สำนวน “ตาบอดคลำช้าง” เป็นคำสอนเชิงเปรียบเทียบไว้กับผู้ที่มีความเข้าใจในบางสิ่งบางอย่างที่อาจยังไม่ถูกต้อง คลาดเคลื่อน ผิดเพี้ยนไปจากความเป็นจริง แล้วอาจทำให้เกิดการพูด วิจารณ์ ทุ่มเถียงกันไปตามความคิดเห็น ความเข้าใจผิดของตน

ส่วนผู้ที่เข้าใจในปฏิจจสมุปบาทนั้น จะไม่มายึดถือในทิฐิของตน จะเข้าใจถึง ความเป็นเหตุ-เป็นผล ความที่อาศัยเหตุปัจจัย แล้วจึงเกิดขึ้น ว่า “บุคคลสามารถที่จะเรียนรู้ แก้ไข เปลี่ยนแปลง ไปตามเหตุและผล ผู้ที่มีดวงตาที่มืดบอดมา ก็สามารถพัฒนา ปรับปรุง แก้ไข ทำให้ละเอียด เกิดมีดวงตาที่สว่างเห็นธรรมขึ้นมาได้”

อาการแต่ละคู่ในปฏิจจสมุปบาทนั้น สามารถเกิดขึ้นและดับลงได้ในแต่ละคู่ และเมื่อจะแสดงอาการให้ครบทั้ง 12 อาการ และ 11 คู่นั้น ก็จะแสดงให้เห็นถึงความที่มันเกี่ยวเนื่องสัมพันธ์เชื่อมโยงกันจนเป็นทั้งสายเกิดและสายดับปฏิจจสมุปบาท

เรื่องราวต่างๆที่เกิดขึ้นบนโลกและวุ่นวายอยู่ในขณะนี้ ล้วนเป็นเรื่องราวที่เกิดจากการหวงกั้น ซึ่งมีเหตุเกิดมาจาก <- ความตระหนี่ <- ความจับอกจับใจ <- ความสยบมัวเมา <- ความกำหนัดด้วยอำนาจความพอใจ <- ปลงใจรัก <- มีการได้มา <- มีการแสวงหา <- มีตัณหา <- เวทนา *ซึ่งถ้าจะไม่ให้มีตัณหา ก็ต้องดับที่เวทนา

ฟัง “ปฏิจจสมุปบาท–การเกิด และการดับอาสวะ (ตอนที่ 9)”


Timeline

[00:38] ปฏิบัติภาวนา เจริญพรหมวิหาร 4
[06:44] สำนวน “ตาบอดคลำช้าง”
[24:18] เรื่องราวที่เกิดจากความหวงกั้น
[36:24] กระแสตัณหาในระยะไกลและใกล้ของมนุษย์
[51:31] วางจิตเหมือน “จิตของสะใภ้ใหม่”