร_42 ชาวบ้านอิจฉานังคละได้ทราบว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ที่ราวป่าใกล้หมู่บ้าน จึงจะไปเข้าเฝ้าพร้อมได้ส่งเสียงอื้ออึง ทำให้พระผู้มีพระภาคตรัสกับท่านพระนาคิตะถึง “สุขที่ไม่สะอาด” ซึ่งพระตถาคตไม่ติดในสิ่งนั้น เพราะได้สุขจากความสงบภายใน และได้ยกความต่างของเสนาสนะใกล้หมู่บ้าน และการอยู่ป่าเป็นวัตร #นาคสูตร_43 พระผู้มีพระภาคตรัสกับท่านพระอุทายีว่า “คนทั้งหลายเห็นช้าง ม้า โค งู ต้นไม้และมนุษย์ร่างใหญ่เท่านั้น จึงกล่าวว่า นาค แต่เราเรียกบุคคลผู้ไม่ทำความชั่วทางกาย ทางวาจา ทางใจ ผู้ไม่ถึงอคติ และละกิเลสได้แล้ว ว่า นาค” พระสุตตันตปิฎก[...]
- #ทานสูตร_37 พระผู้มีพระภาคตรัสถึงการถวายทานของนางนันทมาตาในหมู่ภิกษุมีพระสารีบุตรและพระโมคคัลลานะเป็นประธาน ซึ่งเป็นบุญมากไม่มีประมาณที่จะวัดได้ คือ ผู้ให้มีศรัทธาน้อมไป เลื่อมใส ปลื้มใจทั้งก่อนให้ ระหว่างให้ หลังให้ และในผู้รับเป็นผู้ปราศจากราคะ โทสะ โมหะ หรือปฏิบัติเพื่อกำจัดราคะ โทสะ โมหะ #อัตตการีสูตร_38 พราหมณ์คนหนึ่งได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคถึงความเชื่อของตนว่า “ไม่มีอัตตการ (ไม่มีตนเป็นตัวการ) ไม่มีปรการ (ไม่มีสิ่งอื่นเป็นตัวการ)” พระผู้มีพระภาคได้ยกธาตุความเพียร 6 ประการ มาอธิบายประกอบความเป็นอนัตตา ทำพราหมณ์เกิดเลื่อมใสเป็นโสดาบัน #นิทานสูตร_39 เหตุให้เกิดกรรม โดยยกเหตุในส่วนของกรรมไม่ดี คือ โลภะ โทสะ โมหะ ผลคือไปนรก กำเนิดสัตว์ดิรัจฉาน แดนเปรต หรือทุคติ และในส่วนของกรรมดี คือ อโลภะ อโทสะ อโมหะ ผลคือไปเทวดา มนุษย์ หรือสุคติ พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ฉักกนิบาต เทวตาวรรค
- Q: ควรจะพิจารณาเรื่องราวในอดีตอย่างไร ให้อยู่กับปัจจุบัน? A: มีสติอยู่กับปัจจุบัน คือ จะคิดไปในอดีตหรืออนาคตให้มีสติไม่หลงไม่เพลินไปแต่ให้เป็นวิมังสา มีสติไตร่ตรองใคร่ครวญในเรื่องราวนั้นๆ จะช่วยลับปัญญาให้ไวขึ้น Q: อยู่คนเดียวไม่มีครอบครัว จะปฏิบัติตัวอย่างไรให้มีความสุข? A: เราจะหาสาระจากสิ่งที่ไม่มีสาระมันจะไม่ได้ แต่ให้เรามาหาสาระ (ความสุข) จาก ศีล สมาธิ และปัญญา Q: การฟังธรรมะอยู่เรื่อยๆ เป็นเหตุให้เจริญในธรรม? A: การฟังให้มากซึ่งธรรมะเป็นเหตุให้ปัญญาเราเจริญ เป็นทางไปสู่อมตะ คือ นิพพาน Q: เคยคิดฆ่าตัวตาย แต่กลัว A: หิริโอตตัปปะ ความละอายกลัวต่อบาปเป็นความกลัวชนิดที่เป็นกุศลเป็นสิ่งที่ควรมี Q: การบูชาพระปัจเจกพุทโธควรสวดบทบูชาใด? A: พระปัจเจกพุทโธกำลังบำเพ็ญบารมีเพื่อที่จะตรัสรู้ในกาลข้างหน้า จะใช้บทสวดสรรเสริญคุณพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ก็ได้เหมือนกัน Q: ในสมัยพุทธกาล คนบรรลุธรรมได้ไวและมีมาก แล้วในปัจจุบันนี้จะบรรลุธรรมได้ไหม? A: ในปัจจุบันคำสอนยังมีอยู่ ให้เรามั่นใจที่จะปฎิบัติตามก็จะบรรลุธรรมได้เช่นเดียวกัน Q: กราบขอพรวันเกิดจากพระอาจารย์ A: ให้ระลึกถึงคุณของพ่อแม่[...]
- #35_วิชชาภาคิยสูตร สัญญา 6 ประการนี้ เป็นส่วนแห่งวิชชา (ความหมายรู้ให้เกิดปัญญา) คือ 1. อนิจจสัญญา-เห็นความไม่เที่ยง 2. อนิจเจ ทุกขสัญญา-สิ่งไม่เที่ยงนั้นเป็นทุกข์ 3. ทุกเข อนัตตสัญญา-สิ่งที่เป็นทุกข์นั้นเป็นอนัตตา 4. ปหานสัญญา–ละกิเลส 5. วิราคสัญญา-คลายกำหนัด 6. นิโรธสัญญา-ดับกิเลส #36_วิวาทมูลสูตร มูลเหตุแห่งวิวาท 6 ประการ คือ บุคคลใดเป็นผู้มักโกรธ ผูกโกรธไว้, ลบหลู่ ตีเสมอ, ริษยา มีความตระหนี่, โอ้อวด มีมายา, ปรารถนาชั่วเป็นมิจฉาทิฏฐิ, ยึดมั่นทิฏฐิของตน บุคคลนั้นไม่มีความเคารพยำเกรงในพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ ไม่ทำสิกขาให้บริบูรณ์ ย่อมก่อวิวาทให้เกิดขึ้นในสงฆ์ ซึ่งเป็นไป ไม่ใช่สุข ใช่ประโยชน์แก่คนหมู่มาก ให้พึงพยายามละมูลเหตุแห่งวิวาทที่เป็นบาปนั้น และพึงกระทำไม่ให้ยืดเยื้อต่อไป พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ฉักกนิบาต เทวตาวรรค
- #31_เสขสูตร ธรรมคู่ตรงข้ามที่เป็นไปเพื่อความเสื่อมแก่ผู้เป็นเสขะ (ผู้ยังต้องศึกษา) ธรรม 6 ประการ คือ เป็นผู้ชอบการงาน การพูดคุย การนอนหลับ การคลุกคลีด้วยหมู่ ไม่คุ้มครองทวารในอินทรีย์ทั้งหลาย และไม่รู้ประมาณในการบริโภค #32_33_ปฐม_ทุติยอปริหานสูตร สูตร 1-2 พระศาสดาทรงปรารภกับเหล่าภิกษุถึงเทวดาตนหนึ่งมีวรรณะงดงามได้มากราบทูลพระผู้มีพระภาคถึงธรรมที่ย่อมเป็นไปเพื่อความไม่เสื่อม (คารวะ 6) คือ เป็นผู้มีความเคารพในพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ ในสิกขา ในความไม่ประมาท และในปฏิสันถาร และ สูตรที่ 2 ต่างกัน 2 ข้อท้าย คือ ความเป็นผู้มีความเคารพในหิริ (อายบาป) และโอตตัปปะ (กลัวบาป) #34_มหาโมคคัลลานสูตร ท่านพระมหาโมคคัลลานะได้ขึ้นไปในพรหมโลกเพื่อปรารภกับติสสพรหมถึงเทวดาที่มีญาณหยั่งรู้ว่าใครเป็นโสดาบันเข้าสู่กระแสพระนิพพาน ติสสพรหมได้ตอบว่า เทวดาทั้ง 6 ชั้น ที่มีคุณธรรมโสตาปัตติยังคะ 4 ย่อมมีญาณรู้ว่าตนเป็นโสดาบันเป็นผู้เข้าสู่กระแสนิพพานในวันข้างหน้าแน่นอน พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ฉักกนิบาต เทวตาวรรค
- #29_อุทายีสูตร พระผู้มีพระภาคทรงปรารภเรื่อง “อนุสสติฏฐาน” กับท่านพระอุทายี และท่านพระอานนท์ ซึ่งคำตอบของท่านพระอุทายีเป็นปัญญาการระลึกชาติได้ซึ่งยังเป็นโมฆะอยู่ ส่วนท่านพระอานนท์ได้กล่าวทูลในเรื่องของฌาน 1-2-3 เพื่ออยู่เป็นสุขในปัจจุบัน และฌาน 4 ย่อมรู้แจ้งธาตุ มนสิการอาโลกสัญญา (ความสว่าง) เพื่อญาณทัสสนะ พิจารณากายนี้โดยความเป็นของปฏิกูล และเป็นซากศพที่ถูกทิ้งไว้ในป่าช้าเพื่อละกามราคะ และถอนอัสมิมานะ และพระผู้มีพระภาคทรงกล่าวเสริมข้อที่ 6 คือ อิริยาบถรู้ตัวทั่วพร้อมเพื่อสติสัมปชัญญะ #30_อนุตตริยสูตรภาวะ บุคคลใดมีศรัทธาตั้งมั่น บรรลุที่สุด มีความเลื่อมใสอย่างยิ่ง แล้วไปเพื่อได้เห็น..ได้ฟังธรรม..ได้ศรัทธา..ได้บำรุง..ได้ระลึกถึงตถาคต หรือสาวกของตถาคตแล้วได้ศึกษาในไตรสิกขา ซึ่งเป็นภาวะอันยอดเยี่ยมกว่าภาวะทั้งหลาย เพราะเป็นไปเพื่อทำให้แจ้งในนิพพาน พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ฉักกนิบาต อนุตตริยวรรค
- #25_อนุสสติฏฐานสูตร เมื่อตามระลึกถึงอนุสสติฏฐาน 6 ประการนี้แล้ว จิตย่อมไม่ถูกกิเลสกลุ้มรุม เป็นจิตดำเนินไปตรง ทำจิตบริสุทธิ์ขึ้นมาได้ อันได้แก่ 1. พุทธานุสสติ 2. ธัมมานุสสติ 3. สังฆานุสสติ 4. สีลานุสสติ 5. จาคานุสสติ 6. เทวตานุสสติ #26_มหากัจจานสูตร พระมหากัจจานะได้ปรารภการ “บรรลุช่องว่างในที่คับแคบ” ซึ่งหมายถึง อนุสสติฏฐาน 6 ที่ประกอบด้วยจิตอันไพบูลย์เป็นมหัคคตะ คือ ไม่ว่าเราจะถูกบีบคั้นจากอายตนะ 6 อย่างไร ถ้าเราจัดการจิตเราได้อย่างถูกต้องย่อมบรรลุถึงนิพพานได้ #27_#28_ปฐม_ทุติยสมยสูตร พระผู้มีพระภาคได้ตรัสกับภิกษุรูปหนึ่ง (สูตร 1) และท่านพระมหากัจจานะได้กล่าวกับเหล่าภิกษุเถระ (สูตร 2) ถึงสมัยที่ควรเข้าไปพบภิกษุผู้เจริญภาวนาทางใจ ซึ่งก็ได้แก่สมัยที่ถูกนิวรณ์ 5 กลุ้มรุม และไม่รู้นิมิตซึ่งเป็นที่สิ้นอาสวะสำหรับผู้อาศัยมนสิการอยู่ เพื่อขอให้ท่านได้แสดงอุบายเป็นเครื่องนำออกจากสิ่งนั้นได้ พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ฉักกนิบาต อนุตตริยวรรค
- #21_สามกสูตร พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ที่วิหารโปกขรณีย์ ใกล้หมู่บ้านสามะ ทรงปรารภเทวดาที่มาเข้าเฝ้ากราบทูลถึงธรรมที่เป็นไปเพื่อความเสื่อม 3 ประการ คือ 1. เป็นผู้ชอบการงาน 2. ชอบการพูดคุย 3. ชอบการนอนหลับ และพระองค์ทรงแสดงปริหานิยธรรมเพิ่มอีก 3 ประการ ให้แก่ภิกษุทั้งหลาย คิอ 4. ชอบคลุกคลีด้วยหมู่ 5. เป็นผู้ว่ายาก 6. มีปาปมิตร (มิตรชั่ว) #22_อปริหานิยสูตร อปริหานิยธรรม (ธรรมที่ไม่เป็นเหตุแห่งความเสื่อม) คือ ยกเอาธรรมในข้อ #21 ทั้ง 6 ประการ มากล่าวถึงในทางตรงข้ามกัน #23_ภยสูตร คำว่า ‘ภัย (อันตราย) ทุกข์ (ยึดถือ) โรค (อ่อนกำลัง) ฝี (จิตกลัดหนอง) เครื่องข้อง (บีบคั้น) เปือกตม (จมอยู่)’ นี้เป็นชื่อของกาม เพราะกามทำให้ผูกพันธ์ มีฉันทะราคะ ลุ่มหลง ก็จะทำให้เกิด ‘ภัย ทุกข์ โรค[...]
- #17_โสปปสูตร พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน ทรงปรารภพวกภิกษุใหม่ โดยชี้คุณ และโทษของผู้ที่หาความสุขในการนอน แล้วให้ภิกษุตามประกอบใน อปัณณกปฏิปทา เห็นแจ้งในกุศลธรรม เจริญโพธิปักขิยธรรม จะทำให้ถึงความสิ้นอาสวะได้ #18_มัจฉพันธสูตร พระผู้มีพระภาคเสด็จจาริกไปในแคว้นโกศล ทรงปรารภชาวประมง แล้วทรงตรัสเรื่อง คนฆ่าปลา ฆ่าโค ฆ่าแกะ ฆ่าสุกร พรานนก และพรานเนื้อ กระทำด้วยใจที่เป็นบาป เพราะกรรมนั้นจึงไม่มีโภคทรัพย์มาก ยิ่งผู้ที่ฆ่ามนุษย์ ย่อมมีทุกข์มากตลอดกาล ตายแล้วย่อมไปเกิดในอบาย ฯ #19_#20_ปฐม_ทุติยมรณัสสติสูตร (สูตร 1-2) พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ คิญชกาวสถาราม ทรงปรารภการเจริญมรณสติ มีอานิสงส์มาก มีอมตะ (นิพพาน) เป็นที่สุด พึงเจริญมรณสติอย่างแรงกล้า เพราะเหตุแห่งความตายมีมาก เช่น ภัยจากสัตว์ร้าย ลื่นหกล้ม อาหารไม่ย่อย ดี-เสมหะ-ลมพิษกำเริบ จึงพึ่งตั้งสติมั่นในการละอกุศล เจริญแต่กุศลให้มาก พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ฉักกนิบาต สารณียวรรค
- ทบทวนเพิ่มเติม ข้อ#13_นิสสารณียสูตร ต่อจากสัปดาห์ที่แล้ว กล่าวถึง ธาตุที่สลัด 6 ประการ คือ 1. เมตตาเจโตวิมุตติสลัดพยาบาท 2. กรุณาเจโตวิมุตติสลัดวิหิงสา (เบียดเบียน) 3. มุทิตาเจโตวิมุตติสลัดอรติ (อิจฉาริษยา) 4. อุเบกขาเจโตวิมุตติสลัดราคะ 5. อนิมิตตาเจโตวิมุตติ (อรหัตผล) สลัดนิมิต (เครื่องหมาย) ทั้งปวง 6. ที่ถอนอัสมิมานะ (อรหัตมรรค) นี้เป็นธาตุที่สลัดความเคลือบแคลงสงสัย ข้อ#14_ภัททกสูตร และ ข้อ#15_อนุตัปปิยสูตร เป็นธรรมคู่ตรงข้าม ว่าด้วย การอยู่อย่างมีความตายที่ไม่เจริญ (มีความหวาดกลัว) และมีกาลกิริยาที่เดือดร้อน (เกิดในอบายภูมิ) คือ เป็นผู้ชอบการงาน ชอบการพูดคุย การนอน การคลุกคลีด้วยหมู่ คลุกคลีกับคฤหัสถ์ ยินดีธรรมที่เป็นเหตุให้เนิ่นช้า ข้อ#16_นกุลปิตุสูตร นางนกุลมาตา ได้คลายความกังวลใจให้กับสามีผู้ป่วยเป็นไข้หนัก ว่าไม่ให้กังวลหรือห่วงใยในตัวนาง เพราะการตายของผู้ที่ยังมี ความห่วงใย เป็นทุกข์ และพระผู้มีพระภาคก็ทรงติเตียน เมื่อนกุลปิตาผู้เป็นสามีได้ฟังธรรม (การครองเรือน) นั้นแล้ว[...]
- สิ่งที่จะทำให้เราระลึกถึงกันได้ ไม่ใช่จิตที่เต็มไปด้วยพยาบาทเบียดเบียน แต่เป็นจิตที่เต็มไปด้วยความเมตตาอันไม่มีประมาณ ซึ่งก่อให้เกิดความรัก ความเอื้อเฟื้อ ความสามัคคีปองดองเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน ข้อ#11_ปฐมสารณียสูตร ธรรมเป็นเหตุให้ระลึกถึงกัน คือ ตั้งมั่นเมตตากายกรรม วจีกรรม มโนกรรม บริโภคไม่แบ่งแยก (แบ่งปันสิ่งของให้) มีศีลบริบูรณ์ และ มีอริยทิฐิ (สัมมาทิฐิ)ทั้งต่อหน้าและลับหลัง ข้อ#12_ทุติยสารณียสูตร สารณียธรรม 6 ประการที่กล่าวมาแล้วนี้ (ข้อ#11) ย่อมเป็นเหตุทำให้เป็นที่รัก ที่เคารพ เป็นไปเพื่อสงเคราะห์กัน เพื่อความไม่วิวาท เพื่อความสามัคคีเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน ข้อ#13_นิสสารณียสูตรธาตุ (สภาวะว่างจากอัตตา) ที่สลัด เมื่อทำให้มากเจริญให้มาก ฯลฯ ใน 1.เมตตาเจโตวิมุตตินี้เป็นธาตุที่สลัดพยาบาท 2.กรุณาเจโตวิมุตตินี้เป็นธาตุที่สลัดวิหิงสา(เบียดเบียน) 3.มุทิตาเจโตวิมุตตินี้เป็นธาตุที่สลัดอรติ (อิจฉาริษยา) 4.อุเบกขาเจโตวิมุตตินี้เป็นธาตุที่สลัดราคะ 5.อนิมิตตาเจโตวิมุตติ(อรหัตผล)นี้เป็นธาตุที่สลัดนิมิตทั้งปวง พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ฉักกนิบาต สารณียวรรค อ่าน "ปฐมสารณียสูตร" พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๒ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๔ [ฉบับมหาจุฬาฯ] อังคุตตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบา
- ภาวะใด..ที่เมื่อได้มีแล้ว เป็นทางดำเนินไปให้ถึงซึ่งความดับทุกข์ ภาวะนั้นจัดว่าเป็นภาวะอันยอดเยี่ยมที่สุด ได้แก่ การเห็นพระพุทธเจ้า หรือสาวกของพระพุทธเจ้า การฟังพระธรรม การได้อริยทรัพย์ การศึกษาในไตรสิกขา การบำรุง และการระลึกถึงคุณของพระรัตนตรัย เป็นธรรมที่อยู่ในข้อ#8_อนุตตริยสูตร #9_อนุสสติฏฐานสูตร ฐานที่ตั้งแห่งความระลึกถึง 6 ประการ เพราะที่เมื่อระลึกถึงแล้ว เป็นเหตุให้ได้รับประโยชน์และความสุข เกิดปิติ เป็นทางให้ไปสู่นิพพาน ได้แก่ การระลึกถึง พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ศีลการบริจาค และคุณของเทวดา #10_มหานามสูตร เจ้ามหานามะได้ตรัสทูลถามกับพระพุทธเจ้าถึงเหตุที่ “อริยสาวกผู้ได้บรรลุผลแล้ว(อริยผล) รู้ชัดศาสนาแล้ว(รู้แจ้งไตรสิกขา) ส่วนมากอยู่ด้วยวิหารธรรมใด” ซึ่งคำตอบก็คือการเจริญให้มากในอนุสสติ 6 ประการ ตามที่ได้กล่าวมาในข้อ#9 พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ฉักกนิบาต ปฐมปัณณาสก์ อาหุเนยยวรรค
- พระอริยบุคคล และบิดา-มารดา จัดเป็น “อาหุไนยบุคคล” คือ บุคคลผู้มีคุณ เป็นผู้ควรแก่ของที่เขานำมาถวาย นำมาบูชา นำมาให้ เริ่มพระสูตรแรกในฉักกนิบาต (หมวดธรรม 6 ข้อ) ฉบับมหาจุฬาฯ โดยข้อแรก-ข้อ 7 นี้ คือ คุณสมบัติของภิกษุ (นัยยะนี้ หมายถึง พระอรหันต์) ที่เป็นผู้ควรแก่ของที่เขานำมาถวาย ฯลฯ (สังฆคุณ 5 ข้อหลัง) ซึ่งจะมีคุณสมบัติดังนี้ ข้อ#1 เมื่อเกิดผัสสะกระทบกันกับอายตนะทั้ง 6 แล้วไม่ดีใจ ไม่เสียใจ มีอุเบกขา มีสติสัมปชัญญะอยู่ ข้อ#2 มีวิชชา (อภิญญา 6) ได้แก่ แสดงฤทธิ์ได้ มีหูทิพย์ ตาทิพย์ กำหนดรู้ใจผู้อื่นได้ ระลึกชาติได้ และกำจัดอาสวะได้ ข้อ#3-#4 มีอินทรีย์ (ความแก่กล้า) และพละ (กำลัง) ใน ศรัทธา วิริยะ สติ[...]
- การภาวนา เจริญให้มากในสัญญาทั้งหลาย เป็นทางดำเนิน (มรรค) เพื่อความรู้ยิ่ง..เพื่อความจางคลาย..เพื่อดับอวิชชา ข้อ#286-#292 ภิกษุ ภิกษุณี สิกขมานา (สามเณรีอายุ 18 ปีขึ้นไป) สามเณร สามเณรี อุบาสก และอุบาสิกา ที่มีความประพฤติทุศีล (ศีล 5) ย่อมดำรงอยู่ในนรก และผู้ที่ประพฤติถูกศีลย่อมดำรงอยู่ในสวรรค์ ข้อ#293-#302 นักบวชนอกศาสนาที่มีความประพฤติทุศีลย่อมดำรงอยู่ในนรก ข้อ#303-#1151 ธรรมที่เมื่อเจริญแล้วจะเป็นไปเพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อความสละคืน เพื่อความสิ้นไปแห่งอุปกิเลส (17 อย่าง) อันมี ราคะ โทสะ โมหะ โกธะ ฯลฯ เป็นต้น ได้แก่ สัญญา 7 ประการ และอาทีนวสัญญา อนัตตสัญญา ปหานสัญญา วิราคสัญญา อินทรีย์ 5 และพละ 5 พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต สิกขาปทเปยยาล ราคเปยยาล
- ความตระหนี่นี้ มีไปตลอดสายของการปฏิบัติ ซึ่งจะมีความละเอียดลงไปตามลำดับขั้น การมาปฏิบัติก็เพื่อจะละความยึดถือ ก็คือละความตระหนี่เหล่านี้นั่นเอง ข้อ#251-#253 ผู้ที่ประกอบด้วยธรรม ในกลุ่มของศีล สมาธิ ปัญญา วิมุตติ และวิมุตติญาณทัสสนะชนิดที่เป็นอเสขะ (อรหันต์) เป็นผู้ที่ควรแก่การเป็นพระอุปัชฌาย์ ผู้ให้นิสสัย ผู้ให้สามเณรอุปัฏฐากได้ ข้อ#254-#263 ความตระหนี่ 5 ประการคือ 1.ตระหนี่อาวาส 2.ตระหนี่ตระกูล 3.ตระหนี่ลาภ 4.ตระหนี่วรรณะ 5.ตระหนี่ธรรม ซึ่งความตระหนี่ธรรมจัดว่าน่าเกลียดสุด และผู้ที่ยังละความตระหนี่ไม่ได้ย่อมไม่บรรลุ และผู้ที่ละได้ย่อมบรรลุไล่ตั้งแต่ฌาณ1-4 ไปจนถึงทำให้แจ้งในอริยผลทั้ง 4 ขั้น ข้อ#264-#271 ความตระหนี่อีกนัยหนึ่ง ที่มีความหมายและไส้ในเหมือนกันกับข้อ 254-263 แต่ต่างกันตรงข้อสุดท้ายคือ 5.อกตัญญู อกตเวที ข้อ#272-#285 คุณสมบัติของภิกษุที่จะมาทำหน้าที่ต่าง ๆ ในอาวาส คือ ไม่ลำเอียงเพราะชอบ เพราะชัง เพราะหลง เพราะกลัว และรู้ระบบของงานนั้นๆเป็นอย่างดี เป็นบัณฑิต บริหารตนไม่ให้ถูกกำจัดทำลาย ย่อมดำรงอยู่ในสวรรค์ และคู่ตรงข้ามคือลำเอียง ฯลฯ ย่อมดำรงอยู่ในนรก พระสุตตันตปิฎก[...]
- ความเลื่อมใสที่เรามีอย่างถูกต้องในคุณของพระพุทธ พระธรรม และพระสงฆ์ แม้จะมีเหตุปัจจัยเปลี่ยนแปลงไปอย่างไรก็ตาม เราก็ย่อมทำการปฏิบัติของเราให้เจริญ และงดงามได้ เพราะด้วยศรัทธาที่เราตั้งไว้อย่างถูกต้องแล้ว #ข้อ241-#244 (สูตร 1) เป็นธรรมคู่ตรงข้าม ว่าด้วย โทษของทุจริต ทางกาย วาจา และใจ (อกุศลกรรมบถ 10) มีโทษ คือ 1. แม้ตนก็ติเตียนตนเองได้ 2. ผู้รู้ย่อมติเตียน 3. กิตติศัพท์อันชั่วย่อมกระฉ่อนไป 4. หลงลืมสติตาย 5. ตายแล้วไปเกิดในอบาย นรก #ข้อ245-#248 (สูตร 2) จะมีไส้ในเหมือน(สูตร1) มีความแตกต่างในตอนท้าย คือ 4. เสื่อมจากสัทธรรม 5. ตั้งอยู่ในอสัทธรรม #ข้อ249 เป็นธรรมที่อุปมาอุปไมยป่าช้ากับคน คือ บุคคลที่ประกอบด้วยอกุศลกรรมบถ 10 ย่อมไม่สะอาด มีกลิ่นเหม็น (ชื่อเสีย) มีภัย (ไม่อยากอยู่ด้วย) เป็นที่อยู่ของอมนุษย์ (คนไม่ดีมาอยู่รวมกัน) เป็นที่คร่ำครวญของคนหมู่มาก (หมดอาลัย)[...]
- หมวดว่าด้วยคุณธรรมของผู้ดูแลอาวาสนี้ ไม่ใช่เฉพาะกับเจ้าอาวาสหรือภิกษุสงฆ์เท่านั้น แต่หมายถึงเราทุกคน ถ้ามีคุณธรรมเหล่านี้ย่อมยังอาวาสหรือองค์กรนั้นให้เจริญรุ่งเรือง และงดงามได้ #ข้อ231-#234 เจ้าอาวาสที่มีคุณธรรมดังนี้ ย่อมเป็นที่รัก ที่เคารพยกย่อง มีอุปการะ ยังอาวาสให้งดงาม มาในหัวข้อที่ต่างกัน สรุปรวมลงไส้ในได้ดังนี้ คือ เป็นผู้มีมรรยาทและวัตรงาม มีศีล เป็นพหูสูต ทรงสุตะ มีความประพฤติขัดเกลาดี ยินดีการหลีกเร้น วาจางาม ยังคนให้อาจหาญ ดูแลปฏิสังขรณ์เสนาสนะและอุปการะภิกษุผู้มาจากต่างแคว้นได้ เป็นผู้ได้ฌาน 4 มีปัญญา ทำให้แจ้งซึ่งเจโตและปัญญาวิมุตติ #ข้อ235 เจ้าอาวาสที่ประกอบด้วยธรรมต่อไปนี้ ย่อมอนุเคราะห์คฤหัสถ์ คือ ให้สมาทานอธิศีลและให้เห็นธรรมได้ สามารถอนุเคราะห์คฤหัสถ์ป่วยไข้และเชิญชวนให้ทำบุญตามกาลสมัยได้ บริโภคของที่เขานำมาถวาย ไม่ทำศรัทธาไทยให้ตกไป #ข้อ236-#240 เป็นธรรมคู่ตรงข้าม มีหัวข้อที่เหมือนกันว่าด้วย เจ้าอาวาสที่เหมือนดำรงอยู่ในนรก คือ ไม่พิจารณาไตร่ตรองสรรเสริญคนที่ควรติเตียนหรือติเตียนคนที่ควรสรรเสริญ ไม่พิจารณาไตร่ตรองปลูกความเลื่อมใสในฐานะที่ไม่ควรเลื่อมใสหรือไม่ปลูกความเลื่อมใสในฐานะที่ควรเลื่อมใส มีความตระหนี่ในอาวาส ตระกูล ในลาภ วรรณะ และทำศรัทธาไทยให้ตกไป พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต อาวาสิกวรรค
- การทำความคุ้นเคยอยู่คลุกคลีไปมาหาสู่กันเป็นประจำ ถ้าไม่สำรวมระมัดระวังเผลอยินดีไปในกาม อาจทำให้ต้องอาบัติเศร้าหมองได้ ปฐม-ทุติยกุลุปกสูตร #225_#226 โทษของการเข้าไปสู่เรือนตระกูล และอยู่นานเกินเวลา อาจทำให้ต้องอาบัติเพราะหลีกไปโดยไม่ได้บอกลา ทำให้ได้เห็นหน้ากันเป็นประจำ ได้คลุกคลี นั่งในที่ลับในที่กำบังสองต่อสองกับมาตุคาม และได้บอกสอนพระบาลีเกิน 5-6 คำ เกิดความคุ้นเคยกัน ย่อมมีจิตจดจ่อทำให้ดำริไปในทางกามมาก ไม่ยินดีในการในการประพฤติพรหมจรรย์ โภคสูตร #227 โทษของโภคทรัพย์ คือเป็นสาธารณะทั่วไป ถูกทำลายสูญหายได้ด้วย ไฟ น้ำ พระราชา โจร และทายาทผู้ไม่เป็นที่รัก ส่วนอานิสงส์ ทำให้ได้บำรุงเลี้ยงดูตนเอง บิดา-มารดา บุตร ภรรยา ทาส กรรมกร คนใช้ มิตรอำมาตย์ และบำเพ็ญทักษิณา อุสสูรภัตตสูตร #228 การหุ้งต้มอาหารในเวลาสายมีโทษ คือ ไม่ได้ต้อนรับแขก ไม่ได้ทำพลีกรรม ไม่ได้ถวายอาหารแก่สมณะ ทาสกรรมกรและคนใช้หลบหน้าทำงานสาย อาหารมีรสไม่อร่อย ปฐม-ทุติยกัณหสัปปสูตร #229_#230 อุปมาอุปไมยงูเห่ากับมาตุคาม ว่า ไม่สะอาด มีกลิ่นเหม็น มักโกรธและผูกโกรธ มีพิษร้าย (ราคะจัด)[...]
- ความอดทน ไม่ใช่กำลังของคนพาล แต่เป็นกำลังของบัณฑิตที่เห็นโทษอกุศลนั้นด้วยปัญญา ทบทวน #ข้อ215-#ข้อ126 ว่าด้วยความไม่อดทน โดยได้ยกเอา เวปจิตติสูตร มาอธิบายเสริมทำความแจ่มแจ้งในเรื่องของการวางจิตในความอดทนเพื่อให้เป็นปัญญา ปฐม-ทุติยอปาสาทิกสูตร #ข้อ217-218 โทษของบุคคลผู้ไม่น่าเลื่อมใส (ทำผิดวินัย) สูตร 1-2 คือ แม้ตนก็ติเตียนตนเอง ผู้รู้ติเตียน ชื่อสียงไม่ดีกระฉ่อนไป หลงลืมสติตาย ตายแล้วไปเกิดในอบาย คนที่ยังไม่เลื่อมใส ย่อมไม่เลื่อมใส ผู้ที่เลื่อมใสแล้วกลายเป็นอื่น ไม่ปฏิบัติตามคำสอน คนรุ่นหลังเอาแบบอย่างได้ อัคคิสูตร #ข้อ219 โทษของไฟ คือ ทำให้ตาฝ้าฟาง ผิวหยาบกร้าน อ่อนกำลัง เพิ่มการคลุกคลีด้วยหมู่ สนทนาดิรัจฉานกถา มธุราสูตร #ข้อ220 นครมธุรา มีโทษ คือ พื้นดินไม่เรียบ มีฝุ่นละออง สุนัขดุ มียักษ์ร้าย อาหารหาได้ยาก ถ้าเราอยู่ที่ไหนแล้วมีจิตไม่เป็นสมาธิ ละอาสวกิเลสไม่ได้ ไม่ควรอยู่ที่นั่น ปฐม-ทุติยทีฆจาริกสูตร #ข้อ221-222[...]
- การจะพูดอะไรนั้น ให้เรามีสติระลึกให้ดี ว่าคำพูดนั้นมีประโยชน์อย่างไร…ให้พูดแต่พอดี อย่ากล่าววาจาอันเป็นโทษ มีความอดทน แล้วเห็นโทษนั้นด้วย “ปัญญา” ทันตกัฏฐสูตร #ข้อ208 โทษของการไม่แปรงฟัน คือ ตาฝ้าฟาง ปากเหม็น รับรู้รสได้ไม่ดี อาหารย่อยยาก มีรสไม่อร่อย คีตัสสรสูตร #ข้อ209 โทษของการแสดงธรรมด้วยเสียงขับร้อง คือ แม้ตนเอง และผู้อื่นก็กำหนัดในเสียงนั้น พวกคฤหัสตำหนิ สมาธิเสื่อม คนรุ่นหลังเอาแบบอย่าง มุฏฐัสสติสูตร #ข้อ210 หลงลืมสติก่อนนอนมีโทษทำให้หลับ-ตื่นเป็นทุกข์ ฝันร้าย เทวดาไม่รัก และน้ำอสุจิเคลื่อน อักโกสกสูตร #ข้อ211 การด่าเพื่อนพรหมจารี ว่าร้ายพระอริยะมีโทษคือ ต้องอาบัติร้ายแรง จิตเศร้าหมอง เป็นโรคร้าย หลงลืมสติตาย ตายแล้วไปเกิดในนรก ภัณฑนการกสูตร #ข้อ212 ทำความบาดหมางให้แตกกัน มีโทษ คือ จะไม่บรรลุธรรมที่ยังไม่ได้บรรลุ เลื่อมจากธรรม กิตติศัพท์อันชั่วขจรไป หลงลืมสติตาย ตายแล้วไปเกิดในนรก สีลสูตร #ข้อ213 ผู้มีศีลวิบัติมีโทษคือ จะเสื่อมจากโภคทรัพย์ เสื่อมเสียชื่อเสียง[...]
