Q : การศึกษาพุทธศาสนามี 2 ด้าน หรือมีด้านเดียว?

A : พิจารณาได้ทั้ง 2 นัยยะ นัยยะแรกพิจารณา 2 ด้านคือ พิจารณาทั้งประโยชน์และโทษ อีกนัยยะหนึ่ง พิจารณาด้านเดียว คือพิจารณาทางสายกลาง/มรรค 8 เมื่อพิจารณาแล้วเข้าใจในข้อที่เป็นทางสายกลาง กิเลสก็จะลดลง

Q : สมาธิเสื่อมได้หรือไม่ เกิดจากเหตุปัจจัยใด?

A : สมาธิเกิดจาก เหตุ, เงื่อนไข, ปัจจัย สิ่งใดที่เกิดจาก เหตุ, เงื่อนไข, ปัจจัย สิ่งนั้นไม่เที่ยง สมาธิเมื่อเกิดได้ก็เสื่อมได้ / เหตุแห่งการเสื่อมสมาธิ อาจเพราะกายเมื่อยล้า, คลุกคลีมาก สามารถทำให้เจริญได้ด้วย การไม่ยินดีในการเอนกาย รู้จักหลีกเร้น การปฏิบัติตามมรรค8 จะช่วยปรับให้ไปตามทาง รู้จักเอาประโยชน์ หลีกออกจากโทษได้

Q : ขณะนั่งสมาธิ รู้สึกเคลิ้มจนลืมภาวนา ลืมลมหายใจ ขาดสติหรือไม่?

A : ลืม เผลอ เพลิน คือ ขาดสติ ให้เราตั้งสติสัมปชัญญะขึ้น เห็นความเกิดขึ้น ความดับไป ฝึกให้ชำนาญ ในการเข้า ในการดำรงอยู่และในการออก ทำบ่อยๆ เพ่งอยู่ตรงนี้ เราจะรู้ตัวทั่วพร้อม รู้พร้อมเฉพาะ ในการที่ความคิดนั้นดับไป

Q : ขณะบริกรรมพุทโธ ครูอาจารย์ก็เทศน์สอนด้วย เราควรเอาสติไปจับอยู่กับอะไร?

A : ตั้งสติอยู่กับโสตวิญญาณ (การรับรู้ทางหูด้วยเสียง เกิดในช่องทางใจ )

Q : นั่งสมาธิแล้วฟุ้งซ่าน รู้สึกเบื่อท้อ ไม่อยากนั่งต่อ ควรแก้ไขอย่างไร?

A : ให้พิจารณาเอาจิตจดจ่อ ตรงที่เราทำได้ จิตก็จะน้อมไปทางนั้น จิตเราเมื่อ “น้อมไปทางไหน สิ่งนั้นจะมีพลัง” หากเราตริตรึกแต่ตรงที่ฟุ้งซ่าน ท้อแท้ จิตเราจะไปในทางอกุศล 

Q : ผู้ปฏิบัติดี มีสมาธิมั่นคง เมื่อถึงที่สุดแห่งทุกข์คือการหลุดพ้นแล้ว ก็ไม่จำเป็นต้องปฏิบัติต่อไปอีก?

A : ท่านยังต้องปฏิบัติอยู่ ยังมีศีล สมาธิ ปัญญาอยู่ แต่เหตุผลในการปฏิบัติ ไม่เหมือนเดิมคือ เหตุที่จะต้องทำเพื่อหลุดพ้น ไม่ต้องแล้ว เพราะหลุดพ้นแล้ว สำเร็จแล้ว


Tstamp

[02:54] การศึกษาพุทธศาสนามี 2 ด้าน หรือมีด้านเดียว?
[11:57] สมาธิเสื่อมได้หรือไม่ เกิดจากเหตุปัจจัยใด?
[17:43] ขณะนั่งสมาธิ รู้สึกเคลิ้มจนลืมคำภาวนา ลืมลมหายใจ ขาดสติหรือไม่?
[35:22] ขณะที่กำหนดจิตบริกรรมพุทโธอยู่ ระหว่างนั้นครูอาจารย์ก็บอกสอนอยู่ด้วย เราจะเอาสติไปจับอยู่กับอะไร?
[35:22] นั่งสมาธิแล้วมีอารมณ์หงุดหงิดฟุ้งซ่าน รู้สึกเบื่อท้อไม่อยากนั่งต่อ ควรแก้ไขอย่างไร?
[52:02] ผู้ปฏิบัติดีมีสมาธิมั่นคง เมื่อถึงที่สุดแห่งทุกข์ คือการหลุดพ้นแล้ว ก็ไม่จำเป็นต้องปฏิบัติต่อไปอีก?