การโจทก์ในทางพุทธศาสนา คือ การตั้งหัวข้อที่จะเปลี่ยนแปลง ปรับปรุงให้อยู่ด้วยกันได้ การอยู่ร่วมกันนั้นต้องอยู่อย่างมีศีลและทิฏฐิที่เสมอกัน ในการปรับให้อยู่ด้วยกันนั้นต้องเป็นไปตามทางของมรรค โดยผู้โจทก์และผู้ถูกโจทก์ต้องมีคุณธรรมดังนี้

การเป็นผู้โจทก์ต้องมีคุณธรรม 5 อย่าง คือ

1.ต้องกล่าวในเวลาอันควรอย่ากล่าวในเวลาอันไม่ควร

2.ต้องกล่าวด้วยถ้อยคำอันเป็นจริงไม่กล่าวด้วยถ้อยคำอันไม่จริง

3.ต้องกล่าวด้วยถ้อยคำอ่อนหวานไม่กล่าวด้วยถ้อยคำหยาบคาย

4.กล่าวด้วยถ้อยคำอันประกอบด้วยประโยชน์ไม่กล่าวด้วยถ้อยคำอันไม่ประกอบด้วยประโยชน์

5.ผู้กล่าวต้องกล่าวด้วยมีจิตเมตตากล่าวไม่กล่าวอย่าเพ่งโทษกล่าว

ส่วนผู้ถูกโจทก์ต้องมีคุณธรรม 2 อย่าง คือ

1.ความจริง คือ เอาข้อเท็จจริงมาเป็นหลัก 

2.ความไม่โกรธ

การนำคุณธรรมทั้ง 7 ข้อนี้มาใช้คือใช้ในเวลาที่เหมาะสม คุยด้วยเรื่องจริง ด้วยคำอ่อนหวาน ด้วยเรื่องที่ประกอบด้วยประโยชน์ และด้วยเมตตาจิต หากคิดเห็นไม่ตรงกัน ก็เอาข้อเท็จจริงมาคุยกัน และหากมีการกระทบกันก็ไม่โกรธกัน ก็จะทำให้อยู่ร่วมกันได้


Timestamp

[00:49] ปฏิบัติภาวนา ด้วยการเจริญพรหมวิหาร4
[13:23] ข้อเสนอแนะ (Feedback) ที่ดี
[16:08] คุณธรรมของผู้โจทก์ และผู้ถูกโจทก์
[16:51] คุณสมบัติ 5 อย่างของผู้โจทก์
[17:55] คุณสมบัติ 2 อย่างของผู้ถูกโจทก์
[28:27] คำอธิบาย ทั้ง 7 คุณสมบัติ