Q&A จากคำถามในสัญญาทั้ง 7 ประการ จำเป็นหรือไม่ที่จะต้องมีลำดับในการเจริญสัญญา คำตอบ ไม่จำเป็น ยกตัวอย่างเช่น ต้นทองกวาวจะบอกว่ามีสีแสด.. ก็ใช่ หรือใบดก.. ก็ใช่ หรือจะมีลำต้นดำ.. ก็ใช่ คือทั้งหมดก็เป็นลักษณะของต้นทองกวาวเช่นเดียวกับสัญญา 7 ประการ เมื่อเจริญสัญญาอย่างหนึ่ง สัญญาอื่น ๆ ก็เจริญขึ้นมาด้วย เปรียบเสมือนทางที่จะขึ้นไปบนยอดเขา (นิพพาน) จะขึ้นจากทิศใดก็สามารถขึ้นไปถึงยอดเขาได้เหมือนกัน

ข้อที่ #50_เมถุนสูตร ว่าด้วยเมถุนสังโยค 7 ระดับ เป็นเรื่องราวของชาณุสโสณิพราหมณ์ที่มีความสงสัยในพระพุทธเจ้าที่พูดว่าตนเป็นผู้ประพฤติพรหมจรรย์ทั้งที่เคยอยู่ครองเรือนมาก่อน มีปราสาทถึง 3 หลังและแวดล้อมด้วยนางรำ ซึ่งแตกต่างกับลัทธิของตนที่ต้องประพฤติพรหมจรรย์ตามระยะเวลาถึง 48 ปี จึงจะเรียกได้ว่า “บรรลุอรหันต์” 


พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสตอบว่า เมื่อจะกล่าวให้ถูกต้อง พึงกล่าวถึงผู้ใดผู้หนึ่งว่า “เขาประพฤติพรหมจรรย์ ไม่ขาด ไม่ทะลุ ไม่ด่าง ไม่พร้อย บริสุทธิ์ บริบูรณ์ บุคคลนั้น เมื่อจะกล่าวให้ถูกต้อง พึงกล่าวถึงเรานั้นแล เพราะเราประพฤติพรหมจรรย์ ไม่ขาด ไม่ทะลุ ไม่ด่าง ไม่พร้อย บริสุทธิ์ บริบูรณ์” และทรงได้แจกแจงเมถุนสังโยคทั้ง 7 ระดับแก่ ชาณุสโสณิพราหมณ์จนเกิดความปิติเลื่อมใสปฏิญาณตนขอเป็นอุบาสก


*ถึงแม้ว่าการประพฤติพรมหมจรรย์นั้นจะไม่มีกิจกรรมของคนคู่ก็จริงอยู่ แต่ถ้ายังยินดีในสัมผัสทางกาย ยินดีในการพูดสนุกล้อเล่น ยังยินดีในเสียงที่ได้ยิน ยังยินดีในรูปที่ตาเห็น ยังหวนระลึกถึงรูปเสียงในคนนั้นอยู่ ยังนึกถึงกามคุณ 5 และยังยินดีในกามของเหล่าเทวดาทั้งหลายอยู่ เราเรียกผู้นั้นว่า ประพฤติพรหมจรรย์ไม่บริสุทธิ์ ย่อมไม่หลุดพ้นจากทุกข์ไปได้


ข้อที่ #51_สังโยคสูตร ว่าด้วยความเกี่ยวข้องและความไม่เกี่ยวข้อง 7 ประการในสตรีและบุรุษ กล่าวคือ เมื่อกำหนดความเป็นตัวตนในตนขึ้นมา ย่อมกำหนดความเป็นตัวตนในบุคคลอื่นได้เช่นกัน เมื่อมีความยึดในตนขึ้นมาได้มันก็สามารถคลืบคลานไปยึดถือในบุคคลอื่นและสิ่งอื่นได้เหมือนกันนี้คือความเกี่ยวข้อง ซึ่งได้แสดงรายละเอียดไว้ในพระสูตรทั้ง 7 ประการด้วยกัน

พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๓ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๕ [ฉบับมหาจุฬาฯ] อังคุตตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต

อ่าน “เมถุนสูตร ว่าด้วยเมถุนสังโยค

อ่าน “สังโยคสูตร ว่าด้วยความเกี่ยวข้องและความไม่เกี่ยวข้อง


Tstamp

[04:50] Q&A การเจริญสัญญา 7 ประการ (ปฐม-ทุติยสัญญาสูตร)
[19:25] ข้อที่ 50 เมถุนสูตร ว่าด้วยเมถุนสังโยค
[38:52] ข้อที่ 51 สังโยคสูตร ว่าด้วยความเกี่ยวข้องและความไม่เกี่ยวข้อง