ช่วงไต่ตามทาง: ลูกศิษย์ย้อนนึกถึงเมื่อครั้งช่วยสร้างวัด
- ลูกศิษย์ของหลวงพ่อ ดร.สะอาด สมัยเริ่มสร้างวัดป่าดอนหายโศก ได้เคยร่วมสร้างกุฏิ ศาลาปฏิบัติธรรม และมาปฏิบัติธรรมที่วัด แต่ไม่ได้มาวัด 30 ปี จนกระทั่งได้ทราบข่าวการมรณภาพของหลวงพ่อจึงเดินทางมาที่วัด และได้หวนนึกถึงความหลังที่ตนได้สร้างมา จิตใจก็มีความปราบปลื้ม ดีใจ สบายใจ ความระลึกได้นั้นคือ “สติ” ระลึกถึงศีลความดีที่ตนเคยทำมา (สีลานุสติ) ระลึกถึงครูบาอาจารย์ (สังฆานุสติ) ระลึกถึงศรัทธา วิริยะ สติ สมาธิ ปัญญา (เทวตานุสติ) ความดีของตนที่ระลึกได้นี้ จะเป็นที่พึ่งของตนในเวลาที่จะจากโลกนี้ไปได้
- ในขณะจิตสุดท้าย ถ้าจิตน้อมไปคิดถึงเรื่องไม่ดี ปองร้าย พยาบาท ทางกาม ก็จะไปไม่ดี เกิดเป็นเปรตหรือสัตว์นรก
ช่วงปรับตัวแปรแก้สมการ: บริหารสมองในวัยเกษียณ
- กาย วาจา ใจ จะปรุงแต่งอย่างไรให้สมองและจิตยังดีอยู่ได้ ไม่แก่ไปตามร่างกายที่เปลี่ยนแปลงไป ให้ยังมีความผาสุกได้อยู่
- จิตกับสมองไม่เหมือนกัน สมองควบคุมร่างกาย ส่วนจิตควบคุมสมองอีกชั้นหนึ่ง จิตใช้สมองเป็นเครื่องมือในการคิดปรุงแต่งการพูดหรือการเคลื่อนไหวร่างกาย การฝึกสมองผ่านทางกาย ทางวาจา จะทำให้สมองไม่แก่
- ทางกาย (กายสังขาร) = การเคลื่อนไหวร่างกายมีส่วนสำคัญทำให้สมองมีความคมอยู่ ไม่หลงลืม
(1) นอนให้เพียงพอ
(2) ทานอาหารพออิ่ม – ไม่มากไม่น้อยเกินไป มีคุณค่าต่อร่างกาย
(3) ออกกำลังกายพอประมาณ – การเดินช่วยย่อยอาหารได้ดี
(4) จัดตารางเวลาชีวิต – หนึ่งวันจะทำอะไรบ้าง
- ทางวาจา (วจีสังขาร) = การพูดจะช่วยกระตุ้นสมองให้ทำงานได้อย่างดี
(1) อ่านออกเสียง – กระตุ้นสมองให้ประมวลผลเรื่องคำพูด
(2) อธิบายรูปภาพที่เกิดขึ้นในความคิดออกมาเป็นคำพูด – เช่น จะไปกินข้าวนอกบ้าน ให้อธิบายตามภาพที่เกิดขึ้นในหัวเป็นคำพูดว่า จะกินข้าวผัดอะไร จานเป็นยังไง ปริมาณเท่าไร กินที่ไหน แต่งตัวยังไง ไปกันกี่คน
(3) ตั้งคำถามในเรื่องต่างๆ หรือ ตอบคำถามคนอื่น – สมองจะได้รับการพัฒนาเมื่อคิดเป็นคำถามในสิ่งที่ยังไม่รู้
(4) สังเกตรูปหรือเสียงต่าง ๆ – ฝึกอายตนะด้านการรับรู้ ฝึกสติ ช่วยพัฒนาสมอง
