ช่วงไต่ตามทาง:

  • ผู้ฟังท่านนี้ประกอบกิจการรับเหมาก่อสร้าง เมื่อปี 2560 สถานการณ์เศรษฐกิจไม่ค่อยดี แต่ได้ปฏิบัติธรรม ตั้งอยู่ในศีลธรรม ทำสมาธิ จิตเกิดความสงบ ได้ตั้งจิตอธิษฐานด้วยบุญกุศลของตนขอให้มีงานเข้ามา ผ่านไปไม่ถึงสัปดาห์ มีงานเข้ามาเป็นโครงการใหญ่ หลังจากนั้นชีวิตก็พลิกผันไปในทางที่ดีหลายเรื่อง มีเงินเหลือเก็บ
  • คนที่ตั้งอยู่ในศีลธรรม ไม่คดโกง บุญก็จะส่งผล ให้สามารถรักษาตัวได้

ช่วงปรับตัวแปรแก้สมการ: ธรรมะ 14 ประการ เพื่อการบริหารทรัพย์

  • ธรรมะ 14 ประการนี้ จะทำให้ผู้ครองเรือนซึ่งยังยินดีด้วยเงินทองไม่ตกเป็นทาสของเงิน รู้จักใช้เงินให้เป็น และกำจัดอะไรที่ไม่ดีเกี่ยวกับเงินทองออกไปได้
  1. อาหารของโภคทรัพย์ = ต้องมีความขยัน จะทำให้มีโภคทรัพย์มากขึ้น อย่าขี้เกียจ
  2. บริหารจัดการทรัพย์ = สัมปทา 4 ได้แก่ การทำการงานปกติด้วยความขยัน, รักษาทรัพย์ (เก็บออม ลงทุน), มีกัลยาณมิตร (ศรัทธา ศีล จาคะ ปัญญา) และมีสมชีวิตา (ใช้จ่ายทรัพย์อย่างเหมาะสม มีความสมดุล รายรับต้องท่วมรายจ่าย)
  3. ผู้ประกอบการ (พ่อค้าแม่ค้า) บริหาร 3 เวลา = ทำการงานอย่างดีที่สุดในเวลาเช้า กลางวัน เย็น
  4. ผู้ประกอบการ (พ่อค้าแม่ค้า) มีตาดี 3 ตา = เห็นว่าสิ่งใดจะขายได้กำไร, ฉลาดในการซื้อขายสิ่งที่ตนจะพึงซื้อขายได้ และถึงพร้อมด้วยบุคคลที่จะเป็นที่พึ่งได้
  5. ทางเสื่อมแห่งโภคทรัพย์ (ปิดทางน้ำออก) = อบายมุข 6 ได้แก่ ดื่มน้ำเมา, เที่ยวไปตามตรอกซอกซอยในเวลากลางคืน, การพนัน, คบคนชั่วเป็นมิตร, ความเกียจคร้าน และการเที่ยวดูมหรสพ หรือ อบายมุข 4 ได้แก่ นักเลงเจ้าชู้, นักเลงสุรา, นักเลงการพนัน และคบเพื่อนชั่ว
  6. ทางเจริญแห่งโภคทรัพย์ (เปิดทางน้ำเข้า) = มีสัมปทา 4 และปิดทางเสื่อมแห่งโภคทรัพย์
  7. ตระกูลที่มีความมั่นคง มั่นคั่ง ตั้งอยู่ได้นาน = มีองค์ประกอบ 4 ข้อ คือ แสวงหาพัสดุที่หายไป, ซ่อมแซมพัสดุที่คร่ำคร่า, รู้จักประมาณในการบริโภค และแต่งตั้งบุรุษหรือสตรีผู้มีศีลให้เป็นแม่เจ้าเรือนหรือพ่อเจ้าเรือน
  8. โทษของการมีโภคทรัพย์ = โทษ 5 อย่าง ได้แก่ ถูกทำลายได้ด้วยไฟหรือน้ำ ถูกเอาไปได้ด้วยพระราชา โจร หรือทายาทที่ไม่เป็นที่รัก
  9. ประโยชน์จากการมีโภคทรัพย์ = เลี้ยงตนให้เป็นสุข เลี้ยงมารดาบิดา เลี้ยงบุตรภรรยา เลี้ยงมิตรสหาย และบำเพ็ญทานแก่สมณะผู้ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบเป็นทางสู่สวรรค์หรือนิพพานได้ หรือ บำรุงเลี้ยงคนภายในให้อยู่เป็นสุข บำรุงเลี้ยงคนภายนอก ใช้ป้องกันภัย ทำพลีกรรม และบำเพ็ญบุญกับผู้ที่จะไปนิพพานเพื่อให้ตนได้อานิสงส์
  10. การใช้จ่ายทรัพย์ใน 4 หน้าที่ = ใช้เลี้ยงตนและครอบครัว, เก็บ, สงเคราะห์ และให้เพื่อหวังเอาบุญ
  11. การสิ้นทรัพย์ไปโดยเปล่าประโยชน์ = เป็นผลมาจากไม่ใช้จ่ายทรัพย์ใน 4 หน้าที่
  12. ความเป็นผู้ประมาทในการมีทรัพย์มาก = ยกตน ประพฤติผิดศีล
  13. โภคทรัพย์ย่อมฆ่าคนทรามปัญญา แต่จะฆ่าคนมีปัญญาไม่ได้
  14. ผู้ที่ยังบริโภคกาม 10 ประการ = กามโภคี 10 ประการ ซึ่งแบ่งผู้ที่ยังบริโภคกามออกเป็น 3 กลุ่ม คือ กลุ่มที่หาได้โดยไม่เป็นธรรม กลุ่มที่หาได้โดยเป็นธรรมบ้างไม่เป็นธรรมบ้าง และกลุ่มที่หาได้ตามธรรมเท่านั้น

Tstamp

[04:00] ไต่ตามทาง
[15:25] พุทธภาษิต เรื่อง “นาคคือผู้ประเสริฐ พบกับช้าง”
[17:30] ปรับตัวแปรแก้สมการ: ธรรมะ 14 ประการ เพื่อการบริหารทรัพย์
[23:21] ธรรมะประการที่ 1-3
[30:30] ธรรมะประการที่ 4-6
[37:40] ธรรมะประการที่ 7-10
[47:28] ธรรมะประการที่ 11-14