#83_ อัคคธัมมสูตร (เป็นธรรมคู่ตรงข้าม-ทำให้แจ้งหรือไม่แจ้งอรหัตผล) ผู้ที่ประกอบด้วยธรรม 6 ประการนี้ เป็นผู้อาจทำให้แจ้งอรหัตผล คือ
1. เป็นผู้มีศรัทธา-ศรัทธาในพระรัตนตรัย (ระดับของศรัทธา คือ “อมูลิกาศรัทธา” เชื่อแบบงมงาย ไม่มีมูลเหตุผล, “อาการวตีศรัทธา” ประกอบด้วยปัญญา เข้าใจเหตุผล-เหตุปัจจัย, “อจลศรัทธา” โสดาบัน ไม่หวั่นไหว)
2. เป็นผู้มีหิริ (ละอาย) 3. โอตตัปปะ (เกรงกลัวต่อบาป)
4. เป็นผู้ปรารภความเพียร-ทำจริงแน่วแน่จริง อกุศลลดลง-กุศลเพิ่มขึ้น
5. เป็นผู้มีปัญญา-3 ระดับ (สุตมยปัญญา จินตามยปัญญา ภาวนามยปัญญา)
6. เป็นผู้ไม่ห่วงใยกาย และชีวิต-ปล่อยวางตัวตนด้วยปัญญา
#84_รัตติทิวสสูตร (เป็นธรรมคู่ตรงข้าม-เจริญหรือเสื่อมในกุศลธรรม) ผู้ที่ประกอบด้วยธรรม 6 ประการนี้ จะเจริญในกุศลธรรมทั้งหลาย ไม่เสื่อมเลย คือ 1. เป็นผู้ไม่มักมาก (สันโดษ)-ยินดีตามมีตามได้ ไม่คับแค้นใจ 2. มีศรัทธา 3. มีศีล 4. ปรารภความเพียร 5. มีสติ 6. มีปัญญา
*เมื่อมีเครื่องทดสอบมากระทบแล้ว ยังนิ่งเฉยอยู่ได้ การรักษาและทำให้เจริญในกุศลธรรมทั้งหลาย จะทำให้อินทรีย์แก่กล้าขึ้นเรื่อย ๆ เป็นการพัฒนาปัญญาให้คมขึ้นไปสู่การหลุดพ้นได้
#85_สีติภาวสูตร (เป็นธรรมคู่ตรงข้าม-ทำนิพพานให้แจ้งได้หรือไม่ได้) ผู้ที่ประกอบด้วยธรรม 6 ประการนี้ จะทำนิพพานให้แจ้งได้ คือ
1. ข่มจิตในสมัยที่ควรข่ม-ให้เข้าสมาธิ
2. ประคองจิตในสมัยที่ควรประคอง-ปรารภความเพียร
3. ทำจิตให้ร่าเริงในสมัยที่ควรให้ร่าเริง-ทำให้สม่ำเสมอ
4. วางจิตในสมัยที่ควรวาง-อุเบกขา
5. น้อมไปในธรรมที่ประณีต-ทำให้ละเอียดยิ่งๆ ขึ้นไป
6. ยินดียิ่งในนิพพาน-ยินดีในธรรมระงับกิเลส
พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ฉักกนิบาต อรหัตตวรรค สีติวรรค
อ่าน “อัคคธัมมสูตร” พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๒ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๔ [ฉบับมหาจุฬาฯ] อังคุตตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต
ฟัง “เหตุแห่งการพัฒนา-ความไพบูลย์ในธรรม”
Timeline
[04:31] อัคคธัมมสูตร ว่าด้วยธรรมชั้นเลิศ
[10:18] ระดับของศรัทธา
[22:34] ไม่ห่วงใยในกายและชีวิต
[28:59] รัตติทิวสสูตร ว่าด้วยวัน และคืน
[35:04] ความหมายของ “ยินดีตามมีตามได้”
[45:18] สีติภาวะสูตร ว่าด้วยสีติภาวะ (สภาวะที่เย็น/นิพพาน)