ข้อที่ #7_อุคคสูตร เป็นเรื่องราวของอุคคมหาอำมาตย์ที่ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคเจ้าถึงความเป็นผู้มีทรัพย์มากของมิคารเศรษฐีผู้เป็นหลานของโรหณเศรษฐี พระผู้มีพระภาคจึงทรงได้แสดงถึงทรัพย์เหล่านั้นว่า เป็นของสาธารณะทั่วไป แล้วได้ทรงแสดงถึง “อริยทรัพย์ 7 ประการ” ได้แก่ ทรัพย์คือ ศรัทธา, ศีล, หิริ, โอตตัปปะ, สุตะ, จาคะ และปัญญา ที่ไม่ใช่ของสาธารณะกับบุคคลอื่น ยิ่งใช้ยิ่งเพิ่ม และนำติดตัวข้ามภพชาติไปด้วยได้

*อริยทรัพย์นี้เมื่อเจริญให้มากก็ย่อมก่อให้เกิดประโยชน์อันมากด้วยเช่นกัน นั่นหมายถึงการละสังโยชน์ตัดภพชาติได

ข้อที่ 8-9-10 ว่าด้วยเรื่องสังโยชน์กิเลสเครื่องผูกใจสัตว์ไว้ในภพ ได้แก่ สังโยชน์คือ

  1. ความยินดีเพลินในสุข -รักสุข (กามราคะ)
  2. ความยินร้ายในทุกข์ -ความหงุดหงิดด้วยอำนาจโทสะ (ปฏิฆะ)
  3. ความเห็นผิด -ยึดมั่นในความเห็น (ทิฏฐิ)
  4. ความลังเลสงสัยในพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ (วิจิกิจฉา)
  5. ความถือตัว -เป็นสังโยชน์เบื้องสูง อาศัยความละเอียดในศีล สมาธิ และปัญญาในการละ (มานะ)
  6. ความติดใจในภพ -กำหนัดยินดีในภพให้มีอยู่คงอยู่ ยินดีในการเกิด (ภวราคะ) / ความอิจฉา
  7. ความไม่รู้แจ้ง – ความไม่รู้ในอริยสัจ 4, ปฏิจจสมุปบาท, อดีต, อนาคต, ปัจจุบัน (อวิชชา 8) / ความตระหนี่

    *การมาปฏิบัติธรรม ก็เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดนั่นคือ การละสังโยชน์

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตกนิบาต ธนวรรค

อ่าน “อุคคสูตร” พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๓ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๕ [ฉบับมหาจุฬาฯ] อังคุตตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต

ฟัง “ทรัพย์ของคนประเสริฐ – อริยทรัพย์”


Timeline

[02:56] Event promotion “ขุมทรัพย์แห่งใจ”
[11:14] ข้อที่ 7 อุคคสูตร ว่าด้วยมหาอำมาตย์ชื่ออุคคะ
[26:19] ข้อที่ 8 สัญญโญชนสูตร ว่าด้วยสังโยชน์
[47:16] ข้อที่ 9 ปหานสูตร ว่าด้วยการอยู่ประพฤติพรหมจรรย์เพื่อละสังโยชน์
[51:36] ข้อที่10 มัจฉริยสูตร ว่าด้วยมัจฉริยะ