ช่วงไต่ตามทาง: 

  • ผู้ฟังท่านนี้ เป็นคนจิตใจดี ชีวิตมีความราบรื่นในทุกด้าน ยกเว้นเรื่องคุณแม่ที่มีจิตใจรุ่มร้อน อารมณ์ร้อน นำเงินไปใช้ในทางไม่ควร บ่ายเบี่ยงในการฟังธรรม ผู้ฟังท่านนี้เกิดความกลุ้มใจ เคยพูดเตือน แต่คุณแม่ไม่รับฟัง เลยเปลี่ยนวิธีการพูดโดยยกเอาความดีของท่านขึ้นมาก่อน ความรัก ความเมตตา ความอดทน ยกย่องแม่ด้วยใจจริง จิตใจคุณแม่มีความนุ่มนวลลง จิตใจเปิดกว้างมากขึ้น ทำให้พฤติกรรมเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดีขึ้น รับฟังลูกมากขึ้น 
  • “สัมมาวาจา” พูดให้เกิดประโยชน์ เป็นกุศล คนฟังก็จะรู้สึกได้ ปมเงื่อนความขัดข้องในจิตใจก็จะคลายลง นำไปสู่ความเปลี่ยนแปลงในทางที่ดีได้ 

ช่วงปรับตัวแปรแก้สมการ: “วิธีสื่อสารให้พฤติกรรมเปลี่ยนแปลง”

  • ถ้ามีความอยาก (ตัณหา) และมีความไม่รู้ (อวิชชา) เกิดขึ้นแล้ว สิ่งที่จะตามมา คือ “ความโลภ” (อยากได้) และ “ความกลัว” (จะสูญเสีย) ก็จะเกิด “ความโกรธ” และ “ความเศร้าเสียใจ” ตามมาเสมอ
  • แม้ต้องเผชิญกับพฤติกรรมไม่ดีของผู้อื่น แต่เราก็ต้องตั้งอยู่ในกุศลธรรมให้ได้ จิตใจเราต้องนุ่มนวลอยู่ได้ เป็นสัมมา แต่ถ้าจิตใจเราเศร้าหมอง แสดงว่าไม่ถูก เป็นมิจฉา ความถูกผิดยกไว้ก่อน อยู่ที่เราจะควบคุมจิตใจเราได้หรือไม่ ละมิจฉาได้หรือไม่ เปรียบได้กับซากศพสุนัขวางอยู่หน้าบ้าน ต้องรีบเอาไปทิ้ง ไม่เอาเข้าบ้าน จะเหม็นเน่ามากยิ่งขึ้น
  • คนที่จะทำแบบนี้ได้ ต้องมีสติสัมปชัญญะ มีความตั้งจิตใจว่าจะเปลี่ยนแปลง โดยตั้งอยู่ในกุศลธรรม
  • จิตใจทั้งสองฝ่ายจะลงกันได้ เข้ากันได้ ต้องมีความนุ่มนวล อ่อนเหมาะ ทั้งสองฝ่าย จึงต้องเริ่มปรับจิตใจของเราให้ดีก่อน (ไม่โกรธตอบ พูดจาดี ๆ ตอบ เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ มีความเมตตากรุณา) ด้วยความดีข้อนี้ ก็จะแผ่ไปได้ทั้งตัวเราและผู้อื่น ซึ่งต้องใช้เวลา อาจมากน้อยไม่เท่ากัน

“กระบวนการสื่อสารความจริง” (Total Truth Process) คือ กระบวนการสื่อสารที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทั้งจิตใจและพฤติกรรม ซึ่งสอดคล้องกับคำสอนของพระพุทธเจ้า มี 6 ขั้นตอน ตามลำดับ ดังนี้

  1. มีความโกรธ อย่างไร
  2. มีความเจ็บปวด เจ็บใจ อย่างไร 
  3. มีความกลัว ความกังวล อะไร
  4. มีความเสียใจ ความรู้สึกเศร้าใจ อย่างไร
  5. มีความต้องการจริง ๆ คืออะไร
  6. จบด้วยมีความรัก ความปรารถนาดี การให้อภัย ความกรุณา อุเบกขา การขอบคุณ 
  • การใคร่ครวญ 6 ขั้นตอนนี้ แล้วสื่อสารออกมาเป็นคำพูดหรือการเขียน จะสามารถเปลี่ยนความโกรธให้เป็นความรักความเมตตาได้ 
  • ขันธ์ 5 เป็นของหนัก หากถือไว้นานก็จะมีความเหนียวแน่นมาก เวลาจะปล่อย ก็ต้องค่อยๆ แซะออก ค่อยๆ ระบายออกมา อาจต้องทำหลายๆ รอบ หากทำครบ 6 ขั้นตอนดังกล่าว ก็จะเกิดการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมต่อกันได้ 

Tstamp

[03:15] ไต่ตามทาง: วิธีพูดเพื่อเปลี่ยนพฤติกรรมคุณแม่
[14:20] เถระภาษิต เรื่อง “ทางสูงสุดเพื่อหยุดบาป”
[16:15] ปรับตัวแปรแก้สมการ:วิธีสื่อสารให้พฤติกรรมเปลี่ยนแปลง
[27:30] ปรับจิตใจตนเอง
[37:30] กระบวนการสื่อสารความจริง 6 ขั้นตอน