ข้อธรรมะ 7 ประการในหมวดธนวรรค ที่ว่าด้วยอริยทรัพย์ คือ ทรัพย์อันประเสริฐที่เมื่อมีอยู่ในจิตใจของผู้ใดแล้วจะทำให้ผู้นั้นเป็นบุคคลประเสริฐขึ้นมาได้อย่างแท้จริง ทรัพย์ในที่นี้จึงหมายถึงธรรมะที่ทำให้ผู้นั้นเป็นคนประเสริฐหรืออริยบุคคลได้แก่

ข้อ#1 และ ข้อ#2 ธรรมที่เป็นเหตุให้เป็นที่รักที่พอใจเป็นที่น่าเคารพยกย่อง ได้แก่ 1. เป็นผู้ไม่มุ่งลาภ (สิ่งของ,เงินทอง) 2. ไม่มุ่งสักการะ (ยกย่อง) 3. ไม่มุ่งชื่อเสียง (มีหน้ามีตา) 4. เป็นผู้มีหิริ (ละอายบาป) 5. มีโอตตัปปะ (กลัวบาป) 6. มักน้อย (ไม่โอ้วอวด) / ไม่ริษยา 7. เป็นสัมมาทิฏฐิ / ไม่ตระหนี่

*ถึงแม้จะมีเพียงแค่ข้อใดข้อหนึ่งใน 7 ข้อนี้ก็เป็นเหตุให้เป็นที่รักได้

ข้อ#3 และ ข้อ#4 ว่าด้วยพละคือกำลังของจิตที่จะทำให้ทรงอยู่ในมรรคได้มากหรือน้อยได้แก่ 1. ศรัทธา (เชื่อมั่นในปัญญาการตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า) 2. วิริยะ(เพียรในการเจริญกุศล-ละอกุศล) 3. สติ (สติปัฏฐาน 4) 4. หิริ 5. โอตตัปปะ 6. สมาธิ (ฌาน) 7. ปัญญา (เห็นอริยสัจ เห็นการเกิด-ดับ)

ข้อ#5 และ ข้อ#6 ผู้ใดมีทรัพย์ 7 ประการนี้เป็นคนไม่ขัดสน ได้แก่ ทรัพย์คือ ศรัทธา, ศีล, หิริ, โอตตัปปะ, สุตะ, จาคะ และปัญญา

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตกนิบาต ธนวรรค

อ่าน “ปฐมปิยสูตร” พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๓ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๕ [ฉบับมหาจุฬาฯ] อังคุตตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต

ฟัง “พละ 5 ธรรมที่ทำให้องอาจ”


Timeline

[03:12] พระไตรปิฎกเล่มที่ 23 ลักษณะเฉพาะคาถาท้ายพระสูตร
[12.57] ธนวรรค ข้อที่ 1 ปฐมปิยสูตร ว่าด้วยธรรมที่เป็นเหตุให้เป็นที่รัก (สูตร1)
[17:20] ข้อที่ 2 ทุติยปิยสูตร ว่าด้วยธรรมที่เป็นเหตุให้เป็นที่รัก (สูตร2)
[22:06] ข้อที่ 3 สังขิตตพลสูตร ว่าด้วยพละโดยย่อ
[28:10] ข้อที่ 4 วิตถตพลสูตร ว่าด้วยพละโดยพิสดาร
[37:06] ข้อที่ 5 – 6 พละคือธนะคืออริยทรัพย์