Q : เคยทำกรรมไม่ดีไว้กับงูจึงทำให้กลัวงู
A : ให้เราทำความดี เจริญเมตตาภาวนา ทำให้บ่อยให้มาก จะช่วยให้คลายความร้อนใจ ให้เราหาที่อยู่ให้จิต เช่นมีสมาธิอยู่กับการงานที่ทำฟังเทศน์หรือดูลมหายใจ ก็จะช่วยให้จิตมีเครื่องอยู่ไม่ฟุ้งซ่าน
Q : ใช้การภาวนาคาถาแทนการดูลมหายใจได้หรือไม่?
A : ได้..ใช้วิธีไหนก็ได้ในอนุสติ 10 คำสอนของท่านสามารถปฎิบัติเข้ามาได้โดยรอบ ทุกวิธีที่ท่านสอนจะมารวมลงไปตามทางในมรรค 8
Q : เทคนิคแก้ฝันร้าย
A: ก่อนนอน ให้กำหนดสติสัมปชัญญะ กำหนดรู้อิริยาบถในการนอนแล้วเจริญเมตตา มุทิตา กรุณา อุเบกขา น้อมจิตไปเพื่อการนอน กำหนดจิตว่า รู้สึกตัวเมื่อไหร่จะลุกขึ้นทันที ตั้งสติสัมปชัญญะไว้ว่า “ขอให้บาปอกุศลอย่าได้ตามเราผู้ที่นอนอยู่” แล้วบาปอกุศลจะไม่ตามเราไป เพราะเราตั้งสติไว้แล้ว
Q : ทิศทางสู่นิพพานในขณะที่ยังเป็นฆราวาสผู้ครองเรือน
A : มรรค8 เป็นทางเดิน ทางเดียว ที่จะไปสู่นิพพานได้
Q : การเจริญมรรคของฆราวาสต้องเจริญแบบไหนจึงจะชื่อว่าทางสายกลาง
A : ให้เอาศีลเป็นหลัก มีกัลยาณมิตรดีที่จะไปทางเดียวกัน มีมรรคเป็นเกณฑ์ ถ้าออกนอกมรรคก็ให้ตั้งสติ ปรับจิตใจ ทำความเพียรให้มาก จะพัฒนาไปได้
Q : ควรจะแก้ไขอย่างไร เมื่อนั่งสมาธิแล้วหงุดหงิด ฟุ้งซ่าน ท้อ ไม่อยากทำต่อ?
A : ถีนมิทธะเป็นเครื่องกั้นจิตไม่ให้สงบ ให้ระลึกถึงตรงจุดที่เราทำได้ จดจ่อตรงที่ทำได้ พอเราตั้งสติได้ จิตก็จะมีพลังมากขึ้น ให้เราฝึกทำให้ชำนาญ
Q : สมาธิเสื่อมได้หรือไม่ ถ้าได้เกิดจากเหตุปัจจัยใด?
A : เสื่อมได้..มรรค 8 เป็นสังขตธรรม คือเป็นธรรมะที่มีการปรุงแต่ง เมื่อมีการปรุงแต่งก็หมายความว่าต้องอาศัยเหตุ ถ้าเหตุที่ทำให้เกิดสมาธินั้นเสื่อมไป สมาธิก็เสื่อมไป เราต้องรักษาเหตุเอาไว้ เหตุของสมาธิ คือสติสัมมาทิฐิโดยมีศีลเป็นพื้นฐานถ้าเหตุเหล่านี้เปลี่ยนแปลงไปสมาธิก็เสื่อมได้
Tstamp
[2:15] Q1: เคยทำกรรมไม่ดีไว้กับงู จึงทำให้กลัวงู
[9:56] Q1: ที่อยู่ของจิต
[11:53] Q2: ใช้การภาวนาคาถาแทนการดูลมหายใจได้หรือไม่?
[15:34] เทคนิควิธีแก้ฝันร้าย
[19:25] Q3: ทิศทางสู่นิพพานในขณะที่ยังเป็นฆราวาสผู้ครองเรือนอยู่
[27:37] Q4: การเจริญมรรคของฆราวาสต้องเจริญแบบไหนจึงจะชื่อว่าทางสายกลาง
[33:37] Q5: เมื่อนั่งสมาธิแล้วเกิดมีอารมณ์หงุดหงิดฟุ้งซ่าน จนท้อใจไม่อยากทำต่อ ควรจะแก้ไขอย่างไร?
[50:22] Q6: สมาธิเสื่อมได้หรือไม่ ถ้าได้เกิดจากเหตุปัจจัยใด?