- จิตที่ไม่นุ่มนวล เพราะถูกกิเลสรัดตรึงไว้ จิตจะไม่ก้าวหน้า ให้เราเอาเครื่องขวางนี้ออก จิตของเราจะมีการพัฒนา บรรลุธรรมได้ กิมพิลสูตร #ข้อ201 ท่านกิมพิละได้ทูลถามพระพุทธเจ้าถึงเหตุปัจจัยให้พระสัทธรรมดำรงอยู่ได้ไม่นานเมื่อพระพุทธเจ้าปรินิพพานแล้ว นั่นก็คือ พุทธบริษัท 4 นี้ ไม่เคารพยำเกรงในพระรัตนตรัย ในสิกขา และในกันและกัน ธัมมัสสวนสูตร #ข้อ202 การฟังธรรมจะมีอานิสงส์ 5 ประการ คือ ได้ฟังสิ่งที่ยังไม่เคยได้ฟัง เข้าใจชัดสิ่งที่ได้ฟังแล้ว บรรเทาความสงสัยเสียได้ ทำให้มีความเห็นตรง จิตย่อมเลื่อมใส อัสสาชานียสูตร #ข้อ203 อุปมาอุปไมยม้าอาชาไนยกับภิกษุ ในเรื่อง ความตรง มีเชาว์ ความอ่อน อดทน และความเสงี่ยม พลสูตร #ข้อ204 พละ คือ กำลังคือศรัทธา หิริ โอตตัปปะ วิริยะ และปัญญา เจโตขิลสูตร #ข้อ205 กิเลสเครื่องตรึงจิตดุจตะปู 5 ประการ คือ มีความเคลือบแคลง ไม่ลงใจในพระรัตนตรัย ในสิกขา และเป็นผู้มีโทสะในเพื่อนผู้ประพฤติพรหมจรรย์[...]
- ความฝันใดๆ ถ้าเรามีสติแยกแยะ จะสามารถบอกได้ว่า ฝันนั้นจะเป็นจริงหรือเป็นเพียง “แค่ฝัน” ปิงคิยานีสูตร #ข้อ195 พระพุทธเจ้าได้ตรัสกับเจ้าลิจฉวีและปิงคิยานีพราหมณ์ ถึงความปรากฎแห่งแก้ว 5 ประการที่หาได้ยากในโลก คือ การมีพระพุทธเจ้าอุบัติขึ้น มีผู้แสดงธรรมของพระพุทธเจ้า แล้วเข้าใจนำไปปฏิบัติให้เกิดผล รู้คุณ กระทำตอบ มหาสุปินสูตร #ข้อ196 พระพุทธเจ้าก่อนจะตรัสรู้ ได้ปุพนิมิตว่า แผ่นดินนี้เป็นที่นอนใหญ่ มีหญ้าแพรกงอกขึ้นจากสะดือจรดฟ้า แล้วมีหนอนขาวหัวดำไต่ขี้นจากเท้า นกมีสีต่างๆกัน บินมาตกลงแทบเท้ากลายเป็นสีขาว เดินไปมาบนภูเขาคูถลูกใหญ่แต่ไม่เปื้อนอุจจาระ วัสสสูตร #ข้อ197 อันตรายที่จะทำให้ฝนไม่มี ขาดช่วง หายไป คือ ธาตุไฟ ธาตุลมกำเริบในอากาศ เทพราหูรับเอาน้ำไปทิ้งในมหาสมุทร เทพแห่งฝนลืมทำหน้าที่ พวกมนุษย์ไม่ตั้งอยู่ในธรรม วาจาสูตร #ข้อ198 วาจาสุภาษิต ท่านผู้รู้ไม่ติเตียน คือ พูดถูกกาล พูดคำจริง อ่อนหวาน เป็นประโยชน์ และพูดด้วยเมตตาจิต กุลสูตร #ข้อ199 นักบวชผู้มีศีลไปสู่ตระกูลใด ตระกูลนั้นจะประสพสิ่งที่เป็นบุญ คือเมื่อได้เห็นแล้วเกิดจิตเลื่อมใส(เป็นไปเพื่อไปเกิดในสวรรค์) ยกมือไหว้ ถวายอาสนะ(เกิดในตระกูลสูง)[...]
- โสณสูตร #ข้อ191 ว่าด้วยธรรมของพราหมณ์ ที่เปรียบเทียบกับสุนัขมาในเรื่อง การมีคู่ครองที่เหมาะสม ไม่ซื้อขายพราหมณี ไม่ทำการสะสมทรัพย์ แสวงหาอาหารเป็นเวลา โทณพราหมณสูตร #ข้อ192พระพุทธเจ้าได้ตรัสถามท่านโทณพราหมณ์ ว่า ท่านโทณะเป็นพราหมณ์แบบไหน ใน 5 จำพวกนี้ คือ 1.พราหมณ์ผู้เสมอด้วยพรหม 2.ผู้เสมอด้วยเทวดา 3.ผู้ประพฤติดี 4.ผู้ประพฤติทั้งดีและชั่ว 5.ผู้เป็นจัณฑาล ซึ่งท่านโทณะได้กราบทูลว่า “แม้แต่พราหมณ์ ผู้เป็นจัณฑาล ข้าพระองค์ยังให้บริบูรณ์ไม่ได้เลย” สังคารวสูตร #ข้อ193 สังคารวพราหมณ์ ได้ทูลถามพระพุทธเจ้าถึงเหตุที่ทำให้การสาธยายมนต์ไม่แจ่มแจ้ง ซึ่งก็คือ เมื่อใจถูกกามราคะ พยาบาท ถีนมิทธะ อุทธัจจกุกกุจจะ และวิจิกิจฉากลุ้มรุม การณปาลีบุตร #ข้อ194 ท่านปิงคิยานีพราหมณ์ได้ตอบถึงเหตุที่เลื่อมใสในพระพุทธเจ้าแก่ท่านการณปาลีพราหมณ์ ว่า เมื่อบุคคลได้ฟังธรรมของพระพุทธเจ้าแล้ว ย่อมไม่ปรารถนาธรรมเหล่าอื่น ย่อมได้ความพอใจ โสมนัส ความทุกข์กาย ทุกข์ใจย่อมหมดไป ความเหน็ดเหนื่อย เร่าร้อนย่อมระงับไป พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต พราหมณวรรค
- ผู้ที่หมั่นคอยขัดเกลาตนเอง และประพฤติปฏิบัติให้ยิ่งๆ ขึ้นไปด้วยข้อปฏิบัติอันงาม จัดเป็นผู้เลิศ ผู้ประเสริฐสุด ภเวสีสูตร #ข้อ180 ภเวสีอุบาสก มีความคิดที่จะรักษาศีลให้สมบูรณ์ และปฏิบัติให้ยิ่งๆขึ้นไปใน การประพฤติพรหมจรรย์ บริโภคมื้อเดียว ไปจนถึงออกบวช และได้อรหัตผล แล้วได้ชักชวนบริวารอีก 500 คน ปฏิบัติตามจนได้อรหัตผลด้วยเช่นกัน #ข้อ181-#ข้อ190 หัวข้อจะเหมือนธุดงควัตร 10 ข้อแรก คือ ผู้อยู่ป่าเป็นวัตร, ผู้ถือผ้าบังสกุล, อยู่โคนไม้, ป่าช้า, กลางแจ้ง, ถืออิริยาบถ 3, อยู่เสนาสนะตามที่จัดไว้, บริโภคมื้อเดียว, ห้ามภัตที่นำมาถวายภายหลัง, บริโภคในภาชนะเดียว มีลักษณะธรรมที่เป็นไส้ในเหมือนกัน แต่เปลี่ยนไปตามหัวข้อนั้นๆ คือประพฤติข้อวัตรเพราะโง่เขลา, ถูกความปรารถนาชั่วครอบงำ, มีจิตฟุ้งซ่าน, หวังคำสรรเสริญ, มีความมักน้อย สันโดษ ต้องการด้วยข้อปฏิบัติอันงาม จัดเป็นพวกที่เลิศประเสริฐสุด โสณสูตร #ข้อ191 ธรรมของพราหมณ์ ที่ปรากฏในพวกสุนัข แต่ไม่ปรากฏในพวกพราหมณ์ คือ ว่าในเรื่องการสมสู่ระหว่างพราหมณ์กับพราหมณี และในหญิงวัยเจริญพันธุ์ การซื้อขายพราหมณี การสะสมทรัพย์ และการแสวงหาอาหาร[...]
- 6 ขุดเพชรในพระไตรปิฏกผู้ที่มีศีลบริบูรณ์ และได้สุขที่เกิดจากโสตาปัตติยังคะ 4 ย่อมประพฤติปฏิบัติให้สมบูรณ์ รู้จบธรรมะ เป็นทางไปสู่พระนิพพานได้ ปีติสูตร #ข้อ176 เมื่อมีสุขที่ได้จากสมาธิ ย่อมไม่มีทุกข์หรือสุขที่ปรารภด้วยกาม ไม่มีทุกข์หรือสุขประกอบด้วยอกุศล และไม่มีทุกข์จากสิ่งที่เป็นกุศล วณิชชาสูตร #ข้อ177 การค้าขาย 5 ประเภท ที่ตัวเองไม่ควรทำ และไม่ควรชักชวนผู้อื่นทำ คือ 1. ค้าขายอาวุธ 2. ค้าขายสัตว์เป็น 3. ค้าขายเนื้อสัตว์ 4. ค้าขายของมึนเมา และ 5. ค้าขายยาพิษ ราชสูตร #ข้อ178 ยกเอาศีล 5 ขึ้นมาเปรียบเทียบกับการลงโทษของพระราชาว่า ไม่เคยเห็นพระราชาลงโทษผู้มีศีล แต่ด้วยบาปกรรมของผู้นั้นมีอยู่ ถึงไม่ได้กระทำผิดศีลก็จริง ก็อาจเป็นไปได้ว่า ที่จะถูกลงโทษ คิหิสูตร #ข้อ179 พระพุทธเจ้าตรัสกับท่านพระสารีบุตร โดยปรารภท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี และคฤหัส 500 คน ว่า ถ้าใครมีศีล5 แล้วประกอบด้วยสุขที่เกิดจากโสตาปัตติยังคะ 4 ให้ฟันธงได้เลยว่า มีนรกสิ้นแล้ว ฯลฯ[...]
- 6 ขุดเพชรในพระไตรปิฏกในบรรดาการได้เห็น การได้ยิน ความสุข สัญญา และความเป็นอยู่ของผู้ที่เห็นตามความเป็นจริงแล้วทำให้อาสวะสิ้น จัดว่าเป็นเลิศที่สุด สีลสูตร #ข้อ168 การทุศีล และการมีศีล เปรียบเหมือนต้นไม้ที่มีกิ่งใบ (ศีล) วิบัติหรือสมบูรณ์ สะเก็ด (สัมมาสมาธิ) เปลือก (ยถาภูตญาณทัสสนะ) กระพี้ (นิพพิทา-วิราคะ) แก่น (วิมุตติญาณทัสสนะ) ย่อมวิบัติ หรือสมบูรณ์ตามด้วย ขิปปนิสันติสูตร #ข้อ169 เหตุเป็นผู้ให้ใคร่ครวญได้เร็ว เรียนได้มาก แล้วสิ่งที่เรียนไม่เลือนหายไป ได้แก่ เป็นผู้ฉลาดในอรรถในธรรม พยัญชนะ นิรุตติ เบื้องต้น และเบื้องปลาย (นำไปใช้) ภัททชิสูตร #ข้อ170 ท่านพระอานนท์ได้กล่าวเพื่อที่จะทำคำตอบให้ชัดเจนกับท่านพระภัททชิ ถึงการเห็น ได้ยิน สุข สัญญา และภพ ของผู้ที่เห็นตามความเป็นจริงแล้วอาสวะสิ้นไป การเห็น ฯลฯ นั้นๆ ว่าเป็นเลิศที่สุด #ข้อ171-#ข้อ174 เป็นธรรมคู่ตรงข้าม มีไส้ในเหมือนกัน ว่าด้วยผู้ไม่มีศีล 5 และมีศีล 5[...]
- 6 ขุดเพชรในพระไตรปิฏกถ้าเราทราบเหตุของคำถาม เราจะมีวิธีที่จะตอบ เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดได้ และเมื่อถูกกล่าวโจทก์เราควรตั้งอยู่ในความจริงและไม่โกรธ ปัญหาปุจฉาสูตร #ข้อ165 การถามปัญหาด้วยเหตุ 5 ประการ คือ 1. เพราะโง่เขลา 2. ถูกความปรารถนาชั่วครอบงำ 3. ดูหมิ่น 4. ประสงค์จะรู้ จึงถาม 5. ถามเพื่อที่จะทำคำตอบให้ชัดเจน ให้เราเลือกใช้วิธีตอบปัญหาพยากรณ์ 4 อย่างของพระพุทธเจ้า นิโรธสูตร #ข้อ166 ท่านพระสารีบุตรได้กล่าวถึง ผู้ที่ถึงพร้อมด้วย ศีล สมาธิ ปัญญา และฌาน 9 ถ้าไม่ได้อรหัตผลในปัจจุบัน ก็เป็นไปได้ที่จะเป็นผู้อยู่ร่วมกับเทวดาชั้นกามภพ แต่ถูกท่านพระอุทายีคัดค้านถึง 2 วาระ (6 ครั้ง) พระพุทธเจ้าท่านทรงมารับรองคำของท่านพระสารีบุตร แล้วกล่าวกับพระอานนท์ว่า “ทำไมถึงปล่อยให้พระเถระถูกเบียดเบียน” เป็นเหตุให้ได้กล่าวถามธรรมกับท่านอุปวานะ ถึงธรรมที่เป็นที่รักเคารพ คือ เป็นผู้มีศีล เป็นพหูสูต มีวาจางาม ได้ฌาน 4 มีเจโตและปัญญาวิมุตติ โจทนาสูตร #ข้อ167 ผู้ประสงค์จะโจทก์ผู้อื่น[...]
- 6 ขุดเพชรในพระไตรปิฏกเรา...ผู้รักสุข เกลียดทุกข์ คงไม่มีประโยชน์ที่จะเก็บความอาฆาต โกรธเคืองไว้ในจิตใจ และผู้ที่มีปัญญา...จะเพ่งแต่ส่วนที่ดี ที่มีประโยชน์ของบุคคลอื่น แม้ว่าผู้นั้นจะไม่มีส่วนดีเลยก็ตาม...ก็จะเมตตา สงสาร ในทุกข์ที่เขาเป็น อุทายีสูตร #ข้อ159 พึงตั้งธรรมไว้ 5 ประการ เมื่อจะแสดงธรรม คือ 1. แสดงธรรมไปตามลำดับ 2. แสดงอ้างเหตุ 3. อาศัยความเอ็นดู 4. ผู้ไม่เพ่งอามิส 5. ไม่แสดงธรรมกระทบตนและผู้อื่น ปฐมอาฆาตปฏิวินยสูตร #ข้อ161 และทุติยอาฆาตปฏิวินยสูตร #ข้อ162 ว่าด้วยอุบายกำจัดอาฆาต คือ ให้มีเมตตา กรุณา และอุเบกขา ไม่พึงระลึกในเรื่องไม่ดี และให้เข้าใจในเรื่องกรรม แม้ว่าผู้นั้นจะบริสุทธิ์หรือไม่บริสุทธิ์ทางกาย วาจา ใจ ก็ตาม ให้มองแต่ข้อดีให้เกิดประโยชน์แก่จิตใจตนเอง สากัจฉสูตร #ข้อ163 ผู้ที่ควรสนทนาด้วย และอาชีวสูตร #ข้อ164 ผู้ควรแก่การถาม-ตอบ มีไส้ในเหมือนกัน คือ เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยศีล สมาธิ ปัญญา วิมุตติ วิมุตติญาณทัสสนะ[...]
- 6 ขุดเพชรในพระไตรปิฏกการพูดเรื่องดีๆ กับคนบางคนก็อาจจะเป็นเรื่องที่ขัดเคืองใจ หรือ กับคนบางคนก็ไม่ขัดเคืองใจ อยู่ที่เราตั้งจิตเพ่งไว้ตรงไหน ให้ตั้งจิตให้ถูก ให้เพ่งระลึกถึงกุศลที่เรามี จะเจริญกุศลให้งอกงามได้ ทบทวน #ข้อ154-156 การที่เรานำเอาธรรมที่เราได้เล่าเรียน (ปริยัติ) มาแสดง-อธิบาย บอกธรรม-บอกบาลี ใคร่ครวญ (ปฏิบัติ) จนให้ถึงมรรคผล (ปฏิเวธ) จะเป็นเหตุให้พระสัทธรรมดำรงมั่น ไม่เสื่อมสูญ ทุกกถาสูตร #ข้อ157 การพูดเรื่อง ศรัทธา ศีล สุตะ จาคะ และปัญญากับผู้ที่ไม่มีในตน (ไม่พิจารณาเห็นในตน) ก็จะเป็นที่ขัดเคือง จึงเป็นเรื่องไม่ดี แต่ถ้าพูดกับผู้ที่มีความถึงพร้อมธรรมขัอนั้นๆ ในตน ก็จะได้ปิติปราโมทย์ เรื่องที่พูดนั้นจึงดี สารัชชสูตร #ข้อ158 ความครั่นคร้าม และความแกล้วกล้า เป็นธรรมคู่ตรงข้าม ประกอบด้วย มีหรือไม่มีศรัทธา มีศีลหรือทุศีล สุตะน้อยหรือทรงสุตะ เกียจคร้านหรือมีความเพียร ปัญญาทรามหรือมีปัญญา ทุปปฏิวิโนทยสูตร #ข้อ160 ธรรมที่เกิดขึ้นแล้วบรรเทาได้ยาก ได้แก่ ราคะ โทสะ โมหะ ปฏิภาณ (มุ่งหวังที่จะพูด)[...]
- 6 ขุดเพชรในพระไตรปิฏกเหตุที่จะทำให้พระสัทธรรม ไม่เสื่อมสูญ คือ การที่เรานำเอาธรรมที่เราได้ยิน ได้ศึกษาเล่าเรียน ท่องจำ นำมาใคร่ครวญ ปฏิบัติจนให้ถึงผล #ข้อ151-#ข้อ153 หัวข้อเหมือนกัน คือ ผู้ที่ประกอบด้วยธรรม 5 ประการนี้ จะเป็นผู้เมื่อฟังธรรมอยู่ ก็สามารถที่จะหยั่งลงสู่ความเห็นที่ถูกต้องได้ ซึ่งเป็นธรรมคู่ตรงข้ามมีส่วนเหมือนและส่วนต่าง สรุปรวมแล้วได้ 10 ประการ ไม่มัวสนใจแต่คำพูด, ไม่สนใจแต่ผู้พูด, ไม่สนใจแต่ตัวเอง, ไม่เป็นคนโง่, ไม่สำคัญว่ารู้ในสิ่งที่ตนไม่รู้, ไม่ลบลู่ฟังธรรม, ไม่แข่งดี ฟังธรรม, ไม่จ้องจับผิดในผู้แสดงธรรม, มีจิตเป็นเอกัคคตา และทำในใจโดยแยบคาย #ข้อ154-#ข้อ156 ห้วข้อเหมือนกัน ว่าด้วยความเสื่อม และความตั้งอยู่ได้แห่งพระสัทธรรมเป็นธรรมคู่ตรงข้าม #ข้อ154 คือ ฟังธรรม เรียนธรรม ทรงจำธรรม ใคร่ครวญอรรถแห่งธรรม ปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรมโดยเคารพหรือไม่เคารพ #ข้อ155 คือ เรียนธรรม (นวังคสัตถุสาสน์) แสดงธรรม (อธิบาย) บอกธรรม (จดจำ) สาธยาย ตรึกตรองตามหรือไม่ #ข้อ156 คือ เล่าเรียนพระสูตรที่สืบทอดกันมาดี[...]
- 6 ขุดเพชรในพระไตรปิฏก“สมยวิมุต” เป็นความพ้นชั่วคราว ถ้าสร้างเหตุดีมีวิมุตติเกิดขึ้นได้ ถ้าสร้างเหตุเงื่อนไขปัจจัยไม่ดี วิมุตติก็เสื่อมไปได้ ทบทวน #ข้อ144 เมื่อพิจารณาเห็นสิ่งปฏิกูลและไม่ปฏิกูล และอาศัยอุเบกขาเห็นความไม่เที่ยง จะละราคะ โทสะ และโมหะได้ นิรยสูตร #ข้อ145 ผู้ที่ผิดศีล 5 เป็นเหตุให้ไปตกนรก และผู้ที่รักษาศีล 5 ได้ เหมือนได้รับเชิญให้ไปอยู่บนสวรรค์ มิตตสูตร #ข้อ146 ผู้ที่ไม่ควรคบและควรคบด้วย คือ ชอบใช้หรือไม่ใช้ให้ผู้อื่นทำงาน ชอบก่ออธิกรณ์ทำตนเป็นปฏิปักษ์ต่อพระเถระหรือไม่ ชอบหรือไม่ชอบไปสถานที่ไม่ควรไปอยู่เรื่อย และสามารถพูดให้เกิดกำลังใจในการปฏิบัติได้หรือไม่ อสัปปุริสทานสูตร #ข้อ147 เปรียบเทียบการให้ทานของคนดีและคนไม่ดี ซึ่งคนดีจะให้โดยเคารพ อ่อนน้อม ให้ด้วยมือตนเอง ให้ของดีๆ และเห็นอานิสงส์ของการให้ สัปปุริสทานสูตร #ข้อ148 การให้ทานของผู้ที่ให้ด้วยศรัทธา โดยเคารพ ให้ตามกาลอันควร มีจิตอนุเคราะห์ และให้โดยไม่กระทบตนและผู้อื่น ซึ่งมีอานิสงส์ของการให้ที่เหมือนกัน และต่างกันไป ปฐมสมยวิมุตตสูตร #ข้อ149 เปรียบเทียบธรรมของผู้มีจิตหลุดพ้นชั่วคราวกับพระอรหันต์ คือ ความชอบหรือไม่ชอบในการงาน การพูดคุย การนอน คลุกคลีด้วยหมู่ พิจารณาหรือไม่พิจารณาเห็นกิเลสที่หลุดออก[...]
- พึงพิจารณา กำหนดหมายรู้ในสิ่งที่ เป็นปฏิกูล และ ไม่เป็นปฏิกูล เพื่อละ ราคะ โทสะ และโมหะ นั่นเอง อวชานาติสูตร #ข้อ141 บุคคล 5 จำพวก (ปุถุชน) มีปรากฏอยู่ คือ 1. บุคคลให้แล้วดูหมิ่นผู้รับ 2. อยู่ร่วมกันแล้วดูหมิ่นในศีล 3. เป็นคนเชื่อง่าย หูเบา 4. เป็นคนโลเล ศรัทธาหัวเต่า 5. ผู้เขลา อารภติสูตร #ข้อ142 บุคคล 5 จำพวก คือ บุคคลจำพวกที่ 1-4 มี ศีล สมาธิ สมบูรณ์และไม่สมบูรณ์บ้าง และมีปัญญาพอประมาณ เมื่อละอาสวะที่เกิดจากการต้องอาบัติและวิปปฏิสาร และเจริญซึ่งสมถะกับวิปัสสนา ก็จะทัดเทียมจำพวกที่ 5 คือ อรหันต์ สารันททสูตร #ข้อ143 เจ้าลิจฉวี ได้สนทนากันเรื่อง “แก้ว 5[...]
- 6 ขุดเพชรในพระไตรปิฏกธัมมราชาสูตร #ข้อ133 เปรียบเทียบการปกครองโดยธรรมของพระเจ้าจักรพรรดิกับพระศาสดา ใน กาย วาจา ใจ อาชีพ บ้านและนิคม แบบไหนควรและไม่ควรประพฤติ ยัสสังทิสังสูตร #ข้อ134 เปรียบเทียบทิศที่ใช้ประทับของกษัตริย์กับภิกษุผู้มีศีล เป็นพหูสูต ปรารภความเพียร มีปัญญา และวิมุตติที่มีธรรม 4 ประการ ไม่ว่าจะอยู่ ณ ทิศใดๆ ก็เป็นผู้มีจิตหลุดพ้น ปฐมปัตถนาสูตร #ข้อ135 โอรสผู้สืบทอดบัลลังก์ ที่มีคุณสมบัติที่ดี ย่อมปรารถนาราชสมบัติได้ เปรียบมาในภิกษุผู้มีศรัทธา อาพาธน้อย ไม่โอ้อวด ปรารภความเพียร มีปัญญา ย่อมปรารถนาความสิ้นอาสวะได้ฉันนั้นเหมือนกัน ทุติยปัตถนาสูตร #ข้อ136 เหมือน #ข้อ135 มีไส้ในที่ต่างออกมา คือ เป็นที่รักของกองทัพ เป็นบัณฑิต ในส่วนของภิกษุ คือ เป็นผู้มีศีล เป็นพหูสูต มีสติปัฏฐาน 4 อัปปังสุปติสูตร #ข้อ137 บุคคล 5 ประเภท ที่นอนน้อย ตื่นมาก[...]
- 6 ขุดเพชรในพระไตรปิฏกเปรียบจักร คือ กิจการงานที่เราต้องทำ และดำเนินไปนั้น ถ้าประกอบไปด้วยธรรมที่ดีงาม จะเป็นจักรที่เป็นไปเพื่อประโยชน์ หาโทษมิได้ ปฐมอนายุสสาสูตร #ข้อ125 และทุติยอนายุสสาสูตร #ข้อ126 ธรรมที่เป็นเหตุให้อายุสั้นและอายุยืน มีไส้ในเหมือนกันอยู่ 3 ประการ เหตุให้อายุสั้น คือ ไม่รู้ประมาณ และไม่ทำในสิ่งที่เป็นสัปปายะ บริโภคสิ่งที่ย่อยยาก และที่ต่างกันใน #ข้อ125 คือ เที่ยวในเวลาไม่สมควร ไม่ประพฤติพรหมจรรย์ (ขั้นต่ำศีล8) และ #ข้อ126 คือ ทุศีล มีปาปมิตร (มิตรชั่ว) ส่วนธรรมที่เป็นเหตุให้อายุยืน คือ กล่าวตรงกันข้ามกันกับที่กล่าวมาแล้ว วปกาสสูตร #ข้อ127 ไม่ควรหลีกออกไปอยู่ผู้เดียว คือ ผู้ไม่สันโดษด้วยปัจจัย 4 และมากด้วยความคิดไปในทางกาม และผู้ควรหลีกออกจากหมู่ คือ กล่าวตรงกันข้ามกันกับที่กล่าวมาแล้ว สมณสุขสูตร #ข้อ128 ทุกข์ของสมณะ คือ ผู้ไม่สันโดษด้วยปัจจัย 4 ไม่ยินดีประพฤติพรหมจรรย์ และสุขของสมณะ คือ กล่าวตรงกันข้ามกันกับที่กล่าวมาแล้ว[...]
- 6 ขุดเพชรในพระไตรปิฏกความสุขที่ไม่ควรกลัว คือ จากฌานสมาธิ เพื่อให้ถึงบรมสุข คือ นิพพาน จากคำถามใน ปปติตสูตร #ข้อ 2 ได้อธิบายเพิ่มเติม “บรรลุสุขด้วยสุข” โดย “บรรลุสุข” หมายถึง นิพพาน “ด้วยสุข” หมายถึง ฌานทั้ง 4 ขั้น #ข้อ 116-#ข้อ 120 เปรียบเทียบธรรมในส่วนไม่ดีเหมือนอยู่ในนรก และส่วนดีเหมือนตำรงอยู่บนสวรรค์ มีไส้ในเหมือนกันอยู่ 3 ประการ คือ การพิจารณาและไม่พิจารณาไตร่ตรอง คนที่ควรสรรเสริญ คนที่ควรติเตียน ทำศรัทธาไทยให้ตกไป และในความต่างอีก 2 ประการ ของ วัณณนาสูตร #ข้อ 116 คือ แสดงความเลื่อมใส และไม่เลื่อมใสในสิ่งที่ควรและไม่ควรเลื่อมใส อิสสุกินีสูตร #ข้อ 117 คือ มีและไม่มีความริษยา กับความตระหนี่ มิจฉาทิฏฐิกสูตร #ข้อ 118 เรื่องปัญญา คือ[...]
- 6 ขุดเพชรในพระไตรปิฏก“อดทน” ไม่ใช่ “เก็บกด” ที่เก็บอกุศลธรรมเอาไว้ แต่อดทนเป็นการใช้ปัญญาไม่ให้อกุศลธรรมเกิดขึ้น ผู้ตระหนี่ เปรียบเสมือนอยู่ในนรก ผู้ที่ละได้แล้ว ย่อมเบาสบายเหมือนดำรงบนสรวงสวรรค์ กุลูปกสูตร #ข้อ111 ภิกษุผู้เข้าไปสู่ตระกูล มีคุณสมบัติ 5 ประเภทนี้ จะยังความศรัทธาให้เกิดขึ้น คิอ ไม่แสดงอาการคุ้นเคยกับผู้ที่ยังไม่คุ้นเคย ไม่แทรกแซงอำนาจ ไม่คบตระกูลที่แตกแยกกัน ไม่พูดกระซิบที่หู ไม่ขอมากเกินไป และในทางตรงข้ามกันกับกล่าวมาแล้วนี้ จะทำให้ไม่เป็นที่พอใจ ที่เคารพ ปัจฉาสมณสูตร #ข้อ112 คุณสมบัติของภิกษุผู้เป็นปัจฉาสมณะ (พระผู้ติดตาม) คือ เดินไม่ห่างนัก ไม่ใกล้นัก รับบาตรหรือของในบาตร (คอยอำนวยความสะดวก) เมื่อพูดเกี่ยวกับสิ่งไม่ดีต้องคอยห้ามกัน ไม่ควรพูดแทรกขึ้น มีปัญญา รู้ความเหมาะสม เป็นผู้ควรพาไปด้วย สัมมาสมาธิสูตร #ข้อ113 ธรรมผู้เข้าสู่สัมมาสมาธิ คือ อดทนต่อ รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ จะทำให้เข้าสู่สมาธิได้ง่าย และทางตรงข้ามกัน ถ้าไม่อดทน จิตใจจะถูกดึงไปกระทบตามอายตนะต่างๆ เข้าสมาธิได้ลำบาก อันธกวินทสูตร[...]
- เมื่อเราเห็นข้อปฏิบัติหรือสิ่งไม่ดีของผู้อื่นแล้ว เราเลือกที่จะใช้ความดีปฏิบัติตอบ ให้เขาได้แก้ไข เปลี่ยนแปลง เป็นคนดีขึ้นมาได้ เป็นการรักษากันและกัน “ด้วยความดี” จากคำถามใน #ข้อ100 กกุธเถรสูตร “ศาสดาท่านนี้จักทำกรรมใด เขาเองก็จักปรากฏด้วยกรรมนั้น” เป็นอุบายการรักษาจิตของสาวก (ลูกศิษย์) ที่เมื่อเห็นอาจารย์ของตนปฏิบัติไม่ดีแล้ว เลือกที่จะรักษาจิตให้มีความดี ให้มีเมตตา สีลสูตร #ข้อ107 ภิกษุถึงพร้อม (จนสุดถึงขั้นผล) ด้วย ศีล สมาธิ ปํญญา วิมุตติ วิมุตติญาณทัสสนะความหมายเหมือนกันกับ อเสขสูตร #ข้อ108 ภิกษุประกอบด้วย อริยศีลขันธ์ (ขันธ์ คือ กอง กลุ่มก้อน) สมาธิขันธ์ ปัญญาขันธ์ วิมุตติขันธ์ วิมุตติญาณทัสสนขันธ์ เป็นผู้ควรแก่ของที่เขานำมาถวาย ฯลฯ เป็นนาบุญอันยอดเยี่ยมของโลก จาตุททิสสูตร #ข้อ109 ภิกษุผู้เที่ยวไปในทิศทั้ง 4 (พระอรหันต์) เป็นผู้มีศีล พหูสูต สันโดษด้วยปัจจัย 4 ได้ฌาน 4 ทำให้แจ้งเจโตวิมุตติ และปัญญาวิมุตติ[...]
- 6 ขุดเพชรในพระไตรปิฏกเราควรเอาใจ มาใส่ไว้ใน “ศีล สมาธิ ปัญญา” ของตัวเอง มีเมตตาทางกาย วาจา ใจที่ดี ทั้งต่อหน้าและลับหลัง ไม่ว่าคนอื่นจะไม่ดีอย่างไร จะไม่สะเทือนใจไปตาม เป็นผู้ที่อยู่ผาสุกได้ สารัชชสูตร #ข้อ101 ธรรมเครื่องทำความแกล้วกล้าของผู้เป็นเสขะ ให้มีกำลังใจ กล้าที่จะทำต่อไป คือ ผู้มีศรัทธา (มั่นใจ กล้าลงมือปฏิบัติ) ศีล (มีวินัย นิสัยที่ถูกต้อง) พหูสูต (ฟัง ศึกษาธรรมมาก) ความเพียร (4ลักษณะ) ปัญญา (พิจารณา) อุสสังกิตสูตร #ข้อ102 ธรรมที่เมื่อเข้าไปเกี่ยวข้องแล้ว อาจทำให้ถูกสงสัยว่าไม่ดี ต่อให้ไม่ผิดเป็นพระอรหันต์แล้วก็ตาม เพราะอาจจะเกิดคำติเตียนได้ คือ ไปมาหาสู่อยู่เป็นประจำกับหญิงโสเภณี หญิงหม้าย สาวเทื้อ (สาวแก่) กะเทย นักบวชหญิง มหาโจรสูตร #ข้อ103 อุปมาโจร คือ อาศัยที่ขรุขระ (หายาก) ป่ารก (จับยาก) อิทธิพล (เส้นสาย)[...]
- 6 ขุดเพชรในพระไตรปิฏก“สมาธิ” คือ เครื่องอยู่ที่จะทำให้เกิด “ความผาสุก” เป็นความสุขอีกประเภทที่เหนือกว่า สุขเวทนา และทุกขเวทนา ผาสุวิหารสูตร #ข้อ94 ธรรมที่เป็นเครื่องอยู่ให้เกิดความผาสุก คือ สมาธิในขั้นที่ 1-4 (รูปฌาน) เป็นความพ้นจากกิเลสที่อาจจะยังกลับกำเริบได้ อุปไมยเหมือนหินทับหญ้า แต่ถ้าประกอบด้วยเจโตวิมุตติ และปัญญาวิมุตติ คือ ไม่เร่าร้อนไปตามอำนาจกิเลส เป็นความสิ้นไปแห่งอาสวะนั่นเอง อกุปปสูตร #ข้อ95 ผู้มีธรรมไม่กลับกำเริบ คือ ปฏิสัมภิทา 4 ปัญญาแตกฉานใน อรรถ (เข้าใจความหมายได้หลายนัยยะ) ธรรม นิรุตติ (เข้าใจภาษาได้ลึกซึ้ง) ปฏิภาณ (ไหวพริบถาม-ตอบปัญหา) และการพิจารณาจิตตามที่หลุดพ้นแล้วในแต่ละขั้น ฝึกสังเกตเห็นการเกิด-ดับ เสริมปัญญาให้ถึงธรรมะที่ไม่กลับกำเริบได้ #ข้อ96-98 ธรรม 5 ประการนี้ เมื่อทำอานาปานสติก็จะบรรลุธรรมได้ไม่นานนัก มีไส้ในที่เหมือนกันอยู่ 4 ประการ คือ มีธุระน้อย ไม่เห็นแก่ปากแก่ท้อง นอนน้อย พิจารณาจิตตามที่หลุดพ้นแล้ว ส่วนที่แตกต่างใน สุตธรสูตร #ข้อ96 คือ[...]
