พระไตรปิฏกสากล พ.ศ. 2548 “ปาฬิภาสา อักษรโรมัน” (ฉบับมหาสังคีติ) เป็นพระไตรปิฏกฉบับที่จัดทำขึ้นให้มีเนื้อหาที่ถูกต้องสมบูรณ์ที่สุด โดยนำเอาต้นฉบับมาจากการสังคายนาพระไตรปิฎกนานาชาติ พ.ศ. 2500 (ฉบับฉัฏฐสังคีติ) ในประเทศพม่า ซึ่งสมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณสังวร ทรงเป็นหนึ่งในผู้แทนคณะสงฆ์ไทยที่ได้ร่วมทำการสังคายนาในครั้งนั้นด้วย มาขยายผลตรวจทานแก้ไขจุดบกพร่อง โดยมีการคิดค้นระบบอ้างอิง เพื่อที่จะอ้างอิงแหล่งข้อมูลที่มาได้ถูกต้อง

และการที่เราถอดอักษร (Transliteration) จากอักษรพม่ามาเป็นอักษรโรมัน ก็เพื่อความเป็นสากล (นานาชาติ) ที่สามารถใช้แปลกันได้ทั่วโลก แต่เพราะการออกเสียงที่แตกต่างกันไปในแต่ละท้องถิ่น จึงทำให้ต้องมีระบบการถอดเสียง (Transcription) หรือที่เรียกว่า “สัททะอักขระ” ซึ่งเป็นการเขียนเสียงด้วยอักษรเสียง มาพิมพ์เป็นดัชนีเก็บไว้ข้างหลังพระไตรปิฏกอักษรโรมัน เพื่อให้มีการออกเสียงให้ชัดเจนถูกต้อง

#56_ผัคคุณสูตร ว่าด้วยพระผัคคุณะผู้อาพาธ มีเวทนาอย่างแรงกล้า แต่เมื่อได้ฟังธรรมจากพระพุทธเจ้า ก็มีอาการสงบ และได้ดับขันธ์ลงด้วยมีอินทรีย์ผ่องใส เพราะอานิสงส์ในการฟังธรรม ในการใคร่ครวญเนื้อความแห่งธรรมโดยกาลอันควร พระพุทธเจ้าจึงได้ตรัสถึงธรรม 6 ประการที่เป็นเหตุปัจจัยแห่งการบรรลุธรรม 

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ฉักกนิบาต มหาวรรค

อ่าน ผัคคุณสูตร พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๒ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๔ [ฉบับมหาจุฬาฯ] อังคุตตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต

ฟัง “ความสมดุลแห่งอินทรีย์สู่การบรรลุธรรม”


Timeline

[04:11] การสังคยานาพระไตรปิฎกจากพม่าสู่ไทย (จากฉบับฉัฏฐสังคีติสู่ฉบับมหาสังคีติ)
[11:25] ทำไมต้องเป็นฉบับมหาสังคีติ
[30:06] เพราะออกเสียงต่าง จึงมีการแกะอักษรเสียง (สัททะอักขระ)
[44:09] ข้อที่ 56 ผัคคุณสูตร ว่าด้วยพระผัคคุณะอาพาธ