อริยอุโบสถ ศีล 8
อุโปสถสูตร
อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต ๒๐/[๕๑๐]
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ ปราสาทของมิคารมารดา ในบุพพาราม ใกล้พระนครสาวัตถี ครั้งนั้น นางวิสาขามิคารมาตาได้เข้าเฝ้าพระผู้มีพระภาคยังที่ประทับในวันอุโบสถ ถวายบังคมพระผู้มีพระภาคแล้ว นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วพระผู้มีพระภาคตรัสถามว่า ดูกรนางวิสาขา ท่านมาแต่ไหนแต่ยังวันอยู่ นางวิสาขากราบทูลว่า วันนี้ดิฉันเข้าจำอุโบสถ เจ้าข้า ฯ
(ย่อ)
จากนั้นพระพุทธเจ้าทรงแสดงธรรมว่า อุโบสถ คือการเข้าจำรักษา มี 3 อย่าง คือ โคปาลกอุโบสถ อุโบสถแบบพวกคนเลี้ยงโค, นิคัณฐอุโบสถ ของลัทธินิครนถ์ และสุดท้ายคือ อริยอุโบสถ โดย 2 อย่างแรกนั้น ไม่มีผลมาก ไม่มีอานิสงส์มาก ไม่มีความรุ่งเรืองมาก ไม่แผ่ไพศาลมาก
ทรงแสดงอริยอุโบสถ โดยเริ่มว่า จิตที่หมองด้วยอุปกิเลส ย่อมทำให้ผ่องแผ้วได้ด้วยความเพียร ดังนี้ คือ
การตามระลึก ( อนุสฺสรติ ) ถึงตถาคต คือ พุทธคุณ 9, ตามระลึกถึงธรรม คือ ธรรมคุณ 6, ตามระลึกถึงสงฆ์ คือ สังฆคุณ 9, ตามระลึกถึงศีลในตน คือ ศีลอันไม่ขาด ไม่ทะลุ ไม่ด่าง ไม่พร้อย เป็นอิสระ ผู้รู้สรรเสริญ ไม่ถูกลูบคลำ เป็นไปเพื่อสมาธิ, และ ตามระลึกถึงเทวดาว่า เทวดาแต่ละเหล่าๆ ประกอบด้วย ศรัทธา ศีล สุตะ จาคะ ปัญญา เช่นใด แม้เราเองก็มี ศรัทธา ศีล สุตะ จาคะ ปัญญา เช่นนั้น
เมื่อเป็นผู้ตามระลึกดังนั้นอยู่ จิตย่อมเกิดศรัทธาเลื่อมใสสะอาด ( จิตฺตํ ปสีทติ ) ย่อมทำให้เกิดปราโมทย์ ( ปามุชฺชํ อุปฺปชฺชติ ) เมื่อนั้น ก็ย่อมละอุปกิเลสแห่งจิตได้ ( เย จิตฺตสฺส อุปกฺกิเลสา เต ปหียนฺติ )
ในการตามระลึก 5 อย่างข้างต้นนั้น ได้ทรงยกอุปมาไม่เหมือนกัน และมีชื่อเรียกไม่เหมือนกัน ดังนี้ คือ
