พระไตรปิฎก เดิมเรียกว่า “พระธรรมวินัย” (คือ พระธรรม กับพระวินัย) และสาเหตุของการสังคายนาพระไตรปิฎกเนื่องจากมีอธิกรณ์เกิดมากขึ้น จึงจัดให้มีการประชุมของพระสงฆ์เพื่อทำการจัดระเบียบหมวดหมู่หลักคำสอน

ประวัติการทำสังคายนาพระไตรปิฎกเกิดขึ้นหลายครั้ง นับตั้งแต่พุทธปรินิพพานจนถึงปัจจุบัน การนับจำนวนก็ยังไม่มีข้อยุติ

การทำสังคายนาในประเทศศรีลังกา เมื่อปี พ.ศ. 433 ได้มีการจารึกเป็นลายลักษณ์อักษรลงบนใบลานแทนการท่องจำหรือ “มุขปาฐะ”

ในประเทศไทย เมื่อปี พ.ศ. 2020 ที่วัดโพธาราม จังหวัดเชียงใหม่ โดยมีพระเจ้าติโลกราชเป็นองค์ราชูปถัมภ์ การสังคายนาครั้งนี้ได้จารึกพระไตรปิฎกโดยใช้อักษรไทยล้านนา

…………

#55_โสณสูตร ท่านพระโสณะปรารภความเพียรหนักเกินไปโดยเดินจงกรมจนฝ่าเท้าแตก จึงมีจิตฟุ้งซ่านท้อแท้จะบอกลาคืนสิกขา พระผู้มีพระภาคทรงทราบและได้ตรัสสอนท่านพระโสณะให้ตั้งความเพียรแต่พอดี ให้ปรับอินทรีย์ให้เสมอกัน หลังจากนั้นไม่นานท่านพระโสณะก็บรรลุอรหันต์ แล้วได้พยากรณ์อรหัตตผลในฐานะ 6 ประการ คือ น้อมไปในเนกขัมมะ / ปวิเวก / ความไม่เบียดเบียน / สิ้นตัณหา / สิ้นอุปาทาน / ไม่ลุ่มหลง เพราะความสิ้นไปแห่งราคะ โทสะ และโมหะ

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ฉักกนิบาต มหาวรรค

อ่าน “โสณสูตร” พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๒ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๔ [ฉบับมหาจุฬาฯ] อังคุตตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต

ฟัง “การบริภาษเพื่อนพรหมจารี”


Timeline

[04:37] ประวัติการสังคยานา
[12:18] การสังคายนาในปี พ.ศ. 234 สมัยพระเจ้าอโศกมหาราช
[31:04] การสังคายนาในปี พ.ศ. 2020 ฉบับล้านนา
[43:01] โสณสูตร ว่าด้วยท่านพระโสณะ
[50:47] ปรับอินทรีย์ให้เสมอกัน