- 6 ขุดเพชรในพระไตรปิฏก“ความดี” ที่เรามีอยู่แล้ว ไม่จำเป็นต้องอาศัยผู้อื่นมาคอยช่วยยืนยันรักษาว่าเรามีดี เพราะความดีที่มีอยู่ ย่อมเป็นเครื่องรักษาตน และหอมฟุ้งด้วยตัวเอง กกุธเถรสูตร #ข้อ100 แบ่งศาสดาไว้ 5 ประเภท ตามคุณธรรม 5 อย่างนี้ คือ ศีล อาชีพ ธรรมเทศนา (อรรถ ความหมาย) เวยยากรณะ (ภาษาตัวบท) ญาณทัสสนะ (เห็นตามความเป็นจริง) ที่ไม่บริสุทธิ์ แต่พูดว่าบริสุทธิ์ สาวก(ลูกศิษย์) อยู่ด้วยจะรู้ และด้วยเหตุเพราะเป็นศาสดา จึงร่ำรวยปัจจัย 4 ถ้าเตือนกันก็อาจทำให้ไม่พอใจ จึงช่วยปกปิดรักษาธรรมที่ไม่บริสุทธิ์นั้น แต่พระศาสดาเรามีธรรมบริสุทธิ์อยู่แล้ว จึงไม่ต้องอาศัยผู้อื่นมาช่วยรักษา ปฐมสัมปทาสูตร #ข้อ91 ความถึงพร้อมด้วยศรัทธา ศีล สุตะ (การฟังธรรม) จาคะ (ทาน), ปัญญา ควรทำให้มี ดีขึ้น ให้เต็มพร้อม ทุติยสัมปทาสูตร #ข้อ92 ความถึงพร้อมด้วยศีล สมาธิ ปัญญา วิมุตติ (การหลุดพ้น) วิมุตติญาณทัสสนะ[...]
- สิ่งดีงามต่างๆ ถ้าได้ไปอยู่ในมือของผู้ที่มีความเห็นที่ถูกต้อง เป็น “สัมมาทิฏฐิ” สิ่งนั้นจะเป็นไป “เพื่อเกื้อกูล เพื่อความสุข เพื่อประโยชน์กับตนเอง และผู้อื่น” และในสิ่งดีงามที่มีอยู่เช่นเดิม ถ้าไปอยู่ในมือของผู้ที่มีความเห็นผิด เป็น “มิจฉาทิฏฐิ” สิ่งนั้นจะ “เป็นทุกข์ ไม่เกื้อกูล ไม่เป็นประโยชน์กับตนเอง และผู้อื่น” ปฏิสัมภิทาปัตตสูตร #ข้อ86 คือ ปฏิสัมภิทา4 ปัญญาแตกฉานใน อรรถ (เข้าใจความหมายได้หลายนัยยะ), ธรรม, นิรุตติ (เข้าใจภาษาได้ลึกซึ้ง), ปฏิภาณ (ไหวพริบถาม-ตอบปัญหา) และข้อ5 ขยัน ไม่เกียจคร้าน สีลวันตสูตร #ข้อ87 เป็นผู้มีความงามของศีล, เป็นพหูสูต เวลาบอกสอนมีข้อมูลพร้อม, พูดจาไพเราะ, มีสมาธิ, มีปัญญา ผู้ที่ประกอบด้วยธรรมใน #ข้อ86และ #ข้อ87นี้ “ย่อมเป็นที่รัก ที่น่าเคารพยกย่อง” เถรสูตร #ข้อ88 ธรรมที่ไม่เกื้อกูล ไม่ใช่ประโยชน์แก่คนหมู่มาก คือ เป็นผู้บวชมานาน, มีชื่อเสียง ยศ บริวาร,[...]
- 6 ขุดเพชรในพระไตรปิฏกทักษะอะไร ที่เมื่อเราอยู่ร่วมกับผู้อื่นแล้ว จะเป็นเหตุให้ เป็น “ที่รัก ที่น่าพอใจ ที่น่าเคารพ และยกย่อง” ข้อที่ 81-85 นี้ ว่าด้วยธรรมของ “พระเถระ” เป็นข้อปฏิบัติของความเป็นผู้ใหญ่ที่ดี ในแต่ละข้อ จะประกอบด้วยธรรม 5 ประการ คือ “ธรรม” ที่จะเป็นเหตุให้ “ไม่เป็นที่รัก ไม่น่าพอใจ ไม่น่าเคารพยกย่อง” และในทางตรงกันข้ามกัน “ธรรม” ที่จะเป็นเหตุให้ “เป็นที่รัก ที่น่าพอใจ น่าเคารพและยกย่อง” รชนียสูตร #ข้อ81 กำหนัด ขัดเคือง หลง โกธร มัวเมา ให้มาพิจารณาถึงความไม่เที่ยงในสิ่งต่างๆ รู้เห็นตามจริงในอริยสัจ 4 เอาโลกธรรม 8 มาพิจารณา จะไม่กำหนัด ขัดเคือง หลง โกธร มัวเมาได้ วีตราคสูตร #ข้อ82 ใน 3 ข้อแรก (ราคะ โทสะ[...]
- 6 ขุดเพชรในพระไตรปิฏก“ภัยจากในอนาคต” ทั้งที่ไกลและใกล้มีมาก “รีบทำความเพียร ในการทำให้แจ้งซึ่งธรรม” ไม่ประมาทในวันและเวลา จะเป็นผู้ที่อยู่อย่างผาสุกได้ แม้เมื่อภัยนั้นมาถึงแล้ว ปฐมอนาคตภยสูตร #ข้อ77 ภัยของผู้ที่อยู่ป่า คือ ภัยจาก งูพิษ ลื่นล้ม ลมพิษ เสือ สิงโต โจร ผู้ร้าย อมนุษย์ ยักษ์ เป็นภัยที่อยู่ใกล้ความตายอย่างมาก มีความตายมาเป็นเหตุกระตุ้น ให้รีบทำความเพียรในตอนนี้ ทุติยอนาคตภยสูตร #ข้อ78 ภัยในอนาคตทั่วๆ ไป คือ ภัยจาก ความแก่ เจ็บไข้ ภิกษาหาได้ยาก ความวุ่นวาย สงฆ์แตกแยก จะทำความเพียรได้ยาก ให้ทำในเวลาที่ยังทำได้ง่ายอยู่นี้ ตติยอนาคตภยสูตร #ข้อ79 ภัยที่ยังไม่เกิดขึ้น แต่จะเกิดขึ้นในเวลาต่อมา คือ เมื่อภิกษุไม่เจริญกายคตาสติ ศีล สมาธิ และปัญญา จึงไม่สามารถแนะนำ พร่ำสอนคุณสมบัติเหล่านี้ได้ มีความเข้าใจผิด สนใจธรรมเหล่าอื่น ทอดทิ้งธุระในการหลีกเร้น จึงเป็นเหตุให้เสื่อมในธรรมและวินัย จตุตถอนาคตภยสูตร #ข้อ80 เมื่อภิกษุชอบจีวรสวยงาม[...]
- “ธรรมะ” ที่จะทำให้มีการบรรลุธรรมขั้นสูงคือ เจโตวิมุตติและปัญญาวิมุตติ เมื่อเจริญให้มากซึ่งสมถะและวิปัสสนา จนเป็นผลให้มีการหลุดพ้นด้วยจิตกับปัญญา ปฐมเจโตวิมุตติผลสูตร #ข้อ 71และ ทุติยเจโตวิมุตติผลสูตร #ข้อ 72 เมื่อปฏิบัติร่วมกัน ( มีข้อธรรมที่เหมือนกันอยู่ 1 ข้อ คือ อนิจจสัญญา) จนมีเจโตวิมุตติและปัญญาวิมุตติเป็นผลแล้ว ย่อมเป็นผู้ละอวิชชา, การเกิดในภพใหม่, ตัณหา, สังโยชน์เบื้องต่ำและเบื้องสูงได้หมดสิ้น ปฐมธัมมวิหารีสูตร #ข้อ 73 การเป็นผู้ที่อยู่ด้วยธรรมคือ ต่อให้เป็นผู้ที่เรียนธรรมมามากจนเทศนาบอกต่อได้ ท่องจำ และใคร่ครวญในธรรมนั้น แต่ถ้าห่างเหินการหลีกเร้น ไม่ทำความสงบในจิตใจ ไม่ชื่อว่าเป็นผู้อยู่ด้วยธรรม เน้นมาในเรื่องสมถะ ทุติยธัมมวิหารีสูตร #ข้อ 74เน้นมาในวิปัสสนา ทำปัญญาให้ยิ่ง คือกิเลสต้องลดลง กำจัดกิเลสออกได้ โดยการนำหลักธรรมที่เหมือนกันกับในปฐมธัมมวิหารีสูตรนี้ นำมาปฏิบัติให้เข้าสู่จิตใจ จนให้ผลเป็นความสงบใจ แล้วให้เกิดปัญญา พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต โยธาชีวรรค ข้อที่ 71-74
- 6 ขุดเพชรในพระไตรปิฏกเปรียบอุปมาอุปมัย ในนักรบที่เมื่อต้องเข้าสู่สมรภูมิการต่อสู้ อะไรเป็นเหตุให้ได้ชนะหรือพ่ายแพ้ เปรียบมาในนักบวชหรือบรรพชิตซึ่งข้าศึกของบรรชิตคือสตรีหรือเพศตรงข้าม ความหวั่นไหวที่เกิดขึ้นจนต้องบอกคืนสิกขา ไม่อาจถือครองพรหมจรรย์อยู่ต่อไปได้ ไม่ใช่อะไรแต่เป็นกิเลสในจิตใจของตน คือ ราคะ โทสะ และโมหะ ที่มีผัสสะเป็นแดนเกิด คือการไม่รู้จักสำรวมในอินทรีย์ จึงเป็นเหมือน นักรบที่พ่ายแพ้ ในปฐมโยธาชีวสูตร นี้ กล่าวถึงนักรบ 5 ประเภท คือในประเภทที่ 1-4 นี้ แค่เห็นฝุ่นคลุ้งขึ้น, เห็นยอดธง, ได้ยินเสียงกึกก้อง และหวาดสะดุ้งต่อการประหารของข้าศึก เกิดอดทนไม่ได้ เปรียบมาในนักบวชที่ได้ฟังหรือได้เห็นได้พูดคุยกับมาตุคามแล้ว มีการถูกต้องสัมผัสทางกาย เกิดความเพลิดเพลิน ยินดี พอใจในผัสสะนั้น บอกคืนสิกขาไป ส่วนนักรบประเภทที่ 5 คือ เป็นยอดของนักรบที่เป็นผู้ชนะในสงคราม เปรียบกับนักบวชที่กำหนดรู้ เห็นกิเลสแล้วละเสีย แล้วเจริญฌานทำให้แจ้งถึงความสิ้นอาสวะ และในทุติยโยธาชีวสูตร ก็คล้ายกันเปรียบนักรบที่ถูกฆ่าตายบ้าง ตายในระหว่างจะไปรักษา รักษาแล้วตายหรือหายบ้าง เปรียบมาในนักบวชที่เมื่อเห็นมาตุคามแล้วเกิดผัสสะอยากบอกคืนสิกขา และนักรบประเภทสุดท้ายคือ เข้ายึดค่ายเป็นผู้ชนะในสงคราม นั้น กล่าวคือ รู้จักสำรวมอินทรีย์ ฆ่าเสียซึ่งกิเลส เจริญสมาธิ ทำวิมุตติญาณทัสสนะให้เกิดขึ้นได้ พระสุตตันตปิฎก[...]
- 6 ขุดเพชรในพระไตรปิฏกปฐม/ทุติยวัฑฒิสูตร ถ้าชีวิตต้องการความเจริญ ต้องมี 5 ข้อนี้ ถ้าชีวิตมีปัญหาแสดงว่า 5 ข้อนี้บกพร่องไป นั่นคือ ศรัทธา, ศีล, สุตะ, จาคะ และปัญญา สากัจฉาสูตรและสาชีวสูตร สากัจฉาคือการสนทนากัน สาชีพคือการถามตอบเป็นการเอื้อเฟื้อในการอยู่ร่วมกัน ทั้งสองข้อนี้เป็นสิ่งที่ท่านนั้นมีอยู่ทำได้อยู่แล้วและยังสามารถตอบปัญหาในเรื่องนั้น ๆ ได้ด้วย ได้แก่ ศีล สมาธิ ปัญญา สามข้อแรกนี้คือส่วนของมรรคนั่นเอง ถัดมาคือวิมุตติ เป็นการพ้น มี 2 นัยยะ นัยยะแรกคือพ้นชั่วคราวจากภาวะในสมาธิ และพ้นแบบไม่กลับกำเริบ นั่นคือนิพพาน สุดท้ายคือวิมุตติญาณทัสสนะ การรู้ได้ด้วยตนเองว่าพ้นแล้วมีสติสัมปชัญญะในการพ้นนั้น ปฐมและทุติยอิทธิปาทสูตร อิทธิบาทคือฐานแห่งฤทธิ์ การเจริญอิทธิบาท 4 และการมีความขะมักเขม้น จะทำให้เกิดผลสูงคืออรหัตตผลหรืออย่างน้อยอนาคามีผล และเมื่อครั้งเป็นโพธิสัตว์ก็ด้วยการเจริญ 5 ข้อนี้ ยังผลให้มีฤทธิ์มาก ธรรมที่ทำให้มีฤทธิ์มากนี้คือ ฉันทะ/วิริยะ/จิตตะ/วิมังสา ที่ประกอบด้วยธรรมเครื่องปรุงแต่งที่ผสานด้วยสมาธิ และความขะมักเขม่นคือความพอดีในการปฏิบัติประดุจการประคองหม้อน้ำมันให้พ้นจากเงื้อมดาบของเพชฌฆาต นิพพิทาสูตรและอาสวักขยสูตร การพิจารณาธรรม 5 ข้อนี้แล้วจะทำให้เกิดความเบื่อหน่ายคลายกำหนัด การที่เรามีความเพลินความยินดีในสิ่งใดแสดงว่าเรามีอุปาทานความยึดถือในสิ่งนั้น ๆ[...]
- ลิจฉวิกุมารกสูตร ปรารภเจ้าลิจฉวี เป็นลักษณะการใช้จ่ายทรัพย์ที่ทำให้เกิดความเจริญในชีวิตไม่มีเสื่อมเลย 5 ข้อนี้เป็นการแบ่งจ่ายทรัพย์ใน 4 นัยยะ ในปฐมและทุติยวุฑฒปัพพชิตสูตร เป็นเรื่องของพระบวชเมื่อแก่ ที่มักเรียกว่า “หลวงตา” ที่สำคัญคืออย่าไปเหมารวมว่าไม่ดีหมด ไม่ใช่ แต่ให้มองว่าถ้ามีคุณลักษณะที่ดี 2 นัยยะ นัยยะละ 5 ข้อนี้แล้ว ก็จะสามารถเป็นบุคคลที่ประเสริฐได้ ในปฐมและทุติยสัญญาสูตร หมวดว่าด้วยสัญญา สัญญาหมายถึงความหมายรู้ กำหนดรู้ขึ้น สัญญาไม่ใช่เหมือนกันหมด บางสัญญาก็จะเป็นไปเพื่อความมีกิเลสมาก ขณะเดียวกันสัญญาบางอย่างก็ลดกิเลสได้ ไม่ว่าจะเป็นสัญญาที่ทำให้กิเลสเพิ่มหรือกิเลสลด ต่างก็ไม่เที่ยงเหมือนกัน เพราะฉะนั้นมรรคกับทุกข์เหมือนกันตรงความไม่เที่ยง ต่างกันตรงหน้าที่ มรรคทำให้มาก ทุกข์ให้เข้าใจ สัญญา 5 ประการได้แก่ อนิจจสัญญา กำหนดหมายว่ามันไม่เที่ยง เพื่อลดความมัวเมาในอัตตาตัวตน, อนัตตสัญญา กำหนดหมายความเป็นอนัตตาในสิ่งทั้งปวง ทุกสิ่งล้วนมีเหตุมีปัจจัย ไม่ได้เป็นอัตตา ละอุปาทานในความเป็นตัวฉัน ความเป็นของฉัน และความเป็นตัวตนของฉัน เพื่อลดความเข้าใจว่าสิ่งต่าง ๆ เป็นของเรา, มรณสัญญา การกำหนดหมายว่าสิ่งต่าง ๆ มีความตายเป็นธรรมดา เป็นการลดความมัวเมาในชีวิต, อาหาเรปฏิกูลสัญญา[...]
- 6 ขุดเพชรในพระไตรปิฏกมาตาปุตตสูตร พูดถึงความสัมพันธ์ต่อกันของเพศตรงข้าม ที่มาตามรูป เสียง กลิ่น รส และโผฏฐัพพะ อันเป็นที่เกิดความกำหนัด เป็นอันตรายต่อนิพพาน โดยยกกรณีของมารดากับบุตร ที่แม้บวชแล้วก็ยังคลุกคลีกันจนนำไปสู่ความพ่ายแพ้ ต้องระวังให้ดีไม่ว่าใครก็ตาม ไม่ว่าอยู่ในอิริยาบถใดก็ตาม จนแม้กระทั่งตายไปแล้วก็เช่นกัน การอยู่กับเพศตรงข้ามแล้วมีจิตลุ่มหลงจะรอดยากกว่าเจออสรพิษ อุปัชฌายสูตร ปรารภภิกษุผู้ที่มีเหตุจะให้สึก การที่มีกายหนัก ทิศทั้งหลายไม่ปรากฏ ธรรมทั้งหลายไม่แจ่มแจ้ง ถีนมิทธะครอบงำ ไม่ยินดีประพฤติพรหมจรรย์ และมีความสงสัยในธรรม เหตุเพราะว่า 1) ไม่คุ้มครองในอินทรีย์ แก้โดยมีสติเป็นนายทวาร 2) ไม่รู้ประมาณในการบริโภค รู้ประมาณ คือ การพิจารณาจากเวทนาทั้งที่เป็นสุข และที่เป็นทุกข์ เป็นไปเพื่อระงับเวทนา และไม่เป็นไปเพื่อเวทนาใหม่ที่มากเกินไป ตั้งจิตคอยสังเกตเวทนาที่เกิดขึ้นเหมือนการกินเนื้อบุตร ปรับความคิดเห็นว่าการมีกายที่เบานั้นเหมาะแก่การเจริญภาวนา 3) ไม่ประกอบธรรมอันเป็นเครื่องตื่น เครื่องตื่น คือ ตื่นตัวอยู่เสมอในความเพียร ไม่ใช่ไม่นอน 4) ไม่เห็นแจ้งในกุศลธรรมทั้งหลาย แก้โดยให้จับฉวยให้ไวในศีล สมาธิ ปัญญา 5) การไม่ประกอบเจริญในโพธิปักขิยธรรม ถ้าไม่เจริญธรรมนั้นก็จะมีแต่เสื่อมท่าเดียว สามารถนำไปปรับใช้ได้กับสถานการณ์ที่บีบบังคับได้ดี เป็นธรรมที่คุ้มครองให้ผ่านอุปสรรคไปได้ ฐานสูตร ความเป็นธรรมดานั้น[...]
- ในข้อ 51 และ 52 เป็นเรื่องเกี่ยวกับนิวรณ์ และการแก้ไข นิวรณ์ หมายถึง เครื่องกั้น เครื่องลวง เครื่องห่อ เครื่องหุ้มเอาไว้ บังเอาไว้ ครอบงำจิต บังจิต หุ้มห่อจิต รัดรึงจิต เพื่อไม่ให้เกิดปัญญา เหมือนมีสนิมเคลือบที่มีดทำให้ไม่คม องค์รวมของมัน คือ ทำจิตให้ไม่มีกำลังปัญญา มีนิวรณ์ที่ใดที่นั้นไม่มีสมาธิ นิวรณ์มี 5 อย่าง คือ 1) กามฉันทะ คือ ความพอใจในกาม: กามหรือกิเลสกาม คือ ความกำหนัดยินดีลุ่มหลงในวัตถุกาม วัตถุกาม คือ วัตถุที่สามารถทำให้เกิดความกำหนัดยินดี ในแต่ละคนจะไม่เหมือนกันความหยาบละเอียดต่างกันอยู่ที่กำลังจิตของคนนั้นๆ กามฉันทะ คือ ความพอใจในกาม เป็นสิ่งที่เกิดก่อนกามกิเลส กามฉันทะทำให้เกิดกิเลสกามได้ทั้งสิ่งที่ล่วงไปแล้ว และสิ่งที่กำลังจะมาถึง จึงต้องมีสติอยู่เสมอ 2) ความพยาบาท คือ ความคิดร้ายผูกเวร ถ้าเราสร้างรติในที่ใด ก็จะมีอรติในอีกที่หนึ่งเสมอ แล้วจะไล่มาเป็นปฏิฆะ โกธะ โทสะ และพยาบาทในที่สุด[...]
- 6 ขุดเพชรในพระไตรปิฏกปุญญาภิสันทสูตร ว่าด้วยห้วงบุญกุศล: การทำบุญด้วยจีวร บาตร เสนาสนะ ตั่งเตียง เภสัช แด่ภิกษุที่เป็นอรหันต์ จะเกิดห้วงแห่งบุญ คือ บุญที่ต่อเนื่องไม่ขาดสาย เปรียบเหมือนน้ำจืดที่ไหลลงทะเลไม่เคยขาด เหมือน Passive income เป็นธนาคารบุญ ในข้อที่ 44 ที่อุคคคหบดีถวายของ 6 อย่าง ก็จัดเข้ากับสิ่งของ 5 อย่างนี้นั่นเอง ใน สัมปทาสูตร คือ ความถึงพร้อมด้วยศรัทธา ศีล สุตะ จาคะ และปัญญา เราต้องฝึกให้เกิดขึ้น ให้พร้อมขึ้นมา ใน ธนสูตร มีไส้ในเหมือนสัมปทาสูตร เปรียบ 5 ประการนี้ เหมือนอริยทรัพย์ที่เป็นสมบัติเฉพาะตนไม่มีใครจะขโมยไปได้ ไม่เลือนหายไปตามกาล สถานที่ หรือสิ่งแวดล้อม ใน ฐานสูตร ว่าด้วยฐานะที่ใครๆ ไม่พึงได้ หมายถึง เกิดขึ้นได้เป็นธรรมดา หรือเกิดขึ้นไม่ได้ไม่เป็นธรรมดา มองใน 3 มุม ดังนี้[...]
- มุณฑราชวรรค หมวดว่าด้วยพระเจ้ามุณฑราช เริ่มด้วยข้อที่ 42 สัปปุริสสูตร เพราะมีความเกี่ยวเนื่องด้วยข้อที่ 40 ไส้ในเหมือนกัน หัวข้อและอุปมาต่างกัน ในข้อที่ 42 นี้คือ คนดีเกิดมาเพื่อประโยชน์แก่คนหมู่มาก คนดีดูได้ที่ ศรัทธา ศีล สุตตะ จาคะ ปัญญา ท่านอุปมาเฆฆฝนที่ตั้งขึ้นย่อมมีคุณต่อชาวนาในการเพาะปลูก ข้อที่ 41 อาทิยสูตร บุคคลที่มีโภคทรัพย์แล้ว ควรถือประโยชน์จากทรัพย์นั้นให้ครบทั้ง 5 ประการ เพราะแต่ละข้อให้ประโยชน์แตกต่างกัน ควรจะขวนขวายเอาให้หมดจากเงินแม้น้อยหรือมากที่เรามีก็ตาม รู้จักบริหารเป็นสุขอยู่โดยธรรม ด้านบำรุงครอบครัวและมิตรให้พลังมีความเพียร ด้านป้องกันภัยให้มีเงินเก็บรู้จักลงทุน ด้านสละเพื่อสังคมทำให้มีกัลยาณมิตร และด้านที่สละออกแด่เนื้อนาบุญจะทำให้บุญนั้นให้ผล ข้อที่ 43 อิฏฐสูตร ธรรมะ 5 อย่างที่ใครๆ ก็ปรารถนา คือ อายุ วรรณะ ความสุข ยศ สวรรค์ แต่การได้มานั้นพระพุทธเจ้าไม่ได้ให้อ้อนวอนหรือเพลิดเพลินไปในสิ่งนั้น ให้เห็นถึงความไม่เที่ยง ให้มีปฏิปทาที่ให้เกิดผลนั้นอยู่ ถ้าเราสร้างเหตุเฉยๆ ไม่มีความอยาก มีความแยบคายในการปฏิบัติ อริยสาวกย่อมได้รับธรรมะห้าข้อนี้ ที่น่าสนใจ[...]
- 6 ขุดเพชรในพระไตรปิฏกยังอยู่ในสุมนวรรคเกี่ยวกับอุบาสกอุบาสิกาเป็นเรื่องของการให้ทานการครองเรือน ในข้อที่ 34 สีหเสนาปติสูตร สีหเสนาบดีทูลถามเรื่องผลแห่งทานที่จะเห็นได้ด้วยตนเอง การไม่เผลอเพลินในกามคุณทั้ง 5 จะทำให้ได้อานิสงส์ 5 อย่างนี้ คือ เป็นที่รัก สัตบุรุษคบหา ชื่อเสียงขจรขจาย ไม่ครั่นคร้าม เมื่อตายย่อมไปสุคติ ข้อที่ 35 ทานานิสังสสูตร เหมือนในข้อที่ 34 ต่างตรงข้อที่ 4 คือผู้ให้ทานย่อมไม่เหินห่างจากธรรมของคฤหัสถ์ ซึ่งก็คือการไม่ครั่นคร้ามเวลาเข้าหมู่นั่นเอง ข้อที่ 36 กาลทานสูตร กาลทานคือเฉพาะเวลานั้นเท่านั้นที่จะสามารถทำอย่างนั้นได้ มีจุดเริ่มและจุดจบ ในที่นี้ยังชี้ให้เห็นพรที่นางวิสาขาขอ นางเป็นผู้ฉลาดในการให้ทานที่เป็นทั้งกาลทานและนิจทาน ข้อที่ 37 โภชนทานสูตร การให้อาหารคือการให้ทุกอย่าง คือ อายุ วรรณะ พละ สุขะ ปฏิภาณหรือปัญญา เมื่อตายไปจะได้รับอานิสงส์อันเป็นทิพย์นี้ด้วย ทานมากน้อยควรทำ ปริมาณไม่ได้เกี่ยวกับบุญมากบุญน้อย อยู่ที่ศรัทธา ทำตามกำลังทรัพย์แล้วตั้งศรัทธาไว้ให้มาก เราจะได้ฐานะ 5 อย่างนี้ ข้อที่ 38 สัทธสูตร เมื่อศรัทธาแล้วย่อมได้รับอานิสงส์จากสัตบุรุษก่อนใครอื่น คือ[...]
- 6 ขุดเพชรในพระไตรปิฏกเหตุและผล 4 พระสูตรในทีนี้ เริ่มข้อที่ 30 เกี่ยวกับสิ่ง 5 อย่างที่ไหลออก คือ อุจจาระปัสสาวะ ความทุกข์ความโศก ความไม่สวยงามเป็นปฏิกูล ความเป็นปฏิกูลในผัสสะ และความคลายไปของความยึดถือ ที่เป็นผลเกิดจากการกระทำบางอย่างอยู่เป็นประจำ เทียบเคียงกับคนที่ได้เนกขัมมสุขหรือสุขที่เกิดจากสมาธิ ย่อมเกิดขึ้นแก่ผู้ที่ไม่ติดในลาภยศสรรเสริญ ข้อที่ 31 เกี่ยวกับผลที่เป็นทิพย์ 5 อย่าง คือ อายุ วรรณะ ความสุข ยศ และอธิปไตย ที่ทำให้แตกต่างกันของผู้ที่ให้ทานกับไม่ได้ให้ แม้จะมีศรัทธา ศีล ปัญญาเสมอกัน กระทั่งผู้ที่ออกบวชที่เคยเป็นผู้ให้ (ทายก) ก็จะได้รับปัจจัยสี่และได้รับการประพฤติกายกรรมวจีกรรมมโนกรรมอันเป็นที่น่าพอใจกว่าดีกว่า ส่วนข้อที่ 32 กล่าวถึงองค์คุณ 4 อย่างของผู้ที่จะไปสู่กระแสหรือโสตาปัตติยังคะ 4 คือ บุคคลที่มีพระพุทธพระธรรมพระสงฆ์เป็นสรณะ และรักษาศีล 5 ได้ดี เมื่อตายไปย่อมเกิดในสุคติอย่างเดียว ไม่เกิดในทุคติเลย ส่งผลให้มีบุญ 5 อย่าง คือ อายุ วรรณะ เกียรติยศ[...]
- ปัญจังคิกสูตร ว่าด้วยการเจริญสัมมาสมาธิด้วยองค์ 5 ประการ คือ การไล่มาตามลำดับของการได้มาซึ่งฌานทั้ง 4 และปัจจเวกขณนิมิต จะได้ทราบอุปมาอุปไมยของการได้มาซึ่งฌานนั้น ๆ การเห็นอะไรจึงจะเลื่อนขึ้นในฌานที่สูงขึ้นไปละเอียดลงไปได้ ก็ต้องขจัดความหยาบของฌานที่ได้อยู่แล้วจึงจะพัฒนาต่อไปได้ เมื่อได้ฌานทั้ง 4 บวกกับปัจจเวกขณนิมิต คือ ญาณในการรู้ว่าเรามีเราละอะไรได้ จะทำให้ละเอียดขึ้นได้อย่างไร และการเห็นองค์ประกอบต่าง ๆ ในฌานต่าง ๆ ได้ชัดเจน จิตใจของคนเราถ้ามีสัมมาสมาธิที่ประกอบด้วยองค์ 5 ประการนี้แล้ว จะเกิดประโยชน์ในการกำจัดกิเลสได้ วิชชา 6 จะเกิดขึ้น ทำปัญญาให้เกิดขึ้นได้ นี่คือจุดที่สมาธิจะเปลี่ยนเป็นปัญญา ตลอดกระบวนการต้องมีสติอยู่แล้วจึงจะสามารถรู้เห็นตรงนี้ได้ และปัจจเวกขณนิมิตมีได้ในทุกระดับฌาน เป็นตัวที่จะทำให้ฌานเลื่อนขึ้นได้เร็ว ส่วนในจังกมสูตร จังกม แปลว่าการเดิน ทำให้เกิดอานิสงส์ คือ 1. อดทนต่อการเดินทางไกล 2. อดทนต่อการทำความเพียร นี่คืออดทนต่อสิ่งที่อดทนได้ยาก รู้อยู่ว่าทุกข์แต่อยู่กับมันได้ 3. อาหารย่อยได้ง่าย 4. มีอาพาธน้อย นี่คือมีสุขภาพดี มีเวทนาเบาบาง และ 5. สมาธิที่เกิดตั้งอยู่ได้นาน[...]
- 6 ขุดเพชรในพระไตรปิฏกอยู่ในหมวดธรรมะ 5 ข้อ หมวดที่ 3 เป็นเรื่องเกี่ยวกับการได้มาซึ่งสัมมาสมาธิจนไล่ลำดับไปถึงปัญญาเพื่อการหลุดพ้น ในปฐม และทุติยอคารวสูตร ว่าด้วยความไม่เคารพ มีเนื้อหาคล้ายกันพูดถึงเหตุปัจจัยที่จะได้สัมมาสมาธิ และเปรียบเทียบส่วนต่างว่า ถ้าทำอย่างนี้จะไม่ได้ หรือได้สัมมาสมาธิ ในข้อที่ 21 เริ่มจากสิ่งเล็ก ๆ น้อย ๆ แล้วค่อย ๆ ทำให้เกิดสิ่งที่ยิ่งใหญ่ตามมา นั่นคือ เริ่มจากการมีความเคารพยำเกรงในเพื่อนผู้ประพฤติพรหมจรรย์ก่อให้เกิดอภิสมาจาริกธรรม อภิสมาจาริกธรรมก่อให้เกิดเสขธรรม เสขธรรมก่อให้เกิดศีล ศีลก่อให้เกิดสัมมาทิฏฐิ สัมมาทิฏฐิก่อให้เกิดสัมมาสมาธิ ในข้อที่ 22 เปลี่ยนตรง 3 ข้อสุดท้ายจากศีลเป็นสีลขันธ์ จากสัมมาทิฏฐิเป็นสมาธิขันธ์ จากสัมมาสมาธิเป็นปัญญาขันธ์ เป็นความละเอียดลงไปในแต่ละข้อ ศีลก็เป็นเหตุให้เกิดสมาธิ สมาธิต่อยอดขึ้นไปก็เป็นปัญญาขึ้นมา ในข้อที่ 23 ว่าด้วยความเศร้าหมอง เปรียบเทียบอุปมาอุปไมยเครื่องเศร้าหมอง 5 อย่างของทองกับของจิต ที่เมื่อกำจัดออกไปแล้วจะทำให้ถึงซึ่งนิพพานได้ เครื่องเศร้าหมองของจิตก็คือ นิวรณ์ 5 นั่นเอง จะกำจัดออกไปได้ก็ด้วยสติ ถ้าเรากำจัดนิวรณ์ออกไปจากจิตได้ ความรู้ 6 อย่างจะเกิดขึ้น และจะเป็นตัวที่จะทำให้บรรลุธรรมได้[...]
- 6 ขุดเพชรในพระไตรปิฏก"...เป็นกำลังใจให้ ให้อดทนเอา คนจะรู้ถึงความสุขได้ ต้องผ่านความทุกข์ก่อน โลกก็เป็นอย่างนี้ แต่ความทุกข์ในนรกมันมากกว่า" Q: อิติปิโสต้องสวด 108 ครั้ง? A: สาระสำคัญอยู่ที่เข้าใจความหมาย และจิตต้องเป็นสมาธิ เรื่องจำนวน และคำพูดเป็นเรื่องรองลงมา การระลึกถึงคุณพระพุทธเจ้าเป็นเรื่องสำคัญครูบาอาจารย์บางท่านจึงตัดเหลือแค่พุทโธ เอาตรงจิตที่เป็นสมาธิ Q: ชีวิตมีปัญหาแต่ยังสุขใจที่ได้ฟังธรรม A: เป็นความมหัศจรรย์ 1 ใน 3 อย่างที่มีพระพุทธเจ้าอุบัติขึ้น ทำให้กิดความสงบเป็นการทวนกระแสกิเลส Q: เวลาสวดมสต์จำเป็นต้องออกเสียงหรือไม่ A: พระพุทธเจ้ายังเคยให้ท่านพระจุนทะสวดให้ฟัง ไม่ต้องสวดเองก็ได้ อยู่ที่การรักษาจิต หัวข้อธรรมสังคหวัตถุ 4 เป็นธรรมที่สามารถสงเคระห์กันได้ เน้นปิยวาจา ไม่ทำร้ายคนที่ใกล้ชิด Q: 84000 มีจริงหรือไม่หรือแค่สำนวน และเสนอให้นำเรื่องในนักธรรมมาเทศน์ A: เป็นสำนวนแสดงถึงการมีจำนวนมาก เรื่องนักธรรมจะนำเสนอในใต้ร่มโพธิบท Q: การวางตนเสมอกันและสัลเลขธรรมคืออะไร A: การวางตนเสมอกันคือการรู้หน้าที่ของตนไม่ใช่การตีตนเสมอ สัลเลขธรรม คือธรรมะแห่งการขูดเกลาเอากิเลสออก Q: อานาปานสติทำอย่างไร ดูกายด้วยได้หรือไม่ และจะรู้ได้อย่างไรว่าได้ฌาน A:[...]
