ในติกวรรคนี้แบ่งธรรมออกเป็น 2 หมวด หมวดละ 3 ข้อ โดยใน 3 ข้อแรกจะเป็นฝ่าย “อกุศล” และธรรม 3 ข้อหลังจะแสดงเพื่อละธรรมใน 3 ข้อแรกนั้น

#114_สันตุฏฐิตาสูตร ว่าด้วย ความสันโดษ ธรรมในหมวดนี้ คือ อสันตุฏฐิตา (ความไม่สันโดษ) / อสัมปัชชัญญะ (ความไม่มีสัมปชัญญะ) / มหิจฉตา (ความปรารถนามาก) 

• ควรเจริญสันตุฏฐิตา (ความสันโดษ) เพื่อละอสันตุฏฐิตา 

• ควรเจริญสัมปชัญญะ (มีสติ รู้ตัวทั่วพร้อม) เพื่อละอสัมปัชชัญญะ

• ควรเจริญอัปปิจฉตา (ความปรารถนาน้อย) เพื่อละมหิจฉตา

*สันโดษ มักน้อย มักจะเป็นวลีที่มาคู่กันเสมอ และมีการเข้าใจผิดเพี้ยนคลาดเคลื่อนไป “สันโดษ” ไม่ใช่ ความเกียจคร้าน แต่เป็นความยินดีพอใจยอมรับในสิ่งที่ตนมี จะทำให้เกิดการพัฒนา ส่วน “มักน้อย” คือ ไม่ปรารถนาให้ผู้อื่นรู้คุณวิเศษในตน ทำดีได้โดยไม่ต้องโอ้อวด ตรงกันข้ามกับ 

“มักมาก” อวดคุณวิเศษที่มีหรือไม่มีในตน เพื่อให้คนยกย่อง จะเป็นไปเพื่อพอกพูนกิเลส 

#115_โทวจัสสตาสูตร ว่าด้วยความเป็นผู้ว่ายาก ธรรมในหมวดนี้ คือ ความเป็นผู้ว่ายาก (ไม่ทำตามคำสอน) / ความเป็นผู้มีปาปมิตร (มิตรชั่ว) / ความฟุ้งซ่านแห่งจิต 

• ควรเจริญความเป็นผู้ว่าง่าย (เอื้อเฟื้อ เชื่อฟังทำตามสอน) เพื่อละความเป็นผู้ว่ายาก 

• ควรเจริญความเป็นผู้มีกัลยาณมิตรเพื่อละความเป็นผู้มีปาปมิตร 

• ควรเจริญอานาปานสติเพื่อละความฟุ้งซ่านแห่งจิต

*วิธีดูมิตร

• มิตรแท้ ได้แก่ มิตร 4 จำพวก คือ มิตรมีอุปการะ มิตรร่วมสุขร่วมทุกข์ มิตรแนะประโยชน์ และมิตรมีความรักใคร่

• มิตรเทียม ได้แก่ คน 4 จำพวก ซึ่งควรเว้นให้ห่างไกล คือ คนปอกลอก คนดีแต่พูด คนหัวประจบ และคนชักชวนในทางฉิบหาย

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ฉักกนิบาต ติกวรรค

อ่าน “สันตุฏฐิตาสูตร” พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๒ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๔ [ฉบับมหาจุฬาฯ] อังคุตตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต

ฟัง “ความเพลินในสุข – อัสสาททิฏฐิ”


Timeline

[04:27] สันตุฏฐิตาสูตร ว่าด้วยสันตุฏฐิตา (ความสันโดษ)
[26:56] โทวจัสสตาสูตร ว่าด้วยความเป็นผู้ว่ายาก