ในกรณีของการตามระลึกซึ่งตถาคต ทรงอุปมาเหมือนการล้างศรีษะที่เปื้อนให้สะอาด และเรียกว่า พรหมอุโบสถ, การตามระลึกซึ่งธรรม ทรงอุปมาเหมือนการล้างกายที่เปื้อนให้สะอาด และเรียกว่า ธรรมอุโบสถ, การตามระลึกซึ่งสงฆ์ ทรงอุปมาเหมือนการล้างผ้าที่เปื้อนให้สะอาด และเรียกว่า สังฆอุโบสถ, การตามระลึกซึ่งศีลที่มีในตน ทรงอุปมาเหมือนการล้างกระจกที่มัวให้ใส และเรียกว่าศีลอุโบสถ, การตามระลึกซึ่งเทวดา ทรงอุปมาเหมือนการหลอมทองที่หมองให้ได้ทองที่สุกใส และเรียกว่าเทวตาอุโบสถ
( ทรงแสดงต่อเนื่องไปว่า )
ส โข โส วิสาเข อริยสาวโก อิติ ปฏิสญฺจิกฺขติ
ดูกรนางวิสาขา พระอริยสาวกนั้นย่อมพิจารณาเห็นดังนี้ว่า
{ ๑ }
ยาวชีวํ อรหนฺโต ปาณาติปาตํ ปหาย ปาณาติปาตา ปฏิวิรตา นิหิตทณฺฑา นิหิตสตฺถา ลชฺชี ทยาปนฺนา สพฺพปาณภูตหิตานุกมฺปี วิหรนฺติ
พระอรหันต์ทั้งหลาย ละการฆ่าสัตว์ เว้นขาดจากการฆ่าสัตว์ วางทัณฑะ วางศาตราแล้ว มีความละอาย เอ็นดู กรุณา หวังประโยชน์แก่สัตว์ทั้งปวง อยู่จนตลอดชีวิต
อหมฺปชฺช อิมญฺจ รตฺตึ อิมญฺจ ทิวสํ ปาณาติปาตํ ปหาย ปาณาติปาตา ปฏิวิรโต นิหิตทณฺโฑ นิหิตสตฺโถ ลชฺชี ทยาปนฺโน สพฺพปาณภูตหิตานุกมฺปี วิหรามิ
แม้เรา ก็ได้ละการฆ่าสัตว์ เว้นขาดจากการฆ่าสัตว์ วางทัณฑะ ศาตราแล้ว มีความละอาย เอ็นดู กรุณา หวังประโยชน์แก่สัตว์ทั้งปวง อยู่ตลอดคืนหนึ่งกับวันหนึ่งนี้ในวันนี้
อิมินาปิ องฺเคน อรหตํ อนุกโรมิ อุโปสโถ จ เม อุปวุตฺโถ ภวิสฺสติ ฯ
แม้ด้วยองค์อันนี้ เราก็ชื่อว่าได้ทำตามพระอรหันต์ทั้งหลาย ทั้งอุโบสถก็จักเป็นอันเราเข้าจำแล้ว
{ ๒ }
ยาวชีวํ อรหนฺโต อทินฺนาทานํ ปหาย อทินฺนาทานา ปฏิวิรตา ทินฺนาทายี ทินฺนปาฏิกงฺขี อเถเนน สุจิภูเตน อตฺตนา วิหรนฺติ
พระอรหันต์ทั้งหลายละการลักทรัพย์ เว้นขาดจากการลักทรัพย์ รับแต่ของที่เขาให้ ต้องการแต่ของที่เขาให้ ไม่ประพฤติตนเป็นคนขโมย เป็นผู้สะอาด อยู่จนตลอดชีวิต
อหมฺปชฺช อิมญฺจ รตฺตึ อิมญฺจ ทิวสํ อทินฺนาทานํ ปหาย อทินฺนาทานา ปฏิวิรโต ทินฺนาทายี ทินฺนปาฏิกงฺขี อเถเนน สุจิภูเตน อตฺตนา วิหรามิ
แม้เรา ก็ละการลักทรัพย์ เว้นขาดจากการลักทรัพย์ รับแต่ ต้องการแต่ของที่เขาให้ ไม่ประพฤติตนเป็นคนขโมย เป็นผู้สะอาด อยู่ตลอดคืนหนึ่งกับวันหนึ่งนี้ในวันนี้
