ข้อที่ #28_ทุติยพลสูตร พระผู้มีพระภาคได้ตรัสถามท่านพระสารีบุตรถึงกำลังแห่งญาณของภิกษุขีณาสพว่า “ภิกษุขีณาสพมีกำลังเท่าไร จึงปฏิญญาความสิ้นอาสวะทั้งหลายว่า อาสวะของเราสิ้นแล้ว” ท่านพระสารีบุตรได้กราบทูลว่า..
- ภิกษุขีณาสพเห็นด้วยปัญญาอันชอบว่า… สังขารทั้งปวงมีสภาวะไม่เที่ยง
- … กามทั้งหลายเปรียบด้วยหลุมถ่านเพลิง
- จิตของภิกษุขีณาสพเป็นธรรมชาติน้อมไปตั้งอยู่ในวิเวก(นิพพาน) ยินดีในเนกขัมมะ ปราศจากเงื่อนธรรม(ปราศจากตัณหาไม่มีความยึดถือ)
- สติปัฏฐาน 4 เป็นธรรมที่ภิกษุขีณาสพเจริญอบรมดีแล้ว
- อิทธิบาท 4 …ฯ
- อินทรีย์ 5 … ฯ
- โพชฌงค์ 7 … ฯ
- อริยมรรคมีองค์ 8 … ฯ
ข้อที่ #29_อักขณสูตร กาลที่ไม่ใช่ขณะ (ไม่ใช่โอกาส) ไม่ใช่สมัยที่จะอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ 8 ประการ คือ…
- ต่อให้มีพระพุทธเจ้ามาอุบัติขึ้นและพระธรรมคำสอนยังมีอยู่ แต่ถ้าบุคคลนั้น… ตกอยู่ในนรก ก็ไม่ใช่ขณะ(ไม่ใช่โอกาส)ที่จะประพฤติพรหมจรรย์ได้
- … กำเนิดเป็นสัตว์ดิรัจฉาน…ฯ
- … เข้าถึงเปรตวิสัย…ฯ
- … เข้าถึงเทพนิกายเป็นอสัญญีสัตว์(พรหมลูกฟัก ไม่มีรูป ไม่มีสัญญา)…ฯ
- … เกิดในปัจจันตชนบท (คำสอนไปไม่ถึง)…ฯ
- … เกิดในมัชฌิมชนบท (มีภิกษุสงฆ์ มีคำสอน) แต่เป็นมิจฉาทิฏฐิ…ฯ
- … เกิดในมัชฌิมชนบทแต่เป็นคนมีปัญญาทราม ไม่สามารถจะรู้เนื้อความแห่งสุภาษิตและทุพภาษิตได้…ฯ
- ต่อให้ไม่มีพระพุทธเจ้าไม่มีพระธรรมแม้จะเกิดในมัชฌิมชนบทมีปัญญาดี ก็ไม่ใช่ขณะ(ไม่ใช่โอกาส)ที่จะประพฤติพรหมจรรย์ได้
**แต่ช่วงเวลาที่เหมาะสมที่ควรแก่การประพฤติพรหมจรรย์มีประการเดียวเท่านั้นคือ ช่วงที่มีพระพุทธเจ้ามาอุบัติขึ้น มีพระธรรมที่ได้ทรงแสดงไว้ดีแล้ว ได้อัตภาพความเป็นมนุษย์มีปัญญาเป็นสัมมาทิฎฐิและอาศัยอยู่ในพื้นที่ที่ยังมีคำสอนอยู่(ยังมีสงฆ์ผู้ปฏิบัติดี)
ข้อที่ #30_อนุรุทธมหาวิตักกสูตร สมัยหนึ่งพระอนุรุทธะหลีกเร้นอยู่ในที่สงัดในป่าจีนวังสทายวัน ครั้งนั้น ท่านพระอนุรุทธเกิดความคิดอย่างนี้ว่า
- นี้เป็นธรรม 4 ของบุคคลผู้มักน้อย (มักน้อยในปัจจัย, การบรรลุ, ปริยัตติ, ธุดงค์) ไม่ใช่ธรรมของบุคคลผู้มักมาก
- นี้เป็นธรรมของบุคคลผู้สันโดษ ไม่ใช่ธรรม… ผู้ไม่สันโดษ
- … ผู้สงัด ไม่ใช่ธรรม… ผู้ยินดีในการคลุกคลี
- … ผู้ปรารภความเพียร ไม่ใช่ธรรม… ผู้เกียจคร้าน
- … ผู้มีสติตั้งมั่น ไม่ใช่ธรรม… ผู้หลงลืมสติ
- … ผู้มีใจตั้งมั่น ไม่ใช่ธรรม… ผู้มีใจไม่ตั้งมั่น
- … ผู้มีปัญญา ไม่ใช่ธรรมของบุคคลผู้มีปัญญาทราม
พระผู้มีพระภาคทรงทราบความคิดของท่านพระอนุรุทธะด้วยพระทัยแล้ว ทรงหายจากที่เภสกฬามิคทายวันไปปรากฏต่อหน้าท่านพระอนุรุทธะที่ปาจีนวังสทายวัน ทรงรับรองมหาปุริสวิตกทั้ง 7 ข้อ และทรงบอกเพิ่มมหาปุริสวิตกข้อที่ 8 คือ นี้เป็นธรรมของบุคคลผู้ยินดีในนิปปปัญจธรรม ไม่ใช่ธรรมของบุคคลผู้ยินดีในปปัญจธรรม (ธรรมเป็นเครื่องเนิ่นช้า ตัณหา, มานะ, และทิฏฐิ) เมื่อตรึกในธรรมทั้ง 8 ประการนี้แล้ว มีฌานทั้ง 4 เป็นที่หวังได้ จะเป็นผู้ที่อยู่อย่างผาสุกในปัจจัย 4 คือ การใช้ปัจจัย 4 เป็นบาทฐานแห่งการบรรลุธรรม
พระไตรปิฎกเล่มที่ 23 พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ 15 [ฉบับมหาจุฬาฯ] อังคุตตรนิกายอัฏฐกนิบาต คหปติวรรค
Tstamp
[06:50] ค้นหาความหมายจากสำนวนของหัตถกอุบาสกใน “ปฐมหัตถกสูตร”
[13:25] ข้อที่ 28 ทุติยพลสูตร ว่าด้วยกำลัง สูตรที่ 2
[26:05] ข้อที่ 29 อักขณสูตร ว่าด้วยขณะที่ไม่สมควรอยู่ประพฤติพรหมจรรย์
[50:14] ข้อที่ 30 อนุรุทธมหาวิตักกสูตร ว่าด้วยมหาปุริสวิตกของพระอนุรุทธะ