ในช่วงเทศกาลปีใหม่ทุกคนล้วนส่งความสุขให้กันและกัน ในตอนนี้จะกล่าวถึงสุขที่ควรเสพและไม่ควรเสพ เราต้องมีปัญญาที่จะแยกแยะได้ว่าสุขแบบไหนที่ควรเสพและไม่ควรเสพ พระพุทธเจ้าแบ่งความสุขออกเป็น 2 ประเภทได้แก่

ความสุขที่เกิดจากมิจฉาทิฏฐิ คือความสุขที่เสพแล้วกิเลสเพิ่มขึ้น จิตใจชุ่มไปด้วยกาม ความสุขประเภทที่ไม่ควรเสพนี้มี 4 อย่างคือ

1.ความสุขที่เกิดจากการฆ่า 

2.ความสุขที่เกิดจากการถือเอาสิ่งของที่เจ้าของไม่ได้ให้

3.ความสุขที่เกิดจากการวจีทุจริต คือการจงใจกล่าวเท็จ การพูดเพ้อเจ้อ การพูดคำหยาบ

4.การเอิบอิ่มเพรียบพร้อมอยู่ด้วยกามคุณทั้ง 5

ความสุขที่เกิดจากสัมมาทิฏฐิ คือ ความสุขที่เสพแล้วกิเลสลดลงความเศร้าหมองของจิตใจลดลง จิตใจผ่องใสและบริสุทธิ์ขึ้น ความสุขประเภทที่ควรเสพนี้มี 4 อย่างคือ

1.เป็นสุขที่อาศัยปีติที่เนื่องด้วยจากความตริตรึก คือ วิตกวิจาร และวิเวก

2.สุขที่อาศัยปีติสุขที่ต่อเนื่องด้วยความที่จิตเป็นอารมณ์อันเดียว โดยไม่อาศัยการตริตรึก

3.ความสุขที่เกิดจากวางอุเบกขาในปีติสุขนั้น

4.อุเบกขาล้วน ๆ โดยไม่มีสุข เป็นความระเอียดของจิตที่สามารถพัฒนาได้

พลังของสมาธิทั้ง 4 ขั้นนี้เป็นสิ่งที่ควรเสพ ควรทำให้มาก ควรทำให้เจริญ และเมื่อนำไปพิจารณาอย่างแยบคายจะทำให้เป็นผู้ที่เข้าถึงกระแสแห่งอริยบุคคลทั้ง 4 จำพวก ได้แก่ โสดาบัน สกทาคามี อนาคามี และอรหันต์ 

ในการทำจิตให้เป็นสมาธินั้น การเจริญพรหมวิหาร4 อันประกอบด้วยเมตตา กรุณา มุทิตา และอุเบกขา จะช่วยทำให้จิตเป็นสมาธิได้รวดเร็วและมีสมาธิที่เข้มแข็งขึ้น โดยต้องมีคุณสมบัติที่ประกอบด้วย 3 ลักษณะนี้คือ ไม่มีเงื่อนไข ไม่มีประมาณ และไม่มีการผูกเวร 

Timestamp

[00:01] ส่งความสุขด้วยกระแสของพรหมวิหาร ด้วยการเจริญอานาปานสติ
[12:58] ความสุขประเภทที่ไม่ควรเสพ 4 อย่าง
[24:15] ความสุขประเภทที่ควรเสพ 4 อย่าง
[26:26] ความสุขที่อาศัยปิติที่เนื่องด้วยจากความตริตรึก คือ วิตก วิจาร และวิเวก
[30:27] ปิติสุขที่ต่อเนื่องด้วยความที่จิตเป็นอารมณ์อันเดียว โดยไม่อาศัยการตริตรึก
[32:56] ความสุขที่เกิดจากวางอุเบกขาในปิติสุขนั้น
[33:37] อุเบกขาล้วน ๆ โดยไม่มีสุข เป็นความละเอียดของจิตที่พัฒนาได้
[46:48] คุณสมบัติของพรหมวิหาร 4 ที่จะช่วยทำให้จิตเป็นสมาธิได้เข้มแข็งขึ้น