Q1: เมื่อมรณภาพ ทรัพย์สินของพระสงฆ์ตกแก่ใคร

A: ของส่วนตัวของพระสงฆ์ ถ้ามีการระบุว่าให้แก่ใครก็เป็นไปตามนั้น แต่ถ้าไม่ระบุก็จะตกเป็นของพระอุปัฏฐาก ถ้าไม่มีพระอุปัฏฐากก็จะแบ่งกันในหมู่สงฆ์แล้วแต่ตกลงกัน

Q2: ฟังข่าวแล้วเกิดความคิดให้คนทำผิดได้ไม่ดี เป็นบาปหรือไม่

A: บาป เพราะมีจิตคิดประทุษร้าย

– เวลาที่เห็นคนอื่นทำไม่ดี ให้เราเรียนรู้ว่าความดีจะเกิดได้แบบไหน ความดีไม่อาจเกิดขึ้นได้ด้วยการทำไม่ดีต่อ ทำร้ายต่อ หรือตอบโต้ด้วยสิ่งที่เป็นอกุศลธรรม เปรียบได้กับพื้นบ้านสกปรก ไม่อาจสะอาดได้ด้วยสิ่งปฏิกูลแต่ต้องใช้น้ำสะอาดมาชะล้าง ความสกปรกจึงจะหายไปได้ ดังนั้น ความดีจึงจะเอาชนะความไม่ดีได้

– สื่อควรจะลงข่าวดีๆ มากกว่าข่าวไม่ดี เพราะคนจะได้เอาไปเป็นตัวอย่างได้

Q3: เพ่งโทษผู้อื่น ปั่นให้คนอื่นเกลียดตาม

A: ลักษณะคนดี 4 อย่าง และคนไม่ดี 4 อย่าง

– คนพาล (คนไม่ดี)

1. เพ่งโทษ = เห็นแต่ความไม่ดีของผู้อื่น, โทษของผู้อื่นเพียงนิดเดียวแต่เอามาขยายความให้มาก

2. ลบหลู่คุณท่าน = ดูแคลนด้อยค่าสิ่งที่ผู้อื่นทำดี

3. ยกตน = ตนทำดีเพียงนิดเดียวแต่เอามาขยายความให้มาก

4. ปกปิดโทษของตน = ถ้าไม่มีใครถามก็ไม่พูด ถ้าถามก็จะพูดเพียงนิดเดียว

– คนดี (บัณฑิต)

1. ไม่เปิดเผยโทษผู้อื่น = ถ้าไม่มีใครถามก็จะไม่พูด ถ้าถามก็จะพูดเพียงนิดเดียว

2. เปิดเผยความดีผู้อื่น = แม้ไม่มีใครถาม

3. เปิดเผยความผิดของตนเอง

4. ปกปิดความดีของตน = ถ้าไม่มีใครถามก็จะไม่พูด ถ้าถามก็จะพูดเพียงนิดเดียว

– การเป็นศัตรูกับคนไม่ดี ไม่ค่อยฉลาด เพราะเขาจะทำชั่วกับเราได้ตลอด แต่การเปลี่ยนมิตรที่ไม่ดีให้เป็นคนดีจะดีกว่า ห้ามเขาเสียจากบาป ให้ตั้งอยู่ในความดี เราจะเป็นผู้มีอุปการะต่อผู้นั้น ต้องอาศัยเมตตาและปัญญา สังคมนั้นก็จะพัฒนาได้ การอยู่ร่วมกันแบบนี้ ได้ชื่อว่า รักษาตัวเราด้วยและรักษาผู้อื่นด้วย

Q4: เครื่องหมายที่แสดงถึงการได้สมาธิ

A: หากความคิดในทางอกุศลดับ ไม่คิดเรื่องกาม พยาบาท เบียดเบียน นั่นคือ จิตเป็นสมาธิแล้ว หากจิตเผลอไปคิดเรื่องเหล่านั้นก็ต้องตั้งสติขึ้นใหม่ โดยให้จิตกลับมาอยู่กับฐานที่ตั้ง (กรรมฐาน เช่น การฟัง ลมหายใจ พุทโธ) ยับยั้งจิตไม่ให้ไปในทางอกุศลด้วยอำนาจของสติ เมื่อมีสติแล้วสมาธิก็จะเกิดขึ้นได้

