Q1: วิธีระงับผลของกรรมชั่ว
A: การทำให้ “สิ้นกรรม” ในทางพระพุทธศาสนาสามารถทำได้ เช่น กรณีพระองคุลีมาล

  • ปฏิปทาที่เป็นไปเพื่อความสิ้นกรรม คือ การบรรลุธรรม บรรลุพระนิพพาน ไม่ต้องเกิดอีก
  • ยิ่งมีเงื่อนไขในความสุขมาก ยิ่งมีความทุกข์มาก ยิ่งมีเงื่อนไขในความสุขน้อย ยิ่งมีความสุขที่เหนือกว่าสุขเวทนามาก เพราะมีความทุกข์น้อย
  • แนวทางที่จะทำให้มีเงื่อนไขในความสุขน้อยลง จนถึงไม่มีเงื่อนไขให้ทุกข์เลย ประกอบด้วย องค์ประกอบอันประเสริฐ 8 อย่าง (มรรค 8)
  • เมื่อเจอเส้นทางแห่งมรรค 8 แล้ว ให้เดินตามเส้นทางนี้ไปจนสุดทางแล้วจะเจอที่หมาย คือ ความพ้นทุกข์ ความสิ้นกรรมอย่างแท้จริง
  • แต่ในระหว่างทางที่เดินตามมรรค 8 อาจเจอสุขบ้าง เจอทุกข์บ้าง ก็ต้องใช้ปัญญาเห็นความไม่เที่ยง ใช้ปัญญาเห็นด้วยปัญญา จะยิ่งทำให้การเดินทางบนเส้นทางสายกลางนี้ยิ่งดี ยิ่งเร็ว มีอินทรีย์แก่กล้า ไปถึงจุดหมายคือความสิ้นกรรมได้อย่างรวดเร็ว

Q2: บวชแก้กรรม
A: “บัญชีบุญ” กับ “บัญชีบาป” เป็นคนละบัญชีกัน

  • “กรรม” กับ “ผลของกรรม” คนละอย่างกัน
  • เปรียบได้กับ เกลือ (กรรมชั่ว) ผสมกับน้ำ (กรรมดี) ได้ความเค็ม (ผลของกรรมชั่ว) ความเค็มจะมากหรือน้อย ขึ้นอยู่กับปริมาณของเกลือและน้ำ
  • การบวชแก้กรรม เปรียบได้กับการเพิ่มปริมาณน้ำ อาจทำให้ผลของกรรมชั่วเบาบางลงได้
  • ไม่ควรประมาทในการทำความชั่ว = กรรมชั่วแม้เพียงนิดเดียวก็ให้ผล ไม่ควรทำ
  • ไม่ควรประมาทในการทำความดี = ควรหมั่นทำความดีอย่างสม่ำเสมอ (ทำทาน รักษาศีล เจริญภาวนา) จะได้ไม่ร้อนใจในภายหลัง เมื่อถึงคราวที่กรรมชั่วให้ผล ก็อาจจะทำให้ได้รับผลกรรมเบาบางลงได้

Q3: ฆราวาสสอนธรรม
A: ศาสนาพุทธไม่ได้เป็นของพระสงฆ์อย่างเดียว แต่ภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา จะต้องช่วยกันรักษาศาสนา คือ รักษาคำสอนของพระพุทธเจ้าและนำมาปฏิบัติต่อไปจากสิ่งที่พระพุทธเจ้าทรงสอน

  • เราสามารถฟังธรรมได้จากทุกคน และท่านผู้ฟังเองก็ควรจะแสดงธรรมต่อไปด้วย
  • การแสดงธรรมต้องเป็นคำพูดที่ชาวเมืองใช้พูดกัน ฟังแล้วรื่นหู ไม่หยาบคาย หากไม่เป็นดังนี้ การแสดงธรรมนั้นก็อาจจะพอสำหรับคนบางกลุ่ม อาจไม่ใช่สำหรับคนทุกกลุ่ม จึงอาจถูกติเตียนได้

Q4: การวิพากษ์วิจารณ์พระสงฆ์
A: ความเจริญก้าวหน้าในธรรมวินัยนี้ อยู่ที่ว่าเหล่าภิกษุ (รวมถึงทุกคนในศาสนา) คอยที่จะตักเตือนกัน รับฟังกัน ให้ออกจากอาบัติ (ความผิดต่าง ๆ)

  • เจตนารมณ์ของการชี้อาบัติ ก็เพื่อให้เกิดความเจริญกับบุคคลนั้น ไม่ใช่การเพ่งโทษหรืออยากให้เขาได้ไม่ดี เพราะหากให้เขาถืออาบัติต่อไปเรื่อย ๆ กุศลธรรมก็จะลดลง ความไม่ดีความเศร้าหมองในจิตจะเพิ่มขึ้น การชี้อาบัติเพื่อให้เกิดการแก้ไขเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดี
  • ถ้าเราทำไม่ถูก แล้วมีคนเตือนเรา แล้วเราแก้ไข อันนี้จะดีขึ้นได้
  • เมื่อบุคคลใดทำไม่ถูก แล้วมีคนเตือน แล้วรับฟังคำตักเตือนนั้นด้วยความเคารพหนักแน่น หากเห็นโทษโดยความเป็นโทษแล้วทำคืนตามธรรมแล้ว บุคคลนั้นจะมีความเจริญ
  • พระพุทธเจ้าได้กำหนดระเบียบขั้นตอนการปฏิบัติเรื่องการเตือนกันของพระสงฆ์ไว้แล้ว เช่น ช่วงออกพรรษา มีระบบปวารณา เปิดโอกาสให้พระสงฆ์เตือนซึ่งกันและกันได้ หรือมีระบบการปลงอาบัติ โดยจะเรียกมาพูดกันตรง ๆ ต่อหน้า พร้อมหน้ากันในที่ประชุมสงฆ์ ว่าได้กระทำจริงหรือไม่ แก้ไขแล้วหรือไม่ เรื่องก็จะระงับได้
  • การวิพากษ์วิจารณ์พระสงฆ์ทำได้ต่อเมื่อมีการประชุมสงฆ์กันเรียบร้อยแล้ว ไม่ใช่ว่าต่างคนต่างพูดโดยที่ยังไม่ได้มีการพิจารณาว่าถูกต้องหรือไม่อย่างไร เป็นการข้ามขั้นตอน ทำให้เกิดความวุ่นวาย
  • ในธรรมวินัยนี้ การตักเตือนกันและกัน การยอมรับ การเปลี่ยนแปลง เพื่อให้เกิดการออกจากอาบัติ การรับฟังคำตักเตือนด้วยความเคารพหนักแน่น การไม่เพ่งโทษติเตียน การให้ผู้อื่นชี้ขุมทรัพย์ แล้วเกิดการพัฒนา นั่นเป็นความเจริญในธรรมวินัยนี้

Q5: การภาวนากับการสวดมนต์
A: การภาวนา คือ การพัฒนาจิต

  • การสวดมนต์เป็นหนึ่งในรูปแบบที่จะพัฒนาจิตได้
  • การฟังธรรม ใคร่ครวญธรรม เป็นการภาวนาอย่างหนึ่ง
  • ศีล สมาธิ ปัญญา เป็นการพัฒนาการภาวนา เป็นไปเพื่อให้เกิดปัญญา นำไปสู่การบรรลุธรรม

Tstamp

[03:00] วิธีระงับผลของกรรมชั่ว
[16:20] บวชแก้กรรม
[27:10] ฆราวาสสอนธรรม
[35:00] การวิพากษ์วิจารณ์พระสงฆ์
[48:50] การภาวนา VS การสวดมนต์