การมาศึกษาคำสอนของพระพุทธเจ้าเพื่อให้เกิดผลที่ดีงามนั้น ควรจะศึกษาด้วยการปฏิบัติ (สิกขา) คือ ปริยัติและปฏิบัติจะต้องควบคู่กันไป ซึ่งจะทำให้การปฏิบัติของเรานั้น มีความละเอียดลึกซึ้งขึ้นมาได้

#116_อุทธัจจสูตร ว่าด้วยความฟุ้งซ่าน

•ควรเจริญสมถะ (ความสงบแห่งจิต) เพื่อละ อุทธัจจะ (ความฟุ้งซ่าน) – ความคิดในหลายๆ เรื่องที่เป็นอกุศล

•ควรเจริญสังวร (ความสำรวม) เพื่อละ อสังวร (ความไม่สำรวม)

•ควรเจริญอัปปมาทะ (ความไม่ประมาท) เพื่อละ ปมาทะ (ความประมาท)

*การที่จะให้เกิดความสงบในจิตขึ้นมาได้นั้น ก็เริ่มมาจากการที่เราไม่ประมาท มีสติสำรวมในอินทรีย์ จิตก็จะรวมเป็นอารมณ์อันเดียวเกิดสมถะขึ้นมาในจิตใจได้

#117_กายานุปัสสีสูตร และ #118_ธัมมานุปัสสีสูตร ว่าด้วยผู้ที่ยังละธรรม 6 ประการนี้ไม่ได้

ก็จะทำให้สติปัฏฐาน 4 ให้เกิดขึ้นไม่ได้ และ ถ้าละได้แล้วก็จะทำให้สติปัฏฐาน 4 เกิดขึ้นได้ ได้แก่

1. เป็นผู้ชอบการงาน

2. เป็นผู้ชอบการพูดคุย

3. เป็นผู้ชอบการนอนหลับ

4. เป็นผู้ชอบการคลุกคลีด้วยหมู่

5. เป็นผู้ไม่คุ้มครองทวารในอินทรีย์ทั้งหลาย

6. เป็นผู้ไม่รู้จักประมาณในการบริโภค

*เป็นข้อปฏิบัติ (ศีล) ที่เป็นไปเพื่อให้เกิดสมาธิ

จากคำถามใน “ตาลปุตตสูตร” ว่าด้วยผู้ใหญ่บ้านนักฟ้อนรำ มีความเห็นผิดเป็นมิจฉาทิฏฐิ ตอนหลังจากที่ได้ฟังธรรมแล้วได้ออกบวชมีสัมมาทิฏฐิและได้บรรลุอรหันต์

#119_ตปุสสสูตร และข้อ 120-139 เป็นธรรม 6 ประการที่เหมือนกัน ว่าด้วย เป็นผู้เชื่อมั่นในตถาคต เห็นอมตธรรม ทำให้แจ้งอมตธรรมอยู่ คือ ความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระพุทธ / พระธรรม / พระสงฆ์ / อริยศีล / อริยญาณ (ปัญญา) / อริยวิมุตติ (ความพ้น)

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ฉักกนิบาต ติกวรรค สามัญวรรค

อ่าน “อุทธัจจสูตร” พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๒ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๔ [ฉบับมหาจุฬาฯ] อังคุตตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต

ฟัง “ความสันโดษและการคบมิตร”


Timeline

[01:41] ความสำคัญของการศึกษาพระไตรปิฏก
[07:40] ข้อที่ 116 อุทธัจจสูตร ว่าด้วยอุทธัจจะ
[19:05] ตอบคำถาม “ตาลปุตตสูตร” (ผู้ใหญ่บ้านนักฟ้อนรำชื่อตาลบุตร)
[39:50] ข้อที่ 119 ตปุสสสูตร ว่าด้วยตปุสสคหบดี
[42:12] ข้อที่ 117กายานุปัสสีสูตร ข้อที่118 ธัมมานุปัสสนาสูตร
[52:00] เกริ่นธรรมะ 6 ประการ ข้อที่ 119-139