ข้อที่ #15_ปัญญัตติสูตร ว่าด้วยการบัญญัติสิ่งที่เลิศ เป็นการบัญญัติ 4 สิ่งที่มีความเป็นเลิศในส่วนของตน นั่นคือพระราหูผู้มีอัตภาพใหญ่สุดในบรรดาสัตว์ พระเจ้ามันธาตุเลิศที่สุดในผู้เสพกาม เพราะสามารถเสพกามที่เป็นทั้งของมนุษย์และสวรรค์ ทั้งยังไม่มีความอิ่มในกามนั้น มารบุคคลผู้ยิ่งใหญ่เป็นผู้ครองโลก เพราะควบคุมผู้อื่นไว้ด้วยกาม และพระพุทธเจ้าผู้เป็นเลิศในโลก เพราะอยู่เหนือกิเลสได้

ข้อที่ #16_โสขุมมสูตร ว่าด้วยโสขุมมญาณ กล่าวถึงความละเอียดประณีต ความเชี่ยวชาญในญาณแต่ละขั้น ไล่ไปตั้งแต่รูปภพที่มีกาม อรูปภพที่มีเวทนาและสัญญา และที่ยิ่งขึ้นไปอีกคือแม้แต่สัญญาเวทนาก็ดับไป ยังคงมีแต่สังขาร นั่นคือสมาธิขั้นสูงสุดนั่นเอง เราจะสามารถพัฒนาให้มีญาณที่ละเอียดลงไปได้ก็ด้วยการเห็นความไม่เที่ยง ความจางคลายความดับไปของสิ่งที่เราเห็นว่าเป็นสุขนั้น ถ้าเห็นโทษก็จะข้ามพ้นไปได้ ความละเอียดก็จะมากขึ้น

ข้อที่ #17-20 ปฐม / ทุติย / ตติยอคติสูตร และภัตตุทเทสกสูตร โดยในแต่ละพระสูตรนั้นว่าด้วยเรื่องของ “อคติ 4” คือ ความลำเอียง 4 ประการ กล่าวถึงบุคคลย่อมเข้าถึงอคติหรือไม่เข้าถึงอคติ อคติ 4 ประการ ได้แก่

1.    ฉันทาคติ (ลำเอียงเพราะชอบ)

2.    โทสาคติ (ลำเอียงเพราะชัง)

3.    โมหาคติ (ลำเอียงเพราะหลง)

4.    ภยาคติ (ลำเอียงเพราะกลัว)

“บุคคลใดละเมิดความชอบธรรม เพราะฉันทาคติ โทสาคติ โมหาคติ ภยาคติ ยศของบุคคลนั้นย่อมเสื่อม ดุจดวงจันทร์ข้างแรมฉะนั้น

ส่วนบุคคลใดไม่ละเมิดความชอบธรรม เพราะฉันทาคติ โทสาคติ โมหาคติ ภยาคติ ยศของบุคคลนั้นย่อมบริบูรณ์ ดุจดวงจันทร์ข้างขึ้นฉะนั้น”   


พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๑ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๓ [ฉบับมหาจุฬาฯ] อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต จรวรรค


Tstamp

[04:26] ปัญญัตติสูตร ว่าด้วยการบัญญัติสิ่งที่เลิศ
[22:24] โสขุมมสูตร ว่าด้วยโสขุมมญาณ
[39:18] ปฐมอคติสูตร ว่าด้วยอคติ สูตรที่ 1
[39:50] ทุติยอคติสูตร ว่าด้วยอคติ สูตรที่ 2
[39:52] ตติยอคติสูตร ว่าด้วยอคติ สูตรที่ 3
[39:40] ภัตตุทเทสกสูตร ว่าด้วยพระภัตตุทเทสกะเลวและดี