#115_ฐานสูตร_ว่าด้วยฐานะแห่งความเสื่อมและความเจริญ จับคู่สิ่งที่ไม่น่าพอใจหรือน่าพอใจ กับทำแล้วเป็นประโยชน์หรือฉิบหาย บัณฑิตจะทราบว่า 2 ส่วนควรทำหรือไม่ควรทำ ดูที่ประโยชน์หรือโทษเป็นเกณท์ ในขณะที่คนพาลจะมองได้ไม่ขาดทะลุ ตรงนี้อยู่ที่กำลังจิต เปรียบได้เหมือนการเลือกดื่มน้ำมูตร หรือน้ำหวานพิษ หรือประโยชน์ที่จะได้รับในเวลาต่อมา 

#116_อัปปมาทสูตร_ว่าด้วยความไม่ประมาท เมื่อรู้ 4 ข้อนี้จะไม่เกรงกลัวต่อความตายที่จะมาถึง คือ ละกายวาจาใจทิฏฐิในทางทุจริต และเจริญกายวาจาใจทิฏฐิในทางสุจริต ไม่กลัวเพราะมีการตั้งตนไว้ในความไม่ประมาทในธรรม 4 ข้อนี้นั่นเอง 

#117_อารักขสูตร_ว่าด้วยสติเครื่องรักษา เมื่อมีธรรมนี้แล้วจะไม่เป็นผู้หวั่นไหวสะดุ้งสะเทือนไปตามมงคลตื่นข่าว กล่าวคือ ไม่กำหนัด ไม่ขัดเคือง ไม่หลง ไม่มัวเมาในธรรมที่เป็นเหตุนั้น ๆ เป็นการเบรคจิตด้วยสติได้อย่างน้อยเป็นโสดาบัน 

#118_สังเวชนียสูตร_ว่าด้วยสังเวชนียสถาน คนที่มีศรัทธาเมื่อได้ไปสี่สถานที่นี้แล้วควรเกิดความสังเวช สังเวชในการที่จะต้องรีบกระทำอย่างใดอย่างหนึ่งขึ้นมาอย่างเร่งด่วนให้เกดความเปลี่ยนแปลง โดยเร่งทำความเพียรตามมรรคแปด 

#119_ปฐมภยสูตร_ว่าด้วยภัยภายใน เป็นภัยที่ช่วยกันไม่ได้ ได้แก่ ภัยเกิดเพราะความเกิด, ความแก่, ความเจ็บไข้, ความตาย

#120_ทุติยภยสูตร_ว่าด้วยภัยภายนอก เป็นภัยที่อาจยังช่วยกันได้ ได้แก่ ภัยเกิดจากไฟ, จากน้ำ, จากพระราชา, จากโจรจบเกสิวรรค 

#121_อัตตานุวาทสูตร_ว่าด้วยอัตตานุวาทภัย ภัย 4 ประการที่ถ้าเรามีหิริโอตัปปะแล้ว ก็ไม่ต้องกลัวภัยเหล่านี้เลย

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต เกสิวรรค ภยวรรค


Tstamp

[08:30] ข้อที่ 115 ฐานสูตร ว่าด้วยฐานะแห่งความเสื่อมและความเจริญ
[19:03] ข้อที่ 116 อัปปมาทสูตร ว่าด้วยความไม่ประมาท
[31:11] ข้อที่ 117 อารักขสูตร ว่าด้วยสติเครื่องรักษา
[38:15] ข้อที่ 118 สังเวชนียสูตร ว่าด้วยสังเวชนียสถาน
[43:44] ข้อที่ 119 ปฐมภยสูตร ว่าด้วยภัยภายใน
[44:11] ข้อที่ 120 ทุติยภยสูตร ว่าด้วยภัยภายนอก
[51:18] ข้อที่ 121 อัตตานุวาทสูตร ว่าด้วยอัตตานุวาทภัย