อิมินาปิ องฺเคน อรหตํ อนุกโรมิ อุโปสโถ จ เม อุปวุตฺโถ ภวิสฺสติ ฯ
แม้ด้วยองค์อันนี้ เราก็ชื่อว่าได้ทำตามพระอรหันต์ทั้งหลาย ทั้งอุโบสถก็จักเป็นอันเราเข้าจำแล้ว
{ ๓ }
ยาชีวํ อรหนฺโต อพฺรหฺมจริยํ ปหาย พฺรหฺมจารี อาราจารี วิรตา เมถุนา คามธมฺมา
พระอรหันต์ทั้งหลาย ละกรรมเป็นข้าศึกแก่พรหมจรรย์ ประพฤติพรหมจรรย์ ประพฤติห่างไกล เว้นขาดจากเมถุนอันเป็นกิจของชาวบ้าน จนตลอดชีวิต
อหมฺปชฺช อิมญฺจ รตฺตึ อิมญฺจ ทิวสํ อพฺรหฺมจริยํ ปหาย พฺรหฺมจารี อาราจารี วิรโต เมถุนา คามธมฺมา
แม้เรา ก็ได้ละกรรมเป็นข้าศึกแก่พรหมจรรย์ ประพฤติพรหมจรรย์ ประพฤติห่างไกล เว้นขาดจากเมถุนอันเป็นกิจของชาวบ้าน ตลอดคืนหนึ่งกับวันหนึ่งนี้ในวันนี้
อิมินาปิ องฺเคน อรหตํ อนุกโรมิ อุโปสโถ จ เม อุปวุตฺโถ ภวิสฺสติ ฯ
แม้ด้วยองค์อันนี้ เราก็ชื่อว่าได้ทำตามพระอรหันต์ทั้งหลาย ทั้งอุโบสถก็จักเป็นอันเราเข้าจำแล้ว
{ ๔ }
ยาวชีวํ อรหนฺโต มุสาวาทํ ปหาย มุสาวาทา ปฏิวิรตา สจฺจวาที สจฺจสนฺธา เถตา ปจฺจยิกา อวิสํวาทกา โลกสฺส
พระอรหันต์ทั้งหลาย ละการพูดเท็จ เว้นขาดจากการพูดเท็จ พูดแต่คำจริง ดำรงคำสัตย์ พูดเป็นหลักฐาน ควรเชื่อได้ ไม่พูดลวงโลกจนตลอดชีวิต
อหมฺปชฺช อิมญฺจ รตฺตึ อิมญฺจ ทิวสํ มุสาวาทํ ปหาย มุสาวาทา ปฏิวิรโต สจฺจวาที สจฺจสนฺโธ เถโต ปจฺจยิโก อวิสํวาทโก โลกสฺส
แม้เรา ก็ได้ละการพูดเท็จ เว้นขาดจากการพูดเท็จ พูดแต่คำจริง ดำรงคำสัตย์ พูดเป็นหลักฐาน ควรเชื่อได้ ไม่พูดลวงโลก ตลอดคืนหนึ่งกับวันหนึ่งนี้ในวันนี้
อิมินาปิ องฺเคน อรหตํ อนุกโรมิ อุโปสโถ จ เม อุปวุตฺโถ ภวิสฺสติ ฯ
แม้ด้วยองค์อันนี้ เราก็ชื่อว่าได้ทำตามพระอรหันต์ทั้งหลาย ทั้งอุโบสถก็จักเป็นอันเราเข้าจำแล้ว
{ ๕ }
ยาวชีวํ อรหนฺโต สุราเมรยมชฺชปมาทฏฺฐานํ ปหาย สุราเมรยมชฺชปมาทฏฺฐานา ปฏิวิรตา
พระอรหันต์ทั้งหลาย ละการดื่มน้ำเมาคือสุราและเมรัยอันเป็นที่ตั้งแห่งความประมาท เว้นขาดจากการดื่มน้ำเมาฯ แม้จนตลอดชีวิต
อหมฺปชฺช อิมญฺจ รตฺตึ อิมญฺจ ทิวสํ สุราเมรยมชฺชปมาทฏฺฐานํ ปหาย สุราเมรยมชฺชปมาทฏฺฐานา ปฏิวิรโต
