ข้อที่ #5_อนุโสตสูตร ว่าด้วยบุคคลผู้ไปตามกระแส กล่าวถึงการไปตามกระแสของตัณหาหรือไม่ ของบุคคล 4 ประเภท คือ 1) ผู้ไปตามกระแส คือ ไปตามกามจนถึงทำบาปกรรม 2) ผู้ทวนกระแส คือบวชแล้ว และใช้ความพยายามอย่างมาก ในการหลีกออกจากกาม 3) ผู้มีภาวะตั้งมั่น หมายถึงอนาคามี และ 4๗ ผู้ข้ามพ้นฝั่ง คืออรหันต์ 

ข้อที่ #6_อัปปัสสุตสูตร ว่าด้วยบุคคลผู้มีสุตะน้อย เอาคำว่ามีสุตะมากหรือน้อยกับการเข้าถึงหรือไม่เข้าถึงสุตะ ต่อให้คุณมีสุตะน้อย แต่ถ้ามีการปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม นั่นคือการเข้าถึงสุตะที่แท้จริง ปริยัติ ปฏิบัติ ปฏิเวธ สามารถพัฒนาให้มีเพิ่มคู่กันไปได้ 

ข้อที่ #7_โสภณสูตร ว่าด้วยบุคคลผู้ทำหมู่ให้งาม พูดถึงพุทธบริษัท 4 แต่ละประเภทที่ไม่ว่าอยู่ที่ไหนก็สามารถทำหมู่ให้งามได้ด้วยคุณธรรม ความเป็นผู้เฉียบแหลม ได้รับคำแนะนำดี แกล้วกล้า เป็นพหูสูต ทรงธรรม ปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม

ข้อที่ #8_เวสารัชชสูตร ว่าด้วยญาณเป็นเหตุให้แกล้วกล้า คือ ญาณอันเป็นเหตุให้แกล้วกล้าของพระพุทธเจ้า คือความมั่นใจว่าศัตรูหมดไปแล้วจริง ๆ ญาณเหล่านี้เราสามารถนำมาปรับใช้ในชีวิตได้ เพราะเมื่อมีแล้วจะไม่มีความประหม่าเกรงกลัวใด ๆ 

ข้อที่ #9_ตัณหุปปาทสูตร ว่าด้วยเหตุเกิดแห่งตัณหา ตัณหาเมื่อจะเกิดย่อมเกิดเพราะปัจจัย 4 เป็นเหตุ

ข้อที่ #10_โยคสูตร ว่าด้วยโยคะ คือ กิเลสที่ผูกมัดไว้ในภพ ได้แก่ กามโยคะ ภวโยคะ ทิฏฐิโยคะ อวิชชาโยคะ การพรากจากโยคะจะเกิดได้ ก็ด้วยการปฏิบัติตามมรรค 8 

พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๑ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๓ [ฉบับมหาจุฬาฯ] อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต ภัณฑคามวรรค


Tstamp

[05:50] อนุโสตสูตร ว่าด้วยบุคคลผู้ไปตามกระแส
[18:05] อัปปัสสุตสูตร ว่าด้วยบุคคลผู้มีสุตะน้อย
[33:16] โสภณสูตร ว่าด้วยบุคคลผู้ทำหมู่ให้งาม
[38:32] เวสารัชชสูตร ว่าด้วยญาณเป็นเหตุให้แกล้วกล้า
[47:34] ตัณหุปปาทสูตร ว่าด้วยเหตุเกิดแห่งตัณหา
[49:34] โยคสูตร ว่าด้วยโยคะ