การไม่ให้จิตตกไปตามอำนาจของกิเลสแต่จะให้มาอยู่ในอำนาจของมรรค 8 ได้นั้น ต่างต้องอาศัยเหตุปัจจัย ซึ่งเหตุปัจจัยหลักนั้นก็คือการมี “สติ” คือจะต้องมีสติสัมปชัญญะเห็นเหตุปัจจัยแห่งการเกิดขึ้น ดำรงอยู่ และดับไปของสมาธิในขั้นต่าง ๆ กล่าวคือจะต้องเป็นผู้ฉลาดในสมาธิและกระทำสมาธิโดยชำนาญในทุกอริยบถ มีสติปัฏฐาน 4 มีสติรู้ชัดเห็นการเกิด-ดับในทุกสภาวะ จะเป็นผู้ทำจิตให้ตกอยู่ในอำนาจหรือมีอำนาจเหนือจิตได้

ในข้อที่ #40_ปฐมวสสูตร และ ข้อที่ #41_ทุติยวสสูตร ว่าด้วยธรรมที่เป็นเหตุให้จิตตกอยู่ในอำนาจ สูตรที่ ๑ และสูตรที่ ๒ ประกอบด้วยธรรม 7 ประการเหมือนกัน แต่ทุติยวสสูตรจะเป็นนัยยะของท่านพระสารีบุตร ธรรม 7 ประการ คือ

1.    เป็นผู้ฉลาดในสมาธิ – รู้เหตุปัจจัย คุณลักษณะ และคุณสมบัติของสมาธิ

2.    เป็นผู้ฉลาดในการเข้าสมาธิ – รู้เหตุที่ทำให้เข้าสมาธิได้โดยง่าย ความเป็นสัปปายะ และความอดทนต่ออายตนะ 

3.    เป็นผู้ฉลาดในการให้สมาธิตั้งอยู่ได้ – มีสติสัมปชัญญะเต็ม เห็นเหตุเกิดขึ้น ตั้งอยู่ และดับไปของสมาธิ

4.    เป็นผู้ฉลาดในการออกจากสมาธิ – เห็นข้อเสียในสมาธิในจุดที่ตนเองอยู่ ละข้อเสียนั้น เห็นคุณในสมาธิขั้นต่อไป แล้วเลื่อนขึ้น

5.    เป็นผู้ฉลาดในความพร้อมแห่งสมาธิ – ทำสมาธิโดยเอื้อเฟื้อกัน 

6.    เป็นผู้ฉลาดในอารมณ์แห่งสมาธิ – รู้ความเหมาะสมในการปรับเปลี่ยนสมาธิสมถะและวิปัสสนา

7.    เป็นผู้ฉลาดในอภินิหารแห่งสมาธิ – ผลคืออภิญญา 6 ที่เกิดจากสมาธิ 


พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๓ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๕ [ฉบับมหาจุฬาฯ] อังคุตตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต

อ่าน “ปฐมวสสูตร ว่าด้วยธรรมที่เป็นเหตุให้จิตตกอยู่ในอำนาจ สูตรที่ 1“

อ่าน “ทุติยวสสูตร ว่าด้วยธรรมที่เป็นเหตุให้จิตตกอยู่ในอำนาจ สูตรที่ 2“


Tstamp

[03:15] ปฐมวสสูตร ว่าด้วยธรรมที่เป็นเหตุให้จิตตกอยู่ในอำนาจ สูตรที่ ๑
[14:13] เป็นผู้ฉลาดในสมาธิ
[15:11] เป็นผู้ฉลาดในการเข้าสมาธิ
[20:33] เป็นผู้ฉลาดในการให้สมาธิตั้งอยู่ได้
[22:29] เป็นผู้ฉลาดในการออกจากสมาธิ
[30:45] เป็นผู้ฉลาดในความพร้อมแห่งสมาธิ
[34:03] เป็นผู้ฉลาดในอารมณ์แห่งสมาธิ
[36:41] เป็นผู้ฉลาดในอภินิหารแห่งสมาธิ
[37:51] ทุติยวสสูตร ว่าด้วยธรรมที่เป็นเหตุให้จิตตกอยู่ในอำนาจ สูตรที่ ๒