- มาในพลวรรค ข้อที่ 11 - 14 อธิบายโดยรวมได้ดังนี้ พละ 5 เป็นธรรมที่องอาจเป็นการบันลือสีหนาทของพระพุทธเจ้า ทำให้เราได้ฟังได้ยินในสิ่งที่ไม่เคยได้ยินได้ฟังมาก่อน พละ คือ กำลัง มี 5 อย่าง คือ ศรัทธา: ความมั่นใจความเลื่อมใส ความลงใจในการตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า แม้เอ่ยเพียงหนึ่งแต่ให้เข้าใจว่ารวมทั้งหมดพุทธธรรมสงฆ์ เป็นศรัทธาที่ไม่เศร้าหมอง เพราะศรัทธาในสัมมาสัมพุทโธ มีศรัทธาแล้วจะทำให้ไม่ลังเลที่จะทำจริงแน่วแน่จริง มีความกล้าในการเผชิญหน้ากับทุกข์ เห็นตามจริง สติเกิดขึ้น สมาธิปัญญาก็ตามมาตามลำดับ ปัญญามีสูงสุดในแต่ละขั้นที่ผ่านไป หิริ โอตัปปะ และสติ สมาธิสามารถนำมาใช้แทนกันได้สลับไปมาได้ในพละนี้ ในข้อที่ 15 จะชี้ให้เห็นว่า สามารถหาคุณธรรมทั้ง 5 ได้จากที่ไหน ศรัทธาหาได้ในโสตาปัตติยังคะ 4 วิริยะหาได้ในสัมมัปปธาน 4 สติหาได้ในสติปัฏฐาน 4 สมาธิหาได้ในฌาน 4 ปัญญาหาได้ในอริยสัจ 4 ทำไมจึงกล่าวว่าหาปัญญาได้ที่อริยสัจ 4 เพราะอริยสัจ 4 เป็นตัวรวมธรรมะทั้งหมด ปัญญาจะเป็นตัวพาเราไปสู่ดินแดนที่ไม่เคยไป[...]
- 6 ขุดเพชรในพระไตรปิฏกพละ หมายถึง กำลังในการบรรลุธรรม กำลังในความก้าวหน้าในคำสอนนี้ เสขะ คือ ผู้ที่ยังต้องศึกษาอยู่ทำความเพียรอยู่ เปรียบเหมือนเด็กที่ต้องค่อยพัฒนาไป เสขพละมี 5 ประการดังนี้ ศรัทธา: คือ ความมั่นใจในพระพุทธเจ้า ในพระธรรม ในพระสงฆ์ จะเป็นสิ่งที่ทำให้เราอดทนมีกำลังใจปฏิบัติต่อไปได้ หิริ: คือ ความละอายต่อบาป เกิดจากข้างในตนเอง โอตัปปะ: คือ ความเกรงกลัวต่อบาป เป็นการปรารภคนอื่นให้สะดุ้งกลัว วิริยะ: คือ ความเพียร ความกล้าในการเอาอกุศลธรรมออกไป นำกุศลธรรมเข้ามา มีความบากบั่น มีกำลังใจในการที่จะทำ ปัญญา: ปัญญาไม่ได้หมายถึงความจำ แต่เป็นปัญญาในการชำแรกกิเลสให้สิ้นไป บุคคลใดก็ตามที่ไม่มีคุณธรรมทั้ง 5 นี้จะมีความเดือดร้อนรุ่มร้อน เพราะเป็นการเปิดทางให้อกุศลธรรมเข้ามาจนนำพาไปนรกได้ ส่วนบุคคลใดที่มีแล้วแต่ยังไม่ได้สติสมาธิแต่ยังมีความอดทนอยู่ในธรรมวินัยนี้ได้แม้น้ำตานองหน้าอยู่ นั่นคือ ดีแล้ว ตรงนี้จึงเป็นข้อสังเกตุที่ว่าในหมวดนี้สติสมาธิหายไปไหน ในข้อที่ 7 พระพุทธเจ้าเปรียบเสขพละดุจพี่เลี้ยงเด็ก ที่จะคอยประคบประหงมจนถึงวัยที่รู้ความปลอดภัย ในข้อที่ 8, 9 และ 10 เปรียบเทียบส่วนต่างระหว่างความไม่มีกับมีคุณธรรม 5 ข้อนี้[...]
- 6 ขุดเพชรในพระไตรปิฏกการเจริญธรรมทั้ง 4 จากโพธิปักขิยธรรม 37 ด้วย 3 นัยยะ คือ สติปัฏฐาน4: การรู้กายในกาย รู้เวทนาในเวทนา รู้จิตในจิต และรู้ธรรมในธรรม สัมมัปปธาน4: เป็นการป้องกันการละในฝั่งอกุศล การเจริญการประคองในฝ่ายกุศล อิทธิบาท4: การเจริญฉันทะ วิริยะ จิตตะ วิมังสาที่ต้องบวกไปกับธรรมเครื่องปรุงแต่งที่เชื่อมไว้ด้วยสมาธิ ทำให้เป็นหนึ่งจึงจะเจริญได้ เมื่อเจริญธรรมทั้ง 4 ใน 3 นัยยะที่เป็นไปเพื่อรู้ยิ่งซึ่งราคะ โทสะ โมหะ จะก่อให้เกิดอานิสงส์ในแต่ละอย่าง 10 ข้อ การเข้าใจลักษณะการทำงานการเกิดขึ้นของราคะ โทสะ โมหะ ด้วยการเจริญธรรมทั้ง 4 ใน 3 นัยยะนี้แล้ว จะทำให้เราเข้าใจจิตใจของเรามากขึ้น ก่อให้เกิดการพัฒนาได้ จบเล่มที่ 21 (จตุกกนิบาต: ราคเปยยาล ข้อที่ 274 - 383)
- 6 ขุดเพชรในพระไตรปิฏกเรื่องแรกเป็นเรื่องของหญิงค่อมชื่อว่าขุชชุตตราผู้มีความเป็นเลิศด้านการแสดงธรรม นางเป็นสาวใช้ของพระนางสามาวดี มีนิสัยทุจริตยักยอกเบี้ยที่จะใช้ซื้อดอกไม้อยู่เป็นประจำ แต่เมื่อได้ฟังธรรมจากพระพุทธเจ้าบรรลุเป็นโสดาบันจึงไม่อาจทำกรรมเช่นเคยได้ นางสารภาพต่อพระนางสามาวดี พระนางสามาวดีมีเมตตาไม่เอาผิด แต่กลับยกย่องให้เป็นอาจารย์แสดงธรรมที่ได้ฟังมาจากพระพุทธเจ้า นางมีความสามารถแสดงธรรมได้ครบถ้วนไล่มาตามลำดับ เป็นธรรมกถึก และเป็นพหูสูต พระนางสามาวดีเป็นหนึ่งในพระมเหสีของพระเจ้าอุเทน พระพุทธเจ้าทรงยกย่องว่าเป็นผู้อยู่ด้วยความเมตตา แม้ถูกโกงมานานปีก็ให้อภัย แม้ถูกใส่ร้ายโดยนางมาคัณฑิยาที่แค้นเคือง เพราะว่าพระนางมีจิตเลื่อมใสในพระพุทธเจ้า พระนางก็ยังมีความเมตตาให้ จนลูกศรที่จะพุ่งมาทำร้ายไม่สามารถทำอะไรได้ แม้ถูกเผาทั้งเป็นก็ยังตั้งจิตแผ่เมตตาไม่คิดร้ายตอบ ด้วยคุณสมบัติเหล่านี้จึงได้ชื่อว่า มีเมตตาเป็นวิหารธรรม
- 6 ขุดเพชรในพระไตรปิฏกยังคงอยู่ในกัมมปถวรรคในส่วนของกรรมทางใจ ที่ยังคงใช้หลักการเดียวกัน คือ แบ่งเป็นฝ่ายกุศลที่จะถูกอัญเชิญไปประดิษฐานบนสวรรค์ และฝ่ายอกุศลที่จะถูกนำไปจองจำในนรก โดยมีสามหัวข้อ คือ การเพ่งเล็ง (อภิชฌา) พยาบาท มิจฉาทิฏฐิ โดยในแต่ละข้อยังแยกออกไปอีก 4 ข้อ คือ ทำเอง ชักชวน พอใจ สรรเสริญ ความละเอียดของวิบากกรรมก็จะขึ้นอยู่กับว่าทำได้ครบทั้งสี่ข้อนี้ด้วยหรือไม่ ประเด็นที่น่าสนใจ คือ การกระทำนั้นเป็นของเรา เราย่อมได้รับผลของกรรมนั้น ไม่ว่าจะมีผู้ใดสั่ง หรือมาดลใจให้กระทำก็ตาม และการกระทำที่ต่างกันก็ให้ผลไปที่ต่างกัน เหมือนดั่งกลุ่มชาวบ้านที่ถูกดลใจโดยทูสีมาร กรรมทางใจอย่างไรกรรมทางกายวาจาก็อย่างนั้นได้เหมือนกัน ในส่วนของทิฏฐิแบ่งเป็นมิจฉาทิฏฐิ และสัมมาทิฏฐิ สัมมาทิฏฐิยังแบ่งออกเป็นส่วนที่ยังเกี่ยวเนื่องด้วยโลก และส่วนที่พ้นจากโลก ทั้งหมดนี้สามารถสังเกตุดูได้จากกุศลหรืออกุศลที่เพิ่มขึ้นหรือลดลงในใจของเรา (จตุกกนิบาต: กัมมปถวรรค ข้อที่ 271 - 273)
- 6 ขุดเพชรในพระไตรปิฏก“กัมมปถวรรค หมวดว่าด้วยกรรมบท” เป็นหัวข้อเดียวกันทั้งหมด เปรียบเทียบส่วนเหมือนและส่วนต่าง โดยแต่ละข้อจะแบ่งเป็น 2 ส่วน คือส่วนที่ต่างกัน คือดีกับไม่ดี เปรียบเทียบส่วนต่างไม่ดีคือเหมือนนำตัวไปฝังไว้ในนรก ดีคือได้รับการอัญเชิญไปประดิษฐานในสวรรค์ เปรียบเทียบในข้อเดียวกันเป็นคู่ ๆ ส่วนที่ไม่เหมือนคือไส้ใน ใน 3 ข้อแรกเกี่ยวกับกายกรรมสุจริตทุจริต 4 ข้อถัดมาคือเรื่องของวจีกรรมสุจริตทุจริต และ 3 ข้อสุดท้ายคือส่วนของมโนกรรมสุจริตทุจริต ในแต่ละข้อยังแยกออกเป็น 4 แบบ คือ ทำเอง ชักชวน พอใจ กล่าวสรรเสริญในการกระทำนั้น ๆ ใน 4 ข้อนี้ การทำได้ยังบ่งบอกถึงความละเอียดในการปฏิบัติได้ด้วย (กัมมปถวรรค หมวดว่าด้วยกรรมบท ข้อที่ 264-270)
- 6 ขุดเพชรในพระไตรปิฏกเริ่มโลณผลวรรค หมวดว่าด้วยก้อนเกลือ ข้อที่ 93 - 99 อัจจายิกสูตรเป็นเรื่องของการรอเวลาที่เหมาะสมแม้จะสร้างเหตุมาดีแล้วก็ตาม ปวิเวกสูตรจะทราบถึงความสงัดจากกิเลสที่ไม่ต้องอิงวัตถุ สรทสูตรธรรมจักษุของโสดาบัน และอนาคามีที่ละสังโยชน์ได้ เมื่อบังเกิดขึ้นแล้วดั่งท้องฟ้าในสารทกาล ปริสาสูตร บริษัทที่มีหัวหน้า คือ พระเถระเป็นผู้นำที่ยอดเยี่ยม ทำให้พากันปฏิบัติตาม บริษัทที่แตกแยก และบริษัทที่สามัคคีโดยการเจริญมุทิตา ปฐมอาชานียสูตร / ทุติยอาชานียสูตร / ตติยอาชานียสูตร ว่าด้วยองค์ประกอบของม้าอาชาไนย จะมีความต่างในแต่ละข้อตรงปัญญาในอริยสัจ 4 ความเร็ว คือ ปัญญาที่เร็วขึ้นเพราะชำนาญ ข้อที่ 97 ปัญญาระดับโสดาบัน ข้อที่ 98 ปัญญาระดับอนาคามี และข้อที่ 99 ปัญญาระดับอรหันต์ (ทุติยปัณณาสก์/โลณผลวรรค ข้อที่ 93 - 99)
- ปฐม และทุติยอาชานียสูตรเป็นเรื่องเกี่ยวกับการอุปมาอุปมัยด้วยม้าอาชาไนยพันธุ์ดี ซึ่งถ้าเป็นคน คือ ผู้ที่ปฏิบัติดีเพื่อเป็นเครื่องออกจากทุกข์ โดยดูจาก 1. วรรณะ คือ ศีล 2. กำลัง คือ ความเพียรที่ทำให้กุศลใหม่เกิดที่มีอยู่แล้วให้พัฒนา และอกุศลเดิมให้ลดที่ยังไม่มีอย่าให้เข้ามา 3. เชาว์ คือ ฝีเท้า ในข้อ 259 ดูจากการรู้ตามความเป็นจริงในอริยสัจสี่ นั่นคือ การเป็นโสดาบัน ในข้อ 260 ดูจากการทำให้แจ้งในเจโต และปัญญาวิมุติ นั่นคือ อรหัตผล จะเห็นว่าในระหว่างข้อทั้งสองนี้ ก็คือ อริยบุคคลที่เหลือนั่นเอง 4. ความสมบรูณ์ด้วยทรวดทรง คือ ความสมบรูณ์ด้วยปัจจัยสี่ นอกจากนี้ยังทบทวนให้เห็นถึงความเชื่อมโยงในข้อที่ผ่าน ๆ มากับการอุปมาอุปมัยว่าด้วยม้าอาชาไนยนี้ ม้าทุกตัวต้องผ่านการฝึก คนจะเป็นอริยบุคคลได้ก็ต้องฝึกเช่นกัน พลสูตร: พละ คือ กำลัง บุคคลที่ประกอบด้วยพละ 4 นี้จึงจะมีกำลังใจ คือ วิริยะพละ=ความเพียร4 สติพละ=สติปัฏฐาน4 สมาธิพละ=ฌานทั้ง4 ปัญญาพละ=ชำแรกกิเลส พละ4[...]
- 6 ขุดเพชรในพระไตรปิฏก"กาลามะทั้งหลาย เมื่อใด ท่านทั้งหลายพึงรู้ด้วยตนเองเท่านั้นว่า “ธรรมเหล่านี้เป็นกุศล ธรรมเหล่านี้ไม่มีโทษ ธรรมเหล่านี้ผู้รู้สรรเสริญ ธรรมเหล่านี้ที่บุคคลถือปฏิบัติบริบูรณ์แล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อเกื้อกูล เพื่อสุข” เมื่อนั้น ท่านทั้งหลายควรเข้าถึง (ธรรมเหล่านั้น) อยู่" มาใน 3 พระสูตรมีความน่าสนใจ ดังนี้ ในสรภสูตรจะได้ทราบถึงฐานะสามอย่างที่จะเกิดขึ้นในบุคคลสามจำพวกเมื่อถูกพระพุทธเจ้าไตร่สวน ในเกสปุตติสูตร หรือที่มักเรียกกันว่ากาลามสูตร เป็นพระสูตรที่น่าสนใจมาก เป็นกระบวนการที่จะกำจัดความลังเลสงสัยไม่เข้าใจออกไป ทำไมจึงไม่ควรด่วนสรุปตัดสินใจเชื่อหรือไม่เชื่อในเรื่องต่าง ๆ เพียงเพราะเหตุผลจากใน 10 ข้อ แต่ควรพิจารณาด้วยเงื่อนไข 4 ข้อ โดยดูจาก 3 ข้อ คือ โลภะ โทสะ และโมหะ ว่าลดลงหรือเพิ่มขึ้น และพรหมวิหาร 4 ที่เมื่อทำแล้วจะมีความเบาใจสี่ประการ ส่วนในสาฬหสูตรเนื้อหาคล้ายกับเกสปุตติสูตรเพียงเปลี่ยนบุคคล และจบลงที่นิพพาน (ติกนิบาต | ทุติยปัณณาสก์ มหาวรรคข้อที่ 65-67)
- ปริเยสนาสูตร ว่าด้วยการแสวงหา 4 อย่างที่ประเสริฐ และไม่ประเสริฐ ถ้าคุณรู้ว่าเรามีความแก่ ความเจ็บไข้ ความตาย และความเศร้าหมองเป็นธรรมดาแล้วยังคงแสวงหาในสิ่งเหล่านี้ นั่นเป็นการแสวงหาที่ไม่ประเสริฐ พระโพธิสัตว์ทราบถึงโทษในสิ่งเหล่านี้ จึงเริ่มแสวงหาทางอันประเสริฐที่ทำให้ถึงแดนอันเกษม นั่นคือ นิพพาน น้อมเข้ามาดูที่ตัวเรา ด้วยความเป็นฆราวาสยังคงต้องแสวงหา ในการแสวงหานั้นควรจะมีสิ่งประเสริฐแทรกแซงอยู่บ้าง อย่างน้อยทราบถึงกระบวนการที่จะอยู่ในมรรค ดำเนินชีวิตอยู่ในมรรค ใจตั้งไว้ที่นิพพาน เห็นโทษ แล้วอยู่กับมันให้ได้ด้วยมรรค ก็จะเป็นการปูทางสู่นิพพานได้ สังคหวัตถุสูตร: เป็นธรรมเครื่องยึดเหนี่ยวที่ก่อให้เกิดความสามัคคี คือ การให้ทาน เปยยวัชชะ (วาจาเป็นที่รัก) อัตถจริยา (การประพฤติประโยชน์) และสมานัตตตา (การวางตนสม่ำเสมอ) ถ้าขาดธรรมนี้ชนนั้นจะเกิดความแตกแยก มาลุงกยปุตตสูตร: พระพุทธเจ้ากล่าวสอนธรรมะสั้น ๆ เพื่อการหลีกเร้นปฏิบัติเอาจริงต่อมาลุงกยบุตร คือ เหตุเกิดแห่งตัณหา 4 ประการ กิเลสในปัจจัย 4 ตัณหาจะละได้ก็ด้วยมรรค 8 ละตัณหา ละมานะได้ก็พ้นทุกข์ กุลสูตร: ตระกูลใหญ่จะดำรงทรัพย์อยู่ได้ ถ้ามีการแสวงหาวัตถุที่หายไป ซ่อมแซมของเก่า รู้ประมาณในการบริโภค และตั้งสตรีหรือบุรุษที่มีศีลเป็นใหญ่ (อภิญญาวรรค[...]
- 6 ขุดเพชรในพระไตรปิฏก"อปรอัจฉราสังฆาต" คือ ระยะเวลาที่สั้นมาก ๆ แค่ชั่วดีดนิ้ว ธรรมที่แม้ทำเพียงระยะสั้น ๆ แต่ให้ผลมาก มรรค 8 ในโพธิปักขิยธรรม 37 เป็นหนึ่งในนั้น ในตอนนี้ได้อธิบายให้เข้าใจว่าทำไมสัมมาทิฏฐิจึงเป็นองค์นำหน้ามรรคข้ออื่น และในข้ออื่น ๆ นั้นสัมมาทิฏฐิมีส่วนเกี่ยวข้องอยู่อย่างไร สัมมาทิฏฐิแยกเป็นส่วนที่ยังเกี่ยวด้วยโลกเป็นความเชื่อ และส่วนของโลกกุตระเป็นความรู้ในอริยสัจ 4 ตามรอบ 3 อาการ 12 ควรทำความเข้าใจว่าสัมมา คือ เมื่อทำแล้วกิเลสลด ส่วนมิจฉาทำแล้วกิเลสเพิ่ม ในแต่ละข้อมรรคใช้เกณฑ์นี้ มรรค 8 ทำข้อใดข้อหนึ่งข้ออื่น ๆ ก็จะตามมา เพราะมรรค 8 เป็นทางเดียวที่ประกอบด้วยองค์อันประเสริฐ 8 อย่าง ทำแม้น้อยแต่ให้ผลมาก (ผลแห่งจิตชั่วลัดมือเดียว: มรรค 8 ข้อที่ 419 - 426)
- 6 ขุดเพชรในพระไตรปิฏกพหุการสูตร ว่าด้วยธรรมมีอุปการะมาก ที่เมื่อมีแล้วสามารถนำมาปรับใช้ในการดำเนินชีวิตประจำวันจนกระทั่งพาไปนิพพาน คือ การคบสัตบุรุษ:การคบเพื่อนดี คือ การมีสิ่งแวดล้อมที่ดี การฟังธรรมเป็นการรับ in put ดี ๆ เป็นการเพิ่มปัญญา การโยนิโสมนสิการ คือ การคิดใคร่ครวญปรับปรุง และธัมมานุธัมมปฏิปัตติเป็นการปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม พัฒนาจากสุตมยปัญญาเป็นจินตามยปัญญา และภาวนามยปัญญา 4 ข้อนี้ สามารถพัฒนาวน loop จะทำให้ชีวิตดีขึ้นได้แน่นอน ในปฐม/ทุติย/ตติย/จตุตถโวหาร: ใช้เป็นเกณฑ์ในการตัดสินว่า เราโกหกหรือไม่ ที่น่าสนใจคือ อย่างไรคือโกหกสีขาว หรือการข้ามเส้นแบ่งนี้ไป จบอาปัตติภยวรรค เริ่มอภิญญาวรรคหมวดว่าด้วยความรู้ยิ่ง: อภิญญาสูตร ความรู้ 4 อย่างที่เทียบมาตามอริยสัจ 4 มีข้อเหมือน และการเรียงลำดับที่ต่างออกไปพบแต่ในพระสูตรนี้เท่านั้น คือ 1. ธรรมที่ควรกำหนดรู้ คือ ทุกข์คือ ขันธ์ 5 มีความเป็นอนัตตา 2. ธรรมที่ควรละ คือ สมุทัย ในที่นี้ คือ อวิชชา และภวตัณหา[...]
- 6 ขุดเพชรในพระไตรปิฏก"เราอยู่ประพฤติพรหมจรรย์นี้ มีสิกขาเป็นอานิสงส์ มีปัญญาเป็นยอด มีวิมุตติเป็นแก่น มีสติเป็นอธิปไตย" สิกขานิสังสสูตรกล่าวถึงเมื่อประพฤติพรหมจรรย์แล้ว จะมีผล 4 อย่างนี้เกิดขึ้น คือ 1. มีสิกขาเป็นอานิสงส์ แบ่งออกเป็นอภิสมาจาริกสิกขาและอาทิพรหมจริยกสิกขา เป็นการได้ฝึกทั้งส่วนที่เป็นมารยาททั่วไป และส่วนที่เป็นกุศลธรรมจริง ๆ 2. มีปัญญาเป็นยอด ธรรมที่พระพุทธเจ้าแสดงเป็นไปเพื่อการสิ้นทุกข์ไปโดยรอบ เพื่อกำจัดกิเลส 3. มีวิมุตติเป็นแก่น เป็นภาวะพ้นจากกัน ไม่ยึดถือในสิ่งนั้นอีก อาจจะชั่วคราวหรือถาวรก็ได้ เป็นการตัดได้ด้วยปัญญา 4. มีสติเป็นอธิปไตย สติเป็นใหญ่ตามสายงาน เป็นการรวม 3 ข้อข้างต้นมาในข้อนี้ เสยยาสูตรว่าด้วยการนอน 4 แบบ นอนแบบคนตาย คือ การนอนหงาย นอนแบบผู้บริโภคกาม คือ นอนตะแคงซ้าย เพราะคนคู่ต้องขยับเข้าหากัน นอนแบบราชสีห์ คือ นอนตะแคงขวาหรือด้านที่ถนัดเพื่อพร้อมที่จะลุก เป็นการประกอบตนอยู่ในเครื่องตื่น และการนอนอย่างตถาคต คือ การนอนในสมาธิ เข้าฌาน 1 - 4 ถูปารหสูตรกล่าวถึงบุคคลที่ควรสร้างสถูปให้ คือ[...]
- 6 ขุดเพชรในพระไตรปิฏกมาในหัวข้อโพชฌงค์ 7 องค์ธรรมแห่งการตรัสรู้ธรรม ทำข้อใดข้อหนึ่งก็ได้ข้อที่เหลือจะตามมา และในแต่ละข้อก็แค่ชั่วลัดมือเดียว เริ่มจากสติสัมโพชฌงค์ซึ่งก็คือ สติปัฏฐาน 4 พอมีสติระลึกไปตามอนุสติ จิตไม่แล่นไปตามสิ่งที่ชอบใจไม่ชอบใจ เห็นตามความเป็นจริง มีการใคร่ครวญด้วยปัญญา คือ ธัมมวิจยสัมโพชฌงค์ จิตจะมีความพ้นไม่ขึ้นลงไปตามสิ่งนั้น ๆ ทำให้อกุศลลดกุศลเพิ่ม ก่อให้เกิดการทำจริงแน่วแน่จริง คือ วิริยสัมโพชฌงค์ จากการที่อกุศลลดลงกุศลเพิ่มขึ้น จะเกิดความสบายใจ อิ่มเอิบใจ เรียกว่า ปีติสัมโพชฌงค์ เป็นปิติชนิดนิรามิส พอความวุ่นวายจากสิ่งต่าง ๆ ลดลงจะมีความสงบระงับมากขึ้นทั้งทางกาย และทางจิต คือ ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ จิตที่ระงับลง คือ การรวมลง ๆๆ ทำให้จิตมีกำลังก่อให้เกิดสมาธิสัมโพชฌงค์ เมื่อจิตเป็นหนึ่งตั้งมั่นจะก่อให้เกิดอุเบกขาสัมโพชฌงค์ สามารถวางเฉยจากสิ่งที่มากระทบได้ วางเฉยแต่ไม่ใช่ไม่รับรู้ ที่น่าสนใจ คือ เราจะวางเฉยได้ตั้งแต่มีสติหรือไม่ คำตอบ คือ ได้ เพราะธรรมะเป็นก้อนเดียวกันมาด้วยกัน นอกจากนี้ยังแบ่งโพชฌงค์ออกได้เป็น 3 กลุ่ม สำหรับบุคคลที่มีความต่างกัน โดยมีสติเป็นตัวคอยควบคุม คือ ธัมมวิจยสัมโพชฌงค์ วิริยสัมโพชฌงค์[...]
- 6 ขุดเพชรในพระไตรปิฏก"คนที่เห็นภัยจากการต้องอาบัติ 4 อย่างนี้ จะพยายามที่จะไม่ผิด พยายามที่จะทำให้ถูกกลับคืนได้" โพชฌังคสูตร: ในส่วนของกรรมไม่ดำไม่ขาว ในข้อนี้ คือ โพชฌงค์ 7 สาวัชชสูตร และอัพยาปัชฌสูตร พูดถึงกรรม และทิฏฐิที่มีโทษ/ที่ไม่เบียดเบียน โดยอิงจากกายกรรม 3 วจีกรรม 4 มโนกรรม 3 และทิฏฐิ ทิฏฐิในที่นี้ คือ ความเชื่อสุดโต่ง 10 ประการ ที่มีกันอยู่ในขณะนั้น สมณสูตร: ตอบเรื่องสมณะ 4 ที่ไม่อาจหาได้ในคำสอนอื่น มีแต่ในคำสอนนี้ เพราะมีเหตุ คือ มรรค และผล คือ สมณะ 4 สัปปุริสานิสังสสูตร: คบคนไม่ดีขาดทุน คบคนดีกำไร โดยดูจาก อริยศีล:ศีล 5 หรือมากกว่า อริยสมาธิ:ฌาน 4 อริยปัญญา:เห็นเกิดดับ และอริยวิมุตติ:การพ้น ใช้ตรวจสอบตนเองว่าพัฒนาขึ้นหรือไม่ จบกัมมวรรค เริ่มอาปัตติภยวรรค: สังฆเภททสูตร:[...]
- 6 ขุดเพชรในพระไตรปิฏก"เข้าใจเหตุ และผล จะดับทั้งกรรมดำ และขาวได้" ในทุจจริตวรรคจะมีการแบ่งเนื้อหาด้านในแต่ละข้อคล้ายกับในโสภณวรรคที่ผ่านมา ทุจจริตวรรคแบ่งตามทุจริต สุจริต และคนพาลหรือบัณฑิต มีต่างออกไปตรงกวิสูตรที่แบ่งตามการเกิดขึ้นของคำกลอน คือ ตามความคิด ตามการฟัง ตามความหมาย และตามปฏิภาณ จบทุจจริตวรรค เริ่มกัมมวรรคหมวดว่าด้วยกรรม เป็นเรื่องของกรรม และวิบาก 4 ประเภท 1. กรรมดำวิบากดำ ปรุงแต่งไปทางเบียดเบียน จิตจึงน้อมไปในโลกที่มีแต่การเบียดเบียน ผลหรือวิบากจึงไปทางนั้น คือโลกของสัตว์นรก 2. กรรมขาววิบากขาว จิตปรุงแต่งมาในทางไม่เบียดเบียน ได้ผลเป็นวิบากขาวสู่โลกที่ไม่มีการเบียดเบียน เช่น เทพบางชนิด 3. มีทั้งกรรมดำกรรมขาว และวิบากทั้งดำและขาว ปรุงแต่งไปได้ทั้งสองฝ่าย คือ ส่วนของโลกมนุษย์ 4. กรรมที่ไม่ดำไม่ขาว วิบากไม่ดำไม่ขาว เป็นไปเพื่อความสิ้นกรรม คือ เดินมาตามทางมรรคแปด การเข้าใจเหตุและผลซึ่งก็คือ มีความรู้ในอริยสัจสี่จะนำไปถึงความดับของกรรมดำกรรมขาว ที่ควรทำความเข้าใจ คือ ทำไมไม่จัดกรรมขาวว่าเป็นมรรค เพราะการทำความดีทั้งหมดไม่ใช่ว่าจะพ้นทุกข์ได้ กรรมดีทั้งหมดเป็นกรรมขาว แต่คุณก็ยังวนเวียนอยู่ในกรรมขาววิบากขาวนั่นแหละ แต่ว่าการที่เราจะพ้นจากทั้งดำและขาวได้ คุณก็ต้องมาตามทางขาว นี้เป็นสำคัญ[...]
- 6 ขุดเพชรในพระไตรปิฏก"ดีอยู่ แล้วกลับมาเป็นไม่ดี ก็ได้ ไม่ดีอยู่ แล้วกลับมาดี ก็เป็นไปได้เหมือนกัน อยู่ที่เหตุปัจจัยเงื่อนไขที่เราสร้างขึ้น" ในอัฏฐังคิกสูตรและทสมัคคสูตรยังคงอยู่ในหัวข้อสัตบุรุษ และยิ่งกว่ากับอสัตบุรุษ และยิ่งกว่า อัฏฐังคิกสูตร ก็คือ มรรค 8 ส่วนทสมัคคสูตร คือ มรรค 8 สัมมาญาณะ สัมมาวิมุตติ เรียกว่าสัมมัตตะ10 ปฐปาปธัมมสูตร และทุติยปาปธัมมสูตร เปลี่ยนจากสัตบุรุษอสัตบุรุษมาเป็นคนดีคนชั่ว ไส้ในเหมือนสองข้อข้างต้น ตติยปาปธัมมสูตร และจตุตถปาปธัมมสูตร เป็นเรื่องของผู้มีธรรมะอันชั่ว และธรรมะอันดี จบสัปปุริสวรรค เริ่มโสภณวรรค หมวดว่าด้วยผู้ทำบริษัทให้งาม ปริสาสูตร : บริษัทจะงามหรือถูกประทุษร้ายก็มาจากพุทธบริษัท ประทุษร้าย คือ การทำศรัทธาให้ตกไป ควรมีกัลยาณธรรม ต่อจากนี้ไป เป็นพระสูตรแบ่งบุคคลที่จะเป็นผู้ที่ถูกนำไปฝังในนรกหรือผู้ที่ถูกนำไปประดิษฐานบนสวรรค์ โดยแบ่งตามเนื้อหาด้านในที่ต่างกัน ทิฏฐิสูตรแบ่งตามกาย วาจา ใจ และทิฏฐิ ในอกตัญญุตาสูตรยังคงพิจารณาตามกาย วาจา ใจแต่เปลี่ยนทิฏฐิเป็นกตัญญู หรืออกตัญญูแทน ในปาณาติปาตีสูตรเอาศีล 4 มาจับ ปฐมมัคคสูตร และทุติยมัคคสูตรเอามรรค 8 มาแบ่งเป็นสองส่วน ปฐมโวหารปถสูตร และทุติยโวหารปถสูตร คือ การรับรู้ผ่านตาหูจมูกลิ้นกายใจแล้วบอกไปตามจริงหรือกล่าวเท็จ[...]
- 6 ขุดเพชรในพระไตรปิฏก"คำว่าตัณหาวิจริต คือ ทางไปแห่งจิต จิตที่มีตัณหาไปได้แบบนี้" อัตตันตปสูตร เอาความเดือดร้อนต่อตนเอง และผู้อื่นมาเป็นเกณฑ์ คือ ทำตนเองให้เดือดร้อน คือ การทำความเพียรที่ไม่ก่อประโยชน์เป็นทุกรกิริยา ทำผู้อื่นให้เดือดร้อน คือ ผู้ที่ทำชีวตอื่นให้ล่วงไป ทำตนเองและผู้อื่นเดือดร้อน คือ การบูชายัญทำลายชีวิตอื่น ผู้ที่ทำให้ก็ลำบาก ตนเองก็มีมิจฉาทิฏฐิ ไม่ทำทั้งตนเองและผู้อื่นให้เดือดร้อน คือ การประพฤติพรหมจรรย์ตลอดสาย เดินมาตามมรรค 8 เราทุกคนเคยทำตนเองและผู้อื่นเดือดร้อนให้ค่อย ๆ ปรับไป เดินตามทางสายกลาง จะประกอบตนถึงนิพพานได้ ตัณหาสูตร จิตใจของสัตว์โลกพันกันยุ่งเหยิงด้วยตัณหาวิจริต จิตจะเป็นไปตามอำนาจของตัณหา 18 อย่างนี้ ตามขันธ์ 5 ภายนอก ภายใน อดีต อนาคต ปัจจุบัน นับรวมได้ 108 แบ่งเป็น 5 กลุ่มดังนี้ 1. มีตัณหาเข้าใจว่าเราเป็น เราเป็นอย่างนี้ เราเป็นโดยประการอื่น 2. เข้าใจว่าเราเป็นผู้เที่ยง เราเป็นผู้ไม่เที่ยง 3. เราพึงเป็น พึงเป็นอย่างนี้[...]
- "อาสวะใหม่ไม่เกิด ของเก่าก็ติดต่อไปไม่ได้ ก็ดับลง" สาปุคิยาสูตร: ท่านพระอานนท์อธิบายถึงองค์ความเพียรเพื่อความบริสุทธิ์ 4 ประการ เพื่อก้าวล่วงความโศก ความคร่ำครวญ เพื่อดับทุกข์กายใจ และบรรลุญายธรรม นั่นคือ องค์ความเพียรเพื่อความบริสุทธิ์ของศีล (เริ่มจากศรัทธา) ของจิต (ฌาน 4) ของทิฏฐิ (อริยสัจ) และของวิมุต ใน 3 ข้อแรก คุณต้องใส่ความเพียร ความพอใจ ความพยายาม ความอุตสาหะ ความขะมักเขม้น ไม่ท้อถอย สติสัมปชัญญะ คือเดินหน้าลูกเดียว แล้วพอถึงข้อวิมุติ คือ การนำความเพียรทั้งหมดในสามข้อแรกมารวมกัน ทำให้มากแล้วจิตจะเปลื้องจากธรรมที่ยังข้องอยู่ได้ ซึ่งก็คือ เดินมาตามศีล สมาธิ ปัญญา หรือวิสุทธิ 7 นั่นเอง วัปปสูตร: สาวกนิครนถ์มีความเชื่อว่า ถ้าบาปยังไม่หมดไปจะพ้นทุกข์ไม่ได้ พระพุทธเจ้าทรงปรับทิฏฐิว่า การสำรวมกาย วาจา ใจ จะไม่ก่อให้เกิดอาสวะใหม่ ของเก่าที่มีก็จะไปต่อไม่ได้ และการสำรอกอวิชชาออกไป อาสวะใหม่ที่จะก่อให้เกิดทุกข์ก็ไม่มี ดับไป กิเลสสิ้นไป[...]
