กรรม คือ เจตนาที่มีการปรุงแต่ง (สังขาร) ออกไปทางกาย วาจา ใจ เมื่อมีการปรุงแต่งกระทำออกไปแล้ว ย่อมมีผลหรือมีวิบากของกรรมนั้นอย่างแน่นอน

เรื่องของกรรมเป็น “อจินไตย” คือ เป็นสิ่งที่ไม่ควรคิด เพราะถ้าคิดแล้วอาจจะทำให้เป็นบ้าได้ ในที่นี้หมายถึง เป็นสิ่งที่ไม่อาจเข้าใจได้ด้วยตรรกะสามัญของปุถุชน (ตามนัยยะ อจินติตสูตร) ตราบใดที่เมื่อยังมีการปรุงแต่งกรรมอยู่ การให้ผล (วิบาก) ของกรรมนั้น ก็ย่อมเปลี่ยนแปลงไปตามเหตุปัจจัยของกรรมนั้นเสมอ ผลของกรรมจึงมีการเปลี่ยนแปลงได้เสมอ

ความคิดที่ว่า “ผลของกรรม เกิดจากรรมเก่าอย่างเดียวเท่านั้น” ความคิดอย่างนี้ยังไม่ถูกต้อง เพราะผลของกรรมไม่ได้เกิดจากกรรมเก่าอย่างเดียว แต่อาจเกิดขึ้นจากการปรุงแต่งของสังขารนาม-รูปในปัจจุบัน (ตามนัยยะ 8 อย่างใน สีวกสูตร)

ประเภทผลของกรรม แบ่งออกเป็น 4 หมวด แต่ละหมวดแยกเป็น 4 ประเภท (รวม 16 ประเภท)

1. แบ่งโดยหน้าที่ คือ กรรมที่ให้ไปเกิด (ยังวิบากให้เกิดขึ้น-มีสภาวะการเกิด) / อุปถัมภ์สนับสนุนให้กรรมนั้นมีพลังมากยิ่งขึ้น / เบียดเบียนกรรมนั้นให้อ่อนกำลังลง / ตัดรอนกรรมนั้นไม่ให้ส่งผล

2. แบ่งตามลำดับการให้ผล คือ ให้ผลในลำดับแรกก่อน / ให้ผลเวลาใกล้ตาย / กรรมที่กระทำบ่อยๆ สั่งสมไว้ ให้ผลในชาติต่อมา / กรรมที่ผู้กระทำไม่มีเจตนา แต่ย่อมให้ผล (ในห้วงของสังสารวัฏ)

3. แบ่งตามเวลา คือ ให้ผลรวดเร็วปัจจุบันทันด่วน / ให้ผลในชาติหน้า / ให้ผลในชาติต่อๆ มา / ไม่มีโอกาสให้ผล

4. แบ่งตามฐานะการให้ผล คือ ให้ผลไปเกิดในอบายภูมิ / สุคติภูมิ / รูปพรหม / อรูปพรหม

ฟัง “เรื่องของ “กรรม” (ตอนที่ 2)-กรรมเป็นสิ่งที่บุคคลควรทราบ”


Timestamp

[00:32] ปฏิบัติภาวนา เจริญพุทธานุสสติ ธัมมานุสสติ สังฆานุสสติ
[12:25] เรื่องของ “กรรม” ตอนที่ 3
[15:45] เรื่องของกรรมเป็น “อจินไตย”
[21:51] ทำกรรมอย่างไร ได้ผลของกรรมอย่างนั้น
[26:54] สิวกสูตร ว่าด้วยสีวกปริพาชก
[34:09] ประเภทของกรรม แบ่งเป็น 4 หมวด (รวม 16 ประเภท)
[37:11] กรรมแบ่งตามหน้าที่ของกรรม
[45:44] กรรมแบ่งตามเวลา
[48:39] กรรมแบ่งตามลำดับการให้ผล
[52:39] กรรมแบ่งตามฐานะการให้ผล