แม้เรา ก็ละการดื่มน้ำเมาคือสุราและเมรัยอันเป็นที่ตั้งแห่งความประมาท เว้นขาดจากการดื่มน้ำเมาฯ ตลอดคืนหนึ่งกับวันหนึ่งนี้ในวันนี้
อิมินาปิ องฺเคน อรหตํ อนุกโรมิ อุโปสโถ จ เม อุปวุตฺโถ ภวิสฺสติ ฯ
แม้ด้วยองค์อันนี้ เราก็ชื่อว่าได้ทำตามพระอรหันต์ทั้งหลาย ทั้งอุโบสถก็จักเป็นอันเราเข้าจำแล้ว
{ ๖ }
ยาวชีวํ อรหนฺโต เอกภตฺติกา รตฺตูปรตา วิรตา วิกาลโภชนา
พระอรหันต์ทั้งหลาย ฉันหนเดียว เว้นการบริโภคในราตรี งดจากการฉันในเวลาวิกาล จนตลอดชีวิต
อหมฺปชฺช อิมญฺจ รตฺตึ อิมญฺจ ทิวสํ เอกภตฺติโก รตฺตูปรโต วิรโต วิกาลโภชนา
แม้เรา ก็บริโภคหนเดียว เว้นการบริโภคในราตรี งดจากการบริโภคในเวลาวิกาล ตลอดคืนหนึ่งกับวันหนึ่งนี้ในวันนี้
อิมินาปิ องฺเคน อรหตํ อนุกโรมิ อุโปสโถ จ เม อุปวุตฺโถ ภวิสฺสติ ฯ
แม้ด้วยองค์อันนี้ เราก็ชื่อว่าได้ทำตามพระอรหันต์ทั้งหลาย ทั้งอุโบสถจักเป็นอันเราเข้าจำแล้ว
{ ๗ }
ยาวชีวํ อรหนฺโต นจฺจคีตวาทิตวิสูกทสฺสนา มาลาคนฺธวิเลปนธารณมณฺฑนวิภูสนฏฺฐานา ปฏิวิรตา
พระอรหันต์ทั้งหลาย เว้นขาดจากฟ้อนรำขับร้อง การประโคมดนตรี และการดูการเล่นอันเป็นข้าศึกแก่กุศล จากการทัดทรงประดับและตกแต่งกายด้วยดอกไม้ของหอม และเครื่องประเทืองผิวอันเป็นฐานะแห่งการแต่งตัว จนตลอดชีวิต
อหมฺปชฺช อิมญฺจ รตฺตึ อิมญฺจ ทิวสํ นจฺจคีตวาทิตวิสูกทสฺสนา มาลาคนฺธวิเลปนธารณมณฺฑนวิภูสนฏฺฐานา ปฏิวิรโต
แม้เรา ก็เว้นขาดจากการฟ้อนรำขับร้อง การประโคมดนตรี และดูการเล่นอันเป็นข้าศึกแก่กุศล จากการทัดทรงประดับตกแต่งร่างกายด้วยดอกไม้ของหอม และเครื่องประเทืองผิวอันเป็นฐานะแห่งการแต่งตัว ตลอดคืนหนึ่งกับวันหนึ่งนี้ในวันนี้
อิมินาปิ องฺเคน อรหตํ อนุกโรมิ อุโปสโถ จ เม อุปวุตฺโถ ภวิสฺสติ ฯ
แม้ด้วยองค์อันนี้ เราก็ชื่อว่าได้ทำตามพระอรหันต์ทั้งหลาย ทั้งอุโบสถก็จักเป็นอันเราเข้าจำแล้ว
{ ๘ }
ยาวชีวํ อรหนฺโต อุจฺจาสยนมหาสยนํ ปหาย อุจฺจาสยนมหาสยนา ปฏิวิรตา นีจเสยฺยํ กปฺเปนฺติ มญฺจเก วา ติณสนฺถารเก วา
