มาในพลวรรค ข้อที่ 11 – 14 อธิบายโดยรวมได้ดังนี้ พละ 5 เป็นธรรมที่องอาจ เป็นการบันลือสีหนาทของพระพุทธเจ้า ทำให้เราได้ฟังได้ยินในสิ่งที่ไม่เคยได้ยินได้ฟังมาก่อน พละ คือ กำลัง มี 5 อย่าง ได้แก่ ศรัทธา คือ ความมั่นใจความเลื่อมใส ความลงใจในการตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า แม้เอ่ยเพียงหนึ่งแต่ให้เข้าใจว่ารวมทั้งหมด “พุทธ ธรรม สงฆ์” เป็นศรัทธาที่ไม่เศร้าหมอง เพราะศรัทธาในสัมมาสัมพุทโธ มีศรัทธาแล้วจะทำให้ไม่ลังเลที่จะทำจริงแน่วแน่จริงมีความกล้าในการเผชิญหน้ากับทุกข์ (วิริยะ) เห็นตามจริง สติเกิดขึ้น สมาธิปัญญาก็ตามมาตามลำดับ ปัญญามีสูงสุดในแต่ละขั้นที่ผ่านไป หิริ โอตตัปปะ และสติ สมาธิสามารถนำมาใช้แทนกันได้สลับไปมาได้ในพละนี้


ข้อที่ 15 จะชี้ให้เห็นว่า สามารถหาคุณธรรมทั้ง 5 ได้จากที่ไหน: ศรัทธาหาได้ในโสตาปัตติยังคะ 4 วิริยะหาได้ในสัมมัปปธาน 4 สติหาได้ในสติปัฏฐาน 4 สมาธิหาได้ในฌาน 4 ปัญญาหาได้ในอริยสัจ 4 ทำไมจึงกล่าวว่าหาปัญญาได้ที่อริยสัจ 4 เพราะอริยสัจ 4 เป็นตัวรวมธรรมะทั้งหมด ปัญญาจะเป็นตัวพาเราไปสู่ดินแดนที่ไม่เคยไป


ข้อที่ 16 เปรียบปัญญาเป็นอันดับสูงสุดของหลังคา ทุกสิ่งต้องอยู่ใต้หลังคานั้น ปัญญาเป็นยอด สมาธิเป็นตัวดัน มีพื้นฐาน คือ ศรัทธา ส่งต่อกันมาด้วยความเพียรด้วยสติ มาตามลำดับแล้วพัฒนาไปด้วยกัน พละ 5 จะทำให้ทรงอยู่ในมรรคได้ อินทรีย์ 5 เป็นตัวที่จะทำให้บรรลุได้เร็วหรือช้า ความหมายเดียวกัน ต่างกันที่บริบทการใช้


ข้อที่ 17 18 19 20 อธิบายรายละเอียดเหมือนกันต่างกันในหัวข้อคุณธรรม 5 อย่างคือ ศีล สมาธิ ปัญญา วิมุตติ และวิมุตติญาณทัสสนะ ธรรม 5 อย่างนี้เป็นไปเพื่อเกื้อกูลหรือไม่เกื้อกูล ทั้งตนเองและผู้อื่นหรือไม่ และควรพัฒนาไปได้อย่างไร


“หมวดว่าด้วยพละ” พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๒ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๔ [ฉบับมหาจุฬาฯ] อังคุตตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต


Timeline

[04:31] พละ 5 คือ กำลัง มี 5 อย่าง
[05:55] ศรัทธา
[13:40] วิริยะ
[16:47] สติ
[18:40] สมาธิ
[20:37] ปัญญา
[23:30] ข้อที่ 11-13 พละที่พระพุทธเจ้าบรรลือธรรมจักร
[30:37] ข้อที่ 14 รายละเอียดของพละทััง 5
[31:45] โสตาปัตติยังคะ 4
[42:44] เปรียบเทียบกับเรื่องของอินทรีย์
[45:42] ศีล สมาธิ ปัญญา วิมุตติ วิมุตติญาณทัสสนะ