ช่วงไต่ตามทาง:

– การมองโลกในแง่ดีในทางพระพุทธศาสนา คือ การไม่คิดไปในทางที่เป็นอกุศล ในขณะเดียวกันก็ต้องไม่ประมาท ไม่เผลอเพลิน มีความระมัดระวังอย่างสูงไม่ให้อกุศลธรรมเกิดขึ้นในใจ

– คุณปฐวี เมื่อได้ฟังธรรมะแล้ว พอเจอเรื่องร้าย ก็ไม่ค่อยรู้สึกอะไร ปัญหาที่เคยรู้สึกว่าหนัก ก็กลายเป็นง่ายขึ้น เบาขึ้น มีแสงสว่างเกิดขึ้นในจิตใจ มีความร่าเริงแจ่มใสขึ้น เพราะสติที่ตั้งขึ้นไว้ได้ ทำให้จิตไม่ได้ไหลไปตามอารมณ์ความรู้สึกจิตใจตั้งมั่นอยู่ได้อย่างดี

ช่วงปรับตัวแปรแก้สมการ:

– เมื่อเป็นลูกศิษย์ของพระพุทธเจ้าแล้ว อย่าเอาแต่รักสุขเกลียดทุกข์ แต่ต้องเข้าใจสุขทุกข์ ผ่านปรากฏการณ์ที่เรียกว่า “พยับแดด” พยับแดด ไม่ใช่ “ของจริง” แค่ “ดูเหมือนว่าจริง” คือ แม้เราจะเห็นแต่ไกลว่าข้างหน้าเหมือนมีน้ำอยู่บนถนน แต่เมื่อขับรถไปถึงจุดนั้นแล้วกลับไม่มีน้ำ มันไม่ใช่ของจริง การปรุงแต่งมองเห็นพยับแดดว่าเป็นสิ่งที่มีตัวตนนั้น เปรียบเหมือนกับทุกข์ที่เราปรุงแต่งไปก่อนหน้า ซึ่งเป็นทุกข์ที่เกิดขึ้นจริง ๆ ณ วินาทีนั้นแล้ว ทำให้ทุกข์ไม่ได้ลดลงและสุขไม่ได้มากขึ้น

– เราจะมาหาของจริง ในสิ่งที่ไม่ใช่ของจริงจะไปเจอได้อย่างไร ในพยับแดดมีแต่แสงแต่ไม่มีตัวตน “เราจะไปหาสุข ในสิ่งที่เป็นความทุกข์ ก็จะหาไม่เจอ เปรียบเหมือนกับการไปหาน้ำในตัวพยับแดด เราจะไม่เจอน้ำ สิ่งที่เจอจะมีเพียงความว่างเปล่าจากความเป็นตัวตน”

– ผู้ที่เข้าใจเรื่องพยับแดด จะไม่ไปตามหาสุขในสิ่งที่เป็นทุกข์ อย่าไปคาดหวังจากพยับแดดที่จริง ๆ แล้ว มันไม่มีอะไร ก็จะไม่ทุกข์ นั่นคือ “การยอมรับ” พระพุทธเจ้าใช้คำว่า “ปริญญา” คือ ความรอบรู้เรื่องทุกข์

– เมื่อเข้าใจทุกข์ ก็จะไม่ทุกข์ จะได้ “ความสุขที่เหนือกว่าสุขเวทนา” คือ สุขที่เหนือกว่ากามสุข เป็นสุขที่เกิดจากความรู้ยิ่ง รู้พร้อม เย็น คือ นิพพาน เป็นความสุขที่เกิดจากปัญญาที่เหนือกว่าสุขเวทนาทั่วไป เป็นเวทนาที่ละเอียดลงไป พ้นจากทุกข์ที่เกิดจากตัณหา

– ผู้ป่วยที่เกิดทุกขเวทนา ความเจ็บปวดนั้นก็เหมือนพยับแดด ไม่สามารถที่จะเป็นตัวตน ไม่สามารถทำให้จิตใจหวั่นไหวได้ แม้แต่ความตายก็ไม่ใช่การสิ้นสุดจริง ๆ เพราะตายแล้วก็มีการเกิดใหม่ ไม่ว่าจะวิ่งหนีพยับแดด (ความเจ็บป่วย) หรือวิ่งเข้าหาพยับแดด (สิ่งปรุงแต่ง) ก็คืออันเดียวกัน อยู่ที่ว่ามองจากมุมไหนเพราะมันคือสิ่งที่ไม่มีตัวตน มีความไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นธรรมดา

– บทสรุป: ปรากฏการณ์พยัพแดด มีอยู่ทุกขณะในชีวิตของเรา เป็นสิ่งที่คนรักสุข เกลียดทุกข์ ต้องเข้าใจ จะทำให้มีสุขที่เหนือกว่าสุขเวทนา พ้นจากความทุกข์ที่เกิดจากตัณหา ได้ความสุขที่เกิดจากปัญญาอย่างแน่นอน


Tstamp

[04:30] ไต่ตามทาง: การมองโลกในแง่ดี
[14:02] เถระภาษิต เรื่อง “ให้ปัญญาเท่ากับให้ดวงตา”
[16:00] เข้าใจสุขทุกข์ด้วยพยับแดด
[51:55] พยับแดดกับความเจ็บป่วย