- 6 ขุดเพชรในพระไตรปิฏก“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ มายาที่เป็นเหตุให้กลับใจนี้ดีนัก มายาที่เป็นเหตุให้กลับใจนี้งามนัก" ภัททิยสูตร มหาวรรคหมวดว่าด้วยเรื่องใหญ่ พระสูตรที่น่าสนใจ คือ ภัททิยสูตร มนต์ใดที่พระพุทธเจ้ากล่าวแล้วทำให้ภัททิยะเปลี่ยนไป ตั้งใจจะมาถามแต่เกรงโดนมนต์เปลี่ยนใจ มนต์นั้นเป็นความจริงหรือ พระพุทธเจ้าได้ตอบให้คิดกลับว่า ในความเชื่อ 10 อย่างที่เขาเชื่อกันอยู่นั้น ให้ละเสีย แล้วให้พิจารณาจากสิ่งใดที่ทำแล้วสามารถละโลภะ โทสะ โมหะ และสารัมภะได้ ควรทำ เพราะจะทำให้เกิดกุศล สิ่งใดที่ทำแล้วก่อให้เกิดโลภะ โทสะ โมหะ หรือสารัมภะ สิ่งนั้นก่อให้เกิดอกุศลธรรมบท 10 อย่าอ้างในนามของความดี ฉันขอทำความชั่ว ไม่ได้ โสตานุคตสูตร: บุคคลใดที่ฟังธรรมแล้ว คล่องปากขึ้นใจแทงตลอด แต่ขณะตายเกิดหลงลืมสติ จะทำให้เกิดอานิสงส์ไปเป็นเทวดาแล้วจะสามารถบรรลุนิพพานในชั้นนั้นโดยสถานะต่างกัน คือ จำได้ด้วยตนเอง จำได้เพราะภิกษุแสดงธรรม (เสียงกลอง) จำได้เพราะเทวดาแสดงธรรม (เสียงสังข์) จำได้เพราะเพื่อนเทวดาเตือน (จำวัยเด็กได้) ฐานสูตร: รู้บุคคลด้วยสถานะ 4 ประการ คือ ศีลพึงรู้ได้ด้วยการอยู่ร่วมกัน ความบริสุทธิ์พึงรู้ได้ด้วยถ้อยคำ กำลังจิตพึงรู้ได้ในคราวมีภัย ปัญญาพึงรู้ได้ด้วยการสนทนา ทั้งหมดนี้ต้องใช้เวลานาน มีมนสิการ[...]
- 6 ขุดเพชรในพระไตรปิฏกย้อนกลับมาในปฏิปทา 4: สสังขารสูตร สสังขาร หมายถึง อนาคามี สสังขารเป็นการพิจารณาความไม่งาม คือ ทุกขาปฏิปทานั่นเอง อสังขารเข้าสมาธิลึกเป็นสุขาปฏิปทา จับคู่กับปรินิพพานในปัจจุบันหรือตายแล้ว ซึ่งขึ้นอยู่กับความแก่กล้าแห่งอินทรีย์ ความแก่อ่อนของอินทรีย์ก็มาจากเสกขพละ สมณสัจจสูตร: สัจจะของพราหมณ์ที่พระพุทธเจ้าเห็นด้วย ว่าเป็นคำจริง ไม่สำคัญตนว่าเป็นสมณะ ประเสริฐ หรือเสมอ หรือด้อยกว่า เมื่อบุคคลมีสัจจะนี้แล้ว จะตั้งตนอยู่ในความไม่ประมาท คือ สัตว์ไม่ควรถูกฆ่า กาม และภพทั้งปวงไม่เที่ยงเป็นทุกข์ และไม่มีเรา/ไม่มีผู้อื่นเป็นที่กังวล อุปกสูตร: น่าสนใจตรงที่พระพุทธเจ้าตรัสว่า การตักเตือนกันด้วยหลักธรรม แล้วไม่เกิดการเปลี่ยนแปลง บุคคลที่เตือนนั้นไม่ควรถูกตำหนิ ให้ดูที่กุศลควรเจริญ หรืออกุศลที่ควรละ สัจฉิกรณียสูตร: ธรรมที่ควรทำให้แจ้งด้วยกาย คือ ทำกายให้เป็นที่ภาวนา ทำสมาธิให้เกิดขึ้น ให้แจ้งด้วยสติ คือ การตามระลึกถึงภพที่เคยผ่าน ให้แจ้งด้วยจักษุมีตาทิพย์เห็นการจุติ และอุบัติของสัตว์ แจ้งด้วยปัญญา คือ ทำอาสวขยญาณให้เกิดขึ้น อุโปสถสูตร: ทรงสรรเสริญภิกษุด้วยความเป็นเทวดา: ฌาน 1 - 4, พรหม: พรหมวิหาร,[...]
- 6 ขุดเพชรในพระไตรปิฏกในสุตสูตร และวัสสการสูตรเป็นการตั้งคำถามของวัสสการพราหมณ์ สุตสูตรนั้นพราหมณ์เชื่อว่าการแสดงออกไปตามที่รู้ที่เห็นที่ได้ยินที่คิดนั้นเป็นสิ่งที่ถูกต้อง แต่พระพุทธเจ้าให้พิจารณาที่กุศลธรรม หรืออกุศลธรรมที่จะเกิดเป็นเกณฑ์ และต้องไม่มีการเบียดเบียนกัน วัสสการสูตรพระพุทธเจ้าได้ตอบพราหมณ์ว่าสัตบุรุษเท่านั้นที่จะพึงแยกแยะคนดีหรือคนไม่ดีได้ อภยสูตรตอบชานุสโสณิพราหมณ์ว่า ถ้าบุคคลมีจิตไม่ข้องในกาม ละความกังวลในกาย ทำความดี และมีศรัทธา เขาจะไม่สะดุ้งต่อความตายตรงหน้า การรักษาจิตได้จะไม่สะดุ้งต่อสถานกราณ์ที่รุมเร้า อุมมัคคสูตรเป็นการถามคำถามที่ก่อให้เกิดปัญญา 4 ข้อ ข้อแรกถามว่าโลกอันอะไรหนอนำไป-โลกอันจิตนำไป โลกอันอะไรชักนำมา-อันจิตชักนำมา บุคคลย่อมลุอำนาจอะไรที่เกิดขึ้น-บุคคลย่อมลุอำนาจจิตที่เกิดขึ้น จิตชักนำวนไป ฝึกให้มีอำนาจเหนือจิตด้วยการตั้งสติ ข้อที่สองถามว่าเหตุใดจึงชื่อว่าเป็นพหูสูตผู้ทรงธรรม ตอบว่าศึกษาพุทธพจน์ 9 รู้คาถา 4 บท และปฎิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม คาถาสี่บทนั้นน่าจะเป็นความเพียรอันไม่ถอยกลับ พหูสูตไม่ใช่แค่รู้มากแต่ต้องปฏิบัติด้วย ข้อที่สามถามว่าเหตุใดจึงชื่อว่ามีปัญญาชำแรกกิเลส ตอบว่าคือการรู้อริยสัจ 4 ข้อที่สี่ถามว่าเหตุใดจึงชื่อว่าเป็นบัณฑิตมีปัญญามาก ตอบว่าเป็นบุคคลที่ไม่คิดเบียดเบียนตน ผู้อื่น และทั้งสองฝ่าย (จตุกกนิบาต: โยธาชีววรรค ข้อที่ 183 - 184 และ 186 - 187)
- 6 ขุดเพชรในพระไตรปิฏก"ถ้าบทและพยัญชนะเหล่านั้น สอบลงในสูตรก็ได้ เทียบเข้าในวินัยก็ได้ พึงลงสันนิษฐานว่า นี้เป็นดำรัสของพระผู้มีพระภาคเจ้า" มหาปเทสสูตร ราหุลสูตรชี้ให้เห็นความเหมือนกันของธาตุทั้ง 4 ที่อยู่ในภายในและภายนอก ต่างกันตรงที่ในภายในมีความยึดถือมาถือเอา และมีความเป็นอินทรีย์ที่มีชีวิต ควรพิจารณาด้วยปัญญาว่า นั่นไม่ใช่ของเรา นั่นไม่ใช่เป็นเรา นั่นไม่ใช่ตัวตนของเรา ชัมพาลีสูตรเป็นการจับคู่ความดับไม่เหลือของทุกข์ได้/ไม่ได้ กับการทำลายตัณหาอวิชชาได้/ไม่ได้ โดยเปรียบว่ามือเปื้อนยางเหมือนจิตที่มีตัณหา และเปรียบบ่อที่ปิดทางออกเปิดทางเข้าวันนึงย่อมเต็มได้ทำลายตัณหาได้ นิพพานสูตรเหตุที่ทำให้บุคคลไม่ลุนิพพาน คือ ไม่ทราบชัดฝ่ายเสื่อม=สมุทัย ไม่ทราบชัดฝ่ายดำรง=ทุกข์ ไม่ทราบชัดฝ่ายวิเศษ=มรรค ไม่ทราบชัดฝ่ายชำแรกกิเลส=นิโรธ ในมหาปเทสสูตรเมื่อมีคนสี่จำพวกกล่าวว่านี้เป็นธรรม นี้เป็นวินัย นี้เป็นคำของพระพุทธเจ้า ให้กำหนดเนื้อความให้ดีว่าลงกันได้โดยบทโดยอรรถะหรือไม่ ถ้าไม่ได้ให้ทำตามในกินติสูตร ตรวจสอบไม่ใช่หาที่ผิด แต่หาที่ถูกที่เราจะรับมาปฏิบัติทำที่สุดแห่งทุกข์ได้ จบสัญเจตนิยวรรค เริ่มโยธาชีววรรค โยธาชีวสูตรสิ่งที่นักรบควรมี ฉลาดในฐานะ คือ มีศีล ยิงลูกศรได้ไกล คือ การเห็นอนัตตาในขันธ์ 5 ยิงไม่พลาด คือ รู้อริยสัจ 4 ทำลายกายขนาดใหญ่ได้ คือ ทำลายกองอวิชชาที่คลุมอยู่ได้ ปาฏิโภคสูตรใครก็ไม่สามารถก้าวข้ามเกิดแก่เจ็บตายไปได้ นอกจากผู้ที่เป็นอมตะ (สัญเจตนิยสูตร ข้อที่ 177 - 180[...]
- 6 ขุดเพชรในพระไตรปิฏกสัญเจตนิยวรรค หมวดว่าด้วยความจงใจ เจตนาสูตร พระพุทธเจ้าทรงแสดงถึงการกระทำอะไรที่เป็นไปในทางกายวาจาใจ ที่จะทำให้เกิดสุขหรือทุกข์ภายในมี 4 อย่าง และก่อให้เกิดผล คือ อัตภาพ 4 ที่น่าสนใจ คือ อัตภาพในข้อสุดท้ายที่ท่านพระสารีบุตรถามพระพุทธเจ้าว่า คนที่ตายไปแต่เข้าถึงเนวสัญญานาสัญญายตนฌานแล้วทำไมจึงกลับมาเกิดได้อีก นั่นเป็นเพราะยังละสังโยชน์เบื้องต่ำไม่ได้ และอนาคามีที่ตายจากความเป็นคนแล้วมาอยู่ในชั้นเนวสัญญานาสัญญายตนฌานนี้ มีลักษณะเฉพาะ คือ เมื่อมีการเสื่อมของฌานจนเคลื่อนลงมาจากอรูปพรหมมาสู่รูปพรหมในขั้นสุทธาวาส ความเสื่อมนี้ทำให้เห็นความไม่เที่ยงในความสุขจากสมาธิ ก็จะปรินิพพาน ณ ที่นี้ วิภัตติสูตร ท่านพระสารีบุตรเชื้อเชิญให้ถามในขณะที่พระพุทธเจ้ายังอยู่ และถามเพราะความที่ท่านมีปฏิสัมภิทา 4 มหาโกฏฐิตสูตร เป็นคำถามคำตอบระหว่างท่านมหาโกฏฐิตะกับท่านพระสารีบุตร ในเรื่องเมื่อผัสสายตนะ 6 ดับไปด้วยวิราคะแล้วอย่างอื่นยังจะมีอยู่ ไม่มีอยู่ ทั้งมีและไม่มี มีอยู่ก็มิใช่ ไม่มีอยู่ก็มิใช่ ท่านพระสารีบุตรตอบว่า ไม่ว่าข้อไหนล้วนชื่อว่าคิดปรุงแต่งสิ่งที่ไม่ควรคิดปรุงแต่ง ควรคิดมาในมรรค 8 และในอานันทสูตร เหมือนในมหาโกฏฐิสูตรเพียงแค่เปลี่ยนบุคคล อุปวาณสูตร ควรทำความเข้าใจว่าวิชชาและจรณะนั้น ต้องมีเพื่อทำวิชชาให้เกิดขึ้น แต่ความยึดถือในวิชา หรือจรณะนั้นไม่ดี อายาจนสูตร พุทธบริษัทควรปรารถนาให้เป็นเหมือนบุคคลตัวอย่างที่ยกมา
- “ให้เราเข้าใจว่าตัวเราเป็นประเภทไหน จะได้ไปได้” ภิกขุนีสูตรท่านพระอานนท์ชี้ให้เห็นว่ากายนี้อาศัยอาหาร ตัณหา มานะ เมถุนจึงเกิดขึ้น ถ้าละได้จะบรรลุธรรมขั้นสูง ในสุคตวินยสูตรกล่าวถึงสิ่งที่จะทำให้พระสัทธรรมดำรงอยู่ได้ด้วยการรักษาเหตุ 4 ประการ คือ เล่าเรียนถูกต้องทั้งแม่บทและอรรถะ เป็นผู้ว่าว่าย พหูสูตรถ่ายทอดให้สืบต่อ เถระเป็นตัวอย่างที่ดี จบอินทริยวรรค ปฏิปทาวรรค ปฏิปทา คือ วิธีการปฏิบัติ ในสังขิตตสูตร วิตถารสูตร และอสุภสูตร มีหัวข้อเดียวกันแต่อธิบายลึกต่างกัน พูดถึงปฏิปทา 4 แบบโดยการนำตัวแปร คือ การปฏิบัติลำบากหรือสบายมาจับคู่กับการบรรลุเร็วหรือช้า ทุกขาปฏิปทาในกระบวนการปฏิบัติจะเจอความทุกข์ เพราะมีราคะโทสะโมหะกล้าจึงยากในการเข้าสมาธิ ให้เห็นความทุกข์ความไม่น่ายินดีในราคะโทสะโมหะนั้น ส่วนสุขาปฏิปทาในกระบวนการจะเจอความสุข เพราะความที่มีราคะโทสะโมหะเบาบางจึงเข้าสมาธิได้ง่าย มีสุข เห็นความสงบนั้น การเข้าใจว่าตัวเราเป็นประเภทไหนจะช่วยให้พัฒนาไปได้ การบรรลุเร็วหรือช้าขึ้นกับความแก่กล้าของอินทรีย์ 5 และกำลังของเสกขพล เสกขพลจะเป็นฐานพัฒนาให้อินทรีย์แก่กล้าได้ ในปฐม และทุติยขมสูตร พูดถึงปฏิปทา 4 แบบ คือ ไม่อดทน อดทน ข่มใจ และระงับ อุภยสูตรเปรียบเทียบความประณีต หรือหยาบจากข้อปฏิบัติ และรู้ได้เร็วช้า โมคคัลลานสูตร[...]
- “สัตว์ผู้จะกล่าวอ้างว่า ตนเองไม่มีโรคทางใจตลอดระยะเวลาแม้ครู่เดียว หาได้โดยยาก ยกเว้นท่านผู้หมดกิเลสแล้ว” วันอาสาฬหบูชาเป็นวันที่มีองค์ประกอบครบ คือ พุทธะ ธัมมะ สังฆะ นี่คือ การนำเสนอความรู้ใหม่ คือ ทางสายกลาง ทางที่จะนำไปสู่นิพพาน เริ่มจากทรงแสดงธัมมจักกัปปวัตตนสูตร ความรู้ในอริยสัจ 4 สัจจญาณ กิจจญาณ และกตญาณ แล้วต่อด้วยอนัตตลักขณสูตรให้เห็นถึงความไม่เที่ยงเป็นทุกข์เป็นอนัตตาของขันธ์ทั้ง 5 ย้อนกลับไปที่ข้อ 125 - 126 ปฐมเมตตาสูตร คือ กำลังฌานของพรหมวิหาร 4 ทำให้มีอายุ และชั้นพรหมที่แตกต่างกันเรียงไป ในชั้นนี้ปุถุชนและอริยบุคคลอาจอยู่ปะปนกันได้ แต่ที่ไปจะแตกต่างกัน ส่วนในทุติยเมตตาสูตรบุคคลที่พิจารณาเห็นความไม่เที่ยงด้วยจิตแบบพรหมวิหารเมื่อตายไปย่อมเป็นอนาคามีในชั้นสุทธาวาส กัปปสูตร ความยาวนานของอสงไขย 4 ประเภท ทำให้เห็นถึงความทุกข์ที่เราได้พบมาตลอดกาลอันยาวนาน ไม่ควรกลับไปวนในความทุกข์อีก โรคสูตร โรคทางกายอาจไม่ป่วยเลยมีอยู่ แต่คนธรรมดาที่จะไม่ป่วยใจย่อมไม่มีแม้ในขณะจิตเดียว ดั่งโรคของนักบวช โรคนั้น คือ กิเลส ปริหานิสูตร ธรรมที่เป็นเหตุเสื่อม คือ มีราคะ โทสะ โมหะมาก และไม่มีปัญญาจักษุในเรื่องควรไม่ควร
- “บรรดาแสงสว่าง 4 ประการนี้ แสงสว่างแห่งปัญญาเป็นเลิศ” อาภาสูตร ปภาสูตร อาโลกสูตร โอภาสสูตรและปัชโชตสูตร ไส้ในเหมือนกัน ต่างกันที่หัวข้อ ในความสว่าง 4 อย่าง คือ ดวงจันทร์ ดวงอาทิตย์ ไฟ และปัญญา ความสว่างเสมอด้วยปัญญา ไม่มี เพราะปัญญาทำให้เห็นทางไปสู่นิพพานจากการปฏิบัติตามมรรค 8 ปฐม/ทุติยกาลสูตร กาล คือ เวลา คือ ความเหมาะสมที่เมื่อทำอย่างต่อเนื่องหมุนวนไปจะทำให้สิ้นอาสวะได้ คือ ฟังธรรม สนทนาธรรม สงบใจ และเห็นแจ้งตามกาล ทุจจริตสูตรและสุจริตสูตรเป็นเรื่องวาจา สารสูตร:สารธรรม หมายถึง แก่นสาร เพราะการยังคงมีอยู่ของศีล สมาธิ ปัญญา และวิมุต เราจึงไม่ร้อนใจ ความเบียดเบียนมีแต่พอทนได้ นิพพานยังมี จบอาภาวรรค เริ่มอินทริยวรรค เราจะทำตามศีล สมาธิ ปัญญาได้ก็ต้องมีอินทรีย์ และพละ ในอินทริยสูตร สัทธาพลสูตร ปัญญาพลสูตร สติพลสูตร ปฏิสังขานพลสูตร คือ[...]
- 6 ขุดเพชรในพระไตรปิฏก“บุคคลบางคนในโลกนี้อาศัยเสนาสนะเงียบสงัด คือป่าโปร่งและป่าทึบ และเธอตรึกถึงเนกขัมมวิตกบเาง อพยาบาทวิตกบ้าง อวิหิงสาวิตกบ้าง บุคคลผู้มีกายออกและจิตออก เป็นอย่างนี้แล” ปุคคลวรรคหมวดว่าด้วยบุคคล ในสังโยชนสูตรมีตัวแปร 3 อย่างที่ละแล้วจะได้บุคคลสี่ประเภท คือ การละสังโยชน์เบื้องต่ำ 5 อย่าง ละปัจจัยแห่งการเกิด และละการได้แห่งภพ สองอย่างหลัง คือ อนาคามี ที่ยังต้องไปเกิดเป็นพรหมกับที่จะปรินิพพานในชาตินั้น ส่วนอันแรก คือ ตั้งแต่สกิทาคามีลงมา ปฏิภานสูตรตัวแปร คือ การตอบถูกต้องหรือไม่ถูกต้อง คู่กับตอบได้รวดเร็วหรือไม่รวดเร็ว อุคฆฏิตัญญูสูตรแบ่งตามความเข้าใจตั้งแต่เฉียบพลัน ต้องขยายความ พอแนะนำได้ด้วยกัลยาณมิตร และทรงจำได้หมดแต่ไม่อาจบรรลุ อุฎฐานผลสูตรเอาผล คือ ความขยันหมั่นเพียรสิ่งที่ทำในปัจจุบันนี้มาคู่กับกรรม คือ สิ่งที่ทำมาในกาลก่อนทำให้บุคคลแตกต่างกัน สาวัชชสูตรเอาโทษเป็นตัวแปรแบ่งตามความมากน้อยของกายวาจาใจที่เป็นทุจริต ปฐมสีลสูตร และทุติยสีลสูตรนำศีล สมาธิ ปัญญา แบ่งตามความบริบูรณ์ และแบ่งตามความเป็นใหญ่ในข้อนั้น ๆ นิกกัฏฐสูตรแบ่งตามการออกหรือไม่ออกของจิตกับกาย ออก คือ กายวิเวกจิตตวิเวก ไม่ออกก็ตรงข้ามกัน ที่น่าสนใจ คือ การที่จะให้เกิดจิตตวิเวกได้การที่มีกายวิเวกนำมาก่อนจะช่วยได้ จึงต้องมีการฝึก เมื่อทำได้แล้วก็สามารถอยู่ได้สบายทุกที่ ธัมมกถิกสูตร คือ[...]
- 6 ขุดเพชรในพระไตรปิฏก“…นี้แลเป็นความแปลกกัน เป็นความแตกต่างกัน เป็นเหตุทำให้ต่างกันระหว่างอริยสาวกผู้ได้สดับกับปุถุชนผู้ไม่ได้สดับ เมื่อคติ และอุบัติยังมีอยู่” ในอัตตานุวาทสูตรประเด็นที่น่าสนใจ คือ เราต้องรู้จักเตือนตนด้วยตน จึงจะมีคุณสมบัติที่จะอยู่คนเดียวได้ อูมิภยสูตร ภัยสี่ประการที่ผู้จะข้ามฝั่งแห่งภพต้องพบ คลื่น คือ ความคับแค้นใจจากคำตักเตือน จระเข้ คือ ลิ้น น้ำวน คือ กาม ปลาร้าย คือ เพศตรงข้าม ปฐม/ทุติยนานากรณสูตร คือ ความแตกต่างในจุดที่ไประหว่างปุถุชนกับอริยบุคคล ที่ถึงแม้ได้ฌานสมาธิในขั้นเดียวกัน ปุถุชนผู้ติดในสมาธิเมื่อหมดอายุจากพรหมก็ยังอาจไปทุคติได้ ส่วนอริยบุคคลจะปรินิพพานในชั้นนั้น นั่นเพราะเห็นความไม่เที่ยงในขันธ์ทั้ง 5 ปฐม/ทุติยตถาคตอัจฉริยสูตร ความอัศจรรย์ของการปรากฏขึ้นของพระพุทธเจ้า ตั้งแต่การก้าวลงสู่ครรภ์ ประสูติ ตรัสรู้ และประกาศธรรมจักร รวมถึงการยอมเงี่ยโสตลงฟังธรรมจากบุคคลที่ยังยินดีในกาม ติดมานะ ยินดีในความไม่สงบ มืดบอดด้วยอวิชชา อานันทอัจฉริยสูตรและจักวัตติอัจฉริยสูตร กล่าวถึงคุณสมบัติพระอานนท์ผู้เป็นที่รักแห่งมหาชน จบภยวรรค (ข้อที่125-126จะพูดในตอนถัดไป)
- ฐานสูตรจับคู่สิ่งที่ไม่น่าพอใจหรือน่าพอใจ กับทำแล้วเป็นประโยชน์หรือฉิบหาย บัณฑิตจะทราบว่า 2 ส่วนควรทำหรือไม่ควรทำ ดูที่ประโยชน์หรือโทษเป็นเกณท์ ในขณะที่คนพาลจะมองได้ไม่ขาดทะลุ ตรงนี้อยู่ที่กำลังจิต เปรียบได้เหมือนการเลือกดื่มน้ำมูตร หรือน้ำหวานพิษ หรือประโยชน์ที่จะได้รับในเวลาต่อมา อัปปมาทสูตรเมื่อรู้ 4 ข้อนี้จะไม่เกรงกลัวต่อความตายที่จะมาถึง คือ ละกายวาจาใจทิฏฐิในทางทุจริต และเจริญกายวาจาใจทิฏฐิในทางสุจริต ไม่กลัวเพราะมีการตั้งตนไว้ในความไม่ประมาทในธรรม 4 ข้อนี้นั่นเอง อารักขสูตรเมื่อมีธรรมนี้แล้วจะไม่เป็นผู้หวั่นไหวสะดุ้งสะเทือนไปตามมงคลตื่นข่าว กล่าวคือ ไม่กำหนัด ไม่ขัดเคือง ไม่หลง ไม่มัวเมาในธรรมที่เป็นเหตุนั้น ๆ เป็นการเบรคจิตด้วยสติได้อย่างน้อยเป็นโสดาบัน สังเวชนียสูตรคนที่มีศรัทธาเมื่อได้ไปสี่สถานที่นี้แล้วควรเกิดความสังเวช สังเวชในการที่จะต้องรีบกระทำอย่างใดอย่างหนึ่งขึ้นมาอย่างเร่งด่วนให้เกดความเปลี่ยนแปลง โดยเร่งทำความเพียรตามมรรคแปด ปฐมภยสูตรภัยภายในเป็นภัยที่ช่วยกันไม่ได้ ทุติภยสูตรภัยภายนอกที่อาจยังช่วยกันได้ จบเกสิวรรค เริ่มภยวรรคหมวดว่าด้วยภัย อัตตานวาทสูตรภัย 4 ประการที่ถ้าเรามีหิริโอตัปปะแล้ว ก็ไม่ต้องกลัวภัยเหล่านี้เลย
- มุสิกสูตรเปรียบการรู้อริยสัจ 4 กับหนูแล้วก็รู ขุด คือ เล่าเรียนอริยสัจตามตำรา อยู่ คือ รู้อริยสัจปฏิบัติรู้เห็นได้ด้วยตน ประเด็นที่น่าสนใจ คือ ไม่ขุดแต่อยู่ ไม่เรียนแต่รู้ แสดงให้เห็นว่าในธรรมะนี้การปฏิบัติสำคัญที่สุด ในพลิวัททสูตรเปรียบโคที่ชอบข่มเหง หรือไม่ข่มเหงต่อฝูงของตน หรือฝูงตัวอื่น คือ การทำให้กลุ่มชนหวาดกลัว หรือไม่หวาดกลัวนั่นเอง รุกขสูตรเปรียบคนกับต้นไม้เนื้ออ่อนและแข็ง มีแก่น คือ คนมีศีล ไม่มีแก่น คือ คนกลวงไม่มีศีล เราเป็นคนประเภทไหน และแวดล้อมด้วยไม้ชนิดใด อาสีวิสสูตรเอาประเภทของพิษมาเป็นตัวแบ่ง พิษแล่น คือ ซึมซาบได้เร็วหรือช้า เปรียบดั่งความโกรธง่ายหรือยาก พิษร้าย คือ พิษร้ายมากน้อย เปรียบดั่งความคงอยู่ของความโกรธว่าหายเร็วหรือช้า จบวลาหกวรรค เริ่มเกสิวรรค เกสิสูตรเปรียบเทียบขั้นตอนของการฝึกม้าจากนายเกสิกับการฝึกสาวกของพระพุทธเจ้ามีขั้นตอนเหมือนกัน ที่น่าสนใจ คือ ม้าหรือบุคคลที่ฝึกไม่ได้มีการฆ่าที่แตกต่างกัน การฆ่าในธรรมวินัยนี้ คือ การไม่บอกสอนหรือเห็นว่าบุคคลนี้ไม่สามารถบอกสอนได้อีกต่อไป ไม่ใช่การหมายเอาชีวิต เพราะการฝึกนี้ไม่ใช้ทั้งอาชญาและศาสตรา ให้ย้อนกลับมาดูว่าเราพัฒนาแก้ปัญหาในกลุ่มคนอย่างไร ใช้ธรรมะล้วน ๆ หรือไม่ และการฆ่าไม่ใช่ไม่บอกสอนตลอดไปแค่พักรอจังหวะ เพราะคนเราเปลี่ยนแปลงได้[...]
- ฉวาลาตสูตร ราควินยสูตร ขิปปนิสันติสูตร อัตตหิตสูตร และสิกขาปทสูตรมีหัวข้อเหมือนกัน แต่ต่างกันใน 5 นัยยะ เหมือนกันตรงที่แบ่งบุคคลตามการปฏิบัติหรือไม่ปฏิบัติ เพื่อตนเองหรือเพื่อผู้อื่นมาจับคู่กัน ความประณีตไล่ไปตามลำดับ นัยยะที่ 1 ฉวาลาตสูตรเปรียบบุคคลที่ไม่ปฏิบัติเพื่อใครเลย เป็นเหมือนไม้ที่ตรงกลางเปื้อนอุจจาระ ปลายทั้งสองข้างลุกเป็นไฟหาค่าไม่ได้ ในขณะที่บุคคลที่ปฏิบัติเพื่อตนเองและผู้อื่น ดุจดั่งรสที่ได้จากวัวนม จนได้ยอดเนยใสในที่สุด นัยยะที่ 2 ราควินยสูตรมีตัวแปร คือ ราคะ โทสะ โมหะ จะเห็นว่าแม้คนที่มือถือสากปากถือศีล ก็ยังนับว่าเป็นคนดี เพราะอย่างน้อยก็พูดดี แม้จะทำเองยังไม่ได้ก็ตาม เขาสามารถพัฒนาให้ดีขึ้นได้ นัยยะที่ 3 ขิปปนิสันติสูตร แบ่งเป็น 2 ส่วน คือ ตรัสรู้นี้เพื่อตัวเอง และบอกสอนนี้เพื่อผู้อื่น เป็นการปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม นัยยะที่ 4 อัตตหิตสูตรมีแต่หัวข้อ นัยยะที่ 5 สิกขาปทสูตรเอาศีล 5 มาเป็นตัวแปร ซึ่งจะเป็นคนละมุมกับราควินยสูตร ในโปตลิยสูตรบุคคลที่ติเตียน หรือสรรเสริญตามกาลอันควรจึงจะประเสริฐสุด ไม่ใช่บุคคลที่อุเบกขาไปซะหมด จบอสุรวรรค เริ่มวลาหกวรรค[...]
- ปุตตสูตร สังโยชนสูตร สัมมาทิฏฐิสูตรและขันธสูตร เป็นการแบ่งบุคคล 4 จำพวกที่ปรากฏอยู่ในโลก มีหัวข้อเหมือนกันแต่มี 5 นัยยะต่างกัน ในสังโยชนสูตรแบ่งตามสังโยชน์ที่ละได้ ไล่ไปตามอริยบุคคลแต่ละขั้น ส่วนที่เหลือเป็นพระอรหันต์ตั้งแต่ข้อที่ 2 ต่างกันตรงที่ได้วิโมกข์ 8 หรือไม่ ที่น่าสนใจ คือ สมณะผู้ละเอียดอ่อนกว่าในหมู่สมณะ ซึ่งหมายถึงพระพุทธเจ้านั่นเอง ละเอียดอ่อนในด้านปัจจัย 4 มีสุขภาพดี ได้ฌาน 4 และเป็นอรหันต์ จบมจลวรรค เริ่มอสุรวรรค อสุรสูตรเป็นการจับคู่ระหว่างเจ้านายลูกน้อง ที่มีความเป็นอสูร หรือเทวดา ที่น่าสนใจ คือ ไม่ว่าเราเป็นอะไร เราสามารถปรับปรุงให้ดีขึ้นได้ ในปฐม/ทุติยและตติยสมาธิสูตร คือ การมีหรือไม่มีของสมถะ และวิปัสสนา ประเด็น คือ เอาที่ได้ก่อนแล้วค่อยพัฒนาเพิ่มเติมในส่วนที่ขาด โดยการเข้าไปหาผู้ที่มีในส่วนนั้น ถ้าขาดปัญญาให้เข้าไปถามคำถาม 3 ข้อ ถ้าขาดสมถะให้ถามคำถาม 4 ข้อ ถ้าขาดทั้งสมถะวิปัสสนา ให้รีบเร่งความเพียรดุจไฟไหม้บนศรีษะ แต่ถ้ามีครบทั้งสองอย่าง ก็ให้ตั้งอยู่ในกุศลธรรมนี้ต่อไป ในลักษณะที่จะกำจัดอาสวะได้ สมถะวิปัสสนาต้องปรับให้เข้ากันเหมือนการสนเข็ม[...]
