Q1: โสดาบัน
A: โสดาบัน หมายถึง ผู้ที่จะไปถึงกระแส อยู่บนกระแส อยู่บนทาง เปรียบเหมือนกับการล่องแม่น้ำให้ออกไปสู่ทะเล คือ ทางที่จะไปสู่พระนิพพาน
– คุณสมบัติของโสดาบัน (โสตาปัตติยังคะ 4)
(1)–(3) มีศรัทธาอย่างลงมั่นไม่หวั่นไหวในพระพุทธ พระธรรม และพระสงฆ์ (อจลศรัทธา): โดยศรัทธาจะเต็มได้ต้องควบคู่ไปกับการมีปัญญาพอสมควร รู้ว่าพระพุทธเจ้าสอนอะไรไว้ ไม่ทำในสิ่งที่ท่านไม่ได้สอน ไม่งมงาย ตั้งมั่นในเรื่องของกรรม จิตใจจะไม่เคลื่อนคล้อยไปทางอื่น เช่น การอ้อนวอนบูชาขอร้อง เสี่ยงเซียมซี ดูหมอดู แก้เคล็ด เป็นต้น หากไม่สบายใจก็จะหาคำตอบจากในคำสอนของพระพุทธเจ้า ไม่ไปหาคำตอบนอกคำสอนของพระพุทธเจ้า
(4) มีศีล 5 ชนิดที่ไม่ขาด ไม่ทะลุ ไม่ด่าง ไม่พร้อย
– ความเป็นโสดาบัน (โสตาปัตติผล)
(1) จะมีศีล ชนิดที่ไม่ใช่สีลัพพตปรามาส-จะไม่งมงาย ไม่ใช่สายมู ทุกอย่างมีเหตุมีผล
(2) จะละสักกายทิฏฐิได้-เข้าใจว่าสิ่งทั้งหลายทั้งปวงเป็นของไม่เที่ยง
(3) จะละวิจิกิจฉาได้-ละความเคลือบแคลง เห็นแย้ง ไม่ลงใจไปได้
– ประเภทของโสดาบัน 1. เอกพีชี (เกิดอีก 1 ชาติ) 2. โกลังโกละ (เกิดอีก 2-3 ชาติ) 3. สัตตักขัตตุงปรมะ (เกิดอีกไม่เกิน 7 ชาติ)
– การบรรลุโสดาบันในยุคปัจจุบัน แม้คุณสมบัติการเป็นโสดาบันจะไม่ง่าย แต่หากเราใช้ ความเพียรในการสร้างเหตุ ความเป็นโสดาบันก็จะเกิดขึ้นได้ ให้ตั้ง “ความเพียร” ในการสร้างเหตุที่จะเป็นโสดาบัน ก็จะได้โสตาปัตติผลอย่างแน่นอน แม้จะยาก แต่ผลที่จะได้มันมาก ความทุกข์จะลดลงไปอย่างมาก ผู้ที่เป็นโสดาบันแล้ว ท่านเปรียบกับเศษฝุ่นที่ติดปลายเล็บกับปริมาณหินดินบนเทือกเขาหิมาลัย ปริมาณความทุกข์ของโสดาบันที่จะหมดสิ้นไปมากเท่านั้น ที่เหลืออยู่มีเพียงนิดเดียว
– การเป็นโสดาบันจะรู้ได้ด้วยตัวเอง โดยจะมีเครื่องทดสอบให้ทำผิดศีล ให้ออกนอกเส้นทางที่พระพุทธเจ้าสอนไว้ ก็จะทำไม่ได้ จิตใจจะไม่น้อมไป เมื่อคุณสมบัติโสดาบันครบตอนไหน ก็เป็นโสดาบันได้ตอนนั้น กรณีที่จะเป็นโสดาบันไม่ได้ คือ ได้ทำอนันตริยกรรม (ฆ่าพ่อแม่ ฆ่าพระอรหันต์ ทำสงฆ์ให้แตกกัน ทำพระพุทธเจ้าให้ห้อเลือด)
Q2: ความเห็นไม่ตรงกับคู่ครอง
A: เป็นปัญหาของการใช้ชีวิตคู่ เป็นเรื่องยุ่งของการครองเรือน วิธีการป้องกันไม่ให้วุ่นวายไปกว่านี้ คือ อย่าทำผิดศีลและมีสัมมาวาจา หรือประพฤติพรหมจรรย์
Q3: ให้ทานมากจนไม่เหลือไว้ใช้จ่าย
A: การห้ามไม่ให้ผู้อื่นให้ทาน ไม่ใช่มิตรแท้แต่เป็นคนพาล และการให้ทานแล้วเบียดเบียนตนเองหรือผู้อื่นก็ไม่ถูกต้อง
– คนฉลาดในการให้ทาน 1) ด้วยศรัทธา 2) ด้วยความเคารพ 3) ในเวลาที่เหมาะสม 4) มีจิตอนุเคราะห์ 5) ไม่กระทบตนและผู้อื่น หากขาดข้อใดข้อหนึ่ง บุญก็จะเศร้าหมองลง
– วิธีแก้ปัญหาการให้ทานมากเกินไป ให้จัดทำงบประมาณกันเงินไว้สำหรับการทำทาน เพื่อไม่ให้กระทบตนและเพื่อผู้อื่น
Tstamp
[01:20] โสดาบัน
[17:20] การบรรลุโสดาบันในปัจจุบัน
[29:40] พระอานนท์บรรลุโสดาบัน
[31:35] ความเห็นไม่ตรงกับคู่ครอง
[38:50] ให้ทานมากจนไม่เหลือไว้ใช้จ่าย