อปริหานิยธรรม (ราชอปริหานิยธรรม) 7 ประการ นี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงตรัสแสดงแก่เจ้าวัชชีทั้งหลายผู้ปกครองรัฐโดยระบอบสามัคคีธรรม ซึ่งรัฐคู่อริ (แคว้นมคธ) ยอมรับว่า เมื่อชาววัชชียังปฏิบัติตามหลักธรรมนี้ จะเอาชนะด้วยการรบไม่ได้ นอกจากจะใช้การเกลี้ยกล่อมทางการฑูตหรือยุแยกให้แตกสามัคคีกัน 

#22_วัสสการสูตร พระเจ้าอชาตศัตรู มีพระประสงค์จะโค่นล้มพวกเจ้าลิจฉวีจึงรับสั่งให้ วัสสการพราหมณ์มหาอำมาตย์ ไปเข้าเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าเพื่อกราบทูลถาม..ฯ พระผู้มีพระภาคทรงไม่ตรัสตอบแต่ทรงรับสั่งเรียกท่านพระอานนท์มาตรัสถามถึง “อปริหานิยธรรม 7 ประการ” ของชาววัชชี จึงทำให้วัสสการพราหมณ์มีปัญญาเห็นกลอุบายที่จะโค่นล้มพวกเจ้าลิจฉวีนั่นคือ “ทำให้แตกแยกสามัคคี” … จึงได้คิดวางแผนให้วัสสการพราหมณ์ปลอมเข้าไปเป็นไส้ศึก ซึ่งวิธีการที่ใช้ คือ 1. ทำให้ไม่เชื่อใจกัน (ระแวง) 2. ทำให้ไม่พอใจกัน ซึ่งใช้ระยะเวลาอยู่ 3 ปี ก็โค่นล้มพวกเจ้าลิจฉวีได้สำเร็จ

พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๓ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๕ [ฉบับมหาจุฬาฯ] อังคุตตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต

อ่าน “วัสสการสูตร ว่าด้วยวัสสการพราหมณ์”

ฟัง “อปริหานิยธรรม – ธรรมที่เป็นเหตุให้เกิดความเจริญ”


*อปริหานิยธรรม 7 ประการ

  1. หมั่นประชุมกันเนืองนิตย์
  2. พร้อมเพรียงกันประชุม – เลิกประชุม – ทำกิจที่พึงทำ
  3. ไม่บัญญัติสิ่งที่มิได้บัญญัติไว้ (อันขัดต่อหลักการเดิม) ไม่ล้มล้างสิ่งที่บัญญัติไว้ (ตามหลักการเดิม) ถือปฏิบัติมั่นตามวัชชีธรรม (หลักการ) ตามที่วางไว้เดิม
  4. เคารพนับถือผู้ใหญ่ในชนชาววัชชี เห็นถ้อยคำของท่านว่าเป็นสิ่งอันควรรับฟัง 
  5. บรรดากุลสตรีกุลกุมารีทั้งหลาย ให้อยู่ดีโดยมิถูกข่มเหง หรือฉุดคร่าขืนใจ 
  6. เคารพสักการะบูชาเจดีย์ ของวัชชีทั้งหลาย ทั้งภายในและภายนอก ไม่ปล่อยให้ธรรมิกพลีที่เคยให้เคยทำแก่เจดีย์เหล่านั้นเสื่อมทรามไป 
  7. จัดให้ความอารักขา คุ้มครอง ป้องกัน อันชอบธรรม แก่พระอรหันต์ทั้งหลาย โดยตั้งใจว่า “ขอพระอรหันต์ทั้งหลายที่ยังมิได้มา พึงมาสู่แว่นแคว้น ที่มาแล้วพึงอยู่ในแว่นแคว้นโดยผาสุก”

Tstamp

[03:30] ความหมายและความสำคัญ “วันมาฆบูชา”
[10:20] วัสสการสูตร ว่าด้วยวัสสการพราหมณ์
[18:00] อปริหานิยธรรม ๗ ประการ
[48:30] วิธีการที่ใช้ทำให้ “แตกสามัคคี”