#67_นคโรปมสูตร ว่าด้วยธรรมเปรียบด้วยเครื่องป้องกันนคร เป็นการอุปมาเปรียบเทียบระหว่างนครหัวเมืองชายแดนที่มีการสร้างเครื่องป้องกันนคร 7 ประการ และมีความสมบูรณ์ของอาหาร 4 อย่าง อุปไมยลงในกายและใจที่ประกอบไปด้วยสัทธรรม 7 ประการ และ ฌานทั้ง 4
การเปรียบเทียบอุปมาอุปไมยเครื่องป้องกันนคร 7 ประการ และ อาหาร 4 อย่าง คือ
1. มีเสาระเนียดขุดหลุมฝังลึกไว้เป็นอย่างดี เปรียบได้กับ เป็นผู้มีศรัทธาตั้งมั่นแล้วเป็นอย่างดี
2. มีคูลึกและกว้าง เปรียบได้กับ เป็นผู้มีหิริ (ความละอายต่อบาปอกุศลธรรมทั้งหลาย)
3. มีทางเดินได้รอบ ทั้งสูงและกว้าง เปรียบได้กับ เป็นผู้มีโอตตัปปะ (ความกลัวต่อบาปอกุศลธรรมทั้งหลาย)
4. มีการสะสมอาวุธไว้มาก เปรียบได้กับ ความเป็นพหูสูต แทงตลอดดีด้วยทิฏฐิ
5. มีกองพลตั้งอาศัยอยู่มาก เปรียบได้กับ การปรารภความเพียร
6. มีทหารยามฉลาด คอยกันคนที่ไม่รู้จักไม่ให้เข้าไป ให้คนที่รู้จักเข้าไป เปรียบได้กับ “สติ”
7. มีกำแพงสูงและกว้าง เปรียบได้กับ ปัญญาเห็นทั้งความเกิดและความดับ คอยชำแรกกิเลสให้ถึงความสิ้นทุกข์โดยชอบ
อาหาร 4 อย่าง ได้แก่ 1) หญ้า ไม้ น้ำ 2) ข้าว 3) อปรัณณชาติ (ธัญพืช) 4) เภสัช เปรียบได้กับ ฌาน 1-4
นครที่มีเครื่องป้องกันนครทั้ง 7 ประการ และได้อาหารทั้ง 4 อย่างนี้แล้วชึ้นชื่อว่า “ศัตรูหมู่ปัจจามิตรภายนอกทำอะไรไม่ได้” เปรียบได้กับอริยสาวกที่ประกอบด้วยสัทธรรม 7 ประการ และได้ฌาน 4 ขึ้นชื่อว่า “มารมีบาปก็ทำอะไรไม่ได้”
อีกพระสูตรที่น่าสนใจซึ่งมีเนื้อหาทำนองเดียวกัน คือ กึสุกสูตร หรือ กิงสุโกปมสูตร ว่าด้วยอุปมาด้วยต้นทองกวาว คือ ช่วงแรก มีการอุปมาเปรียบเหตุที่ทำให้บรรลุธรรมกับลักษณะของต้นทองกวาว และช่วงที่สอง อุปมาเปรียบ “นครกับกาย” ซึ่งประกอบขึ้นจากมหาภูตรูป 4 (ดิน น้ำ ไฟ ลม) มี 6 ประตู คือ อายตนะภายใน 6 ประการ / นายประตู คือ สติ / ราชทูต 2 นาย คือ สมถะและวิปัสสนา / เจ้าเมือง คือ วิญญาณ / ทางสี่แยกกลางเมือง คือ ธาตทั้ง 4 / พระราชสาส์นตามความเป็นจริง คือ นิพพาน / ทางตามที่ตนมา คือ อริยมรรคมีองค์ 8
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๓ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๕ [ฉบับมหาจุฬาฯ] อังคุตตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต
อ่าน “นคโรปมสูตร ว่าด้วยธรรมเปรียบด้วยเครื่องป้องกันนคร“
อ่าน “กิงสุโกปมสูตร ว่าด้วยอุปมาด้วยต้นทองกวาว
Tstamp
[03:00] การศึกษาพระสัทธรรมควรศึกษาจากแม่บท
[12:15] ข้อที่ 67 นคโรปมสูตร ว่าด้วยธรรมเปรียบด้วยเครื่องป้องกันนคร
[25:00] คูลึกและเชิงเทิน เปรียบได้กับหิริและโอตตัปปะ
[26:54] เสาระเนียด เปรียบได้กับศรัทธา
[30:04] สะสมอาวุธไว้มาก เปรียบได้กับความเป็นพหูสูต
[33:19] มีกองพลตั้งอาศัยอยู่มาก เปรียบได้กับการปรารภความเพียร
[37:29] มีทหารยามฉลาด เปรียบได้กับสติ
[39:54] กำแพงสูงและกว้าง เปรียบได้กับปัญญา
[42:00] อาหาร 4 อย่าง เปรียบได้กับฌาน 1-4
[46:10] กึสุกสูตร