กำหนดรู้ธรรมด้วยปัญญาอันยิ่งจากทุกข์ นั่นคือขันธุ์ 5ว่ามีสภาวะเปลี่ยนแปลงได้ด้วยเงื่อนไขปัจจัย ไม่เที่ยง ให้ละเสีย ไม่ควรยึดถือ เริ่มจากวิญญาณการรับรู้ ไม่เพลินไปตามอารมณ์ มีสติ สังเกตและวิริยะ ดำเนินตามระบบแห่งความเข้าใจที่ถูกหลักหมายถึงระบบของความจริงอันประเสริฐ ได้แก่ทุกข์ที่เราต้องกำหนดรู้ด้วยปัญญาอันยิ่งแท้คืออภิญญา สมุทัยคือเหตุเกิดทุกข์ต้องละ นิโรธต้องทำให้แจ้ง และมรรคคือทางที่ทำให้เกิดความเข้าใจต้องทำให้เจริญ ด้วยความมีอภิญญาในจิตใจของเรา ความมีปัญญาอันยิ่ง รู้วาระจิตของตัวเอง ชนะตนเองจากความชั่วที่อยู่ในจิต จิตจะเกิดความสงบระงับ คืออุปสมายะ จิตมีความรู้ยิ่งคืออภิญญายะ จิตมีความรู้ดีมีความรู้พร้อมคือสัมโพธายะ และจิตมีความเย็น ความนุ่มนวลนั่นคือนิพพานายะ


Timestamp

[00:01] กำหนดรู้ด้วยปัญญาอันยิ่ง เริ่มที่วิญญาณ
[18:22] ระบบแห่งความจริงอันประเสริฐ
[27:07] สังเกตดูเฉยๆ แยกแยะสามสิ่งที่ห่อหุ้มจิตได้ด้วยสติ
[36:05] สามสิ่งคือ ปรุงแต่งจิตเพื่อ อุปสมายะ อภิญญายะ สัมโพธายะ นิพพานายะ
[44:29] ความรู้อันยิ่งในทุกข์ : ละความยึดถือในขันธ์ห้า