(5) ฟังสิ่งที่คนอื่นพูดวิจารณ์เรา – มีสติ คิดตาม เรื่องที่เราต้องปรับปรุง สมองจะได้ใช้งาน
(6) พูดชื่นชมผู้อื่น – ก่อนพูดจะผ่านกระบวนการประมวลผลในสมอง ไม่มีประโยชน์ที่จะนึกถึงความไม่ดีของคนอื่นแล้วทำให้จิตใจเราเศร้าหมอง เราต้องรักษาจิตของเราให้สูงก่อน การมองเห็นแง่ดีของคนอื่นจะช่วยพัฒนาความดีของเราให้มากขึ้นได้
(7) พูดเปรียบเปรย ยกอุปมาอุปไมย เทียบเคียง – เส้นประสาทในสมองจะถูกกระตุ้นให้เกิดความเชื่อมโยง
- ทางจิต (จิตสังขาร) = จิตใช้สมองเป็นเครื่องมือในการปรุงแต่งออกไปทางกาย ทางวาจา ทางความคิด
(1) ฝึกคิดเรื่องที่เป็นประโยชน์ต่อจิตใจ = ไม่คิดตำหนิผู้อื่น การเขียนอธิบายเป็นตัวอักษร เป็นการทบทวน เป็นการโยนิโสมนสิการอย่างหนึ่ง ไตร่ตรองใคร่ครวญโดยแยบคาย กระชับความคิด ช่วยกระตุ้นสมองให้คิดไปในทางดีได้
(2) ฝึกคิดวางแผนงานล่วงหน้า
(3) ฝึกคิดสร้างสรรค์ปรับปรุงเปลี่ยนแปลง
(4) ฝึกสมาธิ – สำคัญที่สุด ให้จิตได้พักผ่อนจากการปรุงแต่ง โดยให้ตั้งสติขึ้น สติเป็นเครื่องมือในการทำให้จิตสงบ เมื่อจิตสงบ การใช้สมองซึ่งเป็นเครื่องมือของจิตก็จะใช้ได้อย่างดี การฟังเทศน์ฟังธรรมจะทำให้จิตเป็นสมาธิได้ง่าย
โดยสรุป: ไม่ว่าจะเป็นทรัพย์สมบัติ ลูกหลาน สิ่งของต่าง ๆ แม้แต่ร่างกายของเรา สิ่งเหล่านี้จะพังทั้งหมด ไม่สามารถเอามาเป็นที่พึ่งได้ แต่สิ่งที่จะเป็นที่พึ่งของเราได้ คือ จิตที่มีธรรมะ หากจิตมีที่พึ่งที่มั่นคงแล้ว เวลากายแตกดับ ก็จะมีที่พึ่งอันเกษม ที่พึ่งอันสูงสุด การลับสมองของเราให้คมอยู่เสมอ ด้วยกาย วาจา ใจ จะทำให้จิตใช้สมองเป็นเครื่องมือในการพัฒนาจิตได้อย่างมีประสิทธิภาพ สมองยังดีอยู่ได้ ด้วยจิตใจที่ดี จิตใจที่มีกุศลธรรม จากบุญกุศลที่สะสมไว้นั่นเอง และต้องไปตรวจสุขภาพเช็คระบบประสาทและสมองด้วย
Tstamp
[04:38] ไต่ตามทาง: ลูกศิษย์ย้อนนึกถึงเมื่อครั้งช่วยสร้างวัด
[16:00] พุทธภาษิต เรื่อง “ทรงเป็นผู้สอนที่เลิศที่สุด”
[19:40] ปรับตัวแปรแก้สมการ: บริหารสมองในวัยเกษียณ
[22:00] บริหารสมอง ด้วยกาย
[32:50] บริหารสมอง ด้วยวาจา
[46:05] บริหารสมอง ด้วยจิต