- ในทักขิณสูตรผลของการให้ทานที่จะให้ผลมากหรือน้อย ขึ้นอยู่กับความบริสุทธิ์ทั้งผู้ให้ และผู้รับ บริสุทธิ์ทั้งสองฝ่ายจึงจะดี นอกนั้น จะมีความเศร้าหมอง ในวณิชชสูตรการค้าขายจะขาดทุนหรือได้กำไรมากน้อย ขึ้นอยู่กับการปฏิบัติตามที่ได้ปวารณาไว้หรือไม่ แต่ทั้งนี้อย่ากลัว เพราะสามในสี่ข้อได้กำไร ดังนั้น แม้น้อยก็ควรทำ เป็นช่องบุญ กัมโพชสูตรคุณสมบัติของสตรีที่ไม่ควรเป็นใหญ่ จบอปัณณกวรรค เริ่มมจลวรรค ปาณาติปาตสูตรและมุสาวาทสูตรเป็นเรื่องของศีล ที่จะแยกบุคคลไปสวรรค์หรือนรก อวัณณรหสูตรการกล่าวสรรเสริญ หรือติเตียน หรือการเลื่อมใสไม่เลื่อมใส ที่ไม่ถูกจะพาไปนรกได้ โกธครุสูตรถ้าเราเห็นแก่ธรรมะความมักโกรธมักลบหลู่ เห็นแก่ลาภ เห็นแก่สักการะย่อมไม่เกิดขึ้น ในตโตมสูตรและโอณโตณตสูตรเกี่ยวกับการมา การไป มืดสว่าง สูงต่ำ มาคือเกิดมา ไปคือตายไป จะไปที่ไหนหรือเกิดมาอย่างไรอยู่ที่การสร้างเหตุ เพราะเกิดมาไม่สำคัญเท่าจะไปอย่างไร จะไปอย่างไร ยังไม่สำคัญเท่าตอนนี้คุณทำอะไร
- 6 ขุดเพชรในพระไตรปิฏกเริ่มอปัณณกวรรคว่าด้วยข้อปฏิบัติที่ไม่ผิด และเป็นเหตุความสิ้นอาสวะ ดั่งในปธานสูตร และในสัมมาทิฏฐิสูตรการมีปัญญาทำให้รู้ว่าอะไรดีไม่ดี จึงเป็นสุดยอดสำคัญ ในสัปปุริสสูตรเรื่องคำเกี่ยวกับข้อเสียข้อดีของคนอื่นและตัวเราเอง ในมุมของคนดีและไม่ดี ควรทำจิตเสมอหญิงสะใภ้ใหม่ผู้มาแล้วไม่นาน ปฐมและทุติยอัคคสูตรว่าด้วยธรรมอันเลิศ ปฐมอัคคสูตรหมายถึง มรรค 8 ส่วนทุติยอัคคสูตร รูป คือ รูปฌาน เวทนา คือ สงบระงับ สัญญา คือ ขั้นอรูป ภพ คือ นิพพาน กุสินารสูตรพระพุทธเจ้าถามภิกษุก่อนปรินิพพานว่ามีข้อสงสัยเคลือบแคลงในพุทธะธรรมะสังฆะ มรรค หรือข้อปฏิบัติใดหรือไม่ ตรงนี้เชิญชวนหาธรรมะ 4 ข้อให้เจอ และในอจินเตยยสูตรเป็นเรื่องที่ไม่ควรคิด 4 ประการ อจินไตยไม่ใช่ว่าไม่ให้เชื่อ แต่ไม่ควรคิด เพราะคิดแล้วจะบ้า เป็นเรื่องของปัญญา ให้มีศรัทธา
- 6 ขุดเพชรในพระไตรปิฏกในรูปสูตรคนเราจะเลือกเลื่อมใสใครมาจากเหตุ 4 อย่างนี้ คือ รูป เสียง ความเศร้าหมอง และธรรมะ แต่ไม่ควรจะตัดสินใจจากสิ่งที่เห็นภายนอกเพียงอย่างเดียว ดูให้รู้ถึงคุณธรรมภายในด้วย สารคสูตรบุคคลที่มีราคะ โทสะ โมหะ มานะนับว่าไม่ดี เมื่อเป็นอริยบุคคลแม้ขั้นโสดาบันสิ่งเหล่านี้ก็จะเบาบางลง อหิราชสูตรเกี่ยวกับการแผ่เมตตาให้ 4 ตระกูลของพญางูเพื่อความอยู่เป็นสุข เทวทัตสูตรชี้ให้เห็นถึงลาภสักการะที่เกิดขึ้นนั้นฆ่าตัวพระเทวทัตเอง มาจากกิเลสในใจ ดุจการเกิดขึ้นของขุยไผ่ฆ่าต้นไผ่ ปลีกล้วยฆ่าต้นกล้วย ลูกม้าอาชาไนยฆ่าแม่ม้าอัสดร และดอกอ้อฆ่าต้นอ้อ ควรรักษาตนไม่ให้มีรอยแผลที่จะถูกตำหนิได้ และการเสพสุขโดยธรรมสามารถทำได้ ปธานสูตรว่าด้วยความเพียร 4 ประการ คือ สำรวม ละ เจริญ และรักษา อธัมมิกสูตรธรรม 4 ข้อที่จะเกิดจากเหตุ 13 ประการของผู้ที่ตั้ง และไม่ตั้งอยู่ในธรรม
- 6 ขุดเพชรในพระไตรปิฏกเริ่มปัตตกัมมวรรค ในปัตตกัมมสูตรว่าด้วยกรรมอันสมควร กล่าวถึงธรรม 4 ประการที่ใคร ๆ ก็ปรารถนา ทั้งหาได้ยากในโลก คือ เงิน ทอง ยศ สุขภาพ และตายแล้วได้ไปสวรรค์ สิ่งที่จะทำให้ได้มาก็ด้วยการมีสัมปทา 4 คือ ศรัทธา ศีล จาคะ ปัญญา ปัญญาในที่นี้หมายถึง นิวรณ์ นิวรณ์จะทำให้ไม่ละในสิ่งที่ควรละ ไม่ทำในสิ่งที่ควรทำ จนทำให้การงานไม่เกิดผล จิตที่ไม่มีนิวรณ์จะแจ่มใสรู้แนวทางที่จะไป ที่ควรระวัง คือ พอเกิดธรรมที่ใครก็ปรารถนาได้แล้ว แต่เกิดลุ่มหลงไปจะทำให้ปัญญาสัมปทาหายไปทันทีเช่นกัน ดังนั้น พระพุทธเจ้าจึงให้ใช้ทรัพย์นั้นไปใน 4 หน้าที่ จึงจะถือว่าเป็นกรรมอันสมควร ในอนัณยสูตรเกี่ยวกับความสุข 4 ประการย่อมเกิดแก่คฤหัสถ์ตามกาลอันควร คือ สุขจากการมีทรัพย์ สุขจากการใช้จ่ายทรัพย์ สุขจากการไม่มีหนี้ และสุขจากความประพฤติที่ไม่มีโทษ สุขข้อสุดท้ายที่แม้แบ่งถึง 16 ส่วน ส่วนเดียวใน 16 นี้ยังมีค่ามากกว่าสุขใน 3 ข้อแรกรวมกัน เพราะความสุขที่อยู่ในศีลธรรม จะทำให้ไปสุคติได้แม้จะไร้สุขอย่างอื่น ดังนั้น[...]
- 6 ขุดเพชรในพระไตรปิฏกในปฐมและทุติยสังวาสสูตรว่าด้วยการอยู่ร่วมกันระหว่างสามีภรรยา เปรียบเทียบกับความเป็นผีและเทวดาใน 2 นัยยะ นัยยะแรกผี คือ การผิดศีลมีความตระหนี่ติเตียนสมณพราหมณ์ นัยยะที่สองความเป็นผีดูที่อกุศลธรรมบท 10 แบ่งเป็นทางกาย 3 วาจา 4 ใจ 3 ให้พิจารณาว่าทุกคนมีส่วนดีส่วนเสียที่สามารถปรับให้ดีขึ้นด้วยกันได้ ปฐม/ทุติยสมชีวีสูตรสิ่งที่ทำแล้วจะทำให้ชีวิตคู่ไปได้ดีทั้งในชาตินี้ และสมปรารถนาที่จะพบกันในชาติหน้า นั่นคือ ศรัทธา ศีล จาคะ และปัญญา ในสุปปวาสสูตร สุทัตตสูตร และโภชนสูตรเกี่ยวกับอานิสงส์จากการถวายอาหารแด่ผู้ปฏิบัติดี เมื่อปรารถนาให้ผู้รับมีอายุ วรรณะ สุขะ พละ ผู้ให้ก็จะได้รับกลับมาเช่นกัน ที่น่าสนใจคือ อายุ หมายถึง การเจริญอิทธิบาท 4 วรรณะ หมายถึง ศีล สุขะ คือ ฌาน พละ คือ พลังจิตในการตัดอาสวะ ในคิหิสามีจิสูตรว่าด้วยปฏิปทาที่เหมาะแก่คฤหัสถ์เหมือนในข้อถวายอาหารแต่เพิ่มเติมมาในเรื่อง จีวร เสนาสนะ และเภสัช จบปุญญาภิสันทวรรค
- 6 ขุดเพชรในพระไตรปิฏกวิปัลลาสสูตรว่าด้วยความวิปลาส วิปลาส คือ ความคลาดเคลื่อน เพี้ยน เข้าใจผิดใน 4 สิ่ง คือ เห็นสิ่งที่ไม่เที่ยงว่าเที่ยง เห็นสิ่งที่เป็นทุกข์ว่าเป็นสุข เห็นสิ่งที่เป็นอนัตตาว่าเป็นอัตตา และเห็นสิ่งที่ไม่งามว่างาม ในแต่ละข้อมี 3 ระดับ คือ สัญญาวิปลาส จิตวิปลาส และทิฏฐิวิปลาส ทิฏฐิวิปลาสหนักสุด ในวิสาขสูตรกล่าวถึงท่านวิสาขภิกษุผู้แสดงธรรม ให้ข้อมูลปรับทิฏฐิโน้มน้าวคนให้ปฏิบัติตามได้ นั่นคือ บทพยัญชนะถูก ภาษาสละสลวย ให้รู้เนื้อความได้ และแสดงธรรมที่เกี่ยวเนื่องด้วยนิพพาน ในสุวิทูรสูตรว่าด้วยสิ่งที่อยู่ห่างไกลกันเหลือเกิน ห่างทั้งระยะทางหรือไกลกันคนละขั้วแม้ในร่างเดียว เพราะที่ไปนั้นต่างกัน อุปักกิเลสสูตรว่าด้วยสิ่งมัวหมอง ที่สามารถเกิดขึ้นได้ในผู้ที่ประพฤติพรหมจรรย์ จบปฐมปัณณาสก์ เริ่มทุติยปัณณาสก์ในปุญญาภิสันทวรรคหมวดว่าด้วยห้วงบุญกุศล ในปฐม-ทุติยปุญญาภิสันตสูตรว่าด้วยห้วงบุญที่ระลึกถึงแล้วสุขใจ ต่างกันตรงที่ระลึกถึงทานทำบุญกับพระอรหันต์ กับการระลึกถึงการมีโสตาปัตติยังคะ 4
- 6 ขุดเพชรในพระไตรปิฏกในโรหิตัสสูตร เป็นคำถามของโรหิตัสสเทพบุตร ถึงการเดินทางอย่างไรก็ไม่ไปถึงที่สุดในโลก พระพุทธเจ้าตรัสตอบความหมายของโลกที่ไปถึงในนัยยะของอริยสัจ 4 ที่มีอยู่ในกายนี้นี่เอง โลก คือ ทุกข์ มีทั้งการเกิด การดับ และทางให้ถึงความดับแห่งโลก ในสมาธิภาวนาสูตรว่าด้วยสมาธิ 4 ประเภท คือ การอยู่เป็นสุขในปัจจุบัน คือ ฌานทั้ง 4, เพื่อเกิดญาณทัสสนะ คือ การกำหนดจิตให้มีแสงสว่าง, เกิดสติสัมปชัญญะ รู้แจ้งในสิ่งที่เกิด ตั้งอยู่ ดับไป เหมือนดูคนเดินเข้าออก และเพื่อสิ้นอาสวะ เห็นความเสื่อมแม้ยังไม่เสื่อม ในปัญหพยากรณสูตรวิธีการตอบปัญหา 4 แบบที่แตกต่างกันตามลักษณะของผู้ถาม และในปฐม/ทุติยโกธคุรุสูตรเป็นการกล่าวถึงบุคคล 4 ประเภท และคุณธัมม์ 4 อย่างที่เมื่อมีแล้วเปรียบเหมือนการหว่านพืชลงในนาที่ไม่ดี
- 6 ขุดเพชรในพระไตรปิฏกอปริหานิยสูตรว่าด้วยการทำเหตุแห่งธรรมะ 4 ข้อแล้วจะได้ผล คือ ความไม่เสื่อมของสมถะวิปัสสนา 4 ข้อ คือ ศีล สำรวมอินทรีย์ รู้ประมาณในการบริโภค และประกอบความเพียรอันเป็นเครื่องตื่นอยู่เป็นประจำ จะเห็นได้ว่าสามข้อหลัง ก็คือ ศีลที่เป็นไปเพื่อสมาธินั่นเอง ในปฏิลีนสูตรการมีธรรมะ 4 ข้อที่สามารถทำให้เป็นพุทธะได้เลย คือ ปัจเจกสัจจะ การเห็นว่าสิ่งนี้เท่านั้นจริงสิ่งอืนเปล่าต้องลดลง การแสวงหากาม ภพ พรหมจรรย์ต้องละได้ กายสังขารระงับ และการหลีกเร้น ในโทณสูตรว่าด้วยความเลื่อมใสของโทณพราหมณ์ ผู้ที่จะมาเป็นผู้แบ่งพระธาตุ และในสองพระสูตรสุดท้ายเกี่ยวกับการบูชายัญในความหมายของพุทธะ จบจักกวรรค
- 6 ขุดเพชรในพระไตรปิฏกเริ่มจักกวรรค ในจักกสูตร คือ การทำวนไปในธรรม 4 ข้อนี้แล้ว จะร่ำรวยถึงความเป็นใหญ่ นั่นคือ การอยู่ในพื้นที่ดี การคบคนดี การตั้งตนในธรรม และเป็นผู้ที่ได้ทำความดีไว้ก่อนแล้ว ในสังคหสูตรก็คือ สังคหวัตถุ 4 คือ ธรรมเครื่องยึดเหนี่ยวให้เป็นไปในเรื่องเดียวกัน เกื้อหนุนกัน เป็นกลุ่มก้อน แต่ไม่ใช่ยึดถือ คนที่มี 4 ข้อนี้ จะเป็นเหมือนแม่เหล็กดึงดูดให้คนเข้ามา คือ การให้ ปิยวาจา ประพฤติประโยชน์ การวางตนเสมอกัน คือ ร่วมทุกข์ร่วมสุข สีหสูตรเปรียบลีลาของราชสีห์กับการบันลือสีหนาทของพระพุทธเจ้า ในเรื่องสักกายะ หรืออริยสัจ 4 การบันลือสีหนาทนี้ ทำให้เทวดาสะดุ้งสลดสังเวชใจ ในอัคคัปปสาทสูตรกล่าวถึงความเลื่อมใสในสิ่งที่เลิศ ย่อมให้วิบากที่เลิศ และในวัสสการสูตรจะเห็นถึงความแตกต่างคำจัดความของมหาบุรุษระหว่างวัสสการพราหมณ์และพระพุทธเจ้า ที่เมื่อได้ฟังแล้ววัสสการพราหมณ์ต้องยอมจำนน
- กุหสูตรเกี่ยวกับภิกษุที่มีคุณสมบัติ 4 อย่างเหล่านี้นับว่าห่างไกลจากธรรมวินัยนี้ ไม่มีความเจริญงอกงาม คือ ชอบหลอกลวง กระด้าง ประจบ ชอบวางท่าอวดดี มีจิตไม่ตั้งมั่น ในสันตุฏฐิสูตรว่าด้วยความสันโดษในปัจจัย 4 คือ มีค่าน้อย หาได้ง่าย ไม่มีโทษ เมื่อทำประจำนับว่าเป็นธุดงควัตร สามารถไปไหนก็ได้เหมือนนกมีปีก ความเป็นอยู่แบบนี้สบายเหมาะแก่ความเป็นสมณะ สันโดษ คือ พอใจตามมีตามได้แต่ไม่ใช่ขี้เกียจ สันโดษป้องกันจิตไม่ให้ติดกับดักของความอยาก ให้ตั้งไว้ในอิทธิบาท 4 สามารถมีเป้าหมายได้ ส่วนมักน้อยหมายความว่าไม่ต้องการให้คนอื่นรู้ว่าเรามีดีอะไร ในอริยวังสสูตรเอาปัจจัย 4 เป็นตัวแปรแล้วกล่าวสรรเสริญ ไม่แสวงหาด้วยเหตุอันไม่ควร ไม่ยกตนข่มท่าน เพราะเหตุความสันโดษนั้น ในธัมปทสูตรว่าด้วยธรรม 4 ข้อที่ทำให้เป็นอริยวงศ์ คือ ความไม่เพ่งเล็ง ไม่พยาบาท มีสัมมาสติ มีสัมมาสมาธิ ซึ่งก็มาจากข้อภาวนานั่นเองเป็นเรื่องของทางใจ และในปริพพาชกสูตรเมื่อมีคุณสมบัติความเป็นอริยวงศ์นั้นจะไม่มีใครคัดค้านได้ เป็นของเก่า ไม่ถูกลบล้าง จบอุรุเวลวรรค
- จตุกกนิบาตเริ่มอุรุเวลวรรคข้อที่ 21 - 25 ในปฐมอุรุเวลสูตรเป็นการรำพึงของพระพุทธเจ้าหลังตรัสรู้ว่า ควรเคารพยำเกรงในสมณะ หรือพราหมณ์เหล่าใดหรือไม่ เพราะผู้ไม่เคารพไม่ยำเกรงสิ่งใดย่อมเป็นทุกข์ เมื่อใคร่ครวญแล้ว ไม่พบว่าสมณะใดมีความบริบูรณ์เท่า จึงดำริที่จะเคารพในธรรมที่ตรัสรู้ และเคารพในสงฆ์ที่มีคุณอันใหญ่ด้วย ท้าวสหมบดีพรหมที่คนยกย่องว่าเป็นผู้สร้างก็ยังเคารพธรรมนั้น ในข้อนี้จะเห็นว่า การเอาเป็นที่เคารพนั้นมีความต่างกับการยึดติดยึดถือ เพราะถ้ายึดถือ ทุกข์จะอยู่ตรงนั้น ทำให้เสียหลักได้ ในทุติยอุรุเวลสูตรพระพุทธเจ้าตอบพราหมณ์ว่า อย่างไรจึงเรียกว่าเถระ เถระไม่ได้ดูจากอายุเท่านั้น ธรรมที่ทำให้ชื่อว่าเถระมาจาก การมีศีล เป็นพหูสูตร ได้ฌานทั้ง 4 และเป็นอรหันต์ ตรงนี้ทำให้พุทธองค์เห็นว่า ธรรมนี้ยากที่สัตว์โลกจะรู้ตาม จึงขวนขวายน้อย ท้าวสหมบดีพรหมจึงมากล่าวอาราธนาให้แสดงธรรม ในโลกสูตร 4 นัยยะแห่งการเรียกว่า "ตถาคต" คือ 1. รอบรู้เรื่องโลก ในนัยยะของอริยสัจ 4 2. คำสอนตั้งแต่ตรัสรู้จนปรินิพพานล้วนลงกัน 3. กล่าวอย่างไรทำอย่างนั้น ทำอย่างไรกล่าวอย่างนั้น 4. เป็นผู้ยิ่งใหญ่ไม่มีใครข่มเหงได้ในโลก ในกาฬการมสูตรความเป็นผู้คงที่ของพระพุทธเจ้านั้นปราณีตมาก ความไม่สำคัญไปใน 4 สถานะเท่ากับไม่สะดุ้งสะเทือนไปตามสิ่งที่รู้ คือ สักแต่ว่ารู้ จึงเหนือโลก และในพรหมจริยสูตรจะเห็นถึงคำสอนนี้เป็นไปเพื่อสำรวมระวัง เพื่อละ เพื่อคลายกำหนัด[...]
- ปัญญัตติสูตรเป็นการบัญญัติ 4 สิ่งที่มีความเป็นเลิศในส่วนของตน นั่นคือ พระราหูผู้มีอัตภาพใหญ่สุดในบรรดาสัตว์ พระเจ้ามันธาตุเลิศที่สุดในผู้เสพกาม เพราะสามารถเสพกามที่เป็นทั้งของมนุษย์ และสวรรค์ ทั้งยังไม่มีความอิ่มในกามนั้น มารบุคคลผู้ยิ่งใหญ่เป็นผู้ครองโลก เพราะควบคุมผู้อื่นไว้ด้วยกาม และพระพุทธเจ้าผู้เป็นเลิศในโลก เพราะอยู่เหนือกิเลสได้ ในโสขุมมสูตรกล่าวถึงความละเอียดประณีต ความเชี่ยวชาญในญาณแต่ละขั้น ไล่ไปตั้งแต่รูปภพที่มีกาม อรูปภพที่มีเวทนา และสัญญา และที่ยิ่งขึ้นไปอีก คือแม้แต่สัญญาเวทนาก็ดับไป ยังคงมีแต่สังขาร นั่นคือ สมาธิขั้นสูงสุดนั่นเอง เราจะสามารถพัฒนาให้มีญาณที่ละเอียดลงไปได้ก็ด้วยการเห็นความไม่เที่ยง ความจางคลายความดับไปของสิ่งที่เราเห็นว่าเป็นสุขนั้น ถ้าเห็นโทษก็จะข้ามพ้นไปได้ ความละเอียดก็จะมากขึ้น ในปฐม / ทุติย / ตติยอคติสูตร และภัตตุทเทสกสูตรเป็นเรื่องเกี่ยวกับอคติ 4 ความลำเอียงไม่ว่าด้วย เพราะอะไรย่อมไม่ดี ความดีมันดี ฉันจึงทำดี จึงจะดี ถ้าละอคติ 4 ได้ก็ได้เป็นพระอรหันต์ จบจรวรรค
- เริ่มจรวรรค ในจรสูตร กล่าวถึง การอยู่ในอิริยาบถเดินยืนนั่งนอนแล้ว พยายามละความคิดในทางกามทางพยาบาท และเบียดเบียนออก แม้จะยังละไม่ได้ก็ได้ชื่อว่าเป็นผู้มีความเพียรไม่เกียจคร้าน เพราะฉะนั้นไม่ควรมีข้ออ้างในการทำความเพียร อยู่ในอิริยาบถใดที่ไหนก็สามารถทำได้ ในสีลสูตรว่าด้วยเรื่องของศีลสมบรูณ์ ตั้งแต่ศีล 5 จนถึงปาติโมกข์ ธรรมะทุกข้อมีศีลเป็นที่ตั้ง เมื่อศีลสมบรูณ์สิ่งที่ควรทำยิ่งขึ้น คือ การกำจัดนิวรณ์ เพื่อทำจิตให้เป็นสมาธิให้ได้ในทั้ง 4 อิริยาบท ดังนั้นในการงานก็เป็นวิหารธรรมให้จิตเป็นสมาธิได้ ไม่จำกัดอยู่ในรูปแบบเท่านั้น ใคร ๆ ก็สามารถทำได้ ฝึกได้ ในปธานสูตร สัมมัปปธาน คือ ความกล้า ความเพียรที่ทำจริงแน่วแน่จริง แบ่งเป็น 2 ฝั่ง คือ ส่วนที่เป็นกุศล ถ้ายังไม่มีควรทำให้มี ที่มีอยู่แล้วให้ทำให้เจริญ และฝ่ายอกุศลที่มีอยู่เดิมให้ละ ที่ยังไม่มีอย่าให้เข้ามา และในสังวรสูตรแบ่งเหมือนในปธานสูตร สังวรปธาน คือ การสำรวมอินทรีย์ไม่ให้อกุศลใหม่เข้ามา ปหานปธาน คือ เพียรด้วยการละ ภาวนาปธาน คือ การพัฒนาโพชฌงค์ 7 และอนุรักขนาปธาน คือ เพียรรักษาสมาธินิมิตในการเห็นอสุภสัญญา เห็นอสุภแล้วยังรักษาสมาธิได้ นั่นคือรักษาได้
- 6 ขุดเพชรในพระไตรปิฏกจตุกกนิบาต ในอนุโสตสูตร กล่าวถึงการไปตามกระแสของตัณหาหรือไม่ของบุคคล 4 ประเภท คือ 1. ผู้ไปตามกระแส คือ ไปตามกามจนถึงทำบาปกรรม 2. ผู้ทวนกระแส คือ บวชแล้ว และใช้ความพยายามอย่างมาก ในการหลีกออกจากกาม ยังไม่บรรลุเป็นอริยบุคคล 3. ผู้มีภาวะตั้งมั่น หมายถึงอนาคามี 4. ผู้ข้ามพ้นฝั่ง คือ อรหันต์ ในอัปปัสสุตสูตรเอาคำว่ามีสุตะมากหรือน้อยกับการเข้าถึงหรือไม่เข้าถึงสุตะ ต่อให้คุณมีสุตะน้อย แต่ถ้ามีการปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม นั่นคือ การเข้าถึงสุตะที่แท้จริง ปริยัติปฏิบัติปฏิเวธสามารถพัฒนาให้มีเพิ่มคู่กันไปได้ ในโสภณสูตรพูดถึงบริษัท 4 แต่ละประเภทที่ไม่ว่าอยู่ที่ไหนก็สามารถทำหมู่ให้งามได้เมื่อมีคุณธรรม 5 ข้อนี้ ในเวสารัชชสูตร คือ ญาณอันเป็นเหตุให้แกล้วกล้าของพระพุทธเจ้า คือ ความมั่นใจว่าศัตรูหมดไปแล้วจริง ๆ ญาณเหล่านี้เราสามารถนำมาปรับใช้ในชีวิตได้ เพราะเมื่อมีแล้วจะไม่มีความประหม่าเกรงกลัวใด ๆ ในตัณหุปปาทสูตร คือ ความทะยานอยากในปัจจัย 4 และในโยคสูตร คือ กิเลสที่ผูกมัดไว้ในภพทั้ง 4 การพรากจากโยคะจะเกิดได้ ก็ด้วยการปฏิบัติตามมรรค 8 จบภัณฑคามวรรค
- เริ่มสุตตันตปิฏกที่ 13 อังคุตรนิกาย จตุกกนิบาต ว่าด้วยธรรม 4 ประการ เปรียบเทียบฝั่งดีและไม่ดี ในอนุพุทธสูตร ว่าด้วยการตรัสรู้ธรรมของพระพุทธเจ้าและอนุพุทธะ เพราะการไม่รู้ซึ่งศีล สมาธิ ปัญญา และวิมุต จึงทำให้ต้องเร่ร่อนท่องเที่ยวไป เกิดแล้วเกิดอีก เจอทุกข์แล้วเจอทุกข์อีก วนไป จะไม่เกิดก็ด้วยการรู้ธรรมทั้ง 4 นี้ ในปปติตสูตร ผู้ที่ตกหล่นจากธรรมวินัย ก็คือ ผู้ที่ออกนอกอริยมรรคและวิมุต วิมุตในที่นี้หมายถึงผลนั่นเอง การดับทุกข์ได้เป็นข้อ ๆ เพราะความสมบรูณ์ในข้อนั้น ๆ แล้วค่อยพัฒนาไปตามลำดับ จะเจอแบบทดสอบที่ต่างกันไปในแต่ละข้อ ในปฐมขตสูตรและทุติยขตสูตร ว่าด้วยเหตุให้ตนถูกกำจัด หัวข้อมีความเหมือนกันแต่ต่างกันในรายละเอียด ในปฐมขตสูตร คือ การไม่พิจารณาไม่ไตร่ตรอง ไม่เลื่อมใส หรือเลื่อมใสในบุคคลให้ถูกต้อง เป็นเหตุให้ประสบสิ่งที่ไม่ใช่บุญ ผู้รู้ติเตียน ส่วนในทุติยขตสูตรเหตุที่จะทำให้ตนถูกกำจัด คือ การปฏิบัติผิดในมารดา บิดา ตถาคต และสาวกของตถาคต
- 6 ขุดเพชรในพระไตรปิฏกสองวรรคสุดท้ายในติกนิบาต กัมมปถเปยยาลวรรค ว่าด้วยธรรมะ 3 ประการที่มีหลายนัยยะ 10 คู่ 20 ข้อที่เป็นคู่ตรงข้ามกันของฝั่งที่จะถูกนำไปประดิษฐานในสวรรค์ และฝั่งที่จะถูกฝังในนรก โดยดูจาก ลงมือกระทำเอง ชักชวนให้ทำ และพอใจในการกระทำนั้น ๆ แบ่งเป็นทางกาย 3 วาจา 4 ใจ 3 ประเด็นที่น่าสนใจ คือ แค่คิดก็ยังไปนรกได้ ดังนั้นไม่ว่าจะในระดับไหนคุณย่อมได้รับผลด้วย โทษในสังสารวัฏนี้มี ให้ระวัง และสุดท้ายในราคเปยยาล ธรรม 3 ประการที่เมื่อเจริญแล้วจะรู้ยิ่งซึ่งราคะ รู้แล้วละได้ ให้มีความฉลาดในจิตตน… ติกนิบาต จบบริบรูณ์
- 6 ขุดเพชรในพระไตรปิฏกมาใน 2 วรรค วรรคแรก คือ มังคลวรรค เป็นการกล่าวถึงการจะถูกฝังในนรก หรือการจะถูกนำไปประดิษฐานบนสวรรค์ หรือการทำตนให้ถูกทำลาย หรือไม่ถูกทำลาย โดยพิจารณาผ่านกายกรรม วจีกรรม มโนกรรม ที่แบ่งเป็นกุศลอกุศล ไม่มีโทษมีโทษ สม่ำเสมอไม่สม่ำเสมอ สะอาดไม่สะอาด ในปุพพัณหสูตรฤกษ์ดีของพระพุทธเจ้า คือ เมื่อทำดีทางกายวาจาใจ ในอเจลกวรรค คือ การนำเอาหัวข้อใหญ่ทั้ง 7 ของโพธิปักขิยธรรม 37 ใส่ไว้ในปฏิปทาอย่างกลาง ปฏิปทาอย่างกลางก็คือ มัชฌิมาปฏิปทานั่นเอง เป็นทางเลือกใหม่ที่ไม่ตันไปต่อได้เรื่อย ๆ มีจุดหมาย และตัวมันเอง สามารถทำความสะอาดตัวเองไปได้เรื่อย ๆ มีที่สุด ในขณะที่ปฏิปทาแบบหยาบ คือ มัวเมากาม หรือปฏิปทาแบบเหี้ยมหาญ คือ การทำทุกรกิริยานั้นจะวนไปเรื่อยไม่มีจุดหมายไม่มีที่จบ
- 6 ขุดเพชรในพระไตรปิฏกในอัสสสูตรที่ 1 - 3 เปรียบเทียบกำลัง ความสมบูรณ์ด้วยสี และความสูงใหญ่ของม้าแกลบ ม้าดี ม้าอาชาไนยกับคุณสมบัติของอริยบุคคลชั้นโสดาบัน อนาคามี และอรหันต์ คือ เชาว์ การตอบปัญหา และลาภสักการะ ที่น่าสนใจ คือ เราควรให้ความสำคัญคุณสมบัติข้อแรก เพราะนั่นคือกำลังพื้นฐานของศีล ศรัทธาที่จะพัฒนาให้มีอีกสองข้อตามมา อย่าตัดสินจากภายนอก ในโมรนิวาปสูตรที่ 1 พูดถึงศีล สมาธิ ปัญญา ของอเสขะบุคคล การพัฒนาจากโสดาบันขึ้นมา จะเจอแบบทดสอบที่ต่างกันไป โสดาบันจะเจอเรื่องศรัทธา และศีล อนาคามีจะเจอเรื่องนิวรณ์ทดสอบสมาธิ ผัสสะอินทรีย์ทดสอบสติ อรหันต์จะเจอทุกแบบทดสอบ ทั้งนี้สมาธิปัญญาก็จะเจริญเกี่ยวเนื่องโยงกันมาตามลำดับ ในโมรนิวาปสูตรที่ 2 จะกล่าวถึงขันธ์ทั้งสามที่ถ้าขาดอันใดอันหนึ่งก็สามารถเชื่อมโยงกลับไปที่คุณสมบัติของม้าที่ขาดไปได้เช่นกัน และในโมรนิวาปสูตรที่ 3 คุณสมบัติของอรหันต์ที่ยืนพื้นมาจากมรรค 8 แล้วเติมสัมมาญาณะ และสัมมาวิมุตติเข้าไป
- 6 ขุดเพชรในพระไตรปิฏกเริ่มโยธาชีววรรค โยธสูตร นำคุณสมบัติของนักรบมาเปรียบกับการรบกับกิเลสของภิกษุที่ถ้ามีองค์ 3 ข้อนี้ ก็จะมีคุณสมบัติของสังฆคุณ 4 ข้อหลัง องค์ 3 อย่าง คือ ยิงได้ไกล คือ การเห็นขันธ์ 5 โดยความเป็นของไม่เที่ยงเป็นอนัตตา เห็นด้วยปัญญาชัดเจนทั้งในอดีตอนาคตปัจจุบัน, ยิงไม่พลาดเป้า คือ รู้ตามเป็นจริงในอริยสัจ 4 ถ้าไม่รู้ถึงรอบ 3 อาการ 12 อย่างน้อยรู้ในรอบแรก รู้ว่าทุกข์คืออะไร หมายถึง การเป็นโสดาบันนั่นเอง พอเราไม่พลาดเป้าเราจะไปต่อได้ และยิงทำลายกองใหญ่ได้ คือ ทำลายกองอวิชชาได้ ดับทุกข์ได้ วิชชาเกิด ใน 3 ข้อนี้ ถ้ารู้ข้อใดข้อหนึ่ง ก็สามารถเชื่อมโยงรู้แจ้งทั้งหมด อุปปทาสูตร พูดถึงกฎของธรรมชาติ 2 ข้อ ที่แม้ไม่มีตถาคตก็ยังคงเป็นอย่างนั้น คือ ความตั้งอยู่ตามธรรมดา ธมฺมัฏฐิตตา และความเป็นไปตามธรรมดา ธมฺมนิยามตา พอตถาคตเข้าใจแล้ว จึงบอกสอนว่าสังขารทั้งปวงไม่เที่ยง สังขารทั้งปวงเป็นทุกข์ ธรรมทั้งปวงเป็นอนัตตา ซึ่งคำสอนนี้สามารถนำมาใช้ได้กับทุกสิ่ง ในเกสกัมพลสูตร เปรียบความไม่มีค่าของเจ้าลัทธิ[...]
