ในข้อที่ 48_ปฐมสัญญาสูตร และ ข้อที่ 49_ทุติยสัญญาสูตร ทั้งสองพระสูตรนี้ ว่าด้วยสัญญา 7 ประการ ที่เมื่อเจริญทำให้มากแล้วจะมีนิพพานเป็นที่หยั่งลง เพราะอาศัยเหตุที่เมื่อเจริญให้มากพอใน

(1) เจริญ อสุภสัญญา แล้ว จะละเมถุนธรรมได้

(2) เจริญ มรณสัญญา แล้ว จะละความติดใจในชีวิตได้

(3) เจริญ อาหาเร ปฏิกูลสัญญา แล้ว จะช่วยละความมัวเมาในรสอาหารได้

(4) เจริญ สัพพโลเก อนภิรตสัญญา แล้ว จะละความไหลหลงในวิจิตรของโลกได้

(5) เจริญ อนิจจสัญญา แล้ว จะละความหลงในลาภสักการะและเสียงสรรเสริญเยินย่อได้

(6) เจริญ อนิจเจ ทุกขสัญญา แล้ว จะละความประมาทไม่ประกอบในความเพียรได้

(7) เจริญ ทุกเข อนัตตสัญญา แล้ว จะละความยึดถือในตัวตนได้


“สิ่งใดที่อาศัยเหตุปัจจัยในการเกิดขึ้น สิ่งนั้นย่อมไม่เที่ยง เมื่อไม่เที่ยง สิ่งนั้นจึงเป็นทุกข์ (แปรเปลี่ยนทนอยู่สภาพเดิมไม่ได้) เมื่อเป็นทุกข์เพราะอาศัยเหตุปัจจัยในการเกิดดับ จึงเป็นอนัตตา เมื่อใดรู้เห็นตามความเป็นจริง (เห็นไตรลักษณ์) ในสิ่งที่เป็นทุกข์ (ขันธ์ 5) นี้แล้ว จะไม่กำหนัด ไม่มัวเมา ไม่เพลิดเพลินในสิ่งที่เป็นทุกข์ เพราะเห็นโทษภัยในทุกข์นั้น”


พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๓ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๕ [ฉบับมหาจุฬาฯ] อังคุตตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต

อ่าน “ปฐมสัญญาสูตร ว่าด้วยสัญญา สูตรที่ ๑

อ่าน “ทุติยสัญญาสูตร ว่าด้วยสัญญา สูตรที่ ๒


Tstamp

[04:57] ข้อที่ 47-48 ปฐม-ทุติยสัญญาสูตร ว่าด้วยสัญญา สูตรที่ 1 และ 2
[11:47] ธรรมคู่ตรงข้ามที่แก้กัน
[18:38] เครื่องวัดการพัฒนา
[25:46] ภาวิตา พหุลีกตา – เจริญทำให้มาก
[31:57] ทางพ้นจากมาร