– สัมมาทิฏฐิ (รู้ว่า กาม พยาบาท เบียดเบียนเป็นสิ่งไม่ดี) สัมมาวายะ (ความพยายามระลึกถึงสิ่งที่ดี) และสัมมาสติ (ความระลึกถึงสิ่งที่ดีนั้น) ต้องประกอบกันจึงจะทำให้เกิดสมาธิขึ้นได้

– ระดับของสมาธิ

ฌาน 1 มีความคิดอยู่ แต่หลุดจากเรื่อง กาม พยาบาท เบียดเบียน

ฌาน 2 มีความคิดเพียงเรื่องเดียว

ฌาน 3 มีอุเบกขา ความวางเฉยในเรื่องเดียวนั้น

ฌาน 4 วางสุขที่เกิดจากอุเบกขา ให้เหลือแต่อุเบกขาล้วน ๆ

– การฝึกสมาธิ สามารถทำได้ทุกอิริยาบถ

Q5: สวดมนต์หรือนั่งสมาธิ เพียงอย่างเดียว

A: ได้ เพราะทางแห่งการบรรลุธรรมมี 5 ทาง ได้แก่ 1. ฟังธรรม 2. แสดงธรรม 3. ใคร่ครวญธรรม 4. สาธยายธรรม (สวดมนต์) และ 5. นั่งสมาธิ

Q6: อานุภาพของบทสวดมนต์

A: ให้ตรวจสอบก่อนว่าบทสวดมนต์นั้นมีในพระไตรปิฎก ตรงกับที่พระพุทธเจ้าสอนหรือไม่ ถ้าลงกันไม่ได้ เข้ากันไม่ได้ เทียบเคียงแล้วไม่มี ก็ให้ยกออกไป แต่ถ้าเทียบแล้วมี ก็นำเอามา

Q7: พระพุทธเจ้าทรงใช้ขันติกับเรื่องไหนมากที่สุด

A: ทุกรกิริยา เพราะอีกนิดเดียวจะเสียชีวิตแล้ว

Q8: การบวชชี

A: ภิกษุณีไม่มีในประเทศไทย แต่จะมีอุบาสิกาห่มชุดขาวประพฤติพรหมจรรย์

– สมาคมแม่ชีไทย ช่วยในการประพฤติพรหมจรรย์ของผู้หญิง

Q9: ขอหวยจากศาลพระภูมิที่บ้าน

A: พระพุทธเจ้าสอนว่า “ถ้าคนเราจะสำเร็จอะไรขึ้นมาสักอย่างใดอย่างหนึ่งได้ด้วยเหตุเพียงการอ้อนวอนขอร้อง ในโลกนี้จะไม่มีใครเสื่อมจากอะไร”

– การเล่นหวย เป็นความเมาในโภคทรัพย์ เมาในความหวัง ในสิ่งที่ควบคุมไม่ได้ เป็นการพนัน เป็นอบายมุขควรหลีกเลี่ยง


Tstamp

[00:40] ทรัพย์สินของพระตกแก่ใคร
[05:00] ฟังข่าวแล้วเกิดความคิดให้คนผิดได้ไม่ดี
[14:00] เพ่งโทษ ปั่นให้คนอื่นเกลียดตาม
[26:00] เครื่องหมายแสดงการได้สมาธิ
[36:50] สวดมนต์ นั่งสมาธิ เพียงอย่างเดียว
[41:50] อานุภาพของบทสวดมนต์
[43:40] ขันติที่สุดของพระพุทธเจ้า
[47:30] การบวชชี
[48:35] ขอหวยจากศาลพระภูมิ