ช่วงไต่ตามทาง: พระเจ้าปเสนทิโกศลสูญเสียพระนางมัลลิกาภรรยาอันเป็นที่รัก
- ความเศร้าโศก ความร่ำไร ย่อมเกิดจากสิ่งอันเป็นที่รักที่น่าพอใจ เมื่อความเศร้าโศก (ลูกศรอาบยาพิษ) ทิ่มแทงกลางอกแล้ว ใครเล่าจะถอนลูกศรนี้ออกได้ จะทำอย่างไรให้จิตใจยังผาสุกอยู่ได้
- คำสอนของพระพุทธเจ้าเป็นยาสมานแผลจากลูกศรนั้น
ช่วงปรับตัวแปรแก้สมการ:
- ลักษณะความสุดโต่งและทางสายกลาง เมื่อสูญเสียคนรัก
สุดโต่ง = 1. ร่ำไห้คร่ำครวญ ทุบอกชกตัว งุนงงพร่ำเพ้อ ทานอาหารไม่ลง นอนไม่หลับ ร่างกายซูบผอม การงานอื่น ๆ ไม่ทำ 2. แสดงความโกรธ ความขัดเคือง ความไม่พอใจ ให้ปรากฏ
ทางสายกลาง = พิจารณาใคร่ครวญ (โยนิโสมนสิการ) ให้เกิด “ปัญญา” ซึ่งมีเครื่องมือ 3 ประการที่ทำให้เกิดปัญญา
เครื่องมือในการเผชิญหน้ากับการสูญเสียคนรัก 3 ประการ
เครื่องมือที่ 1 พิจารณาฐานสูตร 5 ประการ
- ฐานะ 5 ประการ ที่ไม่ว่าจะเป็นสมณะ พราหมณ์ เทพ มาร พรหม หรือใคร ๆ ในโลก ไม่พึงได้
- ขอสิ่งที่มีความแก่ ว่าอย่าแก่
- ขอสิ่งที่มีความเจ็บไข้ ว่าอย่าเจ็บไข้
- ขอสิ่งที่มีความตาย ว่าอย่าตาย
- ขอสิ่งที่มีความสิ้นไปเป็นธรรมดา ว่าอย่าได้สิ้นไป
- ขอสิ่งที่มีความเปลี่ยนแปลงไปเป็นธรรมดา ว่าอย่าได้เปลี่ยนแปลงไป
- ฐานะ 5 ประการนี้เป็นเรื่องธรรมดา ไม่เพียงแค่เราเท่านั้นที่ต้องเจอ จึงไม่ควรกังวลใจ เศร้าโศกร่ำไร
เครื่องมือที่ 2 พิจารณาอนมตัคคปริยายสูตร
- พระพุทธเจ้าแสดงธรรมนี้ให้กับนางปฏาจาราที่ได้สูญเสียคนในครอบครัว 7 คน เกิดความเศร้าโศกมาก นัยว่า น้ำตาที่หลั่งไหลจากการได้พบกับสิ่งที่ไม่น่าพอใจ การพลัดพรากจากสิ่งที่น่าพอใจ เฉพาะการตายแบบธรรมชาติ ถ้านับย้อนหลัง 1 กัป นำมานับรวมกันจนปริมาณน้ำตาเท่ากับน้ำในมหาสมุทรทั้งสี่ เวลา 1 กัป ยังไม่สิ้นไปเลย
- ความโศกที่เจอวันนี้มันเล็กน้อย เมื่อเปรียบเทียบกับความเศร้าโศกที่เคยเจอมาแล้ว ให้พิจารณาว่า เราต้องการจะทุกข์มากไปกว่านี้หรือไม่ ถ้ายังมีความเกิด ก็ยังต้องพบกับความพลัดพรากอีกต่อ ๆ ไปเป็นธรรมดา ไม่มีที่สิ้นสุด
- ความสุข คือ ความทุกข์ที่ทนได้ง่าย สุขอยู่ตรงไหน ทุกข์จะตามมาด้วย ทุกข์ที่ต้องพยายามรักษาสุขเอาไว้ และเมื่อสุขหมดลง ทุกข์ก็จะตามมา สุขทุกข์มีความเสื่อมไปเป็นธรรมดา ความทุกข์ไม่ว่าทนได้ง่ายหรือทนได้ยาก ก็ทุกข์พอกัน เราจึงต้องอยู่เหนือทั้งสุขและทุกข์ จึงจะมีความผาสุกที่แท้จริง สุขจากในภายใน
เครื่องมือที่ 3 ปรารภความเพียร
- ต้องมีความกล้าเผชิญหน้ากับความจริง โดยมีอาวุธ คือ สติ สมาธิ และปัญญา
- วิริยะ, วายามะ = การนำเอาสิ่งที่เป็นอกุศลออกไป และนำเอาสิ่งที่เป็นกุศลเข้ามาในจิต
- สติ + สมาธิ + ความเพียร (โดยมีศรัทธาเป็นตัวหล่อหลอมรวมกัน) = เกิดอาวุธ คือ ปัญญา ให้เห็นแทงตลอดตามความเป็นจริงว่า ความพลัดพราก ความแก่ ความเจ็บ ความตาย ความเศร้าโศก ความร่ำไรรำพัน เป็นธรรมชาติ ไม่ควรค่าแก่การยึดถือ
โดยสรุป: การพลัดพรากจากสิ่งอันเป็นที่รักที่พอใจ ต้องเตรียมใจไว้ก่อน ให้พิจารณาอยู่เนือง ๆ ว่า สัตว์จะต้องพลัดพรากจากสิ่งที่รักที่พอใจทั้งสิ้น การจะได้ตามปรารถนาในสิ่งใด ๆ จะไม่เป็นอย่างนั้น เมื่อเราตริตรึกในข้อนี้อยู่เป็นประจำ สติก็จะมีกำลังเพิ่มขึ้น ประกอบกับความเพียร จิตจะสงบระงับเป็นอารมณ์อันเดียว เมื่อเจอผัสสะก็จะมีอาวุธ คือ ปัญญาเกิดขึ้นมาได้
Tstamp
[04:50] ไต่ตามทาง: พระเจ้าปเสนทิโกศลสูญเสียพระนางมัลลิกา
[12:40] เทวตาภาษิต เรื่อง “ให้ทานด้วยจิตเลื่อมใสพระสัมพุทธะมีผลมาก”
[14:43] ปรับตัวแปรแก้สมการ
[23:03] ความสุดโต่งและทางสายกลางเมื่อสูญเสียคนรัก
[26:40] ฐานสูตร
[30:35] อนมตัคคปริยายสูตร
[47:35] ปรารภความเพียร