ลักษณะความคิด

  • โดยทั่วไปจะเข้าใจว่าร่างกายอาศัยสมองเป็นเครื่องมือในการคิดนึก เพื่อขยับร่างกาย กล้ามเนื้อต่าง ๆ แต่จริง ๆ แล้วมีจิตเป็นตัวควบคุมไว้อีกชั้นหนึ่ง โดยจิตจะใช้สมองเป็นเครื่องมือในการคิดนึกสิ่งต่าง ๆ

ระดับการควบคุมร่างกาย 3 ระดับ

  1. ควบคุมได้ = แขน ขา ปาก เว้นแต่ถูกกระตุ้นด้วยปัจจัยอื่นก็จะควบคุมไม่ได้ เช่น เครื่องกระตุ้นไฟฟ้า
  2. ควบคุมได้ในเวลาจำกัดจากนั้นจะเป็นไปโดยอัตโนมัติ = กลั้นหายใจ กลั้นปัสสาวะอุจจาระ กระพริบตา
  3. ควบคุมไม่ได้เลย = เป็นระบบควบคุมด้วยประสาทแบบอัตโนมัติ (Automatic nervous system) เช่น การเต้นของหัวใจ ไต ระบบทางเดินอาหาร

จิตควบคุมความคิด

  • อุปนิสัยของจิตที่เกิดขึ้นโดยอัตโนมัติ = “อาสวะ” ซึ่งเกิดจากการสะสมการกระทำนั้นมา เช่น คนคิดลบ เมื่อเจอเหตุการณ์ไม่น่าพอใจ จะเกิดความโกรธ คิดไม่ดี ขึ้นโดยอัตโนมัติ หรือคนคิดบวก เมื่อได้ยินคนพูดเรื่องทำบุญ จะอนุโมทนา โดยอัตโนมัติ
  • ความคิดนึกบางอย่างก็มีประโยชน์ ประกอบด้วยกุศล เป็นประโยชน์ทั้งต่อตนเอง ต่อผู้อื่น และทั้งสองฝ่าย เป็นไปเพื่อความสุขตลอดกาลนาน
  • แต่ความคิดนึกบางอย่างก็ไม่ประกอบด้วยประโยชน์ เป็นโทษทั้งต่อตนเอง ต่อผู้อื่น หรือทั้งสองฝ่าย เป็นไปเพื่อความทุกข์ตลอดกาลนาน
  • ดังนั้น จึงต้องพิจารณาไตร่ตรองอยู่เสมอว่าความคิดนั้นเป็นประโยชน์หรือไม่ เพราะจะได้รับผลของสุขทุกข์ต่างกัน

วิธีปรับจิต

จิตสามารถฝึกให้มีความคิดไปในทางกุศล ไม่ไปในทางอกุศลได้ ด้วยการเดินตามทางมรรค 8 เริ่มจากการตั้งสติ รู้จักแยกแยะให้เห็นความไม่ดีก่อน จึงจะกำจัดความไม่ดีนั้นได้ จากนั้นก็ฝึกสมถะวิปัสสนา ฟังธรรมอยู่เสมอ น้อมจิตมาทางกุศล คบกัลยาณมิตร ฝึกซ้ำอยู่เรื่อย ๆ ให้อินทรีย์มีกำลัง อาสวะไม่ดีในฝ่ายทุกข์โทษก็จะค่อย ๆ หลุดออกไป ทุกคนทำได้ตั้งแต่ตอนนี้

การเพ่งจิตจดจ่อมากยิ่งขึ้น เป็นการตั้งสติ ซึ่งสามารถพัฒนาเป็นสมาธิได้ และการฟังธรรมทำให้เกิดปัญญา

เมื่อสมาธิและปัญญา (สมถะวิปัสสนา) รวมกันเมื่อไร จะเป็นตัวกำจัดอาสวะที่ไม่ดีออกไปทันทีในชั่วพริบตาเดียว สามารถบรรลุธรรมขั้นโสดาบัน หรือพระอรหันต์ได้ ตัวอย่าง นายกาละ บุตรของอนาถบิณฑิกเศรษฐี (ไม่ฟังธรรม) นายเขมกะ หลานของอนาถบิณฑิกเศรษฐี (เจ้าชู้) องคุลีมาล (ฆ่าคน)


Tstamp

[02:38] ลักษณะความคิด
[07:32] ระดับการควบคุมร่างกาย
[27:55] จิตควบคุมความคิด
[30:53] พิจารณาความคิด
[35:40] ​ ตัวอย่างนายกาละ และนายเขมกะ
[48:40] ตัวอย่างองคุลิมาล
[52:00] ปรับจิต