พระอรหันต์ทั้งหลาย ละการนั่งนอนบนที่นั่งที่นอนอันสูงใหญ่ เว้นขาดจากการนั่งนอนบนที่นั่งที่นอนอันสูงใหญ่ สำเร็จการนอนบนที่นอนอันต่ำ คือ บนเตียงหรือบนเครื่องปูลาดที่ทำด้วยหญ้าจนตลอดชีวิต
อหมฺปชฺช อิมญฺจ รตฺตึ อิมญฺจ ทิวสํ อุจฺจาสยนมหาสยนํ ปหาย อุจฺจาสยนมหาสยนา ปฏิวิรโต นีจเสยฺยํ กปฺเปมิ มญฺจเก วา ติณสนฺถารเก วา
แม้เรา ก็ได้ละการนั่งนอนบนที่นั่งที่นอนอันสูงใหญ่ เว้นขาดจากการนั่งนอนบนที่นั่งที่นอนอันสูงใหญ่ สำเร็จการนอนบนที่นอนอันต่ำ คือบนเตียงหรือบนเครื่องปูลาดที่ทำด้วยหญ้า ตลอดคืนหนึ่งกับวันหนึ่งในวันนี้
อิมินาปิ องฺเคน อรหตํ อนุกโรมิ อุโปสโถ จ เม อุปวุตฺโถ ภวิสฺสตีติ ฯ
แม้ด้วยองค์อันนี้ เราก็ชื่อว่าได้ทำตามพระอรหันต์ทั้งหลาย ทั้งอุโบสถก็จักเป็นอันเราเข้าจำแล้ว
{ อานิสงส์ }
เอวํ โข วิสาเข อริยูโปสโถ โหติ เอวํ อุปวุตฺโถ โข วิสาเข อริยูโปสโถ มหปฺผโล โหติ มหานิสํโส มหาชุติโก มหาวิปฺผาโร
ดูกรนางวิสาขา อริยอุโบสถเป็นเช่นนี้แล อริยอุโบสถอันบุคคลเข้าจำแล้วอย่างนี้แล ย่อมมีผลมาก มีอานิสงส์มาก มีความรุ่งเรืองมาก มีความแผ่ไพศาลมาก
ที่มา : อุโปสถสูตร — องฺ ติก. ๒๐ / [๕๑๐] / ๒๗๑–๒๗๓.
สรุปย่อ เนื้อหา ศีล 8 คือ องค์ทั้งแปด ที่มาจาก อริยอุโบสถสูตร ข้างต้น
- ละการฆ่าสัตว์ เว้นขาดจากการฆ่าสัตว์ ฯ
- ละการลักทรัพย์ เว้นขาดจากการลักทรัพย์ ฯ
- ละกรรมเป็นข้าศึกแก่พรหมจรรย์ เว้นขาดจากเมถุนอันเป็นกิจของชาวบ้าน ฯ
- ละการพูดเท็จ เว้นขาดจากการพูดเท็จ ฯ
- ละการดื่มน้ำเมาคือสุราและเมรัยอันเป็นที่ตั้งแห่งความประมาท เว้นขาดจากการดื่มน้ำเมาคือสุราและเมรัยอันเป็นที่ตั้งแห่งความประมาท ฯ
- บริโภคหนเดียว เว้นการบริโภคในราตรี งดจากการบริโภคในเวลาวิกาล ฯ
- เว้นขาดจากการฟ้อนรำขับร้อง การประโคมดนตรี และดูการเล่นอันเป็นข้าศึกแก่กุศล จากการทัดทรงประดับตกแต่งร่างกายด้วยดอกไม้ของหอม และเครื่องประเทืองผิวอันเป็นฐานะแห่งการแต่งตัว ฯ
- ละการนั่งนอนบนที่นั่งที่นอนอันสูงใหญ่ เว้นขาดจากการนั่งนอนบนที่นั่งที่นอนอันสูงใหญ่ ฯ