เมื่อเราเห็นข้อปฏิบัติหรือสิ่งไม่ดีของผู้อื่นแล้ว เราเลือกที่จะใช้ความดีปฏิบัติตอบ ให้เขาได้แก้ไขเปลี่ยนแปลงเป็นคนดีขึ้นมาได้ เป็นการรักษากันและกัน “ด้วยความดี”

จากคำถามใน #ข้อ100 กกุธเถรสูตร “ศาสดาท่านนี้จักทำกรรมใด เขาเองก็จักปรากฏด้วยกรรมนั้น” เป็นอุบายการรักษาจิตของสาวก (ลูกศิษย์) ที่เมื่อเห็นอาจารย์ของตนปฏิบัติไม่ดีแล้ว เลือกที่จะรักษาจิตให้มีความดี ให้มีเมตตา

สีลสูตร #ข้อ107 ภิกษุถึงพร้อม (จนสุดถึงขั้นผล) ด้วย ศีล สมาธิ ปัญญา วิมุตติ วิมุตติญาณทัสสนะ ความหมายเหมือนกันกับ อเสขสูตร#ข้อ108 ภิกษุประกอบด้วย อริยสีลขันธ์ (ขันธ์ คือ กอง กลุ่มก้อน) สมาธิขันธ์ ปัญญาขันธ์ วิมุตติขันธ์ วิมุตติญาณทัสสนขันธ์ เป็นผู้ควรแก่ของที่เขานำมาถวาย ฯลฯ เป็นนาบุญอันยอดเยี่ยมของโลก

จาตุททิสสูตร #ข้อ109 ภิกษุผู้เที่ยวไปในทิศทั้ง 4 (พระอรหันต์) เป็นผู้มี ศีล พหูสูต สันโดษด้วยปัจจัย 4 ได้ฌาน 4 ทำให้แจ้งเจโตวิมุตติและปัญญาวิมุตติ ไส้ในเหมือนกันกับ อรัญญสูตร #ข้อ110 ภิกษุผู้ควรอยู่ในป่า (พระอรหันต์) ต่างกันประการที่ 3 คือ ปรารภความเพียร มีอาสวะสิ้นแล้ว จะอยู่ที่ไหนก็อยู่ได้ จะไปที่ไหน ก็ไปได้

พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๒ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๔ [ฉบับมหาจุฬาฯ] อังคุตตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต

อ่าน “กกุธเถรสูตร ว่าด้วยกกุธเทพบุตรกับพระมหาโมคคัลลานะ“

อ่าน “สีลสูตร ว่าด้วยศีลที่เป็นองค์ประกอบของภิกษุ“

อ่าน “อเสขสูตร ว่าด้วยธรรมของพระอเสขะ“

อ่าน “จาตุททิสสูตร ว่าด้วยธรรมของภิกษุผู้เที่ยวไปในทิศทั้งสี่“

อ่าน “อรัญญสูตร ว่าด้วยคุณสมบัติของภิกษุผู้ควรอยู่ในป่า“


Tstamp

[03:55] คำถามในหัวข้อที่ 100 กกุธเถรสูตร
[28:30] ข้อ107 สีลสูตร ศีลที่เป็นองค์ประกอบของภิกษุ
[29:25] ข้อ108 อเสขสูตร ธรรมของพระอเสขะ
[35:55] ข้อ109 จาตุททิสสูตร ภิกษุผู้เที่ยวไปในทิศทั้งสี่
[36:37] ข้อ110 อรัญญสูตร คุณสมบัติของภิกษุผู้ควรอยู่ในป่า
[45:25] สรุปเนื้อหา ผาสุวิหารวรรค