พระผู้มีพระภาคทรงได้เคยตรัสกับท่านพระอานนท์ไว้ว่า “ปฏิจจสมุปบาท เป็นธรรมอันลึกซึ้ง” ที่มิอาจจะพึงรู้ได้ด้วยการท่องจำ แต่ต้องอาศัยการพิจารณาโดยแยบคาย (โยนิโสมนสิการ) ให้เห็นด้วยปัญญาเท่านั้น… และนี่เป็นเหตุผลหนึ่งที่ทำพระองค์เกิดความท้อใจในการที่จะแสดงธรรม

อย่างไรก็ตาม..เราสามารถปฏิบัติให้มีปัญญาที่ละเอียดลึกซึ้งยิ่ง ๆ ขึ้นมาได้ด้วยการปฏิบัติตาม “อริยมรรคมีองค์ 8” จะมีนิพพานเป็นที่สุดจบได้

นาฬิกาแห่งปฏิจจสมุปบาท จิตเปรียบเสมือนเข็มนาฬิกาตรงกลางที่ไปทำหน้าที่เข้าไปรับรู้อาการต่าง ๆ ถ้าเราสามารถกำหนดเห็นภาพนี้ปรากฎขึ้นในใจเราได้ เราก็จะเข้าใจกระบวนการทำงานของจิตกับอาการต่าง ๆ ในปฏิจจสมุปบาทได้อย่างลึกซึ้งยิ่งขึ้น

การเข้าถึงปฏิจจสมุปบาทเพื่อเข้าถึงการดับอาสวะ หรือการทำอาสวะให้สิ้นไปนี้ จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องเข้าใจธรรมชาติของการเกิดทุกข์ และการดับทุกข์เสียก่อน นั่นก็คือ “อริยสัจ 4” เมื่อจิตที่ประกอบด้วยปัญญา (ปฏิบัติตามมรรค 8 เกิดเป็นมรรคสามัคคีขึ้น) เห็นอริยสัจ 4 ด้วยอาการ 12 แล้ว จะยอมรับ และเข้าใจ เกิดความหน่าย คลายกำหนัด ปล่อยวางอุปาทานในขันธ์ 5 ได้ จะทำอาสวะให้สิ้นไปได้ด้วยกระบวนการนี้ ด้วยการทำย้ำ ๆ ทำซ้ำ ๆ (ทำให้เกิดวิมุตติขึ้นมาบ่อยๆ)

ตัวอย่างการเกิดอาสวะ-ดับอาสวะ เช่น:- กลิ่นเหม็นและหอม, ดูซีรี่ย์หนังละคร, การเมือง ล้วนเกิดจากมีผัสสะเป็นเหตุเป็นปัจจัย จึงมีเวทนาที่เป็นสุข หรือทุกข์ และเกิดตัณหา (อยาก/ไม่อยากได้เวทนานั้น) เพลินไปในสังขาร (การปรุงแต่ง) และวิญญาณ (การรับรู้) ไปเรื่อย ๆ ในแต่ละคู่อาการของปฏิจจสมุปบาทจนเชื่อมโยงเป็นสายเกิดอาสวะ เพราะอาศัยอวิชชาอาสวะจึงเกิด และกระบวนการดับอาสวะ คือ เมื่อเกิดเวทนาขึ้นแล้ว เห็นเวทนานั้นด้วยปัญญา ไม่เพลินไปในสังขาร (การปรุงแต่ง) ด้วยการมี “สติ” ในอนุสติ 10 -> สติปัฏฐาน 4 -> โพชฌงค์ 7 อาสวะก็ดับลง “อาสวะเกิดขึ้นได้ก็ตรงเวทนา จะดับอาสวะได้ก็ตรงที่เวทนา”

ฟัง “ปฏิจจสมุปบาท–ญาณเพื่อความเป็นโสดาบัน (ตอนที่ 8)”


Timeline

[00:25] ปฏิบัติภาวนา เจริญอานาปานสติ
[10:10] ทบทวนความหมายของปฏิจจสมุปบาท
[13:15] ปฏิจจสมุปบาทในรูปแบบเข็มนาฬิกา
[18:18] ตัวอย่างที่เกิดจาก “กลิ่นเป็นผัสสะ”
[29:40] ความอดทนด้วยปัญญา
[37:15] วางเฉยด้วยวิชชา หรือ อวิชชา
[43:40] “ดูซีรี่ย์” ตัวอย่างที่เกิดจาก “รูป และเสียงเป็นผัสสะ”
[41:25] ตัวอย่างการเมืองในประเทศ
[54:17] กระบวนการเกิดและดับอาสวะ