พัฒนาจิตเพื่อให้เกิดปัญญาอันยิ่ง รอบรู้ กำหนดรู้ ขันธ์ทั้งห้า “รูป เวทนา สัญญา สังขารและ วิญญาณ” ว่า เป็นกองทุกข์ เพราะเป็นที่ตั้งแห่งความยึดมั่นถือมั่น แต่แท้จริงแล้วขันธ์ทั้งห้าไม่เที่ยง ไม่สามารถควบคุมได้ จึงเป็นทุกข์ หากแต่เมื่อเราพัฒนาจิตจนเกิดความรอบรู้ เกิดปริญญา กำหนดรู้ ว่าขันธ์ทั้งห้า ไม่ใช่ตัวตนของเรา ไม่ควรที่จะยึดมั่น ถือมั่น, เกิดปัญญาอันยิ่งคือ อภิญญา ด้วยการปล่อย ไม่ยึดถือในขันธ์ทั้งห้า ด้วยการยอมรับทุกข์ “อยู่กับทุกข์โดยไม่ทุกข์ เราก็จะพ้นทุกข์”.

“อุบายที่จะนำออกจากความยึดถือในขันธ์ทั้งห้าคือ ต้องรอบรู้ การรอบรู้คือ ปริญญา, ด้วยปัญญาอันยิ่งคือ อภิญญา จะเป็นอุบายในการนำออกจากโทษของขันธ์ห้าคือความยึดถือ ที่เราไปยึดถือนั้นได้”

Timestamp
[00:00] กระบวนการที่อานาปาณสติเสริมพลังจิตจนเป็นสมาธิ
[07:06] ความนุ่มนวลของจิตและความปราโมทย์เพราะพ้นภัย
[22:31] ปริญญา กำหนดรู้ในขันธ์ทั้งห้า
[42:02] รู้เข้าใจเหตุเกิด รสอร่อย และโทษของขันธ์ทั้งห้า
[42:02] รู้อุบายในการนำออก
[16:04] ความเลื่อมใสศรัทธาในพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์
[30:25] มีความรักความเมตตาต่อกันเปรียบน้ำผสมกับน้ำนม
[47:51] ธรรมเครื่องอยู่ ตาม อังคุตตรนิกาย คือมีเมตตา ทางกาย วาจา ใจ ศีล และทิฏฐิ