Q: ชาติ-การเกิด มีความหมายอย่างไร?
A: “ชาติ” หมายถึง การเกิด “การเกิด” หมายถึง การกำเนิด การเกิดโดยยิ่ง การก้าวลงสู่ครรภ์ ความปรากฏแห่งอายตนะของสัตว์ทั้งหลาย และยังมีการเกิดในบริบทอื่น ๆ ขึ้นอยู่กับว่า จะกำหนดบริบทอย่างไร ซึ่งชาติคือการเกิดไม่เหมือนการเกิด-ดับ หากเป็นการเกิด-ดับ ท่านใช้คำว่า อุบัติ (เกิด) – นิโรธ (ดับ) ปัญญาเป็นส่วนของมรรค ในขณะที่ชาติคือการเกิดเป็นส่วนของทุกข์ หน้าที่ที่ต้องทำไม่เหมือนกัน ทุกข์ต้องยอมรับ มรรคต้องทำให้เจริญ ความเกิดของปัญญาเราใช้คำว่า “อุบัติ” เป็นการอุบัติแห่งปัญญา เพราะไม่ได้ใช้อายตนะให้มันเกิดขึ้น สิ่งที่เราควรทำความเข้าใจ คือเราจะดับชาติ คือการเกิดได้ ความยึดถือต้องดับ การเกิดจึงจะดับไปด้วย 

Q: คนประเภทไหนเหมาะในการทำงาน?
A: ใช้ทั้งสองกลุ่ม หน้าที่ของผู้นำ คือ ให้ทำงานตามกำลังที่เหมาะสม

Q: ปฏิจจสมุปบาทมีกี่รูปแบบ?
A ให้เราเข้าใจหลักการคือ “เพราะสิ่งนี้มี สิ่งนี้จึงมี เพราะความดับไปของสิ่งนี้ สิ่งนี้จึงดับ” ใช้หลักการนี้ในการเข้าไปจับกับทุกสิ่ง จะเกิดปัญญาได้

Q: ดับอวิชชา ทำอย่างไร?
A: เมื่อเห็นความไม่เที่ยง อวิชชาจะดับไป จะเห็นความไม่เที่ยงได้ ต้องอาศัยอนุสติ 10 สติปัฎฐาน 4 โพชฌงค์ 7 พอวิชชาเกิด เห็นความไม่เที่ยง อวิชชาก็จะดับ

Q: ทำอย่างไรเมื่อไม่รู้ว่าสิ่งนี้มาจากเหตุปัจจัยอะไร?
A: พระพุทธเจ้าบัญญัติว่า อวิชชามีอยู่ ซึ่งแต่ก่อนมีพระพุทธเจ้าเราไม่รู้ด้วยซ้ำว่าอวิชชามีอยู่ เมื่อรู้แล้วค่อยไปทำให้รู้ในสิ่งที่ไม่รู้ให้รู้ขึ้นมา ทำวิชชาให้เกิดด้วยการปฏิบัติตามมรรค 8 แล้วอวิชชาจะดับไป

Q: บารมี มีกี่อย่าง?
A: ตามพุทธพจน์มี 10 บารมี 30 นั้นมาจากคัมภีร์พุทธวงศ์ แต่ทั้งนี้อย่าเพิ่งปฏิเสธควรแยกทำความเข้าใจ

Q: อโหสิกรรมคืออะไร?
A: คำว่า “อโหสิกรรม” ท่านหมายถึงผูกเวร แต่ที่คนไทยเอามาใช้ คำว่า “อโหสิ” คือ กรรมที่ได้ทำไปแล้ว แนวทางที่จะทำให้เราไม่ผูกเวรกับใคร คือให้มีพรหมวิหาร 4 ปฏิบัติตามมรรค 8 


Tstamp

[02:12] ชาติ-การเกิด มีความหมายอย่างไร?
[15:58] คนประเภทไหนเหมาะในการทำงาน?
[19:15] ปฏิจจสมุปบาทมีกี่รูปแบบ?
[24:52] ดับอวิชชาทำอย่างไร?
[32:58] ทำอย่างไรเมื่อไม่รู้ว่าสิ่งนี้มาจากเหตุปัจจัยอะไร?
[45:52] บารมี มีกี่อย่าง?
[48:18] อโหสิกรรมคืออะไร?