Q1: คนถูกด่าแล้วด่ากลับ เลวกว่าคนด่ามา
A: เพราะดูที่กุศลหรืออกุศลที่เกิดขึ้นในจิตใจ
- คนที่มีความดีอยู่แล้ว เมื่อถูกคนด่า มีความโกรธเกิดขึ้น 1) ความชั่วในทางใจเพิ่มขึ้น 2) ความดีที่ทำอยู่ลดลงหรือหายหมด 3) การด่ากลับไป ทำให้ความชั่วทางวาจาก็เพิ่มขึ้น จึงเห็นได้ว่าจิตใจแย่ลงมากกว่าคนด่ามา
- ลามก = ความเศร้าหมอง ความเสื่อมทรามลงของจิตใจ
- วิธีตอบโต้คนที่ด่า คือ ใช้ความอดทนและปัญญา ไม่ด่าตอบเพราะกลัวบาปมากกว่า
- เมื่อมีผัสสะมากระทบทำให้ความไม่พอใจเกิดขึ้น จะเป็นเครื่องทดสอบว่าเราจะสามารถดำรงกาย วาจา ใจ ให้อยู่ในเส้นทางของมรรค 8 ได้หรือไม่
- วิธีจัดการจิตใจ
- กรณีคำชม – ให้เห็นโดยความเป็นของไม่เที่ยง
- กรณีคำด่า – ให้ใช้หลักพรหมวิหาร 4 แผ่เมตตา 3 ขั้นตอน ให้ตนเอง ให้ผู้ด่าเรา และให้สรรพสัตว์ทั้งหลาย
Q2: พระพุทธเจ้ามีกี่พระองค์
A: ในคัมภีร์ฝ่ายเถรวาท มีรายนามพระพุทธเจ้า 7 พระองค์ ในคัมภีร์อรรถกถา มีพระพุทธเจ้า 28 พระองค์ ในคัมภีร์ฝ่ายมหายาน มีพระพุทธเจ้ามากกว่านี้ ในคัมภีร์พุทธวงศ์ จะอธิบายรายละเอียดของพระพุทธเจ้าแต่ละพระองค์
- แต่ทุกคัมภีร์เหมือนกัน คือ พระพุทธเจ้าทรงสอนเรื่องมรรค 8
- ในยุคสมัยหนึ่งจะมีพระพุทธเจ้าได้เพียงพระองค์เดียว จนเมื่อคำสอนและพระธาตุต่างๆ หายไปหมดแล้ว พระพุทธเจ้าอีกพระองค์จึงจะอุบัติขึ้นได้ ซึ่งจะเป็นคนละกาลเวลากัน
- ช่วงเวลาที่ไม่มีคำสอนของพระพุทธเจ้ามีมากกว่า
Q3: พระไตรปิฎก
A: พระไตรปิฎก = 45 เล่ม ไม่มีอรรถกถา แบ่งเป็นพระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก และพระอภิธรรมปิฎก ส่วนอรรถกถา = มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัยได้รวบรวมไว้มี 91 เล่ม ซึ่งรวมพระไตรปิฎกกับอรรถกถา
Q4: เปรียญธรรม
A: การจัดสอบเปรียญธรรมในคณะสงฆ์ มี 9 ประโยค จัดขึ้นตั้งแต่สมัยพระสมณเจ้า
- การแบ่งเป็นประโยค ก็เพื่อความชัดเจนในการวัดผล
Q5: ปล่อยปลาชนิดไหน ห้ามกินปลาชนิดนั้น
A: ไม่มีบัญญัติในคำสอนของพระพุทธเจ้า
- พระพุทธเจ้าสอนไม่ให้ฆ่าสัตว์ทุกประเภท ที่มีปราณ มีลมหายใจ
- การปล่อยปลา = มีจิตกรุณาให้เขาพ้นจากความตายเฉพาะหน้า
- ความกรุณาต่อสัตว์ทั้งหลายเป็นเรื่องที่ดี ให้โดยไม่มีประมาณ ไม่มีเงื่อนไข
Q6: กรรมที่นำไปเกิดใหม่
A: นิมิตที่ปรากฏก่อนตาย เป็นนิมิตที่เกิดจากกรรมที่นำไปเกิด
- ต้องสะสมความดีไว้ เพื่อให้จิตของเราทุกขณะ ตั้งอยู่ในกุศลธรรม ซึ่งจะเป็นประโยชน์ทั้งในปัจจุบัน ในเวลาต่อมา (ตายแล้วไปเกิดในที่ที่ดี) และเกิดประโยชน์สูงสุด (พระนิพพาน)
Q7: พูดส่อเสียด พูดเพ้อเจ้อ
A: พูดส่อเสียด =พูดยุยงให้แตกกัน แม้เป็นคำจริงก็ตาม
พูดเพ้อเจ้อ = พูดเอาเอง โดยไม่มีหลักฐานอ้างอิง
- โทษของการพูดมาก ก็จะเสี่ยงต่อการพูดเพ้อเจ้อ พูดส่อเสียด พูดโกหก พูดคำหยาบได้ ซึ่งเป็นมิจฉาวาจา ถ้าทำบ่อย ๆ ก็จะไปตกนรกได้
- โทษของการพูดโกหก = ถูกกล่าวตู่ด้วยคำพูดที่ไม่จริง
- โทษของการพูดยุงยงให้แตกกัน = แตกจากมิตร
- โทษของการพูดคำหยาบ = ได้ฟังสิ่งที่ไม่น่าพอใจ
- โทษของการพูดเพ้อเจ้อ = พูดแล้วไม่มีใครเชื่อ
Tstamp
[01:05] คนด่ากลับเลวกว่าคนด่ามา
[17:45] พระพุทธเจ้ามีกี่พระองค์
[26:15] พระไตรปิฎก
[32:45] เปรียญธรรม
[44:45] ห้ามกินปลาชนิดที่ปล่อย
[50:08] กรรมที่นำไปเกิดใหม่
[53:20] พูดส่อเสียด พูดเพ้อเจ้อ