ข้อที่ #10_มัจฉริยสูตร สังโยชน์ หมายถึง สิ่งที่ผูกจิตให้ติดอยู่ในภพ ได้แก่ สังโยชน์ คือ ความยินดี, ความยินร้าย, ความเห็นผิด ความลังเลสงสัย, ความถือตัว, ความริษยา (ตนเองไม่มี-แต่คนอื่นมี), ความตระหนี่ (ตนเองมี-แต่ไม่ให้)

ข้อที่ #11-12_ปฐม-ทุติยอนุสยสูตร อนุสัย คือ กิเลสที่นองเนื่องในสันดาน ได้แก่ อนุสัย คือ ความกำหนัดในกาม, ความยินร้าย, ความเห็นผิด, ความลังเลสงสัย, ความถือตัว, ความติดใจในภพ, ความไม่รู้แจ้ง

*กิเลสที่ทำให้เกิดอนุสัย 7 และ สังโยชน์ 7 นี้ สังเกตเห็นได้ว่า เป็นกิเลสอย่างละเอียดชนิดเดียวกัน เมื่อเกิดสะสมอยู่ในจิตแล้วผลคือ ผูกจิตให้ติดอยู่ในภพ สามารถละได้ด้วยศีล สมาธิ ปัญญาอย่างละเอียด

ข้อที่#13_กุลสูตร ตระกูลที่ประด้วยองค์ประกอบต่อไปนี้ ภิกษุควรเข้าไปหา (ไว้ใช้พิจารณาการเข้าสู่ตระกูล) คือ มีการลุกขึ้นต้อนรับ-ไหว้-ให้อาสนะด้วยความเต็มใจ, ไม่ปกปิดของที่มีอยู่, มีของมาก ก็ถวายมาก, มีของประณีต ก็ถวายของประณีต, ถวายโดยเคารพ 

ข้อ#14_ปุคคลสูตร บุคคลผู้ควรแก่ของที่เขานำมาถวาย (อริยบุคคล)

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตกนิบาต อนุสยวรรค

อ่าน “มัจฉริยสูตร ว่าด้วยมัจฉริยะ” พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๓ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๕ [ฉบับมหาจุฬาฯ] อังคุตตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต

ฟัง “สังโยชน์ – กิเลสเครื่องผูกสัตว์ไว้ในภพ”


Timeline

[08:16] กิจกรรมค้นหา “ขุมทรัพย์แห่งใจ”
[17:06] ข้อที่ 10 มัจฉริยสูตร ว่าด้วยมัจฉริยะ
[29:19] ข้อที่ 11 ปฐมอนุสยสูตร ว่าด้วยอนุสัย สูตรที่ ๑
[32:30] ข้อที่ 12 ทุติยอนุสยสูตร ว่าด้วยอนุสัย สูตรที่ ๒
[34:44] ข้อที่ 13 กุลสูตร ว่าด้วยตระกูลที่ภิกษุไม่ควรเข้าไปหาและควรเข้าไปหา
[46:48] ข้อที่ 14 ปุคคลสูตร ว่าด้วยบุคคลผู้ควรแก่ของที่เขานำมาถวาย