สูตร#1 อนุมานสูตร พระมหาโมคคัลลานะแสดงแก่ภิกษุจำนวนหนึ่ง ขณะพักอยู่เภสกฬาวัน เขตเมืองสุงสุมารคิระ แคว้นภัคคะ โดยปรารภปวารณากรรมของภิกษุบางรูปที่เป็นผู้ว่ายาก โดยยกเรื่องธรรมที่ทำให้เป็นผู้ว่ายาก 16 ประการ และธรรมที่ทำให้เป็นผู้ว่าง่าย 16 ประการ มาตั้งเป็นข้ออนุมานตน ได้แก่บุคคลอื่นผู้มีธรรมให้เป็นผู้ว่ายาก ไม่เป็นที่รักที่พอใจของเรา ฉันใด ถ้าตนเองมีคุณธรรมให้เป็นผู้ว่ายากบ้าง คนอื่นก็ไม่รักไม่พอใจฉันนั้นเหมือนกัน ดังนั้นให้ปฏิบัติธรรมที่ทำให้เป็นผู้ว่าง่าย และได้ยกข้อธรรมทั้ง 2 ประการนั้น มาตั้งเป็นหัวข้อพิจารณาตนเองแต่ละประการอีกว่า ตนมีธรรมที่ทำให้เป็นผู้ว่ายากหรือไม่ ถ้ามีก็ควรพยายามละเสีย แต่ถ้าไม่มีในตน ก็ควรศึกษาและปฏิบัติตามกุศลธรรมทั้งหลายอย่างต่อเนื่องต่อไป

สูตร#2 จูฬตัณหาสังขยสูตร ทรงแสดงแก่ท้าวสักกะ ณ บุพพาราม กรุงสาวัตถี เพื่อตอบปัญหาของท้าวสักกะ ที่ได้ทูลถามว่า กล่าวโดยย่อ ข้อปฏิบัติเพียงเท่าไร ภิกษุจึงชื่อว่า ผู้หลุดพ้นด้วยธรรมเป็นที่สิ้นตัณหา ฯลฯ เป็นผู้ประเสริฐกว่าเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย ทรงตรัสตอบและอธิบายถึงข้อปฏิบัติ ที่ว่า “ธรรมทั้งปวง ไม่ควรยึดมั่น “ ท้าวสักกะชื่นชมพระภาษิตและทูลากลับ

ขณะนั้น ท่านพระมหาโมคคัลลานะ นั่งฟังอยู่ไม่ไกล คิดว่า ท้าวสักกะจะไม่เข้าใจจริง จึงตามไปยังสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ เพื่อถามว่า พระพุทธเจ้าตรัสเรื่องความสิ้นตัณหาโดยย่อว่าอย่างไร ท้าวสักกะไม่ตอบ แต่ชวนไปชมเวชยันตปราสาท พระเถระจึงสำแดงฤทธิ์ให้เวชยันตปราสาทสั่นสะเทือน จึงยอมบอกตามที่ทรงได้ฟังมา พระเถระได้กลับมารายงานให้พระพุทธเจ้าทรงทราบ และทรงยืนยันว่าได้ตรัสอย่างนั้นจริง

อ่าน “ อนุมานสูตรพระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๒ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๔ มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์

อ่าน “จูฬตัณหาสังขยสูตรพระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๒ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๔ มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์


Tstamp

[01:58] อนุมานสูตร ว่าด้วยการเปรียบตนกับผู้อื่น ว่าด้วยความคาดมาย
[41:38] จูฬตัณหาสังคยสูตร ว่าด้วยข้อปฏิบัติธรรมเป็นทีสิ้นตัณหา