“ปัญญา” ในความหมายของพุทธศาสนาคือ การตระหนักรู้หรือตระหนักรู้ถึงธรรมชาติที่แท้จริงของความเป็นจริงที่เหนือกว่าความเข้าใจทั่วไป คือสิ่งที่เมื่อเรารู้และเข้าใจแล้วจะทำความสุขอันยั่งยืนที่เหนือกว่าสุขเวทนา สุขที่ระงับ สุขที่เป็นความสงบเย็น พระพุทธเจ้าได้กล่าวถึงเหตุปัจจัยที่ให้ได้ปัญญาที่ยังไม่ได้และเพื่อความบริบูรณ์แห่งปัญญาที่ได้แล้วไว้ 8 ประการ ได้แก่

  1. มีครูบาอาจารย์ เข้าไปตั้งจิตไว้ซึ่งความละอาย ความเกรงกลัว ความรัก และความเคารพอย่างแรงกล้า โดยการพิจารณาคุณสมบัติของครูผู้เป็นกัลยาณมิตร 7 ประการ คือ 1) เป็นที่รักเป็นที่พอใจ 2) เป็นที่เคารพ 3) เป็นผู้ควรสรรเสริญ 4) เป็นนักพูด 5) เป็นผู้อดทนต่อถ้อยคำ 6) เป็นผู้พูดถ้อยคำลึกซึ้งได้ และ 7) ไม่ชักนำในทางไม่ดี
  2. เข้าไปหาแล้วไต่ถาม และรู้จักตั้งคำถาม โดยต้องมีศรัทธาและเข้าไปหาในเวลาที่เหมาะสม 
  3. ได้สงบกาย ความสงบใจ เมื่อฟังธรมนั้นแล้วต้องนำมาประพฤติปฏิบัติอย่างต่อเนื่อง ย่อมได้ความสงบ 2 อย่าง คือ ความสงบกายและความสงบจิตอย่างถึงพร้อม
  4. เป็นผู้มีศีล ศีลเป็นพื้นฐานของทุกสิ่ง ต้องสำรวมระวังในศีลให้ถึงพร้อม มีความปรกติเห็นภัยในโทษของการทุศีลแม้มีประมาณน้อย 
  5. เป็นผู้ทรงสุตะและสั่งสมสุตะ เป็นผู้ได้ยินได้ฟังมาก จำไว้คล่องปากขึ้นใจ แทงตลอดด้วยดีด้วยทิฏฐิซึ่งธรรมทั้งหลายอันงามในเบื้องต้น งามในท่ามกลาง งามในที่สุด 
  6. ปรารภความเพียรเพื่อละอกุศลธรรม เมื่อจิตเราเข้าใจในกุศลธรรมแล้วก็นำมาทบทวนซ้ำ ๆ เพื่อความพร้อมมูลแห่งกุศลธรรม เป็นผู้มีกำลัง มีความบากบั่นมั่นคง ไม่ทอดธุระในกุศลธรรมนั้น ๆ เมื่อกุศลธรรมเพิ่มขึ้นมากเท่าใด อกุศลธรรมก็จะลดลงเช่นกัน
  7. กล่าวเรื่องธรรมวินัย ไม่พูดเรื่องต่าง ๆ ที่ขวางหนทางธรรม ไม่ดูหมิ่นการนิ่งอย่างพระอริยเจ้า
  8. สามารถปล่อยวางขันธ์ 5 พิจารณาเห็นความเกิดขึ้นและความเสื่อมในอุปาทานขันธ์ 5 คือเห็นความเกิดขึ้น ตั้งอยู่ และดับไปของรูป เวทนา สัญญา สังขาร และวิญญาณ 

Tstamp

[00:04] ปฏิบัติภาวนา เจริญสีลานุสติ
[11:23] ปัญญาสูตร: ว่าด้วยเหตุปัจจัยเพื่อให้ได้ปัญญา 8 ประการ
[23:46] 1. มีครูบาอาจารย์ | คุณลักษณะของครูบาอาจารย์ 7 อย่าง
[26:03] 2. รู้จักตั้งคำถาม
[33:58] 3. ได้ความสงบกายสงบใจ
[47:49] 4. ความเป็นผู้มีศีล
[49:29] 5. เป็นผู้ฟังที่ดี
[53:31] 6. ทบทวนความรู้
[55:00] 7. กล่าวเรื่องธรรมวินัย
[54:24] 8. สามารถปล่อยวางขันธ์ 5