ทบทวนข้อ #79_อธิคมสูตร เป็นธรรมคู่ตรงข้าม หลักธรรมข้อนี้เป็นการสร้างนิสัยที่ดี และกำจัดนิสัยที่ไม่ดีในชีวิตประจำวัน

1. เป็นผู้ฉลาดในความเจริญ (เหตุทำให้เกิดกุศลธรรม)

2. เป็นผู้ฉลาดในความเสื่อม (เหตุทำให้เกิดอกุศลธรรม)

3. เป็นผู้ฉลาดในอุบาย (วิธีการ / ทางแก้)

4. สร้างฉันทะเพื่อบรรลุกุศลธรรมที่ยังไม่ได้บรรลุ (ความพอใจในการทำกุศลธรรม)

5. รักษากุศลธรรมที่ได้บรรลุแล้ว

6. ทำกุศลธรรมให้ถึงพร้อมด้วยการทำติดต่อ (ทำให้ติดต่อต่อเนื่องกันไป)

#80_มหัตตสูตร ผู้ประกอบด้วยธรรม 6 ประการนี้ ไม่นานนัก ย่อมบรรลุความเป็นใหญ่ ความไพบูลย์ในธรรมทั้งหลาย (เกิดความก้าวหน้าและละเอียดยิ่งขึ้นไป) ได้แก่

1. เป็นผู้มากด้วยแสงสว่าง (ญาณ / ความรู้) – ทำในสิ่งที่เรามีอยู่แล้วให้เกิดความชำนาญยิ่ง ๆ ขึ้นไป

2. เป็นผู้มากด้วยความเพียร (วิริยะ / ความกล้า) – ปรับเพิ่มความเพียร

3. เป็นผู้มากด้วยความปลาบปลื้ม (ปีติและปราโมทย์) – ทำให้เกิดกำลังใจในการทำความเพียร

4. เป็นผู้มากด้วยความไม่สันโดษ (ทำความเพียรยิ่งขึ้นในกุศลธรรมทั้งหลาย) – ขวนขวายมากไม่อิ่มไม่พอในกุศลธรรม

5. เป็นผู้ไม่ทอดธุระ (รับเป็นภาระให้)

6. ทำความเพียรให้ยิ่งขึ้นในกุศลธรรมทั้งหลาย (ทำให้ยิ่ง ๆ ขึ้นไป)

#81_ปฐมนิรยสูตร และ #82_ทุติยนิรยสูตร เป็นธรรมคู่ตรงข้าม มีหัวข้อแหมือนกันแต่มีไส้ในที่แตกต่างกัน ว่าด้วยผู้ที่ประกอบด้วยธรรมเหล่านี้ย่อมไปสู่นรกหรือสวรรค์ ได้แก่ เป็นผู้ทุศีล (ผิดศีล 5 ข้อ 1-4), มีความปรารถนาชั่ว (อกุศลธรรม), เป็นมิจฉาทิฏฐิ, พูดเท็จ, พูดส่อเสียด (ยุยง), พูดคำหยาบ, พูดเพ้อเจ้อ, มักโลภ, มีความคะนอง (ประมาท)

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ฉักกนิบาต อรหัตตวรรค

อ่าน “อธิคมสูตร” พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๒ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๔ [ฉบับมหาจุฬาฯ] อังคุตตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต

ฟัง “ธรรมที่เป็นเหตุให้มีสุขโสมนัส”


Timeline

[05:07] อธิคมสูตร ว่าด้วยการบรรลุกุศลธรรม
[23:27] มหัตตสูตร ว่าด้วยการบรรลุความเป็นใหญ่
[45:06] ปฐม-ทุติยนิรยสูตร ว่าด้วยธรรมที่เป็นเหตุให้เกิดในนรก สูตรที่ 1-2