- 5 พระสูตรสุดท้ายในกุสินารวรรค ทุติยอนุรุทธสูตรเป็นพระสูตรที่น่าสนใจ ทำไมการหลุดพ้นจึงเกิดขึ้นไม่ได้แม้ในผู้ที่มีสมาธิชั้นยอด ทำไมความสามารถในการตรวจโลกธาตุ 1000 จึงเป็นมานะ มีความเป็นตัวเราอยู่ ในสมาธิถ้าบำเพ็ญเพียรมากไป จึงกลายเป็นความฟุ้งซ่าน ดุจไฟที่มากเกินก็ทำให้ทองสุกเกินควร และทำไมอาสวะไม่สามารถละได้ด้วยสมาธิ แต่จะละได้ด้วยปัญญา การละ 3 ข้อนี้ จึงจะเข้านิพพานได้ ในปฏิจฉันนสูตรน่าสนใจตรงที่มนต์ของพราหมณ์ ท่านใช้คำว่ายิ่งปกปิดยิ่งขลัง แต่ในคำสอนตถาคตใช้ว่าเปิดเผยจึงเจริญ ในเลขสูตร รอยขีดบนหินดินและน้ำ ที่เปรียบเหมือนจิตที่มีความโกรธความสะสมต่างกัน จิตที่ฉลาด คือ จิตที่เป็นดั่งน้ำ อดทนมั่นคงเห็นความสามัคคีมีค่ามากกว่าคำด่า ในกฏุวิยสูตรทำไมการมีศีลสมบรูณ์จึงทำให้แมลงวันไม่ตอม แมลงวัน คือ ราคะ ความมักใหญ่ คือ อภิชฌา กลิ่นดิบ คือ พยาบาท และปฐมอนุรุทธสูตร ธรรม 3 ประการที่ทำให้ผู้หญิงไปอบาย ถ้าละเสียได้จะพ้นทุกข์ ละได้ด้วยการให้ มุทิตา และพิจารณาอสุภะ
- 6 ขุดเพชรในพระไตรปิฏก5 พระสูตรในกุสินารวรรค เริ่มด้วยกุสินารสูตร ธรรม 3 ข้อที่ควรมี คือ ความคิดหลีกออกจากกาม ความคิดในทางไม่พยาบาท และในทางไม่เบียดเบียน ส่วนธรรม 3 ข้อที่ควรละก็ตรงข้ามกัน ทานที่ให้ก็จะมีอานิสงส์ต่างกัน จะได้แง่คิดที่ว่าไม่ว่าจะอยู่ในสถานการณ์ไหนก็ควรจะมีคุณธรรมทั้งสามข้อนี้ เพื่อที่ว่าเมื่อมีเหตุการณ์ที่ไม่ปกติก็จะยังผาสุกอยู่ได้ อย่ามองที่ความลำบากหรือความสบาย ให้มองที่กุศลธรรมที่มี เราจะผ่านวิกฤติไปได้โดยใช้สติความเพียรเป็นเครื่องมือ ในภัณฑนสูตร คุณธรรม 3 ข้อเหมือนข้างต้นที่เมื่อมีแล้ว จะทำให้กลุ่มนั้นเหมือนน้ำนมผสมกับน้ำ มีข้อที่น่าสนใจก็คือ ในองค์กรใดก็ตามที่ใช้กามพยาบาทหรือเบียดเบียนในการรวมกลุ่ม กลุ่มนั้นดูเหมือนรวมกันได้ดี ก็อาจจะลงกันได้อยู่แต่ไม่ยั่งยืน เพราะด้วยความที่ไม่งดงามในเบื้องต้นท่ามกลางและที่สุด ในโคตมเจติยสูตร การที่พระพุทธเจ้าแสดงธรรมด้วยความรู้ยิ่ง มีเหตุผลพร้อม มีความน่าอัศจรรย์ จึงก่อให้เกิดผล คือ ความยินดีในพุทธธัมสงฆ์ ในภรัณฑุกาลามสูตร ด้วยความสามารถที่แตกต่างกันของศาสดาจุดประสงค์จึงต่างกันไป ศาสดา 2 พวกแรกเข้าใจว่าการเข้ารูปฌานอรูปฌานได้นั่นคือ นิพพานของตน แต่ในระดับสัมมาสัมพุทธะ คือ การกำหนดรู้ทั้งกามรูป และเวทนา กำหนดรู้ คือ ปริญญายะ เป็นขั้นสูงสุด ในหัตถกสูตร เป็นกล่าวถึงความไม่รู้จักอิ่มรู้จักพอในการเห็นพระพุทธเจ้าในการฟังธรรม และการบำรุงสงฆ์ของหัตถกเทพบุตร
- 6 ขุดเพชรในพระไตรปิฏกอปัณณกสูตร ผลของการทำวิบัติหรือสัมปทา 3 อย่าง ในศีล ในจิต และในทิฏฐิ ที่เมื่อทำแล้วย่อมให้ผลแน่นอนเหมือนการกลับมาตั้งในเหลี่ยมของอัญมณีที่ถูกโยน ในกัมมันตสูตรเหมือนกับในอปัณณกสูตร มีต่างตรงอาชีววิบัติ ซึ่งถ้าวิเคราะห์ลงไปแล้วก็คือ จิตตวิบัตินั่นเอง ในสัมปทาการถึงพร้อมด้วยการงานเราจะเห็น 4 ขั้นตอน คือ สัมมาทิฏฐิที่มีนับตั้งแต่แยกแยะได้ว่าดีหรือไม่ดีแม้จะยังปฏิบัติตามไม่ได้ทั้งหมด เมื่อแยกแยะได้ก็จะระลึกได้นั่น คือ สัมมสติ ตามมาด้วยสัมมาวายามะความเพียร แล้วผลเป็นอาชีวสัมปทา ในอาชีวไม่ได้หมายถึงอาชีพ แต่หมายถึงการดำรงชีวิตที่ทำแล้วกิเลสไม่เพิ่ม ในปฐมและทุติยโสเจจยสูตร ว่าด้วยความสะอาดทางกายวาจาใจ ที่แบ่งตามกุศลธรรมบท 10 สองพระสูตรนี้จะต่างกันตรงที่ใจ ในทุติยสูตร คือ การมีสติสัมปชัญญะเห็นไตรลักษณ์ของนิวรณ์ 5 ที่อยู่ในใจ รู้ว่ามี รู้ว่าไม่มี รู้ถึงการเกิดขึ้น รู้ถึงการละ รู้ถึงการไม่เกิดซ้ำที่ละได้แล้ว นั่นคือ ความสะอาดทางใจปราศจากนิวรณ์ 5 และในโมเนยยสูตร ว่าด้วยความเป็นมุนี มุนี คือ ความเป็นนักปราชญ์ผู้มีปัญญาในทางกาย คือพรหมจรรย์ วาจาตามกุศลธรรมบท 10 และการทำให้แจ้งทางใจ จบอาปายิกวรรค
- 6 ขุดเพชรในพระไตรปิฏกอาปายิกวรรค เริ่มด้วยอาปายิกสูตรว่าด้วยบุคคล 3 ประเภทที่ต้องไปอบาย ที่น่าสนใจ คือ ข้อที่ว่าบุคคลที่มีทัศนคติว่าโทษในกามไม่มีแล้วถึงความเป็นเหยื่อในกาม เหตุใดจึงบอกว่าเป็นการไปติดกับดัก ก่อให้เกิดการผิดศีลแล้วไปอบาย ในทุลลภสูตรว่าด้วยบุคคลที่หาได้ยากซึ่งก็คือ พระอรหันต์และผู้ที่แสดงธรรมของพระพุทธเจ้าแล้ว เราจะได้ทราบว่าทำไมจึงจัดผู้ที่มีกตัญญูกตเวทีรู้แล้วกระทำตอบไว้ในที่นี้ด้วย ในอัปปเมยยสูตรเป็นการประมาณการหยั่งถึงการดูออกในบุคคลสามประเภทที่ประมาณได้แตกต่างกัน แน่นอนที่ประมาณไม่ได้ คือ จิตพระอรหันต์ รองลงมา คือ ประมาณได้ยากพวกที่มีจิตตั้งมั่นเหมือนน้ำนิ่งไหลลึก สุดท้าย คือ พวกที่จิตไม่ตั้งมั่นอันนี้ประมาณได้ง่าย ในอาเนญชสูตรจะเห็นความต่างในที่ไประหว่างปุถุชนกับอริยสาวก ที่แม้จะอยู่ในชั้นอรูปพรหมเดียวกันก็ตาม สุดท้ายในวิปัตติสัมปทาสูตร 3 สิ่ง คือ ศีล จิต และทิฏฐิ ที่เป็นเหตุให้ไปสุขคติหรือทุคติ
- 6 ขุดเพชรในพระไตรปิฏกเริ่มตติยปัณณาสก์ สัมโพธวรรค เรื่องเกี่ยวกับการตรัสรู้ ใน 5 พระสูตรแรก ยกคุณธรรม 3 อย่างที่เหมือนกัน คือ การเห็นคุณ การเห็นโทษ และอุบายในการนำออก เมื่อรู้ 3 อย่างนี้ ก็จะออกจากทุกข์ได้ พระพุทธเจ้าเป็นผู้ที่รู้จริงทั้งรสอร่อย โทษ และเครื่องสลัดออกคือมรรค 8 ผู้ใดมีคุณธรรมเหล่านี้ ผู้นั้นสมควรเรียกว่า "สมณะ" และการบรรลุธรรมจึงมี เกิดขึ้นได้ และจะได้ทราบถึงทำไมจึงเปรียบการร้องเพลงคือการร้องไห้ เสพอะไรที่ไม่รู้จักอิ่ม และการรักษาจิตดีย่อมชื่อว่ารักษากายวาจาใจได้ดี เปรียบเหมือนเรือนที่มุงไว้ดีไม่ผุพัง เป็นจิตที่ไม่ถึงความผิดปกติ เมื่อตาย การตายนั้นไม่สูญเปล่า ในสองข้อสุดท้ายกล่าวถึงเหตุเกิดแห่งกรรมและฉันทะในสามกาลเวลา นอกจากนี้ยังกล่าวถึงนิมิตตสูตร สิ่งที่ควรทำ 3 อย่าง ในทองคำกับงานทางจิต การเผาคือความเพียร การพรมน้ำคือสมาธิ และการตรวจคืออุเบกขา ที่เมื่อทำอย่างเหมาะสม จิตนั้นจะพ้นจากอาสวะได้
- 6 ขุดเพชรในพระไตรปิฏกโลณผลสูตรข้อที่ 100 - 102 มาใน 3 พระสูตรที่สำคัญ ในโปตถกสูตรจะเข้าใจถึงความดีของภิกษุที่มีค่าดุจผ้าจากแคว้นกาสี ผู้คบบุคคลเช่นนี้ย่อมดีงามตามชื่อเสียงนั้นไปด้วย ในโลณผลสูตรเป็นการทำความเข้าใจให้ถูกต้องว่า เมื่อทำกรรมอย่างใดไว้ย่อมได้รับผลของกรรมนั้น การได้รับผลของกรรมชั่วหนักเบาเร็วช้าก็ขึ้นอยู่กับกรรมดีที่เคยกระทำ ดั่งเกลือในแก้วกับเกลือในแม่น้ำ และในปังสุโธวกสูตรการจะได้มาซึ่งทองคำเนื้อดีไม่ใช่เรื่องง่าย การจะได้มาซึ่งจิตที่ปฏิบัติดีแล้วก็เช่นกัน ล้วนต้องผ่านกระบวนการหลายอย่าง ทำอย่างไร สามารถหาคำตอบได้จากใน epsode นี้
- 6 ขุดเพชรในพระไตรปิฏกเริ่มโลณผลสูตร หมวดว่าด้วยก้อนเกลือ ข้อที่ 93 - 99 อัจจายิกสูตรเป็นเรื่องของการรอเวลาที่เหมาะสมแม้จะสร้างเหตุมาดีแล้วก็ตาม ปวิเวกสูตรจะทราบถึงความสงัดจากกิเลสที่ไม่ต้องอิงวัตถุ สรทสูตรธรรมจักษุของโสดาบัน และอนาคามีที่ละสังโยชน์ได้ เมื่อบังเกิดขึ้นแล้วดั่งท้องฟ้าในสารทกาล ปริสาสูตร บริษัทที่มีหัวหน้า คือ พระเถระเป็นผู้นำที่ยอดเยี่ยม ทำให้พากันปฏิบัติตาม บริษัทที่แตกแยก และบริษัทที่สามัคคีโดยการเจริญมุทิตา ปฐมอาชานียสูตร / ทุติยอาชานียสูตร / ตติยอาชานียสูตร ว่าด้วยองค์ประกอบของม้าอาชาไนย จะมีความต่างในแต่ละข้อตรงปัญญาในอริยสัจ 4 ความเร็ว คือ ปัญญาที่เร็วขึ้นเพราะชำนาญ ข้อที่ 97 ปัญญาระดับโสดาบัน ข้อที่ 98 ปัญญาระดับอนาคามี และข้อที่ 99 ปัญญาระดับอรหันต์
- 6 ขุดเพชรในพระไตรปิฏก"ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ทำได้บริบูรณ์ย่อมให้สำเร็จได้บริบูรณ์ ผู้ทำได้เพียงบางส่วนย่อมให้สำเร็จได้บางส่วน ด้วยประการฉะนี้แล เรากล่าวว่าสิกขาบททั้งหลายไม่เป็นหมันเลย" ในข้อที่ 87 - 88 พูดถึงความแตกต่างกันของอริยบุคคลในแต่ละระดับ ไล่มาจากการมีศีลเต็ม สมาธิปัญญาพอประมาณ คือ โสดาบัน ศีลเต็มสมาธิเต็มปัญญาพอประมาณ คือ อนาคามี จนถึงเต็มบริบรูณ์ทั้งหมด คือ อรหันต์ และยังมีการแบ่งตามสังโยชน์ที่ละได้ตามลำดับด้วย นอกจากนี้จะได้ทราบการแยกแยะที่ละเอียดลงไปของแต่ละขั้นของอริยบุคคลในขั้นนั้น ๆ ด้วย ทั้งหมดนี้จะได้ข้อคิดกำลังใจที่ว่า ความเพียรที่ทำมาตามอธิศีลอธิจิตอธิปัญญานั้นย่อมมีผล ในข้อที่ 90 และ 91 นั้นคล้ายกัน ต่างกันตรงข้อปัญญา ในข้อที่ 91 จะเป็นการรู้อริยสัจสี่ขั้นลึกลงไป รู้ถึง 3 รอบ นั่นคือ ขั้นอรหันต์นั่นเอง ในข้อสุดท้ายเป็นการแสดงความสำนึกผิดเห็นโทษ และต้องการประกาศโทษของตัวภิกษุเองแด่พระพุทธเจ้า พระพุทธเจ้าเปรียบมาในภิกษุ 3 ระดับ จบสมณวรรค
- อธิบายอานันทวรรค 2 ข้อสุดท้าย คือ คันธชาตสูตรทรงตอบเรื่องศีลที่มีกลิ่นหอมเหนือกลิ่นหอมทั้งปวง จูฬนิกาสูตรเปรียบเทียบให้เห็นถึงความสามารถที่แตกต่างในระดับสาวกกับพระพุทธเจ้า ดั่งนกนางแอ่นกับพญาครุฑ เริ่มสมณวรรคข้อที่ 82 - 87 สมณสูตรกล่าวถึงความเป็นสมณะต้องมีการสมาทานในอธิศีล อธิจิต และอธิปัญญา คัทรภสูตรเปรียบคนที่ประกาศตนว่าเป็นภิกษุ แต่ไม่ได้ปฏิบัติในไตรสิกขา ก็เป็นได้เพียงลาในฝูงโค เขตตสูตรเมื่อเป็นสมณะมีหน้าที่ที่ต้องทำในศีล ในจิต ในปัญญา เหมือนการทำกิจของชาวนา วัชชีปุตตสูตรถ้าแม้นรักษาสิกขาบท 150 ไม่ได้ทั้งหมด ให้รักษาอธิศีล อธิจิต อธิปัญญาก็สามารถเป็นสมณะได้ รักษาได้ก็ละราคะโทสะโมหะได้ ไม่ทำกรรมที่เป็นอกุศล เสกขสูตรกล่าวถึงบุคคลที่ยังต้องศึกษาในศีลจิตปัญญาให้ยิ่งขึ้นไป สิกขาสูตรที่ 1 จะได้คำตอบว่าทำไมการมีศีลเต็ม มีสมาธิ และปัญญาพอประมาณ แม้ต้องอาบัติเล็กน้อย จึงไม่เป็นไร ยังไม่ตกไปจากทาง
- 6 ขุดเพชรในพระไตรปิฏกมหานามสักกสูตรตอบเรื่องสมาธิเกิดก่อนญาณเกิดทีหลัง แยกเป็นในระดับของเสขะ และอเสขะ ในสมาธิมีทั้งปัญญา และศีลเป็นมาตามลำดับ ญาณเป็นส่วนของอรหันต์ ในนิคัณฐสูตรว่าด้วยการสิ้นกรรมที่แตกต่างกัน ในคำสอนนี้ศีลสมาธิปัญญาเป็นปฏิปทาเพื่อความสิ้นกรรม ในนิเวสกสูตรควรชักชวนคนใกล้ชิดให้มีศรัทธาที่หยั่งลงมั่นในพุทธธรรมสงฆ์ ที่เมื่อมีแล้วจะไม่แปรเปลี่ยนไปในภพที่ต่ำ และการมองความสัมพันธ์ไปถึงการมีศีลเข้ามาเกี่ยวก็จะเป็นได้ถึงโสตาปัตติยังคะสี่ ในภวสูตรทั้ง 1 และ 2 ว่าด้วยการเกิดแห่งภพทั้ง 3 มีความต่างกันตรงที่เปลี่ยนจากวิญญาณมาเป็นเจตนา สุดท้ายสีลัพพตสูตรให้พิจารณาว่าถ้าเสพสิ่งใดแล้วอกุศลธรรมหรือกุศลธรรมเพิ่มหรือลด "มหาภูต ๔ คือ ปฐวีธาตุ อาโปธาตุ เตโชธาตุ และวาโยธาตุ อาจกลายเป็นอย่างอื่นได้ แต่พระอริยสาวกผู้ประกอบด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระพุทธเจ้า ไม่พึงแปรเป็นอย่างอื่นได้เลย"
- "การครองราชย์ของพระราชาพระองค์นั้นยัง มีค่าไม่ถึงเสี้ยวที่ ๑๖ แห่งอุโบสถที่ประกอบด้วยองค์ ๘ ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะราชสมบัติของมนุษย์เมื่อนำไปเปรียบกับสุขที่เป็นทิพย์ ถือว่าเป็นของเล็กน้อย ๕๐ ปีของมนุษย์เท่ากับวันและคืนหนึ่งของเทวดาชั้นจาตุมหาราช" ในอุโปสถสูตรกล่าวถึงการเข้าอยู่เพื่อรักษาศีลที่แตกต่างกัน 3 ประการ คือ โคปาลอุโบสถ (อุโบสถที่ปฏิบัติอย่างคนเลี้ยงโค), นิคัณฐอุโบสถ (อุโบสถที่ปฏิบัติอย่างนิครนถ์) และอริยอุโบสถ (อุโบสถปฏิบัติอย่างอริยสาวก) ในประการหลังถือว่าประเสริฐที่สุด ทรงตรัสถึงการระลึก 5 อย่าง ที่เมื่อทำแล้วจะทำให้จิตใจผ่องแพ้ว และการเข้าอยู่ในอริยอุโบสถยังได้ชื่อว่า เป็นการเข้าใกล้พระอรหันต์แม้ในวันหนึ่งคืนหนึ่งก็มีค่ามาก ในฉันนสูตรเป็นการตอบคำถามของพระอานนท์ เกี่ยวกับการกำหนดความของราคะโทสะโมหะ การเห็นโทษ จบลงที่ปฏิปทาเพื่อกำจัดออก ในอาชีวกสูตรจะเห็นความฉลาดของท่านพระอานนท์ในการตอบปัญหา โดยถามให้คนถามตอบเอง ในที่นี้เกี่ยวกับการกำจัดราคะโทสะโมหะเมื่อกำจัดแล้วดีหรือไม่อย่างไร
- 6 ขุดเพชรในพระไตรปิฏกในกถาวัตถุสูตรเป็นเรื่องที่พูดถึงบุคคลที่ควรพูดด้วยหรือไม่ควรพูดด้วยในนัยยะ 5 ประการ ทั้งในอดีต อนาคต และปัจจุบัน แต่ถ้าพูดเรื่องอดีตอนาคตปัจจุบันแล้ว ทำให้รู้ถึงอริยสัจ 4 เป็นสิ่งที่ควรทำ อัญญติตถิยสูตรพูดถึงราคะ โทสะ และโมหะเป็นอย่างไร มีความต่างกันอย่างไร และทางแก้ไข อกุสลมูลสูตรว่าด้วยรากเหง้าของอกุศลมูล คือ โลภะ โทสะ โมหะ ที่เมื่อมีแล้วจะก่อทุกข์ให้ผู้อื่นในทางใจ 3 ทางวาจา 4 และทางกาย 3 ส่วนกุศลมูลก็คืออโลภะอโทสะและอโมหะ "ภิกษุทั้งหลาย บาปอกุศลธรรมที่เกิดจากโลภะ โทสะ โมหะ เป็นอันบุคคลเช่นนี้ละได้เด็ดขาด ตัดรากถอนโคนเหมือนต้นตาลที่ถูกตัดรากถอนโคนไปแล้ว เหลือแต่พื้นที่ทำให้ไม่มี เกิดขึ้นต่อไปไม่ได้ เขาย่อมอยู่เป็นสุข ไม่ลำบาก ไม่คับแค้น ไม่เดือดร้อนในปัจจุบัน ย่อมปรินิพพานในอัตภาพปัจจุบัน"
- 6 ขุดเพชรในพระไตรปิฏก"กาลามะทั้งหลาย เมื่อใด ท่านทั้งหลายพึงรู้ด้วยตนเองเท่านั้นว่า “ธรรมเหล่านี้เป็นกุศล ธรรมเหล่านี้ไม่มีโทษ ธรรมเหล่านี้ผู้รู้สรรเสริญ ธรรมเหล่านี้ที่บุคคลถือปฏิบัติบริบูรณ์แล้วย่อมเป็นไปเพื่อเกื้อกูล เพื่อสุข” เมื่อนั้น ท่านทั้งหลายควรเข้าถึง (ธรรมเหล่านั้น) อยู่" มาใน 3 พระสูตรมีความน่าสนใจ ดังนี้ ในสรภสูตรจะได้ทราบถึงฐานะสามอย่างที่จะเกิดขึ้นในบุคคลสามจำพวกเมื่อถูกพระพุทธเจ้าไตร่สวน ในเกสปุตติสูตรหรือที่มักเรียกกันว่ากาลามสูตรเป็นพระสูตรที่น่าสนใจมาก เป็นกระบวนการที่จะกำจัดความลังเลสงสัยไม่เข้าใจออกไป ทำไมจึงไม่ควรด่วนสรุปตัดสินใจเชื่อหรือไม่เชื่อในเรื่องต่าง ๆ เพียงเพราะเหตุผลจากใน 10 ข้อ แต่ควรพิจารณาด้วยเงื่อนไข 4 ข้อ โดยดูจาก 3 ข้อ คือ โลภะ โทสะ และโมหะ ว่าลดลงหรือเพิ่มขึ้น และพรหมวิหาร 4 ที่เมื่อทำแล้วจะมีความเบาใจสี่ประการ ส่วนในสาฬหสูตรเนื้อหาคล้ายกับเกสปุตติสูตรเพียงเปลี่ยนบุคคล และจบลงที่นิพพาน "คุณอย่าเพิ่งหยุดที่ตรงนี้ ที่เห็นข้อใดข้อหนึ่งแล้วจบ อย่าเพิ่ง แล้วก็ไม่ใช่ว่ามันไม่จริง แล้วก็อย่าเพิงไปเชื่อว่าจริงอย่างเดียว แต่เดี๋ยวก่อนยังไม่ใช่ ต้องรู้ด้วยตนเองว่าธรรมเหล่านี้เป็นกุศลหรืออกุศล มันเป็นโทษหรือเป็นคุณ เวลาที่ถ้าทำถึงมาตรฐานของมันแล้ว มันจะเป็นไปเพื่อทุกข์หรือมันจะเป็นไปเพื่อสุข"
- 6 ขุดเพชรในพระไตรปิฏกยังคงอยู่ในติกนิบาต ทุติยปัณณาสก์ เริ่มมหาวรรคในข้อที่ 62 - 64 พระสูตรแรกเกี่ยวกับทิฏฐิที่เป็นท่า 3 ต่อด้วยทิฏฐิที่ถูก 4 ทิฏฐิที่เป็นท่า 3 คือ สุขทุกข์ทั้งหมดมาจากรรมแต่ปางก่อน มาจากบุคคลอื่นบันดาล หรือไม่มีเหตุไม่มีปัจจัย ที่ถูก คือ ธาตุ 6 อายตนะ 6 มโนปวิจาร 18 และอริยสัจ 4 ต่อมาเป็นเรื่องของภัยที่คนทั่วไปเชื่อว่าเป็นภัยที่แม่ลูกช่วยกันไม่ได้แต่จริง ๆ แล้วช่วยได้ กับภัยที่ช่วยกันไม่ได้จริง ๆ คือ ภัยจากความแก่ ความเจ็บ และความตาย ทางออกจากภัยที่ช่วยได้ และไม่ได้ คือ อริยมรรคมีองค์ 8 ในพระสูตรสุดท้ายเป็นเรื่องของที่นั่งที่นอนอันสูงใหญ่ที่หาได้โดยไม่ยากไม่ลำบากในธรรมวินัยนี้ คือ ที่นั่งที่นอนอันสูงใหญ่อันเป็นทิพย์ อันเป็นพรหม และอันเป็นอริยะ "ภิกษุทั้งหลาย มรรคปฏิปทานี้แล ย่อมเป็นไปเพื่อละ เพื่อก้าวล่วงสมาตาปุตติกภัย ๓ อย่างนี้ และอมาตาปุตติกภัย ๓ อย่างนี้"
- 6 ขุดเพชรในพระไตรปิฏก“พราหมณ์ทั้งหลายบัญญัติพราหมณ์ว่าเป็นผู้ได้วิชชา 3 เป็นอย่างหนึ่ง ส่วนผู้ได้วิชชา 3 ในอริยวินัยเป็นอีกอย่างหนึ่ง” วันนี้จบพราหมณวรรค ข้อที่ 58 - 61 วัจฉโคตตสูตร เมื่อถูกถามว่า ควรให้ทานในพระพุทธเจ้าและสาวกเท่านั้น ไม่ควรให้ในบุคคลอื่น ทรงตอบว่าถ้าทำเช่นนั้นจะเป็นดั่งโจรดักปล้นวัตถุ 3 อย่าง ทานที่จะมีผลมาก ควรให้ในผู้ละองค์ 5 และประกอบด้วยองค์ 5 ติกัณณสูตร ความต่างของวิชชา 3 ในพราหมณ์และวิชชา 3 ในอริยวินัย ชานุสโสณิสูตร ลักษณะของผู้มีวิชชา 3 ที่ต่างกันของพราหมณ์ และในอริยวินัย สังคารวสูตร เมื่อพราหมณ์ยกเรื่องปฏิปทาที่ต่างกัน พระพุทธเจ้ายกเรื่องปาฏิหาริย์ 3 อย่างทีสามารถมีได้เมื่อปฏิบัติมาตามธรรมวินัยนี้
- 6 ขุดเพชรในพระไตรปิฏก"เมื่อเรือนถูกไฟไหม้ สิ่งของที่นำออกไปได้ย่อมเป็นประโยชน์แก่เขา สิ่งของที่ถูกไฟไหม้ในเรือนนั้น ย่อมไม่เป็นประโยชน์แก่เขา ฉันใด เมื่อโลกถูกชราและมรณะแผดเผาแล้วก็ฉันนั้นเหมือนกัน บุคคลควรนำออกมาด้วยการให้ สิ่งที่ให้แล้วชื่อว่านำออกไปดีแล้ว ความสำรวมทางกาย วาจา และใจในโลกนี้ ย่อมมีเพื่อความสุขแก่บุคคลผู้ตายไปแล้ว ซึ่งได้ทำบุญไว้ขณะเมื่อมีชีวิตอยู่" ยังคงอยู่ในติกนิบาต วันนี้เริ่มทุติยปัณณาสก์ พรหมณวรรคข้อที่ 52 - 57 ในปฐมและทุติยเทวพราหมณสูตรเป็นเรื่องที่พราหมณ์ผู้ประมาท ได้ถามว่าชีวิตที่เหลือควรทำเช่นไร พระพุทธเจ้าได้ยกธรรม 3 ข้อ คือความแก่ ความเจ็บ และความตายที่เป็นเครื่องร้อยรัด จึงควรมีการสำรวมกายวาจาใจและสร้างบุญ ในข้อที่ 53 เพิ่มเรื่องการนำออกด้วยทาน การให้ทานเป็นการได้ซึ่งลาภทาน อัญญตรพราหมณสูตร, ปริพาชกสูตร, นิพพุตสูตร เป็นคำถามเกี่ยวกับความเป็นสวากขาตธรรม ทำไมธรรมะจึงรู้ได้เฉพาะตน และนิพพานเป็นอย่างไร ทรงยกเรื่องราคะโทสะโมหะที่เมื่อมีแล้ว ใจจะมีทุกขโทมนัส จะทำให้เกิดการเบียดเบียนกัน ไม่รู้ประโยชน์ชัดทั้งสองฝ่าย เมื่อปฏิบัติมาตามธรรมราคะโทสะโมหะหมดไป ความทุกข์ในใจก็ไม่เกิด มีความไม่เบียดเบียน เห็นประโยชน์ทั้งตนเองและผู้อื่น แล้วจะเห็นความดับในใจได้ด้วยตนเอง ปโลกสูตร เหตุที่ว่าทำไมมนุษย์จึงมีน้อย เป็นเพราะมนุษย์ประกอบอกุศลธรรม 3 อย่าง
- 6 ขุดเพชรในพระไตรปิฏกจบบริบรูณ์ปฐมปัณณาสก์ ในติกนิบาต วรรคสุดท้าย คือ จูฬวรรคหมวดว่าด้วยเรื่องเล็กน้อย ตั้งแต่ข้อที่ 41-51 มีรายละเอียดที่น่าสนใจหลายประเด็น เช่น ในปัพพตราชสูตรที่เปรียบเทียบต้นไม้กับผลที่จะได้รับเมื่อชนนั้นอาศัยในพ่อบ้านที่มีศรัทธา ศีล ปัญญา ดั่งในพระสูตร ดังนี้ "ภูเขาหินมีอยู่ในป่าใหญ่ หมู่ไม้เหล่านั้นอาศัยภูเขานั้น เจริญงอกงามเติบโตในป่า แม้ฉันใด บุตร ภรรยา พวกพ้อง อำมาตย์ หมู่ญาติ และชนผู้อาศัยเขาเลี้ยงชีพ ก็ฉันนั้นเหมือนกัน อาศัยพ่อบ้านผู้มีศรัทธา สมบูรณ์ด้วยศีล ย่อมงอกงามในโลกนี้ ชนผู้มีปัญญาเห็นแจ้ง เห็นศีล จาคะ(ความเสียสละ) และสุจริต(ความประพฤติดี) ของพ่อบ้านผู้มีศีลนั้นแล้วย่อมทำตาม บุคคลประพฤติธรรมซึ่งเป็นทางนำสัตว์ไปสู่สุคติ ย่อมเพลิดเพลินในโลกนี้สมปรารถนา ย่อมบันเทิงในเทวโลก"
- 6 ขุดเพชรในพระไตรปิฏกจบเทวฑูตวรรคข้อที่ 37 - 40 มีรายละเอียดดังนี้ ยมราชสูตร: ความปราถนา 3 ประการของพญายม จาตุมหาราชสูตร : ความยินดีความเสียใจของเทวดาเมื่อมนุษย์ดำรงในความดีหรือทำให้สูญสิ้นไป สุขุมาลสูตร : ความเป็นสุขุมาลชาติก่อนบวชที่ก่อให้เกิดความมัวเมา 3 ประการ คือ ความมัวเมาในความเป็นหนุ่มสาว ในความไม่มีโรคและในชีวิต พระองค์มีกำลังในการจะตัดขาดสิ่งเหล่านี้จึงก่อให้เกิดคำถามแสวงหาคำตอบเพื่อจะแก้ไขปัญหา กำลังในที่นี้คืออะไร นัยยะที่ชวนให้คิดในกำลังของนกมูลไถกับช้างอาชาไนย อาธิปเตยยสูตร : อัตตาธิปไตยคือเตือนตนเพื่อตน,โลกาธิปไตยคือผู้รู้ติเตียน, ธัมมาธิปไตยคือเห็นธรรมเป็นใหญ่ ทั้ง 3 อย่างนี้จบลงที่เพื่อความดี "ภิกษุผู้มัวเมาในความเป็นหนุ่มสาว, ภิกษุผู้มัวเมาในความไม่มีโรค หรือภิกษุผู้มัวเมาในชีวิตย่อมบอกคืนสิกขา กลับมาเป็นคฤหัสถ์"
- 6 ขุดเพชรในพระไตรปิฏก“ภิกษุทั้งหลาย เหตุให้เกิดกรรม 3 ประการนี้แล คนเขลาทำกรรมที่เกิดเพราะโลภะ โทสะ และโมหะ กรรมที่คนเขลานั้นทำแล้วจะมากหรือน้อยก็ตาม ย่อมให้ผลในอัตภาพนี้แล สิ่งอื่น (ที่จะรองรับผลกรรมนั้น) ไม่มี เพราะเหตุนั้น ภิกษุผู้รู้โลภะ โทสะ และโมหะ (จึงไม่ทำ) กรรมที่เกิด เพราะเมื่อทำวิชชาให้เกิดขึ้น ย่อมละทุคติทั้งปวงได้” ยังคงอยู่ในเทวฑูตวรรคข้อที่ 33 - 36 สารีปุตตสูตร เป็นคำถามเกี่ยวกับสมาธิที่จะเข้าไปสู่นิพพาน นิทานสูตร เหตุ 3 อย่างที่ทำให้เกิดกรรม ที่มีทั้งให้ผลในปัจจุบัน, ให้ผลลำดับต่อมา และให้ผลต่อมา ๆ เปรียบเหมือนเมล็ดพืชที่ยังมีเชื้องอกหว่านในนาดีก็จะเป็นเหตุให้เกิดต่อเนื่อง ส่วนกรรมที่กระทำด้วยอโลภะ อโทสะ และอโมหะ ดั่งเมล็ดพืชที่ไม่มีเชื้อ ไม่มีเหตุให้เกิดขึ้นต่อไป หัตถกสูตร ความสุขอันเป็นทิพย์ของผู้ที่สิ้นราคะโทสะโมหะ อยู่ที่ไหนก็เป็นสุข เทวฑูตสูตร การไม่เห็นเทวฑูตทั้ง 3 ทำให้ไปนรกได้
- 6 ขุดเพชรในพระไตรปิฏกยังคงอยู่ในติกนิบาต ใน episodeนี้ เป็นภาคต่อของปุคคลวรรคที่เหลือ แล้วต่อด้วยหมวดที่ 4 คือเทวฑูตวรรค 2 ข้อ มีพระสูตรที่เกี่ยวข้องอยู่ 5 พระสูตร เช่นในอวกุชชสูตร ปัญญาบุคคล 3 ประเภท ไม่ใช่ว่าบุคคลที่มีปัญญาแบบหม้อคว่ำหรือแบบชายพกนั้นไม่ดีไปเสียทั้งหมด เพราะอย่างน้อยก็มาทางธรรม แต่บุคคลที่ดีเลิศที่สุดคือผู้ที่มีปัญญาแบบหม้อหงาย ที่สามารถเก็บเกี่ยวได้ทั้งหมด ดั่งพระสูตรที่ว่า "ส่วนบุคคลมีปัญญากว้างขวาง เรากล่าวว่า ดีกว่าบุคคลที่มีปัญญาเหมือนชายพก บุคคลเช่นนั้นหมั่นไปในสำนักภิกษุทั้งหลาย นั่งตรงที่นั้นเรียนเบื้องต้น ท่ามกลาง และที่สุดแห่งกถานั้น จำพยัญชนะได้ มีความดำริประเสริฐ มีจิตใจไม่วอกแวก ปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม พึงทำที่สุดแห่งทุกข์ได้"
- 6 ขุดเพชรในพระไตรปิฏกยังคงอยู่ที่หมวดธรรม 3 ข้อ ติกนิบาต ในตอนนี้ว่าด้วยหมวดแห่งบุคคล 3 ประเภทตั้งแต่ข้อที่ 21-27 พระสูตรที่เกี่ยวข้องมีดังนี้ สวิฏฐสูตร บุคคลจำพวกไหนประณีตดีกว่ากันระหว่างกายสักขีบุคคล (เข้าใจตน) ทิฏฐิปัตตบุคคล (เข้าใจโลกปรับทิฏฐิ) สัทธาวิมุตตบุคคล (หลุดโลกด้วยศรัทธา) พระผู้มีพระภาคตรัสว่าเป็นเรื่องไม่ใช่จะทำได้ง่ายที่จะตอบว่าใครดีกว่ากัน เพราะล้วนปฏิบัติเพื่อความเป็นอรหันต์ เอาตรงที่จุดจบ ไม่ใช่เอาตรงขาเข้ามา คิลานสูตร ยก 3 อย่างแรกเกี่ยวกับคนไข้ ยก 3 อย่างหลังเกี่ยวกับคนที่จะได้ฟังธรรม เพราะภิกษุป่วยประเภทที่ 3 พระพุทธเจ้าจึงอนุญาตให้มีการรักษาเช่นกัน เพราะบุคคลประเภทที่ 3 จึงอนุญาตให้มีการแสดงธรรม เพราะเมื่อได้ยินธรรมะจะรู้ธรรมได้ สังขารสูตร เพราะปรุงแต่งทางกายวาจาใจมาไม่เหมือนกันจึงทำให้ไปอยู่ในภพที่ต่างกันคือ ทุกข์มาก สุขมาก และสุขทุกข์พอ ๆ กัน เหตุปัจจัยนี้เราเลือกที่จะสร้างได้ พหุการสูตร ถ้าเราอาศัยบุคคลใดแล้วทำให้เรามีความดี3อย่างนี้ บุคคลนั้นมีอุปการะมากเพราะทำให้ความทุกข์ของเราหมดไปเท่าพื้นปฐพี คือบุคคลที่อาศัยแล้วทำให้เรามีโสตาปัตติยังคะ 4 เป็นโสดาปัตติมรรค, อาศัยแล้วทำให้รู้อริยสัจเป็นโสดาปัตติผล และอาศัยแล้วทำให้เกิดอรหัตผล วชิรูปมสูตร บุคคลที่มีจิตเหมือนแผลเก่าคือโกรธง่าย บุคคลที่มีจิตเหมือนฟ้าแลบคือเห็นอริยสัจ 4 แสงสว่างแว๊ปเดียวในความมืด เป็นโสดาบัน[...]
