Q: แบ่งอาหารที่พระบิณฑบาตมาครึ่งหนึ่งจะผิดศีลหรือไม่?
A: เราไม่รู้ว่าสิ่งที่เขาทำ ได้มีข้อตกลงอะไรกันหรือไม่ สิ่งที่ควรทำคือ อย่าไปเพ่งโทษเขา อย่าเพ่งว่าเขาจะผิดศีลหรือไม่ ให้เรามีอุเบกขาและมีเมตตาต่อเขา ให้เห็นว่าเขามีทุกข์และอยากให้เขาพ้นทุกข์ นั่นคือ “เมตตา” แล้วก็ประกอบด้วย “อุเบกขา” ไปด้วย เราจะไม่มองเห็นใครโดยความเป็นศัตรูเลย ในขณะเดียวกัน เราก็จะเห็นสัตว์โลกทั้งหลายโดยความเป็นมิตร

Q: พระอาพาธที่โดนดูแลโดยเพศหญิง ท่านจะผิดวินัยหรือบาปหรือไม่ อย่างไร?
A: พระจะมีอาบัติข้อหนึ่ง คือ ภิกษุใดถูกต้องกายหญิงแล้วมีจิตกำหนัดจะอาบัติ ในข้ออาบัติสังฆาทิเสส คือถ้าท่านมีจิตกำหนัดหนัดท่านก็จะอาบัติ ถ้าท่านไม่มีจิตกำหนัด ท่านมีสติอยู่ตลอด ก็ไม่อาบัติ พระในประเทศไทย ท่านจึงหลีกเลี่ยง การรับของด้วยมือจากหญิง ด้วยการรับผ่านผ้าแทน

Q : แล้วในกรณีกลับกันผู้หญิงดูแลภิกษุอาพาธโดนตัวกัน ผู้หญิงบาปหรือไม่?
A: ท่านให้เอาศีล เอาความร้อนใจเป็นเกณฑ์ ถ้าเราไม่ผิดศีลก็ไม่ต้องร้อนใจ ส่วนบาปหรือไม่บาปนั้น ศีลของฆราวาสคือศีล 5 หากทำผิดศีล เช่น คิดนอกใจสามีหรือภรรยา แค่คิดก็บาปแล้ว 

Q: การที่กล่าวว่าได้พบพระพุทธเจ้าแล้วนิพพานไม่ใช่ดับจิตและธาตุขันธ์หรือ?
A: ท่านกล่าวไว้ว้า “พอกายแตกทำลายไป เทวดาและมนุษย์ทั้งหลายจะไม่เห็นเราเลย” การที่ว่าได้พบ ก็เป็นนิมิตของท่าน เป็นการระลึกถึงพระพุทธเจ้า เป็น “พุทธานุสติ”  

Q: ปล่อยปลาชนิดไหนห้ามรับประทานปลาชนิดนั้น เชื่อแบบนี้ผิดถูกอย่างไร?
A : คนเรามีความเห็น ความเชื่อ แตกต่างกัน การทำบุญนั้น ไม่ว่าจะทำบุญในรูปแบบไหน ก็จะให้ผลเป็นความสุข ให้เราดูความเห็นของท่าน ท่านกล่าวไว้ว่า “ศีล สมาธิ ปัญญา มีการจัดเตรียมน้อยกว่า ใช้ทุนทรัพย์น้อยกว่า ได้ผลมากกว่า” 


Tstamp

[03:25] แบ่งอาหารที่พระบิณฑบาตมาครึ่งหนึ่งผิดศีลหรือไม่?
[19:45] พระอาพาธที่โดนดูแลโดยเพศหญิง ท่านจะผิดวินัยหรือบาปหรือไม่ อย่างไร?
[26:16] แล้วในกรณีกลับกันผู้หญิงดูแลภิกษุอาพาธโดนตัวกัน ผู้หญิงบาปหรือไม่?
[37:50] การที่กล่าวว่าได้พบพระพุทธเจ้าแล้วนิพพานไม่ใช่ดับจิตและธาตุขันธ์หรือ?
[43:12] ปล่อยปลาชนิดไหนห้ามรับประทานปลาชนิดนั้น เชื่อแบบนี้ผิดถูกอย่างไร?