Q : ปัจจัยการบรรลุธรรม?

A : ตัวเราสำคัญที่สุด เพราะการบรรลุธรรมอยู่ที่จิต ส่วนองค์ประกอบอื่นๆ ทั้งกัลยาณมิตรและสถานที่ที่มีผลทำให้กิเลสเพิ่มขึ้นหรือลดลงเป็นสิ่งที่รองลงมา ถ้าเราอยู่ที่ไหนแล้วปัจจัยสี่ไม่ดี จิตใจไม่สงบ อาสวะเพิ่ม เราไม่ควรอยู่ตรงนั้น แต่หากอยู่ที่ไหนแล้วปัจจัยสี่ดี จิตใจสงบ อาสวะที่ละไม่ได้ก็ละได้ ให้อยู่ตรงนั้นไปตลอดชีวิต

Q : การสร้างศรัทธาขึ้นมาทำอย่างไร?

A : ศรัทธามีทุกข์เป็นที่ตั้งอาศัย คนที่ถูกความทุกข์ครอบงำแล้วแสวงหาทางออกของทุกข์ ศรัทธาจะเกิด เมื่อเราแสวงหาทางออกด้วยศรัทธา คือ ศรัทธาใน “ธัมโม” หมายถึง กระบวนการวิธีการคือ มรรค8 ศรัทธาใน “พุทโธ” หมายถึง ผู้ที่บรรลุแล้วมีพระพุทธเจ้าและสาวกทั้งหลาย ศรัทธาใน “สังโฆ” หมายถึง การปฏิบัติของตัวเราว่า ถ้าคนอื่นเค้าทำได้ เราก็ต้องทำได้ ศรัทธาแล้วมีความเพียร ทำจริง แน่วแน่จริง เกิดสมาธิ ตั้งทิฐิไว้ชอบ ก็จะทำให้เกิดปัญญา ปล่อยวางได้ บรรลุธรรมได้ 

Q : มีความคิดปรุงแต่งมากจะเรียกว่าฟุ้งซ่านไม่มีสมาธิ?

A : อยู่ที่ว่าคิดปรุงแต่งแล้วกิเลสเพิ่มหรือลด ทั้งมิจฉามรรคหรือสัมมามรรคล้วนเป็นสังขตธรรม แต่ที่ไปคนละทาง สมาธิไม่ใช่ไม่คิดอะไรเลย มีลำดับขั้นของมัน

Q : ศีล ศรัทธา ไม่ครบไม่มั่นคง จะเริ่มปฏิบัติได้อย่างไร?

A : ศรัทธาจะเกิดเมื่อเห็นทุกข์ เห็นทุกข์ที่ควบคู่กับปัญญาจึงจะเห็นธรรม ควรมีกัลยาณมิตรแนะทางให้ 

Q : ใครเป็นอรหันต์

A : เป็นเรื่องยากที่ฆราวาสผู้ชุ่มอยู่ด้วยกามจะพึงรู้ จะดูแต่เพียงภายนอกไม่ได้ ศีลพึงรู้ได้ด้วยการอยู่ร่วมกัน ความสะอาดพึงรู้ได้ด้วยวาจา กำลังจิตพึงรู้ได้เมื่อมีภัย ปัญญาพึงรู้ได้ด้วยการตอบ ที่สำคัญ คือ ตอบตัวเองได้หรือไม่ว่าเป็นอรหันต์หรือยัง 

Q : เมื่อมีความกังวลใจ แล้วต้องตัดสินใจอย่างใดอย่างหนึ่ง จะมีวิธีพิจารณาอย่างไร?

A : ความกังวลจะทำให้การตัดสินใจผิดพลาดได้ ควรมีศีล ศรัทธา สติตั้งไว้ พิจารณาปัจจุบัน ด้วยความเป็นของง่อนแง่น คลอนแคลน พอเราไม่กังวล เราจะละความยึดถือได้


Tstamp

[03:33] ปัจจัยการบรรลุธรรม?
[14.24] การสร้างศรัทธาขึ้นมาทำอย่างไร?
[18:54] มีความคิดปรุงแต่งมากจะเรียกว่าฟุ้งซ่านไม่มีสมาธิ?
[30:42] ศีล ศรัทธา ไม่ครบไม่มั่นคง จะเริ่มปฏิบัติได้อย่างไร?
[36:16] ใครเป็นอรหันต์?
[43:43] เมื่อมีความกังวลใจ แล้วต้องตัดสินใจอย่างใดอย่างหนึ่ง จะมีวิธีพิจารณาอย่างไร?