- 6 ขุดเพชรในพระไตรปิฏกติกนิบาต ธรรมะสามประการที่เปรียบเทียบกัน ในตอนนี้ชื่อว่า รถาการวรรค ต่อจากตอนที่แล้วเริ่มตั้งแต่ข้อที่ 14 จนจบวรรค พระสูตรที่เกี่ยวข้องในช่วงนี้มี อสังสสูตร เปรียบเทียบบุคคล 3 จำพวกที่หมดหวัง ยังมีหวัง ปราศจากความหวังกับการเป็นพระอรหันต์ จักกวัตติสูตร ที่เทียบให้เห็นการรักษาของพระราชากับการรักษาของพระพุทธเจ้าที่ยังธรรมะให้เป็นไปโดยการคุ้มครองโดยธรรมในทางกายกรรม วจีกรรม และมโนกรรม ปเจตนสูตร เปรียบเทียบให้เห็นว่าเมื่อก่อนฉลาดในความคดปุ่มปมแก่นกระพี้ของไม้ แต่ในปัจจุบันนี้ฉลาดในความคดของกายวาจาใจ โทษของกายวาจาใจ มลทินของกายวาจาใจ อปัณณกสูตร ว่าด้วยข้อปฏิบัติที่ไม่ผิด ที่เมื่อปฏิบัติแล้วจะไม่มีทางเสื่อมมีแต่ดีท่าเดียว ทำได้แม้นิดหน่อยก็ดีเลย เพราะมันไม่ผิด ทำธรรม3อย่างนี้เพื่อปรารภเหตุเพื่อความสิ้นอาสวะ อัตตพยาพาธสูตร ธรรมที่เป็นไปเพื่อเบียดเบียนตนเอง ผู้อื่น หรือทั้งสองอย่าง คือ กายทุจริต วจีทุจริต มโนทุจริต ในทางไม่เบียดเบียนก็ตรงข้ามกัน เทวโลกสูตร ให้ระอารังเกียจกายทุจริต วจีทุจริต มโนทุจริต ปฐมปาปณิกสูตร คุณสมบัติ 3 อย่างของพ่อค้าที่ทำแล้วจะได้กำไรจัดแจงการงานใน 3 เวลา กับภิกษุที่ทำสมาธิ 3 เวลา ทุติยปาปณิกสูตร คุณสมบัติของพ่อค้าที่มีตาดีในภิกษุคือเห็นตามจริงในอริยสัจสี่ มีธุรกิจดีในภิกษุ คือ มีความเพียรดี มีความเพียบพร้อมด้วยที่พักพิงอาศัยในภิกษุ[...]
- 6 ขุดเพชรในพระไตรปิฏกขึ้นฤดูกาลใหม่ ซีซั่นที่ 5 กับ พาลวรรค ว่าด้วยภัยจากคนพาล และปิดท้ายตอนด้วย รถการวรรค ว่าด้วยช่างรถ
- 6 ขุดเพชรในพระไตรปิฏกเป็นตอนที่จบบริบูรณ์ของทุกนิบาต (หมวดธรรม 2 ข้อ) ในคัมภีร์อุตตรนิกาย ในตอนสุดท้ายนี้ว่าด้วย ราคเปยยาล ที่เป็นตัวแทนของความไม่ดีที่เราจะกำจัดได้ด้วยความดี ในที่นี้คือ สมถะและวิปัสสนา เป็นธรรมะสองอย่างที่ภิกษุควรทำให้เจริญ ซึ่งเมื่อมีแล้วจะสามารถกำจัดราคะ โทสะ โมหะ โกธะ ความผูกโกรธ ความลบหลู่คุณท่าน ความตีเสมอ ความริษยา ความถือตัว ความดูหมิ่นเขา ความมัวเมา และความประมาทได้ โดยผ่านการทำกิริยา 10 อย่าง “ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุควรเจริญธรรม ๒ ประการเพื่อรู้ยิ่งราคะ ธรรม ๒ ประการ อะไรบ้าง คือ ๑. สมถะ (การฝึกจิตให้สงบเป็นสมาธิ) ๒. วิปัสสนา (ความเห็นแจ้ง)”
- 6 ขุดเพชรในพระไตรปิฏกโกธเปยยาล อกุสลเปยยาล และวินยเปยยาล เปยยาลก็คือเบ็ดเตล็ด ตอนนี้จึงเป็นหมวดว่าด้วยเบ็ดเตล็ดของธรรมะในข้อความโกรธ ความเป็นอกุศล และหมวดของวินัย ในโกธเปยยาลจะว่าด้วยคุณธรรมที่เป็นคู่ตรงข้ามกัน ฝ่ายดีฝ่ายไม่ดี 5 คู่ 10 ข้อ สลับกันไปสลับกันมาเพื่อเปรียบเทียบให้เห็นส่วนเหมือนส่วนต่าง เช่น มีความโกรธก็มีความไม่โกรธ, มีความผูกโกรธก็มีความไม่ผูกโกรธ เป็นต้น ในอกุสลเปยยาล คือ คุณธรรมที่เป็นผลมาจากธรรมะที่คุณมีหรือไม่มีในข้อโกธเปยยาล เป็นต้นว่าธรรมที่มีทุกข์เป็นกำไรกับธรรมที่มีสุขเป็นกำไร, ธรรมที่มีความเบียดเบียนกับธรรมที่มีความไม่เบียดเบียน เป็นต้น ส่วนในวินยเปยยาลเป็นเรื่องของวินัยของพระสงฆ์ ที่บัญญัติขึ้นเพื่อประโยชน์เพื่อความดีเพื่อความผาสุกโดยอาศัยธรรมะ 10 คู่ 20 ข้อนี้ "คำว่า "กำไร" หมายถึงว่า มันเพิ่มพูนขึ้นมา คุณทำอะไรไปสักอย่างใดอย่างหนึ่ง อะไรที่มันคลอดลูกออกมา กำไร ดอกเบี้ย พวกนี้เป็นกำไรออกมา คลอดออกมาดอกเบี้ยออกมา เพราะงั้นเวลาเราทำอะไรแล้วเพิ่มพูนขึ้น เวลาคุณทำอะไรแล้วมันเพิ่มพูนขึ้น ถ้าคุณคิดไม่ดีกับเขานิดนึง สิ่งที่เพิ่มพูนขึ้นในจิตใจของคุณ คือ มีทุกข์ ทุกข์มันจะเพิ่มพูนขึ้นเป็นกำไรงอกงามออกมา"
- ในเอพิโสดนี้ เป็นเนื้อหาในทุกนิบาตส่วนปลาย (ตติยปัณณาสก์) ใน สมาปัตติวรรค หมวดว่าด้วยสมาบัติ มีเนื้อหาที่น่าสนใจดังนี้ ข้อ164 ความเป็นผู้ฉลาดในการเข้าสมาบัติสร้างเหตุปัจจัยอะไรมาจึงทำได้ และการออกจากสมาบัติคือ การสามารถกำหนดเวลาออก รวมถึงการเลื่อนขึ้นหรือลงด้วย ข้อ165 ความซื่อตรงและความอ่อนโยนต้องมาด้วยกัน ข้อ166 ขันติและโสรัจจะเป็นธรรมะที่ทำให้เป็นสมณะ ข้อ167 พูดให้เป็นที่น่ารักต่อผู้ฟังและการต้อนรับที่ดี ข้อ168 ความไม่เบียดเบียนเป็นสัมมาสังกัปปะ ส่วนความสะอาดหมายถึงศีล ข้อ169,170 ความคุ้มครองทวารคือการรักษาไม่ให้อกุศลธรรมเข้ามา ไม่ใช่ให้ไปทำลาย ส่วนรู้จักประมาณในการบริโภค เพราะลิ้นนั้นจะนำมาอีกหลายสิ่ง ข้อ171,172 ภาวนาคือพัฒนาที่มันไม่มี ให้มี พัฒนาที่มันยังไม่ดี ให้ดี, พละคือกำลังในการที่จะทรงอยู่ในมรรค อินทรีย์คือกำลังในการที่จะเข้ามาได้ ข้อ173 เรื่องของการที่จิตรวมเป็นอันเดียวและเรื่องของปัญญาการเห็นตามความเป็นจริง ข้อ174-177 ศีลและทิฏฐิเป็นธรรมะที่จะทำให้คนอยู่ด้วยกันได้หรือไม่ได้ และเรื่องความเพียรที่สมควร ข้อ178 ความไม่รู้จักอิ่มจักพอในกุศลธรรมทั้งหลายและถ้าไม่สำเร็จไม่เลิกกลางคัน ข้อ179-180 สติและสัมปชัญญะต้องไปด้วยกัน
- ในเอพิโสดนี้ เป็นเนื้อหาที่มาในทุกนิบาตส่วนปลาย (ตติยปัณณาสก์) เปรียบเทียบส่วนเหมือนส่วนต่างของธรรมะ 2 ข้อนี้ คือ "อามิส" และ "ธรรม" ในแต่ละหัวข้อแต่ละประเด็นถึงความเป็นเลิศ ดังนี้ [142-151] ทานวรรค หมวดว่าด้วยทาน มี 10 ข้อ ได้แก่ เรื่องของอามิสทานและธรรมทาน , การบูชายัญ, การสละ (จาคะ) , การบริจาค , การบริโภค, การคบหากัน, การจำแนก, การสงเคราะห์, การอนุเคราะห์ และความเอื้อเฟื้อ [152-161] สันถารวรรค หมวดว่าด้วยการรับรอง มี 12 ข้อ ได้แก่ เรื่องของการรับรอง (สันถาร), การต้อนรับ (ปฏิสันถาร), การเสาะหา, การแสวงหา, การค้นหา, การบูชา, ของต้อนรับแขก, ความสำเร็จ, ความเจริญ, รัตนะ , การสะสมอามิสการสั่งสมธรรม และความไพบูลย์ [...]
- ในเอพิโสดนี้ เป็นเนื้อหาที่มาในทุกนิบาตส่วนปลาย (ตติยปัณณาสก์) ใน อายาจนวรรค หมวดว่าด้วยความปรารถนา ได้อธิบายใน 11 ข้อ โดยแบ่งเป็น 3 กลุ่ม (4 ข้อแรก, 4 ข้อต่อมา และ 3 ข้อที่เหลือ) กล่าวถึง [131-134] บุคคลที่มีศรัทธาแล้วจะตั้งความปรารถนาไว้ได้โดยชอบ พึงปรารถนาที่จะเป็นเช่น ภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก และอุบาสิกา ผู้เป็นบรรทัดฐาน เป็นมาตรฐาน [135-138] เปรียบเทียบ สัตบุรุษ (บัณฑิต) และ อสัตบุรุษ (คนพาล) ซึ่งประกอบด้วยธรรม 2 ประการย่อมบริหารตนไม่ให้ถูกกำจัด ไม่ให้ถูกทำลาย ไม่มีความเสียหาย ไม่ถูกผู้รู้ติเตียน และประสพบุญเป็นอันมาก [139-141] เปรียบเทียบส่วนเหมือนส่วนต่างของธรรม 2 ประการ ใน 3 ข้อ ได้แก่ การชำระจิตของตนให้ผ่องแผ้ว/ความไม่ถือมั่นอะไร ๆ ในโลก ,[...]
- ในเอพิโสดนี้ มาถึง ทุกนิบาต ส่วนปลาย (ตติยปัณณาสก์) โดยเริ่มที่ อาสาทุปปชหวรรค หมวดว่าด้วยความหวังที่ละได้ยาก พระพุทธเจ้ากล่าวเปรียบเทียบ 2 สิ่ง ใน 12 ประเด็น ดังนี้ [119] ความหวัง 2 อย่างนี้ ที่ละได้ยาก คือ ความหวังในลาภ และ ความหวังในชีวิต [120] บุคคล 2 จำพวกนี้ ที่หาได้ยากในโลก คือ บุพพการี (ผู้ทำอุปการะก่อน) และ กตัญญูกตเวที (ผู้รู้อุปการะที่เขาทำแล้วและตอบแทน) [121] บุคคล 2 จำพวกนี้ ที่หาได้ยากในโลก คือ คนที่อิ่มเอง และ คนที่ให้ผู้อื่นอิ่ม [122] บุคคล 2 จำพวกนี้ ให้อิ่มได้ยาก คือ คนที่สะสมสิ่งที่ได้มาทุกครั้ง และ คนที่สละสิ่งที่ได้มาทุก [123] บุคคล[...]
- ในเอพิโสดนี้ เป็นเนื้อหาของวรรคที่ 5 ซึ่งเป็นวรรคสุดท้ายที่มาในทุกนิบาตส่วนกลาง (ทุติยปัณณาสก์) คือ พาลวรรค หมวดว่าด้วยคนพาลและบัณฑิต ได้เปรียบเทียบระหว่างคน 2 จำพวกในความที่เป็นคนพาลและบัณฑิต ใน 10 ประเด็น (20 ข้อ) ดังนี้ การทำหน้าที่ / ไม่ทำหน้าที่ ในหน้าที่ซึ่งยังมาไม่ถึงและมาถึงแล้ว ความเข้าใจว่าควร / ไม่ควร ในของที่ควรและของที่ไม่ควร ความเข้าใจว่าเป็นอาบัติ / ไม่เป็นอาบัติ ในข้อที่เป็นอาบัติและไม่เป็นอาบัติ ความเข้าใจว่าเป็นธรรม / ไม่เป็นธรรม ในข้อที่เป็นธรรมและไม่เป็นธรรม ความเข้าใจว่าเป็นวินัย / ไม่เป็นวินัย ในข้อที่เป็นวินัยและไม่เป็นวินัย อาสวะย่อมเจริญ / ไม่เจริญ แก่คนที่รังเกียจ / ไม่รังเกียจ ในสิ่งที่น่ารังเกียจและสิ่งที่ไม่รังเกียจ อาสวะย่อมเจริญ / ไม่เจริญ แก่คนที่เข้าใจว่าควร / ไม่ควร ในของที่ควรและของที่ไม่ควร อาสวะย่อมเจริญ / ไม่เจริญ แก่คนที่เข้าใจว่าเป็นอาบัติ[...]
- 6 ขุดเพชรในพระไตรปิฏกในเอพิโสดนี้ เป็นเนื้อหาที่มาในทุกนิบาตส่วนกลาง (ทุติยปัณณาสก์) ใน สนิมิตตวรรค หมวดว่าด้วยเหตุแห่งบาปอกุศล 10 อย่าง และ ธัมมวรรค หมวดว่าด้วยธรรมที่มี 2 อย่างที่มาด้วยกัน ใน 11 ข้อ ในวรรคที่ 3 นี้ กล่าวถึงเหตุของความชั่ว ที่ถ้ามีเหตุ 10 อย่างต่อไปนี้ มันก็มีความชั่วเกิดขึ้น แต่ถ้าไม่มีเหตุเหล่านั้น บาปอกุศลธรรมก็ไม่มี จึงเปรียบเทียบส่วนต่างโดยยกเอาเรื่องของอกุศลธรรมและเหตุขึ้นมา ที่มีการเกิดแล้วก็ดับ ได้แก่ ธรรมที่เป็นบาปอกุศล จะต้องมี นิมิต (เครื่องหมายบ่งบอก อาศัยเป็นเหตุ) / นิทาน (เรื่องที่มาก่อน) / เหตุ (สิ่งที่เกิดก่อน) / สังขาร (การปรุงแต่งชนิดที่เป็นอกุศล เป็นทุจริต) / ปัจจัย (เป็นเงื่อนไขกันมา เป็นสมการตัวแปร) / รูป (ผัสสะ) / เวทนา / สัญญา / วิญญาณ /[...]
- 6 ขุดเพชรในพระไตรปิฏกในเอพิโสดนี้ เป็นเนื้อหาที่มาในทุกนิบาตส่วนกลาง (ทุติยปัณณาสก์) ใน สุขวรรค หมวดว่าด้วยสุข กล่าวถึงสุข 2 อย่าง ใน 13 ประเด็นเปรียบเทียบไว้ให้เห็นว่าสุขใดที่เป็นเลิศ สุขของคฤหัสถ์ / บรรพชิต , กามสุข / เนกขัมมสุข , สุขที่มีอุปธิ / ไม่มีอุปธิ , สุขที่มีอาสวะ / ไม่มีอาสวะ , สุขที่อิงอามิส / ไม่อิงอามิส , สุขของพระอริยะ / ผู้ไม่ใช่พระอริยะ , สุขทางกาย / ทางใจ , สุขที่มีปีติ / ไม่มีปีติ , สุขที่เกิดจากความยินดี / อุเบกขา , สมาธิสุข / อสมาธิสุข , สุขที่เกิดจากฌานมีปีติ / ไม่มีปีติ[...]
- 6 ขุดเพชรในพระไตรปิฏกในเอพิโสดนี้ มาถึง ทุกนิบาต ส่วนกลาง (ทุติยปัณณาสก์) โดยเริ่มที่ ปุคคลวรรค หมวดว่าด้วยบุคคล พระพุทธเจ้ากล่าวถึงบุคคล 2 จำพวกไว้ใน 12 ประเด็น ดังนี้ [53] บุคคล 2 จำพวกนี้ เมื่อเกิดขึ้นในโลก ย่อมเกิดขึ้นเพื่อเกื้อกูล เพื่อสุข เพื่อประโยชน์แก่คนหมู่มาก แก่เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย | พระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า และ พระเจ้าจักรพรรดิ [54] บุคคล 2 จำพวกนี้ เมื่อเกิดขึ้นในโลก ย่อมเกิดขึ้นเป็นอัจฉริยมนุษย์ (น่าอัศจรรย์) | พระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า และ พระเจ้าจักรพรรดิ [55] การตายของบุคคล 2 จำพวกนี้เป็นเหตุให้คนจำนวนมากพลอย เดือดร้อนไปด้วย | พระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า และ พระเจ้าจักรพรรดิ [56] ถูปารหบุคคล 2 จำพวก | พระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า และ พระเจ้าจักรพรรดิ[...]
- 6 ขุดเพชรในพระไตรปิฏกในเอพิโสดนี้ เป็นเนื้อหาที่มาในทุกนิบาต หมวดธรรมที่มีหัวข้อธรรมจำนวน 2 ข้อ ใน ปริสวรรค หมวดว่าด้วยบริษัท กล่าวถึงลักษณะของบริษัท 2 โดยแบ่งเป็นประเด็นย่อย 10 ประเด็น (พระไตรปิฎกเล่มที่ 20 พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ 12 [ฉบับมหาจุฬาฯ] อังคุตตรนิกาย เอก-ทุก-ติกนิบาต) บริษัท คือ กลุ่มคน ในที่นี้พระพุทธเจ้าตรัสถึง บริษัท 2 จำพวก ในแต่ละข้อ ๆ ได้แก่ (43) บริษัทตื้น/ลึก เป็นลักษณะของกลุ่มผู้ที่ปฏิบัติตามได้แบบผิวเผินหรือลึกซึ้ง (44) บริษัทที่แตกแยก/สามัคคีกัน เป็นลักษณะกลุ่มนักปฏิบัติที่แตกแยกกัน หรือสามัคคีกัน (45) บริษัทที่ไม่มี/มีหัวหน้ายอดเยี่ยม เป็นลักษณะกลุ่มนักปฏิบัติที่ได้หัวหน้าไม่น่าเอาเป็นตัวอย่าง หรือที่มีหัวหน้าเป็นแบบอย่างไปในทางเจริญ (46) บริษัทที่ไม่เป็นอริยะ/เป็นอริยะ เป็นลักษณะของกลุ่มนักปฏิบัติที่ไม่ได้ผล หรือที่ได้รับผล (47) บริษัทหยากเยื่อ/ใสสะอาด เป็นลักษณะของกลุ่มนักปฏิบัติที่ไม่มีความโปร่งใส หรือมีความโปร่งใส (48) บริษัทที่ดื้อด้าน/ไม่ดื้อด้าน เป็นลักษณะของกลุ่มนักปฏิบัติที่บอกแนะนำไม่ได้ หรือบอกแนะนำได้ (49) บริษัทที่หนักในอามิส[...]
- ในเอพิโสดนี้ เป็นเนื้อหาที่มาในทุกนิบาต หมวดธรรมที่มีหัวข้อธรรมจำนวน 2 ข้อ ใน สมจิตตวรรค หมวดว่าด้วยเรื่องเทวดาพร้อมใจกัน ได้แสดงถึง ภูมิอสัตบุรุษและภูมิสัตบุรุษ การตอบแทนที่ทำได้ยาก วาทะ 2 อย่างที่กล่าวว่าควรทำและไม่ควรทำ ทักขิไณยบุคคล 2 จำพวก บุคคลผู้มีสังโยชน์ 2 จำพวก เหตุปัจจัยแห่งการวิวาท ภูมิคนแก่และภูมิคนหนุ่ม สมัย 2 อย่างที่บุคคลมีกำลัง การปฏิบัติที่ทรงสรรเสริญและไม่ทรงสรรเสริญ บุคคลผู้ทำให้ศาสนาเสื่อมและเจริญ (พระไตรปิฎกเล่มที่ 20 พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ 12 [ฉบับมหาจุฬาฯ] อังคุตตรนิกาย เอก-ทุก-ติกนิบาต) ปรารภพระสารีบุตร ขณะอยู่ที่ปราสาทของวิสาขามิคารมาตา ในบุพพาราม เมืองสาวัตถี ได้แสดงธรรมแก่ภิกษุทั้งหลายถึงเรื่อง บุคคลผู้มีสังโยชน์ 2 จำพวก คือ ผู้มีสังโยชน์ภายใน และ ผู้มีสังโยชน์ภายนอก อุปมาไว้ด้วยโรงลูกโค ที่ลูกวัวถูกผูกไว้ในคอก 3 นอกคอก 3 และด้วยจิตอันเทวดาจำนวนมากได้เจริญในธรรมวินัยนี้นั่นเอง จึงพร้อมใจกันเข้าไปเฝ้าฯ พระพุทธเจ้า ซึ่งขณะนั้นประทับอยู่[...]
- ในเอพิโสดนี้ เป็นเนื้อหาที่มาในทุกนิบาต หมวดธรรมที่มีหัวข้อธรรมจำนวน 2 ข้อ ใน พาลวรรค หมวดว่าด้วยเรื่องของคนพาล (พระไตรปิฎกเล่มที่ 20 พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ 12 [ฉบับมหาจุฬาฯ] อังคุตตรนิกาย เอก-ทุก-ติกนิบาต) พาลคือคนโง่ บัณฑิตคือฉลาด เปรียบเทียบส่วนเหมือนส่วนต่างระหว่างคนพาลและบัณฑิต ในเรื่องของการเห็นโทษโดยความเป็นโทษ การยอมรับตามความเป็นจริงเมื่อบุคคลอื่นแสดงโทษ การกล่าวตู่และไม่กล่าวตู่พระพุทธเจ้า คติและฐานะ 2 อย่างของผู้มีการงานปกปิดและไม่ปกปิด ของผู้เป็นมิจฉาทิฏฐิ และของผู้เป็นสัมมาทิฏฐิ สถานที่รองรับคนทุศีลและคนมีศีล ประโยชน์ของการอาศัยเสนาสนะอันเงียบสงัด และธรรม 2 ประการ คือ สมถะและวิปัสสนา อันเป็นฝ่ายแห่งวิชชา "…เพราะโง่ จึงทำให้ไม่เห็นโทษโดยความเป็นโทษ ไม่เห็นคุณของศีล ไม่เห็นโทษของการผิดศีล ไม่ยอมรับตามความเป็นจริงเมื่อผู้อื่นแสดงโทษให้เห็น ซึ่งในความที่คนพาลมีลักษณะเช่นนี้ ทำให้เขามักจะประพฤติผิดทางกาย วาจา ใจ เพราะเป็นคนประมาท เผลอสติไปตามเรื่องของกามบ้าง ไปตามสิ่งที่มายั่วยวนบ้าง ไม่ยอมรับโทษนั้นตามความเป็นจริง" แนะนำรับฟังเพิ่มเติมได้ที่ Playlists: ใต้ร่มโพธิบท S07E35 , คลังพระสูตร S09E05, #ธรรมบท-เรื่องพระลกุณฏกภัททิยเถระ
- 6 ขุดเพชรในพระไตรปิฏกในเอพิโสดนี้ เป็นเนื้อหาที่มาในทุกนิบาต หมวดธรรมที่มีหัวข้อธรรมจำนวน 2 ข้อ ใน อธิกรณวรรค หมวดว่าด้วยอธิกรณ์ ซึ่งประกอบด้วยเรื่องของ พละ 2 โดยนัย 3 ธรรมเทศนาของตถาคต 2 แบบ เหตุให้อธิกรณ์ยืดเยื้อและไม่ยืดเยื้อ เหตุให้เกิดในทุคติและสุคติ โทษแห่งทุจริต 5 อานิสงส์แห่งสุจริต 5 การละอกุศลและการบำเพ็ญกุศล ธรรมที่ทำให้พระสัจธรรมเสื่อมและเจริญ (พระไตรปิฎกเล่มที่ 20 พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ 12 [ฉบับมหาจุฬาฯ] อังคุตตรนิกาย เอก-ทุก-ติกนิบาต) พละ 2 คือ ปฏิสังขานพละ (กำลังคือการพิจารณา) และ ภาวนาพละ (กำลังคือการเจริญ) มีการพิจารณาทบทวนให้เห็นถึง "ผลของกายทุจริต วจีทุจริต มโนทุจริต เป็นผลที่เลว ทรามทั้งในภพนี้และภพหน้า ก็ย่อมละกายทุจริต วจีทุจริต มโนทุจริต บำเพ็ญกายสุจริต วจีสุจริต มโนสุจริต บริหารตนให้บริสุทธิ์" เพื่อพัฒนาทำให้มากเจริญให้มาก ซึ่งกำลังของพระเสขะ ที่จะละราคะ[...]
- ในเอพิโสดนี้ เป็นการเริ่มของซีซั่นที่ 4 ทุกนิบาต หมวดที่มีหัวข้อธรรมจำนวน 2 ข้อ โดยแบ่งออกเป็น 4 ส่วน คือ ส่วนต้น ส่วนกลาง ส่วนปลาย และเบ็ดเตล็ด ซึ่งในแต่ละส่วนก็จะแบ่งเป็นวรรค มาเริ่มต้นกันในวรรคแรก คือ กัมมกรณวรรค หมวดว่าด้วยวิธีการลงโทษ ซึ่งดูตามชื่อของวรรคนี้แล้ว มีเนื้อหาที่เป็นไปในเชิงลักษณะของอกุศล ที่เราพึงต้องระวัง ไม่กระทำให้เกิดขึ้น เพราะมันจะมีโทษ เป็นผลร้าย ผลไม่ดี เป็นทุกข์ ซึ่งจะให้ผลในภพนี้หรือให้ผลในภพหน้าหน้าแน่นอน เพราะเหตุนั้นแล เธอทั้งหลายพึงสำเหนียกอย่างนี้ว่า “เราจักกลัวโทษที่ให้ผลในภพนี้ จักกลัวโทษที่ให้ผลในภพหน้า จักเป็นคนขลาดต่อโทษ มีปกติเห็นโทษโดยความเป็นของน่ากลัว” เธอทั้งหลายพึงสำเหนียกอย่างนี้แล บุคคลผู้ขลาดต่อโทษ มีปกติเห็นโทษโดยความเป็นของน่ากลัว พึงหวังเหตุแห่งความหลุดพ้นจากโทษทั้งมวลได้ ทั้งนี้ ได้รวมเนื้อหาจำนวน 10 พระสูตรที่มีอยู่ในวรรคนี้ ได้แก่ 1) วัชชสูตร ว่าด้วยโทษ 2) ปธานสูตร ว่าด้วยความเพียรที่เกิดได้ยาก 3) ตปนียสูตร ว่าด้วยธรรมที่เป็นเหตุแห่งความเดือดร้อน 4) อตปนียสูตร[...]
- 6 ขุดเพชรในพระไตรปิฏกในเอพิโสดนี้ เป็นการจบของเอกกนิบาต หมวดที่มีหัวข้อธรรมจำนวน 1 ข้อ ซึ่งจะจบด้วยข้อที่ 563-599 มาใน กายคตาสติวรรค หมวดว่าด้วยผลแห่งการเจริญกายคตาสติ และ ข้อที่ 600-611 มาใน อมตวรรค หมวดว่าด้วยอมตธรรม (พระไตรปิฎกเล่มที่ 20 พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ 12 [ฉบับมหาจุฬาฯ] อังคุตตรนิกาย เอก-ทุก-ติกนิบาต) กายคตาสติ คือ การระลึกถึงกาย การระลึกมาในกาย ซึ่งบางครั้งก็ใช้คำว่า การเห็นกายในกาย โดยพิจารณาเห็นกายตามความเป็นจริง พิจารณาเห็นกายเป็นของไม่สวยงาม เป็นของปฏิกูล พิจารณาไล่ไปตามอวัยวะ 32 ของร่างกายหรือกระดูก พิจารณาแตกออกไปได้ในความเป็นธาตุ 4 พิจารณาสมหายใจหายใจออก กายคตาสติจึงสามารถพิจารณาได้หลายวิธี และถ้าเมื่อได้เจริญทำให้มากแล้ว จะมีผลมากมีอานิสงส์มาก ตามที่ได้อธิบายขยายความในหัวข้อต่อไปนี้ กายคตาสติ เป็นส่วนแห่งวิชชา เป็นไปเพื่อสังเวชใหญ่ เพื่อประโยชน์ใหญ่ เพื่อธรรมเป็นแดนเกษมจากโยคะใหญ่ เพื่อสติและสัมปชัญญะ เพื่อได้ญาณทัสสนะ เพื่ออยู่เป็นสุขในปัจจุบัน เพื่อทำให้แจ้งซึ่งผลแห่งวิชชาและวิมุตติ กายคตาสติ ทำให้กายสงบ จิตสงบ แม้วิตกและวิจารก็สงบ[...]
- ในเอพิโสดนี้ เป็นเรื่องของ ผลแห่งจิตชั่วลัดนิ้วมือเดียว ที่มาใน อปรอัจฉราสังฆาตวรรค ข้อที่ 479-562 ว่าด้วยเรื่อง "อนุสติ 10" ในหัวข้อ อานาปานสติ มรณสติ กายคตาสติ อุปสมานุสสติ และ อินทรีย์ 5 รวมกับ พละ 5 (เป็น 10) ที่ประกอบด้วยฌาน 4 และพรหมวิหาร 4 (เป็น 8) ในแต่ละข้อ รวมทั้งหมดเป็น 80 ข้อ (พระไตรปิฎกเล่มที่ 20 พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ 12 [ฉบับมหาจุฬาฯ] อังคุตตรนิกาย เอก-ทุก-ติกนิบาต) การเจริญอานาปานสติ เป็นวิธีการปฏิบัติที่ใคร ๆ ก็ทำได้ ไม่ยากเกินไป แต่ต้องอาศัยการฝึกฝน และผู้ที่ทำได้แล้วเขาก็จะรู้ลมอยู่ตลอดเวลา สิ่งเกิดขึ้นที่เราจะสังเกตเห็นได้ ก็คือ จิตใจของเรามักจะไม่คล้อยไปตามอารมณ์อื่น ๆ ที่มากระทบอยู่เรื่อย ๆ จะไม่เกลือกกลั้วไปตามอารมณ์ความนึกคิดนั้น การเจริญมรณสติ[...]
- ในเอพิโสดนี้ เป็นเรื่องของ ผลแห่งจิตชั่วลัดนิ้วมือเดียว ที่มาใน อปรอัจฉราสังฆาตวรรค ข้อที่ 476-478 ว่าด้วยเรื่อง "อนุสติ 10" ในหัวข้อ สีลานุสสติ จาคานุสสติ เทวตานุสสติ (พระไตรปิฎกเล่มที่ 20 พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ 12 [ฉบับมหาจุฬาฯ] อังคุตตรนิกาย เอก-ทุก-ติกนิบาต) ขอทบทวนและเพิ่มเติมเนื้อหาจากเอพิโสดที่แล้วในเรื่องของ "สังฆานุสสติ" ให้มีความสมบูรณ์ยิ่งขึ้น โดยได้ขยายความในสังฆคุณ 9 และอธิบายรายละเอียดในแต่ละระดับขั้นของอริยบุคคลที่จะถูกสอบด้วยบททดสอบต่าง ๆ เพื่อให้มีการพัฒนา จนสอบผ่านได้ถึงความเป็นพระอรหันต์ และต่อเนื่องด้วยอนุสติอีก 3 หัวข้อ ได้แก่ สีลานุสสติ จาคานุสสติ และเทวตานุสสติ "สีลานุสสติ" หมายถึง การระลึกถึงศีลของเรา ในความเป็นปกติ 5 อย่าง คือเป็นศีล 5 นั่นเอง หรือการระลึกถึงศีลของคนอื่นก็ได้ ที่ได้ทำความดีในข้อศีลอย่างใดอย่างหนึ่ง เช่น การเก็บเงินได้ในแท็กซี่แล้วคืนเจ้าของ เป็นการไม่ถือเอาทรัพย์ที่เจ้าของไม่ได้ เป็นต้น "จาคานุสสติ" หมายถึง การให้[...]
- ในเอพิโสดนี้ เป็นเรื่องของ ผลแห่งจิตชั่วลัดนิ้วมือเดียว ที่มาใน อปรอัจฉราสังฆาตวรรค ข้อที่ 473-475 ว่าด้วยเรื่อง "อนุสติ 10" ในหัวข้อ พุทธานุสสติ ธัมมานุสสติ สังฆานุสสติ (พระไตรปิฎกเล่มที่ 20 พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ 12 [ฉบับมหาจุฬาฯ] อังคุตตรนิกาย เอก-ทุก-ติกนิบาต) "อนุสติ" คือ ความระลึกถึง ในที่นี้ ให้เรามาเจริญพุทธานุสสติ คือ การตามระลึกถึงพระคุณของพระพุทธเจ้า กล่าวถึงพุทธคุณ 9 อย่าง หรือแจกแจงได้เป็น 108 อย่าง หรือยิ่งกว่านั้น โดยรวมลงที่ "พุทโธ" ซึ่งหมายถึง เป็นผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบานด้วยธรรม เพราะฉะนั้น การระลึกถึงคุณของพระพุทธเจ้า ก็คือ ระลึกถึงคุณธรรม สิ่งที่พระองค์ได้สร้างบารมีมา พูดง่าย ๆ คือ ทาน ศีล ภาวนา ปฏิบัติตามมรรค 8 มาก[...]
- ในเอพิโสดนี้ เป็นเรื่องของ ผลแห่งจิตชั่วลัดนิ้วมือเดียว ที่มาใน อปรอัจฉราสังฆาตวรรค ข้อที่ 463-472, 481 ว่าด้วยเรื่อง "การเจริญอนิจจสัญญา, อนัตตสัญญา, มรณสัญญา, อาหาเรปฏิกูลสัญญา, สัพพโลเกอนภิรตสัญญา, การพิจารณาซากศพ 6 ชนิด และกายคตาสติ" (พระไตรปิฎกเล่มที่ 20 พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ 12 [ฉบับมหาจุฬาฯ] อังคุตตรนิกาย เอก-ทุก-ติกนิบาต คำสอนที่มีมากมายนี้ เป็นความรู้ของพระพุทธเจ้า เราจะรับความรู้ของท่าน มาเป็นความรู้ของเรา ต้องผ่านกระบวนการจากความรู้ของท่านมาเป็นความเข้าใจของเรา มาเป็น สัญญา (ความหมายรู้) ก่อน จากสัญญา เราจึงต้องเปลี่ยนเป็นญาณ โดยอาศัยการปฏิบัติ แล้วสัญญาอะไร หรือความรู้แบบไหนที่เราต้องทำความเข้าใจ? "ความยึดถือ ไม่มีที่อื่นนอกจากในขันธ์ 5 อุปทานไม่มีที่อื่น นอกจากในขันธ์ 5 ตัณหาไม่มีที่อื่น นอกจากในขันธ์ 5 เพราะมีตัณหาจึงมีอุปทาน ตัณหาก็อยู่ในขันธ์ 5 นี่แหละ เวลาคุณจะเอาของไม่เที่ยง เป็นอนิจจัง มีความเป็นอนัตตา[...]